ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัชต์ยุตม์ ศิรโยธินภักดี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Oohlanla (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Torpido (คุย | ส่วนร่วม)
เปลี่ยนทางหน้าไปยัง อมร อมรัตนานนท์
ป้ายระบุ: เปลี่ยนทางใหม่ เปลี่ยนทางไม่ถูกต้อง
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
#REDIRECT[[อมร อมรัตนานนท์]]
{{Infobox Person
| name = อมร อมรรัตนานนท์
| image = Picweb copy7.gif
| image_size = 200px
| alt =
| caption = นายอมร อมรรัตนานน์ ขณะแถลงข่าวเข้าร่วม[[การขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี|การขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร]] ที่[[อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา]]
| birth_name = อมร อมรรัตนานนท์
| birth_date = {{วันเกิด-อายุ|2502|5|9}}
| birth_place = [[อำเภอเมือง]] [[จังหวัดสระบุรี]]
| death_date =
| death_place =
| body_discovered =
| death_cause =
| resting_place =
| resting_place_coordinates = <!-- {{coord|LAT|LONG|display=inline,title}} -->
| residence = [[เขตบางเขน]] [[กรุงเทพมหานคร]]
| nationality = [[ชาวไทย|ไทย]]
| ethnicity =
| citizenship =
| other_names = อมร อมรรัตนานนท์<br>อมรเทพ อมรรัตนานนท์<br>รัชต์ยุตม์ ศิรโยธินภักดี<br>(ชื่อเดิม)
| known_for = เข้าร่วมใน[[เหตุการณ์ 6 ตุลา]]<br>แนวร่วมคนสำคัญของ[[พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย]]
| education = [[โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม]]<br>[[โรงเรียนวัดราชาธิวาส]]
| alma_mater =
| employer =
| occupation = [[นักการเมือง]]<br>นักเคลื่อนไหวทางการเมือง<br>สื่อมวลชน
| years_active = [[พ.ศ. 2516]]-ปัจจุบัน
| home_town =
| salary =
| networth =
| height = 171 [[เซนติเมตร]]
| weight = 65 [[กิโลกรัม]]
| title =
| term =
| predecessor =
| successor =
| party = [[พรรคประชาธิปัตย์]](2561-ปัจจุบัน)
| opponents =
| boards =
| religion =
| spouse =
| partner =
| children =
| parents =
| relations = [[พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(พธม.)]]<br>[[พรรคการเมืองใหม่]]<br>[[เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย(คปท.)]]
| callsign =
| awards =
| signature =
| website =
| footnotes =
| box_width =
}}
'''[https://www.facebook.com/AmornNeverAlone นายอมร อมรรัตนานนท์]''' <ref>[http://www.voicetv.co.th/content/17276/%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A280%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%AF%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E2%80%93%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87 เผยชื่อ 80 พันธมิตรฯ บุกสุวรรณภูมิ – ดอนเมือง]จาก[[วอยซ์ทีวี]]</ref> เกิดเมื่อวันที่ [[9 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2502]]<ref>[http://api.ning.com/files/nd24W9ECLPMHq3aEuWCXnJlM53pmaVQmP0E8egS6gMxqSNo8pN-KbJW8sqfA5THcSsJ*tWXctELRN8bFhigIwKkSo6ZbhSHT/AmornAmornrattananont.jpg]</ref> ที่ [[บ้านหนองเขื่อนข้าง]] [[ตำบลหนองยาว]] [[อำเภอเมืองสระบุรี|อำเภอเมือง]] [[จังหวัดสระบุรี]] โดยมีชื่อเดิมว่า '''[https://www.facebook.com/AmornNeverAlone อมร อมรรัตนานนท์]''' หรือ '''[https://www.facebook.com/AmornNeverAlone อมรเทพ อมรรัตนานนท์]''' และต่อมา ได้เปลี่ยนชื่อและนามสกุลใหม่ เป็น '''[https://www.facebook.com/AmornNeverAlone รัชต์ยุตม์ ศิรโยธินภักดี] และล่าสุด ได้เปลี่ยนกับมาใช้ชื่อเดิม และนามสกุลเดิม คือ นายอมร อมรรัตนานนท์ ''' จบประถมต้นที่โรงเรียนบ่านหนองเขื่อนช้าง ประถมปลายโรงเรียนวิหารแดง มัธยมศึกษาตอนต้น จาก[[โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม]] เรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่[[โรงเรียนวัดราชาธิวาส]] กรุงเทพฯ จากนั้นได้เข้าสู่[[ขบวนการนักศึกษา]] จากการขอสมัครเป็นเป็นผู้ปฏิบัติงานของ[[ศูนย์กลางนักเรียนแห่งประเทศไทย]] ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่ตึกสันทนาการ [[มหาวิทยาลัยมหิดล]]
ถือเป็นหนึ่งใน[[คนเดือนตุลา]] ที่มีบทบาทสำคัญ โดยก่อนหน้านั้นเป็นเลขาธิการศูนย์กลางนักเรียนในปี [[พ.ศ. 2519]] และนำนักเรียนขาสั้นเข้าร่วม[[เหตุการณ์ 6 ตุลา]] จากนั้นถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมเป็นเวลา 3 วัน ก่อนที่จะหนีเข้าป่า เฉกเช่นนักศึกษาคนเดือนตุลาอื่นๆ ในยุคนั้น โดยเข้าร่วมกับ[[พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย]] (พคท.) เขตงานสุราษฎร์ธานี โดยมีเพื่อนร่วมเขตงานเดียวกันคือ [[สุวิทย์ วัดหนู]] หลังจากนั้นเมื่อเกิดวิกฤต[[ป่าแตก]] จึงกลับเข้าหาครอบครัวทำมาหากิน เหมือนนักศึกษาคนอื่น ๆ ที่ออกจากป่าในช่วงนั้น

ในช่วง[[เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ]] ได้เข้าร่วมกับ [[คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย]] (ครป.) ขับไล่ [[สุจินดา คราประยูร|พล.อ. สุจินดา คราประยูร]] และต่อมาเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการเครือข่ายเดือนตุลา ปี [[พ.ศ. 2540]] - [[พ.ศ. 2542|2542]]

== บทบาทด้านการเมือง ==
นายอมร เข้ามาเกี่ยวข้องกับ[[พรรคไทยรักไทย]] เมื่อมีการจัดตั้งพรรค โดยได้รับการชักชวนจาก[[ภูมิธรรม เวชยชัย|นายภูมิธรรม เวชยชัย]] ให้เข้าร่วมคิดร่วมสร้างพรรค หลังการเลือกตั้ง [[พ.ศ. 2544]] ชื่อของนายอมรเข้าไปเป็นหนึ่งในคณะทำงานของ[[สมศักดิ์ เทพสุทิน|นายสมศักดิ์ เทพสุทิน]] และได้รับแต่งตั้งจากนายสมศักดิ์ให้เข้ารับแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการ[[กองทุนฟื้นฟูหนี้สินเกษตรกร]] แต่เกิดปัญหาความขัดแย้งภายในกองทุนฯ ทำให้ต้องลาออกในระยะเวลาต่อมา และต่อมา นายอมรได้เข้าร่วม[[การขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี|การขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี]]ด้วย

นายอมร ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิก[[พรรคมัชฌิมาธิปไตย]] และลง[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550|เลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550]] ในเขต 12 [[กรุงเทพมหานคร]] ซึ่งประกอบด้วย [[เขตบางกอกน้อย]] [[ตลิ่งชัน]] [[ทวีวัฒนา]]<ref>[http://hilight.kapook.com/view/18616 อมร ลั่นมัชฌิมาเสียงตอบรับดี พัทลุง - กาญจนบุรี คึกคัก จาก[[กระปุกดอตคอม]]]</ref> แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง<ref>[http://www.oknation.net/blog/print.php?id=409158 พันธมิตรตั้งพรรค ไม่ใช่เรื่องแปลก จาก[[โอเคเนชั่น]]]</ref>

ในปี [[พ.ศ. 2551]] ที่[[การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551|พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยปักหลักชุมนุมเพื่อขับไล่รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช]] ที่เชิง[[สะพานมัฆวานรังสรรค์]] นายอมรซึ่งขณะนั้นยังคงใช้ชื่อว่า อมร มีบทบาทเป็นโฆษกบนเวทีคู่กับนาย[[พิชิต ไชยมงคล]] และถูกหมายจับร่วมกับแกนนำและผู้ชุมนุมคนอื่น ๆ อีก 9 คน ในการบุกเข้า[[ทำเนียบรัฐบาล]] ในวันที่ [[26 สิงหาคม]] ปีเดียวกัน รวมทั้งถูกออกหมายเรียกในข้อหา[[การบุกยึดท่าอากาศยานในประเทศไทย พ.ศ. 2551|บุกยึดสนามบินสุวรรณภูมิ]]ในปลายปีเดียวกันด้วย<ref>[http://www.kikuza.com/2431/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD-79-%E0%B8%9E%E0%B8%98%E0%B8%A1-%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2-%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2.html ความเคลื่อนไหวการเมือง เปิดชื่อ 79 พธม. ถูกหมายเรียกก่อการร้าย จอย-ตั้วโดนด้วย]</ref>

ในปี [[พ.ศ. 2553]] ได้เป็นสมาชิก[[พรรคการเมืองใหม่]] พร้อมกับลงเลือกตั้งเป็น[[สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร]] (ส.ก.) ใน[[เขตพระนคร]]<ref>[http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1280214634&grpid=no&catid=02 โหมโรง...เลือกตั้ง"ส.ก.-ส.ข." สมัครวันแรก162คน เปิดชื่อผู้สมัคร ส.ก. ทุกเขต]จาก[[มติชน]]</ref> แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

==วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557==
{{โครงส่วน}}
{{บทความหลัก|วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557}}

* 14 [[พฤษภาคม 2557]] จาก[[วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557]] ศาลอาญาอนุมัติหมายจับ[[กปปส.#แกนนำ|แกนนำ กปปส.]] รวม 43 คน ผู้ต้องหาคดี[[กบฏ]] และความผิดอื่น รวม 8 ข้อหา เพื่อติดตามตัวมาดำเนินกระบวนการตามกฎหมาย นายอมร อมรรัตนานนท์ เป็นผู้ต้องหาหมายเลขที่ 37<ref>{{cite web
|url=http://www.thairath.co.th/content/422825
|title=ศาลอาญาอนุมัติหมายจับ 30 แกนนำ กปปส. ที่เหลือยกคำร้อง
|publisher=Thairath.co.th
|date=14 พฤษภาคม 2557
|accessdate=17 พฤษภาคม 2557}}</ref> <ref>{{cite web
|url=http://www.posttoday.com/การเมือง/294813/ศาลอนุมัติออกหมายจับแกนนำกปปส-30ราย-ยกคำร้อง13
|title=ศาลอนุมัติออกหมายจับแกนนำ กปปส. 30 ราย-ยกคำร้อง 13
|publisher=Posttoday.com
|date=14 พฤษภาคม 2557
|accessdate=17 พฤษภาคม 2557}}</ref>
ปีพ.ศ. 2516 ขณะที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้เป็นตัวแทนของนักเรียนในสภานักเรียนโรงเรียนสระบุรีวิทยาคม  ในช่วงเดือนตุลาคม เกิดการเคลื่อนไหวของขบวนการนักเรียน นักศึกษา เรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ส่วนตัวได้เข้าร่วมในการชุมนุม ในช่วงวันที่ 14-16 ตุลาคม พ.ศ. 2516

ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 ได้ย้ายมาศึกษาที่โรงเรียนวัดราชาธิวาส กรุงเทพมหานคร และได้เข้าร่วมทำกิจกรรมกับศูนย์กลางนักเรียนแห่งประเทศไทย(ศรท.) ซึ่งมีสำนักงานตั้งอยู่ที่ตึกสันทนาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งทำกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมให้เยาวชนสนใจในปัญหาสิทธิเสรีภาพและระบอบประชาธิปไตย รวมถึงการมีส่วนร่วมของนักเรียนในกิจกรรมของโรงเรียนในขอบข่ายทั่วประเทศ ในขณะเดียวกันศูนย์การนักเรียนก็ได้ทำงานร่วมกับศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(ศนท.) ทำกิจกรรมรณรงค์เผยแพร่ประชาธิปไตย ให้กับประชาชนผู้ใช้แรงงาน เกษตรกร ในขอบเขตทั่วประเทศ
ปี พ.ศ. 2018 ได้รับการคัดเลือกจากตัวแทนนักเรียนทั่วประเทศให้ดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการศูนย์กลางนักเรียนแห่งประเทศไทย ซึ่งได้มีส่วนนำพาศูนย์กลางนักเรียนแห่งประเทศไทย ทำกิจกรรมอย่างเข้มข้น และมีบทบาทอย่างสูงในการสร้างและจัดตั้งนักเรียนในระดับมัธยมปลายเพื่อไปเป็นผู้ปฏิบัติงาน ในองค์กร ชมรม กลุ่ม สภา และองค์การบริหาร ในมหาวิทยาลัยต่างๆ
ปี พ.ศ. 2519 สถานการณ์การเมืองภายในประเทศ ความขัดแย้งระหว่างประชาชนที่รักประชาธิปไตย ซึ่งนำโดยศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศูนย์กลางนักเรียนเป็นองค์กรแนวร่วม) กับฝ่ายนิยมระบบเผด็จการขวาจัด เริ่มรุนแรงมากขึ้น ฝ่ายนิยมขวาจัดมีการจัดตั้งกลุ่มกระทิงแดง กลุ่มนวพล กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน ชมรมวิทยุเสรี ฯลฯ ออกมาคัดค้าน ต่อต้าน รวมถึงการคุกคามและทำร้ายในบางกรณีมีการเข่นฆ่านักศึกษา ประชาชน ชาวไร่ชาวนา รวมถึงผู้นำกรรมกร โดยมีการยัดเยียดข้อกล่าวหาว่าขบวนการของนักเรียนนิสิตนักศึกษาถูกฝ่ายคอมมิวนิสต์ และต่างชาติครอบงำ กลุ่มฝ่ายขวาได้ทำการปลุกระดม มวลชน สร้างข้อมูลเท็จ ให้ร้ายป้ายสี สร้างความเกลียดชัง อย่างรุนแรง ถึงขั้นเสนอว่า จำเป็นต้องหยุดยั้งขบวนการนักศึกษาทุกรูปแบบ โดยให้ พระกิตติวุฒโฑ ซึ่งเป็นแกนหลักในกลุ่มนวพล สร้างวาทกรรมและวิธีคิดว่าการฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป เสมือนหนึ่งการฆ่าปลาเพื่อใส่บาตร ให้พระภิกษุสงฆ์

การคุกคามฝ่ายนักศึกษาเกิดขึ้นอย่างหนักใน พ.ศ. 2519 ตั้งแต่ต้นปี การปฏิบัติการดังกล่าวกระทำจนกระทั่งแน่ใจได้ว่า ขบวนการอ่อนกำลังลงมากแล้ว จึงได้มีการนำเอาตัวจอมพลประภาส จารุเสถียร เข้ามาสู่ประเทศเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2519 ในข้ออ้างของจอมพลประภาสว่า จะเข้ามารักษาตา ฝ่ายนักศึกษาได้เรียกชุมนุมประชาชน เพื่อเรียกร้องให้นำตัวจอมพลประภาสมาลงโทษ ในการประท้วงครั้งนี้ กลุ่มอันธพาลการเมืองก็ก่อกวนเช่นเดิม ด้วยการขว้างระเบิดใส่ที่ชุมนุมของฝ่ายนักศึกษา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 คน และบาดเจ็บอีก 38 คน

แต่ปรากฏว่าเหตุการณ์นี้ กลุ่มฝ่ายขวายังไม่มีความพร้อมเพียงพอที่จะก่อการรัฐประหารได้ จึงต้องผลักดันให้จอมพลประภาสเดินทางออกนอกประเทศไปก่อน ในที่สุดจอมพลประภาสยินยอมเดินทางออกไปยังกรุงไทเปอีกครั้งในวันที่ 22 สิงหาคม โดยก่อนออกเดินทาง ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาติให้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช อีกด้วย

หลังจากนั้นเริ่มมีข่าวว่าจอมพลถนอม กิตติขจร จะขอกลับเข้าสู่ประเทศไทยอีกครั้งเพื่อเยี่ยมบิดาที่ใกล้ถึงแก่กรรม

วันที่ 3 กันยายน 2519 ศูนย์กลางนิสิตและศูนย์กลางนักเรียน ได้เรียกประชุมกลุ่มต่างๆ 165 กลุ่ม เพื่อคัดค้านการกลับเข้ามาของจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการจัดอภิปรายที่หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวันที่ 7 กันยายน ในหัวข้อทำไมจอมพลถนอมจะกลับมา ซึ่งผู้อภิปรายหลายคนได้สรุปว่า การเข้ามาของจอมพลถนอมส่วนหนึ่งเป็นแผนการที่วางไว้เพื่อจะหาทางก่อการรัฐประหารนั่นเอง

ต่อมาวันที่ 19 กันยายน 2519 จอมพลถนอม กิตติขจร ก็กลับเข้าประเทศจนได้ โดยบวชเป็นสามเณรมาจากสิงคโปร์ จากนั้นก็ตรงไปยังวัดบวรนิเวศฯ เพื่อบวชเป็นภิกษุ โดยมีพระญาณสังวร เป็นองค์อุปัชฌาย์ และเมื่อบวชเรียบร้อยก็ขนานนามว่า สุกิตติขจโรภิกษุ

ในวันเดียวกัน วิทยุยานเกราะได้นำคำปราศรัยของจอมพลถนอมมาออกอากาศในวันที่ 19 กันยายน ซึ่งมีสาระสำคัญว่า จอมพลถนอมกลับเข้ามาในประเทศครั้งนี้เพื่อเยี่ยมอาการป่วยของบิดา จึงได้บวชเป็นพระภิกษุตามความประสงค์ของบิดา และไม่มีจุดมุ่งหมายทางการเมืองอย่างใดเลย จากนั้น วิทยุยานเกราะได้ตักเตือนมิให้นักศึกษาก่อความวุ่นวาย มิฉะนั้นแล้วอาจจะต้องมีการประหารสักสามหมื่นคน เพื่อให้ชาติบ้านเมืองรอดพ้นจากภัย

ในขณะเดียวกัน ขบวนการนักศึกษาที่ นำโดยศูนย์กลางนิสิตและศูนย์กลางนักเรียน และองค์กรแนวร่วมก็เคลื่อนไหวโดยทันที โดยยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาล แสดงการคัดค้านจอมพลถนอมที่ใช้ศาสนาบังหน้า ทำให้พระศาสนามัวหมอง เรียกร้องให้นำเอาจอมพลถนอมมาขึ้นศาลพิจารณาคดี พร้อมทั้งคัดค้านความพยายามที่จะก่อการรัฐประหาร ขณะที่กลุ่มยุวสงฆ์ก็ออกคำแถลงคัดค้านสถานะภิกษุของจอมพลถนอม โดยขอให้มหาเถรสมาคมตรวจสอบการบวชครั้งนี้ว่าถูกต้องตามพระวินัยหรือไม่ และถวายหนังสือต่อสังฆราชให้สอบสวนพระญาณสังวร ด้วย ในฐานะที่ทำการบวชให้แก่ผู้ต้องหาคดีอาญา ปรากฏว่าสมเด็จพระสังฆราชยอมรับว่าการบวชนั้นถูกต้อง ส่วนเรื่องขับไล่จอมพลถนอมจากประเทศนั้นเป็นเรื่องทางโลก ที่ทางมหาเถรสมาคมไม่อาจเกี่ยวข้องได้

ต่อมา วันที่ 23 กันยายน 2519 สมาชิกสภาก็ได้เสนอให้มีการประชุมในเรื่องการกลับมาของจอมพลถนอมโดยตรง และได้ลงมติคัดค้านการกลับมาของจอมพลถนอม ให้รัฐบาลดำเนินการเรื่องนี้โดยทันที ปรากฏว่านายกรัฐมนตรี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ไม่อาจจะจัดการอะไรได้ จึงได้ลาออกจากตำแหน่งกลางสภาผู้แทนราษฎร

และในเวลา 21.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี ก็เสด็จไปที่วัดบวรนิเวศฯ เพื่อสนทนาธรรมกับพระญาณสังวร ซึ่งเคยเป็นพระพี่เลี้ยงเมื่อพระองค์ทรงผนวช

วันที่ 24 กันยายน 2519 นายสมัคร สุนทรเวช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้แถลงว่า การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จวัดบวรฯ กลางดึก แสดงให้เห็นว่า พระองค์ต้องการให้พระถนอม อยู่ในประเทศต่อไป

อย่างไรก็ตาม ในคืนวันนั้นขบวนการนักศึกษาได้ออกติดโปสเตอร์ต่อต้านจอมพลถนอมทั่วประเทศ ศูนย์กลางนักเรียน ได้รับมอบหมายกับกลุ่มกิจกรรมอิสระจากจุฬาลงกรณ์ให้รับผิดชอบ ติดโปสเตอร์ในเขตชั้นในกรุงเทพ ร่วมกับปรากฏว่านิสิตจุฬาลงกรณ์ที่ออกติดโปสเตอร์ถูกชายฉกรรจ์จำนวนหนึ่งดักทำร้าย และนำเอาโปสเตอร์ที่จะติดนั้นไปทำลาย

นอกจากนี้ นายชุมพร ทุมไมย และนายวิชัย เกษศรีพงศา พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค นครปฐม และเป็นสมาชิกแนวร่วมประชาชน ซึ่งออกติดโปสเตอร์ต่อต้านจอมพลถนอม ได้ถูกคนร้ายฆาตกรรมแล้วนำไปแขวนคอที่ประตูทางเข้าที่ดินจัดสรรบริเวณหมู่บ้าน 2 ตำบลพระประโทน ปรากฏจากการชันสูตรว่าทั้งสองคนถูกซ้อมและฆ่าอย่างทารุณก่อนที่จะนำศพไปแขวน สันนิษฐานว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจนครปฐมเป็นผู้ลงมือ ซึ่งกรณีนี้ ได้สร้างความสะเทือนใจอย่างมาก ศูนย์กลางนิสิตจึงได้ตั้งข้อเรียกร้องเพิ่มต่อรัฐบาลให้จับคนร้ายมาลงโทษโดยเร็ว ทางฝ่ายรัฐบาลได้ตั้งให้ พล.ต.ท.ชุมพล โลหะชาละ เป็นผู้ควบคุมคดี
                                            

วันที่ 26 กันยายน 2519 กิตติวุฑโฒภิกขุได้แถลงย้ำว่า การบวชของพระถนอมครั้งนี้ ได้กราบบังคมทูลขออนุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมทั้งการขอเข้ามาในเมืองไทยด้วย ดังนั้น พระถนอมจึงเป็นผู้บริสุทธิ์

การชุมนุมคัดค้านจอมพลถนอมของขบวนการนักศึกษา

ได้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 28 กันยายน ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้ยื่นคำขาดให้รัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช แก้ไขปัญหาเรื่องจอมพลถนอม กิตติขจร ให้จับตัวคนร้ายที่ก่อการฆาตกรรม 2 ช่างไฟฟ้านครปฐมมาลงโทษ และขอให้รัฐบาลจัดกำลังรักษาความปลอดภัยแก่ผู้ชุมนุม ต่อมาศูนย์นิสิตได้ใช้มาตรการรุก คือขอให้รัฐบาลตอบภายใน 3 วัน

วันที่ 1 ตุลาคม 2519 ตัวแทนญาติวีรชน 14 ตุลาคม ได้เข้าพบนายกรัฐมนตรี ขอให้ดำเนินการขับจอมพลถนอม กิตติขจร ออกจากประเทศไทย และได้เริ่มอดอาหารประท้วงที่หน้าทำเนียบรัฐบาล

ในวันเดียวกัน กลุ่มฝ่ายขวา 13 กลุ่ม ได้ร่วมออกแถลงการณ์ว่า ได้ปรากฏแน่ชัดแล้วว่า ศูนย์นิสิตนักศึกษา ศูนย์กลางนักเรียน สภาแรงงานแห่งประเทศไทย และนักการเมืองฝ่ายซ้าย ได้ถือเอาพระถนอมมาเป็นเงื่อนไขสร้างความไม่สงบขึ้นภายในประเทศชาติ ถึงขั้นจะก่อวินาศกรรมทำลายวัดบวรนิเวศวิหาร และล้มล้างรัฐบาล เรื่องนี้กลุ่มต่างๆ ดังกล่าว ได้ประชุมลงมติว่า 1. จะร่วมกันปกป้องวัดบวรฯ ทุกวิถีทาง ตามพระราชเสาวณีย์

วันที่ 2 ตุลาคม 2519 กำหนดเวลาเส้นตายที่ศูนย์นิสิตยื่นไว้มาถึง ทางฝ่ายกระทิงแดงได้ตั้งกำลังล้อมวัดบวรนิเวศฯ โดยอ้างว่า เพื่อป้องกันศาสนสถาน ปรากฏว่าตัวแทนศูนย์กลางนิสิตได้เข้าพบนายกรัฐมนตรี แต่ก็ยังไม่มีอะไรคืบหน้า ดังนั้น จึงได้มีการตกลงให้มีการชุมนุมประชาชนครั้งใหญ่ที่สนามหลวงในเวลาเย็นวันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม

ขณะเดียวกัน กลุ่มอิสระ 21 กลุ่มของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รณรงค์ให้นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์งดสอบ เพื่อร่วมการประท้วงขับไล่จอมพลถนอม ในการรณรงค์งดสอบนี้ ชมรมนาฏศิลป์และการละครได้จัดการแสดงละครเรียกร้องให้นักศึกษามีจิตสำนึกในการเข้าร่วมการต่อสู้ โดยมีฉากหนึ่งที่เป็นภาพสะท้อนถึงช่างไฟฟ้าที่ถูกสังหารที่นครปฐม
                                                                      

การรณรงค์มีนักศึกษาเข้าร่วมจำนวนมาก จนทำให้มหาวิทยาลัยต้องประกาศเลื่อนการสอบออกไปอย่างไม่มีกำหนด

ในเวลาตั้งแต่ 15.30 น. ได้มีการชุมนุมประชาชนที่สนามหลวง จนกระทั่งเกิดฝนตก และมีแนวโน้มการคุกคามของกลุ่มฝ่ายขวาในเวลา 19.30 น. กลุ่มนักศึกษาที่นำการชุมนุมจึงมีมติให้ย้ายเวทีเข้ามาชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อความสะดวกในการรักษาความปลอดภัย และการประท้วงก็ข้ามคืนมาจนถึงวันที่ 5 ตุลาคม มีการชุมนุมประท้วงจอมพลถนอมเกิดขึ้นในอีกหลายจังหวัด เช่น ที่เชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมา สงขลา เป็นต้น

ในการการชุมนุมศูนย์กลางนักเรียนได้รับผิดชอบในการเป็นหน่วยพลาธิการโดยทำหน้าที่ทำอาหารและบรรจุข้าวห่อในการดูแลผู้ชุมนุม พวกเราใช้สถานที่ด้านหลังตึกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) เป็นที่ประกอบอาหาร

ส่วนตัวข้าพเจ้าได้อยู่ในคณะแกนนำทำหน้าที่อยู่บนตึกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยส่วนตัวร่วมกับเพื่อนจากศูนย์นักเรียน 5 คนรับผิดชอบทำหน้าที่ในหน่วยข่าว โดยมีหน้าที่เฝ้าฟังการสื่อสารของกลุ่มฝ่ายขวาเพื่อประเมินสถานการณ์การชุมนุม

ชนวนแห่งเหตุร้ายอย่างไม่คาดหมายเกิดขึ้นเมื่อเช้าวันที่ 5 ตุลาคม 2519 เมื่อหนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์และดาวสยาม ลงภาพการแสดงละครแขวนคอของนักศึกษา เพื่อประกอบข่าวที่ทางการตำรวจแถลงว่าจับกุมคนร้ายในกรณีสังหารช่างไฟฟ้านครปฐมได้แล้ว ซึ่งเป็นตำรวจชั้นผู้น้อย 5 คน

ปรากฏว่าใบหน้าของผู้แสดงของนักศึกษา คือ อภินันท์ บัวหภักดี เมื่อถ่ายภาพออกมาแล้ว มีความคล้ายคลึงกับพระบรมโอรสาธิราชอย่างไม่คาดหมาย

บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ดาวสยาม จึงได้เลือกเอารูปการแสดงละครของนายอภินันท์ที่มีความคล้ายคลึงกับพระบรมโอรสาธิราชมากที่สุด เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ประโคมข่าวในหนังสือพิมพ์ฉบับบ่ายวันที่ 5 ตุลาคม โดยมีการพิมพ์ใหม่อย่างรวดเร็ว แล้วออกเผยแพร่โจมตีขบวนการนักศึกษาว่าจงใจหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งเป็นเจตจำนงในการทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ และเป็นส่วนหนึ่งของแผนการของคอมมิวนิสต์
                                                          

หลังจากนั้น สถานีวิทยุทหารทุกแห่งก็ออกข่าวเกี่ยวกับกรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนี้ และระดมผู้รักชาติจำนวนนับพันไปชุมนุมที่ลานพระบรมรูปทรงม้าเพื่อต่อต้านกรณีดังกล่าว โดยเฉพาะกลุ่มพลังฝ่ายขวาเช่น กระทิงแดง ลูกเสือชาวบ้าน และนวพล จากการอ้างเอาเรื่องการหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์นี้เอง กลุ่มปฏิกิริยาจึงสามารถระดมประชาชนที่โกรธแค้นเป็นจำนวนมากมาร่วมการชุมนุมได้ โดยประเด็นที่วิทยุยานเกราะเรียกร้องก็คือ ให้ทำลายพวกคอมมิวนิสต์ที่อยู่ในธรรมศาสตร์ และประท้วงรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ที่ตั้งรัฐบาลใหม่ โดยไม่ให้นายสมัคร สุนทรเวช และนายสมบุญ ศิริธร เข้าร่วมในคณะรัฐมนตรี
เวลาดึกของวันนั้น การชุมนุมของฝ่ายขวาก็ย้ายสถานที่มายังท้องสนามหลวงตรงบริเวณฝั่งตรงข้ามธรรมศาสตร์ และได้มีการยั่วยุประชาชนอย่างหนัก ให้เกลียดชังนักศึกษามากยิ่งขึ้น และเช้าวันที่ 6 ตุลาคม ฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจก็เริ่มยิงอาวุธสงครามใส่ผู้ชุมนุม จากนั้นต่อมาก็ได้ใช้กองกำลังตำรวจกองปราบและหน่วยตำรวจตระเวนชายแดนนำการกวาดล้างนักศึกษาในมหาวิทยาธรรมศาสตร์ด้วยอาวุธสงครามเต็มอัตรา นี่คือการปราบปรามใหญ่กรณี 6 ตุลาคมนั่นเอง

การชุมนุมวันที่ 6 ตุลาคม จนเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงที่เหี้ยมโหดอำมหิต และจบด้วยการจับกุมนักเรียน นิสิตนักศึกษาและประชาชน ภาพของการล้อมฆ่า ล้อมทำร้าย ภาพของการแขวนคอ ตอกลิ่ม นั่งยางเผาสด เป็นความโหดร้ายที่เกิดขึ้นในใจกลางเมืองหลวง ข้างพระราชบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย ที่เป็นศูนย์กลางพุทธศาสนา เป็นที่สะเทือนใจของประชาชนทั่วไป

สำหรับตัวข้าพเจ้าถูกจับกุมตัวในช่วงเช้าและได้ประกันตัวออกมาหลังจากนั้นอีก 3 วัน จากนั้นจึงตัดสินใจเปลี่ยนแนวทางการต่อสู้โดยสันติวิธี โดยการเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ในเขตงาน 180 บ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ภาระหน้าที่ในช่วง6 เดือนของปีแรกในเขตงาน เนื่องจากข้าพเจ้ายังเป็นเยาวชนทางพรรคฯ จึงให้ข้าพเจ้า อยู่ประจำในหน่วยข่าว คอยสรุป ประเด็นข่าวและสถานการณ์ ทั้งในประเทศและทางสากล เพื่อที่จะสรุป ให้ สหายนำ ซึ่งรับผิดชอบเขตงาน นำไปรายงาน ต่อที่ประชุม ของสหาย ในช่วง เย็นของทุกวัน

ต่อมาหลังจากนั้น ทางพรรคได้ขยายบทบาทมอบหมายให้ข้าพเจ้า เป็นผู้สรุปและงานโดยตรงในที่ประชุมของสหาย

ในปีที่ 2  ข้าพเจ้า ได้รับการเลือกเลื่อน ให้เป็นฝ่ายการศึกษา ในหน่วยงานผลิตหูหนาน-ต้าจ๋าย(หน่วยงานนี้ทำหน้าที่เลี้ยงสัตว์-เพราะปลูก) ซึ่งทำหน้าที่นำการศึกษา เพื่อยกระดับทางความคิดการเมือง ของบรรดาสหายที่อยู่ในหน่วยผลิต

ช่วงปลายปีที่ 2  ข้าพเจ้าได้เสนอตนเอง อาสาเข้าเป็น ทหารประจำกองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย แต่ทางพรรคไม่เห็นชอบข้าพเจ้าเสียใจมาก

ทางพรรคเห็นว่าข้าพเจ้ายังเป็นเยาวชน และให้ความสำคัญกับปัญญาชนที่จากในเมือง จึงได้มอบหมายให้ข้าพเจ้าเป็นหัวหน้าหน่วยเยาวชน เพื่อทำงานทางความคิดการเมือง กับบรรดาเยาวชนสหายท้องถิ่นซึ่งมีอยู่ในเขตงานจำนวนมาก
                       

ช่วงต้นปี 2523 สถานการณ์การต่อสู้ภายในประเทศ เริ่มเกิดวิกฤติศรัทธาเนื่องจากความขัดแย้งภายในของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย รวมทั้งวิกฤตสถานการณ์ทางสากลที่ทางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนได้ละทิ้งหลักการสังคมนิยม หันมาสนับสนุนและสร้างความสัมพันธ์กับรัฐบาลไทยมากขึ้น

ทางพรรคจึงส่งข้าพเจ้ากลับมาทำงานในเมือง (กรุงเทพมหานคร) โดยมอบหมายให้ข้าพเจ้ากับเพื่อนจำนวนหนึ่งทำงานด้านเศรษฐกิจ โดยจัดตั้งบริษัทขึ้นมาเพื่อผลิดเพลงเพื่อชีวิต ด้านหนึ่งเป็นการเผยแพร่งานวัฒนธรรม แต่อีกด้านหนึ่ง เพื่อรวบรวม เงินที่ได้จากการขายเข้าไปสนับสนุนพรรคในชนบท

ในปี 2525 หลังจากที่รัฐบาลประกาศนโยบายสร้างความปรองดองแห่งชาติ ผ่านนโยบาย 66/23 สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จำนวนมากในหลายเขตงานทั่วประเทศ ได้ยุติบทบาทการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธหันมาร่วมพัฒนาชาติไทยภายใต้นโยบาย 66/23

เพื่อนมิตรสหายจากในเมืองจำนวนมาก ต่างก็กลับมาสู่บ้านเกิดของตัวเองบางส่วนก็ไปมอบตัว บางส่วนก็ไม่ได้มอบตัวในส่วนตัวข้าพเจ้าข้าพเจ้าปฏิเสธการมอบตัว

เพื่อนหลายคนที่ยังเรียนไม่จบก็กลับเข้าไปสู่รั้วโรงเรียนและมหาวิทยาลัย กลับไปเป็นนักศึกษาใหม่บางคนก็ร่ำเรียนจนถึงระดับเป็น ดอกเตอร์

บางส่วนก็หันไปทำธุรกิจอาชีพที่ตนเองถนัดหรือครอบครัวของตัวเองทำอยู่ บางส่วนก็ยังตัดไม่ขาดกับทางการเมืองก็เข้าร่วมทำงานกับพรรคการเมืองที่ตนเองเห็นว่าจะสร้างประโยชน์ให้ได้มากที่สุด

แต่ก็มีเพื่อนบางส่วนจำนวนมากปฏิเสธในการเป็นนักธุรกิจและทำการเมืองในระบบรัฐสภา หันไปทำกิจกรรมเพื่อชาวบ้านในนามนักพัฒนาอาสาสมัคร หรือที่เรียกว่าเป็น NGOs

ส่วนตัวข้าพเจ้าและเพื่อนก็ได้ตัดสินใจ ยุติบทบาทในการทำงานเศรษฐกิจให้พรรคฯ และหันมาประกอบอาชีพส่วนตัวตามความถนัดของแต่ละบุคคล เพื่อสร้างรากฐานทางเศรษฐกิจที่จะดูแลตนเองและครอบครัว

ข้าพเจ้าเองหันมาประกอบอาชีพธุรกิจในการรับเหมาตกแต่งภายใน โดยจัดตั้งเป็น ห้างหุ้นส่วนจำกัดเอ.เอ.แอนด์ แฟมิลี่

ภายใต้การเป็นนักธุรกิจในสังคมการเมืองประเทศไทยในขณะนั้น พวกเรา ก็ยังคงความสัมพันธ์และติดต่อกันบนพื้นฐานของความเป็นมิตรสหายที่ยังห่วงใยกับอนาคตประเทศไทย

ในปี 2534 เกิดรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ซึ่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (รสช.) ได้ยึดอำนาจจากรัฐบาล ซึ่งในขณะนั้นมี “พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ” เป็นนายกรัฐมนตรี โดยให้เหตุผลหลักว่า มีการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างหนักในรัฐบาล และรัฐบาลพยายามทำลายสถาบันทหาร
                     
ข้าพเจ้าและเพื่อนจำนวนมากที่เป็นมิตรสหายเริ่มเห็นเค้าลางและความสับสนปั่นป่วนของการเมืองไทยที่อยู่ในวังวน ที่ถูกครอบงำโดยชนชั้นนำ และสถาบันทหาร เพื่อนมิตรจำนวนมาก มีมติ ร่วมกัน ว่าจำเป็นต้องฟื้นการจัดตั้งของพวกเรา โดยมีการเสนอให้ มีการจัดตั้งเป็นเครือข่าย ตามสายงานและเขตงานที่พวกเราเคยอยู่ ร่วมกันในพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

เพื่อด้านหนึ่ง สนับสนุนกลุ่มกิจกรรม ของเยาวชนคนรุ่นใหม่และนักศึกษา สนับสนุนกลุ่มองค์กร กลุ่มกิจกรรม ของภาคเอกชน ซึ่งมีอยู่จำนวนมากในขอบเขตทั่วประเทศ

อีกด้านหนึ่ง เพื่อเป็นหลักประกัน ในการรวมกลุ่มกันอย่างรวดเร็ว กรณีเกิดเหตุการณ์พลิกผัน หรือสถานการณ์ ที่อาจจำเป็นต้องมีการระดมกำลัง

สำหรับข้าพเจ้า ได้เข้าไปสนับสนุน คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) เพราะมีมิตรสหายที่ทำงาน เป็นคณะกรรมการอยู่จำนวนมาก อาทิเช่น คุณพิภพ ธงไชย คุณสุวิทย์ วัดหนู เป็นต้น

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ด้านประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2522 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อรณรงค์ให้มีการแก้ไข รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2521 ให้เป็นประชาธิปไตย ซึ่งได้ยุติบทบาทลงเมื่อปี พ.ศ. 2526 แต่เมื่อเกิดรัฐประหารโดยคณะ รสช. ขึ้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 องค์กรสิทธิมนุษยชนองค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ และนักศึกษาจึงได้กลับมารวมตัวกันรื้อฟื้น ครป. ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือการติดตามและรณรงค์เพื่อให้รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2534 เป็นประชาธิปไตย

         ครป. ได้จัดกิจกรรมทั้งทางวิชาการและทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบการประชุม สัมมนา อภิปราย การรณรงค์ และได้ร่วมกับสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) และองค์กรประชาธิปไตยต่างๆ ต่อมาภายหลังเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 พล.อ. สุจินดา คราประยูร ผู้นำ รสช. ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ครป.เป็นองค์กรหนึ่ง ที่มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวระหว่างเดือน เมษายน-พฤษภาคม เพื่อคัดค้านการสืบทอดอำนาจของ รสช. แม้ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ สถานการณ์ทางการเมืองจะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ได้รัฐบาลที่มีนายกรัฐมนตรีมาจาก ส.ส.

แต่ ครป. เห็นว่าโครงสร้างของสังคมไทยยังมิได้เป็นประชาธิปไตยที่เอื้อต่อคนส่วนใหญ่อย่างแท้จริง โดยเฉพาะคนระดับพื้นฐาน อันเป็นเกษตรกรและแรงงาน ระบบรัฐสภายังผูกขาดโดยนักการเมือง ระบบราชการ และระบบการศึกษา ที่รวมศูนย์อยู่นอกเหนือการควบคุมตรวจสอบของประชาชน ยังผลให้ประชาชนไม่สามารถมีส่วนร่วมในทางการเมืองอย่างแท้จริง ครป. จึงดำเนินกิจกรรมโดยยึดแนวทาง อิสระไม่ฝักใฝ่ทางการเมืองกับพรรคการเมืองใดพรรคหนึ่ง มุ่งการรณรงค์เคลื่อนไหวเพื่อไปสู่การปฏิรูปการเมืองทั้งระบบ โดยในปี พ.ศ. 2540 ครป. ร่วมกับ เครือข่ายองค์กรประชาธิปไตย และองค์กรประชาชน ในนาม 30 องค์กรประชาธิปไตย ได้มีการใช้รูปแบบการเคลื่อนไหว "ชูธงเขียว เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่" และรวบรวมประมวลข้อคิดเห็นในการร่าง รัฐธรรมนูญจากประชาชนทั่วประเทศ นำเสนอต่อสภาร่างรัฐธรรมนูญ และร่วมผลักดันรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน จนผ่านรัฐสภาในที่สุด

         โครงสร้างของ ครป. ประกอบด้วยนักวิชาการและนักเคลื่อนไหวทางด้านประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนหลายท่าน ประกอบด้วยที่ปรึกษา, ที่ปรึกษาส่วนภูมิภาค, คณะกรรมการกลาง, คณะกรรมการกลางส่วนภูมิภาค, คณะกรรมการฝ่ายวิชาการ, คณะกรรมการดำเนินงาน (ประกอบโดย ประธาน, รองประธานและเลขาธิการ, คณะกรรมการ และเหรัญญิก), และสำนักงานเลขาธิการ.

ผู้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน ครป. อาทิ นายพิภพ ธงไชย อดีตประธาน ครป. ศาสตราจารย์สุริชัย หวันแก้ว อดีตประธาน ครป. นายสุวิทย์ วัดหนู อดีตเลขาธิการ ครป. ดร.สุริยะใส กตะศิลา อดีตเลขาธิการ ครป.
                                                     

ภายหลังการรัฐประหาร รสช. ได้เลือก “นายอานันท์ ปันยารชุน” มาเป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ และได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

การได้นายอานันท์ ปันยารชุน มาเป็นนายกรัฐมนตรีได้คลายความกังวลใจ ให้กับพวกเราระดับหนึ่ง เนื่องจากนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นอดีตข้าราชการ เป็นนักเทคโนแครต ที่มีประสบการณ์ คงไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจทหาร  100% 

จนกระทั่งมีการประกาศการเลือกตั้งครั้งใหม่ ในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ 2535  โดยบรรยากาศในช่วงการเลือกตั้ง ได้มีกระแส การเรียกร้องจากประชาชน ต้องการนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งทุกพรรคต่างสนับสนุน

โดยก่อนการเลือกตั้ง ฝ่ายทหารได้มีการสนับสนุน และดึงนักการเมือง จากหลายพรรคมารวมกัน ในนามพรรคสามัคคีธรรม ซึ่งเป็นการปูทางสืบทอดอำนาจ ของ รสช. ขึ้น

ผลปรากฏว่า “นายณรงค์ วงศ์วรรณ” หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรมได้คะแนนมากที่สุด แต่สุดท้ายไม่สามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้เนื่องจากถูกรัฐบาลของสหรัฐอเมริกาขึ้นบัญชีดำจากความใกล้ชิดกับนักค้ายาเสพติด
                        
“พล.อ.สุจินดา คราประยูร” รองหัวหน้าคณะ รสช. จึงขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีแทน นับเป็นการเสียสัตย์ที่เคยกล่าวไว้ว่าจะไม่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนได้รับฉายาจากประชาชนว่า “เสียสัตย์เพื่อชาติ" จึงเป็นเหตุผลให้ประชาชน รวมตัวกันออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองคัดค้าน รสช.

การรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกสุจินดา ดังกล่าว นำไปสู่การเคลื่อนไหวคัดค้านต่าง ๆ ของประชาชน รวมถึงการอดอาหารของ ร้อยตรีฉลาด วรฉัตร และ พลตรีจำลอง ศรีเมือง (หัวหน้าพรรคพลังธรรมในขณะนั้น) สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ที่มีนายปริญญา เทวานฤมิตรกุล เป็นเลขาธิการ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ที่มีคุณพิภพ ธงไชย เป็นเลขาธิการ ตามมาด้วยการสนับสนุนของพรรคฝ่ายค้านประกอบด้วยพรรคประชาธิปัตย์, พรรคเอกภาพ, พรรคความหวังใหม่และพรรคพลังธรรมโดยมีข้อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง และเสนอว่าผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง

ข้าพเจ้าและเพื่อนทุกเขตงาน ก็ได้เข้าร่วมการเคลื่อนไหวครั้งนี้ โดยเป็นฝ่ายสนับสนุน ในปัจจัยทุกด้าน

การชุมนุมยืดเยื้อตั้งแต่เดือนเมษายน เมื่อเข้าเดือนพฤษภาคม รัฐบาลเริ่มระดมทหารเข้ามารักษาการในกรุงเทพมหานคร และเริ่มมีการเผชิญหน้ากันระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารในบริเวณราชดำเนินกลาง ทำให้สถานการณ์ตึงเครียดมากขึ้นเรื่อย ๆ

กระทั่งในคืนวันที่ 17 พฤษภาคม ขณะที่มีการเคลื่อนขบวนประชาชนจากสนามหลวงไปยังถนนราชดำเนินกลางเพื่อไปยังหน้าทำเนียบรัฐบาล ตำรวจและทหารได้สกัดการเคลื่อนขบวนของประชาชน เริ่มเกิดการปะทะกันระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในบางจุด และมีการบุกเผาสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้ง

จากนั้นวันที่ 18 พฤษภาคม เวลา 00.30 น.รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงเทพมหานคร จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดนนทบุรีประกาศ ห้ามมิให้ชุมนุมหรือมั่วสุมกันและประกาศให้วันที่ 18 - 20 พฤษภาคม เป็นวันหยุดราชการพร้อมกับปิดโรงเรียนและมหาวิทยาลัยในจังหวัดที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเวลา 3 วัน และให้ทหารทำหน้าที่รักษาความสงบ แต่ได้นำไปสู่การปะทะกันกับประชาชน มีการใช้กระสุนจริงยิงใส่ผู้ชุมนุมในบริเวณถนนราชดำเนินจากนั้นจึงเข้าสลายการชุมนุมในเช้ามืดวันเดียวกันนั้น ตามหลักฐานที่ปรากฏมีผู้เสียชีวิตหลายสิบคน

เวลา 15.30 นาฬิกา ของวันที่ 18 พฤษภาคม ทหารได้(ควบคุมตัวพลตรีจำลอง ศรีเมือง จากบริเวณที่ชุมนุมกลางถนนราชดำเนินกลาง และรัฐบาลได้ออกแถลงการณ์หลายฉบับและรายงานข่าวทางโทรทัศน์ของรัฐบาลทุกช่องยืนยันว่าไม่มีการเสียชีวิตของประชาชน แต่การชุมนุมต่อต้านของประชาชนยังไม่สิ้นสุด เริ่มมีประชาชนออกมาชุมนุมอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ทั่วกรุงเทพ โดยเฉพาะที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง พร้อมมีการตั้งแนวป้องกันการปราบปรามตามถนนสายต่าง ๆ ขณะที่รัฐบาลได้ออกประกาศจับแกนนำอีก 7 คน คือ นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล, นายแพทย์เหวง โตจิราการ, นายแพทย์สันต์ หัตถีรัตน์, นายสมศักดิ์ โกศัยสุข, นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ, นางสาวจิตราวดี วรฉัตร และนายวีระ มุสิกพงศ์ โดยระบุว่าบุคคลเหล่านี้ยังคงชุมนุมไม่เลิก และยังปรากฏข่าวรายงานการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชนในหลายจุดและเริ่มเกิดการปะทะกันรุนแรงมากขึ้นในคืนวันนั้นในบริเวณถนนราชดำเนิน

19 พฤษภาคม เจ้าหน้าที่เริ่มเข้าควบคุมพื้นที่บริเวณถนนราชดำเนินกลางได้ และควบคุมตัวประชาชนจำนวนมากขึ้นรถบรรทุกทหารไปควบคุมไว้พลเอกสุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรี แถลงการณ์ย้ำว่าสถานการณ์เริ่มกลับสู่ความสงบและไม่ให้ประชาชนเข้าร่วมชุมนุมอีก แต่ยังปรากฏการรวมตัวของประชาชนใหม่ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงในคืนวันเดียวกัน และมีการเริ่มก่อความไม่สงบเพื่อต่อต้านรัฐบาลโดยกลุ่มจักรยานยนต์หลายพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร เช่น การทุบทำลายป้อมจราจรและสัญญาณไฟจราจร

วันเดียวกันนั้นเริ่มมีการออกแถลงการณ์เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่งเพื่อรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของประชาชน ขณะที่สื่อของรัฐบาลยังคงรายงานว่าไม่มีการสูญเสียชีวิตของประชาชน แต่สำนักข่าวต่างประเทศอย่างซีเอ็นเอ็นและบีบีซีได้รายงานภาพของการสลายการชุมนุมและการทำร้ายผู้ชุมนุม หนังสือพิมพ์ในประเทศไทยบางฉบับเริ่มตีพิมพ์ภาพการสลายการชุมนุม ขณะที่รัฐบาลได้ประกาศให้มีการตรวจและควบคุมการเผยแพร่ข่าวสารทางสื่อมวลชนเอกชนในประเทศ

การชุมนุมในครั้งนี้ ด้วยผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางในเขตตัวเมือง เป็นนักธุรกิจหรือบุคคลวัยทำงาน ซึ่งแตกต่างจากเหตุการณ์ 14 ตุลา ในอดีต ซึ่งผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เป็นนิสิต นักศึกษา ประกอบกับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือที่เพิ่งเข้ามาในประเทศไทย และใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสารในครั้งนี้ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬนี้จึงได้ชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ม็อบมือถือ"

เมื่อเวลาประมาณ 21:30 นาฬิกา ของวันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรี และพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรีและรัฐบุรุษ นำพลเอกสุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรี และพลตรีจำลอง ศรีเมือง เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท

โอกาสนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานพระราชดำรัสแก่คณะผู้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทด้วย ซึ่งโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย นำเทปบันทึกภาพเหตุการณ์ดังกล่าว ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ทั้ง 5 ช่อง เมื่อเวลา 24:00 นาฬิกาของคืนเดียวกัน หลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์ พลเอกสุจินดาจึงกราบถวายบังคม ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมอบหมายให้มีชัย ฤชุพันธุ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รักษาราชการแทนเป็นการชั่วคราว

หลังเหตุการณ์พฤษภาคม การเมืองไทยก็เข้าสู่ระบบ บทบาทของกองทัพ ถูกลดบทบาทไป ในระดับหนึ่ง ข้าพเจ้าได้รับความไว้วางใจจาก เพื่อนมิตรสหายและ กรรมการของคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ได้เชิญชวนให้ข้าพเจ้าร่วมเป็นกรรมการตั้งแต่นั้นมา จนกระทั่งปัจจุบัน

ในปี 2536 พวกเราที่เคยอยู่ในเขตงานสุราษฎร์ธานี ได้มีการพบปะพูดคุย ถึงสถานการณ์บ้านเมืองว่าถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องกลับฟื้นเครือข่าย ของสหายในเมืองและสหายในชนบท ร่วมจิตร่วมใจให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสภาพสังคม ที่แต่ละคนค่อนข้างยากลำบาก

ในที่ประชุม มีการนำเสนอว่า เราควรจะต้อง สร้างสัญลักษณ์ หรืออนุสรณ์สถาน เพื่อเป็นจุดรวม และประกาศจุดยืนของพวกเราในฐานะที่เคยเป็นสหายว่าเป็นบุคคล ที่ไม่ใช่อาชญากรรม หรือเป็นผู้ก่อการร้าย แต่เราคือผู้รักชาติ รัฐประชาธิปไตย และถูกกระทำจากอำนาจรัฐที่ไม่เป็นธรรม

ทุกคนต่างเห็นด้วย  และมีข้อสรุปว่า อนุสรณ์สถานนี้ จะประกอบไปด้วยสถูปที่เก็บอัฐิของสหายที่เสียชีวิตในเขตงานในการสู้รบในอดีตรวมถึงบรรดาสหาย  ในปัจจุบัน หากเสียชีวิตก็สามารถนำอัฐิมาบรรจุไว้ได้

จากนั้นเรา แบ่งงานกันส่วนหนึ่งสหายชนบทรับผิดชอบตามหากระดูก ของสหายที่เสียชีวิตส่วนสหายในเมืองรับผิดชอบในเรื่องการออกแบบและระดมทุน

จนในที่สุดในปี 2538 อนุสรณ์สถานบ้านช่องช้างจึงเสร็จสมบูรณ์ถือได้ว่าเป็นอนุสรณ์แห่งแรก ของชาวพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หลังจากนั้นทุกเขตงาน ก็เริ่ม รวมตัว และปัจจุบันเรามีอนุสรณ์สถาน อยู่ตามสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่พรรคคอมมิวนิสต์ได้เคลื่อนไหวไม่ต่ำกว่า 10 แห่ง

ในปี 2538  พวกเรา ในฐานะ มิตรสหาย ที่เคยผ่านเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงทางการเมือง โดยเฉพาะผู้ที่ผ่านเหตุการณ์ 6 ตุลา ได้มีการรวมกันพูดคุย ถึงการฟื้น และ การยืนยันฐานะทางประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์ 6 ตุลา

เพราะที่ผ่านมา ชนชั้นนำบางส่วนพยายามบิดเบือนเหตุการณ์ 6 ตุลาคมว่าบรรดานักเรียนนิสิตนักศึกษาและประชาชน เป็นผู้ก่อการร้ายเป็นชาวคอมมิวนิสต์ ที่สมควรแล้วที่ถูกกระทำ โดยการปราบปรามที่รุนแรง พวกเราจึงอาศัยวาระที่ในปี 2539 จะครบรอบ 20 ปีเหตุการณ์ 6 ตุลาคม เรา จะจัดงานให้ยิ่งใหญ่ให้สมเกียรติกับวีรชนที่เสียสละ โดยมีการชูคำขวัญ ของชาว 6 ตุลาว่า “กล้าต่อสู้กล้าเสียสละเพื่อสังคมที่ดีงาม”

ในที่ประชุม เราได้จัดตั้งเป็น คณะประสานงานเพื่อการจัดงาน 20 ปี 6 ตุลา โดยมีการแบ่งออกเป็นฝ่ายต่างๆเพื่อเตรียมงานโดยข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ประสานงาน และมีมติให้ประชุม เดือนละ 1 ครั้ง โดยใช้ สถานที่ คือห้องประชุมจารุพงศ์ ที่ตึก องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.)

การเตรียมจัดงานโดยใช้เวลาร่วมกว่า 1 ปี งานที่จัดออกมาในวันที่ 6 ตุลาคมปี 2539  ได้รับความสำเร็จอย่างดียิ่ง มีเพื่อนๆมิตรสหายที่ผ่านเหตุการณ์และเพื่อนร่วมรุ่น เพื่อนมิตรในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม รวมถึงพี่น้องประชาชนที่ผ่าน การต่อสู้ในเขตงานทั่วประเทศได้มาร่วมงานกันอย่างยิ่งใหญ่ จนเต็ม สนามฟุตบอลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ในวันนั้น อาจารย์เสกสรร ประเสริฐกุล ในฐานะตัวแทนคนเดือนตุลา ได้ประกาศ เจตนารมณ์ และศักดิ์ศรีของคนเดือนตุลาคม สร้างผลสะเทือนทางการเมืองอย่างกว้างขวาง ภายใต้คำขวัญ “กล้าต่อสู้กล้าเสียสละเพื่อสังคมที่ดีงาม”

หลังการจัดงานได้มีการประชุมคณะทำงานประสานงาน เพื่อการสรุปบทเรียน

ในที่ประชุม มีข้อสรุปร่วมกันว่า ควรยกระดับ จากคณะทำงานประสานงานเพื่อการจัดงาน 6 ตุลา เป็นองค์กรที่ถาวร เพื่อสืบสานเจตนารมณ์ของวีรชนเดือนตุลา และเพื่อเป็นองค์กรเคลื่อนไหวและสนับสนุนกิจกรรม ทางสังคมร่วมกับภาคประชาชนกลุ่มต่างๆ เพื่อนำพาให้สังคม เป็นสังคมที่มีความเป็นธรรม และเป็นประชาธิปไตยที่เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง

ที่ประชุมได้มีการพิจารณาชื่อ และมีความเห็นร่วมกันว่า จะใช้ชื่อเครือข่ายเดือนตุลา โดยมอบหมายให้ข้าพเจ้าเป็นเลขาธิการ โดยมีสำนักงาน อยู่ที่สถาบันปรีดี พนมยงค์

ในปี 2540 นายบรรหาร ศิลปะอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปการเมือง และคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา

โดยมีการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ซึ่งโครงสร้าง ได้มีตัวแทนของพี่น้องประชาชนแต่ละจังหวัดเข้ามามีส่วนร่วม ทำให้เกิดบรรยากาศการตื่นตัว มีการเคลื่อนไหวในการ มีส่วนร่วม จากภาคประชาชนกลุ่มต่างๆอย่างกว้างขวาง เป็นบรรยากาศที่ไม่เคยมีมาก่อน

ถือได้ว่าเป็นครั้งแรกที่ประชาชนมีส่วนร่วมเขียนรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวจึงถูกเรียกว่า “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน”

ในการเขียนรัฐธรรมนูญครั้งนี้ มีอุปสรรคบ้างเนื่องจาก เนื้อหาของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กระทบต่อผลประโยชน์ และอำนาจของบุคคลบางกลุ่ม บางพรรค จึงมีการออกมาคัดค้านรัฐธรรมนูญ เช่น กลุ่มกำนันผู้ใหญ่บ้าน

แต่ขณะเดียวกัน องค์กรการเมืองภาคประชาชน โดยส่วนใหญ่สนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เช่นคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) เครือข่ายผู้หญิงกับรัฐธรรมนูญ สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทยรวมถึงพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลในขณะนั้น

โดยเฉพาะ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ได้มีบทบาทเป็นแก่นแกน ร่วมกับ 30 องค์กรประชาธิปไตย จัดเวทีสัมมนาเพื่อนำเสนอ ข้อกฎหมายในประเด็นต่างๆ ให้บรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญ ทุกสัปดาห์ โดยทุกเวทีข้าพเจ้าจะเป็นคณะทำงาน และเวทีส่วนใหญ่ข้าพเจ้าจะเป็นผู้ดำเนินการสัมมนา

ในการการรณรงค์ของภาคประชาชนจะใช้สัญลักษณ์สีเขียวหรือที่เรียกว่าธงเขียว และธรรมนูญฉบับนี้จึงมีอีกชื่อหนึ่งในหมู่ประชาชนเรียกว่ารัฐธรรมนูญธงเขียว

ในปี 2541 นอกจากข้าพเจ้าจะทำหน้าที่ในฐานะเลขาธิการเครือข่ายเดือนตุลา และกรรมการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) แล้ว

หลังจากที่มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับของประชาชนการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนส่วนต่างๆกลับมาคึกคักอีกครั้งหนึ่ง ในช่วงนี้ เอง ผมในอีกมุมหนึ่ง ดำรงตำแหน่งเลขาธิการเครือข่ายเดือนตุลาด้วย ทำให้ ต้องมีหน้าที่ประสานงาน กับองค์กรประชาชนและสนับสนุนกิจกรรมขององค์กรต่างๆ เวลาจำนวนมากผมจึงทุ่มเทให้กับการทำงานในพื้นที่ที่ลงไปสัมผัสปัญหา กับพี่น้องประชาชนกลุ่มต่างๆไม่ว่าจะเป็นสมัชชาคนจนสมัชชาเกษตรกรรายย่อย สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ ฯลฯ

อีกบทบาทหนึ่งข้าพเจ้า ได้เข้าไปมีส่วนช่วย ประสานงานและผลักดัน การก่อเกิดเชิงนโยบายของพรรคไทยรักไทย ให้เชื่อมประสานกับองค์กรชาวบ้านและภาคเอกชนต่างๆ ในการนำเสนอนโยบาย เพื่อ แก้ปัญหาให้กับประชาชนกลุ่มต่างๆ

เหตุผลที่ข้าพเจ้าเลือกสนับสนุนพรรคไทยรักไทยในช่วงนั้น เนื่องจากมีมิตรสหายรุ่นพี่จำนวนมาก อาทิเช่นคุณภูมิธรรม เวชยชัย นายแพทย์พรหมมินทร์ เลิศสุริยเดช ฯลฯ ได้เข้าไปร่วม และจัดตั้งพรรคการเมือง เพื่อสนับสนุนคุณทักษิณ ชินวัตร ซึ่งสังคมในขณะนั้น มีความเชื่อว่าเป็นคนรุ่นใหม่ ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และที่สำคัญ เคยมีประสบการณ์ ทำงานการเมืองร่วมกับพรรคพลังธรรม ที่คุณจำลองศรีเมืองเป็นหัวหน้าพรรค

ต่อมาในช่วงปี 2544  ข้าพเจ้า ได้เข้าไปร่วมทำงาน ในเครือบริษัท ดีแทค ซึ่งมีคุณบุญชัย เบญจรงคกุล เป็นผู้บริหาร ได้รับการมอบหมายดูแลงานด้านกิจกรรมทางสังคม และมีการก่อตั้งสหกรณ์ร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิดขึ้นมา เพื่อส่งเสริม ให้เกษตรกรมีการรวมตัว และมีการพัฒนาอาชีพ รวมถึงการใช้เทคโนโลยี เข้ามาสนับสนุน งานทางด้านการตลาด ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า ของเกษตรกร

และต่อมาในปี 2545 ตำแหน่งรองเลขาธิการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกรได้ว่างลง ข้าพเจ้า จึงได้ไปสมัคร และได้รับการ คัดสรร ให้ดำรงตำแหน่งเป็นรองเลขาธิการ ได้มีส่วน จัดทำแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และได้มีการจัดตั้งสาขาของสำนักงานในระดับจังหวัดทุกจังหวัด ทำให้โครงสร้างของกองทุนฟื้นฟู และพัฒนาเกษตรกร สามารถเชื่อมประสานงานและทำงานแก้ไขปัญหา ของเกษตรกรได้ทุกภูมิภาคของประเทศ

ต่อมา  ในปี 2547 คุณผดุงศักดิ์ ฟื้นแสน ได้ลาออกจากเลขาธิการ ข้าพเจ้า จึงขึ้นดำรงตำแหน่งรักษาการเลขาธิการ งานที่ข้าพเจ้าผลักดัน คือการปรับโครงสร้างองค์กร โดยมีการ แยกงานการแก้ปัญหาหนี้ ออกจากโครงสร้างของ งานฟื้นฟูเกษตรกร ทำให้การบริหารการจัดการ แก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในทางการเมือง ข้าพเจ้าได้เป็นที่ปรึกษา ของคุณสมศักดิ์ เทพสุทิน ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และคุณภูมิธรรม เวชชชัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม อีกด้านหนึ่ง เหตุผลเพราะผม สามารถประสานการแก้ปัญหา และยกระดับคุณภาพชีวิต กับบรรดาผู้ใช้แรงงาน ทั้งในส่วนภาครัฐและภาคเอกชนได้

ในปี 2558  การทำงานภายใต้การบริหารงาน ของคุณทักษิณ ชินวัตร ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เริ่มมีปัญหา ความไม่โปร่งใส ไม่ชอบธรรม มีข่าวคราวและข้อมูล ที่ถูกเปิดเผย ว่ามีการทุจริตคอรัปชั่น มีการแก้ไข  กฎระเบียบ  เพื่อเอื้อผลประโยชน์ให้กับธุรกิจ  และกลุ่มธุรกิจของตนเอง และที่สำคัญ คือการครอบงำและแทรกแซงองค์กรอิสระของรัฐต่างๆ

ทำให้ข้าพเจ้าไม่สบายใจ กับสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะมันขัดแย้งกับอุดมคติ และจุดยืนของข้าพเจ้า ประกอบกับข้าพเจ้า ในอีกบทบาทหนึ่งคือกรรมการของคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเป็นองค์กรที่ต้องตรวจสอบและเคลื่อนไหวรณรงค์ ให้ความรู้กับประชาชน

จึงตัดสินใจลาออก จากตำแหน่งรองเลขาธิการกองทุนฟื้นฟู และพัฒนาเกษตรกร รวมถึงตำแหน่งที่ปรึกษา ของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ออกมาเพื่อเคลื่อนไหวร่วมกับมิตรสหายในนามคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)

ซึ่งต่อมาเกิด การเคลื่อนไหวชุมนุม โดยมีผู้เข้าร่วมอย่างกว้างขวาง และพัฒนา ก่อเกิดเป็นองค์กรแนวร่วม ที่ประกอบด้วยกลุ่มพลังต่างๆ และมีมติใช้ชื่อว่า พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.)

ข้าพเจ้าก็ได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่ง ในฐานะ คณะทำงาน ด้านมวลชน และโฆษกบนเวทีการชุมนุม
                 
ปี 2549 งานอาชีพ ข้าพเจ้า ได้สมัครเป็นสื่อมวลชน โดยทำงานเป็นนักเขียนประจำหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ผ่านคอลัมน์ ฅ.เลือกข้าง และงานด้านสถานีโทรทัศน์ ข้าพเจ้าเป็นพิธีกรจัดรายการสภาท่าพระอาทิตย์ รายการสภากาแฟสภาประชาชน รายการหอกระจายข่าว และรายการอมรออนทัวร์

หลังรัฐประหาร ข้าพเจ้าก็ได้มีโอกาส ทำงานในบทบาทเลขาธิการอนุกรรมาธิการ เสริมสร้างเครือข่ายองค์กรภาคประชาชน ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ปี 2550 ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคมัชฌิมาธิปไตย และลงเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 ในเขต 12 กรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วย เขตบางกอกน้อย ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา เป็นการลงเลือกตั้งครั้งแรก แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง
หลังจากแพ้การเลือกตั้ง ข้าพเจ้า ก็ใช้ชีวิตในฐานะประชาชน และนักเคลื่อนไหวที่ยังมีความห่วงใยต่อสังคม

ต่อมาหลังการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2550 พรรคพลังประชาชน ซึ่งถูกมองว่าเกี่ยวข้องทางผลประโยชน์ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ชนะการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลผสม

กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จึงจัดการมาชุมนุมอีกครั้งในปี พ.ศ. 2551 เพื่อกดดันให้นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวชและสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ออกจากตำแหน่ง

ข้าพเจ้าได้รับหน้าดูแลงานด้านมวลชน และโฆษกบนเวทีการชุมนุม

ต่อมาเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2551 ขณะชุมนุม ศาลได้มีคำวินิจฉัยคดียุบพรรคพลังประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาลอีก 2 พรรค อันเนื่องมาจากกรณีทุจริตการเลือกตั้งของนายยงยุทธ์ ติยะไพรัช

ในวันรุ่งขึ้นแกนนำพันธมิตรฯ ได้ประกาศยุติการชุมนุมทั้งที่ทำเนียบรัฐบาล ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานดอนเมือง

ผลพวงการเข้าร่วม ข้าพเจ้าโดนกลุ่มบุคคลและหน่วยงานของรัฐ ฟ้องและดำเนินคดีทั้งแพ่งและอาญา 7 คดี ถึงที่สิ้นสุดแล้ว 1 คดี คือคดีแพ่ง ที่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. ในคดีหมายเลขดำที่ 6453/2551 ฟ้อง 13 แกนนำร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย เป็นเงิน 522,160,947.31 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 3 ธ.ค.51 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

หลังจากการชุมนุมปี 2551  ข้าพเจ้า ก็ใช้ชีวิตในฐานะประชาชน และนักเคลื่อนไหวที่ยังมีความห่วงใยต่อสังคม

ในปี 2552 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้เปิดประชุมสรุปบทเรียนและมีความเห็นว่า ควรจะต้องมีพรรคการเมืองขึ้นมาพรรคหนึ่ง เป็นพรรคของประชาชน ที่จะทำงานคู่ขนานกับ การเคลื่อนไหวภาคประชาชนนอกสภา

ที่ประชุมจึงมีความเห็นให้จัดตั้งพรรคการเมือง ขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่าพรรคการเมืองใหม่ โดยมีการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2552

จากนั้น ในวันที่ 6 ตุลาคมปี 2552 พรรคได้มีการจัดการประชุมคณะกรรมการบริหารและสมาชิกพรรคทั่วประเทศทั้งหมด 9000 คนที่เมืองทองธานี

ได้มี ลงคะแนนเลือกตั้ง คณะกรรมการบริหารชุดใหม่ โดยมีนายสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นหัวหน้าพรรค ส่วนตัวข้าพเจ้าได้รับการเลือกเป็นคณะกรรมการบริหาร
                                

ในเดือนสิงหาคม  2553  พรรคการเมืองใหม่มีมติ ส่งสมาชิก ลงสมัคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตกรุงเทพมหานคร พรรคได้มอบหมายให้ข้าพเจ้า ลงสมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ในเขต 1 เขตพระนคร ซึ่งต้องแข่งขันกับผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ 

โค้งแรกของการหาเสียง คะแนนของพรรคและข้าพเจ้าได้รับการตอบรับจากประชาชนในพื้นที่ เป็นอย่างดียิ่ง โดยเฉพาะพี่น้องชาวไทยจีน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จนกระทั่งสื่อหลายสำนักวิเคราะห์ว่าพรรคการเมืองใหม่จะสามารถปักธง  ส.ก. ในเขตพระนครได้ 

แต่ช่วงอาทิตย์สุดท้าย คะแนนของพรรคประชาธิปัตย์ กับนำโด่งขึ้นมา เหตุเป็นเพราะสร้างกระแสว่า ถ้าไม่เลือกประชาธิปัตย์ ไปเลือกพรรคการเมืองใหม่ จะทำให้คะแนนแตก แยกย่อย อันจะเป็นเหตุให้ พรรคเพื่อไทยได้รับชัยชนะ บรรยากาศแห่งความกลัว กับระบอบทักษิณ จึงมีผลทำให้ เกิดการเทคะแนนไปที่พรรคประชาธิปัตย์

หลังการเลือกตั้งครั้งนั้น โดยส่วนตัวและเพื่อนมิตรสหาย ได้สรุปบทเรียนว่า การเมืองที่ ยังอยู่ภายใต้ความขัดแย้งและยังอยู่ในวังวนแห่งความกลัว โอกาสที่พรรคการเมืองหน้าใหม่ จะได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้ง ในเขตกรุงเทพฯนั้น มีความเป็นไปไม่ได้เลย

ข้าพเจ้าและเพื่อนจำนวนหนึ่งจึงตัดสินใจยุติบทบาทการทำงานการเมืองกับพรรคการเมืองใหม่

และให้ความสำคัญ กับการทำงานโดยใช้พื้นที่สื่อ ที่ข้าพเจ้าทำงานอยู่ ให้ข้อมูลข่าวสาร และให้แง่คิดมุมมอง กับประชาชนที่ติดตามรายการ อยู่อย่างต่อเนื่อง

ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ปี 2554 ขณะนั้นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและกลุ่มคนไทยใจรักชาติ ได้จัดการการชุมนุม เพื่อคัดค้านรัฐบาลอภิสิทธิ์ ในกรณีเขาพระวิหาร ซึ่งทางกัมพูชาจะขึ้นทะเบียนมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว

ในการชุมนุมครั้งนี้ ข้าพเจ้า และแกนนำอีก 10 คน โดนฝ่ายรัฐ โดยพนักงานอัยการพิเศษ ยื่นฟ้อง ความผิดฐานร่วมกันฝ่าฝืนประกาศ และข้อกำหนดห้ามบุคคลหรือกลุ่มบุคคล เข้าหรือออก บริเวณพื้นที่ ที่กำหนดตาม พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรพ. ศ. 2551 ซึ่งคดีขณะนี้อยู่ในชั้นศาล

ในเดือนพฤษภาคม  ปี 2554 นายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ประกาศยุบสภา และ กำหนดให้มีการเลือกตั้ง ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554

หลังการนับคะแนนปรากฏว่าพรรคเพื่อไทย ได้คะแนนและจำนวน ส.ส. มาเป็นอันดับ 1 ซึ่งส่งผลให้ ได้รัฐมนตรีหญิงคนแรกคือคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

การเข้ามาบริหารประเทศ ของคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สร้างความไม่พอใจกับประชาชน ที่เคยคัดค้านระบอบทักษิณ บรรยากาศโดยรวมเกิดแรงกดดันมีการเคลื่อนไหวใต้ดิน จนในที่สุด ก็เกิดการรวมตัวของกลุ่มต่างๆที่ใช้ชื่อว่า องค์การพิทักษ์สยามเปิดตัวขึ้นในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ที่ท้องสนามหลวง โดยมี พลเอก บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ (เสธ.อ้าย) ประธานศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหาร เป็นประธาน มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรให้พ้นจากตำแหน่ง โดยมีเหตุผลหลัก คือ รัฐบาลปล่อยปละละเลยให้มีการจาบจ้วงล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมไปถึงการบริหารงานที่ผิดพลาดของรัฐบาล เป็นต้น

องค์การพิทักษ์สยาม ได้ชุมนุมเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ ในวันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เริ่มต้นในเวลา 09.00 น. โดยให้เป็นไปในลักษณะเป็นการชุมนุมใหญ่แบบไม่ยืดเยื้อ วันเดียวจบ โดยตั้งเป้าผู้ชุมนุมไว้ที่ 1 ล้านคน จากนั้นจะนำผู้ชุมนุมไปสู่หน้าทำเนียบรัฐบาล แล้วเรียกร้องให้รัฐบาลลาออก ถ้าหากผู้ชุมนุมได้จำนวนไม่เป็นไปตามเป้า ก็จะยุติการชุมนุม

ในเวลาประมาณ 08.45 น. กลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนก็ได้เดินทางมาถึงถนนราชดำเนิน ช่วงบริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์แล้ว แต่มิอาจไปต่อได้ เนื่องจากติดที่ขวางกั้นซึ่งเป็นแท่งปูนแบร์ริเออร์ และรั้วลวดหนาม โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ก็เกิดการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับผู้ชุมนุม เมื่อผู้ชุมนุมบางส่วนได้พยายามฝ่าที่กั้นเข้าไปด้วยรถบรรทุก 6 ล้อ เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาในการปราบปราม ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ในส่วนของทางกลุ่มผู้ชุมนุมที่ลานพระบรมรูปฯ ก็ได้ทราบถึงเหตุการณ์ที่สะพานมัฆวานฯแล้ว แต่ก็ยังไม่อาจเข้าไปให้การช่วยเหลือได้แต่อย่างใด

จนกระทั่งถึงเวลาประมาณ 14.00 น. ข้าพเจ้าเห็นประชาชนเริ่มระส่ำระสาย จึงขึ้นไปให้กำลังบนรถขยายเสียง หลังจากลงมาไม่ถึง 5นาที เจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้ยิงการใช้แก๊สน้ำตามาทางกลุ่มผู้ชุมนุม ที่นำโดย สมณะจากกลุ่มสันติอโศก เป็นภาพที่สมเพชเวทนาอย่างยิ่ง ในการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

จนกระทั่งเวลาประมาณ 15.00 น. เหตุการณ์ก็ยังไม่มีความเปลี่ยนแปลง ซ้ำยังเลวร้ายขึ้น เมื่อฝนตกลงมาห่าใหญ่ เป็นเวลาใกล้มืดซึ่งจะไม่มีแสงสว่าง บนเวทีมีการประกาศว่ารัฐบาลจะตัดน้ำ ตัดไฟบริเวณที่ชุมนุม ในที่สุด ในเวลา 17.20 น. พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ประธานองค์การพิทักษ์สยาม ได้ขึ้นเวทีประกาศยุติการชุมนุม โดยให้เหตุผลถึงความปลอดภัยของผู้ชุมนุมเป็นหลัก และจะไม่ขอมาเป็นผู้นำการชุมนุมอีก

การชุมนุมครั้งไม่ประสบความสำเร็จในการชุมนุม เกิดจากการนำที่ไม่ชัดเจนประกอบกับไม่มีประสบการณ์ การเคลื่อนไหว รวมทั้ง กลุ่มพันธมิตรฯ ก็มิได้ให้การสนับสนุนอย่างเป็นทางการ ทำให้จำนวนผู้ชุมนุมไม่ถึงเป้าหมายอย่างที่ตั้งไว้

หลังจากนั้น องค์การพิทักษ์สยาม ก็ได้ยุติบทบาทลง แกนนำบางส่วนได้มีการแตกตัวออกมาเป็น กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (ชื่อย่อ: กปท.) มีจุดประสงค์คือ ให้รัฐบาลเพิกถอนร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ และโค่น "ระบอบทักษิณ" โดยมีคณะนายทหารและนายตำรวจ รวมถึงข้าราชการพลเรือนนอกราชการและกลุ่มนักเคลื่อนไหวทางการเมืองร่วมด้วยหลายคน โดยเรียกตัวเองว่า "คณะเสนาธิการร่วมโค่นระบอบทักษิณ"

โดยมีการชุมนุมขึ้นที่หน้าสวนลุมพินี บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 6 ใกล้แยกศาลาแดง ในวันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ร่วมด้วยกองทัพธรรมของคณะสันติอโศก ต่อมาก็ได้ย้ายเข้าไปตั้งเวที ในสวนลุมพินี

ต่อมาในวันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 15.00 น. ก็ได้ยกระดับการชุมนุมเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมบางส่วนและแกนนำปิดล้อมทำเนียบรัฐบาล ทางรัฐบาลได้ประกาศพระราชบัญญัติความมั่นคงฯ ครอบคลุมพื้นที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, เขตพระนคร และเขตดุสิต ตั้งแต่วันที่ 9-18 ตุลาคม

แต่ทางผู้ชุมนุมและแกนนำก็ยังไม่ยุติการชุมนุม จนเมื่อถึงวันที่ 10 ตุลาคม

ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เสริมกำลัง เข้ามาล้อมรอบที่ชุมนุมจนมีปริมาณมากกว่าผู้ชุมนุม โดยปิดมิให้มีการเข้าและปิดไม่ให้แม้แต่การส่งอาหารและน้ำ รวมถึงห้องน้ำเข้าไปได้สู่ที่ชุมนุม และได้เข้าเจรจากับแกนนำขอให้ยุติการชุมนุมไปก่อน

จนกระทั่ง หลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีนที่จะเยือนประเทศไทยระหว่างวันที่ 11-13 ตุลาคม จะเสร็จสิ้นภารกิจ โดยให้สัญญาว่าจะไม่มีการดำเนินคดีกับผู้ชุมนุม และจะยินยอมให้กลับมาชุมนุม ณ หน้าทำเนียบรัฐบาลได้อีกครั้ง ทางแกนนำจึงมีมติที่จะถอนที่ชุมนุมกลับไปยังสวนลุมพินี

แต่ทว่าก็มีผู้ชุมนุมบางส่วนที่ไม่ยินยอมและเดินทางไปชุมนุมต่อ ณ แยกอุรุพงษ์ ซึ่งเป็นพื้นที่เขตราชเทวี นอกพื้นที่การประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคง โดยกลุ่มนี้ได้ใช้ชื่อว่า เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) โดยแกนนำเป็น นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง และนายนิติธร ล้ำเหลือ ทนายความแห่งสภาทนายความ ซึ่งข้าพเจ้าเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย ในฐานะที่ปรึกษา พร้อมได้ปฏิเสธว่าไม่ได้มีพรรคการเมืองใดหนุนหลังรวมทั้งไม่ได้มีความขัดแย้งกับ กปท.ด้วย

ในวันที่ 7 พฤศจิกายน คปท.ก็ได้ย้ายสถานที่ชุมนุมมาปักหลักที่เชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์จนถึงสะพานชมัยมรุเชษฐ์ ใกล้กับทำเนียบรัฐบาลในที่สุด

ในวันเดียวกันนั้นเอง กลุ่มต่อต้านพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม (พ.ร.บ.นิรโทษกรรม) ของพรรคประชาธิปัตย์ ได้เคลื่อนย้ายที่ชุมนุมจากสถานีรถไฟสามเสนมาปักหลักที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน และในวันที่ 29 พฤศจิกายน เมื่อมีการจัดตั้ง กปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) ขึ้นที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ทางแกนนำ คปท.ก็ได้เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย

บทบาทของ คปท. จะเป็นไปในลักษณะของการชุมนุมที่เป็นเชิงรุก โดยหลายต่อหลายครั้งเสี่ยงต่ออันตราย ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต เช่น การปิดล้อมหน้าสนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง เพื่อไม่ให้มีการรับสมัครเลือกตั้งในวันที่ 26 ธันวาคม หรือการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้ามาขอคืนพื้นที่ ๆ เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การชุมนุม ของมวลมหาประชาชน ที่นำโดย กป.ปส. และองค์กรแนวร่วม เป็นการต่อสู้ที่ยาวนาน ถึง 6 เดือน 9 วัน นับว่าเป็นสถิติสูงสุดของการชุมนุม ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

ในขณะเดียวกัน ก็มีผู้สูญเสียชีวิต และบาดเจ็บ  จำนวนมาก ในแง่ของบทเรียน ได้สร้างบาดแผลและความแตกแยก ให้กับสังคมอย่างล้ำลึก แต่ในอีกด้านหนึ่ง ก็ได้เป็นบทเรียน ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสลับซับซ้อนของโครงสร้างอำนาจในสังคมไทย ที่จะต้องแก้ไขกันต่อไป 

การเข้ามารัฐประหารของคณะทหารที่เรียกตัวเอง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ  คสช. ด้วยเหตุผลที่ต้องการเข้ามาแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางความคิดทางการเมือง และแก้ปัญหาทุจริต แก้ปัญหาการล่วงละเมิดอำนาจของสถาบัน ดูเป็นเหตุผลที่สวยหรู และประชาชนแซ่ซ้องสรรเสริญ เพราะอยากเห็นบ้านเมืองสงบและ  อยากเห็นความสามัคคีกลมเกลียวกันของคนในชาติ แต่ถึงวันนี้ คงเป็นเรื่องที่ประชาชนแต่ละคนแต่ละหมู่เหล่า คงจะต้องวิเคราะห์และตัดสินใจด้วยตนเอง ว่าการรัฐประหารครั้งนี้ก็เกิด ผลประโยชน์โดยรวมให้กับประเทศชาติมากน้อยเพียงใด.

การเข้ามารัฐประหารของคณะทหารที่เรียกตัวเอง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ  คสช. ด้วยเหตุผลที่ต้องการเข้ามาแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางความคิดทางการเมือง และแก้ปัญหาทุจริต แก้ปัญหาการล่วงละเมิดอำนาจของสถาบัน ดูเป็นเหตุผลที่สวยหรู และประชาชนแซ่ซ้องสรรเสริญ เพราะอยากเห็นบ้านเมืองสงบและ  อยากเห็นความสามัคคีกลมเกลียวกันของคนในชาติ แต่ถึงวันนี้ คงเป็นเรื่องที่ประชาชนแต่ละคนแต่ละหมู่เหล่า คงจะต้องวิเคราะห์และตัดสินใจด้วยตนเอง ว่าการรัฐประหารครั้งนี้ก็เกิด ผลประโยชน์โดยรวมให้กับประเทศชาติมากน้อยเพียงใด.

หลังจากการชุมนุม ที่ต้องยุติลงด้วยการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ การเมืองก็ กลับเข้าสู่ วงจร ที่คณะทหาร มีอำนาจบริหาร แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ข้าพเจ้าเอง ก็กลับไปทำหน้าที่ที่เป็นสื่อมวลชน อิสระ โดยมีการจัดและทำรายการ ชื่อรายการก้าวไกลไปถึงกับอมรออนทัวร์ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมช่อง 13 สยามไทย โดยมีเป้าหมาย รายการ เพื่อรายงาน ข่าวและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงมีการสัมภาษณ์วิเคราะห์ มุมมองของแหล่งข่าวในเชิงลึก เพื่อให้ ผู้ชมรายการได้เข้าใจถึงสถานการณ์การเมือง ที่ชัดเจน

นอกจากนั้นยังจัดตั้ง ศูนย์สื่ออาสาเสียงประชาชน โดยใช้ชื่อว่าศูนย์ข่าวเสียงประชาชน โดยมีเป้าหมาย ที่จะเปิดพื้นที่ ให้กับภาคประชาชน ในการสื่อสารกับสังคมโดยตรง ที่ไม่จำเป็นต้องผ่านสื่อของภาคเอกชน ซึ่งบางข่าวบางประเด็น จะถูกกองบรรณาธิการ หรือทุนที่เป็นเจ้าของสื่อ ปิดกั้นและไม่นำเสนอ

เพื่อแก้ปัญหา และขจัดอุปสรรค ดั่งกล่าว ทางช่อง 13สยามไทย “รู้ลึก รู้จริง ไม่ทอดทิ้งประชาชน” จะเปิดพื้นที่ใน ในรายการ โดย ใช้ชื่อช่วงว่า “เสียงประชาชน” โดยให้พี่น้องผองเพื่อน รายงาน ข่าว หรือกิจกรรม หรือประชาสัมพันธ์สิ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยรวม พร้อมทั้งยัง ให้เสนอแง่คิด มุมมอง รวมถึงความคิดเห็นอย่างเป็นอิสระ

== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง|2}}

{{พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย}}

[[หมวดหมู่:นักการเมืองไทย]]
[[หมวดหมู่:พรรคมัชฌิมาธิปไตย]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดสระบุรี‎‎]]
[[หมวดหมู่:พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย]]
[[หมวดหมู่:พรรคสังคมประชาธิปไตยไทย]]
[[หมวดหมู่:พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย]]
[[หมวดหมู่:บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลา]]
[[หมวดหมู่:บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 14 ตุลา]]
{{เกิดปี|2502}}{{alive}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:14, 2 มกราคม 2562

เปลี่ยนทางไป: