ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จันทรุปราคา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
8
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8088560 สร้างโดย 2403:6200:8871:5807:7163:8D9C:F177:EDE1 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 13: บรรทัด 13:


== ลักษณะของดวงจันทร์เมื่อเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง ==
== ลักษณะของดวงจันทร์เมื่อเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง ==
เมื่อเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง ดวงจันทร์ไม่ได้หายไปจนมืดทั้งดวง แต่จะเห็นเป็นสีแดงอิฐ เนื่องจากมีการหักเหของแสงอาทิตย์เมื่อส่องผ่านชั้นบรรยากาศของโลก สีของดวงจันทร์เมื่อเกิดจันทรุปราคาแต่ละครั้งจะไม่เหมือนกัน แบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ ดังนี้
เมื่อเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง ดวงจันทร์ไม่ได้หายไปจนมืดทั้งดวง แต่จะเห็นเป็นสีแดงอิฐ เนื่องจากมีการหักเหของแสงอาทิตย์เมื่อส่องผ่านชั้นบรรยากาศของโลก สีของดวงจันทร์เมื่อเกิดจันทรุปราคาแต่ละครั้งจะไม่เหมือนกัน แบ่งออกได้เป็น 5 ระดับ ดังนี้
:* ระดับ 0 ดวงจันทร์มืดจนแทบมองไม่เห็น
:* ระดับ 0 ดวงจันทร์มืดจนแทบมองไม่เห็น
:* ระดับ 1 ดวงจันทร์มืด เห็นเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลแต่มองไม่เห็นรายละเอียด ลักษณะพื้นผิวของดวงจันทร์
:* ระดับ 1 ดวงจันทร์มืด เห็นเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลแต่มองไม่เห็นรายละเอียด ลักษณะพื้นผิวของดวงจันทร์

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:17, 27 มกราคม 2562

จันทรุปราคาเต็มดวง 15 เมษายน 2557

จันทรุปราคา (ชื่ออื่น เช่น จันทรคาธ, จันทรคราส, ราหูอมจันทร์ หรือ กบกินเดือน; อังกฤษ: lunar eclipse) เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์ผ่านหลังโลกเข้าสู่อัมบรา (umbra) โดยตรง ซึ่งเกิดขึ้นได้เฉพาะเมื่อดวงอาทิตย์ โลกและดวงจันทร์เรียงตรงกันพอดีหรือใกล้เคียงมาก โดยมีโลกอยู่กลาง ชนิดและระยะของอุปราคาขึ้นอยู่กับตำแหน่งของดวงจันทร์เทียบกับปมวงโคจร (orbital node)

จันทรุปราคาสามารถดูได้จากทุกที่ในฝั่งกลางคืนของโลก ซึ่งต่างกับสุริยุปราคาซึ่งมองเห็นได้จากพื้นที่ค่อนข้างเล็กของโลก จันทรุปราคากินเวลาเป็นชั่วโมง ขณะที่สุริยุปราคาเต็มดวงกินเวลาเพียงไม่กี่นาทีในที่หนึ่ง ๆ เนื่องจากเงาของดวงจันทร์มีขนาดเล็กกว่า นอกจากนี้ จันทรุปราคายังสามารถดูได้โดยไม่ต้องมีสิ่งป้องกันดวงตาหรือการป้องกันเป็นพิเศษ เพราะมืดกว่าจันทร์เพ็ญ

มาตราดังชง

อองเดร ดังชงคิดค้นมาตราต่อไปนี้ (เรียก มาตราดังชง) เพื่อจัดความมืดโดยรวมของจันทรุปราคา[1]

L=0: อุปราคามืดมาก แทบมองไม่เห็นดวงจันทร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลางคราสเต็มดวง (mid-totality)
L=1: อุปราคามืด มีสีเทาหรือออกน้ำตาล แยกแยะรายละเอียดได้ยาก
L=2: อุปราคาสีแดงเข้มหรือสนิม เงากลางมืดมาก ขณะที่ขอบนอกของอัมบราค่อนข้างสว่าง
L=3: อุปราคาสีแดงอิฐ เงาอัมบราปกติมีขอบสว่างหรือสีเหลือง
L=4: อุปราคาสีแดง-ทองแดงหรือส้มสว่างมาก เงาอัมบราสีออกน้ำเงินและขอบสว่างมาก

ลักษณะของดวงจันทร์เมื่อเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง

เมื่อเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง ดวงจันทร์ไม่ได้หายไปจนมืดทั้งดวง แต่จะเห็นเป็นสีแดงอิฐ เนื่องจากมีการหักเหของแสงอาทิตย์เมื่อส่องผ่านชั้นบรรยากาศของโลก สีของดวงจันทร์เมื่อเกิดจันทรุปราคาแต่ละครั้งจะไม่เหมือนกัน แบ่งออกได้เป็น 5 ระดับ ดังนี้

  • ระดับ 0 ดวงจันทร์มืดจนแทบมองไม่เห็น
  • ระดับ 1 ดวงจันทร์มืด เห็นเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลแต่มองไม่เห็นรายละเอียด ลักษณะพื้นผิวของดวงจันทร์
  • ระดับ 2 ดวงจันทร์มีสีแดงเข้มบริเวณด้านในของเงามืด และมีสีเหลืองสว่างบริเวณด้านนอกของเงามืด
  • ระดับ 3 ดวงจันทร์มีสีแดงอิฐและมีสีเหลืองสว่างบริเวณขอบของเงามืด
  • ระดับ 4 ดวงจันทร์สว่างสีทองแดงหรือสีส้ม ด้านขอบของเงาสว่างมาก
ไฟล์:จันทรุปราคา.gif
ภาพขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง


ปัจจัยในการเกิดจันทรุปราคา

จันทรุปราคาไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ เนื่องจากระนาบการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์และระนาบการโคจรของดวงจันทร์รอบโลกทำมุมกัน 5 องศา ในการเกิดจันทรุปราคา ดวงจันทร์จะต้องอยู่บริเวณจุดตัดของระนาบวงโคจรทั้งสอง และต้องอยู่ใกล้จุดตัดนั้นมาก จึงจะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงหรือจันทรุปราคาบางส่วนได้

ระยะห่างระหว่างโลกและดวงจันทร์มีผลต่อความเข้มของจันทรุปราคาด้วย นอกจากนี้ หากดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งที่ห่างจากโลกมากที่สุด (apogee) จะทำให้ระยะเวลาในการเกิดจันทรุปราคานานขึ้น ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ

1 ดวงจันทร์จะเคลื่อนที่อย่างช้าๆ เพราะตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งที่ดวงจันทร์เคลื่อนที่ช้าที่สุดตลอดการโคจรรอบโลก
2 ดวงจันทร์ที่มองเห็นจากโลกจะมีขนาดเล็ก จะเคลื่อนที่ผ่านเงาของโลกไปทีละน้อย ทำให้อยู่ในเงามืดนานขึ้น

ในทุกๆ ปีจะมีจันทรุปราคาเกิดขึ้นอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง หากเก็บสถิติการเกิดจันทรุปราคาแล้ว จะสามารถทำนายวันเวลาในการเกิดจันทรุปราคาครั้งต่อไปได้

การสังเกตจันทรุปราคาแตกต่างจากสุริยุปราคา จันทรุปราคาส่วนใหญ่จะสามารถสังเกตได้จากบริเวณใดๆ บนโลกที่อยู่ในช่วงเวลากลางคืนขณะนั้น ขณะที่สุริยุปราคาจะสามารถสังเกตได้เพียงบริเวณเล็กๆ เท่านั้น

หากขึ้นไปยืนอยู่บนพื้นผิวของดวงจันทร์ขณะที่เกิดจันทรุปราคาบนโลก ก็จะสามารถเห็นการเกิดสุริยุปราคาบนดวงจันทร์ได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้ เนื่องจากการที่โลกกำลังบังดวงอาทิตย์อยู่ในเวลานั้น

การเกิด

ทุกปีมีจันทรุปราคาอย่างน้อยสองครั้งและมีได้มากถึงห้าครั้ง แม้จันทรุปราคาเต็มดวงจะมีน้อยมาก หากทราบวันที่และเวลาของอุปราคาหนึ่งแล้ว สามารถพยากรณ์การเกิดอุปราคาอีกครั้งหนึ่งโดยใช้วงรอบอุปราคาอย่างซารอส

อุปราคาเกิดเฉพาะในฤดูอุปราคา เมื่อดวงอาทิตย์เข้าใกล้ปมขึ้นหรือลงของดวงจันทร์

การจำลองลักษณะปรากฏของดวงจันทร์ก่อน ระหว่างและหลังจันทรุปราคาเต็มดวง (ตัวอย่างเมื่อ 8 ตุลาคม 2557)

อ้างอิง

  1. Paul Deans and Alan M. MacRobert. "Observing and Photographing Lunar Eclipses". Sky and Telescope.

แหล่งข้อมูลอื่น