ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บุลล์เทร์เรียร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8: บรรทัด 8:


== ลักษณะทั่วไป ==
== ลักษณะทั่วไป ==
บุลล์เทร์เรียร์เป็นสุนัขในกลุ่มเทร์เรียร์ 4 สายพันธุ์ที่ใช้ในกีฬากัดสุนัข ได้แก่ อเมริกันพิตบุลล์เทร์เรียร์ (American Pittbull Terrier), สแตฟฟอร์ดเชอร์บุลล์เทร์เรียร์ (Staffordshire Bull Terrier), มินะเจอร์บุลล์เทร์เรียร์ (Miniature Bull Terrier), และบุลล์เทร์เรียร์ (Bull Terrier) ทั้งนี้ สุนัขบุลล์เทร์เรียร์จะมีอายุเฉลี่ยประมาณ 15 ปี น้ำหนักมาตรฐานอยู่ระหว่าง 52-62 ปอนด์ ส่วนสูงอยู่ที่ 21-22 นิ้ว บุลล์เทร์เรียร์ดูแลง่าย ขนสั้น มีหลายสี ทั้งสีขาวล้วน ขาวแต้มดำหรือสีน้ำตาล และลายเสือ บุลล์เทร์เรียร์นับเป็นส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างพละกำลังกับความงดงาม สุนัขบุลล์เทร์เรียร์อันเป็นที่ยอมรับกันนั้นต้องขาวบริสุทธิ์ คือขาวปลอด มีจุดหรือปนสีอื่นได้
บุลล์เทร์เรียร์เป็นสุนัขในกลุ่มเทร์เรียร์ 4 สายพันธุ์ที่ใช้ในกีฬากัดสุนัข ได้แก่ อเมริกันพิตบุลล์เทร์เรียร์ (American Pitbull Terrier), สแตฟฟอร์ดเชอร์บุลล์เทร์เรียร์ (Staffordshire Bull Terrier), มินะเจอร์บุลล์เทร์เรียร์ (Miniature Bull Terrier), และบุลล์เทร์เรียร์ (Bull Terrier) ทั้งนี้ สุนัขบุลล์เทร์เรียร์จะมีอายุเฉลี่ยประมาณ 15 ปี น้ำหนักมาตรฐานอยู่ระหว่าง 52-62 ปอนด์ ส่วนสูงอยู่ที่ 21-22 นิ้ว บุลล์เทร์เรียร์ดูแลง่าย ขนสั้น มีหลายสี ทั้งสีขาวล้วน ขาวแต้มดำหรือสีน้ำตาล และลายเสือ บุลล์เทร์เรียร์นับเป็นส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างพละกำลังกับความงดงาม สุนัขบุลล์เทร์เรียร์อันเป็นที่ยอมรับกันนั้นต้องขาวบริสุทธิ์ คือขาวปลอด มีจุดหรือปนสีอื่นได้


แต่ถ้าหากดูในเรื่องของความฉลาดและการเชื่อฟังคำสั่ง บุลล์เทร์เรียร์จัดว่าไม่ฉลาดเท่าใดนัก จากการวัดไอคิวของสุนัขทั้งหมด 79 สายพันธุ์ บุลล์เทร์เรียร์ถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 66 อย่างไรก็ตาม บุลล์เทร์เรียร์ สามารถฝึกให้เชื่อฟังคำสั่งได้ในระดับหนึ่ง แต่การตอบสนองก็ไม่ดีเหมือนพันธุ์แอลเซเชียน, แลบราดอร์ หรือพูเดิล ดังนั้น ถ้าใครอยากได้สุนัขที่ไม่ดื้อ เรียนรู้เร็ว เชื่อฟังคำสั่งดี ก็ขอให้มองข้ามสุนัข บุลล์เทร์เรียร์นี้ไปได้เลย
แต่ถ้าหากดูในเรื่องของความฉลาดและการเชื่อฟังคำสั่ง บุลล์เทร์เรียร์จัดว่าไม่ฉลาดเท่าใดนัก จากการวัดไอคิวของสุนัขทั้งหมด 79 สายพันธุ์ บุลล์เทร์เรียร์ถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 66 อย่างไรก็ตาม บุลล์เทร์เรียร์ สามารถฝึกให้เชื่อฟังคำสั่งได้ในระดับหนึ่ง แต่การตอบสนองก็ไม่ดีเหมือนพันธุ์แอลเซเชียน, แลบราดอร์ หรือพูเดิล ดังนั้น ถ้าใครอยากได้สุนัขที่ไม่ดื้อ เรียนรู้เร็ว เชื่อฟังคำสั่งดี ก็ขอให้มองข้ามสุนัข บุลล์เทร์เรียร์นี้ไปได้เลย

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:33, 28 พฤศจิกายน 2561

บุลล์เทร์เรียร์
ลักษณะพิเศษของบุลล์เทร์เรียร์ได้แก่ หัวหลิม สันจมูกตรง และตาตี่

บุลล์เทร์เรียร์ (อังกฤษ: Bull Terrier) เป็นสายพันธุ์หนึ่งของสุนัข

ประวัติ

บุลล์เทร์เรียร์มีถิ่นกำเนิดในประเทศอังกฤษราวปี ค.ศ. 1835 เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างสุนัขพันธุ์บุลล์ด็อก (Bulldog) กับอิงกลิชไวต์เทร์เรียร์ (English White Terrier) ได้ออกมาเป็น "บุลล์แอนด์เทร์เรียร์" แต่เนื่องจากตัวเล็กเกินไป 2-3 ปีต่อมาจึงมีคนเอาบุลล์แอนด์เทร์เรียร์ไปผสมกับสแปนิชพอยน์เตอร์ (Spanish Pointer) ทำให้ได้บุลล์เทอร์เรียที่ตัวใหญ่ขึ้น ซึ่งการพัฒนาสายพันธุ์ก็มีมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1850 มีการผสมพันธุ์ให้ขนสั้นลงมีสีขาวล้วน สุนัขบุลล์เทร์เรียร์เป็นสุนัขที่แข็งแรง ในสมัยก่อนนิยมใช้ในกีฬากัดสุนัข และยังถือว่าเป็นพันธุ์ที่มีหน้าตาแปลกพันธุ์หนึ่ง บุลล์เทร์เรียร์มีอุปนิสัยร่าเริง ตื่นตัวเสมอ ฉลาด สามารถนำมาฝึกได้

ลักษณะทั่วไป

บุลล์เทร์เรียร์เป็นสุนัขในกลุ่มเทร์เรียร์ 4 สายพันธุ์ที่ใช้ในกีฬากัดสุนัข ได้แก่ อเมริกันพิตบุลล์เทร์เรียร์ (American Pitbull Terrier), สแตฟฟอร์ดเชอร์บุลล์เทร์เรียร์ (Staffordshire Bull Terrier), มินะเจอร์บุลล์เทร์เรียร์ (Miniature Bull Terrier), และบุลล์เทร์เรียร์ (Bull Terrier) ทั้งนี้ สุนัขบุลล์เทร์เรียร์จะมีอายุเฉลี่ยประมาณ 15 ปี น้ำหนักมาตรฐานอยู่ระหว่าง 52-62 ปอนด์ ส่วนสูงอยู่ที่ 21-22 นิ้ว บุลล์เทร์เรียร์ดูแลง่าย ขนสั้น มีหลายสี ทั้งสีขาวล้วน ขาวแต้มดำหรือสีน้ำตาล และลายเสือ บุลล์เทร์เรียร์นับเป็นส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างพละกำลังกับความงดงาม สุนัขบุลล์เทร์เรียร์อันเป็นที่ยอมรับกันนั้นต้องขาวบริสุทธิ์ คือขาวปลอด มีจุดหรือปนสีอื่นได้

แต่ถ้าหากดูในเรื่องของความฉลาดและการเชื่อฟังคำสั่ง บุลล์เทร์เรียร์จัดว่าไม่ฉลาดเท่าใดนัก จากการวัดไอคิวของสุนัขทั้งหมด 79 สายพันธุ์ บุลล์เทร์เรียร์ถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 66 อย่างไรก็ตาม บุลล์เทร์เรียร์ สามารถฝึกให้เชื่อฟังคำสั่งได้ในระดับหนึ่ง แต่การตอบสนองก็ไม่ดีเหมือนพันธุ์แอลเซเชียน, แลบราดอร์ หรือพูเดิล ดังนั้น ถ้าใครอยากได้สุนัขที่ไม่ดื้อ เรียนรู้เร็ว เชื่อฟังคำสั่งดี ก็ขอให้มองข้ามสุนัข บุลล์เทร์เรียร์นี้ไปได้เลย

  • ลำตัวและโครงสร้างต้องแข็งแรง ลำตัวมีลักษณะกลม ผิวหนังตึง ประกอบด้วยกล้ามเนื้อรูปร่างสันทัดล่ำสัน ขนสั้นแข็ง
  • หน้าอกมีขนาดค่อนข้างกว้างใหญ่ ลึกเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ และต้องมีส่วนสัดที่รับกันอย่างพอดี
  • มีลักษณะปราดเปรียว คล่องแคล่วว่องไว กระตือรือร้น มีไหวพริบและความฉลาด
  • จมูกดำ ปลายจมูกโค้งเล็กน้อย
  • หัวมีลักษณะโค้งคล้ายรูปไข่สังเกตได้จากส่วนหัวที่มีลักษณะยาวและลึก เส้นที่ลากจากหัวกะโหลกจรดปลายจมูกเป็นเส้นโค้ง หัวกะโหลกระหว่างหูมีลักษณะแบน
  • ความยาวของปากจะยาวกว่าความยาวของหัวกะโหลกเล็กน้อย ริมฝีปากตึง
  • ตาค่อนข้างลึก และนัยน์ตาเป็นรูปสามเหลี่ยม สียิ่งเข้มยิ่งดี
  • หูมีขนาดเล็ก บาง หูทั้งสองข้างตั้งอยู่ชิดกัน
  • ฟันแข็งแรง ฟันขบแบบกรรไกร และมีขากรรไกรแข็งแรง
  • คอมีขนาดค่อนข้างยาว ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ หนังคอตึงไม่ย่น
  • ขาหน้ามีกระดูกค่อนข้างใหญ่และยาวข้อเท้าหน้าแข็งแรงขาหน้าตั้งฉากกับพื้น มองจากด้านหน้า ขาหน้าตรง ห่างกันพอเหมาะ การยึดมั่นคง เท้าคล้ายเท้าแมวนิ้วเท้าชิด
  • ขาหลังท่อนบนแข็งแรง ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ ข้อเท้าหลังสั้นตั้งฉากกับพื้น มองจากด้านหลัง ต้องตรง ห่างกันพอเหมาะ เท้าคล้ายแมวนิ้วเท้าชิด
  • หางค่อนข้างสั้น โคนหางอยู่ในระดับต่ำ หางควรชี้ขนานกับพื้น
  • การเดินและวิ่งดูมั่นคง มองจากทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ขาไม่ปัดหรือบิด

ลักษณะนิสัย

สุนัขบุลล์เทร์เรียร์เป็นนักสู้ที่อ่อนหวานโดยธรรมชาติ เป็นนักสู้ที่ใจถึง เป็นสุนัขอารักขาที่กระฉับกระเฉง รักครอบครัวและอาณาเขตของเขาโดยสัญชาตญาณ ผู้ที่อาศัยอยู่ตามอะพาร์ตเมนต์ซึ่งมีเนื้อที่จำกัดจะนิยมเลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้เพื่อช่วยอารักขา เนื่องจากเป็นสุนัขอารักขาที่ดี แล้วยังเป็นสุนัขที่ประหยัดอีกด้วย บางครั้งอาจจะดื้อรั้นไปบ้าง แต่ก็เข้ากับเด็ก ๆ ได้เป็นอย่างดี เพื่อให้เขาอยู่ในโอวาทควรมีการฝึกปรือตั้งแต่วันแรก ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าจะเลี้ยงเขารวมกับสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น โดยธรรมชาติแล้วจะก้าวร้าวกับสุนัขที่ทำตัวเป็นเจ้าถิ่น มีความจงรักภักดีต่อทุกคนในครอบครัว บุลล์เทร์เรียร์มีนิสัยที่ทำให้เราต้องขบขัน มีสมอง มีจินตนาการ มีบุคลิกไม่เหมือนสุนัขพันธุ์อื่นที่ทำให้ใคร ๆ ต้องรักในความงามของเขา รูปลักษณ์รวมทั้งเอกลักษณ์ของเขาเป็นสิ่งพิเศษที่ทำให้แตกต่างจากสุนัขพันธุ์อื่น เอกลักษณ์และอุปนิสัยของบุลล์เทร์เรียร์มีความซับซ้อนมาก บุลล์เทร์เรียร์เป็นสุนัขที่ซุกซนและทำตัวคล้ายเด็ก ดังนั้นคุณต้องตระเตรียมสิ่งต่าง ๆ และต้องคอยเอาใจใส่ดูแลเขาให้ดี ความซุกซนเป็นลักษณะที่พบได้ในบุลล์เทร์เรียร์หนุ่มแทบจะทุกตัว ลูกสุนัขจะซนมากเป็นพิเศษและบุลล์เทร์เรียร์หลาย ๆ ตัวจะยังคงซุกซนและชอบเล่นจนกระทั่งวัยกลางคน (5-6 ปี) ไม่ดีแน่ถ้าจะปล่อยให้เขาอยู่ตามลำพังตัวเดียวนาน ๆ ไม่ว่าจะในบ้านหรือในสนามวิ่งเล่น

การดูแล

บุลล์เทร์เรียร์จะมีการผลัดขน 2 ครั้งต่อปี ขนที่หมดอายุสามารถเอาออกได้เป็นประจำทุกวันโดยการแปรงขน ควรตรวจเล็บและนิ้วติ่ง เป็นประจำทุกเดือนและคอยตัดเล็บโดยใช้กรรไกรตัดเล็บสุนัข บุลล์เทร์เรียร์โดยเฉพาะสีขาวธรรมชาติผิวหนังจะค่อนข้างแพ้แสงแดดและอื่น ๆ ได้ง่าย แม้ว่าโดยทั่วไปสุขภาพจะดีก็ตาม แต่บุลล์เทร์เรียร์ก็มีแนวโน้มเกิดอาการแพ้ที่ผิวหนังได้ง่ายโดยเฉพาะแผลจากการถูกแมลงกัด ดังนั้นควรเอาใจใส่ดูแลในเดือนที่มีอากาศร้อนเป็นพิเศษ บุลล์เทร์เรียร์ต้องการรั้วรอบขอบชิดเพื่อความปลอดภัยบริเวณสนามวิ่งเล่นที่มีขนาดใหญ่สักหน่อยเพื่อจะได้ไม่ต้องล่ามโซ่หรือผูกเขาไว้กับที่ และสิ่งสำคัญที่พวกเขาต้องการคือมิตรภาพจากพวกเรา บุลล์เทร์เรียร์สามารถอยู่ร่วมและเล่นกับฝูงสุนัขพันธุ์อื่นได้

อาหาร

เนื่องจากเป็นสุนัขขนาดกลาง ปริมาณในกินอาหารในแต่ละมื้อของบุลล์เทร์เรียร์จึงไม่มากเท่าไรนัก แต่ผู้เลี้ยงก็ควรฝึกให้มีวินัยในการกิน กินเป็นเวลา ไม่พร่ำเพรื่อ เพราะบุลล์เทร์เรียร์มีนิสัยกินเก่ง หากให้อาหารบ่อย ๆ อาจเสี่ยงต่อโรคอ้วนได้ ดังนั้นจึงควรเลือกอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วน อาหารเม็ดจะเหมาะสมที่สุด เนื่องจากสะดวก ไม่ต้องเสียเวลาปรุงเอง งดอาหารซึ่งคนบริโภคเนื่องจากผ่านการปรุงรสชาติ เติมสารกันบูดหรือเคมีต่าง ๆ หรืออาหารที่มีรสเค็ม เผ็ด หรือหวานจัด

ผู้เลี้ยงที่เหมาะสม

บุลล์เทร์เรียร์สามารถทนพฤติกรรมของของเด็กได้มาก แต่จะไม่ทนหากถูกแหย่และสามารถเกเรถ้าถูกแหย่ให้โกรธเสมอ ๆ เจ้าของบุลล์เทร์เรียร์ต้องมีความรับผิดชอบสูง การผสมพันธุ์ควรจะอยู่ในความรับผิดชอบและการดูแลของผู้เป็นเจ้าของสุนัขเท่านั้น

โรคและวิธีการป้องกัน

แม้บุลล์เทร์เรียร์จะเป็นสุนัขที่พื้นฐานร่างกายค่อนข้างแข็งแรง แต่โรคและอาการที่พบในบุลล์เทร์เรียร์ก็มีมากเช่นกัน ทั้งนี้โรคที่พบบ่อย ได้แก่

  1. โรคผิวหนังหรือผิวหนังมีอาการแพ้ง่าย โรคนี้พบมากโดยเฉพาะสุนัขที่มีสีขาว และอยู่ในประเทศแถบร้อนชื้นอย่างบ้านเรา
  2. โรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด อาการนี้ต้องให้สัตวแพทย์ตรวจ ซึ่งหมายความว่าผู้เลี้ยงจะต้องหมั่นพาเขาไปตรวจสุขภาพทุกปี เมื่อรู้ว่าเขาป่วยด้วยโรคนี้จะได้ดูแลได้อย่างถูกต้อง ไม่เช่นนั้นบางคนนำสุนัขที่เป็นโรคหัวใจไปออกกำลังกายหนัก ๆ ก็จะทำให้เสียชีวิตได้
  3. โรคไตผิดปกติแต่กำเนิด อาการนี้ก็ต้องตรวจเช่นกันว่าค่าไตอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ เพื่อที่ผู้เลี้ยงจะได้เตรียมการดูแลที่ต่างออกไปจากสุนัขปกติทั้งด้านอาหารและการออกกำลังกาย
  4. อาการหมุนเป็นวงกลมโดยไม่สามารถควบคุมได้ บางตัวอาจมีการงับหางตัวเองร่วมด้วย ส่วนมากเกิดจากความเครียดที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
  5. อาการลูกสะบ้าหัวเข่าเคลื่อน เป็นโรคเกี่ยวกับพันธุกรรม เกิดจากการเลี้ยงบนพื้นลื่น หรือบางตัวอาจได้รับการกระแทกบริเวณหัวเข่า อาจแสดงอาการเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้างพร้อมกันก็ได้ อาการที่พบคือ สุนัขจะเดินย่อตัว ปลายเท้าแบะออก นอกจากนี้อาจพบโรคกระดูกบางซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการได้รับสารอาหารบางชนิดในวัยเด็ก เช่น ข้าวคลุกตับ โครงไก่ หรือปลากระป๋อง หรือการเสริมแคลเซียมให้มากเกินไป ทำให้ระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในกระแสเลือดเสียสมดุล ส่งผลให้เกิดโรคกระดูกบางตามมาได้
  6. หูหนวกแต่กำเนิด ที่ต่างประเทศจะมีเครื่องที่ใช้ตรวจกรณีนี้โดยเฉพาะเรียกว่า BEAR test แต่เท่าที่ทราบนี่เมืองไทยยังไม่น่าจะมี แต่เราก็สามารถใช้วิธีตรวจสอบคร่าว ๆ ได้ เช่น การเป่านกหวีด หรือทำเสียงต่าง ๆ เพื่อป้องกันการซื้อสุนัขหูหนวกมาเลี้ยง

จะเห็นได้ว่าสุนัขบุลล์เทร์เรียร์มีโอกาสเกิดโรคต่าง ๆ ได้ไม่แพ้สุนัขสายพันธุ์อื่นๆ แม้จะมีร่างกายที่แข็งแรงเพียงใดก็ตาม ดังนั้น ผู้เลี้ยงควรพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์เป็นประจำตามใบนัดเพื่อทำการฉีดวัคซินตามโปรแกรม และขอย้ำเรื่องการจูงเดินเล่น เป็นการออกกำลังกายที่ควรจะทำให้บ่อยที่สุด หรือทุกวันก็จะดีมาก ๆ แต่ควรหลีกเลี่ยงในเวลาที่แสงแดดจัด จะได้ไม่เกิดอาการแพ้ขึ้นมาได้

แหล่งข้อมูลอื่น