ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฐานานุกรม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
WikiBayer (คุย | ส่วนร่วม)
Reverted edits by 171.97.10.248 (talk): problem or vandalism
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว SWViewer [1.2]
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3: บรรทัด 3:
'''ฐานานุกรม''' คือชื่อเรียกลำดับตำแหน่ง[[สมณศักดิ์]]ของ[[พระสงฆ์]]ไทย ซึ่ง[[ภิกษุ]]ผู้มีตำแหน่งทางการปกครองหรือมีสมณศักดิ์สูงบางตำแหน่งมีสิทธิ์ตั้งพระรูปอื่นให้เป็นฐานากรมได้ตามศักดิ์ที่ได้รับพระบรมราชานุญาต เช่น พระสงฆ์ตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอ สามารถตั้งฐานานุกรมได้ 3 ตำแหน่ง [[พระราชาคณะ]]ชั้นสามัญตั้งฐานานุกรมได้ 3 ตำแหน่ง เป็นต้น ไปจนกระทั่งถึง[[สมเด็จพระสังฆราช]]ทรงตั้งฐานานุกรมได้ 15 ตำแหน่ง
'''ฐานานุกรม''' คือชื่อเรียกลำดับตำแหน่ง[[สมณศักดิ์]]ของ[[พระสงฆ์]]ไทย ซึ่ง[[ภิกษุ]]ผู้มีตำแหน่งทางการปกครองหรือมีสมณศักดิ์สูงบางตำแหน่งมีสิทธิ์ตั้งพระรูปอื่นให้เป็นฐานากรมได้ตามศักดิ์ที่ได้รับพระบรมราชานุญาต เช่น พระสงฆ์ตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอ สามารถตั้งฐานานุกรมได้ 3 ตำแหน่ง [[พระราชาคณะ]]ชั้นสามัญตั้งฐานานุกรมได้ 3 ตำแหน่ง เป็นต้น ไปจนกระทั่งถึง[[สมเด็จพระสังฆราช]]ทรงตั้งฐานานุกรมได้ 15 ตำแหน่ง


ฐานานุกรมนั้นมีตำแหน่งที่เป็นหลัก 3 ตำแหน่ง คือ '''พระปลัด พระสมุห์ พระใบฎีกา''' หากพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ที่มีสิทธิ์ตั้งฐานานุกรมเป็นผู้ที่มีสมณศักดิ์ตั้งแต่พระราชาคณะชั้นราชขึ้นไป พระฐานานุกรมที่ท่านเหล่านั้นตั้ง จะเรียก "พระครู" นำหน้าตำแหน่งฐานานุกรมนั้นทุกตำแหน่ง เช่น พระครูปลัด พระครูสังฆรักษ์ เป็นต้น
ฐานานุกรมนั้นมีตำแหน่งที่เป็นหลัก 3 ตำแหน่ง คือ '''พระปลัด'''<ref>https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%94&redirect=no</ref> '''พระสมุห์ พระใบฎีกา''' หากพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ที่มีสิทธิ์ตั้งฐานานุกรมเป็นผู้ที่มีสมณศักดิ์ตั้งแต่พระราชาคณะชั้นราชขึ้นไป พระฐานานุกรมที่ท่านเหล่านั้นตั้ง จะเรียก "พระครู" นำหน้าตำแหน่งฐานานุกรมนั้นทุกตำแหน่ง เช่น พระครูปลัด พระครูสังฆรักษ์ เป็นต้น


สิทธิในการให้พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์สามารถแต่งตั้งพระฐานานุกรมได้ จะมีระบุไว้ในสัญญาบัตรพระราชทานสมณศักดิ์ ว่าให้สามารถตั้งได้เท่านั้นเท่านี้รูป ซึ่งพระสงฆ์ผู้ได้รับพระราชทานสิทธิในการตั้งพระฐานานุกรม จะตั้งหรือไม่ตั้งก็ได้ หรือจะตั้ง แต่ตั้งเพียงจำนวนเท่าที่เห็นควรก็ได้ ไม่จำต้องตั้งทั้งหมด
สิทธิในการให้พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์สามารถแต่งตั้งพระฐานานุกรมได้ จะมีระบุไว้ในสัญญาบัตรพระราชทานสมณศักดิ์ ว่าให้สามารถตั้งได้เท่านั้นเท่านี้รูป ซึ่งพระสงฆ์ผู้ได้รับพระราชทานสิทธิในการตั้งพระฐานานุกรม จะตั้งหรือไม่ตั้งก็ได้ หรือจะตั้ง แต่ตั้งเพียงจำนวนเท่าที่เห็นควรก็ได้ ไม่จำต้องตั้งทั้งหมด

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:56, 2 มีนาคม 2562

พระราชาคณะตั้งแต่ชั้นสามัญขึ้นไป สามารถตั้งพระฐานานุกรมของตนได้ตามอัธยาศัย (ในพระบรมราชานุญาต)

ฐานานุกรม คือชื่อเรียกลำดับตำแหน่งสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ไทย ซึ่งภิกษุผู้มีตำแหน่งทางการปกครองหรือมีสมณศักดิ์สูงบางตำแหน่งมีสิทธิ์ตั้งพระรูปอื่นให้เป็นฐานากรมได้ตามศักดิ์ที่ได้รับพระบรมราชานุญาต เช่น พระสงฆ์ตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอ สามารถตั้งฐานานุกรมได้ 3 ตำแหน่ง พระราชาคณะชั้นสามัญตั้งฐานานุกรมได้ 3 ตำแหน่ง เป็นต้น ไปจนกระทั่งถึงสมเด็จพระสังฆราชทรงตั้งฐานานุกรมได้ 15 ตำแหน่ง

ฐานานุกรมนั้นมีตำแหน่งที่เป็นหลัก 3 ตำแหน่ง คือ พระปลัด[1] พระสมุห์ พระใบฎีกา หากพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ที่มีสิทธิ์ตั้งฐานานุกรมเป็นผู้ที่มีสมณศักดิ์ตั้งแต่พระราชาคณะชั้นราชขึ้นไป พระฐานานุกรมที่ท่านเหล่านั้นตั้ง จะเรียก "พระครู" นำหน้าตำแหน่งฐานานุกรมนั้นทุกตำแหน่ง เช่น พระครูปลัด พระครูสังฆรักษ์ เป็นต้น

สิทธิในการให้พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์สามารถแต่งตั้งพระฐานานุกรมได้ จะมีระบุไว้ในสัญญาบัตรพระราชทานสมณศักดิ์ ว่าให้สามารถตั้งได้เท่านั้นเท่านี้รูป ซึ่งพระสงฆ์ผู้ได้รับพระราชทานสิทธิในการตั้งพระฐานานุกรม จะตั้งหรือไม่ตั้งก็ได้ หรือจะตั้ง แต่ตั้งเพียงจำนวนเท่าที่เห็นควรก็ได้ ไม่จำต้องตั้งทั้งหมด

ตำแหน่งเหล่านี้เดิมมีพัดยศของหลวงพระราชทานมาให้ แต่ปัจจุบันนี้ต้องจัดทำเอง โดยพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์ที่มีสิทธิ์แต่งตั้งฐานานุกรมจะแต่งตั้งพระสงฆ์รูปใดในศิษยานุศิษย์ของตน ก็สุดแล้วแต่อัธยาศัย ทางการไม่ได้เกี่ยวข้องในการแต่งตั้งพระฐานานุกรม เพียงแต่รับรู้เท่านั้น

ภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งในลักษณะนี้เรียกว่า พระฐานานุกรม ทุกรูปจัดเป็นพระมีสมณศักดิ์เหมือนพระสมณศักดิ์ที่ทรงแต่งตั้ง พระในตำแหน่งเหล่านี้บางทีเรียกประทวนสัญญาบัตร บ้าง ฐานาประทวน บ้าง และเนื่องจากสมณศักดิ์เหล่านี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้พระราชทานเอง ดังนั้นเมื่อพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์ที่ได้ตั้งฐานานุกรมไว้มรณภาพ ตำแหน่งฐานานุกรมต่าง ๆ ก็ถือว่าเป็นอันสิ้นสุดไปด้วย เรียกกันในภาษาปากว่า พระครูม่าย หรือ ฐานาม่าย จนกว่าจะได้รับแต่งตั้งฐานานุกรมใหม่

ในอดีต ตำแหน่งฐานานุกรมบางตำแหน่งมีลำดับสมณศักดิ์สูงกว่าพระมหาเปรียญ จึงมีบางครั้งที่พระมหาเปรียญก็อาจได้รับแต่งตั้งฐานานุกรมบ้าง ซึ่งเรียกกันในภาษาปากว่า ฐานาทรงเครื่อง หรือ พระครูทรงเครื่อง คือมีทั้งตำแหน่งมหาเปรียญและฐานานุกรมในคราวเดียวกัน

ประเภทของฐานานุกรม

ฐานานุกรมแบ่งได้ 4 ตำแหน่ง ได้แก่

  1. ฐานานุกรมชั้นพระราชาคณะ ตำแหน่งนี้มีเฉพาะฐานานุกรมในสมเด็จพระสังฆราชเท่านั้น มี 2 ตำแหน่งคือ พระราชาคณะปลัดขวาและพระราชาคณะซ้าย (บางสมัยอาจมีพระราชาคณะปลัดกลาง) และฐานานุกรมชั้นนี้สามารถตั้งฐานานุกรมได้ 3 ตำแหน่งเหมือนพระราชาคณะชั้นสามัญทั่วไป
  2. ฐานานุกรมชั้นพระครูปลัดมีราชทินนาม พระครูปลัดมีราชทินนามเป็นฐานานุกรมของพระราชาคณะชั้นธรรมขึ้นไปจนถึงสมเด็จพระราชาคณะ เมื่อได้ตั้งฐานานุกรมชั้นนี้แล้ว ต้องไปแจ้งที่กรมการศาสนาเพื่อขึ้นทะเบียน และจัดนิตยภัตถวายเช่นเดียวกับพระครูสัญญาบัตรทั่วไป
  3. ฐานานุกรมชั้นพระครูอื่น คือ ฐานานุกรมของพระราชาคณะชั้นราชขึ้นไปจนถึงฐานานุกรมในสมเด็จพระสังฆราชบางตำแหน่ง เป็นตำแหน่งที่มีคำว่า "พระครู" นำหน้า เช่น พระครูปลัด พระครูวินัยธร เป็นต้น อนึ่ง พระครูฐานานุกรมของสมเด็จพระสังฆราช 4 ตำแหน่งที่อยู่อยู่ระหว่างพระราชาคณะปลัดซ้ายกับพระครูวินัยธร มีสิทธิ์รับพระราชทานนิตยภัตเช่นเดียวกับพระครูปลัดมีราชทินนาม
  4. ฐานานุกรมชั้นธรรมดา ฐานานุกรมชั้นนี้เป็นของพระราชาคณะชั้นสามัญ มี 3 ตำแหน่งคือ พระปลัด พระสมุห์ และพระใบฎีกา ไม่มีคำว่าพระครูนำหน้า

ฐานานุกรมในสมเด็จพระสังฆราช

สมเด็จพระสังฆราชที่สถิต ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

ได้แก่ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)[2] และสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร) ตั้งฐานานุกรมได้ 15 รูป คือ[3]

  • พระมหาคณิสร พุทธศาสนิกนิกรปสาทาภิบาล สกลสังฆประธานมหาสถาวีรกิจการี นายกบดีศรีรัตนคมกาจารย์ พระราชาคณะปลัดขวา
  • พระจุลคณิศร สัทธรรมนิติธรมหาเถราธิการ คณกิจบรรหารธุรการี สมุหบดีศรีธรรมภาณกาจารย์ พระราชาคณะปลัดซ้าย
สมเด็จพระสังฆราชที่สถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร

ได้แก่ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน) ตั้งฐานานุกรมได้ 15 รูป คือ[4]

  • พระมหานายก พุทธปาพจนดิลกโลกยปสาทาภิบาล สกลสังฆประธานมหาเถรกิจการี คณาธิบดีศรีรัตนคมกาจารย์ พระราชาคณะปลัดขวา
  • พระจุลนายก ธรรมนีติสาธกมหาเถราธิการ คณะกิจบรรหารธุรการี สมุหบดีศรีธรรมภาณกาจารย์ พระราชาคณะปลัดซ้าย
สมเด็จพระสังฆราชที่สถิต ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามและวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

ได้แก่ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ)[5] และสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ) ตั้งฐานานุกรมได้ 15 รูป[6]

  • พระทักษิณคณาธิกร สุนทรธรรมสาธก พุทธปาพจนดิลกมหาเถรกิจการี คณาธิบดีศรีรัตนคมกาจารย์ พระราชาคณะปลัดขวา
  • พระอุดรคณาภิรักษ์ อัครศาสนกิจบรรหาร มหาเถราธิการธุรการี สมุหบดีศรีธรรมภาณกาจารย์ พระราชาคณะปลัดซ้าย
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี)

ตั้งฐานานุกรมได้ 15 รูป คือ[7]

  • พระมหาคณานุศิษฏ์ สังฆอิสริยาลงกรณ์ สุนทรธรรมสาทก พุทธปาพจนดิลกมหาเถรกิจจการี คณาธิบดีศรีรัตนคมกาจารย์ พระราชาคณะปลัดขวา
  • พระจุลคณานุศาสก์ วิจารโณภาสภาคยคุณ สุนทรศาสนกิจบรรหาร มหาเถราธุรกิจจการี สมุหบดีศรีธรรมภาณกาจารย์ พระราชาคณะปลัดซ้าย
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย)

ตั้งฐานานุกรมได้ 15 รูป คือ[8]

  • พระมหาคณานุศิษฏ์ สังฆอิสริยาลงกรณ์ สุนทรธรรมสาธก พุทธปาพจนดิลกมหาเถรกิจจการี คณาธิบดีศรีรัตนคมกาจารย์ พระราชาคณะปลัดขวา
  • พระจุลคณานุศาสน์ วิจารโณภาสภาคยคุณ สุนทรศาสนกิจบรรหาร มหาเถราธิการธุรการี สมุหบดีศรีธรรมภาณกาจารย์ พระราชาคณะปลัดซ้าย
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)

ตั้งฐานานุกรมได้ 15 รูป คือ[9]

  • พระครูมหาคณานุสิชฌม์ สังฆอิศริยาลังการ วิจารณโกศล วิมลสังฆนายก ปิฎกธรรมรักขิต พระครูปลัดขวา
  • พระครูจุลคณานุสาสน์ วิจารโณภาสภาคยคุณ สุนทรสังฆานุคุตติ วิสุทธิสังฆนายก ปิฎกธรรมรักขิต พระครูปลัดซ้าย
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว)

ตั้งฐานานุกรมได้ 16 รูป คือ[10]

  • พระครูปลัดสัมพิพรรฒศีลาจารย์ ญาณวิมล สกลคณิศร อุดรสังฆนายก ปิฎกธรรมรักขิต
  • พระครูปลัดวาจีคณานุสิชฌน์ สังฆอิศริยาลังการ วิจารณกิจโกศล วิมลสังฆนายก ปิฎกธรรมรักขิต
  • พระครูปลัดอุทิจยานุสาสน์ วิจารโณภาษภาคยคุณ สุนทรสังฆานุคติ วิสุทธิสังฆนายก ปิฎกธรรมรักขิต

รายนามฐานานุกรม ในพระอัฐิสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส

  • พระทักษิณคณิสสร บวรสังฆสิทธิการ วิจารณกิจโกศล สกลมหาคณาธิบดี ตรีปิฎกธรรมรักขิต พระราชาคณะปลัดขวา
  • พระอุดรคณารักษ์ อรรควิจารณคุณ วิบุลญาณอนันต์ สรรพมหาคณาธิบดี ตรีปิฎกธรรมรักขิต พระราชาคณะปลัดซ้าย
  • พระสมุหวรคณิสสรสิทธิการ พิศาลวรกิจโกศล โสภณศีลาจารนืวิฐ พิพิธมหาคณาธิบดี ตรีปิฎกธรรมรักขิต พระราชาคณะปลัดกลาง

ตามประกาศ ตำแหน่งพระสงฆ์สมณศักดิ์ คณะกลาง วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระอัฎฐิพระ ถานานุกรมในพระอัฎฐิ 17 รูป[11]

  • พระครูปลัดอริยวงษาจาริย์ญาณมุนีศรีสังฆปรินายก พระครูปลัดขวา
  • พระครูปลัดเทพสิทธิเทพาธิบดี พระครูปลัดซ้าย
  • พระครูทักษิณคณิศร
  • พระครูอุดรคณารักษ์ ผู้ดูการวัด
  • พระครูสมุห์วรอรรคณิศรสิทธิการ
  • พระครูไพโรจน์ราชสังฆาราม
  • พระครูวิสุทธิสมโพธิ์
  • พระครูไกรสรประสิทธิ์
  • พระครูวิธยาคม
  • พระครูอุดมสังวร
  • พระครูอมรวิไชย์
  • พระครูวินัยธร
  • พระครูธรรมธร
  • พระครูสุนทรโฆสิต
  • พระครูวิจิตรโฆษา
  • พระครูสังฆบริรักษ์
  • พระครูใบฎีกา

รายนามฐานานุกรมของพระราชาคณะชั้นต่างๆ

สมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะเจ้าคณะรอง พระราชาคณะชั้นธรรม พระราชาคณะชั้นเทพ พระราชาคณะชั้นราช พระราชาคณะชั้นสามัญ
  • พระครูปลัดมีราชทินนาม ๑
    (พระครูปลัดสัมพิพัฒน...จารย์)
  • พระครูวินัยธร ๑
  • พระครูธรรมธร ๑
  • พระครูคู่สวด ๒
  • พระครูรองคู่สวด ๒
  • พระครูสังฆรักษ์
    มีราชทินนาม ๑
  • พระครูสมุห์ ๑
  • พระครูใบฎีกา ๑
  • พระครูปลัดมีราชทินนาม ๑
    (พระครูปลัดสุวัฒน...คุณ)[# 1]
  • พระครูวินัยธร ๑
  • พระครูธรรมธร ๑
  • พระครูคู่สวด ๒
  • พระครูสังฆรักษ์
    มีราชทินนาม ๑
  • พระครูสมุห์ ๑
  • พระครูใบฎีกา ๑
  • พระครูปลัดมีราชทินนาม ๑
    (พระครูปลัด...วัฒน์)[# 2]
  • พระครูวินัยธร ๑
  • พระครูธรรมธร ๑
  • พระครูสังฆรักษ์ ๑
  • พระครูสมุห์ ๑
  • พระครูใบฎีกา ๑
  • พระครูปลัด ๑
  • พระครูวินัยธร ๑
  • พระครูสังฆรักษ์ ๑
  • พระครูสมุห์ ๑
  • พระครูใบฎีกา ๑
  • พระครูปลัด ๑
  • พระครูสังฆรักษ์ ๑
  • พระครูสมุห์ ๑
  • พระครูใบฎีกา ๑
  • พระปลัด ๑
  • พระสมุห์ ๑
  • พระใบฎีกา ๑
หมายเหตุ
  1. ยกเว้นพระครูปลัด ฐานานุกรมในพระสาสนโสภณ จะมีราชทินนามว่า พระครูปลัดอรรถจริยานุกิจ
  2. ในพระราชาคณะชั้นธรรมบางรูป จะมีฐานานุกรมที่ลงท้ายด้วย "วัตร" เช่น พระธรรมราชานุวัตร มีพระครูปลัด มีราชทินนามว่า พระครูปลัดมหาเถรานุวัตร เป็นต้น

อ้างอิง

  1. https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%94&redirect=no
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช เล่ม ๙๑, ตอนที่ ๑๐๖ ฉบับพิเศษ, วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๑๗, หน้า ๕
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชโองการ ประกาศสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช, เล่ม ๑๓๔, ตอนที่ ๕ข, วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐, หน้า ๒-๓
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2532/A/063/1.PDF ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๖๓ วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๓๒ ฉบับพิเศษ หน้า ๖-๗
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2503/A/038/1.PDF ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๓๘ วันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๐๓ ฉบับพิเศษ หน้า ๗
  6. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2515/A/114/1.PDF ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๑๑๔ วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๑๕ ฉบับพิเศษ หน้า ๖-๗
  7. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2508/A/102/1.PDF ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๐๒ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๐๘ ฉบับพิเศษ หน้า ๕-๖
  8. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2506/A/045/1.PDF ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๔๕ วันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๐๖ ฉบับพิเศษ หน้า ๔
  9. พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๖ วันที่ ๒๕ กันยายน ๒๔๘๒ หน้า ๑๗๘๓-๑๗๘๔
  10. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2436/036/388.PDF ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 10 หน้า 389-390
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ ตำแหน่งพระสงฆ์สมณศักดิ์ คณะกลาง วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระอัฎฐิพระ, เล่ม ๙, ตอนที่ ๑๗, ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๕, หน้า ๑๑๒