ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรวีร์ ปริศนานันทกุล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 29: บรรทัด 29:


ในปี พ.ศ. 2561 เขาได้ย้ายไปสังกัด[[พรรคภูมิใจไทย]]
ในปี พ.ศ. 2561 เขาได้ย้ายไปสังกัด[[พรรคภูมิใจไทย]]

แวดวงฟุตบอล ในปี พ.ศ.2559 ได้รับเลือกเป็นสภากรรมการ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย และยังได้ทำหน้าที่ ผู้ดูแลฟุตบอลระดับ T3/T4 ลีกภูมิภาค รวมถึงการได้เป็น ผู้ควบคุมการแข่งขันฟุตบอลของเอเอฟซีและฟีฟ่า

ในเดือนพ.ย. ปี พ.ศ.2561 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย


== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:02, 16 พฤศจิกายน 2561

กรวีร์ ปริศนานันทกุล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 (42 ปี)
จังหวัดอ่างทอง
พรรคการเมืองภูมิใจไทย

กรวีร์ ปริศนานันทกุล เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา และเป็นบุตรชายของนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล ปัจจุบันเป็นประธานบริษัท ลีกภูมิภาค จำกัด

ประวัติ

กรวีร์ ปริศนานันทกุล (ชื่อเล่น : แชมป์) เกิดเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525[1] เป็นบุตรของนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล อดีตรัฐมนตรี กับนางรวีวรรณ ปริศนานันทกุล จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เคยเป็นประธานนักเรียนรุ่น 118 และจบการศึกษาระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเขาเคยเป็นนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[2] และเคยเป็นประธานเชียร์งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 61 ต่อมาเขาได้เข้าศึกษาระดับปริญญาโท สาขา International Marketing จาก Malardalen University ประเทศสวีเดน และเข้ารับการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การทำงาน

กรวีร์ ปริศนานันทกุล เคยทำงานการเมืองท้องถิ่นในตำแหน่งเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง ในระหว่างปี พ.ศ. 2552 ถึงปี พ.ศ. 2554 ต่อมาจึงได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยแรก

ในปี พ.ศ. 2561 เขาได้ย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย

แวดวงฟุตบอล ในปี พ.ศ.2559 ได้รับเลือกเป็นสภากรรมการ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย และยังได้ทำหน้าที่ ผู้ดูแลฟุตบอลระดับ T3/T4 ลีกภูมิภาค รวมถึงการได้เป็น ผู้ควบคุมการแข่งขันฟุตบอลของเอเอฟซีและฟีฟ่า

ในเดือนพ.ย. ปี พ.ศ.2561 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายกรวีร์ ปริศนานันทกุล
  2. "พิมพ์นิยม"นักการเมือง "ลูกไม้"หล่นไกลต้น ?
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘, ตอน ๒๔ ข, ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔, หน้า ๑๘๓ ลำดับ ๑๙
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙, ตอน ๓๕ ข , ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕