ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แอร์แบร์ที่ 2 เคานต์แห่งแวร์ม็องดัว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{เก็บกวาด}}
{{เก็บกวาด}}
'''แอร์แบร์ที่ 2''' ({{Lang-en|Herbert II}}) เคานต์แห่งแวร์ม็องดัว, เคานต์แห่งโม และเคานต์แห่งซัวซง เป็นคนแรกที่ปกครองอาณาเขตที่จะกลายเป็น[[จังหวัดช็องปาญ]]
'''แอร์แบร์ที่ 2''' ({{Lang-fr|Herbert II}}) เคานต์แห่งแวร์ม็องดัว, เคานต์แห่งโม และเคานต์แห่งซัวซง เป็นคนแรกที่ปกครองอาณาเขตที่จะกลายเป็น[[จังหวัดช็องปาญ]]


== ชีวประวัติ ==
== ชีวประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:11, 25 พฤศจิกายน 2561

แอร์แบร์ที่ 2 (ฝรั่งเศส: Herbert II) เคานต์แห่งแวร์ม็องดัว, เคานต์แห่งโม และเคานต์แห่งซัวซง เป็นคนแรกที่ปกครองอาณาเขตที่จะกลายเป็นจังหวัดช็องปาญ

ชีวประวัติ

แอร์แบร์เป็นบุตรชายของแอร์แบร์ที่ 1 เคานต์แห่งแวร์ม็องดัว[1] เป็นลูกหลานของชาร์เลอมาญ[2] แอร์แบร์สืบทอดต่อดินแดนของบิดาและได้วิหารแซ็ง-เมดาร์ในซัวซงมาเพิ่มในปี ค.ศ. 907 ครองตำแหน่งเป็นอธิการฆราวาสซึ่งทำให้เขาได้สิทธิ์ในรายได้ของวิหารดังกล่าว[1] การแต่งงานกับพระธิดาของพระเจ้ารอแบร์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศสทำให้เขาได้เคานตีโมมาอยู่ในการครอบครอง[3]

ในปี ค.ศ. 922 เมื่อเซยุล์ฟกลายเป็นอาร์ชบิชอปแห่งแร็งส์ เพื่อเอาใจแอร์แบร์ที่ 2 เซยุล์ฟสัญญาว่าจะเสนอชื่อเขาเป็นผู้สืบทอดตำแหน่ง[4] ในปี ค.ศ. 923 แอร์แบร์จองจำพระเจ้าชาร์ลที่ 3 ที่ถูกจองจำจนสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 929[3] เมื่อเซยุล์ฟเสียชีวิตในปี ค.ศ. 925 ด้วยความช่วยเหลือของพระเจ้ารุดอล์ฟ แอร์แบร์ได้ตำแหน่งอาร์ชบิชอปแห่งแร็งส์มาให้บุตรชายคนที่สอง อูก ที่ตอนนั้นอายุห้าปี[5] แอร์แบร์เดินหน้าต่อด้วยการส่งคณะทูตไปโรมเพื่อขอการอนุมัติรับรองตำแหน่งจากสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 10 ที่ให้การอนุมัติในปี ค.ศ. 926[4] ทำให้อูกน้อยผู้ได้รับเลือกถูกส่งตัวไปศึกษาเล่าเรียนที่โอแซร์[2]

ในปี ค.ศ. 926 หลังการเสียชีวิตของเคานต์รอเฌที่ 1 แห่งล็อง แอร์แบร์เรียกร้องตำแหน่งเคานต์ให้กับอูด บุตรชายคนโต[6] เขาท้าทายพระเจ้ารุดอล์ฟด้วยการยึดเมืองอันนำไปสู่การกระทบกระทั่งกันระหว่างคนทั้งสองในปี ค.ศ. 927[2] อาศัยการข่มขู่ว่าจะปล่อยตัวพระเจ้าชาร์ลที่ตนจองจำอยู่ แอร์แบร์สามารถครองเมืองอยู่ได้เป็นเวลานานกว่าสี่ปี[2] แต่หลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าชาร์ลในปี ค.ศ. 929 รุดอล์ฟโจมตีล็องอีกครั้งในปี ค.ศ. 931 และปราบแอร์แบร์ได้สำเร็จ[2] ในปีเดียวกันกษัตริย์ยกทัพเข้าสู่แร็งส์และปราบอาร์ชบิชอปอูก บุตรชายของแอร์แบร์[7] อาร์ทูต์กลายเป็นอาร์ชบิชอปแห่งแร็งส์คนใหม่[7] จากนั้นในเวลาสามปี แอร์แบร์ที่ 2 เสียวีทรี, ล็อง, ชาโต-ตีแยรี และซัวซง[8] การยื่นมือเข้ามาแทรกแซงของพันธมิตรของแอร์แบร์ พระเจ้าไฮน์ริชผู้เป็นพรานล่านก ทำให้แอร์แบร์ได้ดินแดนกลับคืนมา (ยกเว้นแร็งส์กับล็อง) แลกกับการสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้ารุดอล์ฟ

ต่อมาแอร์แบร์จับมือกับอูกมหาราชและวิลเลียมดาบยาว ดยุคแห่งนอร์ม็องดีปราบพระเจ้าหลุยส์ที่ 4 ที่มอบเคานตีล็องให้แก่รอเฌที่ 2 บุตรชายของรอเฌที่ 1 ในปี ค.ศ. 941 แอร์แบร์กับอูกมหาราชได้แร็งส์กลับคืนมาและจับกุมตัวอาร์โตได้[9] อูก บุตรชายของแอร์แบร์ ได้ตำแหน่งอาร์ชบิชอปกลับคืนมาอีกครั้ง[9] การเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยอีกครั้งของกษัตริย์เยอรมนี พระเจ้าอ็อทโทที่ 1 ในวีเซ ใกล้กับลีแยฌ ในปี ค.ศ. 942 ทำให้สถานการณ์กลับมาเป็นปกติสุขอีกครั้ง

การเสียชีวิตและมรดก

แอร์แบร์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 943 ที่แซ็ง-ก็องแต็งในแอน (เมืองหลวงของเคานตีแวร์ม็องดัว) บุตรชายของเขาแบ่งทรัพย์สินที่ดินอันกว้างใหญ่ไพศาลกัน[10] แวร์ม็องดัวกับอาเมียงตกเป็นของสองบุตรชายคนโต ขณะที่รอแบร์กับแอร์แบร์ สองบุตรชายคนเล็ก ได้ครอบครองที่ดินที่กระจายตัวอยู่ทั่วช็องปาญ[10] เมื่อรอแบร์เสียชีวิต พี่ชายของเขา แอร์แบร์ที่ 3 สืบทอดต่อที่ดินทั้งหมด บุตรชายคนเดียวของแอร์แบร์ สตีเฟน เสียชีวิตโดยไร้บุตรในปี ค.ศ. 1019–1020 จึงเป็นการสิ้นสุดสายตระกูลทางเพศชายของแอร์แบร์ที่ 2[10]

ครอบครัว

แอร์แบร์แต่งงานกับอาเดล พระธิดาของพระเจ้ารอแบร์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส[11] ทั้งคู่มีบุตรธิดาด้วยกัน คือ

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 Detlev Schwennicke, Europäische Stammtafeln: Stammtafeln zur Geschichte der Europäischen Staaten, Neue Folge, Band III Teilband 1 (Marburg, Germany: J. A. Stargardt, 1984), Tafel 49
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Jim Bradbury, The Capetians: Kings of France, 987-1328 (London: Hambledon Continuum, 2007), p. 36
  3. 3.0 3.1 Emily Taitz, The Jews of Medieval France: The Community of Champagne (Westport CT: Greenwood Press, 1994), p. 42
  4. 4.0 4.1 Eleanor Shipley Duckett, Death and life in the tenth century (Ann Arbor: University of Michigan Press, 1967), p. 155
  5. The Annals of Flodoard of Reims, 916–966, eds & trans. Steven Fanning: Bernard S. Bachrach (New York; Ontario, Can: University of Toronto Press, 2011), pp. 14-15
  6. The Annals of Flodoard of Reims, 916–966, eds & trans. Steven Fanning: Bernard S. Bachrach (New York; Ontario, Can: University of Toronto Press, 2011), pp. 15-16
  7. 7.0 7.1 The Annals of Flodoard of Reims, 916–966, eds & trans. Steven Fanning: Bernard S. Bachrach (New York; Ontario, Can: University of Toronto Press, 2011), p. 21
  8. The Annals of Flodoard of Reims, 916–966, eds & trans. Steven Fanning: Bernard S. Bachrach (New York; Ontario, Can: University of Toronto Press, 2011), pp. 20-24
  9. 9.0 9.1 Eleanor Shipley Duckett, Death and life in the tenth century (Ann Arbor: University of Michigan Press, 1967), p. 157
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 Kate Norgate, 'Odo of Champagne, Count of Blois and Tyrant of Burgundy', The English Historical Review, Vol. 5, No. 19 (Jul., 1890), p. 488
  11. The Annals of Flodoard of Reims, 919–966, eds. Steven Fanning; Bernard S. Bachrach (Toronto: University of Toronto Press Inc., 2011), p. 21 n. 77
  12. Detlev Schwennicke, Europäische Stammtafeln: Stammtafeln zur Geschichte der Europäischen Staaten, Neue Folge, Band II (J. A. Stargardt, Marburg, Germany, 1984), Tafel 46
  13. Marignan et al. 1906, p. 28.