ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดตองปุ (จังหวัดลพบุรี)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เพิ่มอ้างอิง
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น
เพิ่มที่อยู่เล็กน้อย
บรรทัด 32: บรรทัด 32:
}}
}}


'''วัดตองปุ''' เป็น[[วัด]]ที่ตั้งอยู่ในเขต[[ตำบลทะเลชุบศร]] [[อำเภอเมืองลพบุรี]] [[จังหวัดลพบุรี]]
'''วัดตองปุ''' เป็น[[วัด]]ที่ตั้งอยู่ในเขต[[ตำบลทะเลชุบศร]] [[อำเภอเมืองลพบุรี]] [[จังหวัดลพบุรี]] และอยู่ตรงข้ามซอยชุมชนราชมนู หลังโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย


==ประวัติ==
==ประวัติ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:15, 30 พฤศจิกายน 2561

วัดตองปุ
แผนที่
ที่ตั้งตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี รหัสไปรษณีย์ 15000
ประเภทวัดราษฏร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธรูปสำคัญพระพุทธรูปหินทรายนาคปรกปางสมาธิ ศิลปะสมัยลพบุรี ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 19
ความพิเศษเป็นวัดที่มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในอดีตเคยเป็นที่ชุมนุมกองทัพไทย
จุดสนใจพระอุโบสถ, พระวิหาร,หอไตร, หอระฆัง สมัยอยุธยา ที่สรงน้ำพระโบราณ
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดตองปุ เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเขตตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี และอยู่ตรงข้ามซอยชุมชนราชมนู หลังโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย

ประวัติ

วัดตองปุ วัดนี้เป็นวัดมอญ ตองปุ เป็นภาษามอญ แปลว่า ที่ชุมนุมพลก่อนออกรบ อยู่หลังโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย ตำบลทะเลชุบศร เป็นวัดเก่าแก่ที่มีความสำคัญวัดหนึ่ง สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ศิลปกรรมที่พบส่วนหนึ่งมีรูปแบบเป็นของกลุ่มชนมอญได้แก่ หลักไม้จำหลักเก็บพระคัมภีร์ในพระอุโบสถ และลายรดน้ำบานประตูพระวิหาร เมื่อครั้งสมเด็จพระนารายณ์ฯทรงสร้างเมืองลพบุรี ก็ได้สร้างวัดตองปุขึ้น และนิมนต์พระภิกษุมอญจากวัดตองปุ ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทรงสร้างไว้ที่กรุงศรีอยุธยามาจำพรรษาที่วัดนี้ด้วย วัดตองปุเป็นวัดโบราณที่มีความสำคัญในฐานะเป็นศาสนสถานสมัยอยุธยา ที่คงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์และมีพระภิกษุใช้ประโยชน์อยู่

พระอุโบสถ

หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เดิมมีกำแพงแก้วเตี้ย เจาะซุ้มเล็กๆสำหรับวางตะเกียงไว้รอบ ฐานอาคารเป็นฐานปัทม์ หย่อนท้องช้าง ด้านหน้าอาคาร มีประตูทางเข้า 2 ช่อง กับช่องหน้าต่าง 1 ช่อง ช่องหน้าต่างทางด้านหน้าและด้านข้าง เจาะเป็นช่องสี่เหลี่ยม ซุ้มหน้าต่างมีลักษณะเหมือนกับซุ้มบัญชรของพระที่นั่งหลายองค์ในพระราชวังพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ประดิษฐานพระพุทธรูปหินทรายนาคปรกปางสมาธิ ศิลปะสมัยลพบุรี อายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ด้านหลังโบสถ์มีกลุ่มเจดีย์สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา รูปแบบมีทั้งเจดีย์ทรงปรางค์ เจดีย์เพิ่มมุมแบบระฆังกลม และเจดีย์เพิ่มมุมแบบระฆังเหลี่ยม นอกกำแพงแก้วมีเจดีย์ทรงสูงชลูด มีเรือนธาตุซ้อนกัน 2 ชั้น แต่ละด้านของเรือนธาตุมีซุ้มทิศ

พระวิหาร

สร้างขนานกับโบสถ์ อาคารไม่มีช่องหน้าต่าง หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาเช่นเดียวกับหลังคาพระอุโบสถ ประตูทางเข้าเจาะเป็นช่องโค้งมนที่ผนังด้านหน้าและด้านหลัง ด้านละ 1 ช่อง บันไดทางขึ้นโบสถ์เป็นรูปวงโค้ง เชื่อมกับยกพื้นที่มีแท่นอาสนะสำหรับพระภิกษุนั่งสวดในงานบุญบางโอกาส ซุ้มประตูหน้า-หลัง สร้างเพิ่มเมื่อคราวบูรณะเมื่อพ.ศ. 2491 ภายในวิหารมีพระพุทธรูปหินทรายปางสมาธินาคปรก ศิลปะลพบุรี อายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ 19 หลายองค์

หอไตรและหอระฆัง

หอไตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ตั้งอยู่บนลานประทักษิณ มีบันไดทางขึ้นสู่ลานประทักษิณขนาดเล็ก อาคารมีทางเข้าด้านหน้า 1 ประตู เหนือกรอบประตูมีซุ้มปูนปั้น ด้านข้างเจาะช่องหน้าต่างสี่เหลี่ยมข้างละ 2 ช่อง หน้าบันมีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ปั้นด้วยปูนทั้งหมด ที่น่าสนใจคือ หางหงส์ทำเป็นเศียรนาค 5 เศียร ที่เรียกว่า นาคเบือน ภายในหอไตร มีพระพุทธรูปนาคปรก

หอระฆังตั้งอยู่ถัดจากหอไตร ส่วนบนเป็นทรงปราสาทห้ายอด

ศาลาพระศรีอาริยเมตไตรย

เป็นอาคารสร้างติดพื้น หลังคามุงด้วยกระเบื้องกาบกล้วย ภายในศาลามีภาพจิตรกรรม เล่าเรื่องพุทธประวัติ ฝีมือช่างสมัยรัตนโกสินทร์ ราวรัชกาลที่ 4-5 เดิมเป็นที่ประดิษฐานพระศรีอาริยเมตไตรย์ ปัจจุบันประดิษฐานพระปางนาคปรกปูนปั้น

ศาลาการเปรียญหลังเก่า

หันหน้าไปทางทิศตะวันตก สถาปัตยกรรมเป็นแบบสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ นั่นคือ ฐานแอ่นโค้ง เจาะช่องหน้าต่างโค้งแหลม เดิมหลังคามุงด้วยกระเบื้อง บัวหัวเสาเป็นบัวกลีบยาว ประตูและหน้าต่างทางด้านหน้า ศาลาการเปรียญหลังเก่า ปัจจุบันใช้เป็นคลังเก็บของ

นอกจากยังมีโบราณวัตถุที่สำคัญเหลืออยู่เพียงชิ้นเดียวในเมืองไทย คือ ที่สรงน้ำพระโบราณ หรือที่เรียกกันว่า น้ำพุสรงน้ำพระ เก็บรักษาไว้ที่วัดแห่งนี้

ดูเพิ่ม

อ้างอิง