ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดกาญจนบุรี"

พิกัด: 14°0′15″N 99°32′57″E / 14.00417°N 99.54917°E / 14.00417; 99.54917
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
ฟหกด่าสว
{{เก็บกวาด}}
{{เพิ่มอ้างอิง}}
{{ข้อความแก้กำกวม|กาญจนบุรี|กาญจนบุรี (แก้ความกำกวม)}}
{{กล่องข้อมูล จังหวัด
<!-- ข้อมูลจำเป็น -->
| จังหวัด = กาญจนบุรี
| seal = Seal Kanchanaburi.png
| คำขวัญ = แคว้นโบราณ ด่านเจดีย์ มณีเมืองกาญจน์<br>สะพานข้ามแม่น้ำแคว แหล่งแร่น้ำตก
| ชื่ออังกฤษ = Kanchanaburi
| แผนที่ = Thailand Kanchanaburi locator map.svg
<!-- ข้อมูลเสริม -->
| ตราลูกเสือ = Prov-scout-Kanchanaburi.png
| เหรียญตรา = มี
| ชื่อไทยอื่นๆ = ปากแพรก, ศรีชัยสิงหปุระ, เมืองกาญจน์
| ชื่อผู้ว่า = จีระเกียรติ ภูมิสวัสดิ์
| ปีที่ว่าราชการ = 2560
| รหัสiso = TH-71
| สีจังหวัด = ฟ้า-แสด
| รหัสสี =
| ต้นไม้ประจำจังหวัด = [[ขานาง]]
| สัตว์น้ำประจำจังหวัด = [[ปลายี่สก]]
| ดอกไม้ประจำจังหวัด = [[กาญจนิการ์]]
| พื้นที่ = 19,483.148 [[ตารางกิโลเมตร|ตร.กม.]]<ref>ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm] [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.</ref>
| อันดับพื้นที่ = 3
| ประชากร = 887,979 คน<ref>กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf] 2558. สืบค้น 6 กุมภาพันธ์ 2561.</ref>
| ปีสำรวจประชากร = 2560
| อันดับประชากร = 25
| ความหนาแน่น = 43.53 คน/ตร.กม.
| อันดับหนาแน่น = 74
<!-- ข้อมูลศาลากลาง (ข้อมูลเพิ่มเติม) -->
| ศาลากลาง = [[ถนนแสงชูโต]] ตำบลปากแพรก [[อำเภอเมืองกาญจนบุรี]] จังหวัดกาญจนบุรี 71000
| โทรศัพท์ = 0 3451 1778
| โทรสาร =
| เว็บไซต์ = http://www.kanchanaburi.go.th/
}}

'''จังหวัดกาญจนบุรี''' เป็น[[จังหวัดของประเทศไทย|จังหวัด]]หนึ่งที่ตั้งอยู่ใน[[ภาคตะวันตก (ประเทศไทย)|ภาคตะวันตก]]ของ[[ประเทศไทย]] มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 19,473 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองจาก[[จังหวัดนครราชสีมา]] และ[[จังหวัดเชียงใหม่]] และมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก มีระยะทางห่างจาก[[กรุงเทพมหานคร]]ประมาณ 129 กิโลเมตร มีชายแดนติดต่อกับ[[ประเทศพม่า]]ระยะทางประมาณ 370 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ ทิศเหนือ จรด[[จังหวัดตาก]]และ[[จังหวัดอุทัยธานี]] ทิศใต้ จรด[[จังหวัดราชบุรี]] ทิศตะวันออก จรด[[จังหวัดสุพรรณบุรี]]และ[[นครปฐม]] ทิศตะวันตก จรด[[ประเทศพม่า]]


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:07, 11 ธันวาคม 2561

ฟหกด่าสว

ประวัติ

ความเป็นมาของกาญจนบุรี เท่าที่มีการค้นพบหลักฐานนั้น ย้อนไปได้ถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อมีการค้นพบเครื่องมือหินในบริเวณบ้านเก่า อำเภอเมืองกาญจนบุรี ล่วงมาถึงสมัยทวารวดี ซึ่งมีหลักฐานคือซากโบราณสถานที่ตำบลปรังเผล อำเภอสังขละบุรี เป็นเจดีย์ลักษณะเดียวกับจุลประโทนเจดีย์ที่จังหวัดนครปฐม บ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี และเมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี รวมทั้งค้นพบโบราณวัตถุ เช่น พระพิมพ์สมัยทวารวดีจำนวนมาก[1] สืบเนื่องต่อมาถึงสมัยพุทธศตวรรษที่ 16-18 หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค้นพบคือปราสาทเมืองสิงห์ ซึ่งมีรูปแบบศิลปะแบบขอม[1] สมัยบายน

ประตูเมืองกาญจนบุรี สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2374

กาญจนบุรียังปรากฏในพงศาวดารเหนือว่า กาญจนบุรีเป็นเมืองขึ้นของสุพรรณบุรีในสมัยสุโขทัย ครั้นมาถึงสมัยอยุธยา กาญจนบุรีก็มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญในการทำสงครามระหว่างกองทัพไทยกับพม่า จนกระทั่งถึงสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ เดิมตัวเมืองกาญจนบุรีเดิมนั้นตั้งอยู่ที่ตำบลลาดหญ้า (บริเวณเขาชนไก่ในปัจจุบัน) ภายหลังจนถึง พ.ศ. 2374 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้โปรดให้ก่อสร้างกำแพงเมืองและป้อมปราการขึ้นเป็นการถาวร ณ เมืองกาญจนบุรีใหม่โดยตั้งอยู่ ณ ตำบลปากแพรก อันเป็นสถานที่บรรจบของแม่น้ำแควใหญ่และแม่น้ำแควน้อย โดยตัวเมืองอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแม่กลองกับแม่น้ำแควใหญ่ ซึ่งมีความเหมาะสมทางยุทธศาสตร์และด้านการค้า โดยเริ่มก่อสร้างเมืองเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2374 และสำเร็จในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2375 และได้แยกออกจากสุพรรณบุรีนับแต่นั้นเป็นต้นมา ทั้งนี้โดยมีพระราชประสงค์ส่วนใหญ่เพื่อติดต่อค้าขายกับเมืองราชบุรี ดังพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสไทรโยค กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า "แต่มีเมืองปากแพรกเป็นที่ค้าขาย ด้วยเขาชนไก่เมืองเดิมอยู่เหนือมากมีแก่งถึงสองแก่ง ลูกค้าไปมาลำบาก จึงลงมาตั้งเมืองเสียที่ปากแพรกนี้เป็นทางไปมาแก่เมืองราชบุรีง่าย เมืองที่สร้างขึ้นใหม่ กว้าง 5 เส้น ยาว 10 เส้น 18 วา มีป้อม 4 มุมเมือง ป้อมย่านกลางด้านยาวตรงหน้าเมืองทิศตะวันตกเฉียงใต้มีป้อมใหญ่อยู่ตรงเนิน ด้านหลังมีป้อมเล็กตรงกับป้อมใหญ่ 1 ป้อม" การสร้างเมืองกาญจนบุรีใหม่นี้ ดังปรากฏในศิลาจารึกดังนี้ ให้พระยาราชวรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจเป็นพระยาประสิทธิสงครามรามภักดีศรีพิเศษประเทศนิคมภิรมย์ราไชยสวรรค์พระยากาญจนบุรี ครั้งกลับเข้าไปเฝ้าโปรดเกล้าฯ ว่าเมืองกาญจนบุรีเป็นเมืองอังกฤษ พม่า รามัญ ไปมาให้สร้างเมืองก่อกำแพงขึ้นไว้จะได้เป็นชานพระนครเขื่อนเพชรเขื่อนขัณฑ์มั่นคงไว้แห่งหนึ่ง ในปัจจุบันกำแพงถูกทำลายลงโดยธรรมชาติและหน่วยราชการเพื่อประโยชน์อย่างอื่น เหลือเพียงประตูเมืองและกำแพงเมืองบางส่วน[1]

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อมีการจัดรูปแบบการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล กาญจนบุรีถูกโอนมาขึ้นกับมณฑลราชบุรี[2] และยกฐานะเป็นจังหวัดกาญจนบุรีในปี พ.ศ. 2467

เหตุการณ์ที่ทำให้กาญจนบุรีมีชื่อเสียงไปทั่วโลก คือช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญี่ปุ่นได้ตัดสินใจสร้างทางรถไฟยุทธศาสตร์ จากชุมทางหนองปลาดุกในประเทศไทยไปยังเมืองทันบูซายัตในพม่า โดยเกณฑ์เชลยศึกและแรงงานจำนวนมากมาเร่งสร้างทางรถไฟอย่างหามรุ่งหามค่ำ จนทำให้มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ทั้งจากความเป็นอยู่ที่ยากแค้นและโรคภัยไข้เจ็บที่รุมเร้า ซึ่งภาพและเรื่องราวของความโหดร้ายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปรากฏอยู่ในพิพิธภัณฑ์หลายแห่งในกาญจนบุรี

ชื่อเรียกอื่น ๆ ของกาญจนบุรี เช่น เมืองกาญจน์ ปากแพรก ศรีชัยยะสิงหปุระ[3] (ซึ่งในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เรียกเมืองกาญจนบุรีว่า ศรีชัยยะสิงหปุระ) และเมืองขุนแผน เป็นต้น

ภูมิศาสตร์

อาณาเขตติดต่อ

ตามภูมิศาสตร์ที่ตั้ง จังหวัดกาญจนบุรีเป็นจังหวัดที่อยู่ในภาคตะวันตก มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดอื่น ๆ 5 จังหวัด ดังนี้

ภูมิประเทศ

แม่น้ำรันตีทางตอนใต้ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรเขตติดต่อกับอุทยานแห่งชาติเขาแหลม

พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดเป็นป่าไม้และภูเขาสูง โดยเฉพาะพื้นที่ทางด้านเหนือและตะวันตกของจังหวัด ถึงแม้จังหวัดกาญจนบุรีจะมีเขตพื้นที่ติดกับจังหวัดตากทางด้านทิศเหนือ แต่ก็ไม่มีถนนเชื่อมต่อกัน เนื่องจากมีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ซึ่งเป็นมรดกโลกและมีป่าที่อุดมสมบูรณ์รกทึบสลับกับมีภูเขาอันสลับซับซ้อน หากจะเดินทางติดต่อกันต้องอ้อมไปทางจังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดกำแพงเพชร แล้วจึงเข้าจังหวัดตาก ซึ่งมีระยะทางกว่า 490 กิโลเมตร และหากต้องการเดินทางไปอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดกาญจนบุรี จะต้องเดินทางย้อนลงมาทางใต้รวมระยะทางกว่า 700 กิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศจังหวัดกาญจนบุรี แบ่งออกได้ 3 ลักษณะดังนี้

  1. เขตภูเขาและที่สูง พื้นที่ทางด้านทิศเหนือของจังหวัด ได้แก่ บริเวณอำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ อำเภอศรีสวัสดิ์ และอำเภอไทรโยค มีลักษณะเป็นเทือกเขาต่อเนื่องมาจากเทือกเขาถนนธงชัยถัดไปทางด้านตะวันตกของจังหวัด เทือกเขาตะนาวศรีซึ่งกั้นพรมแดนระหว่างไทยกับประเทศพม่าทอดยาวลงไปทางด้านใต้ บริเวณนี้จะเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำที่สำคัญของจังหวัด คือ แม่น้ำแควใหญ่ และแม่น้ำแควน้อย ซึ่งในแถบนี้จะมีรอยเลื่อนอยู่หลายรอยและมักเกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่บ่อยครั้ง
  2. เขตที่ราบลูกฟูก ได้แก่ พื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีลักษณะเป็นที่ราบเชิงเขาสลับกับเนินเขาเตี้ย ๆ อยู่บริเวณอำเภอเลาขวัญ อำเภอบ่อพลอย และบางส่วนของอำเภอพนมทวน
  3. เขตที่ราบลุ่มน้ำ ได้แก่ พื้นที่ทางด้านใต้ของจังหวัด ลักษณะเป็นที่ราบ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ อยู่บริเวณอำเภอท่ามะกา อำเภอท่าม่วง และบางส่วนของอำเภอพนมทวน อำเภอเมืองกาญจนบุรี

ภูมิอากาศ

  • ฤดูร้อน ระหว่างกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม มีลมฝ่ายใต้พัดมาปกคลุม ทำให้มีอากาศร้อนอบอ้าวทั่วไป โดยมีอากาศร้อนจัดอยู่ในเดือนเมษายน
  • ฤดูฝน ระหว่างกลางเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน ในระยะนี้เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุม ทำให้มีฝนตกชุกโดยตกชุกที่สุดในเดือนกันยายน
  • ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยในช่วงนี้ ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนและลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุม ทำให้อากาศหนาวเย็นและความแห้งแล้งแผ่ปกคลุมจังหวัดกาญจนบุรี

จังหวัดกาญจนบุรีมีอุณหภูมิต่ำสุดโดยเฉลี่ย 22.7 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ย 36.0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำที่สุดวัดได้ 3.7 องศาเซลเซียส (เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2517) อุณหภูมิสูงสุดที่วัดได้ 44.2 องศาเซลเซียส (เมื่อ 12 เมษายน พ.ศ. 2559) และมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1496.2 มิลลิเมตรต่อปี

ธรณีวิทยา

ในด้านทรัพยากรดิน พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดกาญจนบุรีมีภูเขาสลับซับซ้อน พื้นที่ที่เหมาะสำหรับเกษตรกรรมคือ ที่ราบระหว่างภูเขาซึ่งมีแม่น้ำและลำน้ำสายต่าง ๆ ไหลผ่าน เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีหินปูน หินแกรนิต หินแกรไนโอออไรท์ หินไนล์ หินดินดาน หินควอทโซฟีลไลท์ เป็นวัตถุต้นกำเนิดดิน ที่ราบระหว่างหุบเขาและสองฝั่งแม่น้ำจึงมีลักษณะเป็นตะกอนที่เกิดจากการสลายตัวของหินดังกล่าวแล้วถูกน้ำพัดพามาทับถม และเนื่องจากพื้นที่ส่วนนี้มีหินปูนเป็นส่วนใหญ่ ดินจึงมีปฏิกิริยาเป็นกลางหรือเป็นด่าง มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงดี จึงเป็นแหล่งเพาะปลูกพืชไร่ที่สำคัญของประเทศเช่น อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง และสับปะรด ส่วนในบริเวณที่ราบต่ำใช้ปลูกข้าวแต่มีเนื้อที่ไม่มากนัก

อุทกวิทยา

ในด้านทรัพยากรน้ำ จังหวัดกาญจนบุรีมีแหล่งน้ำที่สำคัญ 3 ประเภทคือ

  • น้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาล ต้นกำเนิดของแหล่งน้ำบาดาลส่วนใหญ่มาจากน้ำฝนซึ่งตกสู่ผิวดินลงไปกับเก็บใต้ชั้นดิน พื้นที่ทางตอนบนและทางตะวันตกของจังหวัดซึ่งมีสภาพเป็นที่สูงภูเขา รองรับด้วยหินแปรปริมาณน้ำบาดาลจึงมีน้อยมาก ส่วนพื้นที่ทางตะวันออกและทางใต้ของจังหวัดเป็นที่ราบลุ่ม มีแหล่งน้ำบาดาลสามารถนำขึ้นมาใช้ได้ แต่ยังคงมีปริมาณน้อย
  • น้ำผิวดิน แหล่งน้ำผิวดินมีต้นน้ำอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัดถึงเขตจังหวัดอุทัยธานี ลักษณะทางน้ำเป็นร่องลึกในระหว่างหุบเขา มีธารน้ำบางสายไหลขึ้นไปทางเหนือสู่ประเทศพม่า แต่ลำธารส่วนใหญ่ไหลลงสู่แม่น้ำแควน้อยและแควใหญ่ ก่อนจะรวมตัวกันเป็นแม่น้ำแม่กลอง ส่วนด้านตะวันออกมีลำตะเพินเป็นธารน้ำสำคัญของบริเวณนี้ แหล่งน้ำผิวดินที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำแควใหญ่ (ศรีสวัสดิ์) แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำลำตะเพิน
  • น้ำจากการชลประทาน จังหวัดกาญจนบุรีเป็นที่ตั้งของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่หลายแห่งเพื่อวัตถุประสงค์หลักในการผลิตกระแสไฟฟ้า แต่สิ่งที่ได้รับผลประโยชน์ตามมาคือการชลประทานที่สามารถส่งน้ำให้กับพื้นที่เพาะปลูก เขื่อนที่สำคัญ เช่น เขื่อนศรีนครินทร์ในเขตอำเภอศรีสวัสดิ์ เขื่อนเขาแหลมในอำเภอทองผาภูมิ อำเภอสังขละบุรี และเขื่อนวชิราลงกรณ์ในอำเภอท่าม่วง
แหล่งน้ำที่สำคัญ

สัตว์ประจำถิ่น

  • ค้าวคาวกิตติ ถูกค้นพบครั้งแรกปี พ.ศ. 2516 โดยกิตติ ทองลงยา นักสัตววิทยาของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย บริเวณถ้ำไทรโยค อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างทำการเก็บตัวอย่างค้างคาวในโครงการการสำรวจสัตว์ย้ายแหล่งทางพยาธิวิทยา กิตติพบค้างคาวที่มีขนาดเล็กมากซึ่งไม่เคยเห็นมาก่อน จึงได้ส่งตัวอย่างค้างคาวให้กับจอห์น เอ็ดวาร์ด ฮิลล์ (John Edward Hill) แห่งพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ ประเทศอังกฤษ เพื่อตรวจพิสูจน์และพบว่าค้างคาวชนิดนี้มีลักษณะหลายอย่างเป็นแบบฉบับของตนเอง สามารถที่จะตั้งเป็นสกุลและวงศ์ใหม่ได้ หลังจากกิตติเสียชีวิตในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 ฮิลล์ได้จำแนกและตีพิมพ์ถึงค้างคาวชนิดนี้ และตั้งชื่อว่า Craseonycteris thonglongyai เพื่อเป็นเกียรติแก่กิตติ ทองลงยา ผู้ค้นพบค้างคาวชนิดนี้เป็นคนแรก สภาวะของค้างคาวคุณกิตติในประเทศพม่าไม่เป็นที่แน่ชัด และประชากรที่พบในประเทศไทยก็พบว่าจำกัดอยู่ในเพียงจังหวัดเดียว คือ จังหวัดกาญจนบุรี ทำให้ค้างคาวคุณกิตติอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ สาเหตุหลักเกิดจากการคุกคามจากมนุษย์ และการลดลงของถิ่นที่อยู่อาศัย
ปลายี่สก
  • ปลายี่สก ชาวกาญจนบุรีมีความผูกพันธุ์กับปลาชนิดนี้มากถึงได้มาเป็นสัญลักษณ์ตามถนน ที่เข้าสู่ตัวเมืองกาญจน์เราจะเห็นตามเสาหลอดไฟที่เรืองรอง แล้วก็จะมีปลาชนิดหนึ่งอยู่บนเสาไฟตามถนนผ่านเส้นทางศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี จะมีตัวสีทองเหลืองอร่าม อยู่บนยอดมองเห็นได้อย่างชัดเจนก่อนที่จะมีเขื่องศรีนครินทร์ ปลายี่สกไทยจะไปวางไข่ตามเกาะแก่งต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่หลากหลายการเดินทางมาผสมพันธุ์เสร็จแล้วก็จะกลับมาหากินตั้งแต่กาญจนบุรี ไปจนถึงสมุทรสงคราม เมื่อก่อนจะเจอปลาชนิดนี้บ่อยมาก แต่พอสร้างเขื่อนปลาชนิดนี้ในแหล่งน้ำธรรมชาติ ก็น้อยลงไป ตามระบบนิเวศน์ที่มีการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่ก่อนคนเมืองกาญจน์ ส่วนใหญ่ปลาชนิดนี้อยู่ที่แม่น้ำแม่กลองเอาเป็นว่าขายกันเป็นล่ำเป็นสัน ก็ว่าได้เนื่องจากหาง่าย ตัวใหญ่เนื้ออร่อย เช่น ต้มยำ แกงส้ม ลวกจิ้มสำหรับนักรับประทานปลา ถ้ามาถึงกาญจนบุรีแล้ว ไม่ได้รับประทาน "แสดงว่ายังมาไม่ถึงก็ว่าได้"
  • ปูพระพี่นาง พบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2542 บริเวณฝั่งลำห้วย ตำบลท่าแฉลบ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี หลังจากนั้น ได้รับประทานอนุญาตจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ให้ใช้ชื่อว่า "ปูพระพี่นาง" หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "ปูป่า" มีกระดองสีแดงเลือดนก ขอบกระดอง ขอบเบ้าตา และปากเป็นสีแดงส้ม ขาเดินทั้ง 4 คู่ เป็นสีแดงเลือดนก ยกเว้นตรงปลายประมาณ 1 ใน 3 ของก้ามหนีบทั้ง 2 ข้าง เป็นสีขาว ปูพระพี่นางถือเป็นอีกหนึ่งปูน้ำจืดหายากของเมืองไทย
  • ปูราชินี มีปากและขามีสีแดงและส้ม ก้ามมีสีขาว และกระดองมีสีน้ำเงินอมม่วง เชื่อว่าสามารถเปลี่ยนสีได้เรื่อย ๆ ตามฤดูกาล ตัวเต็มวัยมีขนาดประมาณ 12.5 มิลลิเมตร โดยทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ขออนุญาตใช้ชื่อ สิริกิติ์ เป็นชื่อวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นเกียรติและเฉลิมฉลองครบรอบ 5 รอบของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และได้พระราชทานให้ในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ปัจจุบันพบเป็นปูประจำถิ่นในป่าพรุน้ำจืดบริเวณลุ่มน้ำน้อย อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ และอุทยานแห่งชาติไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี และไม่เคยมีรายงานพบที่อื่นอีกเลย มีสถานภาพเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
  • ปูเจ้าฟ้า พบได้ในอำเภอทองผาภูมิ บริเวณน้ำตกและลำธาร
  • ตะพาบแก้มแดง (อังกฤษ: Malayan solf-shell turtle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Dogania subplana) เป็นตะพาบชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย ที่จังหวัดตาก จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดชุมพร จัดเป็นตะพาบขนาดเล็กที่สุดเป็นอันดับสองที่พบในประเทศไทย (เล็กที่สุด คือ ตะพาบหับพม่า (Lissemys scutata)) กระดองสีเทาเข้มมีจุดสีดำทั่วไป หัวสีเทานวลมีรอยเส้นสีดำตลอดตามแนวกระดูกสันหลังจนถึงส่วนท้ายกระดอง มีสีแดงที่แก้มและข้างคอ เมื่อยังเล็กมีจุดสีดำคล้ายดวงตากระจายไปทั่วกระดองเห็นชัดเจน ตะพาบที่พบที่จังหวัดตากและกาญจนบุรีมีสีเข้มกว่าและไม่มีสีแดงที่แก้ม มีจมูกยาว หางสั้น และมีขาเล็ก
  • กริวดาว เป็นตะพาบที่หายากมากที่สุด มีความแตกต่างจากตะพาบหัวกบ คือ มีจุดสีเหลืองอ่อนเป็นวงกระจายอยู่บริเวณขอบกระดอง โดยที่ไม่แปรเปลี่ยนไปตามวัย เหมือนตะพาบหัวกบ ซึ่งถึงแม้จะเป็นตะพาบขนาดใหญ่แล้ว แต่ลายจุดนี้ยังคงเห็นได้ชัดเจน ซึ่งกิตติพงษ์ได้ระบุไว้ว่า ตะพาบแบบนี้ไม่ได้พบเห็นมานานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 หรือ พ.ศ. 2534 แล้ว และแต่เดิมก็พบเห็นได้ยากมาก ซึ่งถ้าใช้หลักการอนุกรมวิธานตามแบบปัจจุบัน เชื่อว่า กริวดาวต้องถูกจัดเป็นชนิดใหม่อย่างไม่ต้องสงสัย เนื่องจากมีความแตกต่างจากตะพาบหัวกบอย่างพอสมควร แต่เสียดายที่ไม่ได้มีการศึกษามากกว่านี้ เนื่องจากไม่มีตัวอย่างต้นแบบให้ศึกษา โดยตัวสุดท้ายที่ค้นพบและมีภาพถ่ายที่สมบูรณ์ มีขนาดยาวราว 30 เซนติเมตร น้ำหนัก 5 กิโลกรัม จับได้จากแม่น้ำแควใหญ่ ที่อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

การเมืองการปกครอง

หน่วยการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

แผนที่อำเภอในจังหวัดกาญจนบุรี

จังหวัดกาญจนบุรีแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็น 13 อำเภอ 95 ตำบล 959 หมู่บ้าน 206 ชุมชน โดยทั้ง 13 อำเภอ มีดังนี้

การปกครองส่วนท้องถิ่น

พื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 122 แห่ง แบ่งตามประเภทและอำนาจบริหารจัดการภายในท้องที่ได้เป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี, เทศบาลเมือง 2 แห่ง ได้แก่ เทศบาลเมืองกาญจนบุรี และเทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น, เทศบาลตำบล 47 แห่ง, และองค์การบริหารส่วนตำบล 72 แห่ง[4] รายชื่อเทศบาลทั้งหมดแบ่งตามอำเภอในจังหวัดกาญจนบุรี มีดังนี้

รายนามเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด

ประชากร

ประชากรจังหวัดกาญจนบุรีแบ่งตามปี
ปีประชากร±%
2536 724,675—    
2537 736,996+1.7%
2538 744,933+1.1%
2539 756,528+1.6%
2540 766,352+1.3%
2541 775,198+1.2%
2542 778,456+0.4%
2543 786,001+1.0%
2544 792,294+0.8%
2545 801,836+1.2%
2546 797,372−0.6%
2547 810,339+1.6%
2548 826,169+2.0%
2549 834,447+1.0%
2550 835,282+0.1%
2551 840,905+0.7%
2552 839,423−0.2%
2553 839,776+0.0%
2554 838,914−0.1%
2555 838,269−0.1%
2556 842,882+0.6%
2557 848,198+0.6%
2558 882,146+4.0%
2559 885,112+0.3%
2560 887,979+0.3%
อ้างอิง: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[5]

ตามข้อมูลจำนวนประชากรของสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 จังหวัดกาญจนบุรีมีประชากร 887,979 คน คิดเป็นอันดับที่ 25 ของประเทศ โดยแบ่งเป็นประชากรเพศชาย 446,262 คน และประชากรเพศหญิง 441,717 คน[6] มีความหนาแน่นประชากรโดยเฉลี่ย 43.53 คนต่อตารางกิโลเมตร คิดเป็นอันดับที่ 74 ของประเทศ อำเภอที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุด คือ อำเภอท่ามะกา ซึ่งมีความหนาแน่นประชากรเฉลี่ย 400.14 คนต่อตารางกิโลเมตร ส่วนอำเภอที่ประชากรเบาบางที่สุด คือ อำเภอศรีสวัสดิ์ ซึ่งมีความหนาแน่นประชากรเฉลี่ย 8.09 คนต่อตารางกิโลเมตร

ชาติพันธุ์

ในจังหวัดกาญจนบุรีมีประชากรหลายชาติพันธุ์ ได้แก่

ภาษา

มีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ในบริเวณต่าง ๆ ของภาษาไทยถิ่นกาญจนบุรี ทำให้เกิดภาษาต่าง ๆ ที่ใช้พูดกันในจังหวัดกาญจนบุรีมีทั้งสิ้น 11 ภาษา โดยแบ่งออกเป็น 4 ตระกูลภาษา ได้แก่

  1. ภาษาตระกูลไต ได้แก่ ภาษาไทยภาษาลาวโซ่งภาษาลาวพวนและภาษาลาวครั่ง
  2. ภาษาตระกูลมอญ-เขมร ได้แก่ ภาษามอญ ภาษาเขมร ภาษาขมุ
  3. ภาษาตระกูลกระเหรี่ยง ได้แก่ ภาษาละว้า (อุก่อง)
  4. ภาษาตระกูลทิเบต-พม่า ได้แก่ ภาษากระเหรี่ยง (ยาง) ภาษากระเหรี่ยงโปว์ ภาษาโพล่ว

ภาษาต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นมีภูมิลำเนากระจายอยู่ในบริเวณต่าง ๆ ของจังหวัดกาญจนบุรี ดังนี้

  • ภาษาไทย อยู่ทั่วไปในจังหวัดโดยเฉพาะในเขตเทศบาลและ อำเภอเมือง
  • ภาษาลาวโซ่ง อำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ อำเภอพนมทวน และ อำเภอบ่อพลอย
  • ภาษาลาวครั่ง อำเภอด่านมะขามเตี้ย
  • ภาษาลาวพวน อำเภอเลาขวัญ และ อำเภอพนมทวน
  • ภาษามอญ อำเภอสังขละบุรี อำเภอเลาขวัญ และ อำเภอทองผาภูมิ
  • ภาษาเขมร อำเภอไทรโยค อำเภอเลาขวัญ และ อำเภอศรีสวัสดิ์
  • ภาษาขมุ อำเภอทองผาภูมิ อำเภอสังขละ และ อำเภอไทรโยค
  • ภาษาละว้า อำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ และ อำเภอศรีสวัสดิ์
  • ภาษากระเหรี่ยง (ยาง) ภาษากระเหรี่ยงโปว์ และภาษาโผล่ว อำเภอทองผาภูมิ อำเภอไทรโยค อำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอสังขละบุรี

นอกจากนี้ในจังหวัดกาญจนบุรียังมีกลุ่มคนที่พูดภาษาอื่น ๆ แต่โดยมากจะเป็นกลุ่มคนที่มีขนาดเล็กหรือเป็นกลุ่มคนที่พึ่งจะอพยพย้ายถิ่นที่อยู่มาจากที่อื่น และในแต่ละอำเภอภาษาที่ใช้พูดต่าง ๆ อาจจะมีจำนวนมากขึ้น ถึงแม้ว่าภาษาในจังหวัดกาญจนบุรีจะมีหลากหลายภาษา แต่ในปัจจุบันผู้คนส่วนมากพูดภาษากลาง ซึ่งมีสำเนียง “เหน่อ” ทั้งนี้ผู้คนในพื้นที่ต่าง ๆ ยังคงรักษาวัฒนธรรมทางภาษาดั้งเดิมไว้ เพื่อให้เยาวชนคนรุ่นหลังได้สืบสานวัฒนธรรมที่ดีงามต่อไป

อีกประการหนึ่งพบว่า ระบบวรรณยุกต์ของภาษาไทยถิ่นกาญจนบุรีที่พูดกันที่อำเภอพนมทวน อำเภอท่าม่วง อำเภอด่านมะขามเตี้ย และ อำเภอห้วยกระเจา มีระบบวรรณยุกต์5 หน่วยเสียงเช่นเดียวกับภาษาไทยมาตรฐาน แต่ลักษณะการแยกเสียงรวมเสียงในกล่องวรรณยุกต์แตกต่างจากทั้งภาษาไทยมาตรฐานและภาษาไทยถิ่นกลางสำเนียงอื่น ๆ และพบว่าภาษาไทยถิ่นกาญจนบุรีที่พูดใน 4 อำเภอดังกล่าวมีสัทลักษณะของหน่วยเสียงวรรณยุกต์แตกต่างจากกัน ทำให้สามารถแยกภาษาถิ่นย่อยของภาษาไทยถิ่นกาญจนบุรีได้ นอกจากนี้พบว่าหน่วยเสียงวรรณยุกต์ทุกหน่วยเสียงมีการแปรของสัทลักษณะทั้งในแง่ของการขึ้น-ตก และระดับเสียงเมื่อปรากฏในบริบทต่าง ๆ โดยสัทลักษณะของหน่วยเสียงวรรณยุกต์ในคำชุดเทียบเสียงมีระดับเสียงและลักษณะการขึ้น-ตกของเสียงชัดเจนมากที่สุด และความชัดเจนจะลดน้อยลงเมื่อปรากฏในคำพูดต่อเนื่อง โดยที่หน่วยเสียงวรรณยุกต์ที่ปรากฏในพยางค์ที่ลงเสียงหนักจะมีสัทลักษณะแตกต่างกันมากกว่าในพยางค์ที่ไม่ลงเสียงหนัก และในแต่ละตำบลของแต่ละอำเภอก็ยังมีสำเนียงที่แตกต่างกันออกไปในหมู่บ้านของแต่ละตำบลก็ยังแตกต่างกันออกไปอีก เช่น ที่อำเภอท่าม่วงซึ่งมีความหลากหลายของสำเนียงเหน่ออย่างเห็นได้ชัด

วัฒนธรรม

ความเชื่อ

ศาลหลักเมืองกาญจนบุรี

กาญจนบุรีเป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ฝั่งชายแดนทางภาคตะวันตกของประเทศไทย มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานทุกยุคสมัยต่อกันมาโดยไม่ขาดสาย ในการนับถือศาสนาของประชาชนในจังหวัดกาญจนบุรีจะมีทั้งศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาฮินดู และรวมถึงศาสนาพราหมณ์ โดยศาสนาที่ประชาชนส่วนใหญ่ของจังหวัดกาญจนบุรีนับถือเป็นชาวพุทธ ศาสนาสถานต่าง ๆ มีวัดพุทธ 427 แห่ง สำนักสงฆ์ 170 แห่ง ที่พักสงฆ์ 104 แห่ง มัสยิด 3 แห่ง และโบสถ์คริสต์ 11 แห่ง ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจเริ่มต้นจากรูปแบบความเชื่อที่ถือกันว่าเก่าแก่ที่สุดนั่นคือการนับถือภูตผีปีศาจเหตุนี้จึงก่อให้มีหลากหลายศาสนาเกิดขึ้น เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าส่วนที่สำคัญในทุกวัฒนธรรมคือศาสนาเพราะศาสนามีผลต่อความรู้สึกนึกคิดประเพณีและเป็นแรงบันดาลใจให้มนุษย์ได้สร้างสรรค์วัฒนธรรมอื่น ๆ อีกเป็นอันมาก เพื่อเป็นแนวทางในการสืบทอดประพฤติปฏิบัติ ชาวบ้านในจังหวัดกาญจนบุรียังได้มีความเชื่อและความนับถือตั้งแต่บรรพบุรุษในเรื่องของผีสาง เทวดา เจ้าป่าเจ้าเขา เห็นได้ว่าการนับถือศาสนาและความเชื่อของคนกาญจนบุรีมีลักษณะพิเศษ กล่าวคือ นอกจากจะกราบไหว้บูชาพระพุทธรูปแล้ว ยังกราบไหว้บูชาศาลพระภูมิและผีสางเทวดา และยังมีความเกี่ยวพันกับพระพุทธศาสนาอย่างแน่นแฟ้น นอกจากนี้ ยังมีลักษณะที่ผสมผสานความเชื่อดั้งเดิมเข้ากับศาสนาพุทธและพราหมณ์ได้อย่างแนบสนิท ซึ่งจะยกตัวอย่างความเชื่อที่สืบทอดกันมาแต่ยาวนานที่สำคัญของจังหวัดกาญจนบุรี

  1. หม้อยาย เป็นความเชื่อของชาวบ้านหนองขาว อำเภอท่าม่วง ที่ทุกบ้านจะมีหม้อดินแขวนไว้ ภายในหม้อบรรจุไวด้วยขี้ผึ้งปั้นเป็นรูปคน เชื่อว่า ยายจะช่วยปกปักษ์รักษาให้ทุกคนในบ้านอยู่เย็นเป็นสุข
  2. ศาลพ่อแม่ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นศูนย์รวมใจของชาวบ้านในเรื่องพิธีกรรมความเชื่อมากกว่า 200 ปี ให้คุ้มครองและให้งานนั้น ๆ ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย และครอบครัวมีความอยู่ดีมีสุข
  3. ศาลเจ้าพ่อโรงหนัง เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และความเชื่อที่ชาวบ้านให้การนับถือและเป็นศูนย์รวมใจของชาวบ้านหนองขาวในการประกอบพิธีกรรม
  4. ศาลเจ้าพ่อขุนด่าน เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนชาวอำเภอศรีสวัสดิ์เคารพนับถือ โดยจะมีการจัดทำบุญขึ้นทุกปี ที่ชาวบ้านเรียกว่าทำบุญกลางบ้าน

นอกจากนี้ยังมีความเชื่อในด้านต่าง ๆ อาทิเช่น แม่พญางิ้วดำ ศาลหลักเมืองกาญจนบุรี ความเชื่อห้ามผู้หญิงเดินเข้าไปในพระธาตุโบอ่อง ทั้งนี้ความเชื่อของชาวจังหวัดกาญจนบุรีเป็นวัฒนธรรมที่มีความกลมกลืนกับธรรมชาติ ชื่นชมธรรมชาติมากกว่าจะเอาชนะธรรมชาติ มีความละเอียดลออ ประณีตพิถีพิถันตามแบบฉบับชีวิตชาวบ้านที่ไม่มีความรีบร้อน และยังเป็นวัฒนธรรมที่มีความอิสรเสรี แสดงออกถึงความสนุกสนาน ร่าเริง เน้นคุณค่าของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

วิถีชีวิต

  • การแต่งกาย ชาวจังหวัดกาญจนบุรีโดยทั่วไปยกเว้นคนไทยเชื้อสายต่าง ๆ เช่น พม่า มอญ กะเหรี่ยง จะมี การแต่งกายคล้ายคลึงกับชาวจังหวัดอื่นในภาคกลาง คือเมื่ออยู่กับบ้านจะแต่งกายสบาย ๆ ไม่พิถีพิถัน แต่เมื่อเวลา ไปงานเลี้ยง งานบุญ งานพิธี ก็จะแต่งกายพิถีพิถันสวยงามตามสมัยนิยม
  • การกินอยู่ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศของจังหวัดกาญจนบุรีเป็นป่าเขา มีแม่น้ำลำธารมาก ทำให้มีพืชผัก ของป่าหลายชนิดที่ชาวบ้านรู้จักและนำมาปรุงเป็นอาหารพื้นบ้านรับประทานกันตลอดมา ผักบางชนิดคนจังหวัดอื่นไม่รู้จัก เช่น ผักหวานป่า ผักกูด ผักหนาม ดอกอีนูน ดอกดิน ลูกตาลเสี้ยน เห็ดรวก เห็ดไผ่
  • อาหารพื้นบ้านมีอยู่หลายชนิดที่เป็นอาหารขึ้นชื่อที่ชาวต่างจังหวัดที่มาท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรีนิยมสั่งรับประทาน เช่น ยำเห็ดโคน ต้มยำปลายี่สก ปลารากกล้วยทอด แกงป่าปลาคัง และแกงป่าไก่ไทย นอกจากนี้ยังมีอาหารอีกประเภทหนึ่งที่ชาวจังหวัดกาญจนบุรีนิยมทำรับประทานมาตั้งแต่สมัยโบราณ คือแกงป่าที่ปรุงจากวัตถุดิบที่หาได้จากป่า ปลาแม่น้ำ ข้าวต้มมัดไต้ ข้าวหลาม ขนมจีน วุ้นเส้น
  • กิริยามารยาทชาวกาญจนบุรีจะเป็นแบบบ้าน ๆ เรียบง่ายถือคำสัตย์หากเป็นนักเลงก็เป็นนักเลงที่มีสัจจะอยู่กันแบบสันติไม่ชอบวิวาทกับใครแต่หากมีใครล่วงเกินก็ไม่ยอมใครเช่นกัน
  • วิถีการดำเนินชีวิตแบบไทยเดิม ครอบครัวที่อยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ ปู่ ย่า ตา ยาย และญาติพี่น้องยังอยู่รวมกัน มีความเคารพตามลำดับอาวุโส
  • รำเหย่ย เป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวกาญจนบุรีมาแต่บรรพกาลราว ๆ 500 ปีเศษมาแล้ว จะเล่นกันในเทศกาลตรุษสงกรานต์ ปีใหม่ เป็นต้น วิธีการเล่นคือ ฝ่ายชายฝ่ายหญิงยืนล้อมวงกัน มีการร้องนำ ร้องแก้ และลูกคู่ ร้องรับพร้อมปรบมือเป็นจังหวะ

งานเทศกาลประเพณี

  • งานวันอาบน้ำแร่แช่น้ำตก จัดขึ้นบริเวณพุน้ำร้อนหินดาด หมู่ 5 ตำบลหินดาด อำเภอทองผาภูมิ ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ภายในงานมีกิจกรรมออกร้านผลิตผลและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร นิทรรศการการท่องเที่ยวของอำเภอทองผาภูมิ นักท่องเที่ยวยังจะได้อาบน้ำแร่ที่พุน้ำร้อนหินดาดและเที่ยวชมความงามของน้ำตกผาดาด
  • งานเทศกาลชาวเรือชาวแพ จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ที่บริเวณถนนสองแคว ริมน้ำหน้าเมืองกาญจนบุรี ภายในงานมีกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน การแสดงมหกรรมลูกทุ่ง นิทรรศการทางวิชาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์แม่น้ำลำคลอง และการแข่งขันกีฬาทางน้ำประเภทต่าง ๆ อาทิ เรือยาว เรือเร็ว เจ็ตสกี เป็นต้น
  • งานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว จัดขึ้นทุกปีบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำแคว ในราวปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม เพื่อรำลึกถึงความสำคัญของการสร้างทางรถไฟสายมรณะและสะพานข้ามแม่น้ำแคว ซึ่งเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการแสดงนิทรรศการทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี การแสดงพื้นบ้าน การออกร้านจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ กิจกรรมบันเทิงและการแสดงแสงและเสียง
  • งานสงกรานต์วัฒนธรรมหมู่บ้านหนองขาว บ้านหนองขาวคือหมู่บ้านที่มีการรักษาขนบธรรรมเนียมประเพณีเอาไว้ตลอดหลายชั่วอายุคน และมรดกเหล่านีถูกนำเสนอมาแสดงออกผ่านเทศการประจำปีของหมู่บ้านที่จัดในช่วงวันสงกรานต์ โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงเช้าตรู่ที่ชาวบ้านจะร่วมทำบุญตักบาตร จากนั้นในช่วงสายจะมีการประกวดธิดาเกวียนของแต่ละหมู่บ้าน การละเล่นพื้นบ้านต่าง ๆ ที่สร้างความสามัคคีขงอชาวบ้านภายในหมู่บ้าน การจำลองวิธีชิวีตของชาวบ้าน เช่น การทำขนมจีนสูตรพื้นบ้าน การทำตาลโตนต การทอผ้าซิ่น การแข่งขักิฬาเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในหมู่บ้าน
  • งานเทศการเห็ดโคน และอัญมณี อำเภอบ่อพลอย จัดขึ้นในช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี ภาย ในงานมีการจัดแสดงนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับวงจรชีวิตของเห็ดโคน ที่ยังไม่สามารถเพราะพันธ์ได้ การสาธิตแปรรูปอาหารจากเห็ดโคน สามารถเลือกชิมได้และยังมีการจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับการทำเหมืองพลอย การเจียระไนพลอย รวมถึงการออกร้านจำหน่ายอัญมณีจากหลายร้านด้วย
  • งานสงกรานต์มอญ จัดขึ้ในช่วงวันที่ 13 -15 เมษยนของทุกปี ที่บริเวณวัดวังก์วิเวการาม ช่วงเช้าชาวบ้านมากหน้าหลายตาจะพากันมาทำบุญตักบาตร์อย่างเนื่องแน่น มีการก่อเจดีย์ทรายขนาดใหญ่ การรดน้ำพระสงฆ์มอญ และวันนี้ชาวมอญจะมีการแต่งตัวด้วยเสือผ้าแบบมอญที่สวยงาม มีกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน อย่างการละเล่นสะบ้าที่หาดูได้ยาก และมีอาหารพื้นบ้านแบบมอญให้ชิมด้วย
  • ประเพณีฟาดข้าวชาวกะเหรี่ยง อยู่ที่ ต.ไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี เป็นงานประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมานานแต่โบราณ นับว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น หรื่อความสามารถของผู้เฒ่าผู้แก่ที่จะให้ลูหลานมีความสมานสามัคคีกันไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ยังมาช่วยเหลือซื่งกันและกัน
  • งานแผ่นดินสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว "วันสร้างเมืองกาญจนบุรี" จัดขึ้นเพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีต่อชาวจังหวัดกาญจนบุรีให้ประชาชนเกิดความสำนึกในคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เป็นการสร้างเสริมอนุรักษ์มรดกทางประวัติศาสตร์เมืองกาญจนบุรี และเพื่อให้ภาครัฐ เอกชนและประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรม

สำหรับกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การจัดนิทรรศการ และกิจกรรมออกร้านจำหน่ายสินค้าชุมชน ท้องถิ่น พร้อมทั้งชมการแสดงต่าง ๆ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 มีพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวเมืองกาญจนบุรีนานัปการ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯย้านเมืองกาญจนบุรีจากที่ตั้งเดิมมาที่ปัจจุบันและให้สร้างกำแพงเมืองกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2374 ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 ปีเถาะ ทรงสร้างหลักเมือง วัดถาวรวราราม หรือวัดญวณ และได้ทรงบูรณะวัดเทวสังฆาราม พระอารามหลวง หรือวัดเหนือ นับว่าพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์มีพระคุณยิ่งต่อชาวจังหวัดกาญจนบุรีและต่อประเทศไทย

  • งานสมโภชศาลหลักเมืองกาญจนบุรี มีการจัดงานประจำปีศาลเจ้าพ่อหลักเมือง โดยมีพิธีทางสงฆ์และพิธีทางพราหมณ์ ในพิธีบวงสรวงนี้ มีทั้งพิธีทางสงฆ์และพิธีทางพรามณ์จะเป็นการอัญเชิญเทพยาดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่สถิตปกปักรักษาเมืองกาญจนบุรี มารับการบวงสรวง ซึ่งพิธีบวงสรวงดังกล่าวได้มีการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อความเป็นสิริมงคลของประชาชนในจังหวัดกาญจนบุรี ภายในงานจะมีสินค้าจำหน่ายให้กับผู้ที่มาเที่ยวชมภายในมากมาย นอกจากนี้กลางคืน ยังมีการแสดงคอนเสิร์ตจากศิลปิน ที่มีชื่อเสียงและการแสดงมหรสพสมโภชอย่างยิ่งใหญ่

ศาลหลักเมืองกาญจนบุรี ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของประตูเมืองกาญจนบุรี ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี มีลักษณะเป็นอาคารทรงไทยจตุรมุข ตัวอาคารภายในเปิดโล่ง ภายในประดิษฐานเสาหลักเมืองเป็นเสาไม้หัวเม็ด สูง 1 เมตร ลงรักปิดทอง สร้างขึ้นในสมัยพระยาประสิทธิสงคราม หรือท่านรามภักดี ศรีวิเศษ ชาวกาญจนบุรีเรียกท่านว่า “เจ้าเมืองตาแดง” เป็นเจ้าเมืองคนที่สองในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้ทำนุบำรุงเมืองหลายอย่าง เช่น สร้างกำแพงเมือง ขุดคูเมือง ป้องปราการ ประตูเมืองและศาลหลักเมือง อีกทั้งยังได้สร้างศิลาจารึกประวัติการสร้างเมืองกาญจนบุรี ซึ่งยังคงมีอยู่ ณ ศาลหลักเมืองในปัจจุบัน ใช้อักษรภาษาไทยบันทึกเรื่องราวการสร้างเมืองกาญจนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2374 ศาลหลักเมืองกาญจนบุรี เป็นสถานที่เคารพสักการะบูชาของชาวเมืองกาญจนบุรีตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเทศบาลเมืองกาญจนบุรีได้จัดงานสมโภชศาลหลักเมืองขึ้นในวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปีเป็นเวลา 11 วัน 11 คืน

  • ประเพณีสงกรานต์แห่ปราสาทผึ้ง เป็นประเพณีที่สืบทอดมายาวนาน การทำบุญตักบาตร การสรงน้ำพระพุทธรูป การละเล่นพื้นบ้าน ชมการแสดงมหรสพ และร่วมสนุกกับกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งนี้ ประเพณีการ แห่ปราสาทผึ้งของชาวหนองปรือเกิดขึ้นจากรากฐานความเชื่อของบรรพบุรุษของชาวหนองปรือที่มีเชื้อสายมาจากชาวเวียงจันทน์ซึ่งมีความเชื่อว่าการได้ถวายน้ำผึ้งเป็นพุทธบูชาจะได้อานิสงส์ยิ่ง ตามที่กล่าวไว้ในพุทธประวัติ จึงทำให้เกิดประเพณีการตีผึ้งขึ้นในเดือนเมษายน ชาวบ้านที่เป็นชายจะหยุดกิจการงานทั้งปวง เพื่อออกหาผึ้งและนำน้ำผึ้งมาถวายพระสงฆ์ ส่วนรังผึ้งชาวบ้านจะนำมารวมกันแล้วเคี่ยวทำเป็นเทียนจุดให้ แสงสว่างแก่พระสงฆ์เพื่อพระสงฆ์จะได้ใช้จุดให้แสงสว่างเวลาศึกษาพระธรรมในตอนกลางคืนหรือจุดบูชาพระ อีกส่วนหนึ่งจะนำมาทำเป็นปราสาท แกะสลักตกแต่งอย่างสวยงาม และแห่ไปถวายพระสงฆ์ที่วัดกิจกรรมภายในงาน ได้แก่ การแห่ปราสาทผึ้งด้วยริ้วขบวนรถที่มีการประดับตกแต่งอย่างสวยงาม ริ้วขบวนของชุมชนต่าง ๆ การทำบุญตักบาตรและสรงน้ำพระที่วัดของชุมชน การแสดงการละเล่นพื้นบ้านที่หา ชมได้ยากเป็นการละเล่นประจำถิ่น การชมมหรสพดนตรี และการออกร้านจำหน่ายสินค้า เลือกหาเลือกซื้อได้อย่างมากมาย
  • งานบุญเดือน 10 ลอยเรือสะเดาะเคราะห์ เป็นงานบุญประจำปีของชาวไทยเชื้อสายมอญ หรือแม้แต่ชาวมอญที่อาศัยอยู่ในประเทศพม่าโดยยึดถือปฏิบัติมาเป็นเวลาช้านาน

สำหรับประเพณีลอยเรือสะเดาะเคราะห์ชาวไทยรามัญอำเภอสังขละบุรี ถือเป็นงานประเพณีที่เป็นการสืบสานวัฒนธรรมเก่าแก่มายาวนาน และเป็นประเพณีตามความเชื่อของคนไทยเชื้อสายมอญ ที่ถือเป็นจุดรวมแห่งความมีศรัทธาต่อหลวงพ่ออุตตมะ ที่วัดวังก์วิเวการาม กำหนดจัด 3 วัน ในวันขึ้น 14-15 ค่ำ และแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการบูชาเทวดาที่อยู่ในน้ำ ในป่า และบนบก อีกทั้งเพื่อสืบสานประเพณีดั้งเดิมของกลุ่มชน ตลอดทั้งเป็นการเผยแพร่ประเพณีลอยเรือสะเดาะเคราะห์ให้แก่ชุมชน ประชาชน และนักท่องเที่ยวได้ศึกษาเรียนรู้

  • ประเพณีรดน้ำต้นโพธิ์ และออกร้านตลาดนิพพาน ที่วัดวังก์วิเวการาม อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี มีประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน และถือปฏิบัติกันในทุกวันเพ็ญเดือน ๖ นี้ด้วย นั่นคือ “ประเพณีรดน้ำต้นโพธิ์” ซึ่งแต่เดิมเป็นพิธีที่พุทธศาสนิกชนในพม่าปฏิบัติกันในวันวิสาขบูชา แต่สำหรับในประเทศไทยนั้น จะพบได้ที่ชุมชนชาวมอญสังขละบุรี ที่วัดวังก์วิเวการาม แห่งนี้เพียงแห่งเดียวเท่านั้น

สำหรับความเป็นมาของประเพณีรดน้ำต้นโพธิ์ เกิดขึ้นในสมัยใดของเมืองมอญนั้นไม่ทราบแน่ชัด ส่วนในชุมชนคนมอญวัดวังก์วิเวการาม เมื่อครั้งยังตั้งชุมชนอยู่ที่อำเภอสังขละบุรีเก่า ก่อนจะถูกน้ำท่วมจากการสร้างเขื่อนวชิราลงกรณ (บริเวณที่เป็น “เมืองบาดาล” ในปัจจุบัน) ยังไม่มีประเพณีนี้เกิดขึ้น เพราะไม่มีต้นโพธิ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 เมื่อครั้งที่หลวงพ่ออุตตมะเดินทางไปอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อนำมาประดิษฐานไว้บนยอดเจดีย์พุทธคยา หลวงพ่ออุตตมะได้อัญเชิญต้นหน่อพระศรีมหาโพธิ์ ที่ได้รับพระราชทานมาจากสมเด็จพระสังฆราชแห่งประเทศศรีลังกา มาพร้อมกันด้วย เมื่อวันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2530 สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้เสด็จมาทรงปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์นี้ไว้ ที่บริเวณลานเจดีย์พุทธคยา ของวัดวังก์วิเวการาม ตั้งแต่นั้นมา หลวงพ่ออุตตมะจึงได้รื้อฟื้นให้มีประเพณีรดน้ำต้นโพธิ์ขึ้น เหมือนที่เมืองมอญบ้านเกิดของท่าน ในทุกวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี โดยในช่วงเย็นถึงค่ำ ชาวมอญจะพร้อมใจกันนำน้ำอบ น้ำหอม น้ำสะอาดลอยด้วยดอกไม้ มาร่วมกันรดน้ำต้นพระศรีมหาโพธิ์ผ่านรางกระบอกไม้ไผ่ จนได้กลายมาเป็น “ประเพณีรดน้ำต้นโพธิ์” ของชุมชนมอญสังขละบุรี

  • ประเพณียกธงสงกรานต์ ประเพณีสำคัญของชาวเบญพาด ตำบลพังตรุ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ที่ชาวบ้านสืบต่อกันมามากกว่า 100 ปี ผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่ 13 บ้านเบญพาด เล่าว่า เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ชาวบ้านจะร่วมกันทำธงตลอด 5 วัน คือตั้งแต่วันที่ 13 จนถึงพิธีแห่วันที่ 17 เม.ย. ของทุกปีเริ่มจากชาวบ้านแต่ละหมู่บ้าน จะเข้าไปหาต้นไผ่ลำต้นยาวตรงและมีกิ่งก้านแตกแขนง นำมาใช้เป็น “ธง” และจะช่วยกันเย็บผ้าผืนใหญ่ที่มีความยาวพอดีกับความสูงของต้นไผ่ ประดับด้วยลูกปัดสวยงาม ทำเป็น “ผ้าธง” อันเป็นสองส่วนประกอบหลักของธงสงกรานต์ ส่วนของกิ่งก้านบริเวณปลายต้นไผ่ชาวบ้านจะช่วยกันประดิษฐ์ของตกแต่ง เช่น ใยแมงมุม ดอกไม้ ปลาตะเพียนสาน นกสาน ตะกร้อ หรือแล้วแต่ธีมของหมู่บ้านนั้นที่ตกลงกัน ในอดีตของตกแต่งธงจะใช้พวกเศษผ้าสี ใบลาน ใบตาล ปุยฝ้าย หรือของประดิษฐ์จากธรรมชาติ
  • ประเพณีตักบาตรดอกไม้ ในจังหวัดกาญจนบุรีมีที่วัดดอนคราม ตำบลเขาน้อย อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี เพียงที่เดียวประชาชนตำบลเขาน้อย จะร่วมตักบาตรดอกไม้ เนื่องในวันอาสาฬบูชา และเทศกาลเข้าพรรษาโดยเป็นประเพณีที่ยึดถือกันมาอย่างยาวนาน จะมีประชาชนนำดอกไม้นานชนิดมาร่วมตักบาตรให้กับพระภิกษุสงฆ์ตามความเชื่อในสมัยพุทธกาล ก่อนที่จะนำไปถวายแด่องค์พระพุทธและถาวรวัตถุต่าง ๆ ภายในวัดดอนครามแห่งนี้ ถือเป็นประเพณีที่บุญกุศลอันยิ่งใหญ่และสวยงามจากพันธุ์ดอกไม้นานาชนิดโดยเฉพาะดอกบัว ดอกกระเจียว ดอกดาวเรืองจะที่เป็นที่นิยมนำมาใส่บาตรกัน
  • ประเพณีร่อยพรรษา เป็นประเพณีที่ช่วยส่งเสริมทำนุบำรุงศาสนาให้คงอยู่โดยการสนับสนุนกำลังปัจจัยสิ่งของต่าง ๆ นำเข้าวัด โดยใช้เพลงร่อยพรรษาซึ่งเป็นเพลงพื้นบ้านของจังหวัดกาญจนบุรี เป็นการตั้งใจร้อง เพราะมีความศรัทธาในการทำบุญทางพระพุทธศาสนาเป็นหลัก

เพลงร่อยพรรษามักร้องก่อนวันออกพรรษา วันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 11 เป็นต้นไป จนถึงวันออกพรรษา คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ผู้ร้องเพลงร่อยพรรษาส่วนมากจะเป็นผู้สูงอายุ จะร้องประมาณ 7 - 10 คน จะหาบกระบุงหรือตะกร้าออกเดินไปตามบ้านต่าง ๆ เมื่อเจ้าของบ้านได้ยินก็จะนำเงินหรือสิ่งของ ได้แก่ ข้าวสาร ขนม หรือผลไม้ ออกมาให้ หัวหน้าคนร่อยพรรษาก็จะนำไปถวายพระ เวลาออกไปร้องร่อยพรรษามักเป็นเวลากลางคืน เนื่องจากกลางวันคนมักจะออกไปทำนาทำไร่กันหมด

โครงสร้างพื้นฐาน

การศึกษา

อุดมศึกษา
โรงเรียน

สาธารณสุข

โรงพยาบาลรัฐบาล
โรงพยาบาลเอกชน
  • โรงพยาบาลกาญจนบุรีเมโมเรียล
  • โรงพยาบาลธนกาญจน์
  • โรงพยาบาลแสงชูโต

ที่สุดในประเทศไทย

สถานที่สำคัญ

เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มีอนุสรณสถานหลายแห่งปรากฏให้เห็นเป็นหลักฐาน เช่น สะพานข้ามแม่น้ำแคว สุสานทหารสัมพันธมิตร พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด ฯลฯ

อุทยาน
อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์
น้ำตก
น้ำพุร้อน
  • น้ำพุร้อนหินดาด
เขื่อน
วัด
  • วัดสิริกาญจนาราม (ยุต) (วัดเขาพุรางบน) ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมืองกาญจนบุรี
  • วัดไชยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) (หลวง)
  • วัดสระลงเรือ (เรือสุพรรณหงส์จำลองที่ใหญ่ที่สุดในโลก)
  • วัดทิพย์สุคนธาราม (พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์)
  • วัดสุนันทวนาราม
  • วัดวังก์วิเวการาม (วัดหลวงพ่ออุตตมะ)
  • วัดวังขนายทายิการาม (มีบ่อน้ำแร่)
  • วัดป่าหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (วัดเลี้ยงเสือ)
  • วัดถ้ำเสือ-วัดถ้ำเขาน้อย
  • วัดเมตตาธรรมโพธิญาณ
  • วัดถ้ำพรหมโลกเขาใหญ่ (พระอาจารย์วินัยธรวันชัย ปัญญาสาโร หลวงพ่อล้าน)
  • วัดพ่อขุนเณร (เขื่อนศรีนครินทร์)
  • วัดพระแท่นดงรัง (หลวง)
  • วัดถาวรวราราม (วัดญวณ)
  • วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) (หลวง)
  • วัดบ้านถ้ำ (มังที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ)
อื่น ๆ
สะพานข้ามแม่น้ำแคว (ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. 2552)
สนามกีฬา
  • สนามกีฬาจังหวัดกาญจนบุรี (สนามกลีบบัว)
  • สนามกีฬา36 พรรษา สยามบรมราชกุมารี
  • สนามกีฬาสมเด็จพระญาณสังวร
  • สนามกีฬา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  • สนามกีฬาท่าม่วง
  • สนามกีฬาสังขละบุรี

บุคคลสำคัญ

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

เมืองพี่เมืองน้อง

  • ธงของประเทศจีน จีน เขตการปกครองตนเองชนชาติอี๋เหลียงซาน มณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 "ประวัติศาสตร์ จังหวัดกาญจนบุรี." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.oceansmile.com/K/Kanjanaburi/Kan1.htm สืบค้น 28 พฤษภาคม 2561.
  2. "ประวัติความเป็นมาของจังหวัดราชบุรี." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.finearts.go.th/fad1/parameters/km/item/ประวัติความเป็นมาของจังหวัดราชบุรี.html สืบค้น 28 พฤษภาคม 2561.
  3. “ศรีศัมพูกปัฏฏนะ” วิษัยนครตะวันตก .....ที่สาบสูญ สืบค้น 28 พฤษภาคม 2561.
  4. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. กระทรวงมหาดไทย. "สรุปข้อมูล อปท ทั่วประเทศ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dla.go.th/work/abt/index.jsp 2556. สืบค้น 20 กันยายน 2556.
  5. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/ 2561. สืบค้น 6 กุมภาพันธ์ 2561.
  6. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 จังหวัดกาญจนบุรี." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/views/showDistrictData.php?rcode=71&statType=1&year=60 สืบค้น 28 พฤษภาคม 2561.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

14°0′15″N 99°32′57″E / 14.00417°N 99.54917°E / 14.00417; 99.54917