ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไสว พัฒโน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 38: บรรทัด 38:
มีพี่น้อง 5 คน สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต [[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] สมรสกับนางละเอียด พัฒโน (สกุลเดิม ทองเลิศ) มีบุตรชาย คือ นาย[[ไพร พัฒโน]] นายกเทศมนตรี[[เทศบาลนครหาดใหญ่]]
มีพี่น้อง 5 คน สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต [[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] สมรสกับนางละเอียด พัฒโน (สกุลเดิม ทองเลิศ) มีบุตรชาย คือ นาย[[ไพร พัฒโน]] นายกเทศมนตรี[[เทศบาลนครหาดใหญ่]]


ไสว พัฒโน ถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 สิริอายุรวม 84 ปี <ref>[https://www.naewna.com/politic/375499 'ไสว พัฒโน'อดีต รมว.ยุติธรรม-อดีตสส.สงขลา 8 สมัยเสียชีวิตแล้ว] </ref>
ไสว พัฒโน ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 สิริอายุรวม 84 ปี <ref>[https://www.naewna.com/politic/375499 'ไสว พัฒโน'อดีต รมว.ยุติธรรม-อดีตสส.สงขลา 8 สมัยเสียชีวิตแล้ว] </ref>


== งานการเมือง ==
== งานการเมือง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:12, 10 พฤศจิกายน 2561

ไสว พัฒโน
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ดำรงตำแหน่ง
23 กันยายน พ.ศ. 2536 – 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
นายกรัฐมนตรีนายชวน หลีกภัย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531
นายกรัฐมนตรีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
29 กันยายน พ.ศ. 2535 – 23 กันยายน พ.ศ. 2536
นายกรัฐมนตรีนายชวน หลีกภัย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 ตุลาคม พ.ศ. 2477
อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
เสียชีวิต8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 (84 ปี)
อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
พรรคการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
คู่สมรสนางละเอียด พัฒโน

ไสว พัฒโน (1 ตุลาคม พ.ศ. 2477 - 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2561) อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กับ กระทรวงคมนาคม และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา 8 สมัย

ประวัติ

ไสว พัฒโน เกิดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2471 เป็นบุตรคนที่ 4 ของนายปลื้ม กับนางกนกวรรรณ พัฒโน (สกุลเดิม สุดสุข) มีพี่น้อง 5 คน สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมรสกับนางละเอียด พัฒโน (สกุลเดิม ทองเลิศ) มีบุตรชาย คือ นายไพร พัฒโน นายกเทศมนตรีเทศบาลนครหาดใหญ่

ไสว พัฒโน ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 สิริอายุรวม 84 ปี [1]

งานการเมือง

อดีตประกอบอาชีพทนายความ และเคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัด 2 สมัย ก่อนที่จะได้รับการชักชวนโดย หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ให้มาลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา และได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. 2518 แต่ในครั้งต่อมา (พ.ศ. 2519) ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง และกลับมาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งใน พ.ศ. 2522 และได้รับเลือกเรื่อยมา จนถึง พ.ศ. 2538 ก่อนที่จะวางมือทางการเมือง เนื่องจากปัญหาสุขภาพ [2]

ไสว พัฒโน ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เมื่อปี พ.ศ. 2529 ต่อมาได้รับเลือกเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 16 และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2535[3] และต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2536 เขาได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม[4] แทนนายสุวิทย์ คุณกิตติ ซึ่งถูกปรับออกจากตำแหน่ง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ไสว พัฒโน ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 8 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  7. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  8. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง