ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แตงไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 25: บรรทัด 25:
==รวมภาพ==
==รวมภาพ==
<gallery>
<gallery>
Image:03-05-JPN202.jpg|แตงไทยในญี่ปุ่นเป็นของขวัญที่มีราคาแพง
ไฟล์:03-05-JPN202.jpg|แตงไทยในญี่ปุ่นเป็นของขวัญที่มีราคาแพง
Image:Korea-Chamoe-Oriental melon-01.jpg|''Chamoe'' ([[hangul|참외]], แตงไทยพันธุ์makuwa) ขายใน[[โซล]] [[เกาหลีใต้]]
ไฟล์:Korea-Chamoe-Oriental melon-01.jpg|''Chamoe'' ([[hangul|참외]], แตงไทยพันธุ์makuwa) ขายใน[[โซล]] [[เกาหลีใต้]]
File:Squeredmelon inside001.jpg|''แตงไทยสี่เหลี่ยม'' ปลูกในญี่ปุ่น เรียกว่า "Kakumero"
ไฟล์:Squeredmelon inside001.jpg|''แตงไทยสี่เหลี่ยม'' ปลูกในญี่ปุ่น เรียกว่า "Kakumero"
Image:Armenian_cucumbers.jpeg| [[แตงกวาอาร์เมเนีย]]จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับแตงไทย
ไฟล์:Armenian_cucumbers.jpeg| [[แตงกวาอาร์เมเนีย]]จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับแตงไทย
</gallery>
</gallery>
== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:15, 22 กุมภาพันธ์ 2562

แตงไทย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Cucurbitales
วงศ์: Cucurbitaceae
สกุล: Cucumis
สปีชีส์: C.  melo
ชื่อทวินาม
Cucumis melo
L.

แตงไทย (อังกฤษ: Muskmelon; ชื่อวิทยาศาสตร์: Cucumis melo) อยู่ในวงศ์ Cucurbitaceae ทางภาคเหนือเรียก แตงลายหรือมะแตงสุก ภาคอีสานเรียก แตงจิงหรือแตงกิง ภาษาเขมรเรีบกซกเซรา ภาษากะเหรี่ยงเรียก ดี มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้ตั้งแต่เชิงเขาหิมาลัยไปถึงแหลมโคโมริน [1] รวมทั้งพันธุ์ที่ผิวเรียบ เช่น honeydew crenshaw และ casaba และพันธุ์ที่ผิวไม่เรียบ เช่น แคนตาลูป แตงเปอร์เซีย และ Christmas melon แตงกวาอาร์เมเนีย จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับแตงไทย แม้ว่ารูปร่างและรสชาติจะใกล้เคียงกับแตงกวา

แตงไทยป็นพืชล้มลุก ลำต้นเป็นเถาเลื้อย มีขนอ่อน ปกคลุมตลอดทั้งลำต้นและใบ ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ขอบใบหยัก ก้านใบยาว ดอกสีเหลือง มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ ผลมีขนาดค่อนข้างใหญ่ รูปร่างกลมยาว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล 12-15 ซม. ยาว 20-25 ซม. ผลอ่อนสีเขียวและมีลายสีขาวพาดยาว เมื่อผลแก่เปลือกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผิวเรียบเป็นมันเนื้อในผลสีเหลืองอ่อนอมเขียว กลิ่นหอม มีเมล็ดรูปแบนรี สีครีมจำนวนมาก แตงไทยให้ผลผลิตในช่วงหน้าร้อน สามารถปลูกได้ทุกภาคทั่วประเทศไทย

การใช้ประโยชน์

ผลอ่อนของแตงไทยนำมากินเป็นผักสดจิ้มน้ำพริกหรือนำไปดอง ผลสุกมีรสจืดหรืออมหวานเล็กน้อย เนื้อซุย ชุ่มน้ำ กลิ่นหอม นิยมกินสดหรือทำของหวาน เช่น น้ำกะทิแตงไทย และทำน้ำปั่น ทำเป็นผลไม้แห้งได้ บางพันธุ์ปลูกเพื่อนำเมล็ดไปสกัดน้ำมัน บางชนิดปลูกเพื่อต้องการนำกลิ่นหอมไปใช้ประโยชน์[2]

แตงไทยมีคาร์โบไฮเดรด แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ และวิตามินซี[3] เนื้อมีฤทธิ์เย็น ช่วยดับกระหาย แก้เลือดกำเดาไหล ดอกอ่อนตากแห้งต้มดื่มช่วยให้อาเจียน แก้โรคดีซ่าน หรือบดเป็นผงพ่นแก้แผลในจมูก เมล็ดแก่ช่วยในการขับปัสสาวะ ช่วยย่อยอาหาร แก้ไอ รากต้มดื่มช่วยระบายท้อง[4]

รวมภาพ

อ้างอิง

  1. นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. แตงไทย ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 81
  2. National Research Council (2008-01-25). "Melon". Lost Crops of Africa: Volume III: Fruits. Lost Crops of Africa. Vol. 3. National Academies Press. ISBN 978-0-309-10596-5. สืบค้นเมื่อ 2008-07-17. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |chapterurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|chapter-url=) (help)
  3. Nutrition Facts for melons, cantaloupe
  4. ประโยชน์ด้านอื่นๆ

แหล่งข้อมูลอื่น