ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเป็นเจ้า"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 31: บรรทัด 31:


[[หมวดหมู่:พระเป็นเจ้า| ]]
[[หมวดหมู่:พระเป็นเจ้า| ]]
[[หมวดหมู่:อภิธานศัพท์ศาสนา]]
[[หมวดหมู่:คำศัพท์ศาสนา]]
{{โครงความเชื่อ}}
{{โครงความเชื่อ}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:51, 31 ธันวาคม 2561

พระนามพระยาห์เวห์ในภาษาฮีบรู

พระเป็นเจ้า[1] (อังกฤษ: God) หมายถึง เทวดาผู้เป็นใหญ่[2] ถือเป็นเทวดาเพียงพระองค์เดียวตามความเชื่อแบบเอกเทวนิยม หรือเป็นเทวดาผู้เป็นสารัตถะเดียวของเอกภพตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยม[3] พระเป็นเจ้าถือว่าเป็นผู้อยู่เหนือธรรมชาติ พระผู้สร้างและปกครองเอกภพ นักเทววิทยาได้อธิบายคุณลักษณะของพระเป็นเจ้าไว้ต่าง ๆ กันตามแต่มโนทัศน์เกี่ยวกับพระเป็นเจ้าของบุคคลนั้น โดยทั่วไปถือว่าพระเป็นเจ้าทรงเป็นสัพพัญญู ทรงอำนาจไร้ขีดจำกัด ทรงสถิตอยู่ทุกหนแห่ง ทรงพระเมตตา เป็นภาวะเชิงเดียวที่ไม่แบ่งแยก ทรงสถิตอยู่ชั่วนิรันดร์ และเอกภพไม่อาจอยู่ได้โดยปราศจากพระองค์

นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่าพระเป็นเจ้าทรงมีสภาพเป็นบุคคล เป็นวิญญาณ เป็นต้นกำเนิดของพันธะทางศีลธรรมทั้งปวง เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่มนุษย์จะรับรู้ได้[3] นักเทววิทยาในศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามสนับสนุนทรรศนะนี้เช่นนี้ ส่วนนักปรัชญาในสมัยกลางและสมัยใหม่ยังคงให้เหตุผลสนับสนุนและคัดค้านกันอยู่ว่าพระเป็นเจ้ามีจริงหรือไม่[4]

พระเป็นเจ้ามีหลายพระนามแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมที่นับถือว่าจะมองพระองค์เป็นใครและมีแง่มุมต่าง ๆ อย่างไร เช่น คัมภีร์ฮีบรูและคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมระบุว่าพระเป็นเจ้ามีพระนามว่า "พระยาห์เวห์" หรือ "เราเป็น"[5] แต่ในศาสนายูดาห์มักหลีกเลี่ยงการออกพระนามศักดิ์สิทธิ์นี้ แล้วออกพระนามว่า "เอโลฮิม" หรือ "อะโดนาย" ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า "องค์พระผู้เป็นเจ้า" แทน ในศาสนาอิสลามมีพระนามพระเป็นเจ้าถึง 99 พระนาม พระนามที่ใช้มากที่สุดคือ "อัลลอฮ์"

ในศาสนาต่าง ๆ

แต่ละศาสนาฝ่ายเทวนิยมได้ระบุพระนามของพระเป็นเจ้าไว้แตกต่างกัน ดังนี้

ศาสนา พระนาม
ศาสนายูดาห์-ศาสนาคริสต์ พระยาห์เวห์
ศาสนาโซโรอัสเตอร์ พระอหุระมาซดะ
ศาสนาอิสลาม อัลลอฮ์
ศาสนาฮินดู
ลัทธิไศวะ
ลัทธิไวษณพ
พรหมัน
พระศิวะ
พระวิษณุ
ศาสนาบาไฮ บะฮา
ลัทธิอนุตตรธรรม เหลาหมู่

อ้างอิง

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 4, 2548, หน้า 41
  2. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, กรุงเทพพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 811
  3. 3.0 3.1 Swinburne, R.G. "God" in Honderich, Ted. (ed)The Oxford Companion to Philosophy, Oxford University Press, 1995.
  4. Platinga, Alvin. "God, Arguments for the Existence of," Routledge Encyclopedia of Philosophy, Routledge, 2000.
  5. อพยพ 3:14, พระคริสตธรรมคัมภีร์ไทย ฉบับมาตรฐาน