ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เศรษฐกิจไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
Uathanet (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 331: บรรทัด 331:
== ทุนสำรองระหว่างประเทศ ==
== ทุนสำรองระหว่างประเทศ ==
{{โครงส่วน}}
{{โครงส่วน}}
ประเทศไทยมีทุนสำรองระหว่างประเทศ 209,911ล้านดอลล่าร์สหรัฐ มกราคม พ.ศ. 2562


== หนี้สาธารณะ ==
== หนี้สาธารณะ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:06, 20 กุมภาพันธ์ 2562

เศรษฐกิจไทย
ผู้คนกำลังชมสินค้าในร้านค้าแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
อันดับทางเศรษฐกิจ20 (PPP) (IMF, 2561)
25 (ราคาตลาด) (IMF, 2561)
สกุลเงินบาท
ปีงบประมาณ1 ตุลาคม – 30 กันยายน
ภาคีการค้าWTO, APEC, IOR-ARC, ASEAN
สถิติ
จีดีพีUS$11,310,573 ล้าน (PPP, 2561)
US$490,120 ล้าน (ราคาตลาด, 2561)[1]
จีดีพีเติบโตเพิ่มขึ้น 3.9% (2560) [2]
จีดีพีต่อหัวUS$19,126 (PPP, 2561)
US$6,590 (ราคาตลาด, 2561) [1]
ภาคจีดีพีเกษตรกรรม (8.4%) อุตสาหกรรม (39.2%) บริการ (52.4%) (2555)[3]
เงินเฟ้อ (CPI)1.1% (ทั่วไป) (2561) [4] [5]
0.7% (พื้นฐาน) (2561) [4]
ประชากรยากจน7.2% (2558)[6]
จีนี0.484 (รายได้) (2554)[6]
0.375 (รายจ่าย) (2554)[6]
แรงงาน39.41 ล้านคน (2555)[7]
ว่างงาน0.7% (2555)[8]
อุตสาหกรรมหลัก
  • ยานยนต์และชิ้นส่วน (11%)
  • บริการทางการเงิน (9%)
  • เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ (8%)
  • การท่องเที่ยว (6%)
  • ซีเมนต์
  • อุตสาหกรรมหนักและเบา
  • เครื่องใช้ในครัวเรือน
  • คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน
  • เฟอร์นิเจอร์
  • พลาสติก
  • สิ่งทอและเสื้อผ้า
  • การแปรรูปเกษตร
  • ยาสูบ
อันดับความคล่องในการทำธุรกิจ18[9]
การค้า
มูลค่าส่งออกUS$236.69 พันล้าน (2560)[10][11][12]
สินค้าส่งออกคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน, ยานยนต์และชิ้นส่วน, เครื่องใช้ไฟฟ้า, ผลิตภัณฑ์โลหะ, ผลิตภัณฑ์พลาสติก, ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม [13]
ประเทศส่งออกหลัก สหรัฐ 11.4%
 จีน 11%
 สหภาพยุโรป 10.3%
 ญี่ปุ่น 9.6%
 ฮ่องกง 5.3%
อื่น ๆ 52.4% (2559)[14]
มูลค่านำเข้าUS$222.76 พันล้าน (2560) [10][11][12]
สินค้านำเข้าน้ำมันดิบ, เครื่องจักรและส่วนประกอบ, เหล็กและเหล็กกล้า, ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, เคมีภัณฑ์, ยานยนต์[13]
ประเทศนำเข้าหลัก จีน 21.6%
 ญี่ปุ่น 15.8%
 สหภาพยุโรป 9.3%
 สหรัฐ 6.2%
 มาเลเซีย 5.6%
อื่น ๆ 41.5% (2559)[14]
FDIUS$205.5 พันล้าน (2560)[15]
หนี้ต่างประเทศUS$148.9 พันล้าน (ไตรมาสที่สี่ 2560)[16]
การคลังรัฐบาล
หนี้สาธารณะร้อยละ 40.78 ของจีดีพี (พฤษภาคม 2561) [17]
รายรับ2.397 ล้านล้านบาท (ปีงบฯ 2561) [18]
รายจ่าย2,686 ล้านล้านบาท (ปีงบฯ 2561) [19]
ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจไม่มี
อันดับความเชื่อมั่นสแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ส:[20]
A- (ในประเทศ)
BBB+ (ต่างประเทศ)
A (T&C Assessment)
การคาดการในอนาคต: มีเสถียรภาพ[21]
  • มูดีส์:[21]
    Baa1
    การคาดการในอนาคต: มีเสถียรภาพ
  • ฟิทช์:[21]
    BBB
    การคาดการในอนาคต: มีเสถียรภาพ
ทุนสำรองUS$236.02 พันล้าน (10 ส.ค. 61)[22]
แหล่งข้อมูลหลัก: CIA World Fact Book
หน่วยทั้งหมด หากไม่ระบุ ถือว่าเป็นดอลลาร์สหรัฐ

เศรษฐกิจไทยมีเศรษฐกิจแบบผสม มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของอาเซียน เป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ราว 15.451 ล้านล้านบาท (ข้อมูลปี พ.ศ. 2560) [23] และเมื่อปี พ.ศ. 2561 มีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในรูปตัวเงิน (ราคาตลาด; GDP Nominal) เป็นอันดับที่ 25 ของโลก มีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ (พีพีพี; GDP PPP) เป็นอันดับที่ 20 ของโลก และมีอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 1.1% [4]

ภาคอุตสาหกรรมและบริการเป็นภาคหลักในผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทย โดยภาคอุตสาหกรรมเป็นสัดส่วน 39.2% ของจีดีพี ภาคเกษตรกรรมเป็นสัดส่วน 8.4% ของจีดีพี น้อยกว่าภาคการขนส่งและการค้า ตลอดจนการสื่อสาร ซึ่งเป็นสัดส่วน 13.4% และ 9.8% ของจีดีพีตามลำดับ ภาคก่อสร้างและเหมืองแร่เป็นสัดส่วน 4.3% ของจีดีพี ภาคอื่น (ซึ่งรวมภาคการเงิน การศึกษา โรงแรมและร้านอาหาร) เป็นสัดส่วน 24.9% ของจีดีพี[3] โทรคมนาคมและการค้าบริการกำลังกำเนิดเป็นศูนย์กลางการขยายอุตสาหกรรมและการแข่งขันทางเศรษฐกิจ[24][25]

ในปี 2551 ประเทศไทยส่งข้าวออกคิดเป็นประมาณ 33% ของการค้าข้าวทั่วโลก[26] ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางรายใหญ่ที่สุดของโลก[27] และเป็นผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่อันดับ 5 ของโลก[28]

ในปี 2559 ภาคอุตสาหกรรม คิดเป็นร้อยละ 30.19 ของจีดีพี โดยมาจาก ภาคการทำเหมืองแร่และการทำเหมืองถ่านหิน ร้อยละ 2.79 ของจีดีพี และ สาขาอุตสาหกรรมการผลิต ร้อยละ 27.43 ของจีดีพี

ภาคเกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ 8.33 ของจีดีพี ภาคบริการ หรือ ภาคเศรษฐกิจขั้นที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 61.48[29] ของจีดีพี มาจาก สาขาการขายส่ง การค้าปลีก การซ่อมแซมยานพาหนะและของใช้ ร้อยละ 15.43 ของจีดีพี และ สาขาบริการอื่น ๆ ร้อยละ 46.05 ของจีดีพี

ในปี พ.ศ. 2560 ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกเป็นอันดับที่ 21 ของโลก และมีมูลค่าการนำเข้าเป็นอันดับที่ 25 ของโลก ประเทศคู่ค้าหลัก ได้แก่ ประเทศจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ออสเตรเลีย ฮ่องกงและเกาหลีใต้[30] ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลก

แม้ประเทศไทยมีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากประเทศอินโดนีเซีย ทว่ามีจีดีพีต่อหัวระดับกลางรองจากประเทศสิงคโปร์ บรูไน และมาเลเซีย ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2556 ประเทศไทยถือครองทุนสำรองระหว่างประเทศ 171,200 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ มากเป็นอันดับสองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (รองจากประเทศสิงคโปร์) ประเทศไทยยังมีปริมาณการค้าต่างประเทศมากที่สุดเป็นอันดับสอง รองจากสิงคโปร์[31]

ธนาคารโลกรับรองประเทศไทยว่าเป็น "นิยายความสำเร็จการพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่ง (one of the great development success stories)" จากตัวชี้วัดทางสังคมและการพัฒนา[32] แม้รายได้มวลรวมประชาชาติ (GNI) ต่อหัวต่ำ คือ 5,210 ดอลล่าร์สหรัฐ[33] และมีดัชนีการพัฒนามนุษย์ (HDI) อยู่ที่อันดับที่ 89 แต่ประชากรที่อยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจนลดลงจาก 65.26% ในปี 2531 เหลือ 8.6% ในปี 2559 ตามเส้นฐานความยากจนใหม่ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)[34] ในไตรมาสแรกของปี 2556 อัตราว่างงานของไทยอยู่ที่ 0.7% ซึ่งน้อยเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากประเทศกัมพูชา โมนาโกและกาตาร์[35]

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 ค่าแรงขั้นต่ำทางการทุกจังหวัดเป็น 300 บาท[36]ความเหลื่อมล้ำของรายได้ในประเทศไทยถือว่าสูงสุดประเทศหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครัวเรือนที่รวยที่สุด 20% มีรายได้ครัวเรือนเกินครึ่ง ดัชนีจีนีของรายได้ครัวเรือนอยู่ที่ 0.51 ครอบครัวรายได้น้อยและยากจนกระจุกอยู่ในภาคเกษตรกรรมอย่างมาก[37]

ประวัติ

ระหว่างปี พ.ศ. 2529 - 2539 เป็นยุคของการเปิดเสรีครั้งใหญ่และการเติบโตแบบเศรษฐกิจฟองสบู่ เป็นช่วงที่เศรษฐกิจทุนนิยมโลกปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลสำคัญ ทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนตัวลงเมื่อเทียบเงินเยนญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ โยกย้ายการลงทุนมาไทยและเอเชียอาคเนย์เพิ่มมากขึ้น การส่งออกของไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รัฐบาลที่มาจากนักธุรกิจ ข้าราชการ และชนชั้นกลางก็เปิดเสรีทางการเงิน การค้า การลงทุนเพิ่มขึ้น ทำให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตสูงเฉลี่ยราวร้อยละ 8 - 10 ต่อปี[39]

ภาคอุตสาหกรรมในช่วงปี พ.ศ. 2535 - 2538 เติบโตราวปีละ 11 - 12 เปอร์เซนต์ ในขณะที่ภาคเกษตร ซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาลน้อยมาก เติบโตในอัตราที่ต่ำมาก คือร้อยละ 3 - 4 ต่อปีในระยะเวลาดังกล่าว

ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ธนาคารไทย อยู่ในอัตราที่สูงมาก โอฬาร ไชยประวัติ ระบุว่า เดือนกันยายน พ.ศ. 2536 ดอกเบี้ยงินฝากธนาคารออมทรัพย์ อยู่ที่ 10.5%[40]

อย่างไรก็ตาม หลังจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ประชากรหลายล้านคนตกงานและยากไร้ และจนกระทั่ง พ.ศ. 2544 ที่ประเทศไทยสามารถควบคุมค่าเงินและเศรษฐกิจได้อีกครั้งหนึ่ง

นายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ของไทย ทักษิณ ชินวัตร รับตำแหน่งในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ด้วยเจตนาจะเพิ่มกิจกรรมภายในประเทศและลดการพึ่งพาการค้าและการลงทุนต่างประเทศ นับแต่นั้น การบริหารประเทศเป็นไปตามนโยบายเศรษฐกิจ "รางคู่" (dual track) ซึ่งรวมกิจกรรมภายในประเทศที่เพิ่มมากขึ้นกับการสนับสนุนตลาดเสรีและการลงทุนจากต่างประเทศของไทย

นโยบายดังกล่าวเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางว่า ทักษิโณมิค อุปสงค์การส่งออกที่อ่อนทำให้อัตราเติบโตของจีดีพีใน พ.ศ. 2544 อยู่ที่ 2.2% แต่ในสามปีต่อมา กิจกรรมภายในประเทศที่เพิ่มมากขึ้นและการฟื้นฟูการส่งออกทำให้สมรรถนะของประเทศกลับคืนอีกครั้ง โดยมีอัตราการเติบโตของจีดีพีอยู่ที่ 5.3%, 7.1% และ 6.3% ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ใน พ.ศ. 2548 จากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นและการขาดดุลการค้า ภัยแล้งและอุทกภัยรุนแรง ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้รุนแรงขึ้นถึงที่สุด อนาคตที่ไม่แน่นอนของรัฐบาลทักษิณ และผลกระทบด้านการท่องเที่ยวจากแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 ทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจลดลงเหลือ 4.5%

ใน พ.ศ. 2548 ประเทศไทยยังมีบัญชีเดินสะพัดขาดดุลอยู่ที่ -4.3% ของจีดีพี หรือ -7,600 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ นับแต่ พ.ศ. 2549 ประเทศไทยมีบัญชีเดินสะพัดเกินดุลอีกครั้ง และเศรษฐกิจลอยตัวขึ้นจากการเติบโตในภาคส่งออก


หลังปี 2555

ในปี 2555 ประเทศไทยกำลังฟื้นตัวจากอุทกภัยร้ายแรงเมื่อปีกลาย รัฐบาลยิ่งลักษณ์วางแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ตั้งแต่ระบบจัดการน้ำระยะยาวจนถึงลอจิสติกส์ มีรายงานว่า วิกฤตยูโรโซนส่งผลเสียต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2555 ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม โดยกระทบต่อการส่งออกของประเทศ จีดีพีของประเทศไทยโต 6.5% โดยมีอัตราภาวะเงินเฟ้อทั่วไป 3.02% และมีบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 0.7% ของจีดีพีประเทศ

วันที่ 23 ธันวาคม 2556 เงินบาทไทยลดลงต่ำสุดในรอบสามปี เนื่องจากความไม่สงบทางการเมืองระหว่างหลายเดือนก่อน บลูมเบิร์กว่า เงินตราไทยอ่อนตัวลง 4.6% ในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม ขณะที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์หลักตกลงด้วย (9.1%)

หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ครึ่งปีแรก สำนักข่าวทั่วโลกเอเอฟพีจัดพิมพ์บทความซึ่งอ้างว่าประเทศไทยอยู่บน "ขอบภาวะเศรษฐกิจถดถอย" หัวเรื่องหลักของบทความคือการที่ชาวกัมพูชาเกือบ 180,000 คนออกจากประเทศไทยด้ยวเกรงการปราบปรามการเข้าเมือง แต่สรุปด้วยสารสนเทศว่า เศรษฐกิจไทยหดตัวลง 2.1% ไตรมาสต่อไตรมาส ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2557 ทว่า นับแต่ยกเลิกการห้ามออกจากเคหสถานเวลาค่ำคืน สุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เขาคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะโต 2.5 ถึง 3% ในปี 2557 ตลอดจนการฟื้นฟูอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในครึ่งปีหลังของปี 2557 ยิ่งไปกว่านั้น เขายังอ้างการพิจารณาโครงการลงทุนค้างในอนาคตของคณะกรรมการการลงทุน ซึ่งประเมินว่ามีมูลค่าราว 700,000 ล้านบาท ว่าเป็นกระบวนการทรงประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่จะเกิดในราวเดือนตุลาคม 2557

ในปี พ.ศ. 2558 ราคาน้ำมันได้ตกต่ำที่สุดในรอบ 11 ปี[41] ประเทศไทยจึงส่งออกสินค้าไปยังตะวันออกกลาง ได้น้อยลงและความเหลื่อมล้ำระหว่างคนเมืองและคนชนบทมีมากขึ้น เนื่องจากราคายางพาราต่ำสุดในรอบ 8 ปีในขณะที่คนเมืองใช้น้ำมันในราคาที่ถูกขึ้น[42]

ในปี พ.ศ. 2559 การส่งออกไทยเป็นบวกโดยขยายตัว 0.45% เป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 4 ปี ประเทศไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดกว่าร้อยละ 11.6 ของจีดีพีสูงสุดเป็นยอดบัญชีเกินดุลสะพัดที่สูงที่สุดในรอบ 12 ปี[43]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2560 การส่งออกไทยขยายตัว 9.90 %[44]จีดีพีของประเทศไทยโต 3.9% อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 0.66% อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยทั้งปี 0.56%[45] โดยมีการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีแบบขาดดุลงบประมาณมากถึง 552,921.7 ล้านบาท[46]สูงสุดในรอบ 11 ปี[47]การบริโภคภาคเอกชน ต่อจีดีพีอยู่ที่ ร้อยละ 48.8 การใช้จ่ายภาครัฐ ต่อจีดีพีอยู่ที่ ร้อยละ 22.4 การลงทุนภาคเอกชน ต่อจีดีพีอยู่ที่ ร้อยละ 17.2 การส่งออกสุทธิต่อจีดีพีอยู่ที่ ร้อยละ 13.5 [48]อัตราหนี้ครัวเรือน ต่อจีดีพีอยู่ที่ร้อยละ 77.5[49] ยอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้นในรอบ 5 ปี[50]

การลงทุนภาครัฐมีอัตราขยายตัวสูงเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ 20 ต่อปี[51]

หลังปี 2560

ในวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2561 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สูงสุดในรอบ 24 ปี 20 วันปิดที่ 1838.96 จุดสูงที่สุดนับตั้งแต่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดทำการ

ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ค่าเงินบาทเปิดตลาดที่ 31.29 บาท ต่อ ดอลลาห์แข็งค่ามากที่สุดในรอบ 4 ปี 3 เดือน[52]

ในปี พ.ศ. 2561 ได้เกิด วิกฤตเงินตราและหนี้ตุรกี พ.ศ. 2561 และ วิกฤตเงินตราและหนี้เวเนซุเอลา พ.ศ. 2561

ปัจจุบันประเทศไทยพึ่งพิงรายได้จากการส่งออกประมาณ 70-75% ของจีดีพี[53] มีเพียง พ.ศ. 2552 ปีเดียวที่สัดส่วนของภาคส่งออกลดลงต่ำกว่าร้อยละ 70 ของ จีดีพี และส่วนใหญ่ฐานการผลิตเพื่อการส่งออกของไทยมาจากนักลงทุนต่างชาติเป็นหลัก[54]จากสาเหตุดังกล่าวรัฐบาลจึงมักมีแนวคิดให้ค่าแรงในประเทศนั้นต่ำที่สุดและให้ราคาสินค้าในประเทศนั้นต่ำที่สุดเพื่อให้ราคาสินค้าส่งออกไปยังต่างประเทศมีราคาต่ำเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง[55]ประเทศไทยอยู่ในยุคที่ดอกเบี้ยธนาคารต่ำซึ่งส่งผลให้คนก่อหนี้มากขึ้นเนื่องจากดอกเบี้ยเงินกู้ก็ต่ำลงเช่นเดียวกัน[56]นอกจากนั้นในภาพรวมคนไทยมีสินค้าที่ต้องการมากกว่าในอดีต เช่น สมาร์ตโฟน [57]

ในปี พ.ศ. 2561 CS Global Wealth Report 2018 จัดให้ประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเป็นอันดับ 1 ของโลก [58]แม้ภาพรวมเศรษฐกิจจะดีขึ้นแต่พ่อค้าแม่ค้าขายสินค้าได้ลดลงส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนธันวาคม 2561 อยู่ที่ 0.36% ต่ำสุดในรอบ 16 เดือน[59]

ในปี พ.ศ. 2562 ประเทศไทยเป็นประธานสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[60]

อุตสาหกรรม

เกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง

ในปี พ.ศ. 2528 ประเทศไทยได้กำหนดให้พื้นที่ของประเทศ 25% เป็นป่าเพื่อการอนุรักษ์และอีก 15% เพื่อการผลิตไม้อย่างเป็นทางการ ป่าเพื่อการอนุรักษ์ถูกจัดตั้งสำหรับการรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและการพักผ่อน ในขณะที่ป่าเพื่อการผลิตเปิดโอกาสให้อุตสาหกรรมป่าไม้สามารถใช้ประโยชน์ได้ ระหว่าง พ.ศ. 2535 และ 2544 การส่งออกท่อนซุงและไม้แปรรูปเพิ่มขึ้นจาก 50,000 ลูกบาศก์เมตรเป็น 2 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี

การระบาดของไข้หวัดนกในประเทศทำให้ภาคเกษตรกรรมหดตัวระหว่างปี พ.ศ. 2547 ประกอบกับคลื่นสึนามิซึ่งถล่มภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามันหลังจากแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 ได้สร้างความเสียหายแก่อุตสาหกรรมประมงในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ในปี พ.ศ. 2548-2549 ภาคเกษตรกรรมมีจีดีพีลดลงถึง 10%[61]

ในปี พ.ศ. 2558 มีเกษตรกรไทย จำนวน 25.07 ล้านคนคิดเป็นร้อยละ 38.14 ของประชากรทั้งประเทศ[62]

ในปี พ.ศ. 2559 เกษตรกรรม การปศุสัตว์ การป่าไม้ และการประมงสร้างรายได้ให้กับประเทศคิดเป็นเพียง 8.33% ของจีดีพี ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลกและเป็นผู้ส่งออกกุ้งหลัก พืชผลทางการเกษตรอื่น ๆ ได้แก่ มะพร้าว ข้าวโพด ยางพารา ถั่วเหลือง อ้อยและมันสำปะหลัง[63]ปัจจุบัน ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ เป็นประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ

ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารทะเลอันดับ 3 ของโลก อุตสาหกรรมประมงจ้างงานกว่า 3 แสนคน[64] ในปี พ.ศ. 2552 การประมงทำมูลค่าร้อยละ 1.6 ของจีดีพี

ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 ดร. พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย กล่าวว่า ผู้ประกอบการกำลังประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบสำหรับการแปรรูปและส่งออก เนื่องจากทางการไทยได้แก้ไขระเบียบหรือกฎหมายต่างๆ ของภาคประมงตามระเบียบของต่างประเทศ[65]ในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2562 รัฐบาลประสบความสำเร็จในการพัฒนาสิทธิมนุษยชนด้านการประมง โดยคณะกรรมาธิการยุโรป ได้ให้ ใบเขียว กับประเทศไทย เพื่อยืนยันว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ให้ความร่วมมือในการต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม โดย พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย

การทำเหมืองแร่และการทำเหมืองถ่านหิน

แร่ธาตุหลักที่พบในประเทศไทย รวมไปถึง ฟลูออไรต์ ยิปซัม ตะกั่ว ลิกไนต์ ก๊าซธรรมชาติ แทนทาลัม ดีบุกและทังสเตน อุตสาหกรรมเหมืองดีบุกได้ลดลงอย่างรุนแรงหลังจาก พ.ศ. 2528 ประเทศไทยจึงกลายมาเป็นประเทศผู้นำเข้าดีบุกตั้งแต่นั้นมา ในปี พ.ศ. 2551 แร่ธาตุที่ประเทศไทยส่งออกมากที่สุด คือ ยิปซัม

ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกยิปซัมรายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลกรองจากแคนาดา ถึงแม้ว่านโยบายของรัฐบาลจะจำกัดการส่งออกยิปซัมเพื่อป้องกันการตัดราคาก็ตาม ในปี พ.ศ. 2546 ประเทศไทยมีผลผลิตแร่ธาตุมากกว่า 40 ชนิด ซึ่งสร้างรายได้ให้กับประเทศปีละประมาณ 740 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม มากกว่า 80% ของแร่ธาตุนี้บริโภคภายในประเทศ

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2546 เพื่อที่จะกระตุ้นการลงทุนของต่างชาติในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ รัฐบาลได้ผ่อนปรนข้อจำกัดอันเข้มงวดในการทำเหมืองโดยบริษัทต่างชาติ[61]

ในปี พ.ศ. 2552 การทำเหมืองแร่และเหมืองหินทำมูลค่าร้อยละ 2.3 ของจีดีพี[66]

ในปี พ.ศ. 2560 ประเทศไทยมีการทำเหมืองถ่านหินทั่วประเทศ จำนวน 341 โรงงาน[67]

อุตสาหกรรมและการผลิต

สำนักงานเศรษฐกิจ กระทรวงอุตสาหกรรม แบ่ง ประเภทภาคอุตสาหกรรมและการผลิตไว้ 18 สาขา ได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ อุตสาหกรรมเซรามิก อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนไม้ อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง อุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ อุตสาหกรรมอาหาร[68]

ในปี พ.ศ. 2550 อุตสาหกรรมสร้างรายได้ถึง 43.9% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ แต่มีแรงงานทำงานอยู่เพียง 14% ของแรงงานทั้งหมด สัดส่วนดังกล่าวตรงกันข้ามกับสัดส่วนของภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรมในประเทศมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง 3.4% ต่อปีระหว่าง พ.ศ. 2538-2548 ภาคย่อยที่สำคัญของภาคอุตสาหกรรม คือ การผลิต ซึ่งสร้างรายได้คิดเป็น 34.5% ของจีดีพี ในปี พ.ศ. 2547

ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ในตลาดสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ในปี พ.ศ. 2547 ประมาณการผลิตรถยนต์แตะระดับที่ 930,000 คัน มากกว่าสองเท่าของประมาณการผลิตในปี พ.ศ. 2544 ค่ายผู้ผลิตรถยนต์หลักที่ดำเนินการในประเทศ ได้แก่ โตโยต้าและฟอร์ด การขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ได้ทำให้ปริมาณการผลิตเหล็กกล้าในประเทศเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก อย่างไรก็ตามประเทศไทยไม่สามารถผลิตรถยนต์ในประเทศเพื่อคนไทยใช้ได้เลย[69] อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยเผชิญกับการแข่งขันจากมาเลเซียและสิงคโปร์ ในขณะที่อุตสาหกรรมสิ่งทอเผชิญการแข่งขันจากจีนและเวียดนาม [61]ในปี พ.ศ. 2552 การทำยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคล และของใช้ครัวเรือน ทำรายได้ร้อยละ 14.0 ของจีดีพี

สถิติอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ของไทย[ต้องการอ้างอิง]
ปี ยอดผลิค ผลิตเพื่อ มูลค่าส่งออก
สำเร็จรูป
(ล้านบาท)
ส่งออก
สำเร็จรูป
ต่อจีดีพี
จำหน่าย
ในประเทศ
ส่งออก
ต่างประเทศ
2548 เพิ่มขึ้น 1,125,316 690,409 434,907 203,025.36 2.86%
2549 เพิ่มขึ้น 1,188,044 646,838 541,206 240,764.09 3.07%
2550 เพิ่มขึ้น 1,287,379 598,287 689,092 306,595.20 3.88%
2551 เพิ่มขึ้น 1,394,029 610,317 783,712 351,326.97 3.87%
2552 ลดลง 999,378 447,318 552,060 251,342.99 2.79%
2553 เพิ่มขึ้น 1,645,304 750,614 894,690 404,659.37 4.00%
2554 ลดลง1,457,795 723,845 733,950 343,383.92 3.26%
2555 เพิ่มขึ้น 2,453,717 1,432,052 1,021,665 490,134.74 4.31%
2556 เพิ่มขึ้น 2,457,086 1,335,783 1,121,303 512,186.40 4.30%
2557 ลดลง 1,880,007 757,853 1,122,154 527,423.43 4.02%
2558 เพิ่มขึ้น 1,913,002 712,028 1,200,974 592,550 4.41%
2559 เพิ่มขึ้น 1,944,417 776,843 1,167,574 631,845
2560 เพิ่มขึ้น 1,988,823 862,391 1,126,432 603,037
2561 เพิ่มขึ้น 2,167,694 1,041,739 1,140,640 948,397.83

วิสาหกิจขนาดกลางและย่อม

ในปี พ.ศ. 2557 วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ SMEs มีจำนวนกว่า 2736744 ราย คิดเป็นร้อยละ 99.7 ของจำนวนวิสาหกิจทั่วประเทศ ก่อให้เกิดการจ้างงาน 10501166 คนคิดเป็นร้อยละ 80.3 ของการจ้างงานทั้งหมด และสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 5212004 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 39.6 ของจีดีพี [70]อยู่ในการควบคุมของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และ สภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

ในปี พ.ศ. 2552 ภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมีแรงงาน จำนวน 1045205 คน คิดเป็นร้อยละ 20 ของการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมของไทย มีมูลค่าการส่งออก 144594 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.4 ของจีดีพี[71]

พลังงาน

ในปี พ.ศ. 2547 ปริมาณการบริโภคพลังงานทั้งหมดของประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 3,400 ล้านล้านบีทียู ซึ่งคิดเป็นราว 0.7% ของปริมาณการบริโภคพลังงานของทั้งโลก ประเทศไทยเป็นประเทศนำเข้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติรายสำคัญ แต่รัฐบาลกำลังสนับสนุนการใช้เอธานอลเพื่อลดการนำเข้าปิโตรเลียมและสารเติมแต่งน้ำมัน เมทิล เทอร์เทียรี บิวทิล อีเธอร์ (MTBE)

ในปี พ.ศ. 2548 ปริมาณการใช้น้ำมันต่อวันอยู่ที่ 133,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน เกินกว่าปริมาณการผลิตภายในประเทศที่ 48,700 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน โรงกลั่นน้ำมันสี่แห่งของไทยมีความสามารถทำงานได้ 111,780 ลิตรต่อวัน รัฐบาลไทยกำลังพิจารณาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและการขนส่งน้ำมันในภูมิภาค รองรับความต้องการของจีนตอนกลางและตอนใต้ ในปี พ.ศ. 2547 ปริมาณการบริโภคก๊าซธรรมชาติอยู่ที่ 2.99 × 1010 ลูกบาศก์เมตร เกินกว่าปริมาณการผลิตภายในประเทศที่ 2.2 × 1010 ลูกบาศก์เมตร

ในปี พ.ศ. 2547 อีกเช่นกัน ปริมาณการบริโภคถ่านหินที่ประมาณกันไว้อยู่ที่ 30.4 ล้านตันขนาดเล็ก เกินกว่าปริมาณการผลิตภายในประเทศที่ 22.1 ล้านตันขนาดเล็ก ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2550 ปริมาณน้ำมันสำรองที่มีการพิสูจน์อยู่ที่ 46 ล้านลูกบาศก์เมตร และปริมาณแก๊สธรรมชาติสำรองอยู่ที่ 420 ลูกบาศก์กิโลกรัม ในปี พ.ศ. 2546 ปริมาณถ่านหินสำรองหมุนเวียอยู่ที่ 1,492.5 ล้านตันขนาดเล็ก[61]

ในปี พ.ศ. 2548 ประเทศไทยบริโภคไฟฟ้าอย่างน้อย 117,700 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง การบริโภคไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 4.7% ในปี พ.ศ. 2549 เป็น 133,000 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง

บริการ

ในปี พ.ศ. 2550 ภาคบริการ ซึ่งมีขอบเขตตั้งแต่การท่องเที่ยวไปจนถึงธนาคารและการเงิน สร้างมูลค่าคิดเป็น 44.7% ของจีดีพีและมีสัดส่วน 37% ของกำลังแรงงาน[61]ในปี พ.ศ. 2557 ภาคบริการ ซึ่งมีขอบเขตตั้งแต่การท่องเที่ยวไปจนถึงธนาคารและการเงิน สร้างมูลค่าคิดเป็น 52% ของจีดีพีและมีสัดส่วน 49% ของกำลังแรงงาน[72] ปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทยเปิดเผยว่า ในปี พ.ศ. 2560 อัตราการเจริญเติบโตของสินเชื่อ มีอัตราเจริญเติบโตที่ 4.6%[73]

เศรษฐกิจเงา

ประเทศไทยมีจำนวนโสเภณีกว่า 1 แสนถึง 2 แสนคนธุรกิจอาบอบนวดที่ขายบริการทางเพศร่วมด้วยทำรายได้ให้กับประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2550 ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ระบุในภาคนิพนธ์ว่า ประเทศไทยมีรายได้จากธุรกิจอาบอบนวดและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับบริการทางเพศราว 2.05 ของ จีดีพีในปีนั้น[74]

ในปี พ.ศ. 2560 นายกองเอก เจริญ สิริวัฒนภักดี เป็นบุคคลที่รวยทีสุดในประเทศไทยจากธุรกิจขายสุรา เศรษฐกิจเงาในประเทศไทยหลายธุรกิจถูกระบุว่าไม่ผิดกฎหมายและสามารถดำเนินการได้อย่างจำกัดภายใต้กฎหมายของประเทศไทย อย่างไรก็ตามภายใต้กฎหมายปรับภาษีเหล้า บุหรี่ทีประกาศใช้ในวันที่ 16 กันยายน 2560 ผลประกอบการจริงของโรงงานยาสูบในรอบครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2561 มีกำไร 588 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 87.54%[75]

ในปี พ.ศ. 2561 พลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ระบุว่ามีผู้ประกอบการ 81 แห่งทั่วประเทศ[76] แม้การค้าขายบริการทางเพศผิดกฎหมายในประเทศไทย[77] แต่การเป็นเจ้าของธุรกิจเหล่านี้ไม่ผิดกฎหมาย นอกจากนั้นธุรกิจการพนันในประเทศกัมพูชาที่มีเจ้าของเป็นคนไทยยังทำรายได้เข้าประเทศ[78]

แรงงาน

ประเทศไทยมีการส่งแรงงานอย่างผิดกฎหมายและถูกกฎหมายไปยังประเทศต่างๆ อาทิ ประเทศเกาหลีใต้[79] ประเทศอิสราเอล[80] ในเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2561 กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กรมการจัดหางาน รายงานว่ามีแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ 154251 คน จำนวนมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ประเทศไต้หวัน 71094 คน ประเทศอิสราเอล จำนวน 27083 คน ประเทศเกาหลีใต้ 22116 คน ประเทศญี่ปุ่น 7234 คน และ ประเทศสิงคโปร์ 3627 คน[81]

ในปี พ.ศ. 2528 แรงงานไทยในต่างประเทศส่งเงินกลับประเทศ ประมาณ 29500 ล้านบาท ในขณะที่มีรายได้จากการส่งออกประมาณ 190000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15 ของรายได้การส่งออก

ในปี พ.ศ. 2560 แรงงานไทยในต่างประเทศส่งเงินกลับประเทศ 125688 ล้านบาท[82] ในขณะที่มูลค่าการส่งออกตลอดปีเท่ากลับ 8006265 ล้านบาท[83] คิดเป็นร้อยละ 1.57 ของมูลค่าการส่งออก

ผู้หญิงชาวไทยหลายคนยังเลือกที่จะใช้แรงงานในการดูแลสามีต่างชาติและครอบครัวของสามีชาวต่างชาติซึ่งมูลค่าเงินที่เข้าประเทศไทยจากแรงงานดังล่าวไม่สามารถระบุได้[84]

การศึกษา

บริษัท เอสไอเอสบี จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบการธุรกิจ “โรงเรียนนานาชาติสิงคโปร์” รวม 5 แห่งทั่วประเทศได้เข้าทำการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ใน ปี พ.ศ. 2561[85]คนจีนส่วนหนึ่งย้ายเข้ามาประเทศไทยเพื่อนำลูกเข้ามาเรียนโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย[86]

การท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวทำรายได้ให้กับประเทศเป็นสัดส่วนสูงกว่าประเทศอื่นใดในทวีปเอเชียในปี พ.ศ. 2559 ทำรายได้ 2.51 ล้านล้านบาท คิดเป็น 17.7% ของจีดีพี[87] นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เดินทางมายังประเทศไทยด้วยเหตุผลหลายประการ ส่วนใหญ่มาท่องเที่ยวตามชายหาดและพักผ่อน ถึงแม้ว่าจะมีความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ตาม กรุงเทพมหานครมีการท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมาในปี พ.ศ. 2561 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีสายการบินแบบประจำตลอดทั้งปีรวม 110 สายการบิน สายการบินขนส่งอากาศยาน ขนส่งสินค้าอย่างเดียว 10 สายการบิน สายการบินขนส่งผู้โดยสารและสินค้าของผู้โดยสารจำนวน 100 สายการบิน สายการบินเช่าเหมาลำระหว่างประเทศ 4 สายการบิน สายการบินเช่าเหมาลำภายในประเทศ ไปกลับ สนามบินเกาะไม้ซี้ 1 สายการบิน รวมมากถึง 115 สายการบิน โดยมาจาก 55 ประเทศทั่วโลก ในจำนวนนี้มี ประเทศโปแลนด์ เท่านั้นที่ทำการบินแบบสายการบินเช่าเหมาลำ ที่ทำการบินมายัง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ใน ตลอดปี พ.ศ. 2561 ท่าอากาศยานภูเก็ต รับผู้โดยสารรวม 25 ประเทศทั่วโลก ท่าอากาศยานดอนเมือง รับผู้โดยสารรวมทั้งหมด 15 ประเทศทั่วโลก และ ท่าอากาศนานาชาติกระบี่ รับผู้โดยสาร รวม 11 ประเทศทั่วโลก จำนวนประเทศที่กล่าวทั้งหมด ไม่นับรวม ประเทศไทย ไม่รวม ฮ่องกง มาเก๊า แซ็ง-เดอนี (เรอูว์นียง)

ในปี พ.ศ. 2561 ท่าอากาศยานที่รับผู้โดยสารจากต่างประเทศมายังประเทศไทยมีทั้งหมด 11 ท่าอากาศยาน โดย ท่าอากาศยานหัวหินเป็นท่าอากาศยานล่าสุดที่ให้บริการในเส้นทางระหว่างประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย ด้านทางเรือ ท่าเรือแหลมฉบัง รับผู้โดยสารจาก ประเทศสิงคโปร์ เพียงประเทศเดียว ด้านการรถไฟ รับผู้โดยสารจาก ประเทศมาเลเซีย เพียงประเทศเดียว

เช่นเดียวกัน การเพิ่มขึ้นอย่างมากของนักท่องเที่ยวจากชาติในทวีปเอเชียด้วยกันได้สร้างรายได้อย่างมากให้กับประเทศไทย ถึงแม้ว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ ในทวีปเอเชีย ในปี พ.ศ. 2561 นักท่องเที่ยวราว 38.27[88] ล้านคนเดินทางเข้ามาในประเทศไทยโดยนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนเดินทางมาประเทศไทยมากที่สุด รองลงมาคือประเทศเกาหลีใต้ และ ประเทศมาเลเซีย ด้านนักท่องเที่ยวที่นำรายได้เข้าประเทศมากที่สุด3 อันดับแรก ได้แก่ ประเทศจีน ประเทศรัสเซีย และ ประเทศมาเลเซีย[89]

วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ที่กำลังฟื้นตัว การกลับมาเติบโตของเศรษฐกิจจีน วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศ และการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 มีผลกระทบน้อยกว่าที่กังวลล่วงหน้า ได้เปลี่ยนแปลงมุมมองของการท่องเที่ยวในปี พ.ศ. 2553 ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวต่างประเทศลดลง 16% ในช่วงครึ่งปีแรกของ พ.ศ. 2552 แต่ในช่วงสี่เดือนสุดท้ายของปี นักท่องเที่ยวต่างประเทศได้กลับมาจนทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างประเทศของ พ.ศ. 2552 จึงอยู่ที่ 14 ล้านคน ลดลงเพียง 4% เมื่อเทียบกับตัวเลขของปี พ.ศ. 2551

เขตเศรษฐกิจพิเศษ

เขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศไทย ปัจจุบันอยู่ระหว่างการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. .... โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

ทุนสำรองระหว่างประเทศ

ประเทศไทยมีทุนสำรองระหว่างประเทศ 209,911ล้านดอลล่าร์สหรัฐ มกราคม พ.ศ. 2562

หนี้สาธารณะ

ตามพระราชบัญญํติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 อนุญาตให้กระทรวงการคลังกู้เงินมาใช้จ่ายได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม กับอีกร้อยละ 80 ของรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ในแต่ละปี[90]

สำหรับการก่อหนี้ภายในประเทศ รัฐบาลกู้เงินระยะยาวครั้งแรกใน พ.ศ. 2476 โดยออกพันธบัตรจำนวน 10 ล้านบาท และก่อเงินระยะสั้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2488 ส่วนการก่อหนี้ต่างประเทศ เกิดขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2448 โดยรัฐบาลได้ขายพันธบัตรมูลค่า 1 ล้านปอนด์ กำหนดไถ่ถอนภายใน 40 ปี นับเป็นการเปลี่ยนแนวคิดด้านนโยบายการคลังจากที่เคยใช้จ่ายเฉพาะรายได้จากภาษีอากรมารวมรายได้จากเงินกู้ด้วย[90]

สิงหาคม พ.ศ. 2554 ธนาคารแห่งประเทศไทย รายงานประเมินหนี้สาธารณะของไทย พบว่า ประเทศไทยมีแนวโน้มหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นจาก 44% ของจีดีพี ในปีงบประมาณ 2554 เป็น 60% ของจีดีพี ในปีงบประมาณ 2556 และจะเริ่มมีหนี้สาธารณะสูงกว่ากรอบวินัยการคลังในปีงบประมาณ 2557 กระทั่งมีหนี้สาธารณะ 70% ของจีดีพี ในปีงบประมาณ 2559 ทั้งนี้ เพราะรัฐบาลมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และมีภาระด้านการคลังเพิ่มขึ้น โดยธนาคารแห่งประเทศไทยประเมิน 4 โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ว่าอาจต้องใช้เงินสูงถึง 442,000 ล้านบาท หรือ 20% ของงบประมาณภาครัฐ[91]

นอกจากนี้ การพิจารณาโครงสร้างรายรับ-รายจ่ายและงบประมาณภาครัฐ พบว่า งบประมาณรายจ่ายของประเทศระหว่าง พ.ศ. 2550 ถึง 2554 เพิ่มขึ้น 8.8% ของจีดีพี ขณะที่งบประมาณรายรับในช่วงเดียวกันเพิ่มขึ้นเพียง 4.2% ของจีดีพี[91]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "Report for Selected Countries and Subjects - Thailand". IMF. สืบค้นเมื่อ 29 October 2018.
  2. "World Bank forecasts for Thailand, June 2018 (p. 151)" (PDF). World Bank. สืบค้นเมื่อ 6 September 2018.
  3. 3.0 3.1 "Thailand at a glance". Bank of Thailand. สืบค้นเมื่อ 9 April 2013.
  4. 4.0 4.1 4.2 สรุปประมาณการเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ. ธนาคารแห่งประเทศไทย. สืบค้น 26 มกราคม 2562.
  5. "Change in Price Level" (PDF). Bank of Thailand. สืบค้นเมื่อ 9 April 2013.
  6. 6.0 6.1 6.2 "Indicators ทางสังคม". Office of the Economic and Social Development Board. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2013. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  7. "Population, Labour Force and Wage" (PDF). Bank of Thailand. สืบค้นเมื่อ 9 May 2013.
  8. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ http
  9. "Doing Business in Thailand 2013". World Bank. สืบค้นเมื่อ 22 October 2012.
  10. 10.0 10.1 "Thai Export Grows 9.9% In 2017". Thailand Business News. 2018. สืบค้นเมื่อ 29 January 2018.
  11. 11.0 11.1 "Exports rise 9.9% to six-year high". Bangkok Post. 2018. สืบค้นเมื่อ 29 January 2018.
  12. 12.0 12.1 "สรุปผลส่งออกไทยปี"60 โต 9.9%". Prachachat. 2018. สืบค้นเมื่อ 29 January 2018.
  13. 13.0 13.1 ข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจไทย. สืบค้น 11-09-2553.
  14. 14.0 14.1 "Trade Profiles - WTO Statistics Database". World Trade Organization. สืบค้นเมื่อ 20 August 2018.
  15. "COUNTRY COMPARISON :: STOCK OF DIRECT FOREIGN INVESTMENT - AT HOME". The World Factbook. สืบค้นเมื่อ 29 January 2018.
  16. Statistic - External Debt (US$) Bank of Thailand.
  17. "External Debt". Public Debt Management Office. สืบค้นเมื่อ 9 March 2018.
  18. Government Revenue (Gross and Net) Government Fiscal Management Information System. Ministry of Finance.
  19. Government Revenue (Gross and Net) Government Fiscal Management Information System. Ministry of Finance.
  20. "Sovereigns rating list". Standard & Poor's. สืบค้นเมื่อ 26 May 2011.
  21. 21.0 21.1 21.2 Rogers, Simon; Sedghi, Ami (15 April 2011). "How Fitch, Moody's and S&P rate each country's credit rating". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 28 May 2011.
  22. "International Reserves (Weekly)". Bank of Thailand. สืบค้นเมื่อ 28 June 2018.
  23. National Income of Thailand (NI) รายได้ประชาชาติของประเทศไทย แบบปริมาณลูกโซ่อ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สืบค้น 26 มกราคม 2562.
  24. http://siteresources.worldbank.org/INTTHAILAND/Resources/333200-1177475763598/3714275-1234408023295/5826366-1234408105311/chapter4-telecommunication-sector.pdf
  25. http://journals.cluteonline.com/index.php/IBER/article/download/3290/3338
  26. Thailand. IRRI. สืบค้น 4-9-2557. (อังกฤษ)
  27. Thailand Leads World in Rubber Production and Advance R&D Bank of Thailand. สืบค้น 4-9-2557.
  28. เอกลักษณ์ประจำชาติของไทย. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. สืบค้น 9-12-2553.
  29. https://tci-thaijo.org/index.php/executivejournal/article/download/98988/83793/
  30. ระบบรายงานข้อมูลการค้าระหว่างประเทศของไทย สืบค้น 4-9-2557.
  31. "World Trade Developments" (PDF). World Trade Organization. สืบค้นเมื่อ 12 March 2013.
  32. "Thailand". World Bank. สืบค้นเมื่อ 17 July 2012.
  33. http://data.worldbank.org/indicator/NY.GNP.PCAP.CD/countries/TH-4E-XT?display=graph
  34. "ตารางที่ 1.2 สัดส่วนคนจน เมื่อวัดด้านรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค จำแนกตามภาคและพื้นที่ ปี พ.ศ. 2531-2559". Office of the National Economic and Social Development Board. สืบค้นเมื่อ 21 Aug 2018.
  35. "Unemployment Rate". CIA - The World Factbook. สืบค้นเมื่อ 17 July 2012.
  36. เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญ. สืบค้น 3-9-2557.
  37. Bird, Kelly; Hattel, Kelly; Sasaki, Eiichi; Attapich, Luxmon. (2011). Poverty, Income Inequality, and Microfinance in Thailand. Asian Development Bank. สืบค้น 4-9-2557.
  38. ธนาคารโลก. "GDP growth (annual %) World Bank national accounts data, and OECD National Accounts data files.." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.MKTP.KD.ZG?end=2017&locations=TH&start=1989 2562. สืบค้น 26 มกราคม 2562.
  39. วิชาเศรษฐกิจไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  40. http://libdcms.nida.ac.th/ejournalpni2/pni01/INTR/INTR_012_151_2537/INTR_012_151_P105-124.pdf
  41. http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/679556
  42. https://www.scbeic.com/th/detail/product/1142
  43. ธปท.ชี้ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดปี59ทุบสถิติ
  44. ส่งออกปี60 โต 9.9% สูงสุดในรอบ 6 ปี
  45. https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/openLetter/OpenLetter_2561.pdf
  46. อัด “งบฯกลางปี” โด๊ปรากหญ้า 4 ปี รัฐบาล “บิ๊กตู่” ขาดดุล 1.5 ล้าน ล.
  47. รายงานการติดตามสถานะการคลัง
  48. https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/ArticleAndResearch/FAQ/FAQ_135.pdf
  49. https://www.brandbuffet.in.th/2018/07/krungsri-consumer-educated-gen-y-financial-management/
  50. https://www.headlightmag.com/sales-report-december-2017/
  51. https:www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/ArticleAndResearch/FAQ/FAQ_122.pdf
  52. http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/792536
  53. https://www.tcijthai.com/news/2014/10/scoop/4851
  54. Re-design เศรษฐกิจไทยต้องเติบโตอย่างยั่งยืน
  55. https://books.google.co.th/books?id=XydEBAAAQBAJ&pg=PA24&hl=th&source=gbs_selected_pages&cad=3#v=onepage&q&f=false
  56. http://www.dekisugi.net/archives/33033
  57. https://www.brandbuffet.in.th/2018/07/krungsri-consumer-educated-gen-y-financial-management/
  58. https://thaipublica.org/2018/12/banyong-pongpanich-99/
  59. เลือกตั้งบีบศก.ไทยสุญญากาศ ไร้ปัจจัยบวกขยับสู่เงินฝืด
  60. http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/818416
  61. 61.0 61.1 61.2 61.3 61.4 Thailand country profile. Library of Congress Federal Research Division (July 2007). This article incorporates text from this source, which is in the public domain.
  62. http://www.agriinfo.doae.go.th/5year/general/54-58/farmer54-58.pdf
  63. http://www.nytimes.com/2010/07/19/world/asia/19thai.html?partner=rss&emc=rss
  64. https://www.bbc.com/thai/thailand-43581595
  65. https://www.thairath.co.th/content/1204885
  66. http://www.nesdb.go.th/article_attach/NI2009-detail_thai.pdf
  67. http://www.miningthai.org/DOC/files/52/mdoc_52.xls
  68. http://www.oie.go.th/sites/default/files/attachments/industry_overview/annual2017.pdf
  69. ชี้ไทยอย่าฝันผลิตรถยนต์เอง
  70. http://www.sme.go.th/upload/mod_download/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%20SME%20%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2.pdf
  71. http://www.oie.go.th/sites/default/files/attachments/article/TextileIndustry-intheFuture.pdf
  72. https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/DocLib_/article28_04_58.pdf
  73. https://brandinside.asia/talk-with-predee-daochai-now-and-future-of-thai-bankers-association/
  74. https://mgronline.com/politics/detail/9510000096783
  75. https://thaipublica.org/2018/08/tobacco-tax-restructuring-26-8-2561/
  76. https://www.isranews.org/isranews-article/63368-somyot6.html
  77. https://www.bbc.com/thai/thailand-45008968
  78. http://www.komchadluek.net/news/crime/108750
  79. https://www.bbc.com/thai/thailand-45369383
  80. https://www.bbc.com/thai/thailand-46321175
  81. https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/overseas_th/65d52b9d586814dfda8ebce8d1cd92a9.pdf
  82. https://thestandard.co/thai-workers-in-foreign-countries/
  83. http://impexp.oae.go.th/service/export_import_all.php?S_YEAR=2558&E_YEAR=2560&WF_SEARCH=Y
  84. https://www.bbc.com/thai/thailand-41252033
  85. หุ้นโรงเรียนแห่งแรก
  86. กระแสพ่อแม่จีนซื้อการศึกษาพร้อมบ้านในไทย ทำภาคอสังหาฯไทยคึกคัก
  87. https://www.thairath.co.th/content/860228
  88. เที่ยวไทยทะลุ41ล้าน ประเมินปี'62ต่างชาติทะลักเพิ่มทุกตลาด
  89. http://infocraftic.com/international-tourist-thailand-2017/
  90. 90.0 90.1 [1]
  91. 91.0 91.1 ตะลึงหนี้สาธารณะท่วม แบงก์ชาติผ่าแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจ.

แหล่งข้อมูลอื่น