ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนเนื้อหาอาจละเมิดลิขสิทธิ์ หรือไม่เป็นสารานุกรม ไม่ใช่? แจ้งที่นี่
บรรทัด 101: บรรทัด 101:
* สถาบันวิจัยและพัฒนา
* สถาบันวิจัยและพัฒนา
** ศูนย์วิทยาศาสตร์
** ศูนย์วิทยาศาสตร์
*โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี


=== คณะ ===
=== คณะ ===
บรรทัด 110: บรรทัด 109:
*[[คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี|คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์]]
*[[คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี|คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์]]
*[[บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี|บัณฑิตวิทยาลัย]]
*[[บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี|บัณฑิตวิทยาลัย]]
*[[โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี|โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดธานี]]


'''พื้นที่ใหม่ ตำบลสามพร้าว'''
'''พื้นที่ใหม่ ตำบลสามพร้าว'''
บรรทัด 771: บรรทัด 769:
* นาย[[สมคิด บาลไธสง]] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย
* นาย[[สมคิด บาลไธสง]] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย
* นาย[[ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค]] อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์
* นาย[[ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค]] อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์

== โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ==
'''ประวัติ'''

'''คำขวัญ'''

โรงเรียน ปรัชญา เรียนเก่ง วินัยดี และมีความสุข

วิสัยทัศน์ โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จะเป็นโรงเรียนต้นแบบในการปฏิรูปการเรียนรู้ให้นักเรียนเป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข มีมาตรฐานในการบริหารจัดการศึกษา

มีปัจจัยในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นที่ยอมรับของสังคม

เป็นแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ศึกษาค้นคว้า วิจัย และสร้างองค์กรความรู้ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง


พันธกิจ ๑. พัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะเก่ง ดี และมีความสุข ๒. พัฒนาระบบบริหารจัดการและปัจจัยในการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ ๓. สนับสนุนให้มีการศึกษาค้นคว้า วิจัย และสร้างองค์ความรู้ใหม่ ด้านการจัดการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๔. ประสานความร่วมมือระหว่างโรงเรียน กับผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและ ภายนอก เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียน ข้อมูลติดต่อเพิ่มเติม


เกี่ยวกับ ปรัชญา เรียนเก่ง วินัยดี และมีความสุข

ข้อมูลทั่วไป ประวัติความเป็นมา โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖ โดยใช้ชื่อว่า“บ้านเด็กราชภัฏ”เริ่มรับเด็กอายุ ๒-๓ ปี ดำเนินการโดยภาควิชาการอนุบาลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มีผู้ช่วยศาสตราจารย์มานิต ถนอมพวงเสรี คณบดีคณะครุศาสตร์ เป็นผู้บริหารโรงเรียน

– พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนอนุบาลสาธิต รับนักเรียนอายุระหว่าง ๒-๖ ปี จัดชั้นเรียนเป็น ๔ ชั้น คือ บริบาลศึกษา อนุบาล ๑ อนุบาล ๒ และอนุบาล ๓

– พ.ศ. ๒๕๔๔ ย้ายอาคารเรียนจากบ้านเด็กราชภัฏมาอยู่สถานที่ปัจจุบันและเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี โดยมี อาจารย์ปราณีต มาลัยวงษ์เป็นผู้บริหารโรงเรียน

– พ.ศ. ๒๕๔๗ มีอาจารย์จุฑานาถ รอดภิรมย์ เป็นผู้บริหารโรงเรียน

– พ.ศ. ๒๕๔๘ เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนสาธิตอนุบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เข้าอยู่ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์จรูญ ถาวรจักร อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นผู้รับใบอนุญาต และมีอาจารย์จุฑานาถ รอดภิรมย์ ดำรงตำแหน่งผู้จัดการ นางลักษณา สุนทรสัจบูล เป็นผู้อำนวยการ ต่อมา พ.ศ. ๒๕๕๐ เปลี่ยนผู้อำนวยการเป็น นางเขมิกา รอดขันเมือง

– พ.ศ. ๒๕๕๒ เปิดสอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ มี ดร.ณัติเทพ พิทักษานุรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นผู้รับใบอนุญาต ผู้ช่วยศาสตราจารย์จินตนา ด้วงแพง เป็นผู้จัดการ และมีนางภวิศา พงษ์เล็ก ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ

เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ประกาศจัดตั้งเป็นโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี สังกัดจากสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ได้โอนบรรดากิจการต่างๆของโรงเรียนสาธิตอนุบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มาเป็นโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี โดยเป็นหน่วยงานภายในหน่วยงานหนึ่งที่เทียบเท่าคณะ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และมีนางภวิศา พงษ์เล็ก เป็นรักษาการผู้อำนวยการโรงเรียน ระดับชั้นที่เปิดสอนมี ๒ ระดับ คือ ระดับปฐมวัย และระดับประถมศึกษา

เมื่อ ปีพ.ศ. ๒๕๓๖ คณะครุศาสตร์โดยภาควิชาอนุบาลศึกษา ได้เปิดทำการรับดูแลเด็กเด็กอายุ ๒-๓ ปี เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักศึกษา สาขาปฐมวัยโดยใช้ชื่อว่า“บ้านเด็ก ราชภัฏ” มีผู้ช่วยศาสตราจารย์มานิต ถนอมพวงเสรี คณบดีคณะครุศาสตร์ เป็นผู้บริหาร

– พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้เปลี่ยนชื่อบ้านเด็กราชภัฏเป็นโรงเรียนอนุบาลสาธิต รับนักเรียนอายุระหว่าง ๒-๖ ปี จัดชั้นเรียนเป็น ๔ ชั้น คือ บริบาลศึกษา อนุบาล ๑ อนุบาล ๒ และอนุบาล ๓

– พ.ศ. ๒๕๔๔ ย้ายอาคารเรียนจากบ้านเด็กราชภัฏมาอยู่สถานที่ปัจจุบันและเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี โดยมี อาจารย์ปราณีต มาลัยวงษ์ เป็นผู้บริหารโรงเรียน

– พ.ศ. ๒๕๔๗ มีอาจารย์จุฑานาถ รอดภิรมย์ เป็นผู้บริหารโรงเรียน

– พ.ศ. ๒๕๔๘ เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนสาธิตอนุบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เข้าอยู่ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์จรูญ ถาวรจักร อธิการบดี มหาวิทยาลัย ราชภัฏอุดรธานี เป็นผู้รับใบอนุญาต และมีอาจารย์จุฑานาถ รอดภิรมย์ ดำรงตำแหน่งผู้จัดการ นางลักษณา สุนทรสัจบูลย์ เป็นผู้อำนวยการ ต่อมาพ.ศ. ๒๕๕๐ เปลี่ยนผู้อำนวยการเป็นนางเขมิกา รอดขันเมือง

– พ.ศ. ๒๕๕๒ เปิดสอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ มี ดร.ณัติเทพ พิทักษานุรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นผู้รับใบอนุญาต ผู้ช่วยศาสตราจารย์จินตนา ด้วงแพง เป็นผู้จัดการ และมีนางภวิศา พงษ์เล็ก ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ

เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ โรงเรียนสาธิตอนุบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ได้รับอนุญาตให้เลิกกิจการ และได้จัดส่งนักเรียนต่อตามระดับชั้นต่าง ๆ ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

ปัจจุบันเปิดสอนถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2โดยมี รองศาสตราจารย์ ศิริพร พัสดร เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน

จำนวนนักเรียนจำแนกตามช่วงชั้นการศึกษา และระดับการศึกษา
จำนวนนักเรียนจำแนกตามช่วงชั้นการศึกษา และระดับการศึกษา
{| class="toccolours" width="100%"
! style="background: green; color:white;" align="center" data-ve-attributes="{"style":"background: #0066FF"}" |'''ฝ่ายการศึกษา'''
! colspan="2" style="background: green; color:white;" align="center" data-ve-attributes="{"style":"background: #0066FF"}" |'''ฝ่ายบริบาล'''
! colspan="2" style="background: green; color:white;" align="center" data-ve-attributes="{"style":"background: #0066FF"}" |'''ฝ่ายอนุบาล'''
! colspan="2" style="background: green; color:white;" align="center" data-ve-attributes="{"style":"background: #0066FF"}" |'''ฝ่ายประถมศึกษา'''
! colspan="2" style="background: green; color:white;" align="center" data-ve-attributes="{"style":"background: #0066FF"}" |'''ฝ่ายมัธยมศึกษา'''
|-
| style="background: yellow; " data-ve-attributes="{"style":"background: Hotpink; "}" |'''ระดับการศึกษา'''
| style="background:yellow; " data-ve-attributes="{"style":"background: Hotpink; "}" |ชาย
| style="background: yellow; " data-ve-attributes="{"style":"background: Hotpink; "}" |หญิง
| style="background: yellow; " data-ve-attributes="{"style":"background: Hotpink; "}" |ชาย
| style="background: yellow; " data-ve-attributes="{"style":"background: Hotpink; "}" |หญิง
| style="background: yellow; " data-ve-attributes="{"style":"background: Hotpink; "}" |ชาย
| style="background: yellow; " data-ve-attributes="{"style":"background: Hotpink; "}" |หญิง
| style="background: yellow; " data-ve-attributes="{"style":"background: Hotpink; "}" |ชาย
| style="background: yellow; " data-ve-attributes="{"style":"background: Hotpink; "}" |หญิง
|-
| valign="top" |บริบาล
| valign="top" |7
| valign="top" |12
| valign="top" |0
| valign="top" |0
| valign="top" |0
| valign="top" |0
| valign="top" |0
| valign="top" |0
|-
| valign="top" style="background: #FFFACD " |อนุบาล 1
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |18
| valign="top" style="background: #FFFACD " |17
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
|-
| valign="top" style="background: #FFFACD " |อนุบาล 2
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |19
| valign="top" style="background: #FFFACD " |14
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
|-
| valign="top" style="background: #FFFACD " |อนุบาล 3
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |20
| valign="top" style="background: #FFFACD " |16
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
|-
| valign="top" |ประถมศึกษาศึกษาปีที่ 1
| valign="top" |0
| valign="top" |0
| valign="top" |0
| valign="top" |0
| valign="top" |18
| valign="top" |17
| valign="top" |0
| valign="top" |0
|-
| valign="top" |ประถมศึกษาศึกษาปีที่ 2
| valign="top" |0
| valign="top" |0
| valign="top" |0
| valign="top" |0
| valign="top" |24
| valign="top" |11
| valign="top" |0
| valign="top" |0
|-
| valign="top" |ประถมศึกษาศึกษาปีที่ 3
| valign="top" |0
| valign="top" |0
| valign="top" |0
| valign="top" |0
| valign="top" |15
| valign="top" |17
| valign="top" |0
| valign="top" |0
|-
| valign="top" |ประถมศึกษาศึกษาปีที่ 4
| valign="top" |0
| valign="top" |0
| valign="top" |0
| valign="top" |0
| valign="top" |16
| valign="top" |19
| valign="top" |0
| valign="top" |0
|-
| valign="top" |ประถมศึกษาศึกษาปีที่ 5
| valign="top" |0
| valign="top" |0
| valign="top" |0
| valign="top" |0
| valign="top" |18
| valign="top" |17
| valign="top" |0
| valign="top" |0
|-
| valign="top" |ประถมศึกษาศึกษาปีที่ 6
| valign="top" |0
| valign="top" |0
| valign="top" |0
| valign="top" |0
| valign="top" |17
| valign="top" |18
| valign="top" |0
| valign="top" |0
|-
| valign="top" style="background: #FFFACD " |มัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 1
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |34
| valign="top" style="background: #FFFACD " |38
|-
| valign="top" style="background: #FFFACD " |มัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 2
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |68
| valign="top" style="background: #FFFACD " |72
|-
| valign="top" style="background: #FFFACD " |มัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 3
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
|-
| valign="top" style="background: #FFFACD " |มัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 4
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
|-
| valign="top" style="background: #FFFACD " |มัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 5
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
|-
| valign="top" style="background: #FFFACD " |มัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 6
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
| valign="top" style="background: #FFFACD " |0
|-
! valign="top" style="background: #FFFACD " |รวม
! colspan="2" valign="top" style="background: #FFFACD " |19 คน
! colspan="2" valign="top" style="background: #FFFACD " |106 คน
! colspan="2" valign="top" style="background: #FFFACD " |210 คน
! colspan="2" valign="top" style="background: #FFFACD " |210 คน
|}

'''โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ถนนทหาร อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000 โทร 0-4221-1040 ต่อ 1674'''

https://www.facebook.com/satitudru/
http://satit.udru.ac.th


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:07, 23 ธันวาคม 2561

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ชื่อย่อมร.อด. / UDRU
คติพจน์ผู้นำทางปัญญา พัฒนาคน พัฒนาชาติ
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 (100 ปี)
นายกสภาฯนายชันพร รัตนนาคะ[1]
อธิการบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ จรูญ ถาวรจักร
ที่ตั้ง
สี████ สีเขียว สีเหลือง
เว็บไซต์www.udru.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2466 เป็นโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมมณฑลอุดร ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 ยกฐานะเป็น วิทยาลัยครูอุดรธานี จนกระทั่งเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ “สถาบันราชภัฏ” ให้กับวิทยาลัยครูทั่วประเทศ วิทยาลัยครูอุดรธานีจึงได้ยกฐานะเป็น สถาบันราชภัฏอุดรธานีและเปลี่ยนประเภทเป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีในปี พ.ศ. 2547 ปัจจุบันทางมหาวิทยาลัยขยายการศึกษาออกไปเพื่อจัดตั้งเป็น (ม.ใหม่) ที ศูนย์การศึกษาสามพร้าว ตำบลสาพร้าว อำเภอเมืองอุดรธานี ห่างจากพื้นที่เดิมประมาณ 15 กิโลเมตร

ประวัติ

ยุคแรก : ก่อกำเนิดนามโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมประจำมณฑล

แรกเริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 โดยใช้ชื่อว่า “โรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมมณฑลอุดร”[2] มีสถานที่ตั้งเดิมอยู่ที่บริเวณสโมสรเสือป่ามณฑลอุดร (ตรงบริเวณถัดไปจากทุ่งศรีเมืองอุดร)เป็นที่ตั้งชั่วคราว มีราชบุรุษเพิ่ม การสมศีล ทำหน้าที่แทนครูใหญ่ เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรครูมณฑล โดยรับนักเรียนชายที่จบประถมศึกษาปีที่ 4 เข้าศึกษาต่ออีก 2 ปี นักเรียนเหล่านี้เป็นนักเรียนทุนจากจังหวัดต่าง ๆ ในมณฑลอุดร ต่อมาไม่นานจึงมีการก่อสร้างอาคารเรียนถาวรบริเวณห้วยโซ่ (พื้นที่ในปัจจุบัน) บนพื้นที่ประมาณ 350 ไร่

ยุคที่ 2 : ยุบ ย้าย รวมตั้งเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูอุดรธานี

โรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมมณฑลอุดร ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนฝึกหัดครูมณฑลอุดร” แต่ทำการเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรครูมณฑลเช่นเดิม

  • ปี พ.ศ. 2473 ทางการได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูสตรีประกาศนียบัตรมณฑลอุดรขึ้น รับนักเรียนสตรีที่สอบไล่ได้ชั้นประถมศึกษา เข้าเรียนต่อในหลักสูตรประกาศนียบัตรครูมณฑล
  • ปี พ.ศ. 2477 ได้เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรจังหวัด (ว.) โดยรับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือ ประโยคครูประชาบาล (ป.บ.) เข้าศึกษาต่ออีก 2 ปี และเปิดรับนักเรียนชายเข้าเรียน หลักสูตรประกาศนียบัตรจังหวัด
  • ปี พ.ศ. 2475 ภายหลัง การเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน ได้มีการยุบมณฑลอุดรให้เป็นจังหวัดอุดรธานี จึงมีผลทำให้โรงเรียนฝึกหัดครูมณฑลอุดร เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “โรงเรียนฝึกหัดครูจังหวัดอุดรธานี”
  • ปี พ.ศ. 2482 มีประกาศกระทรวงธรรมการยุบโรงเรียนฝึกหัดครูจังหวัดอุดรธานี โอนไปสังกัดโรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตร จังหวัดอุดรธานี กรมสามัญศึกษา กระทรวงธรรมการ เปิดสอนหลักสูตรมัธยมศึกษาพิเศษ 1 โดยรับนักเรียนที่จบชั้นประถมปีที่ 4 เข้าศึกษาต่อเพื่อส่งไปเป็นครูในท้องถิ่นทุรกันดาร เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนครู
  • ปี พ.ศ. 2491 กรมสามัญศึกษาได้ส่งสำเนาประกาศกระทรวงศึกษาธิการ แจ้งเรื่องการเปลี่ยนชื่อ โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัดอุดรธานี เป็น โรงเรียนฝึกหัดครูอุดรธานี
  • ปี พ.ศ. 2501 กรมการฝึกหัดครูได้จัดสรรงบประมาณจำนวนหนึ่ง ย้ายโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูอุดรธานี มารวมกับโรงเรียนฝึกหัดครูอุดรธานีและให้ใช้ชื่อเรียกรวมกันว่า “โรงเรียนฝึกหัดครูอุดรธานี” และแต่งตั้งให้ นายศิริ สุขกิจ ศึกษานิเทศก์เอกมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่

ยุคที่ 3 : วิทยาลัยครูอุดรธานี

ต่อมาเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศยกฐานะโรงเรียนฝึกหัดครูอุดรธานีเป็น “วิทยาลัยครูอุดรธานี”[3] พร้อมกับเปิดสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ. สูง) และหลักสูตรปริญญาตรีของสภาการฝึกหัดครู โดยกำหนดในพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ 2518 ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 เป็นต้นมา

ให้วิทยาลัยครูอุดรธานีเป็นสถาบันอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนนักศึกษาถึงระดับปริญญาตรีในสาขาครุศาสตร์ หลักสูตรของสภาการฝึกหัดครู

— พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518
  • ปี พ.ศ. 2519 จัดตั้งคณะวิชาครุศาสตร์ คณะวิชาวิทยาศาสตร์ และคณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • ปี พ.ศ. 2520 วิทยาลัยครูอุดรธานีได้ร่วมกับวิทยาลัยครูอีก 7 แห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดำเนินงานต่าง ๆ ร่วมกันในนามกลุ่มวิทยาลัยครูภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2528 มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2527 กำหนดให้วิทยาลัยครูรวมกันเป็นกลุ่มและสภาฝึกหัดครูได้ออกข้อบังคับว่าด้วยกลุ่มวิทยาลัยครู พ.ศ. 2528 เป็นผลให้วิทยาลัยครู 4 แห่งในภาคอีสานตอนบนรวมกันเป็น "สหวิทยาลัยอีสานเหนือ" มีสำนักงานตั้งอยู่ที่วิทยาลัยครูอุดรธานีและผลจากการแก้ไขพระราชบัญญัตินี้เอง วิทยาลัยได้เปิดสอนระดับปริญญาตรีในสาขาอื่น ๆ นอกเหนือจากสาขาวิชาการศึกษาและได้จัดตั้งคณะวิทยาการจัดการขึ้นอีกคณะหนึ่งเพิ่ม

ยุคที่ 4 : นามพระราชทาน "สถาบันราชภัฏอุดรธานี"

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535[4] พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ “สถาบันราชภัฏ” ให้กับวิทยาลัยครูทั่วประเทศ จึงมีผลทำให้วิทยาลัยครูอุดรธานี เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น สถาบันราชภัฏอุดรธานีตั้งบัดนัน ครั้นต่อมาเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวราชภัฏเป็นล้นพ้นด้วยทรงพระเมตตา ทรงรพระกรุณาโปรดกล้าฯ พระราชทานพระราชลัญจกรประจำพระองค์ให้เป็น “สัญลักษณ์ประจำสถาบันราชภัฏ” นับเป็นมหาสิริมงคลอันควรที่ชาวราชภัฏทั้งมวลจักได้ภาคภูมิใจ และพร้อมใจกันปฏิบัติหน้าที่สนองพระมหากรุณาธิคุณให้เต็มความสามารถในอันที่จะพัฒนาสถาบันราชภัฏให้เป็น สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างแท้จริง

สถาบันราชภัฏอุดรธานีได้เปิดสอนในสาขาวิชาการศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และสาขาวิชาศิลปศาสตร์ ตามหลักสูตรวิทยาลัยครู (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2536) และปรับปรุง พ.ศ. 2543 ในระดับอนุปริญญา ปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา และมีภารกิจตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538

มาตรา 7 “ให้สถาบันราชภัฏเป็นสถาบัน อุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการวิจัยให้บริการวิชาการแก่สังคม ปรับปรุง ถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี ทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู”

— พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538

ยุคที่ 5 : มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547[5] พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงลงพระปรมาภิไธย พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ส่งผลให้สถาบันราชภัฏอุดรธานี ได้รับการยกฐานะและปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี” ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา บนพื้นที่ทั้งหมด 237 ไร่ 3 งาน 37 ตารางวา ซึ่งเหลือจากการแบ่งส่วนให้หน่วยงานราชการอื่น ๆ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มีภารกิจและปณิธานตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547

มาตรา 7 “ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่เสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน ฟื้นฟูพลังการเรียนรู้ เชิดชูภูมิปัญญาของท้องถิ่น สร้างสรรค์ ศิลปวิทยา เพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนของปวงชน มีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล และยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน วิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุง ถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี ทะนุบำรุง ศิลปะและวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู”

— พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547

ยุคปัจจุบัน : ขยายการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างแท้จริง

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ซึ่งรับผิดชอบการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่และพันธกิจในการพัฒนาบุคลากร ในสาขาอาชีพต่างๆ มหาวิทยาลัยได้คำนึงถึงการกระจายโอกาสทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษา เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน ทางมหาวิทยาลัยจึงได้ขยายการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างแท้จริง กล่าวคือ

เมื่อปี พ.ศ. 2547 [6]ได้มีการจัดตั้ง "ศูนย์การศึกษาบึงกาฬ" ในเขตอำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย (ปัจจุบันเป็นอำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ) โดยวัตถุประสงค์การจัดตั้งนั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้การปฏิบัติภารกิจหน้าที่ดังกล่าวบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

และต่อมาปี พ.ศ. 2549 [7]สภามหาวิทยาลัยฯ ได้อนุมัติโครงการขยายมหาวิทยาลัยฯ บนพื้นที่ใหม่ ณ ตำบลสามพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นศูนย์กลางการบริการความรู้ การฝึกอบรม การศึกษาวิจัย รวมถึงการขยายโอกาสทางการศึกษาในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและประเทศเพื่อนบ้าน โดยใช้ชื่อว่า "โครงการจัดตั้งศูนย์การศึกษาสามพร้าว มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี" ตั้งอยู่บนพี้นที่สาธารณประโยชน์บริเวณโคกขุมปูน หมู่ที่ 1 บ้านสามพร้าว ตำบลสามพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี บนพื้นที่ 2,090 ไร่ ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าว ซึ่งมีโครงการก่อสร้างอาคารและพัฒนาสถานที่ให้กลายเป็นศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการวิจัย และพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัย สร้างองค์ความรู้และวิทยาการสมัยใหม่ที่มีบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้แก่ท้องถิ่นชุมชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับตลาดโลกในอนาคต

นอกจากนี้  ยังมีโครงการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ (Science Parks) เพื่อเป็นแหล่งความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ สาธารณสุข การแพทย์และพยาบาล การเกษตรและเลี้ยงสัตว์ ศูนย์ศึกษาพันธุ์ไม้พื้นเมือง และอาคารโรงพยาบาล เพื่อเป็นศูนย์ศึกษาด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ของนักศึกษา และให้บริการท้องถิ่นชุมชนในอนาคต

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

ตรามหาวิทยาลัย

เป็นรูปวงรีสองวงล้อมตราพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ที่พระราชทานให้แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏ ภายในวงรีด้านบนเป็นอักษรภาษาไทยเขียนว่า "มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี" ด้านล่างเป็นอักษรภาษาอังกฤษเขียนว่า "UDON THANI RAJABHAT UNIVERSITY" ภายใต้วงรีด้านในมีตราพระราชลัญจกร ประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศประกอบด้วยวงจักร กลางวงจักรมีอักขระเป็นอุหรือเลข ๙ รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ เหนือจักรเป็นรูปเศวตาฉัตรเจ็ดชั้นตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ แปลความหมายว่า มีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดิน[8]

  •   สีน้ำเงิน แทนค่า สถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิดและพระราชทานนาม “ราชภัฏ”
  •   สีเขียว แทนค่า แหล่งที่ตั้งของมหาวิทยาลัยราชภัฏซึ่งอยู่ในแหล่งธรรมชาติและมีสภาพแวดล้อมที่สวยงาม
  •   สีทอง แทนค่า ความเจริญรุ่งเรืองทางปัญญา
  •   สีส้ม แทนค่า ความเจริญรุ่งเรืองของศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ก้าวไกลในมหาวิทยาลัยราชภัฏ
  •   สีขาว แทนค่า ความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ปรัชญา

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น พึงดำเนินบทบาทตามภารกิจต่าง ๆ โดยบูรณาการศาสตร์สากลและศาสตร์ท้องถิ่นตามภารกิจทุกด้าน ตลอดจนใช้ทรัพยากรให้กลมกลืน สอดคล้องและเอื้ออำนวยซึ่งกันและกัน ภายใต้ปณิธานที่มุ่งมั่น ในการพัฒนาไปสู่การเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยท้องถิ่นและเพื่อท้องถิ่น

สีประจำมหาวิทยาลัย

ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย

การศึกษา

หน่วยงานภายใน

  • สำนักงานอธิการบดี
    • กองนโยบายและแผน
    • งานประกันคุณภาพการศึกษา
    • ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์
    • กองบริหารงานบุคคล
    • กองพัฒนานักศึกษา
    • กองกลาง
  • สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
  • สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • ศูนย์วิทยบริการ
    • ศูนย์คอมพิวเตอร์
    • ศูนย์ภาษา
  • สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
  • สำนักวิชาศึกษาทั่วไป
  • สถาบันวิจัยและพัฒนา
    • ศูนย์วิทยาศาสตร์

คณะ

ศูนย์การศึกษา

เป็นวิทยาเขตแห่งเดียวของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ซึ่งมีที่ตั้งนอกเขตจังหวัดตั้งอยู่พื้นที่ จังหวัดบึงกาฬ

เป็น โครงการพื้นที่มหาวิทยาลัยแห่งใหม่ หรือ มอใหม่ ตั้งอยู่ ตำบลสามพร้าว อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ห่างจากที่ตั้งมอใน ตำบลหมากแข้ง 19 กิโลเมตร[9]

คณะ/หน่วยงานที่ดำเนินงาน ณ ศูนย์การศึกษาสามพร้าว (พื้นที่ขยาย)

(1) คณะเทคโนโลยี ชั้นปีที่ 1-4

(2) คณะวิทยาศาสตร์ ชั้นปีที่ 1-4

การวิจัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี [10]ได้นำผลงานวิจัยไปจัดแสดงในงาน “มหกรรมวิจัยแห่งชาติ 2559 (Thailand Research Expo 2016)” ซึ่งได้ขึ้น ระหว่างวันที่ 17 – 21 สิงหาคม 2559 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ภายใต้แนวคิด “วิจัยเพื่อพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ โดยการจัดงานครั้งนี้ได้รับพระมหากรุณาจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานเปิดงานในวันที่ 17 สิงหาคม 2559 เวลา 15.00 น. และทรงเสด็จพระราชดำเนินชมนิทรรศการภายในงาน  โดยทรงให้ความสนพระทัยในบูทนิทรรศการแสดงผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี สร้างความปลื้มปิติแก่ชาวราชภัฏอุดรธานีเป็นล้นพ้น

โดยในครั้งนี้ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีได้นำผลงานวิจัยไปจัดแสดงรวม 2 ผลงาน  ได้แก่

  • ผลงานวิจัยเพื่อผลิตน้ำนมคุณภาพอย่างยั่งยืน : การใช้นวัตกรรมอาหารสัตว์ท้องถิ่น และเทคนิคการตรวจและรักษาโรคเต้านมอักเสบในฟาร์มโคนมเพื่อผลิตน้ำนมคุณภาพอย่างยั่งยืน

โดยคณะวิจัย  ผศ.ดร.น.สพ.ฤทธิชัย พิลาไชย , สพ.ญ.ปราณปรียา คำมี , ผศ.สุดาวรรณ ชื่นปรีชา , ดร.น.สพ.ยศวริศ เสมามิ่ง และ น.สพ.ธีระกุล นิลนนท์ : สาขาวิชาเทคนิคการสัตวแพทย์ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

  • ผลงานวิจัย การใช้ใบและหัวมันสำปะหลังหมักเป็นอาหารโคนมเพื่อผลิตคุณภาพน้ำนมดิบคุณภาพ

โดยคณะวิจัย  ผศ.ดร.น.สพ.ฤทธิชัย พิลาไชย , ผศ.ดร.อนันต์ เพชรล้ำ , ผศ.ดร.นิราวรรณ กุนัน , ดร.วลัยลักษณ์ แก้ววงษา , ดร.ภัทยา นาประเสริฐ , อ.วีระชัย ทองดี และ อ.เยาวพล ชุมพล : สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ , สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช , ศูนย์วิจัยและพัฒนาท้องถิ่น บ้านตาด คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

พื้นที่มหาวิทยาลัย

พื้นที่เก่าในเมือง

  • อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา

อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นการอาคารที่มีลักษณะเด่น เมื่อมองเข้ามายังมหาวิทยาลัยฯ จะมองเห็นเด่นชัด มีความสูง 15 ชั้น ปัจจุบันใช้เป็นอาคารสำหรับการบริหารงานของมหาวิทยาลัย และหอประชุมขนาดเล็กและปานกลางจำนวนหลายห้อง โดยเป็นที่ทำการของสำนักงานอธิการบดี

  • หอประวัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

หอประวัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นสถานที่สำคัญของมหาวิทยาลัยฯ เป็นศูนย์การจัดการแสดงเกียรติประวัติของมหาวิทยาลัยฯ และความเป็นมาของมหาวิทยาลัย รวมทั้งความเป็นมาและความเป็นอยู่ อาชีพ รูปภาพเก่า ของจังหวัดอุดรธานีด้วย จะเปิดให้เข้าเยี่ยมชมได้เฉพาะเป็นกรณีพิเศษ เช่น จัดงานวันสถาปนา งานวันวิทยาศาสตร์-ราชภัฏอุดรธานีวิชาการ เป็นต้น

  • หอประชุม อเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

หอประชุม อเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี หรือเหล่านักศึกษานิยมเรียกว่า "อาคารกิจการนักศึกษา" เป็นอาคารขนาดใหญ่ 2 ชั้น โดยมีหอประชุมขนาดใหญ่ในบริเวณชั้น 2 ขนาดบรรจุได้ 5,000 ที่นั่ง ส่วนบริเวณชั้นล่างเป็นที่ทำการของส่วนงานกิจการนักศึกษา อาทิเช่น กองพัฒนานักศึกษา องค์การนักศึกษา เป็นต้น ลักษณะอาคารเป็นแบบบ้านชั้นเดี่ยวแต่มีหน้าจั่ง 2 ทิศทั้งด้านหน้าและด้านข้างด้านขาวหากมองด้านหน้าของตัวอาคาร โดยมีทางเข้า-ออกมหาวิทยาลัยฯ ไปสู่ตัวเมืองอุดรธานี ด้านข้างหอประชุมฯ ด้วย ส่วนหอประชุมชั้น 2 มีทางขึ้น-ลง 4 มุมอาคาร และทางลาดขนาดใหญ่สำหรับยานพาหนะทางด้านข้าง

  • สนามกีฬาใหม่

สนามกีฬาใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นสนามฟุตบอลขนาดมาตรฐานและมีลู่วิ่งรอบสนาม เมื่อปี พ.ศ. 2560 สโมรสฟุตบอลจังหวัดอุดรธานี (อุดรธานี เอฟซี) ใช้เป็นสนามเหย้าของสโมรส[11]

พื้นที่ใหม่สามพร้าว

  • หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (สามพร้าว)

หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (สามพร้าว) เป็นโครงการก่อสร้างหอประชุมนานาชาติและใช้เป็นสถานที่สำหรับจัดงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี-มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ในอนาคต) และเพื่อให้ประชาชนพร้อมด้วยชุมชนใช้ประโยชน์ในการจัดสัมนาฯ หรือประชุม รวมถึงการจัดแสดงสินค้าต่างๆ

การออกแบบได้รับแรงบันดาลใจจากดอกทองกวาว ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดอุดรธานีและประจำมหาวิทยาลัยฯ เนื่องจากตัวอาคารมีความลาดโค้งหลายระดับ และปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จแล้วเมื่อปลายี พ.ศ. 2559 (อยู่ระหว่างตกแต่งพื้นที่บริวณด้านในและด้านนอกของสถานที่)

  • อาคารเรียนรวม

อาคารเรียนรวม เป็นโครงการก่อสร้างอาคารเรียนรวมและตึกบริหารของมหาวิทยาลัย ที่จะย้ายออกไปทำการในพื้นที่ใหม่สามพร้าวในอนาคต เป็นอาคารที่มีเอกลักษณ์ของจังหวัดอุดรธานี โดยมีแรงบบันดาลใจมาจากไหบ้านเชียง แหล่งมรดกโลกของชาวจังหวัดอุดรธานี ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จแล้วเมื่อปลายปี พ.ศ. 2559 (อยู่ระหว่างตกแต่งพื้นที่บริวณด้านในและด้านนอกของสถานที่)

  • อาคารกลุ่มเทคโนโลยี

อาคารกลุ่มเทคโนโลยี หรือเรียกอีกอย่างว่า "อาคาร TB" อาคารกลุ่มเทคโนโลยี TB เหล่านี้เป็นอาคารที่ก่อสร้างขึ้นช่วงแรกๆ ในโครงการขยายพื้นที่มหาวิทยาลัยออกไปสู่ตำบลสามพร้าว โดยสร้างแล้วเสร็จประมาณราวปี พ.ศ. 2551 และรับนักศึกษาเข้าศึกษาในพื้นที่อาคารเมื่อปีการศึกษา 2553 และนิยมเรียกนักศึกษารุ่นนี้ว่า "ดอกเห็ดช่องที่ 1" ต่อมาเหล่านักศึกษารุ่นหลังก็ถูกนับเรียงชื่อดอกเห็ดเป็นรุ่นๆ ตามกันมา ปัจจุบันอาคารกลุ่มเทคโนโลยี TB มีทั้งหมด 6 อาคาร โดยกลุ่มตัวอาคารเป็นสีขาว คือ

(1) อาคาร TB1 เป็นอาคารตึก 2 ชั้นอยู่ทางบริเวณด้านหลังอาคาร TB2 โดยมีทางเชื่อมไปมาถึงกันได้บริเวณทางด้านหลังของอาคาร TB2 ชั้น 2 ปัจจุบันอาคาร TB1 ใช้เป็นอาคารเรียนรวมของนักศึกษาพื้นที่ใหม่ เนื่องจากอาคารเรียนรวม (อยู่ระหว่างก่อสร้างคาดว่าเสร็จและเปิดให้ใช้ในปีการศึกษา 2561)

(2) อาคาร TB2 เป็นอาคารตึก 4 ชั้นอยู่ทางทิศใต้ของถนนภายในมหาวิทยาลัยโดยมุ่งหน้าไปหอพักนักศึกษาชาย-หญิง ปัจจุบัน อาคาร TB2ใช้เป็นอาคารเรียนรวมของนักศึกษาพื้นที่ใหม่ เนื่องจากอาคารเรียนรวม (อยู่ระหว่างก่อสร้างคาดว่าเสร็จและเปิดให้ใช้ในปีการศึกษา 2561)

(3) อาคาร TB3 เป็นาอคารขนาดใหญ่ 4 ชั้นกว้างขวาง อยู่ตรงข้ามอาคาร TB2 ทางทิศเหนือของถนนภายในมหาวิทยาลัยโดยมุ่งหน้าไปหอพักนักศึกษาชาย-หญิง ปัจจุบันชั้นล่าง เป็นศูนย์อาหารและศูนย์บริหารงานของมหาวิทยาลัย อาทิเช่น งานคลัง งานทะเบียน งานบริหารมหาวิทยาลัย(ส่วยย่อย) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในพื้นที่ใหม่สามพร้าว โดยไม่ต้องเดินทางมาติดต่อที่พื้นที่เก่าในเมือง และส่วนด้านในยังเป็น "สำนักงานคณบดี" ของคณะเทคโนโลยีด้วย ส่วนชั้น 2 - 4 เป็นส่วนห้องเรียนขนาดใหญ่ และภายในชั้น 4 ยังแบ่งส่วนเป็นหอประชุมขนาด 300 ที่นั่ง

(4) อาคาร TB4 เป็นอาคารตึก 4 ชั้น อยู่ทิศเหนือด้านหลังอาคาร TB3 โดยมีทางเชื่อมไปมาถึงกันได้บริเวณทางด้านหลังของอาคาร TB3 ทุกชั้น ปัจจุบันใช้เป็นอาคารสำหรับเรียนรวมในวิชาพื้นฐานและวิชาทั่วไปของคณะเทคโนโลยี

(5) อาคาร TB5 เป็นอาคารตึก 2 ชั้น อยู่ทิศเหนือด้านหลังอาคาร TB3 ถัดจากอาคาร TB4ปัจจุบันใช้เป็นอาคารเรียนและสถานที่ฝึกปฏิบัติของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีทุกสาขาวิชา

(6) อาคาร TB6 เป็นอาคารตึก 2 ชั้น อยู่ทิศเหนือด้านหลังสุดของอาคาร TB4 ถัดจากอาคาร TB5 ไป ปัจจุบันใช้เป็นอาคารเรียนและสถานที่ฝึกปฏิบัติของนักศึกษากลุ่มวิชาวิศวกรรมศาสตร์

  • อาคารกลุ่มวิทยาศาสตร์

อาคารกลุ่มวิทยาศาตร์ หรือเรียกอีกอย่างว่า "อาคาร ScB" อาคารกลุ่มวิทยาศาสตร์ ScB เหล่านี้เป็นอาคารที่ก่อสร้างขึ้นช่วงที่สองของโครงการขยายพื้นที่มหาวิทยาลัยออกไปสู่ตำบลสามพร้าว โดยเริ่มโครงการสร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2552 โดยสร้างอาคาร ScB1 ขนาดใหญ่ของกลุ่มขึ้นก่อนแล้วสร้างอาคารอื่นๆ ตามลำดับถัดมา ปัจจุบันอาคารอาคารกลุ่มวิทยาศาสตร์ ScB พวกนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2555 โดยมีอาคารทั้งหมด 4 อาคารโดยกลุ่มตัวอาคารเป็นสีฟ้า-ขาว คือ

(1) อาคาร ScB1 เป็นอาคารขนาดใหญ่ 6 ชั้นกว้างขวางมีพื้นทีมาก ติดถนนภายในทางด้านทิศตะวันออก นับถัดจากอาคาร ScB2 ถัดไป เป็นโครงการย้ายคณะวิทยาศาสตร์จากพื้นที่เก่าในเมืองที่คับแคบออกไปดำเนินการเรียนการสอน โดยในอนาคตจะเป็นที่ตั้งสำนักงานคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และเปิดสอนทางสายวิทยาศาสร์สุขภาพมากขึ้นในลำดับถัดไป โดยปัจจุบันเใช้เป็นอาคารเรียนรวมของนักศึกษาพื้นที่ใหม่ เนื่องจากอาคารเรียนรวม (อยู่ระหว่างก่อสร้างคาดว่าเสร็จและเปิดให้ใช้ในปีการศึกษา 2561)

(2) อาคาร ScB2 เป็นอาคารตึก 6 ชั้นตรงสูง ติดถนนภายในทางด้านทิศตะวันออก จะเจอตัวอาคารนี้ก่อนตัวอาคารอื่นๆ ในกลุ่มทั้งหม โดยภายในมีห้องเรียนและอุปกรณ์ทางการวิจัย ทดลองและแหล่งเรียนรู้สำหรับด้านวิทยาศาสตร์ครบครัน ปัจจุบันใช้เป็นสถานทำการเรียนการสอนของชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์

(3) อาคาร ScB3 เป็นอาคารตึก 5 ชั้น ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังของตัวอาคาร ScB2 ถัดไปโดยมีทางเชื่อมระหว่างกันทุกๆชั้น และภายในมีห้องเรียนและอุปกรณ์ทางการวิจัย ทดลองและแหล่งเรียนรู้สำหรับด้านวิทยาศาสตร์ครบครัน ปัจจุบันใช้เป็นสถานทำการเรียนการสอนของชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์

(4) อาคาร ScB4 เป็นอาคารตึก 5 ชั้น อาคารนี้ตั้งอยู่บริเวณด้านในสุดของกลุ่มอาคาร ซึ่งอยู่ด้านหลังของตัวอาคาร ScB3 ถัดไป ส่วนด้านหลังของอาคารนี้จะมองเห็นกลุ่มอาคารเทคโนโลยี TB ด้วย โดยอยู่ห่างกันไม่มากนัก ส่วนด้านภายในอาคารมีห้องเรียนและอุปกรณ์ทางการวิจัย ทดลองและแหล่งเรียนรู้สำหรับด้านวิทยาศาสตร์ครบครัน ปัจจุบันใช้เป็นสถานทำการเรียนการสอนของชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์

  • อาคารกลุ่มวิศวกรรมศาสตร์
  • อาคารกลุ่มนิติศาสตร์
  • อาคารกลุ่มพยาบาลศาสตร์
  • อาคารกลุ่มปฏิบัติการทางเกษตร

(1) อาคารโรงเรือนฝึกปฏิบัติการธุรกิจการเกษตร

(2) อาคารโรงเรือนฝึกปฏิบัติการวิทยาศาสตร์

(3) ฟาร์มฮัก (เทคโนโลยีการผลิตสัตว์)

(5) ศูนย์การเรียนรู้และฝึกอบรมฯศูนย์วิทยาศาสตร์

(6) อาคารจรรยาบรรณสัตว์ทดลอง

  • ศูนย์วิทยบริการ
  • กลุ่มอาคารที่พักอาศัย

(1) กลุ่มบ้านพักคณาจารย์

(2) หอพักบุคลากร

(3) หอพักนักศึกษา

  • สนามกีฬากลาง

สถนามกีฬากลาง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (สามพร้าว) เป็นสถานที่ออกกำลังกายกลางแจ้งของนักศึกษาในพืนที่ใหม่สามพร้าว และยังเป็นที่จัดกิจกรรม นันทนาการต่างๆมากมาย

วันสำคัญ

วันสถาปนา

ทุกวันที่ 1 พฤศจิกายน [12]ของทุกปี นับว่าเป็น "วันสถาปนามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี" โดยมหาวิทยาลัยจะจัดพิธีทำบุญตักบาตรบริเวณลานหน้าหอประวัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เพื่อความเป็นสิริมงคล และรำลึกถึงการก่อตั้งมหาวิทยาลัย ที่มีวิวัฒนาการมาจากโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมมลฑลอุดร เมื่อปี พ.ศ. 2466  จากนั้นได้รับการยกฐานะเป็นวิทยาลัยครูอุดรธานี  สถาบันราชภัฏอุดรธานี  จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้สถาบันราชภัฏอุดรธานี ได้รับการยกฐานะและปรับเปลี่ยนสถานภาพในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 เป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี” ตั้งแต่นั้นมา

วันราชภัฏ

ทุกวันที่ 14 กุมภาพันธ์ [13]ของทุกปี เป็น “วันราชภัฏ” สืบเนื่องจากวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม สถาบันราชภัฏแก่วิทยาลัยครูอุดรธานี และวิทยาลัยครูทั่วประเทศ และได้มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญตราพระราชลัญจกรส่วนพระองค์ เป็นตราประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีและมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมหาที่สุดมิได้ เป็นสิ่งที่นำความภาคภูมิใจสูงสุดมาสู่ชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ ซึ่งชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีในฐานะสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น สมควรจะเทิดพระมหากรุณาธิคุณนี้ไว้เหนือเกล้าและจงรักภักดีด้วยการตั้งปณิธานที่จะประพฤติ และปฏิบัติหน้าที่เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ในการพัฒนาประเทศและบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่พี่น้อง ประชาชนชาวไทย ดังนั้น วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ถือว่าเป็นวันราชภัฏ ซึ่งชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีจึงถือเป็นการสถาปนามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีด้วยเช่นกัน[14]

คำว่า “ราชภัฏ” ให้ความหมายที่กินใจความว่า “คนของพระราชา…ข้าของแผ่นดิน” หากตีความตามความรู้สึกยิ่งกินใจและตีความได้กว้างขวางยิ่งขึ้นไปอีกนั่นก็คือ “การถวายงานประดุจข้าราชบริพารที่รับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทที่ต้องถวายงานอย่างสุดความสามารถ สุดชีวิต และสุดจิตสุดใจ” ซึ่งการเป็นคนของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทย่อมเป็นข้าของแผ่นดินอีกด้วย เนื่องจากว่าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทผู้เป็นมิ่งขวัญของพวกเราชาวราชภัฏ ทรงเป็นแบบอย่างการทรงงานเพื่อบ้านเมือง และแผ่นดินอย่างที่มิเคยทรงหยุดพักแม้เพียงนิด แม้ยามที่ทรงประชวรก็ไม่เคยหยุดทรงงาน เพื่อความสุขของปวงชนชาวสยามของพระองค์นั้นเองด้วยเหตุผลเหล่าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจึงได้พระราชทานพระราชลัญจกร อันเป็นเครื่องประกอบพระราชอิศริยยศ พระราชอิศริยศักดิ์ ลงมาเป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประหนึ่งเครื่องเตือนความทรงจำว่าพวกเราชาวราชภัฏคือ “คนของพระราชา และข้าของแผ่นดิน”

เนื่องในวันราชภัฎ[15] ในทุกๆ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี และมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ จึงได้จัดกรรมต่างๆ ขึ้นอาทิ การทำบุญตักบาตร การจัดนิทรรศการ การเสวนาทางวิชาการ และการมอบรางวัลต่างๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ดีต่อการสนับสนุนอุดมการณ์ของ “ชาวราชภัฎ” หนึ่งในรอบปีมีวาระสำคัญอย่างยิ่งที่พวกเราเลือดราชภัฎจะถือโอกาสในการทำงานเพื่อสนองแนวทางพระราชดำริสืบต่อพระราชปณิธานและสืบสานพระราชประสงค์ เหมาะสมกับการเป็น “ข้ารองพระยุคลบาทยิ่ง” และอย่างให้ชาวราชภัฏทุกท่านสำนึกอยู่เสมอว่า “มีหน้าที่อุทิศตนทำงานทุกอย่าง เพื่อเป็นบทพิสูจน์ความจงรักภักดิ์ดี และเทิดทูนใต้ฝ่าละอองธุรีพระบาท และล้นเกล้าล้นกระหม่อมทุกๆ พระองค์อย่างหาที่สุดมิได้ สำคัญนักเรียน นักศึกษา ครู คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ พวกเราชาวราชภัฏต้องเทิดทูนไว้เหนือเกล้าเกศี ด้วยการปฏิบัติทึกภาระกิจที่ได้รับมอบหมายประหนึ่งทำถวายใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทในทุกกรณี เพราะพวกเราชาวราชภัฎคือ “คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน”

วันวิทยาศาสตร์ - ราชภัฏอุดรธานีวิชาการ

ทุกปีสัปดาห์วิทยาศาสตร์ไทย ช่วงระหว่าง 15-20 สิงหาคมทุกปี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จะจัดงานวันวิทยาศาสตร์ – ราชภัฏอุดรธานีวิชาการ[16] เป็นประจำเพื่อให้ความรู้และวิทยาการแก่ประชาชนในพื้นที่  อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้เยาวชนหันมาสนใจทางด้านวิชาการ เป็นการเปิดโลกทัศน์สู่คลังความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  นอกจากนี้ ยังเป็นการเป็นการประชาสัมพันธ์ผลงานของมหาวิทยาลัยให้เป็นที่รู้จักและยอมรับของประชาชนในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีและจังหวัดใกล้เคียง

ภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย อาทิ นิทรรศการ ผลงาน สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมของนักศึกษา งานวิจัยต่างๆ การแนะนำสาขาวิชา การบรรยายทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ การประกวดแข่งขันทักษะทางวิชาการ ประกวดสุนทรพจน์เฉลิมพระเกียรติฯ การตอบปัญหาอาเซียน การประกวดสุนัขไทยหลังอานและแมว ประกวดไก่พื้นเมืองเพื่อการอนุรักษ์ การออกร้านจำหน่ายสินค้า อาหาร การประกวดกล้วยไม้ การแสดงดนตรี ศิลปะและวัฒนธรรม นิทรรศการเทิดพระเกียรติ  นิทรรศการผ้าไทย  การเดินแฟชั่นผ้าไทย นิทรรศการจากศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฯ ,นิทรรศการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ , คลินิกเทคโนโลยี , ประกวด Science Show , แข่งขันตอบปัญหา – ทักษะทางวิทยาศาสตร์ , สาธิตการใช้พลังงานทดแทน, จักรยานติดเครื่องยนต์ รถล้อเดียว , การประกวดหุ่นยนต์, บริษัททัวร์จำลอง Happiness Travel , บรรยาย-เสวนา ทางวิชาการ , การสอนผลิตสื่อการเรียนการสอนและโครงงานนักศึกษา , การแต่งกายชุดประจำชาติอาเซียน ประกวดร้องเพลง เทศกาลอาหารนานาชาติ  เป็นต้น

นอกจากนี้  ยังมีกิจกรรมการประกวด แข่งขัน ทักษะทางวิชาการต่างๆ อาทิ การแข่งขันตอบปัญหากฎหมาย  , แข่งขันต่อศัพท์อักษรไขว้ภาษาอังกฤษ , แข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ,ประกวดวาดภาพ ,  เลือกซื้อหนังสือ สินค้าโอท็อป , กิจกรรมบันเทิงและการแสดงศิลปวัฒนธรรม ณ เวทีกลาง  และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย  ซึ่งบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก มีนักเรียน นักศึกษา ประชาชนจังหวัดอุดรธานี และจังหวัดใกล้เคียง ให้ความสนใจเข้าร่วมชมงานอย่างคับคั่ง ตลอดการจัดงาน

 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร

  • ปี พ.ศ. 2548 [17]พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 พระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี[18]-มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ หอประชุมไพรพยอม มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
  • ปี พ.ศ. 2547-2559 [19]พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 พระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี[20]-มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ หอประชุมมหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
  • ปี พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้วยพระองค์เองในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี-มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ หอประชุมมหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
พิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ประจำปี ผู้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ สถานที่ หมายเหตุ
พ.ศ. 2526

(17-20,22-25,27 พฤษภาคม พ.ศ. 2526)

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อาคารใหม่สวนอัมพร พระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาแก่ผู้สำเร็จจากวิทยาลัยครูอุดรธานี-วิทยาลัยครูทั่วประเทศ
พ.ศ. 2527 - พ.ศ. 2537 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาแก่ผู้สำเร็จจากวิทยาลัยครูอุดรธานี-วิทยาลัยครูทั่วประเทศ
พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2546 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร หอประชุมมหาวชิราลงกรณ สถาบันราชภัฎสกลนคร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันราชภัฏอุดรธานี-สถาบันราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พ.ศ. 2548[21] สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร หอประชุมไพรพยอม มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี[22] เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี-มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2559[23] สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร หอประชุมมหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร[24] เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี-มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประจำปี ผู้เสด็จพระราชดำเนินฯ สถานที่ หมายเหตุ
พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร หอประชุมมหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้วยพระองค์เองในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี-มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ครุยวิทยฐานะ

ครุยวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีมีลักษณะคล้าย ๆ ชุดครุยพระยาแรกนา หรือขุนนางสมัยโบราณหรือที่เรียกว่าครุยเทวดา ลักษณะเป็นครุยเนื้อผ้าโปร่งสีขาวมีแทบสีเขียว-เหลือง-ทอง-น้ำเงิน และแทบสีคณะอยู่ตรงกลาง

สีแทบประจำคณะ

ลักษณะครุยวิทยะฐานะ

  • ดุษฎีบัณฑิต [25]

มาตรา 4 (1) เป็นเสื้อคลุมทำด้วยผ้าโปร่งสีขาว ผ่าอกตลอดยาวเหนือข้อเท้าพอประมาณแขนเสื้อกว้างและยาวตกข้อมือ ปลายแขนปล่อย มีสำรดรอบขอบ สำรดต้นแขน และสำรดปลายแขน โดยพื้นสำรดทำด้วยผ้าสักหลาดสีน้ำเงิน กว้าง 10 เซนติเมตร มีแถบสีทอง กว้าง 1 เซนติเมตร ที่ริมทั้งสองข้าง เว้นระยะห่าง 0.5 เซนติเมตร ทั้งสองข้างทาบแถบสีทอง กว้าง 1 เซนติเมตร เว้นระยะห่าง 0.5 เซนติเมตร ทั้งสองข้าง ทาบแถบสีทอง กว้าง 0.5 เซนติเมตร ตอนกลางสำรดเป็นแถบสีเขียว กว้าง 3 เซนติเมตร และมีแถบสีประจำคณะ กว้าง 0.5 เซนติเมตร จำนวน 3 แถบ ระยะห่างระหว่างแถบสีประจำคณะ 0.5 เซนติเมตร อยู่กลางสำรด และมีตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัย ทำด้วยโลหะดุนนูนสีเงิน สูง 4 เซนติเมตร ติดบนสำรดรอบขอบด้านหน้าอกทั้งสองข้าง

— พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี พ.ศ. 2552
  • มหาบัณฑิต

มาตรา 4 (2) เช่นเดียวกับครุยดุษฎีบัณฑิต เว้นแต่ตอนกลางสำรดรอบขอบ สำรดต้นแขน และสำรดปลายแขน มีแถบสีประจำคณะ กว้าง 0.5 เซนติเมตร จำนวน 2 แถบ ระยะห่างระหว่าง แถบสีประจำคณะ 0.5 เซนติเมตร

— พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี พ.ศ. 2552
  • บัณฑิต

มาตรา 4 (3) เช่นเดียวกับครุยมหาบัณฑิต เว้นแต่ตอนกลางสำรดรอบขอบ สำรดต้นแขน และสำรดปลายแขน มีแถบสีประจำคณะ กว้าง 0.5 เซนติเมตร จำนวน 1 แถบ

— พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี พ.ศ. 2552

ทำเนียบผู้บริหาร

ทำเนียบผู้บริหาร ในอดีต - ปัจจุบัน[26]
รายนามผู้บริหาร ตำแหน่ง สถานะสถานศึกษา วาระการดำรงตำแหน่ง
1.ขุนประสม คุรุการ (ชื้น เชษฐสมุน) ครูใหญ่ โรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมมลฑลอุดร 6 ก.ค.2471 - 10 ม.ค.2495
2.อาจารย์ อมร วรรณิสร ครูใหญ่ โรงเรียนฝึกหัดครูอุดรธานี 10 ม.ค.2495 - 1 ต.ค. 2495
3.อาจารย์ จำนงค์ ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม ครูใหญ่ โรงเรียนฝึกหัดครูอุดรธานี 1 ต.ค.2495 - 1 พ.ค.2501
4.อาจารย์ ศิริ สุขกิจ อาจารย์ใหญ่ โรงเรียนฝึกหัดครูอุดรธานี 1 พ.ค.2501 - 1 ก.ค. 2501
5.อาจารย์ บุญจันทร์ วงศ์รักมิตร อาจารย์ใหญ่ โรงเรียนฝึกหัดครูอุดรธานี 1 ก.ค.2502 - 12 ต.ค. 2515
6.อาจารย์ สกล นิลวรรณ ผู้อำนวยการ วิทยาลัยครูอุดรธานี 12 ต.ค.2515 - 6 พ.ย. 2516
7.อาจารย์ สุวิช อำนาจบุดดี ผู้อำนวยการ (รักษาการ) วิทยาลัยครูอุดรธานี 6 พ.ย.2516 - 14 พ.ย. 2517
8.อาจารย์ ทวี ห่อแก้ว อธิการ วิทยาลัยครูอุดรธานี 14 พ.ย.2517 - 23 มี.ค. 2520
9.ดร.วิชัย แข่งขัน อธิการ วิทยาลัยครูอุดรธานี 23 มี.ค.2520 - 1 ต.ค. 2523
10.รองศาสตราจารย์ ดร. จารึก เพชรจรัส อธิการ วิทยาลัยครูอุดรธานี 1 ต.ค.2523 - 17 ก.ค. 2529
11.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุนทร คำโตนด อธิการ วิทยาลัยครูอุดรธานี 17 ก.ค.2529 - 16 ก.ค. 2537
12.ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.พล คำปัวสุ อธิการบดี สถาบันราชภัฏอุดรธานี 27 ก.ย.2537 - พ.ศ. 2542
13.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จรูญ ถาวรจักร์ อธิการบดี สถาบันราชภัฏอุดรธานี พ.ศ. 2542 - 8 ก.ค. 2546 (วาระที่ 1)
14.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพพร โฆสิระโยธิน อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 7 ก.ค.2546 - 12 ธ.ค. 2547
15.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จรูญ ถาวรจักร์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 12 ธ.ค. 2547[27] - 12 ม.ค. 2552 (วาระที่ 2)
16.ดร.ณัติเทพ พิทักษานุรักษ์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 13 ม.ค.2552 [28]- 8 พ.ค.2560[29]
17.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาติชาย ม่วงปฐม อธิการบดี (รักษาการ) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 9 พ.ค.2560 - 18 ธ.ค. 2560[30]
18.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จรูญ ถาวรจักร์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 19 ธ.ค.2560[31] - ปัจจุบัน (วาระที่ 3)

ทำเนียบนายกสภาฯ

ทำเนียบนายกสภาฯ ในอดีต - ปัจจุบัน [32]
รายนามนายกสภา สถานะสถานศึกษา วาระการดำรงตำแหน่ง
1.นายโกวิท วรพิพัฒน์ นายกสภาประจำสถาบันราชภัฏอุดรธานี 5 กันยายน 2542 - 23 กุมภาพันะ 2544
2. นายสงบ ลักษณะ นายกสภาประจำสถาบันราชภัฏอุดรธานี 24 กุมภาพันธ์ 2544 - 9 กันยายน 2546[33]
3. พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก นายกสภาประจำสถาบันราชภัฏอุดรธานี 10 กันยายน 2546 - 16 มกราคม 2548 (วาระที่ 1)[34]
4. พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 17 มกราคม 2548 - 18 สิงหาคม 2551 (วาระที่ 2)[35]
5. ศาสตราจารย์ ดร.พจน์ สะเพียรชัย นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 19 สิงหาคม 2551 - 1 ธันวาคม 2554 (วาระที่ 1)
6. ศาสตราจารย์ ดร.พจน์ สะเพียรชัย นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2 ธันวาคม 2554 - 23 มิถุนายน 2558 (วาระที่ 2)[36]
7. ศาสตราจารย์ ดร.พจน์ สะเพียรชัย นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 24 มิถุนายน 2558 - 27 ตุลาคม 2560 (วาระที่ 3)[37]
8. นายชัยพร รัตนนาคะ นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 10 พฤษภาคม 2561 - ปัจจุบัน

ข้อมูลและสถิติมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ประกอบด้วย บัณฑิตวิทยาลัย และ คณะ 5 คณะ ได้แก่ คณะครุศาสตร์  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยี  และประกอบด้วย 6 สำนัก ได้แก่ สำนักงานอธิการบดี สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน  สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม  สำนักวิชาศึกษาทั่วไป สถาบันวิจัยและพัฒนา โดยมีรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร และ นักศึกษา ดังนี้ [38] (ข้อมูล : ประจำปีการศึกษา 2560)

บุคลากร

จำนวนบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานราชการ จ้างประจำ จ้างชั่วคราว
วิชาการ ปฏิบัติการ วิชาการ ปฏิบัติการ วิชาการ ปฏิบัติการ วิชาการ ปฏิบัติการ วิชาการ ปฏิบัติการ
105 8 533 319 0 36 0 20 3 0
รวม 113 คน รวม 852 คน รวม 36 คน รวม 20 คน รวม 3 คน
รวมทั้งหมด 1024 คน

ระดับการศึกษาบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

ปริญญาเอก ปริญญาโท ปริญญาตรี ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
184 คน 490 คน 197 คน 153 คน

ตำแหน่งทางวิชาการในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

ศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาจารย์ ชำนาญการ ปฏิบัติการ ไม่มีตำแหน่งทางวิชาการ
1 คน 21 คน 154 คน 448 คน 1 คน - 397 คน

 

นักศึกษา

จำนวนนักศึกษาจำแนกตามคณะ และระดับการศึกษา

คณะ คณะครุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ฯ คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยี บัณฑิตวิทยาลัย
ระดับการศึกษา ชาย หญิง ชาย หญิง ชาย หญิง ชาย หญิง ชาย หญิง ชาย หญิง
ระดับปริญญาเอก 4 4 0 0 0 0 0 0 0 0 29 22
ระดับปริญญาโท 18 52 0 9 0 0 25 39 0 0 193 266
ระดับปริญญาตรี 694 1335 1116 1889 2226 3517 1748 5373 1497 863 0 0
ประกาศนียบัตรบัณฑิต 79 150 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0
ประกาศนียบัตร 0 0 0 0 84 26 0 0 0 0 0 0
รวม 2336 คน 3014 คน 5853 คน 7185 คน 2360 คน 510 คน

การรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย

ดูเพิ่มเติม การรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ได้กำหนดวิธีการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และระดับปริญญาเอก ดังนี้

ระดับปริญญาตรี

  • ระบบโควตา[39] จะดำเนินการในช่วงเดือนกันยายน ถึงเดือนธันวาคมของทุกปี โดยแต่ละเขตพื้นที่จะดำเนินการรับสมัครเอง ซึ่งอาจจะมีการกำหนดคุณสมบัติการรับสมัคร วิธีการ และระยะเวลาในการคัดเลือกแตกต่างกัน
  • ระบบรับตรง[40] มหาวิทยาลัยฯ จะดำเนินการรับสมัครบุคคลที่มีความประสงค์จะเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยฯ ในช่วงเดือนธันวาคม - มกราคม และดำเนินการสอบคัดเลือกเองในช่วงเดือนมกราคมของทุกปี โดยผู้สมัครต้องมาสมัครด้ยตนเองที่มหาวิทยาลัยเท่านั้น

ระดับปริญญาโท

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ได้กำหนดการรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาโท[41] โดยรับสมัครสอบคัดเลือกจากผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทในสาขาวิชาต่างๆ ทั้งภาคปกติ และภาคพิเศษ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยฯ จะดำเนินการรับสมัครและคัดเลือกโดยตรง ในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปี

ระดับปริญญาเอก

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ได้กำหนดวิธีการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาเอก[42] โดยคัดเลือกผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกสาขาวิชาต่างๆ โดยการพิจารณาของมหาวิทยาลัยเอง ซึ่งจะรับสมัครสอบคัดเลือกพร้อมกันกับระดับปริญญาโท ในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปี

การเดินทางสู่มหาวิทยาลัย

การเดินทางมายังมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ถือว่าเป็นการเดินทางมาได้หลากหลายทาง[43]

พื้นที่เก่าในเมือง

  • รถส่วนตัว

ขับมุ่งหน้าสู่จังหวัดอุดรธานี เข้าตัวเมืองมา มหาวิทยาลัยฯ จะอยู่ติดห้าแยกวงเวียนอนุสาวรีย์กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม

(1) ถ้าหากมายังถนนหมายเลข 2 มิตรภาพ ฝั่งทิศเหนือ จ.หนองคาย ถึงห้าแยกวงเวียนกรมหลวงฯ ให้ตรงไป มหาวิทยาลัยฯ จะอยู่ขาวมือของท่าน

(2) ถ้าหากมายังถนนหมายเลข 22 นิตโย ฝั่งทิศตะวันออก จ.สกลนคร ถึงห้าแยกวงเวียนกรมหลวงฯ ให้เลี้ยวขาวแล้วตรงไป มหาวิทยาลัยฯ จะอยู่ขาวมือของท่าน

(3) ถ้าหากมายังถนนหมายเลข 2 มิตรภาพ ฝั่งทิศใต้ จ.ขอนแก่น ถึงสี่แยกเลี่ยงเมือง (สีแยกบ้านจั่น) ให้ตรงไป มหาวิทยาลัยฯ จะอยู่ขซ้ายมือของท่านก่อนถึงห้าแยกวงเวียนกรมหลวงฯ

(4) ถ้าหากมายังถนนหมายเลข 210 ฝั่งทิศตะวันตก จ.หนองบัวลำภู ถึงสามแยกเลี่ยงเมืองก่อนถึงสนามบินนานาชาติอุดรธานี เลี้ยวขาวมาทางถนนเลี่ยงเมือง ถนนหมายเลข 216 เพื่อสะดวกต่อการเดินทางรถไม่หนาแน่นเท่าถนนเส้นภายในเมือง เมื่อถึงสี่แยกเลียงเมือง (สีแยกบ้านจั่น) ให้เลี้ยวซ้ายเข้าเมือง แล้วตรงไป มหาวิทยาลัยฯ จะอยู่ขซ้ายมือของท่านก่อนถึงห้าแยกวงเวียนกรมหลวงฯ

  • รถขนส่งสาธารณะ

รถขนส่งสาธารณะ เส้นทางสาย บขส.เก่า จะจอดส่งผู้โดยสารก่อนเข้า บขส.เก่าทุกคัน บริเวรข้างมหาวิทยาลัยฯ ฝั่งวงเวียนกรมหลวงฯ

  • รถไฟ

เดินทางมายถึงสถานีรถไฟอุดรธานี ซึ่งจะอยู่ใจกลางเมืองอุดรธานี ห่างจากมหาวิทยาลัยฯ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปประมาณ 3 กิโลเมตร แล้วต่อรถขนส่งสาธารณะซึ่งวิ่งผ่านหน้ามหาวิทยาลัยฯ อาทิเช่น รถสองแถวสาย 6, 12, 15 ,22, 41, 44 เป็นต้น

  • ทางอากาศยาน

สามารถเดินทางมาลงที่สนามบินนานาชาติอุดรธานี ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของมหาวิทยาลัยฯ พื้นที่เก่าในเมือง ระยะห่างประมาณ 5 กิโลเมตร

พื้นที่ใหม่สามพร้าว

  • รถส่วนตัว

ขับมุ่งหน้าสู่จังหวัดอุดรธานี เข้าตัวเมืองมา มหาวิทยาลัยฯ จะอยู่นอกตัวเมืองประมาณ 10 กิโลเมตร ทางด้านทิศตะวันออก บนทางหลวงชนบท หมายเลข 2410 (ถนนสามพร้าว-ดอนกลอย)

(1) ถ้าหากมายังถนนหมายเลข 2 มิตรภาพ ฝั่งทิศเหนือ จ.หนองคาย ถึงสี่แยกเลี่ยงเมือง (สี่แยกรังสิณา) ให้เลี้ยวซ้ายตามถนนหมายเลข 216 ข้ามทางรถไฟมาจะถึงสี่แยกไฟแดงสามพร้าวให้เลี้ยวซ้ายไปตามถนนหมายเลข 2410 ให้ตรงไปผ่านสี่แยกอนามัยสามพร้าวไปประมาณ 6 กิโลเมตร มหาวิทยาลัยฯ จะอยู่ขาวมือของท่าน

(2) ถ้าหากมายังถนนหมายเลข 22 นิตโย ฝั่งทิศตะวันออก จ.สกลนคร จะใช้เส้นทางมุงหน้าเข้าตัวเมืองแล้วเลือกใช้ตามที่กล่าวใน (3) ก็ได้ หรือใช้เส้นทางดังนี้ วิ่งมาถึงสี่แยกหนองหาน ให้เลี้ยงขาวเข้าตัวอำเภอหนองหาน ผ่านออกไปยังทางหลวงชนบท หมายเลข 2312 (ถนนหนองหาน-อำเภอเพ็ญ) โดยมุงหน้าไปยังอำเภอพิบูลย์รักษ์แต่ก่อนถึงตัวอำเภอพิบูลย์รักษ์ โดยเมื่อถึงสามแยกดอยกลอย (หมู่บ้านดอยกลอย) ให้เลี้ยวซ้ายไปยังทางหลวงชนบท หมายเลข 2410 (ถนนสามพร้าว-ดอนกลอย) มหาวิทยาลัยฯ จะอยู่ซ้ายมือของท่าน

(3) ถ้าหากมายังถนนหมายเลข 2 มิตรภาพ ฝั่งทิศใต้ จ.ขอนแก่น ถึงสี่แยกเลี่ยงเมือง (สีแยกบ้านจั่น) ให้เลี้ยวขวาไปตามถนนหมายเลข 216 ข้ามทางรถไฟไป นับผ่านไปจนถึงไฟแดงที่ 3 จะถึงสี่แยกไฟแดงสามพร้าวให้เลี้ยวขวาไปตามถนนหมายเลข 2410 ให้ตรงไปผ่านสี่แยกอนามัยสามพร้าวไปประมาณ 6 กิโลเมตร มหาวิทยาลัยฯ จะอยู่ขาวมือของท่าน

(4) ถ้าหากมายังถนนหมายเลข 210 ฝั่งทิศตะวันตก จ.หนองบัวลำภู ถึงสามแยกเลี่ยงเมืองก่อนถึงสนามบินนานาชาติอุดรธานี หากเลี้ยวซ้ายจะไปตามเส้นทางที่ (3) หากเลี้ยวซ้ายตรงไปจะเป็นไปตามเส้นทางที่กล่าวใน (1)

  • รถขนส่งสาธารณะ

รถขนส่งสาธารณะ ให้ลงถึง บขส.เก่า แล้วเดินออกมาด้านหน้า บขส. จะมีรถขนส่งสาธารณะสีแดง สาย 9 ถึงมหาวิทยาลัยฯ (สามพร้าว)

  • รถไฟ

เดินทางมายถึงสถานีรถไฟอุดรธานี ซึ่งจะอยู่ใจกลางเมืองอุดรธานี ต่อรถขนส่งสาธารณะมายังศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่าอุดรธานี ถนนด้านหน้าศูนย์การค้าฯ จะมีรถขนส่งสาธารณะสีแดง สาย 9 ถึงมหาวิทยาลัยฯ (สามพร้าว)

  • ทางอากาศยาน

สามารถเดินทางมาลงที่สนามบินนานาชาติอุดรธานี ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของมหาวิทยาลัยฯ พื้นที่ใหม่สามพร้าว ระยะห่างประมาณ 20 กิโลเมตร

ชีวิตในมหาวิทยาลัย

การเรียนในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีนั้นจะใช้เวลาในการเรียนต่างกันตามแต่ละหลักสูตรในแต่ละคณะ โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้เวลาในการเรียน 4 ปี แต่สำหรับคณะครุศาสตร์ จะใช้เวลาเรียนทั้งหมด 5 ปี และการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยฯ ยังแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ จะต้องใช้ชีวิตที่แตกต่างกันมาก เพราะแต่ละพื้นที่สังคมโดยรอบต่างกันสิ้นเชิง

  • พื้นที่เก่าในเมือง

นักศึกษาที่ทำการเรียนและใช้ชีวิตในพื้นที่เก่าในเมือง จะใช้ชีวิตแบบสังคมเมือง เพราะพื้นที่นี้ตั้งอยู่ในกลางเมืองอุดรธานี

  • พื้นที่ใหม่สามพร้าว

นักศึกษาที่ทำการเรียนและใช้ชีวิตในพื้นที่ใหม่สามพร้าว จะเป็นนักศึกษาที่ใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายสังคมชนบท เพราะพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ก่อสร้างใหม่ ในพื้นที่ป่าสาธารณะประโยชน์ ร่วมทั้งได้รับความร่มเย็นของพืชพรรณนาๆ ชนิดอีกด้วย บรรยากาศชวนให้รู้สึกสดชื่นแจ่มใสดีโดยพื้นที่นี้เป็นที่พื้นที่ขนาดกว้างใหญ่ พร้อมยังเป็นพื้นที่ที่ได้ให้บรรยากาศเอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอนของนักศึกษาและคณาจารย์อีกด้วย

กิจกรรมและประเพณีของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยฯ มีกิจกรรมต่างๆ ให้นักศึกษาได้เข้าร่วมเพื่อที่จะได้พบปะและทำความรู้จักกันในระดับคณะและทั้งระดับมหาวิทยาลัยด้วย ซึ่งมีการจัดหมุนเวียนกันตลอดทั้งปี

  • ปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี [44]ได้จัดกิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ เป็นประจำทุกปีในช่วงก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ของทุกปีการศึกษาซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างช่วงเดือนกรกฎาคม โดยมีท่านอธิการบดี จะมากล่าวต้อนรับและให้โอวาทแก่นักศึกษาใหม่ ทั้งภาคปกติและภาคพิเศษด้วย โดยจะมีนักศึกษาใหม่เข้าปฐมนิเทศอย่างพร้อมเพรียงเพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคย และชี้แจงให้นักศึกษาใหม่ได้ทราบถึงแนวทางการปฏิบัติตนในระหว่างการศึกษา ตลอดจนข้อบังคับต่างๆ ของมหาวิทยาลัย

  • ประกวดเฟรชชี่คณะ

กิจกรรมการประกวดเฟรชชี่คณะ Faculty of Freshy นั้น เป็นการจัดประกวดเพื่อค้นหาตัวแทนของแต่ละคณะ เพื่อเป็นตัวแทนเข้าร่วมการประกวดดาว-เดือน มหาวิทยาลัย UDRU Freshy ซึ่งมีการจัดขึ้นในทุกๆ ปี ก่อนการมีการจัดประกวดดาว-เดือน มหาวิทยาลัย UDRU Freshy ขึ้น 2-3 สัปดาห์ ซึ่งเป็นงานระดับคณะ แต่ละคณะจะกำหนดการและสถานที่เองทั้งหมด โดยอยู่ในความดูแลของมหาวิทยาลัยฯ

  • ประกวดดาว-เดือน มหาวิทยาลัย

กิจกรรมการประกวดขวัญใจน้องใหม่[45]  UDRU  เป็นกิจกรรมหนึ่งในโครงการรับน้องสร้างสรรค์  เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม  กล้าแสดงออกอย่างสร้างสรรค์  เกิดความรักสามัคคีระหว่างเพื่อน และรุ่นน้อง รุ่นพี่  นอกจากนี้ ยังเป็นการเสริมสร้างให้เกิดความรักและภูมิใจต่อสถาบันการศึกษาอีกทางหนึ่งด้วย

เมื่อกิจกรรมรับน้องมาถึงวาระสุดท้ายแล้ว ทางมหาวิทยาลัยฯ จะมีการจัดประกวดขวัญใจน้องใหม่ UDRU Freshy ทุกๆ ปี โดยจัดแบ่งเป็น 2 รอบ รอบความสามารถพิเศษและรอบตัดสิน โดยในแต่ละรอบจัดแบ่งการจัดงานออกเป็น 2 ครั้งในพื้นที่เก่า-ใหม่ หมุนวงเวียนกันไปทุกๆ ปีไม่ซ้ำกัน โดยจะมีผู้ผ่านการประกวดขวัญใจน้องใหม่ ทั้งชายและหญิง ซึ่งมาจากตัวแทนคณะของแต่ละคณะ รวม 15 คู่ 30 คน เข้าประกวด แสดงความสามารถพิเศษเน้นวัฒนธรรมท้องถิ่น และการแสดงศิลปวัฒนธรรมต่อหน้าคณะกรรมการ และมีการตัดสินอีกครั้งในการจัดรอบตัดสิน รวมทั้งจัดมินิคอนเสริ์ตจากศิลปินต่าง ๆ มากมายแต่ละปีก็หมุนเวียนกันไปมา อาทิเช่น วง Tattoo Color วงของนักศึกษามหาวิทยาลัยฯ เป็นต้น ซึ่งบรรยากาศการประกวดเป็นไปอย่างคึกคัก มีนักศึกษารุ่นพี่รุ่นน้อง ร่วมเชียร์และให้กำลังใจผู้เข้าประกวดเป็นจำนวนมาก

  • พีธีไหว้ครู

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี [46]จัดพิธีไหว้ครูเป็นประจำทุกปี เพื่อรำลึกถึงพระคุณครูอาจารย์ที่อบรมสั่งสอนลูกศิษย์ และเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่นักศึกษาใหม่  ตลอดจนทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ  ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับพระราชทานนาม “ราชภัฏ” ซึ่งแปลว่า “คนของพระราชา” และได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานพระราชลัญจกรให้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

โดยพิธีไหว้ครูจะเริ่มจาก ประธานในพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย นายกองค์การนักศึกษา นำกล่าวไหว้ครูและกล่าวคำปฏิญาณตน หลังจากนั้นตัวแทนนักศึกษา นำพานดอกไม้ธูปเทียนเข้าบูชาครูอาจารย์  หลังจากนั้น อธิการบดีเจิมหนังสือ เพื่อความเป็นสิริมงคล ตัวแทนนักศึกษานำขับบทกลอนบูชาครู และร่วมกันร้องเพลงพระคุณที่สาม แลยังได้มอบรางวัลประกาศเกียรติคุณแก่คณาจารย์ ที่สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย ที่ได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานวิจัยทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ  รวมทั้งนักศึกษาที่ได้รับรางวัลและสร้างชื่อเสียงให้แก่มหาวิทยาลัย จากนั้นเป็นพิธีมอบทุนการศึกษา ให้แก่นักศึกษาที่เรียนดี ความประพฤติเรียบร้อย แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เป็นประจำทุกปี

มีความภูมิใจในความเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย  และขอให้นักศึกษามีความฉลาด อดทน ตั้งใจพากเพียรเรียนหนังสือ และอ่อนน้อมถ่อมตน เสมือนดอกเข็ม หญ้าแพรก ข้าวตอก และดอกมะเขือ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการไหว้ครู  ขอให้นักศึกษาทุกคน ประสบความสำเร็จในชีวิต  และนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาท้องถิ่นต่อไป

— ดร. ณัติเทพ พิทักษานุรัตน์ อธิการบดี : ปีการศึกษา 2559
  • กิจกรรมรับขวัญน้องใหม่ ลอดซุ้มอัญเชิญตราพระราชลัญจร และประดับตรามหาวิทยาลัย

โดยกิจกรรมรับขวัญน้องใหม่ ลอดซุ้มอัญเชิญตราพระราชลัญจร และประดับตรามหาวิทยาลัยประกอบด้วย ประธานในพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย อัญเชิญตรามงคลมอบให้นายกองค์การนักศึกษา เพื่ออัญเชิญเข้าสู่ขบวน ขบวนอัญเชิญตราพระราชลัญจรเคลื่อนเข้าสู่สนามกีฬาเพื่อประดิษฐานหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ วงประสานเสียงเพลงมาร์ชมหาวิทยาลัย และเพลงราชภัฏสดุดี ตัวแทนถือธงคณะ ไปวางบนปะรำพิธี นักศึกษาใหม่ถวายบังคมพระบรมฉายาลักษณ์ และพระราชลัญจกร ประธานในพิธีกล่าวถวายราชสดุดีและมอบเข็มให้นักศึกษาใหม่ จากนั้นเป็นการแสดงฟ้อนเทิดพระเกียรติ และจุดเทียนชัยถวายพระพร และปิดท้ายด้วยการบูม UDRU ของนักศึกษาใหม่[47]

สำหรับกิจกรรมรับขวัญน้องใหม่ เป็นการเสริมสร้างความรัก ความภาคภูมิใจในสถาบันการศึกษา ส่งเสริมความรักสามัคคีระหว่างนักศึกษารุ่นพี่กับรุ่นน้อง และเป็นกิจกรรมหนึ่งในโครงการ กิจกรรมรับน้องเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งมีการจัดกิจกรรมหลากหลายรูปแบบในเชิงสร้างสรรค์ เพื่อให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรม สานสัมพันธ์ รุ่นพี่-รุ่นน้อง แบบไร้แอลกอฮอล์  สร้างภูมิคุ้มกัน ถ่ายทอดกระบวนการเป็นนักศึกษาที่ดี มีความรู้คู่คุณธรรม รู้จักปรับตัวจากนักเรียนสู่การเป็นนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาอย่างสมบูรณ์แบบ  และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างเป็นสุข  ซึ่งบรรยากาศเป็นไปด้วยความอบอุ่น และความสามัคคี ถึงแม้ว่าระหว่างที่ทำพิธีจะมีพายุฝนกระหน่ำลงมาอย่างหนัก  แต่ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการจัดกิจกรรมแต่อย่างใด

ปรากฏการณ์โลกโซเซียว เมื่อปีการศึกษา 2559 [48]กิจกรรมรับขวัญน้องใหม่ ลอดซุ้มอัญเชิญตราพระราชลัญจร และประดับตรามหาวิทยาลัย ได้เป็นที่ฮือฮ่าในโลกโซเซียวเป็นอย่างมาโดยสำนักข่าวแห่งหนึ่ง ได้ตีพิมพ์ข่าวการจัดกิจกรรมดังกล่าว โดยทางมหาวิทยาลัยได้ออกมาชี้แจ้งแล้วว่ากิจกรรมดังกล่าวเป็นไปตามความสมัครใจของนักศึกษาทุกคน โดยไม่ได้มีการบังคับให้ทำกิจกรรมดังกล่าว จึงทำให้โลกได้รู้ถึงความเป็น ราชภัฏ "คนของพระราชา" มากขึ้น

  • พิธีทอดกฐินสามัคคี

เนื่อด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี [49]อยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงได้สืบสานประเพณีและวัฒนธรรมให้แก่นักศึกษาทราบและร่วมงานด้วย จึงได้จัดงานทอดกฐินเป็นประจำทุกปีขึ้นในทุกๆ ปี เพื่อสืบสานประเพณีบุญเดือนสิบสองหรือบุญกฐิน ตามประเพณีฮีต 12 ของชาวอีสาน และเป็นกิจกรรมส่งเสริมให้นักศึกษาได้ร่วมอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม ซึ่งมหาวิทยาลัยได้ตั้งองค์กฐินให้ผู้มีจิตศรัทธา ร่วมบริจาคทำบุญ และได้รวบรวมปัจจัยจากคณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และผู้มีจิตศรัทธาโดยได้บริจาคเงินเพื่อส่งเสริมด้านการศึกษาให้แก่โรงเรียนในเขตจังหวัดอุดรธานีแลใกล้เคียงและเพื่อใช้ในงานสาธารณกุศล อาทิ ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา วัดวาอาราม สวนสาธารณะประโยชน์ เป็นต้น

โดยในงานแบ่งออกเป็น 2 วัน

วันที่ 1 จะมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ร่วมพิธีสวดสมโภชองค์กฐิน และถวายเครื่องไทยธรรมแด่พระภิกษุสงฆ์ 9 รูป จากนั้นได้ร่วมรับประทานอาหารเย็น โดยมีการออกโรงทานของคณะอาจารย์ นักศึกษา หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยฯ

วันที่ 2 คณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ร่วมพิธีทอดกฐินสามัคคี ณ สถานที่กำหนดตามกำหนดการของทุกๆ ปี

  • งานฉลองเมืองอุดรธานี

ประชาชนชาวอุดรธานีทุกหมู่เหล่า ร่วมงานวันที่ระลึกการก่อตั้งเมืองอุดรธานีเป็นประจำทุกๆ ปี

วันที่ 18 มกราคม ของทุกปี จังหวัดอุดรธานีมีการจัดงานวันที่ระลึกการตั้งเมืองเมืองอุดรธานีที่บริเวณวงเวียนพระอนุสาวรีย์ พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม (ข้างหน้ามหาวิทยาลัยฯ พื้นที่เก่าในเมือง) โดยมีองคมนตรี มาเป็นประธาน พร้อมด้วยราชนิกูล “ทองใหญ่” และผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี  นำข้าราชการทุกภาคส่วน องค์กรภาคเอกชน คหบดี และชาวอุดรธานี เข้าร่วมในพิธีเป็นจำนวนมาก

ทั้งนี้ ในพิธีวันที่ระลึกการก่อตั้งเมืองอุดรธานี ในช่วงเช้าได้จัดให้มีพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์จำนวนรุ่นของการครบปีก่อตั้ง บริเวณรอบพระอนุสาวรีย์ฯ การถวายพานพุ่มดอกไม้สด พิธีบายศรีสู่ขวัญบ้าน สู่ขวัญเมือง และรำบวงสรวง จากนั้นประธานในพิธี ได้อ่านประกาศสดุดีเฉลิมพระเกียรติ พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม

  • กิจกรรมการเลือกตั้งนายกองค์การนักศึกษา

การเลือกตั้งนายกองค์การนักศึกษา [50]มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการเลือกผู้บริหารนายกองค์การนักศึกษาของมหาวิทยาลัย  นอกจากนี้ ยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดกระบวนการระบอบประชาธิปไตยในสถาบันการศึกษา เพื่อวางรากฐานไปสู่การมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นและประเทศ ซึ่งเป็นหน้าที่ของประชาชนต่อไป ซึ่งได้จะมีการกำหนดวันเลือกตั้งนายกองค์การนักศึกษาขึ้นมาก่อนสิ้นปีการศึกษา โดยให้มีนักศึกษาออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งผู้นำของตนในปีการศึกษาถัดไปเพื่อเป็นการวางแผนล่วงหน้า โดยจะมีการจัดตั้งแต่ช่วงเช้า 08.30 – 15.00 น. และไม่ให้กระทบต่อการเรียนการสอนด้วย

  • ปัจฉิมนิเทศนักศึกษา

คณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย ร่วมกับ กองพัฒนานักศึกษา [51]จะมีการจัดกิจกรรมปัจฉิมนิเทศให้แก่ผู้กำลังจะสำเร็จการศึกษาในทุกๆ ปี เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาที่กำลังจะก้าวออกจากรั้วมหาวิทยาลัย ออกไปทำงานรับใช้สังคม โดยมีกิจกรรมการบรรยายให้ความรู้ เรื่องการปรับตัวจากวัยเรียนสู่วัยทำงาน รวมทั้งแนะแนวทางการสมัครงานอย่างไรให้ได้งาน  และหลักในการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน และการเตรียมพร้อมสู่ตลาดแรงงานหลังเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

งานกีฬามหาวิทยาลัย

  • งานกีฬาวังแดงเกมส์

"วังแดง" เป็นอาคารหลังแรกของ “โรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมมณฑลอุดร” ตั้งแต่แรกอาคารหลังนี้ได้ถูกใช้เป็นอาคารอำนวยการหลักของโรงเรียน ภายในประกอบไปด้วยห้องหับต่าง ๆ ซึ่งเคยถูกใช้ประโยชน์มาหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นห้องเรียน ห้องทำงาน กระทั่งบางครั้งก็เป็นที่พักสำหรับครู ด้วยความที่มีห้องเหลือเฟือ ประกอบกับสมัยนั้นบริเวณนี้ยังเป็นพื้นที่เปลี่ยว ไม่เจริญดังเช่นทุกวันนี้ การได้พักอยู่ในที่เดียวกับที่ทำงานคงเป็นการดีและปลอดภัย ส่วนที่มาของชื่อ “วังแดง” นี้ไม่ทราบแน่ชัด สันนิษฐานว่าคงเรียกตามความใหญ่โตของอาคาร และความสลับซับซ้อนของห้องหับ อีกทั้งเรียกตามสีเนื้อไม้ที่ใช้ทำผนังอาคารก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม ชื่อวังแดงนี้มิได้เป็นชื่ออย่างเป็นทางการ บางครั้ง ก็มีการเรียกว่า “อาคารกลาง” หรือ “อาคารขุนประสม” ด้วยเช่นกัน[52]

งานกีฬาวังแดงเกมส์ เป็นงานกีฬาที่จัดขึ้นโดยองค์การนักศึกษา และสโมรสนักศึกษาคณะต่าๆ พร้มนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งจะจัดขึ้นในทุกๆ ปี เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ห่างไกลยาเสพติด ด้วยการหันมาเล่นกีฬา เสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง  อีกทั้งเป็นการเสริมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ และปลูกฝังความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา[53]

โดยมีการแข่งขันกีฬา 8 ชนิดกีฬา[54] ได้แก่ ฟุตบอล ฟุตซอล วอลเลย์บอล เปตอง ตะกร้อ บาสเกตบอล วอลเลย์บอลชายหาด และกีฬาพื้นบ้าน โดยพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในช่วงเช้าจะมีกิจกรรมการเดินขบวนพาเหรด  ขบวนกองทัพนักกีฬา การแข่งขันกองเชียร์และเชียร์ลีดเดอร์ การแข่งขันฟุตบอลรอบชิงชนะเลิศ  พิธีมอบเหรียญรางวัล  และพิธีปิดการแข่งขันในช่วงเย็น

การแข่งขันกีฬานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกีฬาอาจารย์และบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้จัดการแข่งขันครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2512 ที่วิทยาลัยครูมหาสารคาม และได้หมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันมาอย่างต่อเนื่อง มีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานสายใย ความรักสามัคคี มีมิตรภาพและความสมานฉันท์ ระหว่างนักศึกษา, อาจารย์และบุคลากร ในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 งานในแต่ละปี และจัดในสถานที่เดียวกันเป็นเจ้าภาพ โดยทางกีฬานักศึกษาจะมีการจัดขึ้นก่อนงานกีฬาอาจารย์บุคลากร 2-3 สัปดาห์ ซึ่งมหาวิทยาลัยฯ ส่งทัพนักกีฬาราชภัฏอุดรธานี เข้าร่วมชิงชัยในการแข่งขันกีฬานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[56] และการแข่งขันกีฬาอาจารย์และบุคลากร[57] มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทุกๆ ครั้งตลอดมา

  • งานกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ส่งทัพนักกีฬาเข้าชิงชัยในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยทุกๆ ปี[58]

ครั้งที่ 44 “สุรนารีเกมส์”  ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  จ.นครราชสีมา  ในระหว่างวันที่  21 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม 2560  ซึ่งมีสถาบันการศึกษาภายในประเทศไทยเข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมดประมาณ 114 สถาบัน  แข่งขัน 34 ชนิดกีฬา [59]สรุปผลงานทัพนักกีฬามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี คว้า  1 เหรียญทองจากกรีฑา  วิ่ง 10,000 เมตร บุคคลหญิง โดยนางสาวลินดา จันทะชิด  , 2 เหรียญเงิน จากกรีฑา วิ่ง 5,000 เมตร บุคคล หญิง โดยนางสาวลินดา จันทะชิด และ เซปักตะกร้อ ทีมคู่ชาย โดยนายสุทัศน์  ร้อยเสาร์,สิบโทอธิวัฒน์ อามาตย์,นายประสิทธิ์พงษ์ โพธิ์เศษ,นายจำเนียร  รักษาเมือง, และ 2 เหรียญทองแดง จากกีฬาหมากกระดาน หมากฮอส ทีมชาย 2 คน โดยนายปริญญาวัฒน์ พรมวารี,นายอัษฎายุธ รอดหนองแห้ว,นายสิริเดช จิระติวานนท์ และหมากฮอส ทีมหญิง 2 คน  นางสาวกฤษณา เหล่าพร,นางสาววรรณศิริ พุทธมา[60]

การจัดอันดับ

Nature Index จัดโดยวารสารในเครือ Nature Publishing Group ซึ่งเป็นวารสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีชื่อเสียงชั้นนำของโลก โดยการนับจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ต่อปีในวารสารที่ในเครือ Nature Publishing Group จัดให้มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี อยู่ในอันดับที่ 12 ของประเทศไทย ปี 2016 [61]

ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัย

อ้างอิง

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (นายชัยพร รัตนนาคะ)
  2. http://www.udru.ac.th/index.php/about-udru/udru-history.html
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2518/A/174/5.PDF
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2538/A/004/1.PDF
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0AA/00141755.PDF
  6. http://bk.udru.ac.th/web/?page_id=2
  7. http://www.udru.ac.th/index.php/aroundudru/502-nov-08-2016-b.html
  8. http://www.udru.ac.th/index.php/about-udru/udru-history.html
  9. http://www.udru.ac.th/index.php/aroundudru/502-nov-08-2016-b.html
  10. http://www.udru.ac.th/index.php/aroundudru/385-aug-23-2016-c.html
  11. http://www.smmsport.com/reader.php?news=170789
  12. http://www.udru.ac.th/index.php/aroundudru/480-nov-01-2016-a.html
  13. http://www.udru.ac.th/index.php/aroundudru/568-feb-03-2017-b.html
  14. https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%8F&action=edit&section=3
  15. http://www.udru.ac.th/index.php/aroundudru/573-feb-15-2017-c.html
  16. http://www.udru.ac.th/index.php/aroundudru/383-aug-23-2016-a.html
  17. http://www.udru.ac.th/index.php/aroundudru/566-feb-03-2017-a.html
  18. http://www.udru.ac.th/index.php/aroundudru/563-jan-26-2017-a.html
  19. http://www.udru.ac.th/index.php/aroundudru/566-feb-03-2017-a.html
  20. http://www.udru.ac.th/index.php/aroundudru/563-jan-26-2017-a.html
  21. http://www.udru.ac.th/index.php/aroundudru/564-jan-30-2017-a.html
  22. http://www.udru.ac.th/index.php/congrats-practice.html
  23. http://www.udru.ac.th/index.php/aroundudru/564-jan-30-2017-a.html
  24. http://www.udru.ac.th/index.php/congrats-practice.html
  25. http://www.thailaws.com/law/thaiacts/code1981.pdf
  26. http://www.udru.ac.th/index.php/about-udru/udur-staff/board-of-directors-udru.html
  27. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/002/1.PDF
  28. http://www.udru.ac.th/~udrucouncil/images/document/05kamsang/%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%98%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%94_2552.PDF
  29. http://www.udru.ac.th/~udrucouncil/images/document/05kamsang/%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%98%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%94_2556.pdf
  30. http://www.udru.ac.th/~senate/2017/images/senate/reports/report-09-may-2017.PDF
  31. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/002/1.PDF
  32. http://www.udru.ac.th/udrucouncil/
  33. http://www.udru.ac.th/udrucouncil/images/document/201801090900.pdf
  34. http://www.udru.ac.th/udrucouncil/images/document/201801090900-1.pdf
  35. http://www.udru.ac.th/udrucouncil/images/document/201801090901.pdf
  36. http://www.udru.ac.th/udrucouncil/images/document/4_3.pdf
  37. http://www.udru.ac.th/udrucouncil/images/document/7_6.pdf
  38. http://www.udru.ac.th/index.php/about-udru/udru-statistics.html
  39. http://www.udru.ac.th/index.php/recruitment/udru-admission-2017/521-schedule-udru-admission2017.html
  40. http://www.udru.ac.th/images/admission2017/document/UDRU-ADMISSION-2017-Conditions.pdf
  41. http://www.udru.ac.th/index.php/aroundudru/618-march-22-2017-a.html.html
  42. http://www.udru.ac.th/itml.html
  43. http://www.udru.ac.th/index.php/about-udru/udru-maps.html
  44. http://www.udru.ac.th/index.php/aroundudru/399-sep-13-2016-b.html
  45. http://www.udru.ac.th/index.php/aroundudru/417-sep-16-2016-j.html
  46. http://www.udru.ac.th/index.php/aroundudru/396-sep-05-2016-a.html
  47. http://www.udru.ac.th/index.php/aroundudru/397-sep-05-2016-b.html
  48. https://education.kapook.com/view155592.html
  49. http://www.udru.ac.th/index.php/aroundudru/501-nov-08-2016-a.html
  50. http://www.udru.ac.th/index.php/aroundudru/632-apr-20-2017-a.html
  51. http://www.udru.ac.th/index.php/aroundudru/661-may-17-2017-a.html
  52. https://udgmzo.wordpress.com/2012/09/09/%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1-%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%AC%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87/
  53. http://www.smoedudru.com/smokaru/index.php/2015-07-05-05-48-06/39-%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%AC%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B9%8C-%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-27
  54. http://www.udru.ac.th/index.php/aroundudru/312-mar-16-2016-06.html
  55. http://khunsakarin.nrru.ac.th/student/main.php?part=detail&pack=history_competition
  56. http://www.udru.ac.th/index.php/aroundudru/252-jan-11-2016-04.html
  57. http://www.udru.ac.th/index.php/aroundudru/244-jan-04-2016-01.html
  58. http://www.udru.ac.th/index.php/aroundudru/587-feb-23-2017-c.html
  59. http://www.udru.ac.th/index.php/aroundudru/596-march-01-2017-a.html
  60. https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%AC%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2_%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_44&action=edit&section=13
  61. http://www.natureindex.com/annual-tables/2016/institution/academic/all/countries-Thailand