ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าจันทรภาณุ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 6534395 สร้างโดย 182.232.121.226 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
ก๊อบมาจากไหนยาวยืด
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ขาดอ้างอิง}}
{{กล่องข้อมูล เชื้อพระวงศ์
{{Infobox royalty
| ภาพ =
| name = จันทรภาณุศรีธรรมราชา
| พระปรมาภิไธย =
| image =
| ราชวงศ์ = [[ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช]]
| succession =[[ตามพรลิงค์|พระมหากษัตริย์แห่งตามพรลิงค์]]
| วันพระราชสมภพ = ประมาณ พ.ศ. 1746<br>[[อาณาจักรศรีวิชัย]]
| reign = ค.ศ. 1230–1263
| วันสวรรคต = พ.ศ. 1813<br>[[นครศรีธรรมราช]]<br>พระชนมายุ 67 ปี
| native_lang1 = [[ภาษาทมิฬ|ทมิฬ]]
| พระอิสริยยศ = พระมหากษัตริย์นครศรีธรรมราช
| ทรงราชย์ = พ.ศ. 1790 - .ศ. 1813
| coronation = ค.ศ. 1230
| predecessor =
| ระยะเวลาครองราชย์ = 23 ปี
| successor = [[ซาวะกันมินดัน]]
| รัชกาลก่อนหน้า = [[พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช]]
| dynasty = ปัทมวงศ์
| รัชกาลถัดมา =
| succession1 = [[อาณาจักรจัฟฟ์นา|พระมหากษัตริย์แห่งจัฟฟ์นา]]
| พระราชบิดา = ไม่ปรากฏ
| reign1 = ค.ศ. 1255–1263
| พระราชมารดา = ไม่ปรากฏ
| coronation1 =
| พระอัครมเหสี =
| predecessor1 =
| พระมเหสี =
| successor1 = [[ซาวะกันมินดัน]]
| พระราชโอรส/ธิดา =
| spouse =
| issue =
| father =
| mother =
| birth_date =
| birth_place = [[ตามพรลิงค์]]
| death_date = ค.ศ. 1263
| death_place =
| place of burial =
| religion= [[พุทธ]]
| signature =
}}
}}


'''พระเจ้าจันทรภาณุ''' ({{lang-en|King Chandra Banu}}) หรือ พระเจ้าศรีธรรมโศกราชที่ 2 ของ[[ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช]] ([[นครศรีธรรมราช]]) แห่งอาณาจักรตามพรลิงก์<ref>[http://www.m-culture.go.th/nakhonsithammarat/index.php/2013-06-07-07-41-19/2014-01-07-05-26-19/item/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%B8 พระเจ้าจันทรภาณุ เมืองนครศรีธรรมราช - ฐานข้อมูลทางวัฒนธรรม] จากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช</ref> เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงเผยแผ่พระอานุภาพขจรไปยังแคว้นไกลที่สุด นั่นคือสามารถแผ่ไปถึงเกาะลังกา โดยการยกทัพไปตีถึง 2 ครั้งที่ยกทัพเรือเข้าโจมตีเกาะลังกา (ประเทศศรีลังกา ในปัจจุบัน) พระองค์ทรงยึดครองภาคเหนือของเกาะนี้ได้ (ค.ศ. 1235-1275)
'''พระเจ้าจันทรภาณุ''' เป็นพระมหากษัตริย์แห่ง[[อาณาจักรตามพรลิงค์]]<ref>[http://www.m-culture.go.th/nakhonsithammarat/index.php/2013-06-07-07-41-19/2014-01-07-05-26-19/item/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%B8 พระเจ้าจันทรภาณุ เมืองนครศรีธรรมราช - ฐานข้อมูลทางวัฒนธรรม] จากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช</ref> เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงเผยแผ่พระอานุภาพขจรไปยังแคว้นไกลที่สุด นั่นคือสามารถแผ่ไปถึงเกาะลังกา โดยการยกทัพไปตีถึง 2 ครั้งที่ยกทัพเรือเข้าโจมตีเกาะลังกา (ประเทศศรีลังกา ในปัจจุบัน) พระองค์ทรงยึดครองภาคเหนือของเกาะนี้ได้ (ค.ศ. 1235-1275)


==พระราชประวัติ==
==พระราชประวัติ==
พระเจ้าจันทรภาณุ มีพระนามเต็มว่า พระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมาโศกราช ตามประวัติจากหลักฐานตำนานเมืองและตำนานพระธาตุทราบว่า พระเจ้าจันทรภาณุ เป็นพระอนุชาของพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช พระองค์แรก ผู้เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ศรีธรรมโศกราช หรือราชวงศ์ปทุมวงศ์<ref>หนังสือ นครศรีธรรมราช จัดทำโดย : สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช</ref> มีใจความว่า "ท้าวศรีธรรมาโศกราชก็ตั้งอารามก่อพระเจดีย์ ปลูกพระศรีมหาโพธิรายทางมาจนถึงเมืองนคร ตั้งแต่นั้นทั้งสองภาราได้แต่งบรรณาการตอบแทนกันมิได้ขาดปี เมื่อพระยานครศรีธรรมาโศกราชถึงแก่กรรม เมื่อศักราช 1200 ปี พระยาจันทรภาณุ เป็นเจ้าเมือง พระยาพงษาสุระเป็นพระอุปราช ตั้งฝ่ายทักษิณพระมหาธาตุเป็นเมืองพระเวียง" พระเจ้าจันทรภาณุ นับเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งในราชวงค์ศรีธรรมาโศกราช มีข้อความปรากฏอยู่ในศิลาจารึกตอนหนึ่งว่า "ศรีสวัสดิ พระเจ้าผู้ปกครองกรุงตามพรลิงก์ เป็นผู้อุปถัมภ์ตระกูลปทุมวงค์ พระหัตถ์ของพระองค์มีฤทธิ์มีอำนาจ ด้วยอนุภาพแห่งบุญกุศล ซึ่งพระองค์ได้กระทำแก่มนุษย์ทั้งปวง ทรงเดชานุภาพดุจพระอาทิตย์พระจันทร์และมีเกียรติอันเลื่องลือ ทรงพระนามจันทรภาณุศิริธรรมราช เมื่อกลียุค 4332" ศิลาจากรึกนี้ตรงกับ พ.ศ 1773
พระเจ้าจันทรภาณุ ตามประวัติจากหลักฐานตำนานเมืองและตำนานพระธาตุทราบว่า พระเจ้าจันทรภาณุ เป็นพระอนุชาของพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช พระองค์แรก ผู้เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ศรีธรรมโศกราช หรือราชวงศ์ปทุมวงศ์<ref>หนังสือ นครศรีธรรมราช จัดทำโดย : สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช</ref> มีใจความว่า "ท้าวศรีธรรมาโศกราชก็ตั้งอารามก่อพระเจดีย์ ปลูกพระศรีมหาโพธิรายทางมาจนถึงเมืองนคร ตั้งแต่นั้นทั้งสองภาราได้แต่งบรรณาการตอบแทนกันมิได้ขาดปี เมื่อพระยานครศรีธรรมาโศกราชถึงแก่กรรม เมื่อศักราช 1200 ปี พระยาจันทรภาณุ เป็นเจ้าเมือง พระยาพงษาสุระเป็นพระอุปราช ตั้งฝ่ายทักษิณพระมหาธาตุเป็นเมืองพระเวียง" พระเจ้าจันทรภาณุ นับเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งในราชวงค์ศรีธรรมาโศกราช มีข้อความปรากฏอยู่ในศิลาจารึกตอนหนึ่งว่า "ศรีสวัสดิ พระเจ้าผู้ปกครองกรุงตามพรลิงก์ เป็นผู้อุปถัมภ์ตระกูลปทุมวงค์ พระหัตถ์ของพระองค์มีฤทธิ์มีอำนาจ ด้วยอนุภาพแห่งบุญกุศล ซึ่งพระองค์ได้กระทำแก่มนุษย์ทั้งปวง ทรงเดชานุภาพดุจพระอาทิตย์พระจันทร์และมีเกียรติอันเลื่องลือ ทรงพระนามจันทรภาณุศิริธรรมราช เมื่อกลียุค 4332" ศิลาจากรึกนี้ตรงกับ พ.ศ 1773


==พระราชกรณียกิจ==
==พระราชกรณียกิจ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:20, 25 กุมภาพันธ์ 2562

จันทรภาณุศรีธรรมราชา
พระมหากษัตริย์แห่งตามพรลิงค์
ครองราชย์ค.ศ. 1230–1263
ราชาภิเษกค.ศ. 1230
ถัดไปซาวะกันมินดัน
พระมหากษัตริย์แห่งจัฟฟ์นา
ครองราชย์ค.ศ. 1255–1263
ถัดไปซาวะกันมินดัน
ประสูติตามพรลิงค์
สวรรคตค.ศ. 1263
ราชวงศ์ปัทมวงศ์
ศาสนาพุทธ

พระเจ้าจันทรภาณุ เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรตามพรลิงค์[1] เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงเผยแผ่พระอานุภาพขจรไปยังแคว้นไกลที่สุด นั่นคือสามารถแผ่ไปถึงเกาะลังกา โดยการยกทัพไปตีถึง 2 ครั้งที่ยกทัพเรือเข้าโจมตีเกาะลังกา (ประเทศศรีลังกา ในปัจจุบัน) พระองค์ทรงยึดครองภาคเหนือของเกาะนี้ได้ (ค.ศ. 1235-1275)

พระราชประวัติ

พระเจ้าจันทรภาณุ ตามประวัติจากหลักฐานตำนานเมืองและตำนานพระธาตุทราบว่า พระเจ้าจันทรภาณุ เป็นพระอนุชาของพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช พระองค์แรก ผู้เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ศรีธรรมโศกราช หรือราชวงศ์ปทุมวงศ์[2] มีใจความว่า "ท้าวศรีธรรมาโศกราชก็ตั้งอารามก่อพระเจดีย์ ปลูกพระศรีมหาโพธิรายทางมาจนถึงเมืองนคร ตั้งแต่นั้นทั้งสองภาราได้แต่งบรรณาการตอบแทนกันมิได้ขาดปี เมื่อพระยานครศรีธรรมาโศกราชถึงแก่กรรม เมื่อศักราช 1200 ปี พระยาจันทรภาณุ เป็นเจ้าเมือง พระยาพงษาสุระเป็นพระอุปราช ตั้งฝ่ายทักษิณพระมหาธาตุเป็นเมืองพระเวียง" พระเจ้าจันทรภาณุ นับเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งในราชวงค์ศรีธรรมาโศกราช มีข้อความปรากฏอยู่ในศิลาจารึกตอนหนึ่งว่า "ศรีสวัสดิ พระเจ้าผู้ปกครองกรุงตามพรลิงก์ เป็นผู้อุปถัมภ์ตระกูลปทุมวงค์ พระหัตถ์ของพระองค์มีฤทธิ์มีอำนาจ ด้วยอนุภาพแห่งบุญกุศล ซึ่งพระองค์ได้กระทำแก่มนุษย์ทั้งปวง ทรงเดชานุภาพดุจพระอาทิตย์พระจันทร์และมีเกียรติอันเลื่องลือ ทรงพระนามจันทรภาณุศิริธรรมราช เมื่อกลียุค 4332" ศิลาจากรึกนี้ตรงกับ พ.ศ 1773

พระราชกรณียกิจ

1. ประกาศอิสรภาพจากอาณาจักรศรีวิชัยให้แก่นครศรีธรรมราช ตอนนั้นนครฯเป็นรัฐหนึ่งของศรีวิชัย ซึ่งตอนนั้นศรีวิชัยอ่อนแอเต็มที พระเจ้าจันทรภาณุจึงประกาศเอกราชจากศรีวิชัยในราว พ.ศ. 1773 และอาณาจักรศรีวิชัยก็ถึงกาลอวสานในราวปี พ.ศ. 1838 หลังจากครองความ ยิ่งใหญ่มานานประมาณ 500 ปี

2. ยกทัพไปตีลังกา 2 ครั้ง ดังนี้

ครั้งที่ 1.ยกไปตีลังกาในราวปี พ.ศ. 1750 ในสมัยของพระเจ้าปรักกรมพาหุ กษัตริย์แห่งลังกา ในการรบครั้งนี้ได้รับชัยชนะ เป็นเหตุให้แสนยานุภาพของพระองค์แผ่ไปตลอดแหลมมลายู และเกิดมีอาณานิคมของตามพรลิงก์อยู่ในลังกา และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ลังกาต้องมอบพระพุทธสิหิงค์ให้ในโอกาสต่อมา และชาวลังกาเรียกพระนามของพระองค์ว่า ชวากะ

ครั้งที่ 2 ยกทัพไปตีลังกาครั้งนี้อยู่ในระหว่าง พ.ศ. 1801 – พ.ศ. 1803 หรือในราว พ.ศ. 1795 นักประวัติศาสตร์บางท่านมีความเห็นว่า ในการรบครั้งนี้พระองค์มิได้กรีฑาทัพไปโดยพระองค์เอง แต่มอบหมายให้ราชโอรสพร้อมด้วยนายพลคนสำคัญไปรบแทน

การไปรบลังกาในครั้งหลังนี้พระเจ้าจันทนภาณุ ได้รับความช่วยเหลือจากทหารชาวทมิฬโจฬะ และพวกปาณฑย์ ซึ่งเป็นศัตรูกับชาวลังกามาแต่โบราณ และได้ยกพลขึ้นบกที่มหาติตถะ ทางฝ่ายนครศรีธรรมราช มีเจ้าชายวีรพาหุเป็นแม่ทัพในระยะแรกฝ่ายพระเจ้าจันทรภาณุมีชัยชนะในการรบ แต่ระยะหลังกองทัพของพวกปาณฑ์เกิดกลับใจไปร่วมรบกับพวกลังกาตีพวกโจฬะแตกพ่าย ทำให้ทัพของพระเจ้าจันทรภาณุถูกล้อม มีนักประวัติศาสตร์บางท่านกล่าวว่าพระองค์สิ้นพระชนม์ในสนามรบ แต่บางท่านบอกว่าพระองค์เสด็จกลับมาได้และอยู่ต่อมาอีกหลายปีจึงสิ้นพระชนม์

3. สร้างวัดวาอาราม อาจารย์มานิต วัลลิโภดมได้สืบสาวเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ความว่า ในระหว่าง พ.ศ. 1776 – พ.ศ. 1823 นครศรีธรรมราชว่างจากราชการสงครามมีเวลาว่าง จึงได้สร้างวัดขึ้นหลายวัดเช่น วัดพระเดิม วัดหว้าทยานหรือวัดหว้าอุทยาน และได้มีการปลูกต้นพระศรีมหาโพธิไว้ทุกวัดด้วย

4. ตั้งลัทธิลังกาวงศ์ขึ้นที่นครศรีธรรมราช ในช่วงที่พระเจ้าจันทรภาณุได้ส่งทูตไปเมืองลังการเพื่อขออัญเชิญพระพุทธสิหิงค์นั่นเอง ก็ได้ส่งพระภิกษุชาวนครศรีธรรมราชไปศึกษาพระธรรมวินัยแบบหินยานของลังกา และตอนขากลับก็ได้เชิญพระภิกษุชาวลังกาพร้อมชนชาวลังกามาด้วย มาตั้งคณะสงฆ์ขึ้นใหม่ที่นครศรีธรรมราชเรียกว่า "พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์" แทนลัทธิเดิมซึ่งพระพุทธศาสนาแบบมหายานตามอย่างศรีวิชัย ต่อมาลัทธิลังกาวงศ์ก็แผ่ไปสู่สุโขทัย ตั้งเป็นปึกแผ่นอย่างมั่นคงมาจนปัจจุบันนี้

5. สร้างพระบรมธาตุเจดีย์ให้เป็นแบบทรงลังกา ด้วยในระยะพระบรมธาตุเดิมเป็นแบบศรีวิชัยและชำรุดทรุดโทรมมาก พระภิกษุและชนชาวลังกาที่มาอยู่ที่นครศรีธรรมราช รวมทั้งชาวนครฯเองด้วย ลงความเห็นกันว่าเห็นควรบูรณะซ่อมแซมองค์พระบรมธาตุเสียใหม่ให้แข็งแรง โดยให้สร้างใหม่หมดทั้งองค์ตามแบบทรงลังกา และให้คร่อมทับพระเจดีย์องค์เดิมไว้โดยสร้างเป็นพระสถูปทรงโอคว่ำ พระเจดีย์องค์เดิมได้ค้นพบเมื่อคราวบูรณะปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุเจดีย์ในสมัย รัชกาลที่ 5 และมีหลักฐานยืนยันว่าชนชาวลังกาได้มาอยู่ที่นครฯจริง ด้วยในปี พ.ศ. 2475 ได้ขุดพบพระพุทธรูปลังกาทำด้วยหินสีเขียวคล้ายมรกต 1 องค์ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าเป็นฝีมือของชาวลังการุ่นเก่า โดยขุดพบที่บริเวณพระพุทธบาทจำลองในวัดพระมหาธาตุฯ ปัจจุบันพระพุทธรูปองค์นี้ได้เก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช

อ้างอิง

  1. พระเจ้าจันทรภาณุ เมืองนครศรีธรรมราช - ฐานข้อมูลทางวัฒนธรรม จากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช
  2. หนังสือ นครศรีธรรมราช จัดทำโดย : สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช