ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาอีสาน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Hakim dorloh (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Hakim dorloh (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 63: บรรทัด 63:
|-
|-
| ฮ่าง, เพ || พัง, ใช้งานไม่ได้
| ฮ่าง, เพ || พัง, ใช้งานไม่ได้
}
|-
|เฮียน ||บ้าน
|-
|เมียเฮียน, เมียบ้าน ||กลับบ้าน
|-
|สมัยแต่กี้ ||สมัยก่อน
|-}


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:15, 7 มกราคม 2562

ภาษาไทยถิ่นอีสาน
ประเทศที่มีการพูดประเทศไทย
ภูมิภาคภาคอีสาน
จำนวนผู้พูด23 ล้าน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรไทย (โดยพฤตินัย)
อักษรไทน้อย/อักษรลาว (อดีต)
รหัสภาษา
ISO 639-3tts

ภาษาไทยถิ่นอีสาน หรือ ภาษาลาวอีสาน เป็นภาษาท้องถิ่นที่ใช้พูดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นภาษาลาวสำเนียงหนึ่งในสำเนียงภาษาถิ่นของภาษาลาวซึ่งแบ่งเป็น 6 สำเนียงใหญ่ คือ

  1. ภาษาลาวเวียงจันทน์ ใช้ในประเทศลาว ท้องที่นครหลวงเวียงจันทน์ แขวงบอลิคำไซ และในประเทศไทยท้องที่จังหวัดชัยภูมิ หนองบัวลำภู หนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ โพนพิสัย โพธิ์ตาก สังคม(บางหมู่บ้าน) ) ขอนแก่น (อำเภอภูเวียง ชุมแพ สีชมพู ภูผาม่าน หนองนาคำ เวียงเก่า หนองเรือบางหมู่บ้าน) ยโสธร (อำเภอเมืองยโสธร ทรายมูล กุดชุม บางหมู่บ้าน) อุดรธานี (อำเภอบ้านผือ เพ็ญ บางหมู่บ้าน) ศรีสะเกษ (ในบางหมู่บ้านของอำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอขุขันธ์ และอำเภอขุนหาญ)
  2. ภาษาลาวเหนือ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงหลวงพระบาง ไชยบุรี อุดมไซ ในประเทศไทยท้องที่จังหวัดเลย อุตรดิตถ์ (อำเภอบ้านโคก น้ำปาด ฟากท่า) เพชรบูรณ์ (อำเภอหล่มสัก หล่มเก่า น้ำหนาว) ขอนแก่น (อำเภอภูผาม่าน และบางหมู่บ้านของอำเภอสีชมพู ชุมแพ) ชัยภูมิ (อำเภอคอนสาร) พิษณุโลก (อำเภอชาติตระการและนครไทยบางหมู่บ้าน) หนองคาย (อำเภอสังคม) อุดรธานี (อำเภอน้ำโสม นายูง บางหมู่บ้าน)
  3. ภาษาลาวตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงเชียงขวาง หัวพัน ในประเทศไทยท้องที่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี และบางหมู่บ้านในจังหวัดสกลนคร หนองคาย(บางหมู่บ้านในอำเภอท่าบ่อ อำเภอศรีเชียงใหม่ และอำเภอโพธิ์ตาก) และยังมีชุมชนลาวพวนในภาคเหนือบางแห่งในจังหวัดสุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ ไม่กี่หมู่บ้านเท่านั้น หนองคาย
  4. ภาษาลาวกลาง แยกออกเป็นสำเนียงถิ่น 2 สำเนียงใหญ่ คือ ภาษาลาวกลางถิ่นคำม่วน และถิ่นสุวรรณเขต ถิ่นคำม่วน จังหวัดที่พูดในประเทศไทย เช่น จังหวัดนครพนม สกลนคร บึงกาฬ (อำเภอเซกา บึงโขงหลง บางหมู่บ้าน) ถิ่นสุวรรณเขต จังหวัดที่พูดมีจังหวัดเดียว คือ จังหวัดมุกดาหาร
  5. ภาษาลาวใต้ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงจำปาศักดิ์ สาละวัน เซกอง อัตตะปือ จังหวัดที่พูดในประเทศไทย จังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร
  6. ภาษาลาวตะวันตก (ภาษาลาวร้อยเอ็ด) ไม่มีใช้ในประเทศลาว เป็นภาษาที่ใช้ในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ท้องที่ร้อยเอ็ด​ อุดรธานี ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม หนองคาย(บางหมู่บ้าน) และบริเวณใกล้เคียงมณฑลร้อยเอ็ดของสยาม

ส่วนภาษาเขียนในอดีตใช้อักษรธรรมล้านช้างหรือตัวธรรม สำหรับบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมะหรือพระพุทธศาสนา และเขียนด้วยอักษรไทน้อยหรือตัวลาวเดิม (เป็นอักษรลาวล้านช้างโบราณ มีความแตกต่างกับอักษรลาวในประเทศลาวในปัจจุบันเล็กน้อย) สำหรับเรื่องราวทางโลก อักษรลาวล้านช้าง (ตัวลาวหรืออักษรไทน้อย) มีพยัญชนะ 20 เสียง สระเดี่ยว 18 เสียง สระประสม 2-3 เสียง บางท้องถิ่นไม่มีเสียงสระเอือ ในปัจจุบันนิยมใช้อักษรไทยสำหรับเขียนบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งในทางโลกและทางธรรม เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่ไม่สามารถอ่านตัวอักษรธรรมและอักษรลาวออก แต่ความนิยมในการเขียนบันทึกเป็นภาษาถิ่นไม่ค่อยได้รับความนิยมนัก โดยส่วนใหญ่ภาษาเขียนในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยจะใช้อักษรไทยและบันทึกเป็นภาษาไทยกลางเป็นหลักแทน

ตัวอย่างประโยคภาษาไทยถิ่นอีสาน

ตัวอย่าง ความหมาย
กินเข่าแล้วบ่,กินเข่าแล้วติ กินข้าวหรือยัง
กี่ซี้นงัว เนื้อวัวย่าง
งามเติบ สวยมาก
งึดแฮง, งึดหลาย ประหลาดใจเหลือเกิน ประหลาดใจมาก
จบหลาย, งามหลาย สวยมาก
จ่มดู๋ ขี้บ่น, พูดมาก
เซาเว่า, เซาปาก หยุดพูด
ตาเหลียโตน สงสาร
บ่พ้อกันดนและเนาะ ไม่ได้เจอกันนานแล้วนะ
ผู้ฮ่ายหลาย ขี้เหร่มาก
พออยู่พอเซา พอกินพออยู่
มาแต่ไส ไปไหนมา
สูนแฮง โมโหมาก
ฮ่าง, เพ พัง, ใช้งานไม่ได้

}

อ้างอิง

  • เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์. ภาษาถิ่นตระกูลไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล, 2531.
  • อีสานร้อยแปด. พจนานุกรมภาษาอีสาน. อีสาน : https://esan108.com/dict.