ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศรีสุดา รัชตะวรรณ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เทพกร (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Drgarden (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 49: บรรทัด 49:
===วัยต้น===
===วัยต้น===


ศึกษาที่[[โรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์]] [[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]] แล้วต่อที่[[โรงเรียนสตรีวัดระฆัง]] [[ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร]]
ศึกษาที่[[โรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์]] [[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]] แล้วต่อที่[[โรงเรียนสตรีวัดระฆัง]] ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร


===วัยทำงาน===
===วัยทำงาน===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:42, 1 พฤศจิกายน 2561

ศรีสุดา รัชตะวรรณ
ปกหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ ศรีสุดา รัชตะวรรณ
ปกหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ ศรีสุดา รัชตะวรรณ
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473
ศรีสุดา รัชตะวรรณ
เสียชีวิต1 สิงหาคม พ.ศ. 2548 (อายุ 75 ปี)
กรุงเทพมหานคร
คู่สมรสวินัย จุลละบุษปะ (พ.ศ. 2499 - 2542)
อาชีพนักร้อง

ศรีสุดา รัชตะวรรณ หรือ ศรีสุดา จุลละบุษปะ (12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2548) อดีตนักร้องวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ และสุนทราภรณ์

ประวัติ

ศรีสุดา รัชตะวรรณ เกิดที่จังหวัดยะลา เป็นบุตรของหลวงอรรถจารีวรานุวัตร (บุญมาก รัชตะวรรณ) และนางบุญทวน รัชตะวรรณ บิดามารดามีพื้นเพเป็นชาวมอญ อยู่ที่จังหวัดปทุมธานี แต่ศรีสุดาเกิดที่ยะลาเพราะบิดารับราชการเป็นอัยการ ย้ายไปอยู่ที่นั่น

วัยต้น

ศึกษาที่โรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แล้วต่อที่โรงเรียนสตรีวัดระฆัง ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

วัยทำงาน

สมัครเป็นนักร้องวงดนตรีกรมโฆษณาการ แต่อัตรานักร้องหญิงเต็ม จึงไปสมัครงานเป็นเสมียนที่กรมไปรษณีย์กลาง และได้พบกับครูพจน์ จารุวณิช เจ้าของคณะละครวิทยุ และวงดนตรีจารุกนก และได้มีโอกาสเล่นละครและร้องเพลงร่วมกับวง ระหว่าง พ.ศ. 2491 - 2495

ในปี พ.ศ. 2495 ช่วงเปลี่ยนจากกรมโฆษณาการเป็นกรมประชาสัมพันธ์ ตำแหน่งนักร้องหญิงของวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ว่างลง เนื่องจากมัณฑนา โมรากุล, เพ็ญศรี พุ่มชูศรี และสุปาณี พุกสมบุญ ลาออก ศรีสุดา รัชตะวรรณจึงไปสมัครเป็นนักร้องอีกครั้ง มีผู้สอบผ่านเข้าเป็นนักร้องในคราวเดียวกัน 3 คน คือ วรนุช อารีย์ ศรีสุดา รัชตะวรรณ และพูลศรี เจริญพงษ์ [1]

ที่วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ ได้พบกับ วินัย จุลละบุษปะ และใช้ชีวิตคู่กันมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2499 โดยไม่มีบุตร (ทั้งคู่เพิ่งจดทะเบียนสมรสกันเมื่อ พ.ศ. 2533)

หลังวินัย จุลละบุษปะ เกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2526 ทั้งคู่ร่วมกันตั้งวงดนตรีชื่อว่า วงดนตรีสังคีตสัมพันธ์ โดยมีเสถียร ปานคง อดีตข้าราชการกรมประชาสัมพันธ์ เป็นผู้ควบคุมวง [1]

ศรีสุดา รัชตะวรรณ รับราชการที่กรมประชาสัมพันธ์เป็นเวลา 34 ปี จึงได้รับตำแหน่งเป็นหัวหน้างานบันเทิง (คนที่ 5 ต่อจาก เอื้อ สุนทรสนาน, ระวี พงษ์ประภาส, วินัย จุลละบุษปะ และใหญ่ นภายน) จนกระทั่งเกษียณอายุราชการเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2534

ด้านการแสดง

เคยแสดงละครเรื่องมายา พ.ศ. 2524 ได้รับบทเป็น ศุภลักษณ์ น้องสาวของอินทนิน

อาการเจ็บป่วย และบั้นปลายชีวิต

ประมาณ พ.ศ. 2542 - 2543 ศรีสุดา รัชตะวรรณ มีอาการป่วยด้วยโรคสมองขาดเลือด ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ พูดไม่ได้ ต้องให้อาหารทางสายยาง ช่วยเหลือคนเองไม่ได้ แพทย์ได้ให้การรักษาจนอาการดีขึ้น ขยับแขนขาได้ แต่กล้ามเนื้อแขนอ่อนแรงยืนและเดินด้วยตนเองไม่ได้ และไม่สามารถรักษาให้หายเป็นปกติเช่นคนธรรมได้ อีกทั้งไม่สามารถประกอบกิจการงานใด ๆ ด้วยตนเองได้ โดยได้เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลวชิระ จนถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2548 สิริอายุ 75 ปี[2]

ขณะที่ศรีสุดา รัชตะวรรณ เจ็บป่วยอยู่นั้น นางสุมล ฤชุพันธุ์ นาวาโท รัชต รัชตะวรรณ ผู้ซึ่งเป็นน้องสาวและน้องชายร่วมบิดามารดาเดียวของศรีสุดา รัชตะวรรณ และนางประไพ รัชตะวรรณ ผู้เป็นพี่สะใภ้ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลมีคำสั่งให้ศรีสุดา รัชตะวรรณ เป็นคนเหมือนไร้ความสามารถ ศาลได้ไต่สวนพยานหลักฐานของบรรดาน้องชายน้องสาวและพี่สะใภ้แล้ว มีคำสั่งให้ศรีสุดา รัชตะวรรณ เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความพิทักษ์ของน้องสาวน้องชายและพี่สะใภ้ดังกล่าว เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2543[3]

บทเพลงที่ได้รับความนิยม

  • ชื่นชีวิต (นำหมู่ร่วมกับ วินัย จุลละบุษปะ)
  • มองอะไร
  • ยิ้ม
  • ไพรพิศดาร (คู่ เลิศ ประสมทรัพย์)
  • นกเขาไพร (คู่ เลิศ )
  • สุขกันเถอะเรา
  • ช่างร้ายนัก
  • ศรรัก
  • เพลินเพลงแมมโบ้
  • บ้านเรือนเคียงกัน
  • รักจำร้าง (คู่ วินัย จุลละบุษปะ)
  • ไม่รักใครเลย (ร่วมกับ วินัย, เลิศ ,สมศักดิ์ เทพานนท์)
  • จุดไต้ตำตอ (ร่วมกับ เลิศ ,สมศักดิ์)
  • หนีไม่พ้น (ร่วมกับ เลิศ ,สมศักดิ์)
  • รักฉันสักคน
  • สวรรค์สวิง
  • สวรรค์อุรา
  • แมวกะหนู
  • ผู้ชายนะเออ
  • เพลงฟ้า
  • รักจริงไหม
  • งานเงิน
  • เปล่า
  • เพลงอภินันท์
  • เริงเพลงสวิง
  • นี่แหละสวรรค์
  • กบใต้กอบัว
  • เกิดเป็นหญิง
  • ชื่นชีวิต
  • ยิ้มนิดยิ้มหน่อย
  • กิเลสคน
  • รื่นเริงใจ (ร่วมกับ วรนุช อารีย์ ,มาริษา อมาตยกุล)
  • สามนัด (ร่วมกับ เลิศ ,วรนุช ,มาริษา )
  • จะเป็นอย่างไรถ้าชายหญิงไม่รักกัน
  • ร้อนนักรักนั้น

ฯลฯ

อ้างอิง

  • ไพบูลย์ สำราญภูติ. เพลงลูกกรุง, TK Park Music Library ชุดดนตรีไทย. กรุงเทพ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้, พ.ศ. 2550. 168 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-8218-82-3