ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อริยสัจ 4"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เพิ่มรายละเอียดความสำคัญของอริยสััจ 4
ย้อนการแก้ไขที่ 8120265 สร้างโดย 2403:6200:88A2:9D79:DD72:C053:6AEE:82F0 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{พุทธศาสนา}}
==== ความหมาย ====
'''อริยสัจ''' หรือ'''จตุราริยสัจ''' หรือ'''อริยสัจ 4''' เป็นหลักคำสอนหนึ่งของ[[พระโคตมพุทธเจ้า]] แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระ[[อริยบุคคล]] หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ คือ
'''อริยสัจ 4''' '''หรือ''' '''จตุราริยสัจ''' '''คือ''' ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ที่พระ[[สัมมาสัมพุทธเจ้า]]ทุกพระองค์รวมถึง[[พระโคตมพุทธเจ้า]]ได้ตรัสรู้และประกาศสอน เป็นสัจจะความจริงที่ผู้ใดก็ตามที่ได้เห็นแจ้งและแทงตลอดในสัจจะความจริงนี้แล้ว จะทำให้ผู้นั้นเป็นบุคคลผู้ประเสริฐหรือเป็น[[อริยบุคคล]] และ กระทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ทั้งปวงได้ คือ สิ้นชาติ ชรา และ มรณะ ซึ่งทางพระศาสดาได้ทรงตรัสอริยสัจ 4 ไว้หลายนัยยะ ดังนี้
# '''[[ทุกข์]]''' (Sanskrit: Duhkha) คือ สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพที่บีบคั้น ได้แก่ ชาติ (การเกิด) ชรา (การแก่ การเก่า) มรณะ (การตาย การสลายไป การสูญสิ้น) การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมหวังในสิ่งนั้น กล่าวโดยย่อ ทุกข์ก็คือ[[อุปาทานขันธ์]] หรือ[[ขันธ์ 5]]
# '''[[สมุทัย]]''' (Sanskrit: Samudaya ) คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ [[ตัณหา|ตัณหา 3]] คือ กามตัณหา-ความทะยานอยากในกาม ความอยากได้ทางกามารมณ์, ภวตัณหา-ความทะยานอยากในภพ ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วย[[ภวทิฏฐิ]]หรือ[[สัสสตทิฏฐิ]] และ วิภวตัณหา-ความทะยานอยากในความปราศจากภพ ความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วย[[วิภวทิฏฐิ]]หรือ[[อุจเฉททิฏฐิ]]
# '''[[นิโรธ]]''' (Sanskrit: Nirodha) คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ กล่าวคือ ดับตัณหาทั้ง 3 ได้อย่างสิ้นเชิง
# '''[[มรรค]]''' (Sanskrit: Marga) คือ แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์ มีองค์ประกอบอยู่แปดประการ คือ 1. [[สัมมาทิฏฐิ]]-ความเห็นชอบ 2. [[สัมมาสังกัปปะ]]-ความดำริชอบ 3. [[สัมมาวาจา]]-เจรจาชอบ 4. [[สัมมากัมมันตะ]]-ทำการงานชอบ 5. [[สัมมาอาชีวะ]]-เลี้ยงชีพชอบ 6. [[สัมมาวายามะ]]-พยายามชอบ 7. [[สัมมาสติ]]-ระลึกชอบ และ 8. [[สัมมาสมาธิ]]-ตั้งใจชอบ ซึ่งรวมเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" หรือทางสายกลาง


==== '''นัยยะทั่วไป''' ====

#'''[[ทุกข์]]''' (Sanskrit: Duhkha) ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือความจริงอันประเสริฐ เรื่องความทุกข์ คือ ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบกับสิ่งที่ไม่รักเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ ความปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นเป็นทุกข์ กล่าวโดยย่อ [[ขันธ์ 5]] ที่ประกอบด้วยอุปาทานเป็นทุกข์
#'''[[สมุทัย]]''' (Sanskrit: Samudaya ) ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือความจริงอันประเสริฐ เรื่องแดนเกิดของความทุกข์ คือ ตัณหา อันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจของความเพลิน อันเป็นเครื่องให้เพลิดเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ ตัณหาในกาม ตัณหาในความมีความเป็น ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น
#'''[[นิโรธ]]''' (Sanskrit: Nirodha) ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือความจริงอันประเสริฐ เรื่องความดับไม่เหลือของความทุกข์ คือ ความดับสนิทเพราะจางไปโดยไม่มีเหลือของตัณหานั้นนั่นเอง คือ ความสลัดทิ้ง ความสลัดคืน ความปล่อย ความทำไม่ให้มีที่อาศัย ซึ่งตัณหานั้น
#'''[[มรรค]]''' (Sanskrit: Marga) ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือความจริงอันประเสริฐ เรื่องข้อปฏิบัติอันทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือของความทุกข์ คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางอันประเสริฐอันประกอบด้วยองค์8 ประการนี้ ได้แก่ ความเห็นที่ถูกต้อง ([[สัมมาทิฏฐิ]]) ความดำริที่ถูกต้อง [[สัมมาสังกัปปะ|(สัมมาสังกัปปะ]]) การพูดจาที่ถูกต้อง [[สัมมาวาจา|(สัมมาวาจา)]] การทำงานที่ถูกต้อง ([[สัมมากัมมันตะ]]) การมีอาชีพที่ถูกต้อง [[สัมมาอาชีวะ|(สัมมาอาชีวะ]]) ความพากเพียรที่ถูกต้อง ([[สัมมาวายามะ|สัมมาวายามะ)]] ความระลึกที่ถูกต้อง [[สัมมาสติ|(สัมมาสติ]]) ความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้อง ([[สัมมาสมาธิ|สัมมาสมาธิ)]]

==== '''นัยยะของอายตนะ 6''' ====

# '''[[ทุกข์]]''' (Sanskrit: Duhkha) ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจคือทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ควรจะกล่าวว่าได้แก่อายตนะภายใน6 อายตนะภายใน6 เหล่าไหนเล่า คือ จักขุอายตนะ (ตา) โสตะอายตนะ (หู) ฆานะอายตนะ (จมูก) ชิวหาอายตนะ (ลิ้น) กายะอายตนะ (กาย) มนะอายตนะ (ใจ) ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่าอริยสัจคือทุกข์
# '''[[สมุทัย]]''' (Sanskrit: Samudaya ) ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจคือทุกขสมุทัย เป็นอย่างไรเล่า คือ ตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัดเพราะอำนาจความเพลิน มักทำให้เพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่าอริยสัจคือทุกขสมุทัย
# '''[[นิโรธ]]''' (Sanskrit: Nirodha) ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจคือทุกขนิโรธ เป็นอย่างไรเล่า คือ ความดับสนิทเพราะความจางคลายไปโดยไม่มีเหลือของตัณหานั้น ความสลัดทิ้ง ความสลัดคืน ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึง ซึ่งตัณหานั้นเอง ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่าอริยสัจคือทุกขนิโรธ
# '''[[มรรค]]''' (Sanskrit: Marga) ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจคือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า คือ หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดประการนี้นั่นเอง ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นที่ถูกต้อง ([[สัมมาทิฏฐิ]]) ความดำริที่ถูกต้อง [[สัมมาสังกัปปะ|(สัมมาสังกัปปะ]]) การพูดจาที่ถูกต้อง [[สัมมาวาจา|(สัมมาวาจา)]] การทำงานที่ถูกต้อง ([[สัมมากัมมันตะ]]) การมีอาชีพที่ถูกต้อง [[สัมมาอาชีวะ|(สัมมาอาชีวะ]]) ความพากเพียรที่ถูกต้อง ([[สัมมาวายามะ|สัมมาวายามะ)]] ความระลึกที่ถูกต้อง [[สัมมาสติ|(สัมมาสติ]]) ความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้อง ([[สัมมาสมาธิ|สัมมาสมาธิ)]]

==== '''นัยยะของขันธ์ 5''' ====

# '''[[ทุกข์]]''' (Sanskrit: Duhkha) ภิกษุทั้งหลาย ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า คำตอบคือ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น 5 อย่าง ([[อุปาทานขันธ์ ๕|อุปาทานขันธ์ 5]]) ห้าอย่างนั้นอะไรเล่า ห้าอย่างคือ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าว่า ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์
# '''[[สมุทัย]]''' (Sanskrit: Samudaya ) ภิกษุทั้งหลาย ความจริงอันประเสริฐ คือเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า คือ ตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัดเพราะอำนาจความเพลิน มักทำให้เพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ ตัณหาในกาม ตัณหาในความมีความเป็น ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น ภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าว่า ความจริงอันประเสริฐ คือเหตุให้เกิดทุกข์
# '''[[นิโรธ]]''' (Sanskrit: Nirodha) ภิกษุทั้งหลาย ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า คือ ความดับสนิทเพราะความจางคลายไปโดยไม่มีเหลือของตัณหานั้น ความสละลงเสีย ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึง ซึ่งตัณหานั้นเอง อันใด ภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าว่า ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของทุกข์
# '''[[มรรค]]''' (Sanskrit: Marga) ภิกษุทั้งหลาย ความจริงอันประเสริฐ คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า คือ หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดนี้นั่นเอง ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ([[สัมมาทิฏฐิ]]) ความดำริชอบ [[สัมมาสังกัปปะ|(สัมมาสังกัปปะ]]) การพูดจาชอบ [[สัมมาวาจา|(สัมมาวาจา)]] การทำงานชอบ ([[สัมมากัมมันตะ]]) การเลี้ยงชีพชอบ [[สัมมาอาชีวะ|(สัมมาอาชีวะ]]) ความพากเพียรชอบ ([[สัมมาวายามะ|สัมมาวายามะ)]] ความระลึกชอบ [[สัมมาสติ|(สัมมาสติ]]) ความตั้งใจมั่นชอบ ([[สัมมาสมาธิ|สัมมาสมาธิ)]] ภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าว่า ความจริงอันประเสริฐ คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์

==== ขยายความอริยมรรคมีองค์ 8 ====
มรรคมีองค์แปดนี้สรุปลงใน[[ไตรสิกขา]] ได้ดังนี้ 1. อธิสีลสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ 2. อธิจิตสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ และ 3. อธิปัญญาสิกขา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ
มรรคมีองค์แปดนี้สรุปลงใน[[ไตรสิกขา]] ได้ดังนี้ 1. อธิสีลสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ 2. อธิจิตสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ และ 3. อธิปัญญาสิกขา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ
<br />

== ความสำคัญของอริยสัจ 4 ==

==== พระพุทธองค์ ทรงพระนามว่าสัมมาสัมพุทธะ ก็เพราะได้ตรัสรู้อริยสัจ 4 ====
ภิกษุทั้งหลาย ความจริงอันประเสริฐมีสี่อย่างเหล่านี้ สี่อย่างเหล่าไหนเล่า สี่อย่างคือ ความจริงอันประเสริฐ คือ ความทุกข์ ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์ ความจริงอันประเสริฐ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ และ ความจริงอันประเสริฐ คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ นี้แล ความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง ภิกษุทั้งหลาย เพราะได้ตรัสรู้ตามเป็นจริงซึ่งความจริงอันประเสริฐสี่อย่างเหล่านี้ ตถาคต จึงมีนามอันบัณฑิตกล่าวว่า อรหันตสัมมาสัมพุทธะ

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอพึงทำความเพียรเพื่อให้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นหตุให้เกิดทุกข์ นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ดังนี้เถิด

==== การรู้อริยสัจเป็นสิ่งเร่งด่วนกว่าการดับไฟที่กำลังไหม้อยู่บนหัว ====
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อไฟลุกโพลงๆ อยู่ที่เสื้อผ้าก็ดีที่ศีรษะก็ดี บุคคลนั้นควรทำอย่างไร

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อไฟลุกโพลงๆ อยู่ที่เสื้อผ้าก็ดีที่ศีรษะก็ดี เพื่อจะดับเสียซึ่งไฟ ที่เสื้อผ้าก็ดี ที่ศีรษะก็ดี สิ่งที่บุคคลนั้นพึงกระทำโดยยิ่งก็คือ ฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬฮี อัปปฏิวานี สติ และสัมปชัญญะ เพื่อจะดับไฟนั้นเสีย"

ภิกษุทั้งหลาย แม้กระนั้นก็ดี วิญูชนจะไม่ใส่ใจ จะไม่เอาใจใส่กับเสื้้อผ้าก็ดีศีรษะก็ดีที่ไฟกำลังลุกโพลงอยู่ แต่จะรู้สึกว่าสิ่งที่ควรกระทำโดยยิ่งก็คือฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬฮี อัปปฏิวานี สติ และสัมปชัญญะ เพื่อรู้เฉพาะตามเป็นจริง ซึ่งอริยสัจทั้งสี่ที่ตนยังไม่รู้พร้อมเฉพาะ อริยสัจสี่อย่างไรเล่า สี่อย่างคือ อริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือของทุกข์ อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า ทุกข์เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์เป็นอย่างนี้ ดังนี้


จะมาเพิ่มใหม่


== กิจในอริยสัจ 4 ==
== กิจในอริยสัจ 4 ==
บรรทัด 51: บรรทัด 13:
# '''ปหานะ''' - สมุทัย ควรละ คือการกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เป็นการแก้ปัญหาที่เหตุต้นตอ
# '''ปหานะ''' - สมุทัย ควรละ คือการกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เป็นการแก้ปัญหาที่เหตุต้นตอ
# '''สัจฉิกิริยา''' - นิโรธ ควรทำให้แจ้ง คือการเข้าถึงภาวะดับทุกข์ หมายถึงภาวะที่ไร้ปัญหาซึ่งเป็นจุดมุ่งหมาย
# '''สัจฉิกิริยา''' - นิโรธ ควรทำให้แจ้ง คือการเข้าถึงภาวะดับทุกข์ หมายถึงภาวะที่ไร้ปัญหาซึ่งเป็นจุดมุ่งหมาย
# '''ภาวนา''' - มรรค ควรเจริญ คือการฝึกอบรมปฏิบัติตามทางเพื่อให้ถึงความดับแห่งทุกข์ หมายถึงวิธีการหรือทางที่จะนำไปสู่จุดหมายที่ไร้ปัญหา

'''ภาวนา''' - มรรค ควรเจริญ คือการฝึกอบรมปฏิบัติตามทางเพื่อให้ถึงความดับแห่งทุกข์ หมายถึงวิธีการหรือทางที่จะนำไปสู่จุดหมายที่ไร้ปัญหา


กิจทั้งสี่นี้จะต้องปฏิบัติให้ตรงกับมรรคแต่ละข้อให้ถูกต้อง การรู้จักกิจในอริยสัจนี้เรียกว่ากิจญาณ
กิจทั้งสี่นี้จะต้องปฏิบัติให้ตรงกับมรรคแต่ละข้อให้ถูกต้อง การรู้จักกิจในอริยสัจนี้เรียกว่ากิจญาณ
บรรทัด 77: บรรทัด 38:
* ราชบัณฑิตยสถาน. (2548). ''พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.'' (พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์. หน้า 65-66.
* ราชบัณฑิตยสถาน. (2548). ''พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.'' (พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์. หน้า 65-66.
* พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "[[พุทธธรรม (หนังสือ)|พุทธธรรม]]" มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2546
* พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "[[พุทธธรรม (หนังสือ)|พุทธธรรม]]" มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2546
*พุทธทาสอินทปัญโญ. อริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคต้น, 2546


[[หมวดหมู่:อริยสัจ| ]]
[[หมวดหมู่:อริยสัจ| ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:36, 15 กุมภาพันธ์ 2562

อริยสัจ หรือจตุราริยสัจ หรืออริยสัจ 4 เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยบุคคล หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ คือ

  1. ทุกข์ (Sanskrit: Duhkha) คือ สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพที่บีบคั้น ได้แก่ ชาติ (การเกิด) ชรา (การแก่ การเก่า) มรณะ (การตาย การสลายไป การสูญสิ้น) การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมหวังในสิ่งนั้น กล่าวโดยย่อ ทุกข์ก็คืออุปาทานขันธ์ หรือขันธ์ 5
  2. สมุทัย (Sanskrit: Samudaya ) คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา 3 คือ กามตัณหา-ความทะยานอยากในกาม ความอยากได้ทางกามารมณ์, ภวตัณหา-ความทะยานอยากในภพ ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ และ วิภวตัณหา-ความทะยานอยากในความปราศจากภพ ความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ
  3. นิโรธ (Sanskrit: Nirodha) คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ กล่าวคือ ดับตัณหาทั้ง 3 ได้อย่างสิ้นเชิง
  4. มรรค (Sanskrit: Marga) คือ แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์ มีองค์ประกอบอยู่แปดประการ คือ 1. สัมมาทิฏฐิ-ความเห็นชอบ 2. สัมมาสังกัปปะ-ความดำริชอบ 3. สัมมาวาจา-เจรจาชอบ 4. สัมมากัมมันตะ-ทำการงานชอบ 5. สัมมาอาชีวะ-เลี้ยงชีพชอบ 6. สัมมาวายามะ-พยายามชอบ 7. สัมมาสติ-ระลึกชอบ และ 8. สัมมาสมาธิ-ตั้งใจชอบ ซึ่งรวมเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" หรือทางสายกลาง

มรรคมีองค์แปดนี้สรุปลงในไตรสิกขา ได้ดังนี้ 1. อธิสีลสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ 2. อธิจิตสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ และ 3. อธิปัญญาสิกขา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ

กิจในอริยสัจ 4

กิจในอริยสัจ คือสิ่งที่ต้องทำต่ออริยสัจ 4 แต่ละข้อ ได้แก่

  1. ปริญญา - ทุกข์ ควรรู้ คือการทำความเข้าใจปัญหาหรือสภาวะที่เป็นทุกข์อย่างตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง เป็นการเผชิญหน้ากับปัญหา
  2. ปหานะ - สมุทัย ควรละ คือการกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เป็นการแก้ปัญหาที่เหตุต้นตอ
  3. สัจฉิกิริยา - นิโรธ ควรทำให้แจ้ง คือการเข้าถึงภาวะดับทุกข์ หมายถึงภาวะที่ไร้ปัญหาซึ่งเป็นจุดมุ่งหมาย
  4. ภาวนา - มรรค ควรเจริญ คือการฝึกอบรมปฏิบัติตามทางเพื่อให้ถึงความดับแห่งทุกข์ หมายถึงวิธีการหรือทางที่จะนำไปสู่จุดหมายที่ไร้ปัญหา

กิจทั้งสี่นี้จะต้องปฏิบัติให้ตรงกับมรรคแต่ละข้อให้ถูกต้อง การรู้จักกิจในอริยสัจนี้เรียกว่ากิจญาณ

กิจญาณเป็นส่วนหนึ่งของญาณ 3 หรือญาณทัสสนะ (สัจญาณ, กิจญาณ, กตญาณ) ซึ่งหมายถึงการหยั่งรู้ครบสามรอบ ญาณทั้งสามเมื่อเข้าคู่กับกิจในอริยสัจทั้งสี่จึงได้เป็นญาณทัสนะมีอาการ 12 ดังนี้

  1. สัจญาณ หยั่งรู้ความจริงสี่ประการว่า
    1. นี่คือทุกข์
    2. นี่คือเหตุแห่งทุกข์
    3. นี่คือความดับทุกข์
    4. นี่คือทางแห่งความดับทุกข์
  2. กิจญาณ หยั่งรู้หน้าที่ต่ออริยสัจว่า
    1. ทุกข์ควรรู้
    2. เหตุแห่งทุกข์ควรละ
    3. ความดับทุกข์ควรทำให้ประจักษ์แจ้ง
    4. ทางแห่งความดับทุกข์ควรฝึกหัดให้เจริญขึ้น
  3. กตญาณ หยั่งรู้ว่าได้ทำกิจที่ควรทำได้เสร็จสิ้นแล้ว
    1. ทุกข์ได้กำหนดรู้แล้ว
    2. เหตุแห่งทุกข์ได้ละแล้ว
    3. ความดับทุกข์ได้ประจักษ์แจ้งแล้ว
    4. ทางแห่งความดับทุกข์ได้ปฏิบัติแล้ว

อ้างอิง

  • ราชบัณฑิตยสถาน. (2548). พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์. หน้า 65-66.
  • พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พุทธธรรม" มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2546