ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หนังสือซามูเอล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
จัดหมวดหมู่
บรรทัด 43: บรรทัด 43:
* [[ซามูเอล]]
* [[ซามูเอล]]


[[หมวดหมู่:พันธสัญญาเดิม]]

[[หมวดหมู่:พงศาวดาร]]


{{พันธสัญญาเดิม}}
{{พันธสัญญาเดิม}}
{{พันธสัญญาใหม่}}
{{พันธสัญญาใหม่}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:53, 26 ตุลาคม 2550

พระธรรมซามูเอล Books of Samuel แบ่งออกเป็น 2 ฉบับ ได้แก่

  • พระธรรมซามูเอล ฉบับที่ 1 และ
  • พระธรรมซามูเอล ฉบับที่ 2

พระธรรมซามูเอลตั้งชื่อตามผู้เผยพระวจนะที่มีชื่อเสียงของอิสราเอลในยุคนั้น โดยเนื้อหาของพระธรรมทั้งสองฉบับกล่าวถึงพงศาวดารของอิสราเอลในช่วงชีวิตของซามูเอล ตั้งแต่ความเป็นมา การเกิด การเข้าสู่การเป็นผู้เผยพระวจนะ การแต่งตั้งกษัตริย์พระองค์แรกของอิสราเอล และการจากไปของท่าน

เนื้อหาของพระธรรมซามูเอลทั้งสองฉบับ สามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ช่วงสำคัญ ได้แก่


กำเนิดซามูเอล และการทรงเรียกของซามูเอล

ในยุคที่เอลีอาซาร์ เป็นปุโรหิตของพระเจ้า บุตรชายของเอลีอาซาร์ได้กระทำผิดต่อพระเจ้าว่าด้วยเครื่องถวายบูชา เป็นเหตุให้พระเจ้าไม่อวยพระพรแก่ครอบครัวของเอลีอาซาร์ ในยุคนั้นเอง มารดาของซามูเอล ซึ่งเป็นหมันได้มาอธิษฐานอ้อนวอนกราบทูลพระเจ้าให้เบิกครรภ์ให้แก่นาง โดยนางได้บนบานต่อพระเจ้าว่า จะถวายบุตรชายของนางให้เป็นผู้รับใช้ในพระวิหารของพระเจ้า ดังนั้น เมื่อพระเจ้าทรงเบิกครรภ์ให้แก่นาง และเมื่อนางคลอดเป็นบุตรชาย จึงตั้งชื่อบุตรชายว่า ซามูเอล และถวายซามูเอลให้เป็นผู้รับใช้พระเจ้าตั้งแต่นั้นมา ด้วยเหตุที่ครอบครัวของเอเลอาซาร์กระทำผิดต่อพระเจ้า พระองค์จึงทรงเรียก ซามูเอล ให้ทำหน้าที่เป็นปุโรหิต และผู้เผยพระวจนะ แทนที่เอลีอาซาร์

การแต่งตั้งกษัตริย์ซาอูล

เมื่อซามูเอลเป็นปุโรหิตของพระเจ้านั้น ประเทศรอบข้างอิสราเอลต่างมีกษัตริย์ทำหน้าที่ปกครองประเทศ มีเพียงอิสราเอลที่ไม่มีกษัตริย์ แต่มีปุโรหิตเป็นผู้ทำหน้าที่ดูแลประชากรตามที่พระเจ้าทรงบัญชา อิสราเอลได้เรียกร้องให้ซามูเอลแต่งตั้งกษัตริย์ให้ตน ซึ่งถือว่าเป็นการกระด้างกระเดื่องต่อพระเจ้า แต่พระเจ้าก็ทรงอนุญาตให้อิสราเอลแต่งตั้งกษัตริย์ได้ โดยพิจารณาจากบุตรชายหัวปีของตระกูล ตามลำดับพงศ์พันธุ์ของอิสราเอล ปรากฎว่าบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้ง คือ ซาอูล ซึ่งมีบุคลิกภาพดี มีความเป็นผู้นำ และเป็นนักรบ ซาอูลจึงได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์พระองค์แรกของอิสราเอล

กษัตริย์ซาอูลทรงถูกถอดถอน

กษัตริย์ซาอูลทรงขึ้นครองราชย์ปกครองอิสราเอลด้วยความชอบธรรม โดยมีซามูเอลเป็นปุโรหิตผู้คอยให้คำแนะนำด้วยดีในระยะแรก เมื่อมีสงครามใดใด กษัตริย์ซาอูลก็จะให้ซามูเอลอธิษฐานและร้องทูลต่อพระเจ้า ทุกครั้งก็มีชัยชนะกลับมาเสมอ เมื่อได้รับชัยชนะบ่อยครั้งเข้า ทำให้กษัตริย์ซาอูลทรงฮึกเหิม ไม่ปฏิบัติตามที่พระเจ้าทรงตรัสผ่านซามูเอล เป็นเหตุให้พระเจ้าทอดทิ้งพระองค์ กษัตริย์ซาอูล มิได้กลับพระทัยแต่หันไปพึ่งคนทรง ซึ่งเป็นการกระทำผิดอย่างร้ายแรงในสายพระเนตรพระเจ้า พระองค์จึงทรงถอดถอนกษัตริย์ซาอูลออก โดยไม่ให้การสนับสนุนการกระทำของพระองค์ และทรงมอบหมายให้ซามูเอลไปทำการเจิม ให้แก่ว่าที่กษัตริย์องค์ใหม่ของอิสราเอลแทน

การแต่งตั้งกษัตริย์ดาวิด

เพื่อให้อิสราเอลเห็นว่า พระเจ้าทรงเป็นกษัตริย์ที่แท้จริง มิใช่ตัวบุคคลที่ถูกแต่งตั้งขึ้นมา พระองค์จึงทรงให้ซามูเอลไปค้นหาบุตรชายคนสุดท้อง ของตระกูลที่เล็กน้อยที่สุด จากเผ่ายูดาห์ เพื่อทำการเจิมตั้งให้เป็นกษัตริย์แทน ซาอูล ซามูเอล จึงได้ออกเดินทางไปตามพระบัญชาของพระเจ้า ไปยังครอบครัวที่เล็กน้อยที่สุดในเผ่ายูดาห์ และพบกับดาวิด เด็กหนุ่ม บุตรคนสุดท้อง ทำหน้าที่เลี้ยงแกะให้แก่บิดา ไม่ได้เป็นนักรบยิ่งใหญ่แต่อย่างใด แต่มีความยำเกรงและเชื่อฟังพระเจ้า ภายหลังจากที่พระเจ้าทรงให้ซามูเอลเจิมตั้งดาวิดให้เป็นกษัตริย์ของอิสราเอล ก็มีเหตุการณ์อันเป็นเหตุให้ดาวิดได้แสดงความสามารถ และการทรงสถิตย์ของพระเจ้า โดยได้เข้าร่วมกองทัพกับอิสราเอลและรบชนะศึกสำคัญหลายครั้ง จนประชาชนอิสราเอลตระหนักว่าพระเจ้าทรงอยู่ข้างดาวิด มิใช่ซาอูล แต่กระนั้น ดาวิด ก็มิได้ตั้งตนเองขึ้นมาเป็นกษัตริย์ของอิสราเอล

การซ่องสุมกำลังของดาวิด

เมื่อผลงานของดาวิดมีมากขึ้น เป็นเหตุให้กษัตริย์ซาอูลไม่พอพระทัย และคิดหาทางกำจัดดาวิดเสียหลายครั้ง แต่ดาวิดก็สามารถรอดตัวมาได้เสมอ จนในที่สุดเมื่อกษัตริย์ซาอูลริษยาดาวิดจนนำกองทัพไล่ติดตาม ดาวิดจำเป็นต้องหลบหนีไปอยู่ในชนบท แต่มีประชากรอิสราเอลจำนวนมาก ที่เห็นว่าพระเจ้าทรงสถิตย์กับดาวิด จึงได้ขอติดตามพระองค์ไปด้วยและซ่องสุมเป็นกองกำลังเพื่อปกป้องตนเอง แต่มิได้เข้าไปยึดบัลลังก์จากซาอูลแต่อย่างใด

กษัตริย์ดาวิดทรงขึ้นครองราชย์

ในที่สุด เมื่อกองทัพของดาวิดมีกำลังมากขึ้น กษัตริย์ซาอูลไม่สามารถนิ่งเฉยอยู่ได้ จึงทรงนำกองทัพออกมาเพื่อกำจัดดาวิด แต่สุดท้ายกษัตริย์ซาอูลกลับถูกแม่ทัพของตนเองประหารชีวิต และนำศรีษะมาถวายแก่ดาวิด เมื่อสิ้นกษัตริย์ซาอูลแล้ว ประชาชนอิสราเอลได้ทูลเชิญดาวิดขึ้นครองราชย์ เป็นกษัตริย์องค์ที่สองของอิสราเอลต่อไป

พระธรรมซามูเอล ในแง่มุมทางศาสนศาสตร์

ในพระธรรมซามูเอล แม้โดยเนื้อหาเป็นพงศาวดารของอิสราเอล แต่ได้แฝงไว้ซึ่งหลักคิดที่สำคัญในแง่มุมทางศาสนศาสตร์หลาย ๆ ประการเช่น

  • การทรงเลือกกษัตริย์ โดยเปรียบเทียบระหว่าง ซาอูล และ ดาวิด เป็นการแฝงความคิดให้เห็นว่า หากพระเจ้าทรงอยู่ด้วย แม้ความสามารถทางกายภาพที่ด้อยกว่า ก็มิได้เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด
  • ความยำเกรงพระเจ้า กษัตริย์ดาวิดเป็นบุคคลที่พระคัมภีร์หลาย ๆ ตอนได้ยกย่องในด้านความยำเกรงพระเจ้า และความถ่อมพระทัยของพระองค์เป็นอย่างมาก อิสราเอลในยุคของพระองค์ไม่ได้รุ่งเรืองที่สุด แต่กลับได้รับการยกย่องให้เป็นกษัตริย์ที่ย่งใหญ่ที่สุดของอิสราเอล
  • การให้อภัย ในพระธรรมซามูเอลจะแสดงให้เห็นถึงจิตใจของกษัตริย์ดาวิด ที่ไม่เคยถือโทษโกรธกษัตริย์ซาอูลเลย แม้จะโดยกษัตริย์ซาอูลปองร้ายครั้งแล้วครั้งเล่าตลอดเวลา


ดูเพิ่ม