ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประชาธิปไตยโดยตรง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Anuchit.live (คุย | ส่วนร่วม)
Anuchit.live (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 243: บรรทัด 243:
เป็นขบวนการที่เกิดและมีการดำเนินงานมากที่สุดใน[[ออสเตรเลีย]] แต่ก็เป็นขบวนการสากลด้วยโดยมีกลุ่มดำเนินการใน[[ประเทศบราซิล]]<ref>{{cite web | date = 2016 | title = FLUX BRASIL | url = https://voteflux.com.br/ }}</ref>
เป็นขบวนการที่เกิดและมีการดำเนินงานมากที่สุดใน[[ออสเตรเลีย]] แต่ก็เป็นขบวนการสากลด้วยโดยมีกลุ่มดำเนินการใน[[ประเทศบราซิล]]<ref>{{cite web | date = 2016 | title = FLUX BRASIL | url = https://voteflux.com.br/ }}</ref>


* [[พรรคมติประชา]] หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า People Vote Party (PVP)<ref>{{cite web | url = http://www.peoplevote.info/ | title = พรรคมติประชา (People Vote Party) | website = www.peoplevote.info | accessdate = 2018-11-9}}</ref><ref>{{cite web | url = https://www.facebook.com/peoplevoteparty/ | title = Facebook พรรคมติประชา (People Vote Party) | website =พัฒนาชาติจากเสียงของประชาชน | accessdate = 2018-11-9}}</ref> เป็นพรรคการเมืองพรรคแรกใน[[ประเทศไทย]]ที่ใช้หลักการประชาธิปไตยโดยตรง (Electronic Direct Democracy หรือ Digital Direct Democracy) เป็นหลักในการดำเนินงานและจัดการกับความเห็นภายในพรรค และนำมันไปใช้ผ่านตัวแทนของพรรคใน[[รัฐสภา]] พรรคมติประชาจัดดั้งตาม[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย]]เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2561 และประกาศใน[[ราชกิจจานุเบกษา]]<ref>{{cite web | url = http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/D/068/T101.PDF | title = ประกาศนายทะเบียนพรรคกการเมือง เรื่องรับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคมติประชา | accessdate = 2018-09-06}}</ref> เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2561 พรรคมติประชาได้กำหนดให้ใช้ประชาธิปไตยทางตรงและกำหนดอยู่ในข้อบังคับของพรรค เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีการนำไปใช้ประชาธิปไตยโดยตรงไปใช้จริงเนื่องจากหลายครั้งมักเป็นเพียงแค่การโฆษณาชวนเชื่อหรือวาทะกรรมของนักการเมืองโดยที่มิได้นำระชาธิปไตยทางตรงมาใช้จริงและทำให้มีผลทางกฎหมาย พรรคจัดตั้งขึ้นโดยนาย[[อนุชิต งามพัฒนพงศ์ชัย]]<ref>{{Cite web | url = https://www.facebook.com/anuchitvoice/ | title = Anuchit Ngampattanapongchai | website = Facebook Anuchit Ngampattanapongchai @anuchitvoice | access-date = 2018-10-15}}</ref> ประชาชนคนไทยธรรมดาที่ไม่เคยเป็นนักการเมืองมาก่อนแต่ต้องการใช้สิทธิและอำนาจของตนโดยตรงไปยังรัฐสภาที่ไม่ใช่เป็นความเห็นของตัวแทนหรือผู้บริหารพรรค แต่กลับหาพรรคการเมืองแบบนี้ไม่ได้ในประเทศไทย จึงได้ร่วมกับกลุ่มคนที่ต้องการมีส่วนร่วมกับประชาธิปไตยที่มากกว่าการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเหมือนกันจัดตั้งพรรคการเมืองที่ใช้รูปแบบประชาธิปไตยโดยตรงภายในพรรคขึ้น โดยให้สมาชิกพรรคทุกคนได้มีโอกาสในเลือกและตัดสินใจด้วยหลักการหนึ่งคนหนึ่งเสียงผ่านโปรแกรมที่ต้องระบุตัวตนบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งเป็นที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายอยู่แล้วในสังคมของประเทศไทยในขณะนั้น
* [[พรรคมติประชา]] หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า People Vote Party (PVP)<ref>{{cite web | url = http://www.peoplevote.info/ | title = พรรคมติประชา (People Vote Party) | website = www.peoplevote.info | accessdate = 2018-11-9}}</ref><ref>{{cite web | url = https://www.facebook.com/peoplevoteparty/ | title = Facebook พรรคมติประชา (People Vote Party) | website =พัฒนาชาติจากเสียงของประชาชน | accessdate = 2018-11-9}}</ref> เป็นพรรคการเมืองพรรคแรกใน[[ประเทศไทย]]ที่ใช้หลักการประชาธิปไตยโดยตรง (Electronic Direct Democracy หรือ Digital Direct Democracy) เป็นหลักในการดำเนินงานและจัดการกับความเห็นภายในพรรค และนำมันไปใช้ผ่านตัวแทนของพรรคใน[[รัฐสภา]] พรรคมติประชาจัดดั้งตาม[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย]]เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2561 และประกาศใน[[ราชกิจจานุเบกษา]]<ref>{{cite web | url = http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/D/068/T101.PDF | title = ประกาศนายทะเบียนพรรคกการเมือง เรื่องรับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคมติประชา | accessdate = 2018-09-06}}</ref> เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2561 พรรคมติประชาได้กำหนดให้ใช้ประชาธิปไตยทางตรงและกำหนดอยู่ในข้อบังคับของพรรค เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีการนำไปใช้ประชาธิปไตยโดยตรงไปใช้จริงเนื่องจากหลายครั้งมักเป็นเพียงแค่การโฆษณาชวนเชื่อหรือวาทะกรรมของนักการเมืองโดยที่มิได้นำระชาธิปไตยทางตรงมาใช้จริงและทำให้มีผลทางกฎหมาย พรรคจัดตั้งขึ้นโดยนาย[[อนุชิต งามพัฒนพงศ์ชัย]]<ref>{{Cite web | url = https://www.facebook.com/anuchitvoice/ | title = Anuchit Ngampattanapongchai | website = Facebook Anuchit Ngampattanapongchai @anuchitvoice | access-date = 2018-10-15}}</ref> ประชาชนคนไทยธรรมดาที่ไม่เคยเป็นนักการเมืองมาก่อนแต่ต้องการใช้สิทธิและอำนาจของตนโดยตรงไปยังรัฐสภาที่ไม่ใช่เป็นความเห็นของตัวแทนหรือผู้บริหารพรรค แต่กลับหาพรรคการเมืองแบบนี้ไม่ได้ในประเทศไทย จึงได้ร่วมกับกลุ่มคนที่ต้องการให้สมาชิกมีส่วนร่วมกับการพัฒนาชาติที่มากไปกว่าการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจัดตั้งพรรคขึ้น โดยใช้รูปแบบประชาธิปไตยโดยตรงภายในพรรคที่ให้สมาชิกพรรคทุกคนได้มีโอกาสในเลือกและตัดสินใจด้วยหลักการหนึ่งคนหนึ่งเสียงผ่านโปรแกรมที่ต้องระบุตัวตนบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งเป็นที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายอยู่แล้วในสังคมของประเทศไทยในขณะนั้น


== ความสัมพันธ์กับขบวนการอื่น ๆ ==
== ความสัมพันธ์กับขบวนการอื่น ๆ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:29, 15 พฤศจิกายน 2561

การชุมนุมตามกระบวนการประชาธิปไตยโดยตรงที่เรียกว่า Landsgemeinde ในแคนทอนกลารุสปี พ.ศ. 2549 ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ประชาธิปไตยโดยตรง[1] (อังกฤษ: direct democracy) หรือ ประชาธิปไตยบริสุทธิ์ (อังกฤษ: pure democracy)[2][3][4] เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย ที่ประชาชนตัดสินการริเริ่มออกกฎหมาย/นโยบายต่าง ๆ โดยตรง ไม่ว่าจะโดยออกเสียงลงคะแนนหรือลงประชามติเป็นต้น ซึ่งต่างจากรัฐประชาธิปไตยปัจจุบันโดยมากอันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ที่ประชาชนออกเสียงเลือกผู้แทนเพื่อทำหน้าที่ริเริ่มแล้วออกเสียงตัดสินนโยบายอีกทอดหนึ่ง[5] ในระบอบนี้ ประชาชนอาจมีอำนาจการตัดสินใจทางฝ่ายบริหาร ริเริ่มแล้วตัดสินการออกกฎหมายทางฝ่ายนิติบัญญัติ เลือกตั้งและถอดถอนเจ้าหน้าที่ และดำเนินการทางฝ่ายตุลาการ ประชาธิปไตยโดยตรงมีรูปแบบหลัก ๆ สองอย่างคือประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ

กระบวนการประชาธิปไตยที่เกี่ยวข้อง

ประชาธิปไตยโดยตรงคล้ายกับแต่ต่างจากประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ที่ประชาชนจะเลือกผู้แทนให้เป็นผู้ริเริ่มออกกฎหมาย[5]

ขึ้นกับระบบที่ใช้ ประชาธิปไตยโดยตรงอาจรวมการตัดสินใจทางฝ่ายบริหาร การจับสลากเลือกผู้บริหารงาน (sortition) การออกกฎหมาย การเลือกหรือไล่เจ้าหน้าที่โดยตรง และงานฝ่ายตุลาการ รูปแบบสำคัญสองอย่างของระบบนี้ก็คือประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ

มีประชาธิปไตยกึ่งโดยตรงบางรูปแบบ ที่ผู้แทนจะบริหารการปกครองวันต่อวัน ส่วนประชาชนก็ยังคงเป็นองค์อธิปัตย์และสามารถใช้อำนาจโดยตรงได้โดยสามอย่างคือ การลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมาย และการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง การใช้อำนาจสองอย่างแรก คือการลงประชามติและการริเริ่มออกกฎหมาย เป็นตัวอย่างของนิติบัญญัติโดยตรง[6]

การลงประชามติโดยบังคับ (compulsory referendum) บังคับกฎหมายที่ร่างโดยอภิสิทธิชนทางการเมือง ให้อยู่ใต้อำนาจการลงคะแนนเสียงของประชาชน เป็นรูปแบบสามัญที่สุดของนิติบัญญัติโดยตรง ส่วน การขอประชามติ (referendum) หรือ การขอประชามติโดยเลือก (optional referendum) ให้อำนาจประชาชนเพื่ออุทธรณ์ให้ลงประชามติต่อกฎหมายที่มีอยู่แล้ว โดยอาจมีกำหนดช่วงเวลาหลังการออกกฎหมายที่สามารถอุทธรณ์ได้และจำนวนลายเซ็นที่ต้องมี และอาจบังคับให้มีลายเซ็นจากชุมชนหลายหลากเพื่อป้องกันผลประโยชน์ของคนกลุ่มน้อย[6] รูปแบบนี้เท่ากับให้ประชาชนผู้ลงคะแนนอำนาจยับยั้งกฎหมายที่ออกโดยผู้แทนฝ่ายนิติบัญญัติ ดังเช่นในประเทศสวิตเซอร์แลนด์[7][8][9][10]

การริเริ่มออกกฎหมาย (Initiative) ให้อำนาจแก่ประชาชนทั่วไปในการเสนอมาตรการกฎหมายโดยเฉพาะ ๆ หรือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และอาจเป็นแบบโดยตรงหรือโดยอ้อม แบบตรงจะระบุการริเริ่มที่ทำสำเร็จบนบัตรเลือกตั้งเพื่อการลงคะแนนโดยตรง (เหมือนกับระบบในแคลิฟอร์เนีย)[6] แบบอ้อมจะให้สภานิติบัญญัติพิจารณาการริเริ่มที่ทำสำเร็จก่อน แต่ว่า ถ้าสภาไม่ทำอะไรที่ยอมรับได้ในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ การริเริ่มก็จะระบุในบัตรเลือกตั้งให้ลงคะแนนโดยตรง สวิตเซอร์แลนด์ใช้แบบอ้อมเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ[6]

การถอดถอน (recall) ให้อำนาจถอนผู้ได้รับเลือกตั้งจากตำแหน่งก่อนวาระ[11]

ผู้เขียนบางท่านที่ชอบใจอนาธิปไตยกล่าวว่า ประชาธิปไตยโดยตรงจะอยู่ตรงข้ามกับอำนาจแบบรวมศูนย์ เพราะว่า อำนาจการตัดสินใจจะอยู่ที่ระดับเดียว คือ ที่ประชาชน (ผ่านประชาธิปไตยโดยตรง) เทียบกับอำนาจรวมศูนย์[12]

ประวัติ

ประชาธิปไตยโดยตรงแรกสุดเชื่อว่าเป็นประชาธิปไตยของชาวเอเธนส์ประมาณช่วงพุทธกาล (5 ศตวรรษก่อนคริสต์ศักราช) แม้ว่าจะไม่ใช่แบบที่ให้อำนาจแก่ประชาชนทั้งหมด คือไม่รวมหญิง คนต่างด้าว และทาส องค์ประชุมหลัก ๆ ของประชาธิปไตยชาวเอเธนส์ก็คือ

เอเธนส์มีประชาชนชายเพียงแค่ 30,000 คน แต่มีหลายพันที่มีบทบาททางการเมืองแต่ละปี และหลายคนจะทำเป็นปกติหลายปีต่อ ๆ กัน ประชาธิปไตยชาวเอเธนส์เป็นแบบ "โดยตรง" ไม่ใช่เพียงเพราะการตัดสินใจฝ่ายนิติบัญญัติที่ทำโดยสมัชชาประชาชน แต่เพราะประชาชนก็ยังควบคุมกระบวนการปกครองผ่านฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการ และเพราะประชาชนสัดส่วนใหญ่ก็มีบทบาทอย่างต่อเนื่องในรัฐกิจด้วย[13] ส่วนประชาธิปไตยปัจจุบันเป็นแบบมีผู้แทน ไม่ใช่โดยตรง และไม่เหมือนระบบของชาวเอเธนส์

รัฐที่เข้าประเด็นอีกอย่างก็คือโรมโบราณ โดยเฉพาะของสาธารณรัฐโรมันเริ่มต้นที่ 509 ปีก่อนคริสต์ศักราช[14] โรมได้มีลักษณะต่าง ๆ ของประชาธิปไตยทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เริ่มตั้งแต่ราชอาณาจักรโรมันจนกระทั่งถึงจักรวรรดิโรมันล่ม จริง ๆ แล้ว วุฒิสภาโรมันได้ตั้งขึ้นตั้งแต่วันแรก ๆ ของการตั้งเมือง คงอยู่ตลอดยุคราชอาณาจักร สาธารณรัฐ และจักรวรรดิ และยังคงอยู่แม้หลังจากที่โรมตะวันตกเสื่อมลง โดยโครงสร้างและข้อบังคับของวุฒิสภาโรมันก็ยังทรงอิทธิพลในสภานิติบัญญัติปัจจุบันต่าง ๆ ทั่วโลก สำหรับกระบวนการประชาธิปไตยโดยตรง สาธารณรัฐโรมันโบราณมีระบบการออกกฎหมายโดยประชาชน ซึ่งรวมการร่างกฎหมาย การผ่านกฎหมาย และอำนาจการยับยั้งกฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติออก นักประวัติศาสตร์จำนวนหนึ่งกำหนดจุดจบของสาธารณรัฐด้วยการผ่านกฎหมายชื่อว่า Lex Titia ซึ่งล้างบทบัญญัติการควบคุมดูแลของประชาชนและวุฒิสภาโดยมาก[14]

ส่วนการออกกฎหมายโดยประชาชนในยุคปัจจุบันได้เริ่มในเมืองต่าง ๆ ของสวิตเซอร์แลนด์ในคริสต์ทศวรรษที่ 13 ต่อมาในปี 2390 คนสวิสจึงได้เพิ่มอำนาจ "การขอเสียงประชามติต่อบทกฎหมาย" สำหรับรัฐธรรมนูญของประเทศ แล้วต่อมาจึงพบว่า การมีอำนาจเพียงแค่ยับยั้งกฎหมายรัฐสภายังไม่เพียงพอ ในปี 2434 จึงเพิ่มอำนาจ "การริเริ่มการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ" การเมืองชาวสวิสตั้งแต่ปี 2434 จึงเป็นประสบการณ์สำคัญของโลกเกี่ยวกับการริเริ่มการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญระดับชาติที่ริเริ่มแล้วตัดสินโดยประชาชน[15]

ใน 120 ปีที่ผ่านมา มีการริเริ่มกว่า 240 ครั้งที่ได้ลงประชามติ โดยประชาชนค่อนข้างจะอนุรักษนิยม คือได้ผ่านการริเริ่มเพียงแค่ 10% เป็นกฎหมาย นอกจากนั้นแล้ว บ่อยครั้งก็ยังเลือกการริเริ่มฉบับที่เขียนใหม่โดยรัฐบาล (ดูหัวข้อ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ข้างหน้า) [7][8][9][10]

มีประเด็นบางอย่างเกี่ยวกับประชาธิปไตยที่ใช้อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีการสื่อสารอื่น ๆ ในบทความประชาธิปไตยอิเล็กทรอนิคส์และในหัวข้อ "ประชาธิปไตยโดยตรงแบบอิเล็กทรอนิคส์" ข้างหน้า โดยเฉพาะก็คือ เป็นแนวคิดวิธีการปกครองแบบโอเพนซอร์ซที่ประยุกต์ใช้หลักจากขบวนการซอฟต์แวร์เสรีในการปกครองประชาชน คือให้ประชาชนทั้งหมดมีส่วนร่วมในการปกครองโดยตรง มากน้อยตามที่ตนต้องการ[16]

ตัวอย่าง

เมืองเอเธนส์โบราณ

ประชาธิปไตยชาวเอเธนส์ได้พัฒนาขึ้นในนครรัฐกรีกโบราณเอเธนส์ ซึ่งรวมนครเอเธนส์เองบวกกับอาณาเขตรอบ ๆ ที่รวมเรียกว่า Attica ประมาณพุทธกาลคือ 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นประชาธิปไตยแรกรัฐหนึ่งที่รู้จัก แม้ว่านครรัฐกรีกอื่น ๆ จะใช้ระบอบประชาธิปไตยเช่นกัน และโดยมากจะทำตามแบบเอเธนส์ แต่ก็ไม่มีรัฐอื่นที่มีอำนาจ เสถียร หรือเหลือร่องรอยหลักฐานเท่ากับของเอเธนส์ ในประชาธิปไตยโดยตรงของเอเธนส์ ประชาชนไม่ได้เลือกผู้แทนให้ออกเสียงลงคะแนนเพื่อผ่านกฎหมายฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหารเพื่อประโยชน์แห่งตน (ดังที่ทำในสหรัฐอเมริกา) แต่ตัวเองนั่นแหละเป็นคนลงคะแนน การมีส่วนร่วมไม่ได้เปิดโดยทั่วไป คือมีการจำกัดแม้ว่าจะไม่ได้จำกัดโดยชนชั้นทางเศรษฐกิจ[ต้องการอ้างอิง] และประชาชนก็มีส่วนร่วมอย่างมาก โดยความเห็นของประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงจะได้รับอิทธิพลจากละครเสียดสีทางการเมืองของศิลปินตลกชาวกรีกที่แสดงในโรงละคร[17]

รัฐบุรุษ Solon (594 ก่อนคริสต์ศักราช) ขุนนาง Cleisthenes (508-7 ก่อน ค.ศ.) และนักการเมือง Ephialtes (462 ก่อน ค.ศ.) ล้วนแต่มีบทบาทพัฒนาระบอบประชาธิปไตยชาวเอเธนส์ แต่นักประวัติศาสตร์เห็นต่างกันว่า พวกเขามีบทบาทสร้างสถาบันอะไร และคนไหนเป็นผู้แทนที่แท้จริงของขบวนการประชาธิปไตย โดยปกติจะจัดว่า ประชาธิปไตยชาวเอเธนส์เริ่มมาจาก Cleisthenes เพราะว่ารัฐธรรมนูญของ Solon ได้ล่มแล้วถูกทดแทนด้วยระบอบทรราชย์ของ Peisistratus

ผู้นำประชาธิปไตยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและคงยืนที่สุดก็คือเพริคลีส (Pericles) ภายหลังการเสียชีวิตของเขา ระบอบประชาธิปไตยของชาวเอเธนส์ก็ถูกปฏิวัติเปลี่ยนเป็นคณาธิปไตยอย่างสั้น ๆ 2 ครั้งท้ายสงครามเพโลพอนนีเซียน แล้วต่อมาจึงฟื้นฟูอีกแม้จะเปลี่ยนไปภายใต้การปกครองของยูคลีดีส (Eucleides) ปี 403-402 ก่อน ค.ศ. เป็นช่วงที่ได้รายละเอียดเกี่ยวกับการปกครองมากที่สุด ไม่ใช่ได้ในช่วงการปกครองของเพริคลีส ต่อมาจึงถูกระงับอีกในปี 322 ก่อน ค.ศ. ภายใต้การปกครองของชาวมาเซโดเนีย แม้ภายหลังสถาบันของชาวเอเธนส์จะกลับคืนมาอีก แต่ความเป็นประชาธิปไตยจริง ๆ ของระบอบก็เป็นเรื่องไม่ชัดเจน[18]

ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยที่ไม่ต้องลงทะเบียน ประชาชนทุกคนจะได้รับบัตรลงคะแนนตลอดจนโบรชัวร์ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่ลงคะแนนแต่ละอย่าง และสามารถส่งบัตรกลับทางไปรษณีย์ ประเทศมีกลไกสำหรับประชาธิปไตยโดยตรงหลายอย่าง และจะมีการลงคะแนนประมาณ 4 ครั้งต่อปี

สวิตเซอร์แลนด์

ในปัจจุบัน รูปแบบบริสุทธิ์ของประชาธิปไตยโดยตรงมีอยู่เพียงแค่ในแคนทอนอัพเพินท์เซลล์อินเนอร์โรเดิน (Appenzell Innerrhoden) และแคนทอนกลารุส แห่งประเทศสวิตเซอร์แลนด์[19] เทียบกับสมาพันธรัฐสวิสโดยรวมที่เป็นประชาธิปไตยกึ่งโดยตรง คือเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนที่มีกลไกทางประชาธิปไตยโดยตรงที่เข้มแข็ง[19] ความเป็นประชาธิปไตยโดยตรงของประเทศ จะบูรณาการด้วยโครงสร้างแบบสหพันธรัฐของรัฐบาลกลาง (เยอรมัน: Subsidiaritätsprinzip) [7][8][9][10] เทียบกับประเทศตะวันตกโดยมากที่เป็นระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน[19]

สวิตเซอร์แลนด์เป็นตัวอย่างหายากของประเทศที่มีกลไกของประชาธิปไตยโดยตรงทั้งในระดับเทศบาล แคนทอน และสหพันธรัฐ โดยประชาชนจะมีอำนาจมากกว่าในประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ในระดับการเมืองทุกส่วน ประชาชนสามารถเสนอการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ (การริเริ่มออกกฎหมายของประชาชน) หรือการขอประชามติโดยเลือก (optional referendum ซึ่งต้องมีลายเซ็น 50,000 ราย) ต่อกฎหมายที่ออกโดยรัฐสภาระดับสหพันธรัฐ แคนทอน และ/หรือเทศบาล[20]

การขอประชามติโดยเลือก (optional referendum) และการลงประชามติโดยบังคับ (compulsory referendum) ในระดับการปกครองต่าง ๆ โดยทั่วไปจะทำมากกว่าในประเทศอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่น ในระดับประเทศ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะบังคับให้ลงคะแนนเสียงโดยทั้งประชาชนและแคนทอน ส่วนในระดับแคทอนและระดับท้องถิ่นอื่น ๆ การตัดสินใจเรื่องงบประมาณที่พอสมควรไม่ว่าจะโดยฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหาร ก็บังคับให้ประชาชนได้ลงคะแนนเสียงด้วยเหมือนกัน[20]

ประชาชนชาวสวิสจะออกเสียงลงคะแนน 4 ครั้งต่อปี ในประเด็นปัญหาทุกอย่างในทุก ๆ ระดับการปกครอง ไม่ว่าจะเป็นการอนุมัติงบประมาณสำหรับอาคารโรงเรียนหรือการสร้างถนนใหม่ จะเป็นการเปลี่ยนนโยบายเรื่องอาชีพทางเซ็กซ์ เป็นการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ หรือนโยบายต่างประเทศ[21]

ในระหว่างเดือนมกราคม 2538 จนถึงเดือนมิถุนายน 2548 ประชาชนได้ลงคะแนนออกเสียง 31 ครั้ง เกี่ยวกับปัญหาระดับประเทศ 103 เรื่อง ปัญหาระดับแคนทอนและเทศบาลมากมายยิ่งกว่านั้น[22] เทียบกับประชาชนชาวฝรั่งเศสที่มีส่วนร่วมลงประชามติเพียงแค่สองครั้งในช่วงเดียวกัน[19]

ในสวิตเซอร์แลนด์ การได้คะแนนเกินครึ่งของที่ออกเสียงลงคะแนน (simple majority) ก็พอแล้วในระดับเทศบาลและแคนทอน แต่ในระดับประเทศ การได้เสียงข้างมากโดยอย่างน้อย 2 เกณฑ์ (double majority) เป็นข้อบังคับในเรื่องเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ[15] ซึ่งก็คือ ต้องได้เสียงข้างมากจากประชาชนที่ลงคะแนน และจากแคนทอน

ดังนั้น ถ้าประชาชนเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในระดับประเทศ ถึงแม้ประชาชนโดยมากจะอนุมัติแต่แคนทอนโดยมากคัดค้าน สิ่งที่เสนอก็จะไม่ผ่านเป็นกฎหมาย[15] ส่วนการลงประชามติในเรื่องทั่ว ๆ ไป (เช่น หลักของการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั่วไป) การได้เสียงส่วนมากจากคนที่ออกเสียงก็พอแล้ว (เช่นรัฐธรรมนูญปี 2548)

ในปี 2433 เมื่อกำลังอภิปรายข้อกำหนดการออกฎหมายของประชาชนในประชาสังคมและรัฐบาล ชาวสวิสได้รับเอาแนวคิดการได้เสียงข้างมากสองอย่างจากรัฐสภาสหรัฐ ที่สภาผู้แทนราษฎรจะเป็นผู้แทนให้ประชาชน และวุฒิสภาจะเป็นผู้แทนให้รัฐต่าง ๆ[15]

ตามผู้สนับสนุน การออกกฎหมายของประชาชนในระดับประเทศที่ "สมบูรณ์ด้วยความชอบธรรม" เช่นนี้ ได้ประสบความสำเร็จอย่างมาก ทนายและนักการเมืองชาวอเมริกันคนหนึ่ง (Kris Kobach) อ้างว่า สวิตเซอร์แลนด์ประสบความสำเร็จทั้งในด้านสังคมและด้านเศรษฐกิจโดยมีประเทศอื่น ๆ เพียงแค่ 2-3 ประเทศเท่านั้นที่สามารถเทียบได้ เขาเขียนในท้ายหนังสือของเขาว่า บ่อยครั้งที่ผู้สังเกตการณ์จะลงความเห็นว่า สวิตเซอร์แลนด์เป็นตัวประหลาดในบรรดาระบอบการปกครองทั้งหลาย ทั้งที่จริงสมควรจะมองว่าเขาว่าเป็นประเทศที่บุกเบิก ระบอบการปกครองของสวิตเซอร์แลนด์ รวมทั้งกลไกของประชาธิปไตยโดยตรงตลอดจนการปกครองแบบแบ่งเป็นหลายระดับ ได้กลายเป็นจุดสนใจของนักวิชาการในเรื่องการรวมหน่วยของสหภาพยุโรป[23]

สหรัฐอเมริกา

ในเขตนิวอิงแลนด์ในสหรัฐ เทศบาลต่าง ๆ จะมีระบบ การปกครองตนเองของท้องถิ่น (home rule) แบบจำกัด และตัดสินเรื่องในท้องถิ่นผ่านกระบวนการประชาธิปไตยโดยตรงที่เรียกว่า ประชุมเมือง (town meeting)[24] ซึ่งเป็นรูปแบบประชาธิปไตยโดยตรงที่เก่าแก่ที่สุดในสหรัฐ และได้มีมาตั้งแต่ก่อนตั้งประเทศอย่างน้อยก็หนึ่งศตวรรษ

แต่ว่า ประชาธิปไตยโดยตรงก็ไม่ใช่สิ่งที่ผู้กำหนดกรอบรัฐธรรมนูญสหรัฐได้วางแผนให้กับประเทศ เพราะพวกเขามองเห็นอันตรายของเผด็จการโดยเสียงข้างมาก และดังนั้น จึงสนับสนุนระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนในรูปแบบของสาธารณรัฐตามรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ประชาธิปไตยโดยตรง

ยกตัวอย่างเช่น บิดาของรัฐธรรมนูญสหรัฐและประธานาธิปดีคนที่ 4 เจมส์ เมดิสัน สนับสนุนสาธารณรัฐตามรัฐธรรมนูญเหนือประชาธิปไตยโดยตรง โดยเฉพาะก็เพื่อป้องกันปัจเจกบุคคลจากเจตจำนงของคนส่วนมาก โดยได้กล่าวไว้ว่า

ผู้มีทรัพย์สินและผู้ไม่มี ย่อมมีความสนใจ/ผลประโยชน์ในสังคมที่ไม่เหมือนกันตลอดกาล

ผู้ที่เป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ ก็ตกอยู่ใต้การเลือกปฏิบัติเช่นกัน กลุ่มที่ดิน กลุ่มการผลิต กลุ่มพ่อค้า กลุ่มการเงิน และกลุ่มเล็กกว่าอื่น ๆ ก็เติบโตขึ้นจากความจำเป็นในประเทศศิวิไลซ์ ซึ่งแบ่งพวกเขาเป็นชนชั้นต่าง ๆ โดยได้แรงกระตุ้นจากความรู้สึกและมุมมองที่ต่างกัน การควบคุมกลุ่มต่าง ๆ ที่ขัดแย้งกันเหล่านี้ เป็นงานหลักของการออกกฎหมายปัจจุบัน และโยงใยกับสปิหริดของพรรคและฝ่าย ภายใต้การดำเนินการของรัฐบาลที่ปกติและจำเป็น ประชาธิปไตยบริสุทธิ์ ซึ่งผมหมายถึงสังคมที่มีประชาชนจำนวนน้อย ผู้ประชุมกันและบริหารรัฐบาลเอง ไม่สามารถอ้างว่ามีวิธีแก้ปัญหาของพรรคฝ่ายเช่นนี้ คนส่วนมากจะเห็นด้วยกับความรู้สึกหรือความสนใจที่สามัญ โดยไม่มีอะไรจูงใจเพื่อกีดขวางการสังเวยกลุ่มที่อ่อนแอกว่า ดังนั้น ประชาธิปไตยจะไม่มีทางเข้ากับความปลอดภัยส่วนบุคคลหรือสิทธิในทรัพย์สิน และโดยทั่วไป ก็จะมีอายุสั้นเท่ากับความรุนแรงที่จะสิ้นชีพไป

จอห์น วิเธอร์สปูน ซึ่งเป็นผู้ลงนามคำประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกากล่าวว่า "ประชาธิปไตยบริสุทธิ์ไม่สามารถดำรงอยู่ได้นานด้วย ไม่สามารถใช้ในส่วนต่าง ๆ ของรัฐด้วย (เพราะ) มันตกอยู่ใต้การทำตามอำเภอใจและตามความบ้าเนื่องจากความคลั่งไคล้ของประชาชน" ส่วนอเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน ผู้เป็นบิดาของประเทศและเลขาธิการกระทรวงการคลังสหรัฐคนแรก ได้กล่าวไว้ว่า "จุดยืนว่า ถ้าประชาธิปไตยบริสุทธิ์สามารถปฏิบัติได้ ก็จะเป็นระบบการปกครองที่สมบูรณ์ที่สุด (แต่) ประสบการณ์ได้พิสูจน์แล้วว่า ไม่มีจุดยืนไหนที่เป็นเท็จยิ่งกว่านี้ ประชาธิปไตยโบราณต่าง ๆ ที่ประชาชนเองปรึกษาหารือ ไม่มีลักษณะการปกครองอะไรดีสักอย่าง (เพราะ) ลักษณะโดยเฉพาะของพวกมันก็คือ เป็นระบบทรราชย์ และรูปร่างของมันก็พิกลพิการ"[26]

แม้ว่าผู้กำหนดกรอบจะตั้งใจเช่นนี้เมื่อตั้งประเทศ ทั้งการเสนอกฎหมายเพื่อลงคะแนนโดยประชาชน (ballot measure) และการลงประชามติที่เป็นของคู่กัน ก็ได้ใช้อย่างกว้างขวางในทั้งระดับรัฐและระดับท้องถิ่นอื่น ๆ และก็มีกฎหมายที่ตั้งโดยการพิพากษา (case law) ต่าง ๆ ในทั้งระดับรัฐและระดับประเทศระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1900 จนถึง 1990 ที่ป้องกันสิทธิอำนาจของประชาชนในการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยตรง[27][28] กรณีพิพากษาแรกของศาลสูงสุดสหรัฐที่ได้ตัดสินคดีเห็นชอบกับการออกกฎหมายของประชาชน เกิดขึ้นในปี 2455 (Pacific States Telephone and Telegraph Company v. Oregon, 223 U.S. 118)[29]

ส่วนประธานาธิบดีธีโอดอร์ โรสเวลต์ ในปาฐกถาปี 2455 หัวข้อว่า กฎบัตรของประชาธิปไตย (Charter of Democracy) ที่ให้ ณ การประชุมใหญ่เรื่องรัฐธรรมนูญในรัฐโอไฮโอ กล่าวว่า "ผมเชื่อมั่นในกระบวนการริเริ่มออกกฎหมายและการลงประชามติ ซึ่งควรใช้ไม่ใช่เพื่อทำลายรัฐบาลแบบมีตัวแทน แต่เพื่อแก้ไขเธอเมื่อเธอไม่เป็นตัวแทนที่ดี"[30] จะเห็นได้ว่าบุคคลที่กล่าวแย้งเรื่องประชาธิปไตยโดยตรงล้วนเป็นตัวแทนทั้งสิ้น

ในรัฐต่าง ๆ การขอ/ลงประชามติที่ประชาชนสามารถใช้อำนาจรวมทั้ง[ต้องการอ้างอิง]

  • การส่งต่อ (Referral) ให้ประชาชนโดยฝ่ายนิติบัญญัติเกี่ยวกับ "การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่เสนอ" (proposed constitutional amendments) ซึ่งเป็นบัญญัติตามรัฐธรรมนูญของรัฐ 49 รัฐยกเว้นรัฐเดลาแวร์ (Initiative & Referendum Institute, 2004)
  • การส่งต่อให้ประชาชนโดยฝ่ายนิติบัญญัติเกี่ยวกับ "บทบัญญัติกฎหมายที่เสนอ" (proposed statute laws) ซึ่งเป็นบัญญัติตามรัฐธรรมนูญของรัฐ 50 รัฐ (Initiative & Referendum Institute, 2004)
  • การริเริ่มการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (Constitutional amendment initiative) เป็นกระบวนการเรียกร้องที่กำหนดในรัฐธรรมนูญเพื่อ "กฎหมายในรัฐธรรมนูญที่เสนอ" ซึ่งถ้าสำเร็จ ก็จะมีผลเป็นบทบัญญัติที่ระบุโดยตรงในรัฐธรรมนูญระดับรัฐ เนื่องจากฝ่ายนิติบัญญัติไม่สามารถแก้บัญญัติในรัฐธรรมนูญได้ องค์เช่นนี้ของประชาธิปไตยโดยตรงให้อำนาจที่เหนือกว่าและสูงสุดแก่ประชาชนโดยอัตโนมัติ เหนือกว่ารัฐบาลที่เป็นผู้แทน (Magelby, 1984) ซึ่งใช้ใน 19 รัฐคือ แอริโซนา อาร์คันซอ แคลิฟอร์เนีย โคโลราโด ฟลอริดา อิลลินอยส์ ลุยเซียนา แมสซาชูเซตส์ มิชิแกน มิสซิสซิปปี มิสซูรี มอนแทนา เนแบรสกา เนวาดา นอร์ทดาโคตา โอไฮโอ โอคลาโฮมา ออริกอน เซาท์ดาโคตา[31] ในบรรดารัฐเหล่านี้ การริเริ่มเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมี 3 รูปแบบหลัก โดยฝ่ายนิติบัญญัติของรัฐจะมีบทบาทในระดับต่าง ๆ กัน ซึ่งเป็นตัวแยกแยะรูปแบบ[29]
  • การริเริ่มบัญญัติกฎหมาย (Statute law initiative) เป็นกระบวนการเรียกร้องที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ เริ่มโดยประชาชนในเรื่อง "บัญญัติกฎหมายที่เสนอ" ซึ่งถ้าผ่าน ก็จะมีผลเป็นกฎหมายเขียนลงในบัญญัติกฎหมายของรัฐโดยตรง ซึ่งใช้ในรัฐ 21 รัฐ คือ อะแลสกา แอริโซนา อาร์คันซอ แคลิฟอร์เนีย โคโลราโด ไอดาโฮ เมน แมสซาชูเซตส์ มิชิแกน มิสซูรี มอนแทนา เนแบรสกา เนวาดา โอไฮโอ โอคลาโฮมา ออริกอน เซาท์ดาโคตา ยูทาห์ วอชิงตัน และไวโอมิง[31] ให้สังเกตว่า การออกกฎหมายโดยประชาชน (คือ การริเริ่มบัญญัติกฎหมายและการขอ/ลงประชามติ) ไม่ใช่เป็นบัญญัติในรัฐธรรมนูญของยูทาห์ แต่เป็นบทบัญญัติกฎหมายของรัฐ[29] ในรัฐโดยมาก กฎหมายที่ออกโดยประชาชนจะไม่พิเศษ คือฝ่ายนิติบัญญัติสามารถเริ่มเปลี่ยนกฎหมายได้ทันที
  • การขอประชามติสำหรับบัญญัติกฎหมาย (Statute law referendum) เป็นกระบวนการเรียกร้องที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ เริ่มโดยประชาชนเพื่อ "การเสนอยับยั้งกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติทั้งหมดหรือบางส่วน" ซึ่งถ้าผ่าน ก็จะยกเลิกกฎหมายที่มีอยู่ ซึ่งใช้ในระดับรัฐ 24 รัฐ คือ อะแลสกา แอริโซนา อาร์คันซอ แคลิฟอร์เนีย โคโลราโด ไอดาโฮ เคนทักกี เมน แมริแลนด์ แมสซาชูเซตส์ มิชิแกน มิสซูรี มอนแทนา เนแบรสกา เนวาดา นิวเม็กซิโก นอร์ทดาโคตา โอไฮโอ โอคลาโฮมา ออริกอน เซาท์ดาโคตา ยูทาห์ วอชิงตัน และไวโอมิง[31]
  • การถอดถอน (recall) เป็นกระบวนการเรียกร้องที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ เริ่มโดยประชาชนเพื่อถอดผู้ได้รับเลือกตั้งจากตำแหน่ง ในรัฐและเขตท้องถิ่นโดยมากที่มีกระบวนการเช่นนี้ ประชาชนจะลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งคนอื่นพร้อม ๆ กับลงคะแนนเพื่อถอดถอนตำแหน่ง โดยคนที่ได้รับเลือกตั้งในบัตรนี้จะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งคนต่อไป ถ้าการถอดถอนผ่าน เป็นกระบวนการซึ่งใช้ในรัฐ 19 รัฐ คือ อะแลสกา แอริโซนา แคลิฟอร์เนีย โคโลราโด จอร์เจีย ไอดาโฮ อิลลินอยส์ แคนซัส ลุยเซียนา มิชิแกน มินนิโซตา มอนแทนา เนวาดา นิวเจอร์ซีย์ นอร์ทดาโคตา ออริกอน โรดไอแลนด์ วอชิงตัน และวิสคอนซิน[32]

ปัจจุบันมีรัฐ 24 รัฐที่มีกระบวนการทางประชาธิปไตยโดยตรงที่กำหนดโดยรัฐธรรมนูญและเริ่มโดยประชาชน[29] ในสหรัฐโดยมาก การได้คะแนนเสียงข้างมากอย่างเดียวก็พอตัดสินกระบวนการเหล่านี้[ต้องการอ้างอิง] นอกจากนั้น เขตท้องถิ่นอื่น ๆ จำนวนมากในสหรัฐก็ยังมีกระบวนการบางอย่างหรือทั้งหมดเหล่านี้ โดยที่การริเริ่มกฎหมายในบางกรณี (เช่น การเพิ่มภาษี) จะบังคับให้ได้คะแนนเสียงเกินกว่าครึ่ง (supermajority) ก่อนที่จะผ่าน แม้ในรัฐที่ไม่มีหรือแทบไม่มีกระบวนการประชาธิปไตยโดยตรง ประชาชนก็ยังมีโอกาสตัดสินเรื่องโดยเฉพาะบางเรื่องโดยตรง เช่น จะให้ขายสุราในเขตท้องถิ่นนั้นหรือไม่[ต้องการอ้างอิง]

ทางเลือกการปฏิรูปประชาธิปไตยที่ยาก 3 อย่าง

นักทฤษฎีเกี่ยวกับประชาธิปไตยได้ระบุลักษณะที่พึงปรารถนาแต่ได้พร้อมกันยาก 3 อย่างในระบบประชาธิปไตยโดยตรงที่สมบูรณ์ คือ

  1. การมีส่วนร่วม - คือประชาชนจำนวนมากที่ได้รับผลมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
  2. การปรึกษาหารือ/การอภิปราย - คือมีการสนทนากันโดยเหตุผลที่แสดงน้ำหนักของมุมมองสำคัญต่าง ๆ ตามหลักฐาน
  3. ความเท่าเทียมกัน - คือประชาชนทั้งหมดที่มีอำนาจตัดสินมีโอกาสได้การพิจารณามุมมองของตนเสมอกัน

หลักฐานเชิงประสบการณ์จากงานศึกษาเป็นโหล ๆ แสดงว่า การปรึกษาหารือ/การอภิปราย ทำให้ตัดสินใจได้ดีกว่า[12][33] ส่วนการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยตรงที่คัดค้านกันมากที่สุดก็คือ การขอ/ลงประชามติเรื่องรัฐธรรมนูญ[34]

แต่ว่า ยิ่งมีผู้เข้าร่วมเท่าไร ก็ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายยิ่งขึ้นเท่านั้นเพื่อจัดให้มีการสนทนาที่มีคุณภาพ และให้ข้อมูลที่ชัดเจนและเป็นกลาง[ต้องการอ้างอิง] อนึ่ง ยากที่คนแต่ละคนจะมีส่วนให้ข้อมูลอย่างสำคัญ เมื่อมีคนจำนวนมากร่วมกันสนทนา[ต้องการอ้างอิง] ในระบบที่เคารพความเท่าเทียมกันทางการเมือง ไม่ "ทุกคน" ก็จะต้องมีส่วนร่วม หรือไม่ก็จะต้องสุ่มตัวอย่างบุคคลเป็นตัวแทนในการสนทนา

ตามนักรัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เจมส์ ฟิชกิน ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือเป็นรูปแบบประชาธิปไตยโดยตรงที่ตอบสนองต่อการให้มีการปรึกษาหารือและความเท่าเทียมกัน แต่ก็ไม่ได้ให้ทุกคนผู้ต้องการมีส่วนต้องได้ส่วนร่วม เทียบกับประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมที่เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมและปรึกษาหารือ แต่จำต้องสังเวยความเท่าเทียมกัน เพราะถ้าอนุญาตให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างทั่วไป การมีทรัพยากรเพื่อสนับสนุนประชาชนผู้ให้เวลาเพื่อมีส่วนร่วมในการปรึกษาหารือเป็นไปได้ยาก ดังนั้น ผู้เข้าร่วมก็มักจะเป็นบุคคลที่มีความสนใจ/มีผลประโยชน์ในเรื่องที่จะตัดสินสูง และบ่อยครั้งจะไม่เป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมด[35]

ฟิชกินเสนอแทนว่า การชักตัวอย่างแบบสุ่มควรใช้เลือกคนจำนวนน้อยที่ยังสามารถเป็นตัวแทนได้ จากประชาชนทั่วไป[11][12] ดังที่ใช้ในประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือที่เขาสนับสนุน ฟิชกินยอมรับว่า ระบอบที่แก้ปัญหาทั้งสามอย่างอาจเป็นไปได้ แต่ว่า จะต้องมีการปฏิรูปอย่างสุด ๆ ถ้าระบบที่ว่าจะสามารถรวมเข้ากับระบอบการปกครองกระแสหลักได้

ประชาธิปไตยโดยตรงแบบอิเล็กทรอนิคส์

ประชาธิปไตยโดยตรงแบบอิเล็กทรอนิคส์ (Electronic direct democracy, EDD) หรือรู้จักอีกอย่างหนึ่งว่า ประชาธิปไตยดิจิตัลโดยตรง (direct digital democracy, DDD)[36] เป็นรูปแบบหนึ่งของประชาธิปไตยโดยตรงที่ใช้โทรคมนาคมเพื่ออำนวยให้ประชาชนมีส่วนร่วม ซึ่งบางครั้งก็เรียกเป็นชื่อภาษาอังกฤษอย่างอื่น ๆ ได้ด้วยเช่น open-source governance (วิธีการปกครองแบบโอเพนซอร์ซ) หรือ collaborative governance (วิธีการปกครองแบบปรึกษาหารือ)

ระบบนี้ให้ออกคะแนนเสียงทางอิเล็กทรอนิคส์ หรือด้วยวิธีการอย่างอื่น ๆ เพื่อลงคะแนนเสียงเกี่ยวกับประเด็นปัญหาต่าง ๆ ทางอิเล็กทรอนิคส์ และเหมือนกับประชาธิปไตยโดยตรงแบบอื่น ๆ ประชาชนจะมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเกี่ยวกับนิติบัญญัติ เขียนกฎหมายใหม่ และถอดถอนผู้แทน ถ้ายังมีผู้แทนอยู่

สถาบันเทคโนโลยีฟลอลิดาได้ทำงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสนับสนุน EDD[37] ซึ่งสถาบันเองก็ได้ใช้ในองค์กรต่าง ๆ ของนักศึกษา อนึ่ง ยังมีโปรเจ็กต์พัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ อีกมาก[38] ตลอดจนโครงการสนับสนุนอื่น ๆ[39] มีหลายโครงการที่ทำงานร่วมมือกันโดยใช้สถาปัตยกรรมข้ามแพลตฟอร์ม ภายใต้โครงการ Metagovernment (อภิรัฐบาล)[40]

ยังไม่มีรัฐบาลไหน ๆ ในโลกที่ใช้ EDD ทั้งระบบ แม้ว่าจะมีโครงการริเริ่มหลายโครงการ

  • ในสหรัฐช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาปี 2535 และ 2539 อภิมหาเศรษฐีผู้สมัครรับเลือกตั้งรอสส์ เพโรต์ ได้สนับสนุนให้มี ประชุมเมืองทางอิเล็กทรอนิคส์ (electronic town meeting)
  • ในสวิตเซอร์แลนด์ ที่ปกครองด้วยประชาธิปไตยโดยตรงเป็นบางส่วน ก็กำลังดำเนินการใช้ระบบเช่นนี้[41]
  • พรรคประชาธิปไตยโดยตรงออนไลน์ (Online Direct Democracy, ชื่อเดิม Senator Online) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองในประเทศออสเตรเลียที่ได้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาของรัฐบาลกลางออเสตรเลียในปี 2550 ได้เสนอใช้ระบบ EDD เพื่อให้คนออสเตรเลียตัดสินว่า สมาชิกวุฒิสภาที่ได้รับเลือกจะลงคะแนนออกเสียงในแต่ละเรื่องอย่างไร[42]
  • มีโครงการริเริ่มคล้ายกันปี 2545 ของพรรคประชาธิปัตย์โดยตรง (Direktdemokraterna, ชื่อเดิม Aktivdemokrati) ในการสมัครรับเลือกตั้งผู้แทนราษฎรในรัฐสภาสวีเดน ซึ่งเสนอให้สมาชิกมีอำนาจตัดสินการดำเนินการของพรรคทั่วไปหรือในบางเรื่อง หรือโดยเป็นทางเลือก การมีผู้แทนอันสมาชิกสามารถถอดถอนได้ทันทีในเรื่องบางเรื่อง

ตั้งแต่ต้นปี 2554 พรรคการเมืองแบบ EDD เช่นนี้ก็เริ่มร่วมมือกันผ่านองค์กร Participedia wiki[43]

  • พรรคประชาธิปไตยโดยตรงหลักพรรคแรกที่ลงทะเบียนกับคณะกรรมการเลือกตั้งก็คือ พรรค People's Administration Direct Democracy แห่งสหราชอาณาจักร[44]

พรรคได้พัฒนาและตีพิมพ์โครงสร้างสมบูรณ์ของการปฏิรูปที่เป็นไปตามกฎหมายเพื่อสร้าง EDD (รวมทั้งการปฏิรูปรัฐสภาที่จำเป็น)[45] ทำให้สามารถวิวัฒนาการระบบการปกครองผ่านการออกเสียงลงคะแนนด้วยเสียงข้างมากอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยไม่ต้องปฏิวัติใช้ความรุนแรง พรรคตั้งขึ้นโดยนักดนตรีและนักปฏิบัติการทางการเมือง สนับสนุนให้ใช้เว็บและโทรศัพท์เพื่อให้ผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนสามารถสร้าง เสนอ และออกเสียงลงคะแนนเกี่ยวกับการออกกฎหมายของรัฐ แผนงานละเอียดของพรรคได้ตีพิมพ์ในวรรณกรรมรูปแบบต่าง ๆ ตั้งแต่ปี 2541

  • ฟลักซ์ (Flux) เป็นขบวนการทางการเมืองมีจุดมุ่งหมายเพื่อเปลี่ยนระบบนิติบัญญัติแบบเลือกตั้งของโลกด้วยระบบอิเล็กทรอนิคส์ใหม่ที่เรียกว่า issue-based direct democracy (ประชาธิปไตยโดยตรงตามประเด็นปัญหา)

เป็นขบวนการที่เกิดและมีการดำเนินงานมากที่สุดในออสเตรเลีย แต่ก็เป็นขบวนการสากลด้วยโดยมีกลุ่มดำเนินการในประเทศบราซิล[46]

  • พรรคมติประชา หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า People Vote Party (PVP)[47][48] เป็นพรรคการเมืองพรรคแรกในประเทศไทยที่ใช้หลักการประชาธิปไตยโดยตรง (Electronic Direct Democracy หรือ Digital Direct Democracy) เป็นหลักในการดำเนินงานและจัดการกับความเห็นภายในพรรค และนำมันไปใช้ผ่านตัวแทนของพรรคในรัฐสภา พรรคมติประชาจัดดั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2561 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา[49] เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2561 พรรคมติประชาได้กำหนดให้ใช้ประชาธิปไตยทางตรงและกำหนดอยู่ในข้อบังคับของพรรค เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีการนำไปใช้ประชาธิปไตยโดยตรงไปใช้จริงเนื่องจากหลายครั้งมักเป็นเพียงแค่การโฆษณาชวนเชื่อหรือวาทะกรรมของนักการเมืองโดยที่มิได้นำระชาธิปไตยทางตรงมาใช้จริงและทำให้มีผลทางกฎหมาย พรรคจัดตั้งขึ้นโดยนายอนุชิต งามพัฒนพงศ์ชัย[50] ประชาชนคนไทยธรรมดาที่ไม่เคยเป็นนักการเมืองมาก่อนแต่ต้องการใช้สิทธิและอำนาจของตนโดยตรงไปยังรัฐสภาที่ไม่ใช่เป็นความเห็นของตัวแทนหรือผู้บริหารพรรค แต่กลับหาพรรคการเมืองแบบนี้ไม่ได้ในประเทศไทย จึงได้ร่วมกับกลุ่มคนที่ต้องการให้สมาชิกมีส่วนร่วมกับการพัฒนาชาติที่มากไปกว่าการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจัดตั้งพรรคขึ้น โดยใช้รูปแบบประชาธิปไตยโดยตรงภายในพรรคที่ให้สมาชิกพรรคทุกคนได้มีโอกาสในเลือกและตัดสินใจด้วยหลักการหนึ่งคนหนึ่งเสียงผ่านโปรแกรมที่ต้องระบุตัวตนบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งเป็นที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายอยู่แล้วในสังคมของประเทศไทยในขณะนั้น

ความสัมพันธ์กับขบวนการอื่น ๆ

นักอนาธิปไตยได้สนับสนุนรูปแบบต่าง ๆ ของประชาธิปไตยโดยตรงแทนระบอบการปกครองแบบรวมศูนย์และทุนนิยม แต่ว่า ก็มีพวกอื่น ๆ (เช่น นักอนาธิปไตยปัจเจกนิยม) ที่คัดค้านประชาธิปไตยโดยตรงและประชาธิปไตยโดยทั่วไปเพราะไม่สนใจสิทธิของชนกลุ่มน้อย และเสนอรูปแบบการปกครองที่ตัดสินใจตามฉันทามติ ส่วนลัทธิมากซ์แบบอิสรเสรีนิยมสนับสนุนประชาธิปไตยอย่างเต็มที่ในรูปแบบสาธารณรัฐชนกรรมาชีพ ที่มองการปกครองโดยคนส่วนมากและการมีส่วนร่วมของประชาชนว่าเป็นเรื่องดี สันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์สหรัฐโดยเฉพาะได้เรียกประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนว่าเป็น "ประชาธิปไตยกระฎุมพี" โดยแสดงนัยว่าพวกเขาเห็นประชาธิปไตยโดยตรงว่าเป็น "ประชาธิปไตยที่แท้จริง"[51]

ในสถาบันการศึกษา

โรงเรียนประชาธิปไตย (democratic school) มีหลักอำนวยสิ่งแวดล้อมทางการศึกษาแบบประชาธิปไตย โดยให้ส่วนร่วม "ที่สมบูรณ์และเท่าเทียม" เพื่อการตัดสินใจ แก่ทั้งนักเรียนและคณะทำงาน สิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้เช่นนี้ ตั้งเสียงของเยาวชนให้เป็นหลักในกระบวนการศึกษา โดยจัดให้นักเรียนมีส่วนร่วมผ่านประสบการณ์ในการดำเนินการของโรงเรียนทุกอย่าง รวมทั้งการเรียนรู้ การสอน ความเป็นผู้นำ ความยุติธรรม และกระบวนการประชาธิปไตย[52][53] คณะทำงานที่เป็นผู้ใหญ่จะสนับสนุนนักเรียนโดยอำนวยการสอนตามความสนใจของนักเรียน

โรงเรียนรูปแบบซัดบรี (Sudbury model) จะบริหารโรงเรียนผ่านการประชุมโรงเรียน (School Meeting) ที่นักเรียนและคณะทำงานเท่านั้นจะมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน ผู้ที่เข้าประชุมสามารถออกเสียงลงคะแนน โดยไม่ให้ออกเสียงลงคะแนนแทนกัน (คือไม่สามารถมอบฉันทะ) โดยเหมือนกับระบบประชาธิปไตยโดยตรงอื่น ๆ ผู้ที่เข้าร่วมปกติก็คือบุคคลที่มีความสนใจ/ผลประโยชน์ในประเด็นนั้น ๆ[54]

โรงเรียนซัมเมอร์ฮิลล์ในประเทศอังกฤษใช้วิธีการตัดสินใจแบบประชาธิปไตยโดยตรงเป็นเวลากว่า 90 ปี และมักจะมีปัญหากับรัฐบาลอังกฤษบ่อย ๆ แต่ก็ได้ชัยชนะเมื่ออุทธรณ์ศาลสูงอังกฤษปี 2542 หลังจากถูกขู่ว่าจะให้ปิด แล้วออกคำแถลงการณ์ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยยืนยันว่า "กระทรวงยอมรับว่า โรงเรียนมีสิทธิในการมีปรัชญาของตนเอง และการตรวจสอบ (ของรัฐ) ทุกอย่างควรคำนึงถึงจุดมุ่งหมายของสถาบันเพื่อเป็นโรงเรียน 'อิสระ' สากล.. ทั้งสองฝ่ายกล่าวยืนยันตกลงร่วมกันว่า นักเรียนควรมีเสียงเป็นตัวแทนในการประเมินคุณภาพการศึกษาที่ รร. ซัมเมอร์ฮิลล์ และว่า การตรวจสอบต้องพิจารณาการเรียนรู้ทุกอย่างที่โรงเรียน เพราะการเรียนรู้ไม่ได้จำกัดอยู่ที่บทเรียน"[55]

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. "Direct democracy", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (รัฐศาสตร์) ประชาธิปไตยโดยตรง
  2. "Democracy". World Book Encyclopedia, World Book Inc. 2006. the direct participation of citizens is known as direct democracy
  3. "Pure democracy". Merriam-Webster Dictionary.
  4. "Pure democracy". American Heritage Dictionary.
  5. 5.0 5.1 Budge, Ian (2001). "Direct democracy". ใน Clarke, Paul A.B.; Foweraker, Joe (บ.ก.). Encyclopedia of Political Thought. Taylor & Francis. ISBN 9780415193962.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Smith, Graham (2009). Democratic Innovations: Designing Institutions for Citizen Participation (Theories of Institutional Design). Cambridge: Cambridge University Press. p. 112.
  7. 7.0 7.1 7.2 Hirschbühl (2011a).
  8. 8.0 8.1 8.2 Hirschbühl (2011b).
  9. 9.0 9.1 9.2 Hirschbühl (2011c).
  10. 10.0 10.1 10.2 Hirschbühl (2011d).
  11. 11.0 11.1 Fishkin 2011, Chapters 2 & 3.
  12. 12.0 12.1 12.2 Ross 2011, Chapter 3
  13. Raaflaub, Ober & Wallace 2007, p. 5
  14. 14.0 14.1 Cary & Scullard 1967
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 Kobach 1993
  16. Rushkoff, Douglas (2004). Open Source Democracy. Project Gutenburg: Project Gutenberg Self-Publishing.
  17. Henderson, J (1993). Comic Hero versus Political Elite. Tragedy, Comedy and the Polis. Bari: Levante Editori. pp. 307–19. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)
  18. Elster 1998, pp. 1–3
  19. 19.0 19.1 19.2 19.3 Golay, Vincent; et Remix, Mix (2008). Swiss political institutions. Éditions loisirs et pédagogie. ISBN 978-2-606-01295-3.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  20. 20.0 20.1 "Referendums". ch.ch - A service of the Confederation, cantons and communes. Berne, Switzerland: Swiss Confederation. สืบค้นเมื่อ 2017-01-09.
  21. Slater, Julia (2013-06-28). "The Swiss vote more than any other country". Berne, Switzerland: swissinfo.ch - the international service of the Swiss Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 2015-07-27.
  22. Nguyen, Duc-Quang (2015-06-17). "How direct democracy has grown over the decades". Berne, Switzerland: swissinfo.ch - the international service of the Swiss Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 2015-07-27.
  23. Trechsel (2005)
  24. Bryan, Frank M. (2010-03-15). "Real Democracy: The New England Town Meeting and How It Works". University of Chicago Press. สืบค้นเมื่อ 2017-04-27 – โดยทาง Google Books.
  25. Madison, James (1787-11-22). "The Federalist No. 10 - The Utility of the Union as a Safeguard Against Domestic Faction and Insurrection (continued)". Daily Advertiser. สืบค้นเมื่อ 2007-09-07.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  26. Zagarri 2010, p. 97
  27. Magleby, David B (1984). Direct Legislation: Voting on Ballot Propositions in The United States. Johns Hopkins University Press.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  28. Zimmerman, Joseph F (1999-03). The New England Town Meeting: Democracy In Action. Praeger Publishers. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  29. 29.0 29.1 29.2 29.3 Zimmerman, Joseph F (1999-12). The Initiative: Citizen Law-Making. Praeger Publishers. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  30. Watts 2010, p. 75
  31. 31.0 31.1 31.2 Cronin, Thomas E. (1989). Direct Democracy: The Politics of Initiative, Referendum and Recall. Cambridge, MA: Harvard University Press.
  32. "Recall Of State Officials". National Conference of State Legislatures. 2011.
  33. Stokes 1998 ซูซาน สโตรกส์กล่าวในเรียงความสำคัญชื่อว่า "พยาธิของการปรึกษาหารือ" ยอมรับว่า นักวิชาการโดยมากมีความเห็นเช่นนี้
  34. Jarinovska, K (2013). "Popular Initiatives as Means of Altering the Core of the Republic of Latvia". Juridica International. 20: 152. ISSN 1406-5509.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  35. ฟิชกินแสดงนัยว่า พวกเขาอาจจะถูกรวมพลโดยกลุ่มที่ได้ประโยชน์ หรืออาจประกอบด้วยบุคคลที่เป็นเหยื่อการโฆษณาชวนเชื่อทางการเมือง ซึ่งก็จะทำให้มีความคิดเห็นที่ร้อนแรงหรือบิดเบือน
  36. "What is Direct Digital Democracy?". สืบค้นเมื่อ 2011-11-26.
  37. Kattamuri และคณะ (2005). Supporting Debates Over Citizen Initiatives. Digital Government Conference. pp. 279–280. {{cite conference}}: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน |authors= (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  38. "List of active projects involved in the Metagovernment project".
  39. "List of related projects] from the Metagovernment project".
  40. "Standardization project of the Metagovernment project".
  41. "Electronic Voting in Switzerland". 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-12.
  42. "Senator On-Line". สืบค้นเมื่อ 2008-06-03.
  43. "E2D International". Participedia wiki. 2011-01-30. สืบค้นเมื่อ https://web.archive.org/web/20160726104221/http://participedia.net:80/organizations/e2d-international. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); แหล่งข้อมูลอื่นใน |accessdate= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  44. "Direct Democracy". สืบค้นเมื่อ 2017-04-27.
  45. "Reform to Direct Democracy". www.paparty.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2016-07-23.
  46. "FLUX BRASIL". 2016.
  47. "พรรคมติประชา (People Vote Party)". www.peoplevote.info. สืบค้นเมื่อ 2018-11-9. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  48. "Facebook พรรคมติประชา (People Vote Party)". พัฒนาชาติจากเสียงของประชาชน. สืบค้นเมื่อ 2018-11-9. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  49. "ประกาศนายทะเบียนพรรคกการเมือง เรื่องรับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคมติประชา" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2018-09-06.
  50. "Anuchit Ngampattanapongchai". Facebook Anuchit Ngampattanapongchai @anuchitvoice. สืบค้นเมื่อ 2018-10-15.
  51. Membership Committee. "Young Communist League USA - Frequently Asked Questions". Yclusa.org. สืบค้นเมื่อ 2010-05-02.
  52. Greenberg, D (1992). Education in America - A View from Sudbury Valley. Democracy must be Experienced to be Learned{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)[ต้องการเลขหน้า]
  53. Greenberg, D (1987). "The Sudbury Valley School Experience". Teaching Justice Through Experience. {{cite web}}: |url= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)[ต้องการเลขหน้า]
  54. Greenberg, D (1987). Free at Last - The Sudbury Valley School. Chapter 22, The School Meeting.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  55. "Summerhill closure threat lifted". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2010-03-11.

แหล่งอ้างอิงอื่น ๆ

  • Cary, M.; Scullard, H. H. (1967). A History Of Rome: Down To The Reign Of Constantine (2nd ed.). New York: St. Martin's Press.{{cite book}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)
  • Elster, Jon (1998). "Introduction". ใน Elster, Jon (บ.ก.). Deliberative Democracy. Cambridge Studies in the Theory of Democracy. Cambridge University Press. ISBN 9780521592963. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |subscription= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-access=) (help)CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)
  • Fishkin, James S. (2011). When the People Speak. Oxford University Press. ISBN 9780199604432.{{cite book}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)
  • Golay, Vincent (2008). Swiss Political Institutions. Illustrated by Mix & Remix. Le Mont-sur-Lausanne: Éditions loisirs et pédagogie. ISBN 9782606012953.
  • Gutmann, Amy; Thompson, Dennis F. (2004). Why Deliberative Democracy?. Princeton: Princeton University Press. ISBN 9780691120188. สืบค้นเมื่อ 2014-04-08.
  • Hirschbühl, Tina (2011a), The Swiss Government Report 1, Federal Department of Foreign Affairs FDFA, Presence Switzerland – โดยทาง YouTube
  • Hirschbühl, Tina (2011b), The Swiss Government Report 2, Federal Department of Foreign Affairs FDFA, Presence Switzerland – โดยทาง YouTube
  • Hirschbühl, Tina (2011c), How Direct Democracy Works In Switzerland - Report 3, Federal Department of Foreign Affairs FDFA, Presence Switzerland – โดยทาง YouTube
  • Hirschbühl, Tina (2011d), How People in Switzerland Vote - Report 4, Federal Department of Foreign Affairs FDFA, Presence Switzerland – โดยทาง YouTube
  • Hirschbühl, Tina (2011e), Switzerland & the EU: The Bilateral Agreements - Report 5, Federal Department of Foreign Affairs FDFA, Presence Switzerland – โดยทาง YouTube
  • Kobach, Kris W. (1993). The Referendum: Direct Democracy In Switzerland. Dartmouth Publishing Company. ISBN 9781855213975.{{cite book}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)
  • Raaflaub, Kurt A.; Ober, Josiah; Wallace, Robert W. (2007). Origins of Democracy in Ancient Greece. Berkeley: University of California Press. ISBN 9780520932173.{{cite book}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)
  • Razsa, Maple. (2015) Bastards of Utopia: Living Radical Politics After Socialism. Bloomington: Indiana University Press.
  • Ross, Carne (2011). The Leaderless Revolution: How Ordinary People Can Take Power and Change Politics in the 21st Century. London: Simon & Schuster. ISBN 9781847375346.{{cite book}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)
  • Stokes, Susan C. (1998). "Pathologies of Deliberation". ใน Elster, Jon (บ.ก.). Deliberative Democracy. Cambridge Studies in the Theory of Democracy. Cambridge University Press. ISBN 9780521592963. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |subscription= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-access=) (help)
  • Watts, Duncan (2010). Dictionary of American Government and Politics. Edinburgh University. p. 75. ISBN 9780748635016.{{cite book}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)
  • Zagarri, Rosemarie (2010). The Politics of Size: Representation in the United States, 1776-1850. Cornell University. ISBN 9780801476396.{{cite book}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)
  • Arnon, Harel (January 2008). "A Theory of Direct Legislation" (LFB Scholarly) *Finley, M.I. (1973). Democracy Ancient And Modern. Rutgers University Press.
  • Fotopoulos, Takis, Towards an Inclusive Democracy: The Crisis of the Growth Economy and the Need for a New Liberatory Project (London & NY: Cassell, 1997).
  • Fotopoulos, Takis, The Multidimensional Crisis and Inclusive Democracy. (Athens: Gordios, 2005). (English translation of the book with the same title published in Greek).
  • Fotopoulos, Takis, "Liberal and Socialist 'Democracies' versus Inclusive Democracy", The International Journal of INCLUSIVE DEMOCRACY, vol.2, no.2, (January 2006).
  • Gerber, Elisabeth R. (1999). The Populist Paradox: Interest Group Influence And The Promise Of Direct Legislation. Princeton University Press.
  • Hansen, Mogens Herman (1999). The Athenian Democracy in the Age of Demosthenes: Structure, Principles and Ideology. University of Oklahoma, Norman (orig. 1991).
  • Köchler, Hans (1995). A Theoretical Examination of the Dichotomy between Democratic Constitutions and Political Reality. University Center Luxemburg.
  • Matsusaka John G. (2004.) For the Many or the Few: The Initiative, Public Policy, and American Democracy, Chicago Press
  • National Conference of State Legislatures, (2004). Recall of State Officials
  • Orr Akiva e-books, Free download : Politics without politicians - Big Business, Big Government or Direct Democracy.
  • Pimbert, Michel (2010). Reclaiming citizenship: empowering civil society in policy-making. In: Towards Food Sovereignty. http://pubs.iied.org/pdfs/G02612.pdf? e-book. Free download.
  • Polybius (c.150 BC). The Histories. Oxford University, The Great Histories Series, Ed., Hugh R. Trevor-Roper and E. Badian. Translated by Mortimer Chanbers. Washington Square Press, Inc (1966).
  • Reich, Johannes (2008). =1154019 An Interactional Model of Direct Democracy - Lessons from the Swiss Experience. SSRN Working Paper.
  • Serdült, Uwe (2014) Referendums in Switzerland, in: Qvortrup, Matt (Ed.) Referendums Around the World: The Continued Growth of Direct Democracy. Basingstoke, Palgrave Macmillan, 65-121.
  • Verhulst Jos en Nijeboer Arjen Direct Democracy e-book in 8 languages. Free download.

เว็บไซต์