ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฉบับร่าง:เวทีทอง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 176: บรรทัด 176:
ในปี [[พ.ศ. 2539]] - [[พ.ศ. 2540|พ.ศ. 2546]] เกมรอบตกรอบได้มีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง โดยจะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้ง 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลัก 10 แผ่นป้าย (เป็นรูปตลับแป้งแบบเปิด ต่อมาเป็นรูปลิปสติก) หมายถึงได้ทองคำป้ายละ 1 บาท และป้ายหยุด 2 แผ่นป้าย (เป็นรูปตลับแป้งแบบปิด ต่อมาเป็นรูปปากและรูปกุ๊กกิ๊ก-กุ๊กหม่ำ) ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันเปิดได้ป้ายหยุด 2 แผ่นป้าย หรือ เปิดได้ป้ายผู้สนับสนุนหลักก็จะได้ทองคำหนักครึ่งกิโลกรัม ถ้าหากเปิดเจอป้ายหยุด เกมจะหยุดทันทีและได้ทองคำตามที่สะสมไว้ แต่ถ้าป้ายแรกเป็นป้ายหยุด แล้วป้ายต่อไปเป็นผู้สนับสนุนหลัก เกมจะหยุดทันทีและได้รับทองคำหนัก 1 บาทไปด้วย แต่ในบางครั้งแถมเพื่อเจอสปอนเซอร์หลักแล้วแต่วัตถุประสงค์ของพิธีกร
ในปี [[พ.ศ. 2539]] - [[พ.ศ. 2540|พ.ศ. 2546]] เกมรอบตกรอบได้มีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง โดยจะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้ง 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลัก 10 แผ่นป้าย (เป็นรูปตลับแป้งแบบเปิด ต่อมาเป็นรูปลิปสติก) หมายถึงได้ทองคำป้ายละ 1 บาท และป้ายหยุด 2 แผ่นป้าย (เป็นรูปตลับแป้งแบบปิด ต่อมาเป็นรูปปากและรูปกุ๊กกิ๊ก-กุ๊กหม่ำ) ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันเปิดได้ป้ายหยุด 2 แผ่นป้าย หรือ เปิดได้ป้ายผู้สนับสนุนหลักก็จะได้ทองคำหนักครึ่งกิโลกรัม ถ้าหากเปิดเจอป้ายหยุด เกมจะหยุดทันทีและได้ทองคำตามที่สะสมไว้ แต่ถ้าป้ายแรกเป็นป้ายหยุด แล้วป้ายต่อไปเป็นผู้สนับสนุนหลัก เกมจะหยุดทันทีและได้รับทองคำหนัก 1 บาทไปด้วย แต่ในบางครั้งแถมเพื่อเจอสปอนเซอร์หลักแล้วแต่วัตถุประสงค์ของพิธีกร


ในปี [[พ.ศ. 2546]] - [[พ.ศ. 2550]] เกมรอบตกรอบยังแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการ 12 แผ่นป้ายเช่นเดิม แต่ได้ปรับแบ่งเป็นป้ายผู้สนับสนุนหลักเป็น 9 แผ่นป้ายและป้ายหยุด 3 แผ่นป้าย (เป็นรูปกัปตันกิ๊กบนเรือดำน้ำ/กัปตันหม่ำบนเรือยอร์ช/กัปตันต้อยบนเรือหางยาว ต่อมาเป็นรูปกับดัก (ตาข่าย/ปากฉลาม/เชือกห้อยหัว) , ใบแดง/ใบหนาด/ใบบัวบก และ รูปตัวกินคุกกี้ แอนดี้/ภูมิ/ดร.พัน) โดยเมื่อเปิดป้ายผู้สนับสนุน หมายถึงได้ทองคำป้ายละ 1 บาท (ต่อมาเปลี่ยนเป็นทองคำมูลค่าป้ายละ 10,000 บาท) ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดเจอป้ายผู้สนับสนุนหลักครบ 9 แผ่นป้ายจะได้รับทองคำหนักครึ่งกิโลกรัม (ต่อมาเปลี่ยนเป็นทองคำมูลค่า 300,000 บาท) ถ้าหากเปิดเจอป้ายหยุด เกมจะหยุดทันทีและได้ทองคำตามที่สะสมไว้ แต่ถ้าเปิดเจอป้ายหยุดเป็นป้ายแรกก็จะไม่ได้ทองคำในเกมนี้เลย แต่ในช่วงปี [[พ.ศ. 2547]] - [[พ.ศ. 2548]] เมื่อเปิดป้ายกับดักผู้เข้าแข่งขันจะถูกขังในกรงใหญ่และได้ทองตามจำนวนที่เปิดมาได้ แต่หากป้ายแรกเป็นกับดัก ก็จะไม่ได้รับทองคำในรอบนี้ และในปี [[พ.ศ. 2549]] เมื่อเปิดป้ายหยุดจะได้สิ่งของตามป้ายที่ได้เลือก เช่นเปิดได้ใบแดง ก็จะได้ใบแดง คล้ายกับรอบ Jackpot ของเวทีทองปี 2546
ในปี [[พ.ศ. 2546]] - [[พ.ศ. 2550]] เกมรอบตกรอบยังแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการ 12 แผ่นป้ายเช่นเดิม แต่ได้ปรับแบ่งเป็นป้ายผู้สนับสนุนหลักเป็น 9 แผ่นป้ายและป้ายหยุด 3 แผ่นป้าย (เป็นรูปกัปตันกิ๊กบนเรือดำน้ำ/กัปตันหม่ำบนเรือยอร์ช/กัปตันต้อยบนเรือหางยาว ต่อมาเป็นรูปกับดัก (ตาข่าย/ปากฉลาม/เชือกห้อยหัว) , ใบแดง/ใบหนาด/ใบบัวบก และ รูปตัวกินคุกกี้ แอนดี้/ภูมิ/ดร.พัน) โดยเมื่อเปิดป้ายผู้สนับสนุน หมายถึงได้ทองคำป้ายละ 1 บาท (ต่อมาเปลี่ยนเป็นทองคำมูลค่าป้ายละ 10,000 บาท) ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดเจอป้ายผู้สนับสนุนหลักครบ 9 แผ่นป้ายจะได้รับทองคำหนักครึ่งกิโลกรัม (ต่อมาเปลี่ยนเป็นทองคำมูลค่า 300,000 บาท) ถ้าหากเปิดเจอป้ายหยุด เกมจะหยุดทันทีและได้ทองคำตามที่สะสมไว้ แต่ถ้าเปิดเจอป้ายหยุดเป็นป้ายแรกก็จะไม่ได้ทองคำในเกมนี้เลย แต่ในช่วงปี [[พ.ศ. 2547]] - [[พ.ศ. 2548]] เมื่อเปิดป้ายกับดักผู้เข้าแข่งขันจะถูกขังในกรงใหญ่และได้ทองตามจำนวนที่เปิดมาได้ แต่หากป้ายแรกเป็นกับดัก ก็จะไม่ได้รับทองคำในรอบนี้ และในปี [[พ.ศ. 2549]] เมื่อเปิดป้ายหยุดจะได้สิ่งของตามป้ายที่ได้เลือก เช่นเปิดได้ใบแดง ก็จะได้ใบแดง คล้ายกับรอบ Jackpot ของเวทีทองปี 2546 แต่ในบางครั้งจะแถมเพื่อเจอสปอนเซอร์หลักหรือตัวหยุดแล้วแต่วัตถุประสงค์ของพิธีกร


=== รอบสุดท้าย ===
=== รอบสุดท้าย ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:15, 30 พฤศจิกายน 2561

เวทีทอง
ไฟล์:เวทีทอง 2532.JPG
สัญลักษณ์รายการเวทีทองเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2533
ประเภทเกมโชว์
พัฒนาโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)
เสนอโดยเกียรติศักดิ์ อุดมนาค (2559 - ปัจจุบัน)
แจ๊ส ชวนชื่น (2559 - ปัจจุบัน)
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย
ภาษาต้นฉบับไทย
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตปัญญา นิรันดร์กุล
ประภาส ชลศรานนท์
สถานที่ถ่ายทำสตูดิโอ ช่อง 7 สี
สตูดิโอ กรุงเทพ
สตูดิโอ เวิร์คพอยท์
ความยาวตอน75 นาที (2559 - ปัจจุบัน)
ออกอากาศ
เครือข่ายช่องเวิร์คพอยท์ (2559 - ปัจจุบัน)
ออกอากาศ14 ตุลาคม พ.ศ. 2532 –
ปัจจุบัน
การแสดงที่เกี่ยวข้อง
เวทีทอง เวทีเธอ

เวทีทอง เป็นรายการเกมโชว์และรายการโทรทัศน์รายการแรกของบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2532 ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 และย้ายไปออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อวันเสาร์ ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2541 และย้ายไปออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก เมื่อวันเสาร์ ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2542 จนกระทั่งออกอากาศครั้งสุดท้ายเมื่อวันเสาร์ ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2550 โดยได้ผลิตรายการใหม่ รายการตู้ซ่อนเงินขึ้นมาแทน

ตั้งแต่วันอาทิตย์ ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2559 ได้กลับมาออกอากาศอีกครั้งทางช่องเวิร์คพอยท์[1][2]ในชื่อใหม่ เวทีทอง เวทีเธอ ออกอากาศทุกวันอาทิตย์เวลา 13:30 - 14:30 น.[3]

ประวัติ

รายการเวทีทอง ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2532 โดยรูปแบบรายการเวทีทองในยุคแรก (14 ตุลาคม พ.ศ. 2532 - 25 สิงหาคม พ.ศ. 2533) เป็นการเปิดโอกาสให้นักแสดงอาชีพสมัครเล่นที่มีความสามารถมาแสดงอะไรก็ได้บนเวที หลังวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2533 ได้ปรับรูปแบบรายการเป็นรายการเกมโชว์เกี่ยวกับภาษา ซึ่งรายการเวทีทอง มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบรายการอยู่หลายครั้ง[ต้องการอ้างอิง]

ชื่อรายการ

ไฟล์:เวทีทอง 2532.JPG
ยุคแรกรายการ เวทีทอง ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2532

มีการเปลี่ยนชื่อรายการหลายครั้ง ดังนี้

ระยะเวลาการออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศ วัน เวลา ช่วงระหว่าง
สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เสาร์ 15.30 - 16.30 น. 14 ตุลาคม พ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2535
14.30 - 15.30 น. พ.ศ. 2535 - 2538
อาทิตย์ 11:20 - 12:20 น. พ.ศ. 2539 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2540
สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เสาร์ 09:15 - 10:30 น. 3 มกราคม - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541
09:00 - 10:15 น. 7 มีนาคม พ.ศ. 2541 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก 12:05 - 13:00 น. 7 สิงหาคม พ.ศ. 2542 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2548
22:05 - 23:00 น. 7 มกราคม - 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
14:05 - 15:00 น. 4 มีนาคม - 26 สิงหาคม พ.ศ. 2549
22:05 - 23:00 น. 2 กันยายน พ.ศ. 2549 - 13 มกราคม พ.ศ. 2550
ช่องเวิร์คพอยท์ อาทิตย์ 13:30 - 14:30 น. 10 มกราคม พ.ศ. 2559 -
13:30 - 14:45 น. 2559 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560
13:30 - 14:30 น. 7 มกราคม พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน

สถานีที่ออกอากาศ

  1. สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 (14 ตุลาคม 2532 - 28 ธันวาคม 2540) รวม 7 ปี 2 เดือน 14 วัน เป็นยุคที่เริ่มต้นการออกอากาศของเวทีทอง ในบ่ายวันเสาร์เป็นเวลา 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นย้ายมาเป็นวันอาทิตย์ในช่วง 11 โมง พร้อมกับเพิ่มเวลาเป็น 1 ชั่วโมง 10 นาที ซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุดในยุคกิ๊ก-หม่ำ เมื่อปลายปี 2535 - 2540 จนกระทั่งต้องย้ายการออกอากาศเมื่อช่อง 7 ได้มีนโยบายออกมาให้ทุกรายการของสถานีผลิตรายการด้วยต้นทุนที่ต่ำลงเนื่องจากเหตุการณ์สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปี 2540 แต่ทางเวิร์คพอยท์ยอมรับนโยบายนี้ไม่ได้ จึงถอนทุกรายการออกจากสถานีทั้งหมด อาทิ "ชิงร้อยชิงล้าน" รวมถึง "เวทีทอง" ด้วย
  2. สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (3 มกราคม พ.ศ. 2541 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2542) รวม 1 ปี 7 เดือน 28 วัน ออกอากาศเป็นระยะเวลาน้อยที่สุด เป็นอยู่ที่เพิ่มเวลาออกอากาศเป็น 1 ชั่วโมง 15 นาทีพร้อมกับกลับมาออกอากาศวันเสาร์อีกครั้งและเป็นต้นกำเนิดของ "เวทีทอง Magic" ในยุคนี้ เวทีทองยุคนี้ทั้งย้ายช่อง, วัน ,เวลาออกอากาศ มาเป็น 9 โมงเช้าของวันเสาร์ ส่งผลให้ไม่ได้รับความนิยมมาก เท่าเดิมที่อยู่ช่อง 7[ต้องการอ้างอิง] และต้องย้ายการออกอากาศอีกครั้งเนื่องจากมีปัญหาด้านเวลาออกอากาศ[ต้องการอ้างอิง]
  • สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (7 สิงหาคม 2542 - 13 มกราคม 2550) รวม 7 ปี 4 เดือน 8 วัน ออกอากาศเป็นระยะเวลามากที่สุด เป็นยุคที่กลับมาออกอากาศ 1 ชั่วโมงอีกครั้ง พร้อมย้ายเวลาเป็นช่วง 11 โมง[ต้องการอ้างอิง] ,เที่ยงตรง ,บ่าย 2 ,และ 4 ทุ่มตามลำดับ มีชื่อเสียงมากที่สุดในยุค "เวทีทอง Magic" เมื่อปี 2542-2545 และได้รับความนิยมน้อยที่สุดในช่วง "เวทีทอง" ยุคดีเจภูมิและแอนดี้ ที่ย้ายเวลามาเป็น 4 ทุ่ม จนกระทั่งยุติการออกอากาศในที่สุด (ดูเพิ่มเติมในหัวข้อ "การยุติการออกอากาศ")
  • ช่องเวิร์คพอยท์ (10 มกราคม 2559 - ปัจจุบัน)

ผู้ดำเนินรายการ

ผู้ร่วมดำเนินรายการ

ตั้งแต่เวทีทอง ยุคที่ 5 และยุคซิกซ์ทีน เป็นต้นมาได้เพิ่มผู้ร่วมดำเนินรายการมาโดยส่วนมากจะมาในช่วงตอบจดหมายด้วยกันและเป็นผู้ช่วยดำเนินรายการพร้อมโชว์มุขตลกในรายการด้วย

ช่วงต่างๆ ในรายการ

  1. เปิดตัวผู้เข้าแข่งขัน (นับตั้งแต่เวทีทอง เมจิก ช่วงปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมามีช่วงตอบจดหมาย ในยุคสุดท้ายจะเป็นช่วงโชว์การแสดงต่างๆ)
  2. สกัดดาวรุ่ง (พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2535) , ภาพปริศนา (ปริศนาจ๊กมก) (พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2550, พ.ศ. 2559)
  3. คำศัพท์ปริศนา (หาดาวทอง) (พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2545, พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2559), พาดหัวข่าว (พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2547)
  4. ข้อความปริศนา (พ.ศ. 2559)
  5. รอบตกรอบ (พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2550)
  6. รอบ Jackpot (ชั่งทอง พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2545, เปิดป้ายชิงทอง พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2550, กล่องทองคำปริศนา พ.ศ. 2559)

เกมในเวทีทอง

ในเกมเวทีทองของแต่ละยุคนั้นจะมีช่วงแต่ละช่วง

สกัดดาวรุ่ง

เป็นเกมที่จะต้องทายคำปริศนา โดยจะมีคำใบ้ต่างๆมาในรูปของ VTR เช่น การออกเสียงคำปริศนา (ผู้พูดจะพูดคำปริศนาออกมา แต่จะถูกดูดเสียงไว้ จะสังเกตได้ที่การออกเสียงจากการขยับปากเท่านั้น), คำปริศนาจะถูกออกเสียงด้วยเครื่องดนตรีแต่ละชนิดตามคำตอบ, จำนวนพยางค์ของคำปริศนา, ที่มาของคำปริศนา เป็นต้น ซึ่งผู้เข้าแข่งขันจะต้องแข่งกันกดสัญญาณไฟ โดยในช่วงปี พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2535 จะเป็นปุ่มไฟ 2 ปุ่มอยู่ด้านหน้า และด้านหลังของผู้เข้าแข่งขัน ซึ่งผู้เข้าแข่งขันจะต้องวิ่งไปกดทั้ง 2 ปุ่ม ส่วนในปี พ.ศ. 2535 (และใช้จนถึงจนถึงเทปสุดท้ายของรายการ) ได้เปลี่ยนมาเป็นแท่นวงจรไฟ 25 จุดที่ผู้เข้าแข่งขันจะต้องขึ้นไปเหยียบแท่นวงจรไฟเพื่อให้สัญญาณไฟติด ถ้ากดสัญญาณไฟได้แล้ว ผู้ที่กดสัญญาณไฟได้จะใช้สิทธิ์ตอบเองหรือโยนให้ผู้เล่นคนอื่นตอบก็ได้ ถ้าตอบถูกจะได้เข้ารอบต่อไป หรือเป็นดาวรุ่งนั่นเอง แต่ถ้าตอบผิดจะได้คะแนน -1 หากตอบผิดจนได้คะแนน -4 (ต่อมาในปี 2535 ลดเหลือ -3) จะถือว่าตกรอบทันที หรือเป็นดาวร่วงนั่นเอง เกมนี้ใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 - ปลายปี พ.ศ. 2535

ภาพปริศนา (ปริศนาจ๊กมก)

เกมนี้เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2536 โดยจะมีภาพปริศนาอยู่ทั้งหมด 5 ภาพ โดยแต่ละภาพจะสื่อถึงคำต่าง ๆ (โดยการเล่นเกมนั้นมีที่มาจากเกมผะหมี) ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทายคำศัพท์จากภาพนั้นให้ถูกต้อง โดยก่อนอื่นจะต้องแย่งกันกระโดดบนแท่นไฟ 25 ปุ่มให้ติด (ต่อมาในกลางปี พ.ศ. 2537 เป็น 16 ปุ่ม และปี พ.ศ. 2547 เป็น 5 ปุ่ม และในปี พ.ศ. 2559 เป็น 9 ปุ่ม) หากไฟติดที่ใคร ผู้นั้นจะได้สิทธิ์เลือกภาพจากทั้งหมด 5 ภาพ และจะมีเวลาให้ตอบในแต่ละภาพ ภาพละ 7 วินาที ถ้าตอบถูกจะได้ 1 คะแนน ใครได้ 2 คะแนนก่อนเข้ารอบทันที ทั้งนี้ ถ้าหมดเวลา 7 วินาทีแล้ว ผู้เข้าแข่งขันคนถัดไปจะมีสิทธิ์ตอบบ้าง แต่เมื่อครบ 3 คน (หรือ 2 คน หากมีผู้เข้ารอบไปแล้ว 1 คน) แล้วยังไม่มีใครตอบถูกอีก พิธีกรจะมีคำใบ้และให้ผู้เข้าแข่งขันตอบใหม่ และเกมก็จะวนเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีผู้ตอบถูก โดยรอบนี้คัดเข้ารอบ 2 คน ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา ทางรายการได้เปิดโอกาสให้ผู้ชมจากทางบ้านวาดภาพคำปริศนาส่งมาใช้เป็นคำถามในรายการ ในกรณีที่ได้ 2 คะแนนทั้ง 2 คน ถือว่าเกมจะจบลงทันที โดยถ้าภาพของผู้ใดได้ถูกนำมาใช้เป็นคำถามในรายการ เจ้าของภาพจะได้รับรางวัลเป็นเงินรางวัลจากผู้สนับสนุน 3,000 บาท (ภายหลังลดเหลือเพียง 1,000 บาท) และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ภาพปริศนาจะมีอยู่ทั้งหมด 2 ภาพ (หลังจากเทปที่ 9 จะมีภาพปริศนา 4 ภาพ) ภาพละ 10 คะแนน (หลังจากเทปแรก คะแนนลดเหลือ 5 คะแนน และผู้เข้าแข่งขันที่กดไฟติดในแต่ละภาพ จะได้รับสิทธิพิเศษ โดยมีเวลา 10 วินาทีในการตอบ) ซึ่งใน 9 เทปแรก ผู้เข้าแข่งขันท่านแรกที่ตอบถูกจะได้รับคะแนนสะสม และจะได้พัก ซึ่งผู้เข้าแข่งขันที่ตอบถูกในภาพที่ 2 จะได้รับคะแนนสะสมเช่นกัน ส่วนผู้เข้าแข่งขันอีกคนจะยังไม่ตกรอบ แต่จะไม่ได้รับคะแนนสะสมในรอบนี้แทน และหลังเทปที่ 9 ผู้เข้าแข่งขันที่ได้คะแนนสะสมครบ 10 คะแนนก่อนจะได้พัก

คำศัพท์ปริศนา (หาดาวทอง)

ในรอบนี้ ผู้เข้าแข่งขันที่เหลือ 2 คนจะต้องแข่งขันกันทายคำศัพท์ปริศนา โดยจะมีชุดคำถามอยู่ 4 ชุด ชุดละ 10 ข้อ ซึ่งคำถามจะถามถึงความหมายของคำปริศนา ซึ่งโจทย์จะมาในรูปของข้อความที่สื่อถึงคำศัพท์นั้น แล้วให้ผู้เข้าแข่งขันตอบออกมาเป็นคำศัพท์ปริศนา ถ้าตอบถูกข้อแรก พยางค์เริ่มต้นของคำนั้นจะเป็นพยางค์แรกของทุกคำที่เหลือในชุดนั้น แต่ถ้าผู้เข้าแข่งขันตอบคำถามข้อนั้นไม่ได้ จะต้องพูดคำว่า "ข้าม" หากว่าพิธีกรถามครบ 10 ข้อแล้ว ข้อใดที่ข้ามจะถูกนำมาถามซ้ำอีกครั้ง ทั้งนี้ เกมจะถูกแบ่งออกเป็น 2 รอบ รอบละ 60 วินาที (ภายหลังเหลือเพียง 45 วินาที) ในรอบแรกตอบถูกจะได้ข้อละ 1 คะแนน และรอบที่สองตอบถูกจะได้ข้อละ 2 คะแนน หากแข่งขันครบ 4 ชุด ผู้เข้าแข่งขันคนใดมีคะแนนมากกว่า จะเข้ารอบ Jackpot และถ้าผู้เข้าแข่งขันทำคะแนนเต็ม 30 คะแนนจะได้ทองคำ 1 บาท ถ้าหาก 2 คนมีคะแนนเท่ากัน ถือว่าเสมอ (รางวัลพิเศษเริ่มปรากฏให้เห็นชัดในช่วงกลางปี พ.ศ. 2535 และช่วงหนึ่งของปี พ.ศ. 2537 โดยเริ่มใช้เกมนี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2533 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2538, พ.ศ. 2539 และ พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2545

ในช่วงปี พ.ศ. 2540 ได้เปลี่ยนช่วงเป็นช่วงที่ 3 และเปลี่ยนคะแนนในรอบต่างๆ โดยรอบแรกตอบถูกจะได้ข้อละ 2 คะแนนและรอบที่ 2 ตอบถูกจะได้ข้อละ 4 คะแนน

ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2547 ในยุคของเวทีทอง ซิกซ์ทีนจนถึงยุติการออกอากาศในปี พ.ศ. 2550 ได้เปลี่ยนรูปแบบของรอบคำศัพท์ปริศนาเล็กน้อย จากเดิมที่ทายคำโดยมีข้อความมาให้ ได้ถูกเปลี่ยนเป็นการทายคำปริศนาจากภาพซึ่งแต่ละภาพจะสื่อความหมายเป็นคำ โดยอาจดูจากบริบทหรือบริเวณภาพที่ใกล้เคียง และเพิ่มชุดคำถามจาก 4 ชุดเป็น 6 ชุด (ภายหลังเป็น 4 ชุดตามกฎเดิม) ทั้งนี้ หากตอบถูกเป็นข้อแรก พยางค์เริ่มต้นของคำนั้นจะเป็นตัวขึ้นต้นของทุกคำที่เหลือในชุดนั้น และกฎกติกาอื่นๆ นั้นตามกฎเดิมทุกประการ

และในปี พ.ศ. 2559 จะมีคำปริศนา 3 ชุด โดยกติกาจะเหมือนกับในปี พ.ศ. 2533 ถึงปี พ.ศ. 2545 ทุกประการ แตกต่างกันที่ผู้เล่นแต่ละคนจะเล่นคำถามคนละชุด โดยให้เวลาชุดละ 60 วินาที ซึ่งผู้ที่ทายภาพปริศนาได้เป็นคนแรกจะมีสิทธิ์เลือกชุดคำก่อนตามลำดับ และคะแนนในรอบนี้จะสะสมรวมกับคะแนนในรอบภาพปริศนาด้วย

ทายคำตัวอักษร

ในช่วงปี พ.ศ. 2540 ได้เพิ่มเกมทายคำตัวอักษร โดยก่อนที่จะเล่นนั้นจะให้เลือกแผ่นป้ายทั้ง 10 แผ่นป้ายซึ่งในแต่ละป้ายจะมีเวลา 30, 45 และ 60 วินาทีโดยป้าย 30 และ 60 อย่างละป้ายส่วนป้าย 45 จะมี 8 แผ่นป้ายโดยผู้เข้าแข่งขันเลือกแผ่นป้ายเมื่อเลือกแผ่นป้ายผู้เล่นจะได้เวลาที่กำหนดจากป้ายที่เลือกและผู้เข้าแข่งขันเลือกชุดคำอยู่ 2 ชุดเมื่อเลือกแล้วพิธีกรจะเปิดชุดคำซึ่งจะมี 10 แถวแต่ละแถวนั้นรูปตัวการ์ตูนต่างๆแทนตัวพยัญชนะทั้ง 44 ตัวด้วยกันหรือจะเป็นตัวพยัญชนะแต่เป็นตัวกลับด้านแทนและรูปภาพบุคคลต่างๆที่มีความหมาย ส่วนสระนั้นยังคงอยู่ทั้งนี้ผู้เข้าแข่งขันต้องชี้รูปตัวการ์ตูนและทายตัวอักษรและตีความประโยคนั้นเมื่อหมดเวลาจะเฉลยแถวตัวอักษรที่เหลืออยู่โดยเมื่อนำมารวมกันจะได้เป็นบทความสั้นๆ และได้คะแนนตามแถวที่ได้ตอบถูก

พาดหัวข่าว

ในช่วงปี พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2547 เกมคำศัพท์ปริศนาได้ถูกยกเลิกไปชั่วคราว และเปลี่ยนมาเป็นเกมพาดหัวข่าว โดยจะมีภาพพาดหัวข่าวจากหนังสือพิมพ์ทั้งหมด 4 ภาพ โดยแต่ละภาพนั้นข้อความหรือคำในพาดหัวข่าวจะไม่ได้เรียงเป็นประโยค ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเลือกชุดพาดหัวข่าว 1 ชุด และจะต้องเรียงข้อความ หรือคำที่แบ่งออกมาได้ 9 คำในพาดหัวข่าวนั้นให้เป็นประโยคที่สมบูรณ์ โดยมีโอกาสเรียงข้อความ หรือภาพพาดหัวข่าวได้ 2 ครั้ง จะมีเวลา 30 วินาที ถ้าถูก 1 ช่อง ช่องละ 1 คะแนน (คะแนนเต็ม 9 คะแนน) ทั้งนี้ เมื่อหมดเวลาพิธีกรจะสับคัทเอาท์เพื่อดูว่าข้อความใดติดไฟ ถ้าข้อความใดไฟติดในแต่ละช่อง จะได้คะแนนช่องละ 1 คะแนน ส่วนชุดภาพข่าวจะมี 4 ชุดด้วยกันโดยแบ่ง 2 ชุดซึ่งชุดแรก (ชุดที่ 1- ชุดที่ 2) มี 1 คะแนน และชุดที่สอง (ชุดที่ 3- ชุดที่ 4) มี 2 คะแนน ผู้เข้าแข่งขันคนใดทำคะแนนได้มากที่สุดจะเข้ารอบ Jackpot ต่อไป และถ้าผู้เข้าแข่งขันคนใดที่สามารถเรียงข้อความถูกต้องทุกตำแหน่งในครั้งแรก หรือทำคะแนนได้ถึง 27 คะแนน (ทำคะแนนเต็มในพาดหัวข่าวทั้ง 2 รอบ) จะได้รับรางวัลพิเศษเป็นทองคำหนัก 1 บาทอีกด้วย (ผู้สนับสนุนในการแจกทองคำหนัก 1 บาทในรอบนี้คือ Fancy wine cocktail จาก Spy)

ข้อความปริศนา

ใช้ในปี พ.ศ. 2559 ในรอบนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเลือกเล่น 1 ชุด จาก 3 ชุดคำถาม เริ่มจากผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนสะสมจาก 2 รอบที่ผ่านมาน้อยที่สุดตามลำดับ โดยในชุดคำถามแต่ละชุดจะมีข้อความ ซึ่งคำถามจะมีคำตอบเป็นคำแรกมาให้ และโจทย์จะมาในรูปข้อความที่สื่อถึงศัพท์หลังคำแรกที่กำหนดมาให้ ถ้าผู้เข้าแข่งขันตอบคำถามข้อนั้นไม่ได้ จะต้องพูดคำว่า "ข้าม" หากว่าพิธีกรถามครบ 10 ข้อแล้ว ข้อใดที่ข้ามจะถูกนำมาถามซ้ำอีกครั้ง โดยผู้เข้าแข่งขันมีเวลา 60 วินาทีเพื่อตอบข้อความปริศนาให้ได้มากที่สุด โดยทุกข้อความที่ตอบถูกจะได้ข้อละ 2 คะแนน ผู้เข้าแข่งขันคนใดทำคะแนนรวมทั้ง 3 รอบได้มากที่สุดจะได้รับสิทธิพิเศษในรอบแจ๊คพอตต่อไป

รอบตกรอบ

ในเวทีทองนั้นได้มีเกมสำหรับคนที่ตกรอบ หรือดาวเทียมในรอบหาดาวทอง (พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2535) , รอบคำศัพท์ปริศนา (พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2545, พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2550) หรือรอบพาดหัวข่าว (พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2547) โดยในช่วงแรก (พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2535) จะมีสิ่งของที่เกี่ยวกับสีทองทั้งหมด 5 ชิ้น เช่น มงกุฏตกรอบ, ถ้วยรางวัลตกรอบ, สายสะพายตกรอบ, เข็มขัดมวยตกรอบ เป็นต้น ภายในนั้นจะมีทองคำซ่อนอยู่ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเลือกสิ่งของขึ้นมา 1 ชิ้นจากทั้งหมด 3 ชิ้น และเมื่อเลือกสิ่งของนั้นได้แล้ว พิธีกรจะค้นหาทองคำ (อยู่ในรูปของโลโก้เวทีทอง) ซึ่งซ่อนอยู่ในสิ่งของนั้น โดยมูลค่าทองคำจะมี 2 สลึง, 1 บาท และ 2 บาท หากได้ทองคำมูลค่าเท่าไหร่ ผู้เล่นจะได้รับทองคำไปมูลค่าตามนั้น

ต่อมาในช่วงกลางปี พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2537 เกมรอบตกรอบได้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น โดยจะมีกล่องทองทั้งหมด 6 กล่อง แบ่งเป็นทอง 5 บาทจำนวน 3 กล่อง และทอง 1 สลึง จำนวน 3 กล่องเช่นกัน ซึ่งเริ่มแรก พิธีกรจะมอบกล่องซึ่งมีทองคำหนัก 1 บาทจากป้ายเวทีทองให้กับผู้เข้าแข่งขันที่ตกรอบ จากนั้นจะถามผู้เข้าแข่งขันว่าต้องการเล่นเกมเพื่อลุ้นรับทอง 5 บาทหรือไม่ ถ้าต้องการเล่น ต้องแลกทอง 1 บาท ซึ่งถ้าแลก ทอง 1 บาทจะถูกเก็บ และผู้เข้าแข่งขันจะได้เลือกทอง 1 ใน 6 กล่องข้างต้น แต่ถ้าไม่เล่นก็รับทอง 1 บาท (ส่วนใหญ่จะเล่นเกมนี้)

ในปี พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2539 ได้มีการยกเลิกระบบในการแลกทอง 1 บาทโดยจะมี 11 กล่องซึ่งมีทอง 5 บาท 5 กล่องและทอง 1 บาทอย่างละ 6 กล่องโดยให้เลือกกล่องในแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้ง 11 แผ่นป้าย ต่อมาเปลี่ยนเป็น 10 แผ่นป้าย เป็น 5 บาท อยู่ 5 ป้าย เป็น 1 บาท อยู่ 5 ป้าย

ในปี พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2546 เกมรอบตกรอบได้มีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง โดยจะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้ง 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลัก 10 แผ่นป้าย (เป็นรูปตลับแป้งแบบเปิด ต่อมาเป็นรูปลิปสติก) หมายถึงได้ทองคำป้ายละ 1 บาท และป้ายหยุด 2 แผ่นป้าย (เป็นรูปตลับแป้งแบบปิด ต่อมาเป็นรูปปากและรูปกุ๊กกิ๊ก-กุ๊กหม่ำ) ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันเปิดได้ป้ายหยุด 2 แผ่นป้าย หรือ เปิดได้ป้ายผู้สนับสนุนหลักก็จะได้ทองคำหนักครึ่งกิโลกรัม ถ้าหากเปิดเจอป้ายหยุด เกมจะหยุดทันทีและได้ทองคำตามที่สะสมไว้ แต่ถ้าป้ายแรกเป็นป้ายหยุด แล้วป้ายต่อไปเป็นผู้สนับสนุนหลัก เกมจะหยุดทันทีและได้รับทองคำหนัก 1 บาทไปด้วย แต่ในบางครั้งแถมเพื่อเจอสปอนเซอร์หลักแล้วแต่วัตถุประสงค์ของพิธีกร

ในปี พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2550 เกมรอบตกรอบยังแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการ 12 แผ่นป้ายเช่นเดิม แต่ได้ปรับแบ่งเป็นป้ายผู้สนับสนุนหลักเป็น 9 แผ่นป้ายและป้ายหยุด 3 แผ่นป้าย (เป็นรูปกัปตันกิ๊กบนเรือดำน้ำ/กัปตันหม่ำบนเรือยอร์ช/กัปตันต้อยบนเรือหางยาว ต่อมาเป็นรูปกับดัก (ตาข่าย/ปากฉลาม/เชือกห้อยหัว) , ใบแดง/ใบหนาด/ใบบัวบก และ รูปตัวกินคุกกี้ แอนดี้/ภูมิ/ดร.พัน) โดยเมื่อเปิดป้ายผู้สนับสนุน หมายถึงได้ทองคำป้ายละ 1 บาท (ต่อมาเปลี่ยนเป็นทองคำมูลค่าป้ายละ 10,000 บาท) ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดเจอป้ายผู้สนับสนุนหลักครบ 9 แผ่นป้ายจะได้รับทองคำหนักครึ่งกิโลกรัม (ต่อมาเปลี่ยนเป็นทองคำมูลค่า 300,000 บาท) ถ้าหากเปิดเจอป้ายหยุด เกมจะหยุดทันทีและได้ทองคำตามที่สะสมไว้ แต่ถ้าเปิดเจอป้ายหยุดเป็นป้ายแรกก็จะไม่ได้ทองคำในเกมนี้เลย แต่ในช่วงปี พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2548 เมื่อเปิดป้ายกับดักผู้เข้าแข่งขันจะถูกขังในกรงใหญ่และได้ทองตามจำนวนที่เปิดมาได้ แต่หากป้ายแรกเป็นกับดัก ก็จะไม่ได้รับทองคำในรอบนี้ และในปี พ.ศ. 2549 เมื่อเปิดป้ายหยุดจะได้สิ่งของตามป้ายที่ได้เลือก เช่นเปิดได้ใบแดง ก็จะได้ใบแดง คล้ายกับรอบ Jackpot ของเวทีทองปี 2546 แต่ในบางครั้งจะแถมเพื่อเจอสปอนเซอร์หลักหรือตัวหยุดแล้วแต่วัตถุประสงค์ของพิธีกร

รอบสุดท้าย

แบ่งเป็น 3 เกม ตามยุคสมัย ดังนี้

ชั่งทอง

รอบสุดท้าย (Jackpot) ของเวทีทองนั้น เป็นรอบชั่งทอง ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ที่ใครหลายต่อหลายคนจดจำกันได้เป็นอย่างดีสำหรับรายการนี้ โดยจะเป็นการชั่งสิ่งของต่างๆ ซึ่งผู้ที่จะทำการแข่งขันในรอบนี้ คือ "ดาวทอง" (พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2535) หรือผู้ชนะในแต่ละสัปดาห์นั้นๆ (พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2545) ในยุคแรก (พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2535) มีสิ่งของที่ให้ชั่งมีทั้งหมด 15 ชิ้น ดาวทองมีโอกาสเลือกสิ่งของที่จะชั่งได้ทั้งหมด 5 ชิ้น โดยจะต้องชั่งสิ่งของนั้นให้มีน้ำหนักมากกว่า 1 กิโลกรัม ทั้งนี้ หากสามารถชั่งสิ่งของที่มีน้ำหนักเกิน 1 กิโลกรัม ได้ครบ 3 ชิ้น จะได้รับ Jackpot เป็นทองคำหนัก 1 กิโลกรัมและเกมจบลง ถ้าผิดเกินที่กำหนดครั้ง เกมจะจบลงทันทีแต่ทองไม่แตก (โดยรูปแบบแรกนี้ ก่อนจะเล่น ผู้แข่งขันจะต้องเลือกแผ่นป้าย 1 แผ่นป้าย จากทั้งหมด 10 แผ่นป้าย ซึ่งสิ่งที่จะได้รับรางวัล คือของที่มีน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ซึ่งจะถูกใช้เป็นทุนในการที่จะไปแลกเป็นทองคำหนัก 1 กิโลกรัม หากชั่งทองสำเร็จ โดยตัวอย่างสิ่งของเช่น มะนาว 1 ถุง หนัก 1 กิโลกรัม เป็นต้น ระยะต่อมาเป็นป้ายจำนวนครั้ง เป็นเลข 4 อยู่ 1 ป้าย เลข 6 อยู่ 1 ป้าย เลข 5 มี 8 ป้าย) ซึ่งในรอบนี้มีผู้ทำ Jackpot แตก 3 คน โดยผู้ที่ทำ Jackpot แตกคนแรกคือ ภุชงค์ โยธาพิทักษ์

ต่อมา เวทีทองในช่วงกลางปี พ.ศ. 2535 ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเกมในรอบชั่งทอง โดยก่อนชั่งทอง ผู้ที่ได้เป็นดาวทอง จะต้องมาเลือกแผ่นป้าย 1 แผ่นป้ายจากทั้งหมด 10 แผ่นป้าย ซึ่งแต่ละป้ายนั้นจะเป็นการกำหนดจำนวนครั้งที่มีโอกาสในการชั่งสิ่งของได้ โดยที่มีป้ายการชั่ง 4 ครั้งและ 6 ครั้งอย่างละ 1 แผ่นป้าย ส่วน 5 ครั้งมี 8 แผ่นป้าย เมื่อเลือกจำนวนครั้งแล้ว จะเริ่มทำการแข่งขัน ซึ่งรอบชั่งทองในครั้งนี้ จะมีสิ่งของทั้งหมด 6 ชิ้น โดยก่อนจะชั่งจริง จะให้เวลาผู้เข้าแข่งขัน 20 วินาที ในการทดสอบน้ำหนักสิ่งของทั้ง 6 ชิ้นด้วยตัวเอง เพื่อคาดคะเนน้ำหนักของสิ่งของแต่ละชิ้นนั้น จากนั้น ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเลือกสิ่งของอย่างละ 1 ชิ้น ขึ้นมาทายน้ำหนัก โดยจะต้องทายน้ำหนักให้อยู่ในบริเวณ ขีดทอง ซึ่งเป็นบริเวณน้ำหนักที่จะถือว่าชั่งได้ถูกต้อง โดยน้ำหนักที่ผู้เข้าแข่งขันทายนั้นสามารถผิดพลาดได้ไม่เกิน 1 กิโลกรัม หรือไม่น้อยกว่า 1 กิโลกรัมจากที่ทายไว้ หากสามารถทายน้ำหนักให้อยู่ในบริเวณขีดทองได้ครบ 3 ครั้ง เกมจะหยุดลงและจะได้รับ Jackpot เป็นทองคำหนัก 1 กิโลกรัม แต่ทั้งนี้ ในการเล่น สามารถทายน้ำหนักผิดได้ 1, 2 หรือ 3 ครั้ง ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งที่มีโอกาสชั่งน้ำหนักซึ่งได้จากการเปิดแผ่นป้ายช่วงแรก ถ้าผิดเกินป้ายที่กำหนดถือว่าเกมจบลงแต่ทองไม่แตก

หลังจากนั้นช่วงระยะต่อมา ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเกมในรอบชั่งทอง โดยก่อนชั่งทอง ผู้ที่ได้เป็นดาวทอง จะต้องมาเลือกแผ่นป้าย 1 แผ่นป้ายจากทั้งหมด 10 แผ่นป้าย ซึ่งแต่ละป้ายนั้นจะเป็นการกำหนดของที่เลือกมาชั่ง มี 1 ดาวเพียง 1 อัน นอกนั้นเป็น 2 ดาว จากนั้น ผู้เข้าแข่งขันต้องเลือกของจากของเพื่อนำมาเป็นของที่มีน้ำหนักเบาหรือหนักที่สุด ซิ่งถ้าได้ 2 ดาว ต้องเลือกของ 2 ชิ้น แต่ถ้าได้ 1 ดาว ต้องเลือกของเพียงชิ้นเดียวที่เบาหรือหนักที่สุด ซึ่งหลังจากที่เลือก พิธีกรก็จะนำของที่เลือกมาชั่งและจะทำการขีดไว้ แล้วจะต้องชั่งของที่เหลือ โดยที่ของที่เหลือต้องหนักอยู่ในขีดน้ำหนักที่ขีดไว้ ถ้าชั่งครบ 4, 5 ชิ้น แล้วของอยู่ในเขตที่ขีดไว้ จะได้ทองคำหนัก 1 กิโลกรัม แต่ถ้าเกินขีดที่หนักที่สุดหรือเบาที่สุด เกมจะจบลงทันที

ในปี พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2545 ได้เปลี่ยนรูปแบบของการชั่งทอง จากการทายน้ำหนักของสิ่งของแต่ละชิ้น มาเป็นการชั่งเรียงลำดับน้ำหนักของสิ่งของจากน้อยไปมาก โดยจะต้องเลือกชั่งสิ่งของให้มีน้ำหนักมากกว่าสิ่งของที่ชั่งไว้ในตอนแรก ทั้งนี้ จำนวนสิ่งของที่จะต้องชั่งน้ำหนักมาก-น้อยนั้น ขึ้นอยู่กับการเปิดแผ่นป้ายในช่วงแรก ซึ่งวิธีการคล้ายคลึงกับเวทีทองในปี พ.ศ. 2535 ทว่าจะเป็นป้ายชั่งสิ่งของ 5 ชิ้นเพียงแค่แผ่นป้ายเดียว นอกนั้นเป็นการชั่งสิ่งของ 6 ชิ้นทั้งหมด โดยมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 10 แผ่นป้าย แบ่งเป็นแผ่นป้ายที่มีพีระมิดที่มีเลข 6 กำกับทั้งหมด 9 แผ่นป้าย และแผ่นป้ายที่มีพีระมิดที่มีเลข 5 กำกับทั้งหมด 1 แผ่นป้าย จากทั้งหมด 6 ชิ้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2545 ได้ปรับเปลี่ยนโดยมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นแผ่นป้ายที่มีพีระมิดที่มีเลข 6 กำกับทั้งหมด 11 แผ่นป้าย และแผ่นป้ายที่มีพีระมิดเลข 5 กำกับทั้งหมด 1 แผ่นป้าย โดยถ้าหากเปิดเจอพีระมิดที่มีหมายเลข 5 กำกับจะได้รับทองคำหนัก 1 บาทจากผู้สนับสนุนหลักก่อนเริ่มต้นเล่น โดยหากสามารถชั่งน้ำหนักได้ถูกต้อง (น้ำหนักมากขึ้น) จะได้รับทองคำหนัก 1 บาท ต่อ 1 ครั้ง (ภายหลังเพิ่มเป็นทองคำหนัก 2 บาท ต่อ 1 ครั้ง ) หากทายผิด (น้ำหนักน้อยลง) เกมจะหยุดลงและผู้เข้าแข่งขันจะได้รับทองคำตามที่ทำได้ แต่เวทีทองในปี พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2545 ถ้าผู้เข้าแข่งขันเลือกได้ชั่งของ 5 ชิ้น และทายได้ถูกต้อง 4 ชิ้น แต่ผิดในชิ้นสุดท้าย ชิ้นที่ 4 จะได้ทองคำหนักอีก 2 บาท (คือได้ทองคำรวม 5 บาท) แต่ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันสามารถทายน้ำหนักได้ครบ 5 ครั้ง หรือ 6 ครั้ง (ตามจำนวนครั้งที่ได้จากการเปิดแผ่นป้าย) จะได้รับทองคำหนัก 5 บาท กับ อีก 2 กิโลกรัม โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน เฉพาะส่วนละ 1 กิโลกรัม ให้กับผู้เข้าแข่งขัน และผู้โชคดีจากทางบ้านที่มาจากการจับชิ้นส่วนของผู้สนับสนุนหลักของรายการนั่นเอง แต่ในบางครั้งแบ่ง ส่วนละครึ่งกิโลกรัม ให้กับผู้ชมซึ่งเป็น เพื่อน ครอบครัวในสตูดิโอที่มาช่วยผู้เข้าแข่งขัน และอีก 1 กิโลกรัม ให้ผู้โชคดีทางบ้านที่มาจากการจับชิ้นส่วนของผู้สนับสนุนหลักของรายการนั่นเอง ซึ่งในรอบนี้มีผู้ทำ Jackpot แตก 5 คน แต่ทั้งหมด 7 ครั้ง แต่บางครั้งแถมเพื่อเพิ่มทองแล้วแต่วัตถุประสงค์ของพิธีกร

และรายการสตอเบอรี่ชีสเค้ก เทปวันที่ 29 มีนาคม 2552 (ย้อนอดีตเกมโชว์) ได้จำลองเกมในรายการช่วงชั่งทองให้พิธีกรได้ร่วมสนุก โดยในเทปนั้นมีเกมในรายการเกมโชว์อีก 4 รายการ ได้แก่ พลิกล็อก เกมพิศวง มาตามนัด และเกมจารชน และรายการ My Man Can แฟนฉันเก่ง เทปวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2557 ได้จำลองเกมในช่วงชั่งทองของเวทีทองมาเป็นภารกิจในเกมที่ 5 อีกด้วย

เปิดป้ายชิงทอง

รอบสุดท้าย (Jackpot) ของเวทีทองจะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้ายด้วยกัน ในช่วงแรก จะเป็นการเปิดป้ายเพื่อประกอบตัวอักษรเป็นข้อความ โดยจะมีตัวอักษร 2 ชุด ชุดละ 6 แผ่นป้าย ทั้งนี้ ชุดหนึ่ง จะเป็นตัวอักษรที่สามารถประสมกันเป็นชื่อของผู้สนับสนุนหลักในเกม (ผู้สนับสนุนในรอบนี้คือ ผลิตภัณฑ์โอวัลติน) โดยจะแบ่งเป็น โ-อ-วั-ล-ติ-น และอีกชุดหนึ่ง จะเป็นตัวอักษรที่สามารถประสมกันเป็นชื่อรายการ เวทีทอง โดยจะแบ่งเป็น เ-ว-ที-ท-อ-ง สำหรับเกมนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเปิดแผ่นป้าย 6 แผ่นป้าย ให้ได้ชุดตัวอักษรที่เป็นชื่อผู้สนับสนุนรายการหลัก ซึ่งแต่ละแผ่นป้ายที่เปิดได้จะได้ทองคำหนัก 1 บาท แต่ถ้าเปิดเจอชุดอักษร เวทีทอง จะไม่ได้รับทองคำแต่อย่างใด แต่ถ้าหากผู้เล่นสามารถเปิดเจอชุดอักษรที่ประสมกันเป็นชื่อผู้สนับสนุนรายการ ได้ครบ 6 แผ่นป้าย และถูกตำแหน่ง จะได้รับรางวัลเป็นทองคำหนัก 2 กิโลกรัม โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 1 กิโลกรัม ให้กับผู้เข้าแข่งขัน และผู้โชคดีจากทางบ้านที่มาจากการจับชิ้นส่วนของผู้สนับสนุนหลักของรายการนั่นเอง

ในระยะเวลาต่อมาได้มีการเปลี่ยนกติกาใหม่โดยมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นตัวอักษรที่สามารถประสมกันเป็นชื่อรายการ เวทีทอง 6 แผ่นป้าย และอีกชุดหนึ่ง จะเป็นแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนหลัก 6 แผ่นป้าย (ผู้สนับสนุนในรอบนี้คือ ผลิตภัณฑ์โอวัลติน) โดยถ้าผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดได้ชุดตัวอักษรที่สามารถประสมกันเป็นชื่อของรายการเวทีทอง และถูกตำแหน่ง จะได้รับทองคำหนัก 2 บาท แต่ถ้าเปิดได้แผ่นป้ายของผู้สนับสนุนหลัก จะได้รับกิ๊ฟเซ็ทของผู้สนับสนุนหลักไปแผ่นป้ายละ 1 ชุด หากเปิดได้ตัวอักษรคำว่า เ-ว-ที-ท-อ-ง ครบ 6 ป้าย จะได้รับรางวัลเป็นทองคำหนัก 2 กิโลกรัม โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 1 กิโลกรัม ให้กับผู้เข้าแข่งขัน และผู้โชคดีจากทางบ้านที่มาจากการจับชิ้นส่วนของผู้สนับสนุนหลักของรายการนั่นเอง แต่ถ้าเปิดเจอชุดอักษรสปอนเซอร์หลักครบ 6 ป้าย จะได้รับกิ๊ฟเซ็ท6ชุด โดยฝ่ายผู้เข้าแข่งขันได้รับแค่ฝ่ายเดียว

แต่ทว่าในช่วงปลายปี พ.ศ. 2545 จนถึงปี พ.ศ. 2547 ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบโดยไม่มีแผ่นป้ายตัวอักษร เ-ว-ที-ท-อ-ง แต่เป็นการเปิดแผ่นป้ายจากผู้สนับสนุนรายการเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้าย ซึ่งใน 12 แผ่นป้ายนั้นจะมี 6 แผ่นป้ายจะเป็นป้ายผู้สนับสนุนหลัก โดยมีทองคำหนักป้ายละ 2 บาท ส่วนอีก 6 แผ่นป้ายเป็นป้ายทองหลอก 6 แผ่นป้ายซึ่งจะมี ทองพันชั่ง (พันธุ์ของต้นไม้), ปลาทอง (แต่ในรายการจะเรียกว่า ทองหัววุ้น) ,ทองดำ (ชื่อพันธุ์มะม่วงโบราณหายาก), ทองคำเปลว, ทองเหลือง (ที่เป็นก๊อกน้ำ) และทองม้วน เป็นต้น โดยถ้าหากเปิดป้ายทองหลอก จะได้รับรางวัลเป็นสิ่งของซึ่งมาจากป้ายหลอกนั้น (เช่นถ้าเปิดได้ปลาทอง จะได้ปลาทอง เป็นต้น เช่นเดียวกับรอบตกรอบปี พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2549) แต่ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดได้แผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลักครบทั้ง 6 แผ่นป้าย จะได้รับรางวัล Jackpot เป็นทองคำหนัก 2 กิโลกรัม โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 1 กิโลกรัม ให้กับผู้เข้าแข่งขัน และผู้โชคดีจากทางบ้านที่มาจากการจับชิ้นส่วนของผู้สนับสนุนหลักของรายการนั่นเอง (ผู้สนับสนุนในรอบสุดท้ายและรอบชิงโชค คือ สบู่วาสลีนฮาร์โมนี ต่อมาเป็น ผงซักฟอกโอโม)

และในเวทีทอง ซิกซ์ทีน และเวทีทองยุคสุดท้าย (พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2550) ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบถึง 2 ครั้ง ในครั้งแรก จะเป็นการเปิดแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนทั้งหมด 12 แผ่นป้าย ซึ่ง 6 แผ่นป้ายจะเป็นแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการหลัก (ผู้สนับสนุนในรอบนี้คือ น้ำรสผลไม้ Qoo) โดยมีทองคำหนักป้ายละ 2 บาท และอีก 6 แผ่นป้าย จะเป็นแผ่นป้ายของ "คุณครู" ถ้าหากเปิดได้แผ่นป้าย "คุณครู" จะมีเสียงของ "คุณครู" ดังขึ้นในห้องส่ง ผู้เข้าแข่งขันจะต้องตอบคำถามของ "คุณครู" ให้ถูกต้อง (คำถามจะเกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาไทย) หากตอบได้ถูกต้องจะได้รับทองคำหนัก 1 สลึง ทั้งนี้ หากเปิดแผ่นป้ายได้เป็นผู้สนับสนุนรายการหลักครบทั้ง 6 แผ่นป้าย จะได้รับทองคำหนัก 2 กิโลกรัม โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 1 กิโลกรัม ให้กับผู้เข้าแข่งขัน และผู้โชคดีจากทางบ้านที่มาจากการจับชิ้นส่วนของผู้สนับสนุนหลักของรายการนั่นเอง

แต่ทว่าในช่วงเวทีทองในยุคสุดท้ายได้มีการเปลี่ยนรูปแบบโดยไม่มีแผ่นป้าย "คุณครู" แต่เป็นการเปิดแผ่นป้ายจากผู้สนับสนุนหลักเพียงอย่างเดียว โดยมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้าย ซึ่งใน 12 แผ่นป้ายนั้นจะมี 9 แผ่นป้ายที่เป็นสี ซึ่งมีสีต่างกันออกไป สีละ 3 แผ่นป้าย (ผู้สนับสนุนในรอบนี้คือ แป้งเย็น ชาวเวอร์ ทู ชาวเวอร์) ส่วนอีก 3 แผ่นป้ายที่เหลือจะเป็นป้ายหลอกซึ่งเป็นรูปภาพการ์ตูนของพิธีกรโดยเรียกว่า " สุดหล่อสุดร้อน " ทั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเปิดแผ่นป้าย 6 แผ่นป้ายให้มีสีถูกต้องตรงกับตำแหน่งของแป้งสีนั้นๆ หากเปิดได้แป้ง และถูกตำแหน่งจะได้รับทองคำหนัก 2 บาท (หรือทองคำมูลค่า 20,000 บาท) หากเปิดได้แป้ง แต่ไม่ถูกตำแหน่ง (สีไม่ตรงกัน) จะได้รับทองคำ 2 สลึง (หรือทองคำมูลค่า 5,000 บาท) แต่ถ้าหากเปิดเจอป้ายสุดหล่อสุดร้อนจะไม่ได้รับทองคำในตำแหน่งนั้น ทั้งนี้หากสามารถเปิดได้เป็นแป้งทั้ง 6 แผ่นป้าย และถูกต้องตรงตามตำแหน่งของสี จะได้รับรางวัลทองคำหนัก 1 กิโลกรัม ทั้งนี้ ในช่วงที่ราคาทองคำมีมูลค่าสูงกว่าบาทละ 10,000 บาท รางวัล Jackpot ได้ถูกเปลี่ยนไปเป็นทองคำมูลค่า 600,000 บาทแทน

เกมเปิดป้ายชิงทอง ถูกใช้มาตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2550 เพื่อทดแทนเกมชั่งทองซึ่งเป็นที่รู้จักกันมาตลอด

กล่องทองคำปริศนา

ในปี พ.ศ. 2559 รอบสุดท้าย (Jackpot) ของเวทีทองนั้นจะมีกล่องอยู่ 4 ใบด้วยกัน ซึ่งในกล่องจะมีทองคำแท่งในจำนวนที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ 0-9 แท่ง โดยให้ผู้เข้าแข่งขันที่สะสมแต้มจาก 3 เกมที่ผ่านมามากที่สุดได้เลือกกล่องก่อน ตามด้วยผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนรองลงมาตามลำดับ จากนั้น ผู้เข้าแข่งขันจะตรวจสอบกล่องของตัวเองที่เลือกว่ามีทองกี่แท่ง เรื่มจากผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนน้อยที่สุดตามลำดับ และเมื่อครบทั้ง 3 คนแล้ว ผู้เข้าแข่งขันทุกคนมีสิทธิ์แลกกล่องกับใครก็ได้ หรือจะไม่แลกก็ได้ เรื่มจากผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนน้อยที่สุดตามลำดับ โดยหลังจากการแลกทุกครั้ง ผู้เข้าแข่งขันทั้งสองที่แลกกล่องสามารถตรวจสอบกล่องใหม่ของตัวเองว่ามีทองกี่แท่ง โดยผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนรวมมากที่สุดจะได้รับสิทธิพิเศษ คือสามารถแลกกล่องของตัวเองกับกล่องที่ไม่ถูกเลือกได้ (หลังจากเทปแรก ผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนมากที่สุดจะได้รับทองเพื่มอีก 1 แท่งด้วย) หลังจากผู้เข้าแข่งขันทั้ง 3 คนแลกกล่องเรียบร้อยแล้ว พิธีกรจะเปิดกล่องของผู้เข้าแข่งขันทั้ง 3 คน โดยผู้เข้าแข่งขันที่มีทองในกล่องของตัวเองมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ และได้รับทองคำมูลค่า 30,000 บาทเป็นรางวัล (ในกรณีที่มีผู้แข่งขันที่มีทองแท่งมากที่สุดเท่ากัน 2 คน ทองคำมูลค่า 30,000 บาทจะถูกแบ่งให้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 2 คน) ต่อมาเปลี่ยนเป็นทองคำมูลค่า 25,000 บาท

รางวัล

เพลงรายการ

ในรายการเวทีทอง มีการใช้เพลงไตเติ้ลรายการหลายรูปแบบ โดยในช่วงที่วัชระ ปานเอี่ยมเป็นพิธีกร เพลงรายการจะเป็นเพลงบรรเลงแนวนิวเวฟ[5] แบบยุค 80 และมีเสียงคอรัส เวทีทอง ในตอนท้าย ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนพิธีกรมาเป็นเสกสรร ชัยเจริญ และหม่ำ จ๊กมก เพลงไตเติ้ลได้ถูกเปลี่ยนมาเป็นเพลงเวทีทองซึ่งเป็นรากของเพลงไตเติ้ลเวทีทองที่เป็นที่คุ้นหูในหมู่ผู้ชมรายการขณะนั้น และในปี พ.ศ. 2536 เวทีทองจึงได้ใช้เพลงไตเติ้ลที่มีผู้ขับร้องเป็นครั้งแรก ซึ่งขับร้องโดยคุณ ธานินทร์ เคนโพธิ์, เกียรติ กิจเจริญ (ซูโม่กิ๊ก) และหม่ำ จ๊กมก[6] โดยเพลงไตเติ้ลในปี พ.ศ. 2536 ได้ถูกใช้มาจนถึงปี พ.ศ. 2545 จึงเปลี่ยนเพลงอีกครั้งเพื่อให้สอดรับกับธีมของรายการที่เปลี่ยนแปลงไปแต่หลังจากนั้นจะไม่มีเนื้อเพลงที่ร้องแต่จะมีเสียงคอรัสคำว่าเวทีทองทำให้ผู้ชมคุ้นหูเป็นอย่างมาก และในยุคเวทีทอง เมจิก ก็ได้มีการเพิ่มจังหวะเพลงแบบอินเดียเข้าไปด้วย แต่รูปแบบเพลงยังคงเหมือนเดิม และเวทีทองในปี พ.ศ. 2545 กลับใช้เพลงบรรเลงแทนแต่ทำนองรูปแบบยังคงเดิมแต่เสียงเพลงจะเป็นแนวเทคโนไซเบอร์ซึ่งเป็นแนวธีมหลักของยุคนั้นและเมื่อถึงยุคของเวทีทองซิกซ์ทีน ก็ได้มีการเปลี่ยนเพลงมาเป็นเพลงขับร้องทำนองฮิปฮอปคล้ายเสียงยุคแรก ตามสไตล์ของรายการและมีเพลงแทรกที่เข้ามาคือเพลง 16 ปี แห่งความหลังของสุรพล สมบัติเจริญ ซึ่งเสมือนช่วงในระยะเวลา 16 ปีไปด้วย ส่วนเพลงบรรเลงในรายการนั้นต่างกับเวทีทองยุคก่อนๆ เป็นอย่างมากจนไม่เหลือเค้าของเวทีทองยุคก่อนๆ และในเวทีทองยุคสุดท้าย เพลงไตเติ้ลถูกใช้เป็นเพลงบรรเลงจนยุติการออกอากาศ

การยุติการออกอากาศ

ภายหลังจากยุคเวทีทองซึ่งมีเกียรติ กิจเจริญ และหม่ำ จ๊กมกเป็นพิธีกร ได้ผ่านพ้นไปแล้ว เวทีทองในยุคดีเจแอนดี้ และดีเจภูมินั้น กระแสความนิยมเริ่มลดลง แม้ว่าในช่วงซิกซ์ทีนจะยังคงได้รับความนิยมอยู่ก็ตาม ทั้งนี้ องค์ประกอบหลายๆ ด้าน ตลอดจนกระแสของรายการเกมโชว์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมส่งผลทำให้รายการเวทีทอง ได้รับผลกระทบอย่างมาก[7] โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถูกย้ายเวลามาอยู่ในวันเสาร์ เวลา 22.00 น.[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เวทีทองถูกย้ายเวลามาออกอากาศในช่วงกลางคืน ทั้งๆที่ตลอดระยะเวลากว่า 17 ปี เวทีทอง ไม่เคยออกอากาศในช่วงกลางคืนมาก่อน แล้วช่วงเวลาดังกล่าวนั้น เป็นเวลาเดิมของเศษ 1 ส่วน 2 ชั่วโมง ที่ ทีมงานศึกเพชรยินดี ได้จัดรายการการชกมวยไทย ในรายการ ศึกมวยไทยลุมพินีเกริกไกร ซึ่งทำการแข่งขันที่ สนามมวยลุมพินี ซึ่งรายการเวทีทอง ไปออกอากาศแทนเวลาดังกล่าว ทำให้แฟนรายการมวยฯ ไม่ค่อยนิยมติดตามรับชมการแข่งขันรายการฯดังกล่าว จึงดูเป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นถึงการจากไปของรายการ

และในช่วงปลายปี 2549 ได้เริ่มมีการโฆษณารายการเกมโชว์ใหม่ คือรายการ ตู้ซ่อนเงิน ซึ่งออกอากาศในช่วงเวลาเดียวกันกับเวทีทอง จึงเป็นที่แน่ชัดว่าเวทีทองได้มาถึงจุดอวสานแล้ว และด้วยเหตุนี้รายการเวทีทองจึงต้องยุติการออกอากาศตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2550 นับเป็นการปิดตำนานเกมโชว์ชื่อดังที่อยู่คู่เมืองไทยมานานถึง 18 ปี และเป็นการปิดฉากรายการแรกที่ผลิตขึ้นโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) อีกด้วย

ในปี 2559 ทางช่องเวิร์คพอยท์ได้มีการผลิตรายการเพิ่มอีกหลายรายการ รวมทั้ง เวทีทอง เวทีเธอ[2]

อ้างอิง

  1. "เวทีทอง เวทีเธอ มกราคมนี้ ช่อง Workpoint". Youtube.com. 29 ธันวาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2559. {{cite web}}: |first= ไม่มี |last= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "[[เสนาหอย]] - [[แจ๊ส ชวนชื่น]] นั่งแท่นพิธีกรเกมโชว์ในตำนาน [[เวทีทอง เวทีเธอ]] [[ช่องเวิร์คพอยท์]] การันตีความสนุก". Dara.Truelife.com. 7 มกราคม 2559. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2559. {{cite web}}: URL–wikilink ขัดแย้งกัน (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "เทปแรก" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  3. "ผังรายการเดือนมกราคม 2559". Workpointtv.com. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "เวทีทอง ซิกซ์ทีน (16th) หม่ำ เยือนเวทีทอง ซิกซ์ทีน ชื่นชม น้องใหม่ แอนดี้ - ภูมิ เก่ง ไม่ผิดหวัง". Ryt9.com. 25 กุมภาพันธ์ 2547. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2559. {{cite web}}: |first= ไม่มี |last= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "ตัวอย่างรายการเวทีทองในรูปแบบของปี พ.ศ. 2533 - 2535". Youtube.com. 3 มกราคม 2559. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2559. {{cite web}}: |first= ไม่มี |last= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "ตัวอย่างรายการเวทีทองในรูปแบบของปี พ.ศ. 2536". Youtube.com. 29 ธันวาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2559. {{cite web}}: |first= ไม่มี |last= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "จวก'เวทีทอง' ภาษาไทยอ่อน". News.Sanook.com. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น