ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทำเนียบท่าช้าง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 19: บรรทัด 19:
* วารสารอาษา ฉบับเดือน สิงหาคม-กันยายน 2550 ISSN 0857-3050
* วารสารอาษา ฉบับเดือน สิงหาคม-กันยายน 2550 ISSN 0857-3050


{{วังในไทย}}
[[หมวดหมู่:วัง|ถนนพระอาทิตย์]]
[[หมวดหมู่:วัง|ถนนพระอาทิตย์]]
[[หมวดหมู่:เขตพระนคร]]
[[หมวดหมู่:เขตพระนคร]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:34, 28 ตุลาคม 2550

วังถนนพระอาทิตย์ ตั้งอยู่ ณ บริเวณที่เดิมเป็นบ้านของเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรีย) ผู้เป็นต้นสกุลคชเสนี เชื้อสายมอญ และเป็นปู่ของเจ้าจอมมารดากลิ่นในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ดินผืนนี้ ได้เป็นมรดกตกทอดมาถึง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ (พระองค์เจ้ากฤดาภินิหาร) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตำหนัก 2 ชั้น เป็นที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทิธิ์และเจ้าจอมมารดา ต่อมาเรียกอาคารหลักนี้ว่า ตำหนักเดิม

ในปี พ.ศ. 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างตำหนักใหม่ พระราชทานแด่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ ในโอกาสที่ทรงเจริญพระชันษาครบ 5 รอบ เป็นอาคารทรงยุโรปก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น เรียกว่า วังมะลิวัลย์ จากนั้น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ทรงย้ายไปประทับอยู่ ณ วังมะลิวัลย์จนสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2468 ส่วนตำหนักเดิมนั้น สันนิษฐานว่าเป็นที่พำนักของเจ้าจอมมารดากลิ่น ต่อมาจนท่านถึงแก่อนิจกรรมในปี พ.ศ. 2468 ก่อนหน้าพระโอรสเล็กน้อย

หลังจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์สิ้นพระชนม์ พระโอรสองค์ใหญ่ซึ่งทรงเป็นผู้จัดการมรดก ได้ทูลเกล้าฯ ถวายขายตำหนักและที่ดินแก่พระคลังข้างที่ใน พ.ศ. 2468 ทรัพย์สินดังกล่าว จึงได้อยู่ในความดูแลของพระคลังข้างที่หรือ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ในปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานตำหนักเดิม วังถนนพระอาทิตย์ ให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ ต้นราชสกุลสวัสดิวัฒน์ พระองค์ท่านได้ประทับที่ตำหนักเดิมอยู่ระยะหนึ่ง จนตำหนักใหม่ที่ก่อสร้างเสร็จในบริเวณใกล้เคียงกัน เป็นอาคาร 3 ชั้น สร้างเสร็จจึงได้ย้ายไปประทับ ตำหนักเดิมถูกทิ้งร้างไประยะหนึ่ง จากนั้นประมาณปี พ.ศ. 2479-2481 ตำหนักเดิมได้เป็นที่พำนักของคุณหญิงลิ้นจี่ สุริยานุวัตร และระหว่างปี พ.ศ. 2485-2490 รัฐบาลได้จัดให้วังถนนพระอาทิตย์ เป็นที่พักของนายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และตำหนัก 3 ชั้น ได้ใช้เป็นที่ทำการผู้สำเร็จราชการและเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ทำเนียบท่าช้าง

ในปี พ.ศ. 2492 สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 เสด็จนิวัติประเทศไทย รัฐบาลได้เตรียมจัดวังถนนพระอาทิตย์ถวายเป็นที่ประทับแต่ด้วยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเชิญเสด็จไปประทับ ณ วังสระปทุม จึงมิได้มาประทับ ณ วังนี้

สำนักงานการวางแผนการสื่อสาร เพื่อการพัฒนาแห่งองค์การสหประชาชาติ (UNDP/DTCP) และคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชย์นาวี (Office of Maritime Commission) ได้เช่าตำหนักเดิมและทำเนียบท่าช้าง จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ระหว่างปี พ.ศ. 2515-2524 ต่อมาเมื่อสำนักงานกองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเซฟ (UNICEF) ได้เปิดสำนักงานในปี พ.ศ. 2521 ยูนิเซฟจึงได้เช่าตำหนักเดิม 2 ชั้นโดยเป็นผู้เช่าร่วม ต่อมาคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชย์นาวีได้ย้ายออกไป และสำนักงานการวางแผนการสื่อสาร เพื่อการพัฒนาแห่งองค์การสหประชาชาติ ได้ปิดทำการใน พ.ศ. 2530 ยูนิเซฟจึงได้เป็นผู้เช่าอาคารแต่ผู้เดียว และในปลายปี พ.ศ. 2535 ยูนิเซฟได้ย้ายสำนักงานเขต (Area Office) และฝ่ายบัตรอวยพร (Greeting Cards Operation) มาที่ตำหนักเดิม

สถาปัตยกรรม

ตำหนักเดิม เป็นอาคาร 2 ชั้น ก่ออิฐถือปูน หลังคาปั้นหยามุงกระเบื้องว่าว มีจั่วเปิดคู่ด้านแม่น้ำเจ้าพระยา และจั่วเปิดหนึ่งจั่วด้านถนนพระอาทิตย์ หน้าจั่วประดับปูนปั้นลายพรรณพฤกษา เชิงชายประดับไม้ฉลุ ด้านแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งแต่เดิมเป็นด้านหน้าอาคาร มีระเบียงทั้งชั้นบนและชั้นล่าง ตามลักษณะสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล ราวระเบียงชั้นล่างเป็นลูกกรงปูนปั้น ส่วนชั้นบนเป็นลูกกรงเหล็กหล่อทำให้ดูโปร่งเบา ด้านถนนพระอาทิตย์มีเสาสูงรับหนาจั่ว กลางอาคารอิทธิพลคลาสิครีไววัล ด้านทิศเหนือมีมุขครึ่งแปดเหลี่ยม ผนังอาคารตกแต่งด้วยลวดบัวปูนปั้น และเซาะร่องตามแนวนอน หน้าต่างโค้ง ช่วงบนเป็นช่องระบายอากาศไม้ฉลุลายโปร่งแบบเรือนขนมปังขิง ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 5

ปัจจุบัน อาคารหลังนี้ได้ปรับใช้เป็นสำนักงานของยูนิเซฟ ซึ่งได้ดูแลรักษาอาคารเป็นอย่างดี

อ้างอิง

  • วารสารอาษา ฉบับเดือน สิงหาคม-กันยายน 2550 ISSN 0857-3050