ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เหตุการณ์ 14 ตุลา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
CH.SAKUNA (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
CH.SAKUNA (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 104: บรรทัด 104:
== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}

== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.14tula.com/ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา]
* [http://www.14tula.com/remember_index.htm บันทึกความทรงจำ]

{{รัฐประหารในไทย}}

[[หมวดหมู่:เหตุการณ์ 14 ตุลา| ]]
[[หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์|หเตุการณ์ 14 ตุลา]]
[[หมวดหมู่:การสังหารหมู่|หเตุการณ์ 14 ตุลา]]
[[หมวดหมู่:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]
[[หมวดหมู่:การประท้วงในประเทศไทย]]
[[หมวดหมู่:เหตุการณ์ในรัชกาลที่ 9]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:37, 3 มีนาคม 2562

เหตุการณ์ 14 ตุลา
ไฟล์:เหตุการณ์-14-ตุลาคม.png
วันที่4 ตุลาคม พ.ศ. 2516 (50 ปีที่แล้ว)
สถานที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
สาเหตุ
เป้าหมาย
  • การเรียกร้องรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย
  • การเรียกร้องให้จอมพลถนอม กิตติขจรลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
วิธีการ
  • การเดินขบวนและชุมนุมประท้วง
  • การตีพิมพ์หนังสือ "บันทึกลับจากทุ่งใหญ่"
ผล
คู่ขัดแย้ง
ความเสียหาย
เสียชีวิต77 คน
บาดเจ็บ857 คน

เหตุการณ์ 14 ตุลา หรือ วันมหาวิปโยค เป็นเหตุการณ์การเรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชนครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เป็นเหตุการณ์ที่มีนักศึกษาและประชาชนมากกว่า 5 แสนคนชุมนุมเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการจอมพลถนอม กิตติขจร นำไปสู่คำสั่งของรัฐบาลให้ใช้กำลังทหารเข้าปราบปราม ระหว่างวันที่ 14 ถึง 15 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 77 ราย บาดเจ็บ 857 ราย และสูญหายอีกจำนวนมาก

เหตุการณ์ครั้งนี้ได้เกิดขึ้นด้วยสาเหตุที่สะสมก่อนหน้านี้หลายประการทั้ง ข่าวการทุจริตในรัฐบาล การพบซากสัตว์ป่าจากอุทยานในเฮลิคอปเตอร์ทหาร การถ่ายโอนอำนาจของจอมพลถนอม กิตติขจรต่อจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลทหารเข้าปกครองประเทศนานเกือบ 15 ปี และรวมถึงการรัฐประหารตัวเอง พ.ศ. 2514 ซึ่งเป็นชนวนเหตุที่ทำให้ประชาชนเบื่อหน่ายการปกครองในระบอบเผด็จการทหารและต้องการเรียกร้องรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยขึ้น

การประท้วงเริ่มขึ้นอย่างเด่นชัดเมื่อมีการตีพิมพ์ "บันทึกลับจากทุ่งใหญ่" ออกเผยแพร่ทำให้เกิดความสนใจในหมู่ประชาชน สู่การเดินแจกใบปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญของนิสิตนักศึกษาในสถานที่ต่างๆในกรุงเทพฯ จนถูกทหารควบคุมตัว ภายหลังเป็นที่รู้จักกันในฐานะ "13 ขบถรัฐธรรมนูญ"[1] ทำให้เกิดความไม่พอใจครั้งใหญ่แก่มวลนักศึกษาและประชาชนเป็นอย่างมาก เกิดการประท้วงเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สู่การเดินประท้วงในถนนราชดำเนิน โดยมีประชาชนทยอยเข้าร่วมจำนวนมาก ทำให้รัฐบาลได้ทำการสลายการชุมนุมจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้มีพระราชดำรัสทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยต่อเหตุการณ์ครั้งนี้ ในเวลาต่อมาจอมพลถนอม กิตติขจรก็ได้ประกาศลาออกและได้เดินทางออกต่างประเทศรวมถึง พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร และจอมพลประภาส จารุเสถียร กลุ่มบุคคลที่ประชาชนในสมัยนั้นเรียกว่า "3 ทรราช"[2]

เหตุการณ์ 14 ตุลา เป็นการลุกฮือของประชาชนครั้งแรกที่เรียกร้องประชาธิปไตยไทยสำเร็จและยังถือเป็นการรวมตัวของประชาชนมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย จนกลายเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ภาคประชาชนในประเทศอื่น ๆ ทำตามในเวลาต่อมา เช่น ที่ เกาหลีใต้ในเหตุการณ์จลาจลที่เมืองกวางจู เป็นต้น[3]

หลังเหตุการณ์

ภายหลังเหตุการณ์นี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและพระบรมวงศานุวงศ์ได้เสด็จเยี่ยมผู้ได้รับบาดเจ็บตามโรงพยาบาลต่าง ๆ และสำหรับผู้เสียชีวิต ได้พระราชทานเพลิงศพที่ทิศเหนือท้องสนามหลวง และอัฐินำไปลอยอังคารด้วยเครื่องบินของกองทัพอากาศที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา อ่าวไทย

ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2516 กองทัพอเมริกาในประเทศไทยก็ใช้กฎอัยการศึกประหารชีวิต เทพ แก่นกล้า ซึ่งมีความผิดในข้อหาใช้ปืนยิงนายทหารอเมริกันเสียชีวิต

หลังจากนั้นการเกิดเหตุการณ์ปราบปรามประชาชนเกิดขึ้นโดย ในวันที่ 24 มกราคม 2517 มีการเผาหมู่บ้านนาทราย ที่อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย มีผู้เสียชีวิต 3 ราย[4]เหตุการณ์ครั้งใหญ่ได้แก่เหตุการณ์จลาจลแยกพลับพลาไชย ในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 ถึง 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 การจลาจล ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 27 ราย และเหตุการณ์ร้ายแรงที่รองลงมาเกิดขึ้นในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 ที่ศาลากลางจังหวัดพังงา ได้มีผู้ก่อการร้ายโยนระเบิดเข้าไปในกลุ่มผู้ประท้วง ส่งผลให้ มีประชาชนเสียชีวิต 15 ราย บาดเจ็บ 17 ราย และในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2519 มีการเดินขบวนใหญ่ของนักศึกษาประชาชนนับแสนคน จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปยังสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ที่ถนนวิทยุ กรณีนี้ได้กลายเป็นเหตุรุนแรงเมื่อคนร้ายโยนระเบิดใส่ขบวนแถวของประชาชนเมื่อเคลื่อนไปถึงหน้าบริเวณโรงภาพยนตร์สยาม ทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน

ในระหว่าง มกราคม พ.ศ. 2517 ถึง สิงหาคม พ.ศ. 2519 ได้เกิดเหตุการณ์ กลุ่มแกนนำ นักศึกษา ผู้นำกรรมการ ผู้นำชาวนา ถูกสังหารด้วยอาวุธปืนและระเบิด อีก อย่างน้อย 85 ราย[5]อาทิ ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน มานะ อินทสุริยะ ไพโรจน์ พงษ์วิริยพงศ์ พิพัฒน์ กางกั้น สำราญ คำกลั่น ประจวบ พงษ์ชัยวิวัฒน์ สอิ้ง มารังกูล แสง รุ่งนิรันดรกุล อมเรศ ไชยสะอาด สมสิทธิ์ คำปันติบ สนอง ปัญชาญ ปรีดา จินดานนท์ ชวินทร์ สระคำ เฮียง สิ้นมาก อ้าย ธงโต ประเสริฐ โฉมอมฤต โง่น ลาววงศ์ มงคล สุขหนุน เกลี้ยง ใหม่เอี่ยม พุฒ ปงลังกา จา จักรวาล บุญทา โยธา อินถา ศรีบุญเรือง สวัสดิ์ ตาถาวรรณ พุฒ ทรายดำ บุญรัตน์ ใจเย็น กมล แซ่นิ้ม นิพนธ์ เชษฐากุล แก้ว เหลืองอุดมเลิศ ธเนศร์ เขมะอุดม[6]โดยทางตำรวจไม่สามารถจับคนร้ายได้แม้แต่รายเดียว

ในช่วงเวลาดังกล่าวนอกจากเหตุการณ์ลอบสังหารผู้นำกรรมการ ผู้นำชาวนา และนักศึกษาแล้ว ยังนับเป็นยุคทองของการชุมนุมประท้วง กล่าวคือพระสงฆ์ได้จัดการชุมนุมประท้วงขึ้น เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2518โดยพระภิกษุสามเณรจากวัดมหาธาตุ และวัดต่างๆ หลายร้อยรูปทั่วประเทศ มาชุมนุมกันที่ลานอโศก วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์ ข้อเรียกร้องก็คือ ขอให้ทบทวนพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ที่สร้างระบอบเผด็จการในหมู่สงฆ์ ด้วยการสร้างองค์กรมหาเถรสมาคมมาเป็นเครื่องมือ แม้แต่ตำรวจก็ได้จัดการชุมนุมประท้วงโดยในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2518 ตำรวจภูธรระดับผู้กองทั่วประเทศได้จัดการชุมนุมที่โรงแรมนารายณ์และในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2518 ตำรวจบางส่วนได้เข้าไปทำลายทรัพย์สินบ้านซอยสวนพลู

คณะรัฐมนตรีมีมติให้ก่อสร้าง อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ขึ้นที่ สี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนินกลาง โดยกว่าจะผ่านกระบวนต่าง ๆ และสร้างจนแล้วเสร็จนั้น ต้องใช้เวลาถึง 28 ปี

หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประชาชนต่าง ๆ จากหลายภาคส่วน โดยไม่มีนักการเมืองร่วมอยู่ด้วยเลย และใช้สนามม้านางเลิ้งเป็นที่ร่าง เรียกกันว่า "สภาสนามม้า" นำไปสู่การเลือกตั้งในต้น พ.ศ. 2518 ช่วงนั้นเรียกกันว่าเป็นยุค "ฟ้าสีทองผ่องอำไพ" แต่เหตุการณ์ต่าง ๆ ในประเทศยังไม่สงบ มีการเรียกร้องและเดินขบวนของกลุ่มชนชั้นต่าง ๆ ในสังคม ประกอบกับสถานการณ์ความมั่นคงในประเทศรอบด้านจากการรุกคืบของลัทธิคอมมิวนิสต์และผลกระทบจากสงครามเวียดนาม แม้รัฐบาลชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งก็ไม่มีเสถียรภาพเพียงพอที่จะแก้ไขสถานการณ์ได้ นำไปสู่เหตุนองเลือดอีกครั้งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. 2519 คือ เหตุการณ์ 6 ตุลา

นอกจากนี้ เหตุการณ์ 14 ตุลา ยังนับเป็นการลุกฮือของประชาชนครั้งแรกที่ประสบความสำเร็จในยุคศตวรรษที่ 20 และยังเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ภาคประชาชนในประเทศอื่น ๆ ทำตามในเวลาต่อมา เช่น ที่ เกาหลีใต้ในเหตุการณ์จลาจลที่เมืองกวางจู เป็นต้น[3]

ไฟล์:1 11.jpg
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีมีพระราชดำรัสทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยเมื่อเวลา 23:30 นาฬิกาของวันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์ ได้เปิดตัวหนังสือมา 2 เล่ม ชื่อ "ลอกคราบ 14 ตุลา ดักแด้ประวัติศาสตร์การเมืองไทย" และ "พันเอกณรงค์ กิตติขจร 30 ปี 14 ตุลา ข้อกล่าวหาที่ไม่สิ้นสุด" โดยมีเนื้อหาอ้างอิงจากเอกสารราชการลับในเหตุการณ์ 14 ตุลา ซึ่งมีเนื้อหาว่าทั้ง พ.อ.ณรงค์ และจอมพลถนอม มิได้เป็นผู้สั่งการในเหตุการณ์ 14 ตุลา[7] และพันเอกณรงค์ กิตติขจร ยังได้กล่าวอีกว่า พล.อ.กฤษณ์ สีวะรา เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการสังหารหมู่นิสิต นักศึกษา และประชาชนในการชุมนุม แต่ก็เป็นการชี้แจงหลังเกิดเหตุมาเกือบ 30 ปี และเป็นการชี้แจงเพียงฝ่ายเดียวโดยที่ฝ่ายครอบครัวของทาง พล.อ.กฤษณ์มิได้มีโอกาสชี้แจงกลับ คำกล่าวของพ.อ.ณรงค์ ขัดแย้งกับ นายโอสถ โกศิน อดีตรัฐมนตรีที่ใกล้ชิดกับ พล.อ.กฤษณ์ ซึ่งระบุว่า พล.อ.กฤษณ์ เป็นบุคคลสำคัญที่ไม่ยอมให้มีการปฏิบัติการขั้นรุนแรงแก่นักศึกษา

พ.ศ. 2546 สภาผู้แทนราษฎรมีมติเอกฉันท์กำหนดให้วันที่ 14 ตุลาคมของทุกปีเป็น "วันประชาธิปไตย" เป็นวันสำคัญของชาติ ในโอกาสครบรอบเหตุการณ์ 30 ปี[8]

รายชื่อ 13 ขบถรัฐธรรมนูญ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง