ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:ความโดดเด่น (บุคคล)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2: บรรทัด 2:
{{เว็บย่อวิกิ|WP:BIO|WP:PEOPLE}}
{{เว็บย่อวิกิ|WP:BIO|WP:PEOPLE}}
{{ความโดดเด่นของบทความ}}
{{ความโดดเด่นของบทความ}}
{{nutshell|
{{nutshell|บุคคลจะถือว่ามีความโดดเด่น หากผู้นั้นได้รับการกล่าวถึงอย่างสำคัญในแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิที่น่าเชื่อถือซึ่งไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับเรื่อง}}
ู* สันนิษฐานว่าบุคคลคนหนึ่งมีความโดดเด่นเมื่อผู้นั้นได้รับการกล่าวถึงอย่างสำคัญในแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิที่น่าเชื่อถือซึ่งไม่มีส่วนได้เสียกับบุคคลนั้น
* จำเป็นต้องผ่านเกณฑ์ความโดดเด่นสำหรับบุคคลจึงจะปรากฏอยู่ในรายการเดี่ยวได้
}}
{{รวมความโดดเด่น}}
{{รวมความโดดเด่น}}
นโยบายวิกิพีเดีย '''บุคคลที่มีความโดดเด่น''' เป็นแนวทางในการพิจารณาว่าบทความชีวประวัตินั้น เหมาะสมกับวิกิพีเดียหรือไม่ โดยตัวของบุคคลที่ปรากฏในวิกิพีเดีย นั้นจำเป็นต้อง '''มีความโดดเด่น''' หรือ '''มีคุณค่าเพียงพอให้เป็นที่รู้จัก''' โดยกล่าวโดยย่อคือ บุคคลนั้นมีผลงานที่เป็นที่รู้จักและน่าสนใจ เหมาะสมในการบันทึกไว้ในสารานุกรมวิกิพีเดีย


ความโดดเด่นเป็นเครื่องทดสอบที่ผู้เขียนใช้ตัดสินใจว่าบุคคลคนหนึ่งควรมีบทความแยกต่างหากบนวิกิพีเดียหรือไม่ ในกรณีบทความบุคคล บุคคลที่เป็นหัวข้อแห่งบทความชีวประวัตินั้นควรต้อง "ควรค่าแก่การรู้จัก", "โดดเด่น" คือ "สะดุดตา" หรือ "มีความสำคัญ น่าสนใจ หรือผิดธรรมดามากพอสมควรได้รับความสนใจหรือจดบันทึก" ภายในวิกิพีเดียเป็นนิยายชีวิตของบุคคลนั้นเป็นลายลักษณ์อักษร คำว่า "โดดเด่น" ในความหมายที่ว่ามีชื่อเสียงหรือเป็นที่นิยมนั้น มีความสำคัญรองลงมา
อย่างไรก็ตามชีวประวัติบุคคลที่ปรากฏไม่สมควรที่จะเขียนโดยเจ้าตัวบุคคล หรือบุคคลใกล้ตัว เช่น ญาติพี่น้อง ซึ่งในส่วนนี้มีกล่าวไว้ใน[[วิกิพีเดีย:อัตชีวประวัติ|นโยบายอัตชีวประวัติ]]

แนวปฏิบัติความโดดเด่นสำหรับชีวประวัตินี้สะท้อนความเห็นพ้องผ่านการอภิปรายต่าง ๆ และมีการเสริมด้วยวัตรปฏิบัติที่มั่นคงแล้ว และแจ้งคำวินิจฉัยว่าบทความเกี่ยวกับบุคคลบทความใดควรเขียนขึ้น รวมกับบทความอื่น ลบเสียหรือพัฒนาต่อไปได้


== ความโดดเด่นของบุคคล ==
== ความโดดเด่นของบุคคล ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:07, 2 มีนาคม 2562

ความโดดเด่นเป็นเครื่องทดสอบที่ผู้เขียนใช้ตัดสินใจว่าบุคคลคนหนึ่งควรมีบทความแยกต่างหากบนวิกิพีเดียหรือไม่ ในกรณีบทความบุคคล บุคคลที่เป็นหัวข้อแห่งบทความชีวประวัตินั้นควรต้อง "ควรค่าแก่การรู้จัก", "โดดเด่น" คือ "สะดุดตา" หรือ "มีความสำคัญ น่าสนใจ หรือผิดธรรมดามากพอสมควรได้รับความสนใจหรือจดบันทึก" ภายในวิกิพีเดียเป็นนิยายชีวิตของบุคคลนั้นเป็นลายลักษณ์อักษร คำว่า "โดดเด่น" ในความหมายที่ว่ามีชื่อเสียงหรือเป็นที่นิยมนั้น มีความสำคัญรองลงมา

แนวปฏิบัติความโดดเด่นสำหรับชีวประวัตินี้สะท้อนความเห็นพ้องผ่านการอภิปรายต่าง ๆ และมีการเสริมด้วยวัตรปฏิบัติที่มั่นคงแล้ว และแจ้งคำวินิจฉัยว่าบทความเกี่ยวกับบุคคลบทความใดควรเขียนขึ้น รวมกับบทความอื่น ลบเสียหรือพัฒนาต่อไปได้

ความโดดเด่นของบุคคล

อันดับแรก บุคคลที่บันทึกในวิกิพีเดียนั้นจำเป็นต้อง มีความโดดเด่น โดยมีผลงานที่ได้รับการกล่าวถึงในสื่ออื่นนอกเหนือจากสื่อของบุคคลนั้น (เช่น เว็บไซต์ส่วนตัวที่บุคคลนั้นทำขึ้นมาเอง) หรือหน่วยงานที่บุคคลนั้นสังกัดอยู่ (เช่น อ้างอิงถึงบุคลากรของมหาวิทยาลัยจากเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย) อย่างไรก็ตามข้อมูลจากสื่อเว็บไซต์หรือหนังสือของบุคคลนั้นสามารถนำมาใช้อ้างอิงในส่วนของเนื้อหาได้ แต่ไม่ควรนำมาใช้อ้างอิงในการแสดงถึงความโดดเด่นของตัวบุคคล นอกจากนี้เว็บไซต์ในรูปแบบของเว็บบอร์ด บล็อกส่วนตัว หรือวิกิ ไม่ควรนำมาใช้ในการยืนยันความโดดเด่น เพราะเป็นรูปแบบของเว็บไซต์ที่สามารถเขียนขึ้นโดยผู้อ่านทั่วไป ความโดดเด่นของบุคคลสามารถพิจารณาจากข้อหนึ่งข้อใดต่อไปนี้

  • บุคคลนั้นเป็นที่รู้จักในประวัติศาสตร์ ซึ่งบุคคลในกลุ่มนี้มักจะมีการกล่าวถึงในหนังสือหรือตำราเรียนอยู่แล้ว (บุคคลสำคัญ)
  • บุคคลนั้นได้รับรางวัลอันมีชื่อเสียงในระดับชาติหรือนานาชาติ หรือบุคคลที่มักจะได้รับการเสนอชื่อรับรางวัลดังกล่าว
  • บุคคลที่มีผลงานอันเป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับชาติหรือนานาชาติ
  • มีสื่อมากกว่าหนึ่งแหล่งกล่าวถึงเกี่ยวกับตัวบุคคลนั้น นอกเหนือจากเว็บไซต์ส่วนตัว สถานศึกษา หน่วยงานต้นสังกัด ผลงานตีพิมพ์หรือผลงานอื่น ๆ ของบุคคลนั้นเอง
  • บุคคลที่กำลังเป็นประเด็นในเหตุการณ์ปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง ได้มีการกล่าวถึงจากสื่อมวลชนบ่อยครั้ง โดยมีการกล่าวที่พูดถึงอย่างสำคัญ มากกว่าการกล่าวชื่อ
  • มีแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้อย่างยิ่ง โดยไม่นับเว็บไซต์ที่บุคคลดังกล่าวสังกัดอยู่ หรือความเห็นส่วนตัว
  • มีความสำคัญ มีอิทธิพลต่อสังคม และอิทธิพลดังกล่าว ต้องมีแหล่งอ้างอิงที่รองรับได้
  • มีประวัติรวบรวมไว้ในแหล่งอ้างอิงที่อื่นแล้ว เช่น หนังสือบุคคลสำคัญของไทย เป็นต้น

ระดับชาติหมายถึงเป็นผลงานที่ยอมรับในประเทศใดประเทศหนึ่งหรือรางวัลที่ทุกภาคส่วนของประเทศนั้นร่วมเข้าชิง ระดับนานาชาติหมายถึงเป็นผลงานที่ยอมรับในหลายประเทศหรือรางวัลที่หลายประเทศร่วมเข้าชิง ความโดดเด่นของบุคคลไม่จำเป็นต้องมีเพียงแต่ด้านบวกเพียงอย่างเดียว ถ้าหากบุคคลนั้นมีความโดดเด่นทางด้านลบแต่เป็นที่รู้จักในวงกว้างตามเงื่อนไขข้างต้นก็สามารถเขียนเป็นสารานุกรมได้ เช่น อุซามะห์ บิน ลาดิน หรือ ตี๋ใหญ่ เป็นต้น

เว็บไซต์ส่วนตัว สถานศึกษา หน่วยงานต้นสังกัด ผลงานตีพิมพ์หรือผลงานอื่น ๆ ของบุคคลนั้นเอง อาจใช้เป็นแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ยืนยันข้อมูลที่เขียนได้ เพราะบางกรณีข้อมูลที่ให้โดยเจ้าตัวมีความน่าเชื่อถือมากกว่าคนอื่นบอกกล่าว (เช่นข้อมูลส่วนบุคคล ประวัติส่วนตัว รสนิยมทางเพศ คำพูด หรือทัศนคติส่วนบุคคล) แต่จะไม่พิจารณาเป็นปัจจัยสำหรับพิจารณาความโดดเด่น ดังที่ได้กล่าวแล้ว

นักการเมือง

  • นักการเมืองที่ได้รับตำแหน่งในระดับสากลหรือระดับประเทศ และอยู่ในระดับแนวหน้า รวมไปถึงสมาชิกสภานิติบัญญัติและตุลาการด้วย
  • นักการเมืองที่ได้รับเลือกในระดับท้องถิ่น หรือนักการเมืองที่เสนอตัวแต่ไม่ได้รับเลือก ยังไม่สามารถรับประกันได้ว่าเป็นบุคคลสำคัญ จนกว่าบุคคลเหล่านั้นจะได้รับกล่าวถึงโดยตรงในแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ คือมิใช่แค่เพียงปรากฏชื่อในหัวข้อเรื่องอื่น และไม่อยู่ในผลงานใดๆ ที่บุคคลนั้นสร้างขึ้นเอง
  • นอกจากนั้น โปรดอย่าใช้วิกิพีเดียเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่นโยบายและข่าวสารเพื่อหวังผลทางการเมือง เพราะวิกิพีเดียไม่ใช่แท่นปราศรัย

นักการทูต

  • นักการทูตที่มีบทบาทสำคัญทางการทูตหรือเหตุการณ์ทางการทูต อีกทั้งจะต้องได้รับการกล่าวถึงในแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ และไม่ใช่แหล่งข้อมูลที่เขียนขึ้นโดยเจ้าตัวหรือแหล่งข้อมูลของหน่วยงานที่บุคคลนั้นสังกัดอยู่ เว้นแต่จะเพื่อการให้ข้อมูลเชิงลึก
  • อย่างไรก็ตาม นักการทูตที่มีส่วนในเหตุการณ์ทางการทูตอยู่บ่อยครั้ง แต่ไม่ได้รับการระบุชี้ชัดเป็นการส่วนตัว จำเป็นต้องมีการแสดงแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้

นักกีฬา

  • นักกีฬาที่เล่นในลีกอาชีพ หรือกีฬาอาชีพ
  • นักกีฬาสมัครเล่นที่มีผลงาน ในการได้รับรางวัล หรือเหรียญรางวัลในระดับโลก หรือระดับประเทศ

นักวิชาการ

ประกอบด้วยนักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ อาจารย์ นักเขียน นักข่าว ผู้กำกับ สถาปนิก วิศวกร หรือ บุคคลในแวดวง

  • บุคคลที่มีการกล่าวถึงอย่างแพร่หลาย มีการกล่าวถึงหรืออ้างถึงบ่อยครั้ง อย่างต่อเนื่อง
  • บุคคลที่มีผลงานคิดค้นเทคนิคหรือทฤษฎีใหม่ และเป็นที่ยอมรับ
  • บุคคลที่สร้างหรือมีส่วนร่วมสร้างงานอันสำคัญ ซึ่งเป็นที่ยอมรับและเป็นที่ประจักษ์แก่คนทั่วไป อีกทั้งงานชิ้นนั้น ๆ จะต้องมีการกล่าวถึงในสื่ออื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลนั้น หรือมีการวิจารณ์กล่าวถึงในวงกว้างในหลาย ๆ ครั้ง
  • บุคคลอันมีผลงานที่
    • กลายมาเป็นอนุสรณ์สถานหรือวัตถุสำคัญ
    • จัดแสดงในงานนิทรรศการหลายครั้ง
    • ได้รับความสนใจในวงกว้าง
    • จัดแสดงอย่างถาวรในแกลเลอรีหรือพิพิธภัณฑ์ที่สำคัญ หรือมีผลงานอยู่ในห้องสมุดหลายแห่ง

นักดนตรี ศิลปิน

ดูที่ วิกิพีเดีย:ความโดดเด่นของบทความ (ดนตรี)

ดารา

ประกอบด้วยนักแสดงทุกประเภท (รวมถึงนักแสดงในภาพยนตร์สำหรับผู้ใหญ่ และสื่อเฉพาะกลุ่มอื่นๆ) นักร้อง วงดนตรี นางแบบ พิธีกร

  1. มีบทบาทหลักในภาพยนตร์ ละคร ละครเวที รายการโทรทัศน์ รวมแล้วมากกว่าหนึ่งเรื่อง ไม่นับกรณีที่เป็นดารารับเชิญ
  2. สร้างชื่อเสียงในวงการบันเทิง หรือได้รับรางวัลในวงการบันเทิง
  3. บุคคลที่กล่าวถึงปรากฏตัวตามสื่อต่าง ๆ มากพอสมควร ซึ่งใช้เป็นแหล่งอ้างอิงได้
  4. บทความควรกล่าวถึงชีวประวัติ มากกว่าเว็บแฟนคลับ หรือเว็บการแข่งขันรายการบันเทิง

สำหรับกลุ่มอื่น ๆ ในแวดวง ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:ความโดดเด่นของบทความ (ดนตรี)

  • นักร้อง นักดนตรี และวงดนตรี ต้องเคยออกอัลบั้มกับค่ายเพลงมาแล้วมากกว่าสองอัลบั้ม หรือชนะเลิศการประกวดในระดับชาติหรือนานาชาติ กลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้องมีสมบัติตามข้อหนึ่งก็ได้
  • ผู้ที่ทำงานเป็นเบื้องหลังเช่น นักประพันธ์เพลง ผู้เรียบเรียงเสียงประสาน จำเป็นต้องได้รับรางวัลในวงการบันเทิงจึงจะถือว่ามีความโดดเด่น กลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้องมีสมบัติตามข้อหนึ่งและข้อสามก็ได้

หน้าแก้ความกำกวมหรือคำอธิบายเกี่ยวกับชื่อหรือนามสกุล

ใช้สำหรับชื่อที่ซ้ำกันมาก หรืออาจมีได้หลายความหมาย เช่น เป็นชื่อเมืองหรือสิ่งอื่นที่มีบทความในวิกิพีเดีย หากมีการกล่าวถึงบุคคลใดในบทความดังกล่าว บุคคลนั้นต้องผ่านเกณฑ์ความโดดเด่นข้างต้นเช่นกัน

สำหรับนามสกุล วงศ์สกุล หรือครอบครัว ให้ดูเกณฑ์ความโดดเด่นด้านล่าง

บุคคลอันมีชื่อจากเหตุการณ์เดียว

ในกรณีที่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มีความข้องเกี่ยวกับเหตุการณ์เดียวที่สำคัญ ตัวอย่างเช่น อาชญากรรมที่สำคัญหรือการสมัครการเลือกตั้ง บทความบุคคลอาจพิจารณาแยกให้เป็นเอกเทศ โดยไม่จำเป็นต้องมีบทความอื่นมาสนับสนุน แต่ถ้าแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้กล่าวถึงบุคคลนั้นเพียงเหตุการณ์จำเพาะ และไม่ปรากฏในเหตุการณ์อื่นอีกเลย การแยกชีวประวัติอาจไม่จำเป็น ควรจะรวมเข้ากับบทความของเหตุการณ์ดังกล่าว

ในกรณีที่แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้รายงานถึงบุคคล ณ เวลานั้นอย่างกว้างขวาง และมีการขยายความตามภูมิหลังของบุคคล ข้อมูลของบุคคลนั้นควรจะรวมอยู่ในบทความของเหตุการณ์ เว้นเสียแต่ว่าเนื้อหาของบุคคลนั้นจะมีเยอะมากจึงควรแยกออกไป หรือกรณีที่แหล่งข้อมูลมุ่งเน้นที่จะกล่าวถึงบุคคลเป็นหลัก และให้น้ำหนักเหตุการณ์เป็นรอง ในกรณีนี้การกล่าวถึงบุคคลสมควรแยกออกมาจากบทความเหตุการณ์ในลักษณะของการสรุปแทน เนื่องจากบุคคลนั้นอาจจะมีความโดดเด่นเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จากเหตุการณ์นั้น

เงื่อนไขที่มักเข้าใจผิด

ตรรกะต่อไปนี้ไม่เป็นที่ยอมรับ กรุณาพิจารณาความโดดเด่นจากเงื่อนไขที่กล่าวไว้แล้วด้านบน

  • ค้นหาชื่อของ "ก" ในเซิร์ชเอนจิน แล้วพบว่ามีหลายหัวข้อดังนั้น "ก" จึงเป็นบุคคลที่มีความโดดเด่น
  • "ข" เป็นสามีภรรยาหรือวงศาคณาญาติของ "ค" ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความโดดเด่น ดังนั้น "ข" จึงเป็นบุคคลที่มีความโดดเด่นด้วย
  • "ง" เคยร่วมแสดงในภาพยนตร์โฆษณาหรือมิวสิกวีดีโอ แม้เพียงเสี้ยวเล็กน้อย "ง" จึงเป็นบุคคลที่มีความโดดเด่น
  • "จ" เป็นบุคลากรของหน่วยงานหรือองค์กรที่มีความโดดเด่น ดังนั้น "จ" จึงเป็นบุคคลที่มีความโดดเด่น
  • "ฉ" เคยเข้าร่วมการแข่งขันในรายการบันเทิง ดังนั้น "ฉ" จึงเป็นบุคคลที่มีความโดดเด่น
  • "ช" เป็นผู้ที่ได้รับนามสกุลพระราชทาน หรืออยู่ในวงศ์ตระกูลที่มีความโดดเด่น ดังนั้น "ช" จึงเป็นบุคคลที่มีความโดดเด่น

ความโดดเด่นวงศ์ตระกูล

วงศ์ตระกูล ครอบครัวหรือนามสกุล มีความโดดเด่นสามารถสร้างเป็นบทความหรือหมวดหมู่ในวิกิพีเดียภาษาไทยได้ต่อเมื่อผ่านเกณฑ์ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณดังนี้

  1. เชิงคุณภาพ ได้รับการกล่าวถึงอย่างสำคัญ (significant coverage) ในแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือและไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับหัวเรื่องนั้น ในที่นี้ "การกล่าวถึงอย่างสำคัญ" หมายความว่า แหล่งข้อมูลได้กล่าวถึงหัวเรื่องในรายละเอียดโดยตรง การกล่าวถึงอย่างสำคัญเป็นมากกว่าการกล่าวถึงในเชิงเกร็ด (trivial mention) แต่ไม่ถึงกับต้องเป็นหัวข้อหลักของแหล่งข้อมูลนั้น แหล่งอ้างอิงจากหนังสือรวมรายชื่อนามสกุลพระราชทานและประกาศพระราชทานนามสกุลจากราชกิจจานุเบกษา ยังไม่ใช่แหล่งอ้างอิงที่กล่าวถึงอย่างสำคัญ (แต่นำมาอ้างอิงได้และอาจนำข้อมูลดังกล่าวไปเก็บไว้บนวิกิซอร์ซแล้วทำลิงก์โครงการพี่น้องจากวิกิพีเดียเชื่อมโยงไปหา)
  2. เชิงปริมาณ จำนวนบทความบุคคลที่เกี่ยวข้องน้อยที่สุดคือ
    • ห้าคน ในกรณีปกติ
    • สามคน ในกรณียกเว้นคือ สามชั่วอายุคนไม่ว่าจะติดต่อกัน (เช่น ปู่ พ่อ ลูก) หรือเว้นช่วง (เช่น ทวด แม่ หลาน) ที่ยกเว้นให้ในกรณีนี้เพราะในสามชั่วอายุคนกินเวลายาวนานเพียงพอ ทำให้เป็นที่รับรู้เป็นวงกว้างในสังคม และเป็นปัจจัยให้เกิดความโดดเด่นได้

ทั้งนี้สำหรับบทความวงศ์ตระกูลหรือนามสกุลอาจพิจารณาจากจำนวนบทความบุคคลที่ผ่านเกณฑ์สร้างบทความได้ แต่สำหรับหมวดหมู่ให้พิจารณาจากบทความที่มีอยู่แล้วเท่านั้น

รูปแบบ

สำหรับตระกูลหรือนามสกุลที่โดดเด่น มีลักษณะการเขียนที่ต่างกันไปดังนี้

  1. บทความประเภทนามสกุล ต้องอาศัยความโดดเด่นของแต่ละคนในสกุลเป็นองค์รวม อธิบายเนื้อหาว่าโดยรวมบุคคลในสกุลนั้น ๆ มีความโดดเด่นร่วมกันอย่างไร เช่น ประกอบอาชีพนั้นแทบทุกคน บุคคลแต่ละคนในตระกูลมีความโดดเด่น มีบทความแยกย่อย (แต่ละบุคคลผ่านเกณฑ์ความโดดเด่น) จำนวนบทความของบุคคลในตระกูลต้องผ่านเกณฑ์เชิงปริมาณข้างต้น (ดู en:Chaplin family, en:Bernoulli family, en:Jackson family)
  2. หากบุคคลนั้นเป็นผู้มีชื่อเสียงมาก จนมีแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิมากมายที่กล่าวถึง ครอบครัวอย่างละเอียด สามารถเขียนแยกเป็นบทความเกี่ยวกับครอบครัวได้ ยกตัวอย่างเช่นบทความ en:Einstein family บิดา มารดา และญาติอื่น ๆ ส่วนใหญ่ไม่ได้มีชื่อเสียง แต่ไอน์สไตน์ซึ่งเป็นคนที่มีชื่อเสียงมาก จึงมีอ้างอิงทุติยภูมิที่กล่าวถึงครอบครัวเขาอย่างละเอียด แต่จะไม่แยกเขียนเป็นบทความบุคคลแยกออกไป เนื่องจากยังไม่โดดเด่น ไม่มีผลงานเพียงพอ จึงได้สร้างบทความเขียนเกี่ยวกับครอบครัวรวม แต่สามารถเปลี่ยนทางชื่อบุคคล มาที่บทความครอบครัวได้
  3. หมวดหมู่นามสกุล เป็นหมวดหมู่ที่อยู่ในทุกหน้าบทความของผู้ที่ใช้นามสกุลนั้นและมีความเกี่ยวพันธ์กันทางเครือญาติ
  4. หมวดหมู่บุตร สำหรับกรณีกษัตริย์ ผู้มีอำนาจหรือชื่อเสียง ที่มักมีบุตรจำนวนมาก ทั้งนี้ให้ทำหมวดหมู่เพียงชั่วอายุคนเดียว ไม่ควรทำหมวดหมู่ไปถึงชั้นหลานเพราะไม่จำเป็นและอาจซ้ำซ้อน
  5. บทความรายชื่อ คล้ายกับหมวดหมู่ ให้พิจารณาตาม en:Wikipedia:Manual of Style/Stand-alone lists และ en:Wikipedia:Notability_(people)#Lists_of_people ซึ่งจะได้เขียนเป็นภาษาไทยและรับรองโดยชุมชนในโอกาสต่อไป

อนึ่งการเขียนพงศาวลีหรือลำดับวงศาคณาญาตินั้น อาจรวมไว้ในบทความบุคคลที่เกี่ยวข้องหรืออาจอยู่ในบทความนามสกุลหรือบทความครอบครัวก็ได้ตามความเหมาะสม การมีพงศาวลีที่มีหลักฐานอ้างอิงครบถ้วนไม่ใช่เหตุอ้างว่านามสกุลหรือบุคคลมีความโดดเด่นแต่อย่างใด

ข้อควรระวัง

อนึ่งแม้บทความจะมีความโดดเด่นเพียงพอ เพื่อความเป็นกลางของบทความวิกิพีเดียภาษาไทยมีนโยบายอื่นที่ผู้เขียนบทความบุคคลหรือวงศ์ตระกูลพึงระวังดังนี้

  • อัตชีวประวัติ หากผู้เขียนเป็นญาติหรือบุคคลที่ใกล้ชิดในวงศ์ตระกูลนั้น เนื้อหามักจะไม่เป็นกลางและน้ำหนักการเขียนมักจะมีลักษณะการชื่นชม และในหลายครั้งเนื้อหาที่เขียนถึงวงศ์ตระกูล มักเยิ่นเย้อ ใส่รายละเอียดทุกอย่าง หลักการสังเกตอย่างง่าย เนื้อหามากมายเหล่านั้นมักไม่มีอ้างอิงทุติยภูมิ อ้างอิงจากคำบอกเล่าในตระกูล และหนังสือตีพิมพ์งานฌาปนกิจ ไม่ถือเป็นอ้างอิงทุติยภูมิ
  • การขัดกันแห่งผลประโยชน์ แม้ผู้เขียนมิได้เป็นญาติแต่มีส่วนได้เสียอย่างใดอย่างหนึ่งกับเรื่องที่เขียนจนทำให้เกิดอคติในการเขียน ก็พึงงดเว้นการเขียนหรือการแก้ไขบทความนั้นเสีย

เมื่อไม่ผ่านเงื่อนไข

ถ้าคุณเห็นว่าบทความบุคคลไหนไม่ผ่านเกณฑ์ คุณสามารถช่วยติดป้าย

  • {{ใคร}} ถ้าบุคคลนั้น อาจจะเป็นบุคคลสำคัญที่มีความโดดเด่นแต่ไม่ได้อธิบายไว้ว่าคนนั้นสำคัญอย่างไร เผื่อให้ผู้เขียนกลับมาแก้ไข
  • {{ลบ}} ถ้าบุคคลนั้นไม่ใช่บุคคลสำคัญที่มีความโดดเด่น โดยจะทำการแจ้งผู้ดูแลระบบให้ลบบทความออกจากระบบ
  • นอกจากนี้คุณเองสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ โดยนำแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือมาเพิ่มเติม แสดงถึงความสำคัญของตัวบทความได้

เมื่อบทความถูกลบ

โดยสรุปแล้วในหน้านี้กล่าวถึงสาเหตุที่ส่วนใหญ่ที่บทความเกี่ยวกับบุคคลถูกลบสามประการคือ

  1. ขาดความโดดเด่น เช่น ไม่มีแหล่งอ้างอิง ไม่ผ่านเกณฑ์เชิงคุณภาพหรือเชิงปริมาณ
  2. เขียนไม่ถูกรูปแบบ เช่น ไม่มีความโดดเด่นร่วมกันในตระกูล
  3. ไม่เป็นกลาง เช่น เขียนโดยผู้มีส่วนได้เสีย

หากบทความของท่านถูกลบและต้องการส่งเข้ามาใหม่ในวิกิพีเดียหรือต้องการหาที่เผยแพร่ในเว็บไซต์อื่น โปรดอ่าน

ดูเพิ่ม