ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปตท."

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 371: บรรทัด 371:
|align="center" |13.33
|align="center" |13.33
|-
|-
|aligh=“center” |47
|[[บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด]] [SHELL]
|[[บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด]] [SHELL]
|-
|-
|aligh=“center” |100.00
|}
|}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:36, 5 มีนาคม 2562

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
ประเภทบริษัทมหาชน SET:PTT
รัฐวิสาหกิจ
ISINTH0646010R18 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมทรัพยากร
ก่อนหน้าการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
ก่อตั้ง29 ธันวาคม พ.ศ. 2521 (45 ปี)
สำนักงานใหญ่555 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
บุคลากรหลัก
ไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย
(ประธานกรรมการ)
ชาญศิลป์ ตรีนุชการ
(ประธานบริหารและกรรมการผู้จัดการ)
ผลิตภัณฑ์น้ำมัน, ก๊าซธรรมชาติ, ปิโตรเคมี
รายได้เพิ่มขึ้น 2,044,951 ล้านบาท (2560)
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น 135,179 ล้านบาท (2560)
สินทรัพย์ลดลง 2,232,314 ล้านบาท (2560)
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น 762,947 ล้านบาท (2559)
เจ้าของกระทรวงการคลัง
พนักงาน
4,227 คน[1]
บริษัทแม่กระทรวงพลังงาน
แผนกปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม
พีทีที โกลบอล เคมิคอล
ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก
ไทยออยล์
ไออาร์พีซี
บางจากปิโตรเลียม
และอื่นๆ
บริษัทในเครือบริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ
ทิพยประกันภัย
และอื่นๆ
เว็บไซต์www.pttplc.com

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: PTT Public Company Limited, ชื่อย่อ: PTT) เป็นบริษัทด้านพลังงานของไทยที่แปรรูปมาจาก การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ซึ่งมาจากการรวมกิจการพลังงานของรัฐทั้ง 2 องค์กร คือองค์การเชื้อเพลิงและองค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย ประกอบธุรกิจก๊าซธรรมชาติและน้ำมันปิโตรเลียมครบวงจร และธุรกิจปิโตรเคมีที่เน้นการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก รวมทั้งธุรกิจต่อเนื่อง มีสำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่ 555 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900[2]

จากการสำรวจของนิตยสารฟอร์จูนในปี พ.ศ. 2555 บริษัท ปตท. ได้ถูกจัดอันดับให้เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่อันดับที่ 95 จาก 500 ของบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก และในปี พ.ศ. 2555 ปตท. เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีรายได้สูงสุดของไทย รวมมูลค่ารายได้ 1,930,852 ล้านบาท[3]

ประวัติ

องค์การเชื้อเพลิง

รัชกาลที่ 5 เป็นยุคที่ไทยเริ่มมีถนน ไฟฟ้า รถราง และเมื่อปี พ.ศ. 2435 บริษัทน้ำมันต่างชาติบริษัทแรกที่เข้ามาทำกิจการในไทย คือ บริษัท รอยัลดัทช์ ปิโตรเลียม จำกัด จำหน่ายน้ำมันก๊าดมีเขม่าควันน้อยและให้แสงสว่างกว่าน้ำมันมะพร้าว

ต่อมา พ.ศ. 2439 เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ นำรถยนต์คันแรกมาวิ่งบนถนน และอีก 6 ปีต่อมา ก็มีรถเมล์ขาว จึงเริ่มนำน้ำมันเบนซินมาใช้บริษัทต่างชาติ ก็นำน้ำมันต่างๆ มาจำหน่าย

พ.ศ. 2476 กระทรวงกลาโหม ได้จัดตั้งแผนกเชื้อเพลิง เพื่อจัดหาน้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าดและน้ำมันหล่อลื่น จากนั้นอีก 4 ปี ก็เปลี่ยนเป็นกรมเชื้อเพลิง และก่อสร้างคลังเก็บน้ำมันที่ช่องนนทรีเพื่อขจัดปัญหาน้ำมันขาดแคลน

ในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2 บริษัทน้ำมันต่างชาติหยุดค้าน้ำมันในไทย โรงกลั่นน้ำมันที่สามารถกลั่นได้ 1,000 บาเรลต่อวัน ถูกระเบิดเสียหาย เรือบรรทุกน้ำมัน "สมุย" ถูก ตอร์ปิโด จมลง

แต่หลังสงครามยุติ ไทยต้องยุบกรมเชื้อเพลิง ขายกิจการและทรัพย์สินทั้งหมดให้บริษัทน้ำมันต่างชาติ พร้อมสัญญาว่า รัฐบาลจะไม่ค้าน้ำมันอีก

ปี พ.ศ. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ได้ยกเลิกข้อผูกพันที่ทำไวักับบริษัทต่างชาตินั้น และตั้งองค์การเชื้อเพลิง เป็นรัฐวิสาหกิจในวันที่ 27 มกราคม ปี 2503 โดยใช้สัญลักษณ์ตราสามทหาร เพื่อดำเนินสถานีบริการน้ำมัน จัดหาและกลั่นน้ำมัน

พ.ศ. 2520 มีการจัดตั้งองค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย และในปี พ.ศ. 2521 พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรี ตรา พ.ร.บ. การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย นับเป็นองค์กรของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปิโตรเลียมของไทยขึ้นโดยตรงเป็นครั้งแรก ปั๊มน้ำมันที่ใช้ตราสามทหารจึงค่อยๆ เลือนหายไป

ปัจจุบัน ปั๊มน้ำมันสามทหาร เป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อม ตั้งอยู่ที่สวนคุณธรรมสมานสามัคคี อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

องค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย

องค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2520[4] มีผลบังคับใช้ในวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2520 เนื่องจากได้มีการเจาะสำรวจพบแหล่งก๊าซธรรมชาติในประเทศไทยมีปริมาณมากพอในเชิงพาณิชย์ รัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร จึงได้จัดตั้งหน่วยงานรัฐวิสาหกิจขึ้น เพื่อเร่งรัดพัฒนาการนำก๊าซธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรม

ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 มีพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521 ประกาศบังคับใช้ ในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2521 ให้โอนกิจการขององค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย ไปเป็นของ ปตท. กระทั่งมีการโอนกิจการอย่างสมบูรณ์ในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2522[5]

การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521[6] มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2521 โดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบและส่งเสริมธุรกิจปิโตรเลียม รวมถึงดำเนินการธุรกิจอื่นที่เกี่ยวกับหรือต่อเนื่องกับการประกอบธุรกิจปิโตรเลียมเพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุดแก่เศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ

ในระยะเริ่มต้นให้โอนกิจการของกรมการพลังงานทหาร และที่เกี่ยวกับโรงกลั่นน้ำมัน กระทรวงกลาโหม องค์การเชื้อเพลิง และองค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย ไปเป็นของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

โครงสร้างผู้ถือหุ้น

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เริ่มแปรรูปเป็นบริษัทจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 มีทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 2 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 2 พันล้านหุ้น โดยมี กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เริ่มซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2544

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

  • ข้อมูล ณ วันที่ 22 ตุลาคม 2561 [7]
ลำดับที่ รายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้นสามัญ สัดส่วนการถือหุ้น
1 กระทรวงการคลัง 14,598,855,750 51.11%
2 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 2,196,575,586 7.69%
3 กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) 1,736,895,500 6.08%
4 กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) 1,763,895,500 6.08%
5 STATE STREET EUROPE LIMITED 572,054,528 2.00%
6 SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED 547,412,451 1.92%
7 สำนักงานประกันสังคม 391,204,100 1.37%

เหตุการณ์สำคัญ

  • 29 ธันวาคม พ.ศ. 2521 - การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดยมติคณะรัฐมนตรี ในรูปของรัฐวิสาหกิจประเภทกิจการพลังงาน โดยควบรวมรัฐวิสาหกิจเดิม 2 แห่งคือ องค์การเชื้อเพลิง (สังกัด กรมการพลังงานทหาร สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม) และองค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย (สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อดำเนินกิจการพลังงานปิโตรเลียม หรือธุรกิจต่างๆที่เกี่ยวข้อง ในลักษณะของการพึ่งพาตนเอง เนื่องจากประเทศไทย ประสบวิกฤตการณ์ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อการอุปโภค-บริโภค เช่นเดียวกับหลายประเทศทั่วโลก ในระยะเวลาดังกล่าว ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนชื่อสถานีบริการน้ำมัน จากตราสามทหาร มาเป็น ปตท.ด้วย และใช้คำขวัญว่า นิยมไทย ศรัทธาไทย ใช้ ปตท.
  • พ.ศ. 2523 วางจำหน่ายน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน ชื่อการค้า พีทีที เพอร์ฟอร์มา ไดน่าดีแอล วางจำหน่ายน้ำมันเครื่องดีเซลสำหรับรถไถนาอย่างเป็นทางการ พีทีที ไดนาแทรค ก่อตั้งบริษัท พีทีที ยูทีลีตี้ จำกัด และได้ออกแบบตราสัญลักษณ์ของปตท. เป็นรูปเปลวไฟสีฟ้า ไฟสีน้ำเงิน วงกมสีแดงมาเป็นตราขององค์กรจนถึงปัจจุบัน โดยเสนอต่อกระทรวงพาณิชย์
  • พ.ศ. 2528 - คณะรัฐมนตรี ได้ให้ ปตท.จัดตั้ง "บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด" เพื่อดำเนินการสำรวจ ค้นหาพื้นที่ และผลิตปิโตรเลียม ทั้งในและต่างประเทศ และต่อมา ก็ได้จัดตั้ง "บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด" เพื่อดำเนินการกิจการปิโตรเคมี และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ
  • พ.ศ. 2531 - ปตท. ฉลองครบรอบ 10 ปี
  • พ.ศ. 2531 - เริ่มวางจำหน่ายน้ำมันเบนซินที่มีสารตะกั่วในปริมาณต่ำ (พีทีที ไดน่าดีเอล ยูโร วัน) และวางจำหน่ายน้ำมันเบนซินพิเศษค่าออกเทนสูง พีทีที ไฮออกเทน (มีค่าออกเทนสูงสุด 97) เปลี่ยนคำขวัญใหม่มาเป็น พลังไทย เพื่อไทย (เปลี่ยนคำขวัญใหม่เมื่อปี 2530 - 2550)
  • พ.ศ. 2532 - เริ่มวางจำหน่ายน้ำมันเบนซิน พีทีที ไฮออกเทน สูตรใหม่ ลดสารตะกั่วลง 7%
  • พ.ศ. 2533 - จำหน่ายน้ำมันดีเซลกำมะถันต่ำรายแรกภายใต้ชื่อการค้า พีทีที ไฮซีเทน (ค่าซีเทน 52) วางจำหน่ายน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว พีทีที ไฮออกเทน (ปรับปรุงจากสูตรเดิม) และวางจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นสำหรับจักรยานยนต์ 2 จังหวะ สูตรลดควันขาว พีทีที ไฮสปีด 2 ที โลวสโมค
  • พ.ศ. 2535 - ปรับโฉมสถานีบริการน้ำมันทั่วประเทศเป็นรูปแบบใหม่ Landor โดยใช้รูปแบบนี้ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2550)
  • พ.ศ. 2536 - ก้าวสู่การเป็นผู้นำสูงสุดของตลาดน้ำมันเชื้อเพลิง วางตลาดน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วที่มีค่าออกเทนสูงที่สุด สำหรับรถยนต์เบนซินสมรรถนะสูง พีทีที เพอร์ฟอร์มา 98 ซึ่งเป็นน้ำมันเบนซินที่มีค่าออกเทนสูงที่สุดในประเทศ โดยในขณะนั้นมีเพียงปตท. และเจ็ทเท่านั้นที่ขายน้ำมันออกเทน 98 และน้ำมันเบนซินธรรมดาไร้สารตะกั่ว สำหรับรถยนต์เบนซินทั่วไป พีทีที แม็กซ์ (มีค่าออกเทน 92) และ ปตท.ฉลองครบรอบ 15 ปี
  • พ.ศ. 2538 - ยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซินมีสารตะกั่วอย่างเป็นทางการทั่วประเทศก่อนผู้ค้าน้ำมันรายอื่น และวางตลาดน้ำมันเบนซินพิเศษไร้สารตะกั่วสูตรใหม่ สำหรับรถยนต์เบนซินสมรรถนะสูง พีทีที ซูเปอร์ 97 และน้ำมันเบนซินธรรมดาไร้สารตะกั่ว สำหรับรถยนต์เบนซินทั่วไป พีทีที แม็กซ์ 92 (ปรับปรุงจาก พีทีที แม็กซ์ เดิม)
  • พ.ศ. 2539 - วางจำหน่ายน้ำมันดีเซลกำมะถันต่ำสูตรใหม่ (กำมะถัน 0.25%) ในชื่อ พีทีที ไฮซีเทน 55
  • พ.ศ. 2540 - ร่วมมือกับ เอเอ็มพีเอ็ม ก่อตั้งบริษัท ปตท.มาร์ท จำกัด เพื่อเปิดให้บริการร้านสะดวกซื้อเอเอ็มพีเอ็มในสถานีบริการน้ำมัน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ และวางจำหน่ายน้ำมันเบนซินพิเศษไร้สารตะกั่ว สำหรับรถยนต์เบนซินสมรรถนะสูง พีทีที เพอร์ฟอร์มา โกลด์ (มีค่าออกเทน 95) เพิ่มสถานีบริการน้ำมันเป็น 1,500 สาขา (ปัจจุบันเหลือ 1,300 สาขา)
  • พ.ศ. 2541 - ปตท. ฉลองครบรอบ 20 ปี
  • พ.ศ. 2542 - เปิดตัวรางวัล ลูกโลกสีเขียว
  • พ.ศ. 2543 - วางจำหน่ายน้ำมันเบนซินธรรมดาไร้สารตะกั่วสูตรใหม่ สำหรับรถยนต์เบนซินทั่วไป และรถจักรยานยนต์ พีทีที แม็กซ์ 91
  • พ.ศ. 2544 - การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ได้แปรสภาพรัฐวิสาหกิจ มาเป็น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยปฏิบัติตามกฎหมายพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 เพื่อให้ประชาชนชาวไทย สามารถเป็นเจ้าของร่วมกัน โดยให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน ความรับผิดชอบ พนักงาน ลูกจ้าง และส่วนธุรกิจทั้งหมดของ ปตท. ไปเป็น บมจ.ปตท. แทนและได้ยุบเลิกการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม [8] และในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน บมจ.ปตท. ได้ทำการเข้าซื้อขายหลักทรัพย์ ใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นวันแรก
  • พ.ศ. 2545 - เปิดจำหน่ายแก๊สโซฮอล์เป็นรายแรก ณ สน.ปตท.สาขาสำนักงานใหญ่ ภายใต้ชื่อการค้า พีทีที แก๊สโซฮอล์ 95 และ เปิดตัวร้านกาแฟ คาเฟ่ อเมซอน (Cafe Amazon)
  • พ.ศ. 2546 - ร่วมมือกับ เซเว่น อีเลฟเว่น (บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เพื่อเปิดให้บริการร้านสะดวกซื้อในสถานีบริการน้ำมัน วางจำหน่ายน้ำมันเบนซินผสมสารลดความฝืด ฟริคชั่น โมดิฟายเออร์ ในชื่อ พีทีที อัลฟา เอ็กซ์ (มีค่าออกเทน 91 และ 95) วางจำหน่ายน้ำมันดีเซลสูตรใหม่ในชื่อ พีทีที เดลต้า เอ็กซ์ เริ่มจำหน่าย NGV ให้กับผู้ใช้รถยนต์ และเริ่มสร้างสถานีบริการน้ำมันรูปแบบใหม่ ระดับ Platinum ที่สถานีบริการน้ำมันสาขา สน.ปตท.กล้วยน้ำไท และปตท. ครบรอบ 25 ปี
  • พ.ศ. 2547 - วางจำหน่ายน้ำมันดีเซลสูตรใหม่ ผ่านมาตรฐาน Euro III ในชื่อ พีทีที เดลต้า เอ็กซ์ ยูโร ทรี ปรับโฉมสถานีบริการทั่วประเทศจากรูปแบบ Landor เดิมให้ทันสมัยขึ้น (บางสาขา) และเริ่มสร้างสถานีบริการน้ำมันในรูปแบบ Platinum ภายใต้แนวคิด Pump in the Park ในชื่อ PTT Park เป็นแห่งแรกที่สถานีบริการน้ำมันสาขา สน.ปตท.สวัสดิการ ร.1. รอ.
  • พ.ศ. 2548 - วางจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 สูตรใหม่ ผสมสารฟริคชั่น โมดิฟายเออร์ ในชื่อ พีทีที แก๊สโซฮอล์ 95 พลัส และ บมจ.ปิโตรเคมีแห่งชาติ และ บมจ.ไทยโอเลนฟินส์ ได้เข้าควบรวมกิจการ ไปเป็น บมจ.ปตท.เคมิคอล
  • พ.ศ. 2549 - บมจ.ปตท. ได้เข้าไปถือหุ้นใน บมจ.อุตสาหกรรมปิโตรเคมีคัลไทย ของ ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ แล้วจึงเปลี่ยนชื่อเป็น ไออาร์พีซี บมจ.อะโรเมติกส์ไทย และ บมจ.โรงกลั่นน้ำมันระยอง ได้เข้าควบรวมกิจการ ไปเป็น บมจ.ปตท.อโรเมติกส์และการกลั่น
  • พ.ศ. 2550 - วางจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 ในชื่อ พีทีที แก๊สโซฮอล์ 91 พลัส - บริษัท คอนอโค (ประเทศไทย) จำกัด เจ้าของสถานีบริการน้ำมัน เจ็ท และร้านสะดวกซื้อ จิฟฟี่ ตัดสินใจขายกิจการสถานีบริการน้ำมันและร้านสะดวกซื้อให้กับ ปตท. ทั้งหมด 147 สาขา 22 จังหวัด จัดตั้งบริษัท ปตท.บริหารธุรกิจค้าปลีก จำกัด และศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษา กรณีการแปรรูปฯ ให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินเวนคืน และท่อส่งก๊าซ-น้ำมัน กลับคืนไปให้กับกระทรวงการคลัง เพราะถือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน
  • พ.ศ. 2551 - ปตท. ฉลองครบรอบ 30 ปี
  • พ.ศ. 2551 - ก้าวสู่การเป็นผู้นำสูงสุดของตลาดน้ำมันหล่อลื่น และกลายเป็นผู้นำตลาดน้ำมันเต็มตัว จากเดิมที่มีเอสโซ่ เชลล์ และคาลเท็กซ์เป็นผู้นำตลาดตามลำดับ วางจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 ในชื่อ พีทีที E20 พลัส และวางจำหน่ายน้ำมันไบโอดีเซล B5 ในชื่อ พีทีที B5 พลัส พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ชุมนุมหน้าสำนักงานใหญ่เพื่อเรียกร้องให้ ปตท. กลับเป็นของรัฐ และวางจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 ในชื่อ พีทีที E85 พลัส (บางสาขา) เปลี่ยนคำขวัญเป็น พลังที่ยั่งยืน เพื่อไทย ตั้งแต่ตอนที่ ปตท. ครบรอบ 30 ปี (ถึง พ.ศ. 2555)
  • พ.ศ. 2552 - สถานีบริการน้ำมันเจ็ททั้ง 147 สาขา ใน 22 จังหวัดปรับเปลี่ยนเป็นสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ทั้งหมดแล้ว คงเหลือร้านสะดวกซื้อ จิฟฟี่ ไว้เพียงอย่างเดียว และริเริ่มพัฒนาสถานีบริการน้ำมันภายใต้แนวคิด PTT Life Station โดยปรับโฉมสถานีบริการน้ำมันกว่า 1,300 แห่งทั่วประเทศแบบยกเครื่อง โดยมี 3 รูปแบบที่มีขนาดแตกต่างกันไป คือ PTT Park ,Platinum และ Standard เปิดตัวร้านสะดวกซื้อ Jiffy Express ร้านสะดวกซื้อขนาดเล็กที่คัดสินค้า Top 200 มาวางขาย
  • พ.ศ. 2553 - แนะนำโมเดลใหม่ของร้านสะดวกซื้อ Jiffy ได้แก่ ซูเปอร์มาร์เกต Jiffy Market และร้านอาหาร Jiffy Bistro และเปิดตัวผลิตภัณฑ์น้ำมันเกรดพรีเมียมในราคาเท่าเดิมภายใต้ชื่อ พีทีที บลู อินโนเวชัน (โดยทดแทนชื่อพีทีที อัลฟา เอ็กซ์ (ทดแทนด้วยชื่อ บลู แก๊สโซลีน),เดลต้า เอ็กซ์ (ทดแทนด้วยชื่อ บลู ดีเซล),และแก๊สโซฮอล์ 91 - 95 พลัส (ทดแทนด้วยชื่อ บลู แก๊สโซฮอล์ 91 - 95) รวมทั้งทดแทนชื่อแก๊สโซฮอล์ E20, E85 เป็น บลู แก๊สโซฮอล์ E20 และ บลู แก๊สโซฮอล์ E85)
  • พ.ศ. 2554 - ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวรประธานเจ้าหน้าปฏิบัติการปิโตรเลียมขั้นต้นรับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่แทน ประเสริฐ บุญสัมพันธ์
  • พ.ศ. 2555 - เกิดเหตุระเบิดที่หม้อต้มไอน้ำที่ออกจากขบวนการผลิตแก๊สธรรมชาติอัด ซึ่งอยู่ในสถานีจ่ายแก๊สธรรมชาติอัด ใน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น[9] ส่งผลให้สถานีเสียหายและไม่มีแก๊สออกจำหน่ายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปตท.เปลี่ยนคำขวัญเป็น พลังที่ยั่งยืน และใช้จนถึงปี พ.ศ. 2558
  • พ.ศ. 2556 - เปิดตัวบัตรสะสมคะแนนเพื่อแลกรับสิทธิพิเศษมากมายเมื่อใช้บริการที่สถานีบริการ ปตท. และร้านค้าที่ร่วมรายการ ภายใต้ชื่อ PTT Blue Card เริ่มพัฒนาสถานีบริการน้ำมันที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์เต็มรูปแบบ ในชื่อ The Crystal PTT โดยนำร่องที่สาขาถนนชัยพฤกษ์ และร่วมมือกับ เค.อี.แลนด์ สร้างคอมมูนิตี้มอลล์และสถานีบริการน้ำมัน ขยายกิจการสถานีบริการน้ำมันในประเทศลาว เปิดตัวน้ำมันดีเซลเกรดพรีเมียม ด้วยเทคโนโลยีเดียวกับการผลิตน้ำมันอากาศยาน พีทีที ไฮฟอร์ซ พรีเมียม ดีเซล เปิดตัวและปรับปรุงร้านสะดวกซื้อ Jiffy 3 รูปแบบ คือ Jiffy (กำลังปรับปรุงร้านและสร้างร้านใหม่) Jiffy Daily (เปลี่ยนมาจาก Jiffy Express เติมมุมขายอาหารและเครื่องดื่ม) และ Jiffy Plus Supermarket (เปลี่ยนมาจาก Jiffy Super Fresh Market เป็นซูเปอร์มาร์เก็ตเต็มรูปแบบแห่งแรกจาก ปตท.) เปิดขายแฟรนไชส์ร้านชานมไข่มุก Pearly Tea ธุรกิจใหม่จาก ปตท.บริหารธุรกิจค้าปลีก เปิดธุรกิจร้าน Jiffy ในประเทศลาว และร้าน Jiffy นอกปั๊มแห่งแรกที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พ.ศ. 2557 - เปิดตัวโครงการ The Crystal PTT คอมมูนิตี้มอลล์และสถานีบริการน้ำมันอย่างเป็นทางการ โดยประกอบไปด้วยสถานีบริการน้ำมัน ร้านสะดวกซื้อ Jiffy ร้านกาแฟ Cafe Amazon ซูเปอร์มาร์เก็ต Jiffy Plus Supermarket ร้านอาหารและร้านค้าต่างๆ บนพื้นที่ 12 ไร่บนถนนชัยพฤกษ์ เปิดปั๊มน้ำมันบริการตนเอง ราคาถูกกว่าเติมน้ำมันแบบปกติ Self Serve แห่งแรกที่ สน.ปตท.ศรีนครินทร์ และเปิดตัวแมสคอตของ ปตท. ในชื่อ ก็อตจิ
  • พ.ศ. 2558 - เปิดตัวสติ๊กเกอร์ไลน์ให้ผู้ใช้ไลน์สามารถโหลดฟรีในอีเวนท์แบบมีเสียงพูดได้ Godji The Adventure (เสียงพากย์ก๊อตจิโดย ศรีอาภา เรือนนาค) ให้กับผู้ใช้ไลน์ที่เป็นเพื่อนกับบัญชีทางการของ ปตท. เปลี่ยนคำขวัญมาเป็น เพื่อคนไทย เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน และเปิดตัวผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่น ปตท. ฉลากใหม่ กระป๋องใหม่ เพิ่มสมรรถนะและปกป้องเครื่องยนต์ให้กับเครื่องยนต์โดยเฉพาะ ภายใต้คำขวัญ The Moving Innovation
  • พ.ศ. 2559 - นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ทำหนังสือแจ้งกรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 11/2559 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2559 ได้มีมติเห็นชอบการปรับโครงสร้างธุรกิจ ปตท. โดยการโอนกิจการของหน่วยธุรกิจน้ำมัน รวมถึงสินทรัพย์และหนี้สินของหน่วยธุรกิจดังกล่าว ตลอดจนหุ้นของบริษัทที่เกี่ยวข้องให้แก่ บริษัท ปตท. ธุรกิจค้าปลีก จำกัด และการเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก เป็นบริษัทแกน ของกลุ่ม ปตท. ในการดำเนินธุรกิจ และ ค้าปลีก และแผนการเสนอขายหุ้นสามัญเบื้องต้นของ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก ต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก และ การนำ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ("การปรับโครงสร้างธุรกิจ ปตท.") และเห็นชอบให้ ปตท. นำเสนอการปรับโครงสร้างธุรกิจ ปตท. ดังกล่าว ต่อหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพลังงาน คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ("คนร.") คณะรัฐมนตรี และประชุมผู้ถือหุ้นของ ปตท. เพื่อพิจารณาอนุมัติตามกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องต่อไป พร้อมเปิดตัวโครงการแยกขยะก่อนทิ้งที่สถานีบริการนํ้ามัน ปตท.ภายใต้โครงการ แยกแลกยิ้ม
  • พ.ศ. 2561 - ปตท. ฉลองครบรอบ 40 ปี
  • พ.ศ. 2561 - นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปตท. จะปรับเปลี่ยนโลโก้ของสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ทั่วประเทศ ตามแนวทางการปรับโครงสร้างองค์กร ที่จะมีการตั้ง บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด หรือ PTTOR เป็นบริษัทย่อยของ ปตท. ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างให้ที่ปรึกษาจัดทำโลโก้หลายรูปแบบมาเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) ปตท. พิจารณา ก่อนเสนอให้กระทรวงพลังงานพิจารณาในเร็วๆนี้ เพื่อนำเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้น ปตท. ประจำปีนี้ ในวันที่ 12 เมษายน “การเปลี่ยนแปลงโลโก้ปั๊ม ปตท.ใหม่จะยังคงลักษณะโลโก้เดิม โดยจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย เพื่อสร้างความแตกต่างกับโลโก้ปัจจุบัน เพื่อทำให้ ปตท. สามารถขายโอนโลโก้เป็นสมบัติของ PTTOR ที่เป็นบริษัทลูกได้ง่ายขึ้น และผมมั่นใจว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นหรือความนิยมของผู้บริโภค แต่หากใช้โลโก้เดิมอยู่ PTTOR อาจต้องจ่ายค่าเช่าโลโก้ให้ ปตท. แทน ซึ่งที่ผ่านมา ปตท. ก็มีบริษัทลูกมากมายที่มีโลโก้เป็นของตัวเอง เช่น บริษัท ปตท.บริหารธุรกิจค้าปลีก จำกัด หรือ PTTRM , บริษัท โพลิเมอร์มาเก็ตติ้ง จำกัด เป็นต้น และวันที่ 1 กุมภาพันธ์ เปิดตัวผลิตภัณฑ์น้ำมันสูตรใหม่ในราคาเท่าเดิม พร้อมสารสูตรพิเศษรายแรกของโลก ให้คุณแรงดั่งใจ ทุกสัมผัส ในชื่อ พีทีที อัลตร้าฟอร์ช (โดยทดแทนชื่อพีทีที บลู อินโนเวชัน) เช่น บลู แก๊สโซลีน (ทดแทนด้วยชื่อ อัลต้าฟอร์ซ แก๊สโซลีน), บลู ดีเซล (ทดแทนด้วยชื่อ อัลตร้าฟอร์ซ ดีเซล) , และ บลู แก๊สโซฮอล์ 91 - 95 (ทดแทนด้วยชื่อ อัลตร้าฟอร์ซ แก็สโซฮอล์ 91 - 95) รวมทั้งทดแทนชื่อ บลู แก๊สโซฮอล์ E20, E85 เป็น อัลตร้าฟอร์ซ แก๊สโซฮอล์ E20 และ อัลตร้าฟอร์ซ แก๊สโซฮอล์ E85)

บริษัทในเครือ

ลำดับ กลุ่มธุรกิจ ชื่อบริษัท ประเภทธุรกิจ สัดส่วนการถือหุ้น (ร้อยละ)
1 กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) [PTTEP] สำรวจและผลิตปิโตรเลียม 65.29
2 บริษัท ปตท.จำหน่ายก๊าซธรรมชาติ จำกัด [PTT NGD] ก๊าซธรรมชาติ 58.00
3 บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด [PTT LNG] ก๊าซธรรมชาติ 100.00
4 บริษัท ผลิตไฟฟ้าและพลังงานร่วม จำกัด [CHPP] ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ไอน้ำและน้ำเพื่ออุตสาหกรรม 100.00
5 บริษัท พีทีที อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด [PTTINTER] ปิโตรเลียม 100.00
6 บริษัท ทรานส์ ไทย-มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำกัด [TTM (T)] ก๊าซธรรมชาติ 50.00
7 บริษัท ทรานส์ ไทย-มาเลเซีย (มาเลเซีย) จำกัด [TTM (M)] ก๊าซธรรมชาติ 50.00
8 บริษัท ผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น จำกัด [DCAP] ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าและน้ำเย็น 35.00
9 บริษัท ไทยออยล์เพาเวอร์ จำกัด [TP] ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า 26.00
10 บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) [GPSC] ผลิตไฟฟ้า 22.58
11 บริษัท พีทีที ยูทิลิตี้ จำกัด [PTTUT] ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ไอนำและน้ำเพื่ออุตสาหกรรม 40.00
12 บริษัท ราชบุรีเพาเวอร์ จำกัด [RPCL] ผลิตไฟฟ้า 15.00
13 กลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น บริษัท พีทีที โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด [PTTPM] การตลาดของผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ 50.00
14 บริษัท พีทีที โพลีเมอร์ โลจิสติกส์ จำกัด [PTTPL] บริการด้านโลจิสติกส์ 100.00
15 บริษัท พีทีที แทงค์ เทอมินัล จำกัด [PTT TANK] ให้บริการเก็บและขนถ่ายปิโตรเลียมเหลว 100.00
16 บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) [PTTGC] ปิโตรเคมี 48.89
17 บริษัท พีทีทีฟีนอล จำกัด [PPCL] ปิโตรเคมี 40.00
18 บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) [IRPC] ปิโตรเคมี 36.68
19 บริษัท พีทีที เมนเทนแนนซ์ แอนด์ เอนจิเนียริง จำกัด [PTTME] บริการบำรุงรักษาโรงงานและวิศวกรรม 40.00
20 บริษัท เอ็ชเอมซี โปลีเมอร์ จำกัด [HMC] ปิโตรเคมี 41.44
21 บริษัท พีทีที อาซาฮี เคมิคอล จำกัด [PTTAC] ปิโตรเคมี 48.50
22 บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) [TOP] การกลั่นน้ำมัน 49.10
23 บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด [SPRC] การกลั่นน้ำมัน 36.00
24 บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) [BCP] การกลั่นน้ำมัน 36.00
25 กลุ่มธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท.(กัมพูชา) จำกัด [PTTCL] การตลาดน้ำมัน 100.00
26 Subic Bay Energy Co, Ltd. [SBECL] การตลาดน้ำมัน 100.00
27 บริษัท ปตท.ธุรกิจค้าปลีก จำกัด [PTTRB] รับจ้างบริหารงานและการตลาดน้ำมัน 100.00
28 บริษัท ปตท.กรีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด [PTTGE] ปิโตรเลียม 100.00
29 บริษัท รีเทล บิซิเนส อัลไลแอนซ์ จำกัด [RBA] รับจ้างบริหารงานและการตลาดน้ำมัน 49.00
30 บริษัท Business Service Alliance จำกัด [BSA] รับจ้างบริหารงาน 25.00
31 KELOIL-PTT LPG Sdn,Bhd. [KPL] บรรจุและขาย LPG 40.00
32 บริษัท ไทยลู้บเบล็นดิ้ง จำกัด [TLBC] ผสมและบรรจุน้ำมันหล่อลื่น 48.95
33 บริษัท เวียดนามแอลพีจี จำกัด [VLPG] การตลาดน้ำมัน 45.00
34 บริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด [THAPPLINE] ท่อขนส่งน้ำมัน 33.19
35 บริษัท ปิโตรเอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด [PA (Thailand)] การตลาดน้ำมัน 35.00
36 บริษัท ปตท.มาร์ท จำกัด [PTTMART] รับจ้างบริหารงาน 49.00
37 บริษัท ปิโตรเอเชีย (Huzhou) จำกัด [PA (Huzhou)] การตลาดน้ำมัน 25.00
38 บริษัท ปิโตรเอเชีย (Maoming) จำกัด [PA (Maoming)] การตลาดน้ำมัน 20.00
39 บริษัท ปิโตรเอเชีย (Shantou) จำกัด [PA (Shantou)] ธุรกิจ LPG 15.00
40 บริษัท บริการน้ำมันอากาศยาน จำกัด [IPS] บริการเติมน้ำมันอากาศยาน 46.67
41 บริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด [FPL] ท่อขนส่งน้ำมัน 2.76
42 บริษัท เชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) [BAFS] บริการเติมน้ำมันอากาศยาน 7.06
43 กลุ่มการค้าระหว่างประเทศ บริษัท ปตท.ค้าสากล จำกัด [PTTT] ลงทุนในโครงการต่างๆ ในประเทศ 100.00
44 อื่นๆ บริษัท เอ็นเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด [EnCo] ธุรกิจพาณิชย์ 50.00
45 บริษัท พีทีที ไอซีที โซลูชั่นส์ จำกัด [PTT ICT] บริการสื่อสารและเทคโนโลยี 20.00
46 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) [TIP] ประกันภัย 13.33
47 บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด [SHELL]
100.00

อ้างอิง

  1. ปตท. - คนในองค์กร
  2. http://pttinternet.pttplc.com/internet/th/ptt_core.asp?page=ap_lo
  3. [1]
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2520เล่ม 94 ตอนที่ 17 วันที่ 6 มีนาคม 2520
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การโอนกิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ รวมทั้งพนักงานและลูกจ้างขององค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทยไปเป็นของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเล่ม 96 ตอนที่ 114ง วันที่ 15 กรกฎาคม 2522
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521เล่ม 95 ตอนที่ 152 วันที่ 28 ธันวาคม 2521
  7. http://www.settrade.com/C04_05_stock_majorshareholder_p1.jsp?txtSymbol=PTT&selectPage=5
  8. พระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2544 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 118 ตอน 87 ก หน้า 6-7 30 กันยายน พ.ศ. 2544
  9. http://www.komchadluek.net/detail/20120414/127911/หม้อต้มน้ำพองบึ้มเอ็นจีวีอีสานขาด.html

แหล่งข้อมูลอื่น