ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แม่น้ำพรหมบุตร"

พิกัด: 25°13′24″N 89°41′41″E / 25.223333°N 89.694722°E / 25.223333; 89.694722
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
DTRY (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มโครงจีนและอินเดีย.
CommonsDelinker (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ภาพ IMG_0839_Yarlong_Tsangpo.jpg ด้วย Yarlong_Tsangpo.jpg จากวิกิพีเดียคอมมอนส์
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[ไฟล์:IMG 0839 Yarlong Tsangpo.jpg|thumb|240px|แม่น้ำยาร์ลุงซางโปในทิเบต]]
[[ไฟล์:Yarlong Tsangpo.jpg|thumb|240px|แม่น้ำยาร์ลุงซางโปในทิเบต]]
[[ไฟล์:Brahmaputra-verlaufsgebiet.jpg|thumb|240px|แม่น้ำพรหมบุตร]]
[[ไฟล์:Brahmaputra-verlaufsgebiet.jpg|thumb|240px|แม่น้ำพรหมบุตร]]
[[ไฟล์:Homeward bound.jpg|thumb|240px|มุมมองจากใกล้ท่าน้ำสุเกลศวรในเมือง[[คูวาหตี]]]]
[[ไฟล์:Homeward bound.jpg|thumb|240px|มุมมองจากใกล้ท่าน้ำสุเกลศวรในเมือง[[คูวาหตี]]]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:03, 14 พฤศจิกายน 2561

แม่น้ำยาร์ลุงซางโปในทิเบต
แม่น้ำพรหมบุตร
มุมมองจากใกล้ท่าน้ำสุเกลศวรในเมืองคูวาหตี

แม่น้ำพรหมบุตร (เทวนาครี: ब्रह्मपुत्र พรฺหฺมปุตฺร; อังกฤษ: Brahmaputra) เป็นแม่น้ำที่กั้นเขตแดนสายสำคัญสายหนึ่งของทวีปเอเชีย มีความความยาว 2,900 กิโลเมตร ส่วนความยาวของลำน้ำตอนบนนั้นไม่ทราบแน่ชัด มีต้นกำเนิดอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเขตปกครองตนเองทิเบต สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีชื่อเรียกเป็นภาษาทิเบตว่า "แม่น้ำยาร์ลุงซางโป (Yarlung Tsangpo)" [หมายถึง เลือดขัตติยะ] จากนั้นไหลผ่านพื้นที่ตอนใต้ของทิเบต มีชื่อเรียกว่า "แม่น้ำดีฮัง (Dihang)" ไปตัดผ่านเทือกเขาหิมาลัยในโกรกธารใหญ่ แล้วไหลวกไปทางตะวันตกเฉียงใต้ผ่านหุบเขาอัสสัม และไปทางใต้ผ่านประเทศบังกลาเทศ มีชื่อเรียกว่า "แม่น้ำยมุนา (Jamuna)" จากนั้นได้ไหลมารวมกับแม่น้ำคงคา เกิดเป็นดินดอนสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ชื่อว่าสามเหลี่ยมปากแม่น้ำคงคา นับเป็นแหล่งชลประทานและการคมนาคมที่สำคัญแห่งหนึ่ง อนึ่ง แม่น้ำยมุนาแห่งบังกลาเทศซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำพรหมบุตรนี้เป็นคนละสายกับแม่น้ำยมุนา (Yamuna) แห่งอินเดียซึ่งไหลขนานกับแม่น้ำคงคา และมารวมกันที่เมืองอัลลอฮาบาดในอินเดีย

แม่น้ำส่วนใหญ่ของอินเดียและบังกลาเทศจะมีชื่อเป็นเพศหญิง แต่แม่น้ำพรหมบุตรมีชื่อเป็นเพศชาย ในภาษาสันสกฤต คำว่า "พรหมบุตร" หมายถึง โอรสของพระพรหม ในภาษาอาหม เรียกแม่น้ำพรหมบุตรว่า น้ำดาวผี หรือ แสงดาว[1]

อ้างอิง

  1. ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และเรณู วิชาศิลป์. การศึกษาประวัติศาสตร์ไทอาหม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:สร้างสรรค์. 2552, หน้า 114

แหล่งข้อมูลอื่น

25°13′24″N 89°41′41″E / 25.223333°N 89.694722°E / 25.223333; 89.694722