ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Hakim dorloh (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มรายชื่ออำเภอเรียงตามจำนวนประชากร
ป้ายระบุ: เพิ่มยูอาร์แอล wikipedia.org แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Hakim dorloh (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 6: บรรทัด 6:


ชื่อของอำเภอต่าง ๆ มักจะไม่ซ้ำกัน ยกเว้นกรณีของ[[อำเภอเฉลิมพระเกียรติ]] โดยได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นอำเภอกรณีพิเศษใน 5 จังหวัด โดยไม่ผ่านการเป็นกิ่งอำเภอ มีการประกาศจัดตั้งขึ้นเมื่อ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2539 เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]] เนื่องในวโรกาส[[พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พ.ศ. 2539|ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี]]
ชื่อของอำเภอต่าง ๆ มักจะไม่ซ้ำกัน ยกเว้นกรณีของ[[อำเภอเฉลิมพระเกียรติ]] โดยได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นอำเภอกรณีพิเศษใน 5 จังหวัด โดยไม่ผ่านการเป็นกิ่งอำเภอ มีการประกาศจัดตั้งขึ้นเมื่อ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2539 เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]] เนื่องในวโรกาส[[พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พ.ศ. 2539|ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี]]
https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD#/editor/0


== การบริหารงาน ==
== การบริหารงาน ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:22, 18 พฤศจิกายน 2561

อำเภอ (อักษรโรมันAmphoe) เป็นหน่วยการปกครองระดับที่สองในประเทศไทย ลำดับรองมาจากจังหวัด จัดตั้งขึ้นโดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มีนายอำเภอ เป็นหัวหน้าปกครอง โดยในแต่ละอำเภอจะแบ่งส่วนย่อยออกเป็น ตำบล

ในปัจจุบันประเทศไทยมี 878 อำเภอใน 76 จังหวัด ซึ่งไม่รวม 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการบริหารกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2515 จำนวนอำเภอในจังหวัดมีจำนวนต่างกันออกไป ตั้งแต่ 3 อำเภอของจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดภูเก็ต ไปจนถึง 32 อำเภอของจังหวัดนครราชสีมา จำนวนประชากรในแต่ละอำเภอก็มีจำนวนต่างกันไปอีกเช่นกัน เช่น อำเภอเกาะกูด (จังหวัดตราด) มีประชากรเพียง 2,450 คน (พ.ศ. 2557) ขณะที่ อำเภอเมืองสมุทรปราการมีประชากรถึง 525,982 คน อำเภอเกาะสีชัง (จังหวัดชลบุรี) เป็นอำเภอที่มีพื้นที่น้อยที่สุดเพียง 17 ตารางกิโลเมตร ขณะที่อำเภอที่มีพื้นที่มากที่สุด ซึ่งมีประชากรเบาบาง มีภูมิประเทศเป็นภูเขา และมีขนาดใหญ่กว่าจังหวัดบางจังหวัด ได้แก่ อำเภออุ้มผาง (จังหวัดตาก) มีพื้นที่ถึง 4,325.4 ตารางกิโลเมตร

ชื่อของอำเภอต่าง ๆ มักจะไม่ซ้ำกัน ยกเว้นกรณีของอำเภอเฉลิมพระเกียรติ โดยได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นอำเภอกรณีพิเศษใน 5 จังหวัด โดยไม่ผ่านการเป็นกิ่งอำเภอ มีการประกาศจัดตั้งขึ้นเมื่อ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2539 เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี

การบริหารงาน

ที่ว่าการอำเภอเมืองพิษณุโลก

การบริหารงานอำเภอ มีนายอำเภอ เป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชา และมีหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอที่กระทรวง กรมส่งมาประจำในอำเภอ และปลัดอำเภอ เป็นผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ มีที่ทำการอยู่ที่ "ที่ว่าการอำเภอ"

นายอำเภอ

นายอำเภอ เป็นตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ประเภทอำนวยการ ระดับต้น (ระดับ 8) ยกเว้นอำเภอเมือง และอำเภอที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจสูง นายอำเภอจะเป็นข้าราชการ ประเภทอำนวยการ ระดับสูง (ระดับ 9) มีอำนาจหน้าที่ในการบังคับบัญชาส่วนราชการในอำเภอ และกำกับดูแลการบริหารงานของเทศบาลตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลในสังกัด

การบรรจุและแต่งตั้งนายอำเภอ จะใช้วิธีการสอบคัดเลือกปลัดอำเภอหรือเทียบเท่า (ระดับชำนาญการพิเศษ) เพื่อเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนนายอำเภอ สังกัดวิทยาลัยการปกครอง เป็นเวลาราว 5 เดือน จากนั้นจึงเรียกบรรจุแต่งตั้งตามลำดับผลการเรียนที่สอบได้

ปลัดอำเภอ

ปลัดอำเภอ (เจ้าพนักงานปกครอง) เป็นตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ (ระดับ 3-5) ระดับชำนาญการ (ระดับ 6-7) จนถึงระดับชำนาญการพิเศษ (ระดับ 8) มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยปฏิบัติงานของนายอำเภอ

การบรรจุและแต่งตั้งปลัดอำเภอ (เจ้าพนักงานปกครอง) ระดับปฏิบัติการ จะใช้วิธีการเปิดสอบแข่งขันจากบุคคลทั่วไปที่มีคุณวุฒิทางด้านนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ บริหารรัฐกิจ หรือสาขาอื่นๆ ที่กำหนดให้สมัครได้ ส่วนปลัดอำเภอ (เจ้าพนักงานปกครอง) ระดับชำนาญการพิเศษ หรือเรียกว่า "ปลัดอาวุโส" จะใช้วิธีการสอบคัดเลือกเพื่อประเมินเข้าสู่ตำแหน่ง

ที่ว่าการอำเภอ

การบริหารงานของอำเภอตั้งอยู่ในอาคารสำนักงานที่เรียกว่า ที่ว่าการอำเภอ ซึ่งนับเป็นศูนย์กลางของแต่ละอำเภอ ดังนั้น การวัดระยะทางจากถนนก็จะวัดจากที่ว่าการอำเภอเป็นหลัก ที่ว่าการอำเภอมักจะตั้งอยู่ในชุมชนที่ใหญ่ที่สุดของอำเภอ เพื่อให้กลุ่มประชากรในชุมชนที่มีอยู่มากสามารถเดินทางมาติดต่อได้สะดวก

อำเภอเมือง

อำเภอเมือง เป็นอำเภอพิเศษ มีลักษณะคล้ายกับเมืองหลวงของจังหวัด จะเป็นที่ตั้งของหน่วยงานสำคัญระดับจังหวัด (รวมทั้ง ศาลากลางจังหวัด ด้วย) อำเภอเมืองจึงมักจะมีความเจริญ และประชากรหนาแน่นกว่าอำเภออื่น ๆ ในภาษาราชการ อำเภอเมืองในแต่ละจังหวัด จะต้องเรียกชื่อ โดยมีชื่อจังหวัดต่อท้าย เช่น อำเภอเมืองบุรีรัมย์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ อำเภอเมืองศรีสะเกษ เป็นต้น ประชากรในบางจังหวัด จะไม่นิยมเรียกอำเภอเมืองของตนว่า อำเภอเมือง แต่ มักจะเรียก ชื่อจังหวัดนั้น ๆ แทน เช่น ไปขอนแก่น สำหรับคนในจังหวัดขอนแก่น ย่อมหมายถึง เดินทางไปอำเภอเมืองของจังหวัดขอนแก่น (หรืออาจเรียกชื่ออื่นในท้องถิ่นแทน) เช่น โคราชหรือบ้านดอน[ต้องการอ้างอิง]

เดิมอำเภอที่ตั้งจังหวัดบางแห่งไม่มีคำว่า เมือง อยู่ในชื่อ ในขณะที่บางอำเภอที่ไม่ได้เป็นอำเภอที่ตั้งจังหวัด จะมีคำว่า เมือง อยู่ในชื่อด้วย เช่น อำเภอเมืองพิมาย จังหวัดนครราชสีมา จนต่อมาในปี พ.ศ. 2481 อำเภอที่ตั้งจังหวัดได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอเมือง ในขณะที่อำเภอที่เหลือที่ไม่ใช่ที่ตั้งจังหวัดได้เปลี่ยนโดยเอาคำว่า เมือง ออกจากชื่อ[1] ปัจจุบัน มีเพียงจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่ไม่มีอำเภอเมือง คือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่มีอำเภอพระนครศรีอยุธยา (แทนที่จะมีชื่อเป็น อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา) (เดิมชื่ออำเภอรอบกรุง ต่อมาเปลี่ยนเป็นอำเภอกรุงเก่า ก่อนจะเปลี่ยนมาใช้ชื่อปัจจุบัน) อำเภอที่มีชื่อเหมือนกับจังหวัด คือ อำเภอพระนครศรีอยุธยา แต่ทีไม่ใช่เป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดเหมือน อำเภอเมืองของจังหวัดอื่น ๆ

ส่วนใหญ่อำเภอเมืองจะเป็นอำเภอที่มีประชากรมากที่สุดในจังหวัด โดยหน่วยงานสำคัญของจังหวัดก็จะตั้งอยู่ในเมืองที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดนี้ด้วย ยกเว้นในบางจังหวัดเช่น อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งมีการเจริญเติบโตรวดเร็วกว่าอำเภอเมืองสงขลา เนื่องจากมีการเชื่อมโยงการคมนาคมที่ดี

นอกจากนี้ ยังมีอำเภอที่ไม่ใช่อำเภอที่ตั้งจังหวัด แต่มีคำว่า เมือง อยู่ในชื่อ ได้แก่ อำเภอเมืองจันทร์ อำเภอเมืองปาน อำเภอเมืองสรวง และอำเภอเมืองยาง ซึ่งก่อตั้งเมื่อระหว่างปี พ.ศ. 2516 และ พ.ศ. 2538

กิ่งอำเภอ

กิ่งอำเภอ เป็นส่วนราชการที่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐไปปฏิบัติงานประจำอยู่ มีฐานะเป็นส่วนย่อยของอำเภอ แต่ใหญ่กว่าตำบล โดยอำเภอหนึ่ง ๆ อาจแบ่งพื้นที่ออกเป็นกิ่งอำเภอได้ตามความจำเป็นในการปกครอง และในเวลาต่อมา หากกิ่งอำเภอหนึ่ง ๆ มีชุมชนและชุมนุมการค้าหนาแน่นหรือมีสภาพเจริญขึ้นกว่าเดิมมาก ก็จะมีพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอำเภอนั้นขึ้นเป็นอำเภอ อำเภอในประเทศไทยที่ตั้งขึ้นในสมัยหลังมานี้จึงมักจะผ่านการเป็นกิ่งอำเภอมาก่อน มีไม่กี่แห่งที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นอำเภอทันที

ในปี พ.ศ. 2550 ได้มีการยกฐานะกิ่งอำเภอทั้งหมดขึ้นเป็นอำเภอทั้งหมด จึงทำให้ประเทศไทยในขณะนี้ไม่มีเขตการปกครองในระดับกิ่งอำเภอ[2]

อ้างอิง

  1. พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามจังหวัด และอำเภอบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๑ (PDF). Royal Gazette (ภาษาThai). 55 (ก): 658–666. 1938-11-14.{{cite journal}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  2. พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอ ... พ.ศ. 2550

แหล่งข้อมูลอื่น