ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:การจัดหมวดหมู่"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{คู่มือ}}
{{คู่มือ}}


การจัดหมวดหมู่ นี้อธิบายแนวทางในการจัดหมวดหมู่ของบทความในวิกิพีเดีย
การจัดหมวดหมู่ นี้อธิบายแนวทางในการจัดหมวดหมู่ของบทความในวิกิพีเดียบาลไวยากรณ์


== คำสั่งในการใส่หมวดหมู่ ==
== คำสั่งในการใส่หมวดหมู่ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:31, 31 มกราคม 2562

การจัดหมวดหมู่ นี้อธิบายแนวทางในการจัดหมวดหมู่ของบทความในวิกิพีเดียบาลไวยากรณ์

คำสั่งในการใส่หมวดหมู่

ถ้าต้องการจัดหมวดหมู่ในบทความ ให้ใส่คำสั่งไว้ในส่วนท้ายบทความ (วางไว้หลังบทความและแม่แบบต่าง ๆ แต่อยู่ก่อนลิงก์ข้ามภาษา) โดยใช้คำสั่ง

 [[หมวดหมู่:ความงาม]]

เมื่อไรที่ควรจัดหมวดหมู่

ทุกหน้าในวิกิพีเดียควรมีหมวดหมู่อย่างน้อย 1 หมวดหมู่ เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านบทความนั้น

บทความ: ภราดร ศรีชาพันธุ์
ควรจัดในหมวดหมู่: หมวดหมู่:นักเทนนิส
ไม่ควรเป็น: หมวดหมู่:นักกีฬาที่ชื่อขึ้นต้นด้วย ภ.สำเภา
ไม่ควรเป็น: หมวดหมู่:มนุษย์

หลักในการตั้งชื่อบทความ โดยให้ถามตัวเองว่า

1. ถ้าจะเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับชื่อบทความนั้น สามารถเขียนได้อย่างน้อย 1 ย่อหน้าหรือไม่

เช่น ถ้าให้เขียนว่า นักเทนนิสคืออะไร กับ นักกีฬาที่ชื่อขึ้นต้นด้วย ภ.สำเภา คืออะไร

2. ถ้าบทความนั้น โยงไปหาหมวดหมู่ สามารถเห็นถึงความสัมพันธ์เฉพาะตัวที่เกิดขึ้นหรือไม่

เช่น ภราดร เป็นนักเทนนิส ขณะที่ ภราดรเป็นมนุษย์ (มีความหมายกว้างเกินไป)

สำหรับบทความที่มีมากกว่า 1 หมวดหมู่ ไม่ควรใส่หมวดหมู่นั้นซ้ำซ้อนลงไปในบทความเดิม เช่น ไฟร์ฟอกซ์ ชื่อซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นเบราว์เซอร์ และเป็นซอฟต์แวร์เสรี

เพราะ เว็บเบราว์เซอร์เป็นส่วนหนึ่งของซอฟต์แวร์ และซอฟต์แวร์เป็นส่วนหนึ่งของคอมพิวเตอร์ อีกทอดหนึ่ง

การจัดหมวดหมู่สำหรับบทความชีวประวัติ

การแบ่งหมวดหมู่ของบุคคลใช้คำว่า "ชาว" นำหน้า เช่น ชาวไทย ชาวญี่ปุ่น ชาวจีน ชาวอังกฤษ และอาจมีการแบ่งหมวดหมู่ย่อยลงไปถ้าหมวดหมู่นั้นมีบทความมากระดับนึง เช่น นักการเมืองชาวไทย นักดนตรีชาวญี่ปุ่น ฯลฯ โดยแบ่งแยกหมวดหมู่ ในปัจจุบันมี 2 ลักษณะหลักคือ แบ่งตามเชื้อชาติ และ แบ่งตามอาชีพ ก่อนการจะสร้างหมวดหมู่ของบุคคลแบ่งตามเชื้อชาติ ดูที่ หมวดหมู่:บุคคลแบ่งตามเชื้อชาติ สำหรับหมวดหมู่ย่อยที่มีการสร้างไว้แล้ว

เมื่อไรที่ไม่ควรจัดหรือสร้างหน้าหมวดหมู่

  • หมวดหมู่ส่วนตัวของผู้ใช้ (เช่น หมวดหมู่ที่เก็บรวบรวมหน้าผู้ใช้ รวมถึงหน้าย่อยของผู้ใช้เพียงคนเดียว)
  • หมวดหมู่ที่มีบทความเพียงบทความเดียว
  • เป็นหน้าพูดคุยต่าง ๆ ที่ไม่ใช่หน้าพูดคุยของบทความ (เช่น หน้าพูดคุยของผู้ใช้ หน้าพูดคุยของโครงการวิกิพีเดีย ฯลฯ)

หน้าผู้ใช้

เพื่อป้องกันการสับสนระหว่างหมวดหมู่ชีวประวัติของบทความกับผู้ใช้ ผู้ใช้จึงไม่ควรจัดหน้าผู้ใช้เข้าหมวดหมู่ ยกเว้นการจัดหมวดหมู่ชาววิกิพีเดีย ผ่านทางการติดแม่แบบกล่องผู้ใช้ (แม่แบบจะจัดหมวดหมู่ให้โดยอัตโนมัติ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องจัดหมวดหมู่ด้วยตนเอง)

ด้วยเหตุผลเดียวกัน หน้าย่อยของหน้าผู้ใช้ซึ่งใช้ร่างบทความก็ไม่พึงจัดไว้ในหมวดหมู่สำหรับบทความ ถ้าลอกเนื้อหาจากบทความมาลงหน้าย่อยของหน้าผู้ใช้ ก็ให้ลบหมวดหมู่สำหรับบทความออก แล้วค่อยใส่หมวดหมู่เหล่านั้นเข้าไปตอนเผยแพร่งานร่างนั้นเป็นบทความแล้ว

วิธีการสร้าง หมวดหมู่

ทำได้โดยเพียงแค่ใส่ลิงก์ที่กำหนดเป็นหมวดหมู่เพิ่มเข้าไป เช่นในบทความ สีแดง ต้องการจัดเข้าหมวดหมู่ สี ให้นำเอาข้อความ [[หมวดหมู่:สี]] ใส่ไว้ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของบทความ โดยนิยมใส่ไว้ที่ท้ายบทความ

วิธีการสร้างหมวดหมู่ย่อย

สร้างหมวดหมู่ย่อยทำเช่นเดียวกับการสร้างหมวดหมู่ในบทความ โดยการใส่ลิงก์ที่กำหนดเป็นหมวดหมู่เข้าไป เช่น หมวดหมู่ หมวดหมู่:การ์ตูนญี่ปุ่น ก็จะเป็นส่วนหนึ่งของหมวดหมู่ หมวดหมู่:การ์ตูน โดยการจัดหมวดหมู่ต้องพึงระวังว่า ระดับของหมวดหมู่นั้น ควรอยู่ระดับที่ครอบคลุมหรือระดับเดียวกัน โดย หมวดหมู่ของ หมวดหมู่:การ์ตูนไทย จะอยู่ในระดับเดียวกับการ์ตูนญี่ปุ่น ซึ่งทั้งสองหมวดหมู่จะอยู่ภายใต้หมวดหมู่การ์ตูน หรือ หมวดหมู่ "นักเทนนิส" กับ "โปรแกรมเมอร์" สามารถอยู่ในระดับเดียวกัน ภายใต้หมวดหมู่ "บุคคลแบ่งตามอาชีพ"

หมวดหมู่ย่อยโดยปกติจะจัดขึ้นในกรณีที่บทความในหมวดหมู่นั้นมีมากเกินไป และยากต่อการค้นหา เช่น ในหมวดหมู่ หมวดหมู่:นักเขียน มีนักเขียนชาวไทย 40 ท่าน ขณะที่มีนักเขียนชาวจีน 2 ท่าน และนักเขียนชาวอเมริกัน 1 ท่าน หมวดหมู่ย่อยนักเขียนชาวไทยควรจะถูกสร้างขึ้น เพื่อง่ายต่อการค้นหา ในขณะเดียวกันหมวดหมู่ย่อยของนักเขียนชาวจีนและชาวอเมริกันอาจจะไม่มีการสร้างในตอนนั้น

การทำสารบัญในหมวดหมู่

ถ้าบทความมีบทความมาก ซึ่งทำให้ยากต่อการค้นหาสามารถเพิ่มในส่วนบนเป็น สารบัญแนวนอนโดยใส่ แม่แบบ {{ดรรชนีหมวดหมู่}} ไว้ที่ส่วนหัวของหมวดหมู่นั้น

หมวดหมู่ภาพ

เช่นเดียวกับการจัดหมวดหมู่บทความ เช่น

การตั้งชื่อหมวดหมู่

ชื่อหมวดหมู่ตั้งชื่อตามนโยบายการตั้งชื่อบทความ ตัวอย่างเช่น ตั้งชื่อหมวดหมู่เป็นภาษาไทย หรือตั้งชื่อหมวดหมู่เป็นคำนาม ไม่เป็นคำกริยา เช่น ตั้งเป็น

หมวดหมู่:ความรัก แทนที่ หมวดหมู่:รัก

การจัดเรียงภายในหมวดหมู่

ในหมวดหมู่จะมีการจัดเรียงตามตัวอักษรตามชื่อของบทความ เช่น ฟุตบอล และ บาสเกตบอล ในหมวดกีฬา จะถูกจัดอยู่ใน ฟ.ฟัน และ บ.ใบไม้ ตามลำดับ แต่ในบางกรณีอาจจะมีการจัดเรียงพิเศษเพื่อให้เหมาะสม เช่น บทความ ประเทศญี่ปุ่น และประเทศฝรั่งเศส ถ้าไม่มีการจัดพิเศษจะถูกจัดอยู่ในหมวด ป.ปลา (มาจากคำว่า ประเทศ นำหน้า) สำหรับการจัดหมวดหมู่ประเภทนี้ จำเป็นต้องใช้เครื่องหมายขีดตั้ง ( | ) เข้ามาช่วย เพื่อให้จัดได้เหมาะสม โดยใช้ [[หมวดหมู่:ประเทศ|ญี่ปุ่น]] และ [[หมวดหมู่:ประเทศ|ฝรั่งเศส]] สำหรับบทความประเทศญี่ปุ่น และฝรั่งเศสตามลำดับ เพื่อให้มีการจัดอยู่ใน ญ.หญิง และ ฝ.ฝา

การจัดเรียงหมวดหมู่ที่อยู่ภายใต้ชื่อตัวเองให้ใส่เครื่องหมายขีดตั้งพร้อมเว้นวรรคตามหลัง เช่น บทความนักฟิสิกส์ ในหมวดหมู่หมวดหมู่:นักฟิสิกส์ [[หมวดหมู่:นักฟิสิกส์| ]] เช่นนี้ จะทำให้บทความ นักฟิสิกส์ ปรากฏอยู่ที่ตอนต้นของรายการบทความในหน้า หมวดหมู่:นักฟิสิกส์ โดยจะเรียงลำดับก่อนอักษรหรือสระใด ๆ เสมอ

นอกจากนี้อาจมีการจัดเรียงให้เหมาะสมในแต่ละหมวดหมู่ย่อย

การแก้ไขหมวดหมู่

การใช้งานหมวดหมู่

  • การค้นหาสำหรับผู้อ่าน
  • การลิงก์จากบทความ ทำได้โดยใส่เครื่องหมาย โคลอน ( : ) ไว้หน้าคำว่า หมวดหมู่ เช่นต้องการลิงก์ไปที่หมวดหมู่ จิตวิทยา ให้ใส่ข้อความว่า [[:หมวดหมู่:จิตวิทยา]] ไว้ในบทความ
  • การทำหน้าเปลี่ยนทาง (REDIRECT) ไม่ควรทำในหมวดหมู่เนื่องจากทางซอฟต์แวร์มีเดียวิกิ ไม่รองรับการเปลี่ยนทางของบทความภายใน

การเชื่อมโยงหมวดหมู่ไปที่หมวดหมู่ภาษาอื่น

การเชื่อมโยงหมวดหมู่ไปที่หมวดหมู่ภาษาอื่นทำได้เหมือนการเชื่อมโยงบทความไปภาษาอื่นโดยใช้วิกิสนเทศ ประโยชน์ในการอ้างอิงถึงหมวดหมู่หลักและหมวดหมู่ย่อยที่ควรจะมี อย่างไรก็ตามในแต่ละภาษาอาจมีการจัดหมวดหมู่ที่เหมาะสมแตกต่างกันไป โดยหมวดหมู่ในภาษาหนึ่งอาจจะไม่ควรเป็นหมวดหมู่ในภาษาอื่น

ดูเพิ่ม