ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระครูสวางคมุนี (จัน)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 27: บรรทัด 27:
พระครูสวางคมุนี (จัน) เจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภานั้น นับเป็นพระเถระรูปสุดท้ายที่ได้รับพระราชทานราชทินนามโบราณสำหรับพระสังฆราชาเมืองฝาง ที่ปรากฎมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เพราะหลังจากนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตการปกครองคณะสงฆ์ในเมืองฝางใหม่ โดยแยกตั้งเจ้าคณะเมืองอุตรดิฐขึ้นเป็นครั้งแรก โดยเจ้าอธิการแสง [[วัดธรรมาธิปไตย|วัดท่าทราย]] ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูอุทิศติยวงษ์คีรีเขตร (แสง) ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะเมืองอุตรดิฐ เมือง[[ทุ่งยั้ง]] เมืองลำพูน (ตำบลแม่พูล อ.ลับแล ในปัจจบุัน) เมือง[[ลับแล]] ในปี พ.ศ. 2532<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2432/013/107_1.PDF ตั้งตำแหน่งพระสงฆ์], เล่ม ๖ ตอน ๑๓, ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๒, หน้า ๑๐๙</ref> ซึ่งเขตปกครองของเจ้าคณะเมืองอุตรดิตถ์ฯ ใหม่ อยู่ในฝั่งขวาแม่น้ำน่านทั้งหมด
พระครูสวางคมุนี (จัน) เจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภานั้น นับเป็นพระเถระรูปสุดท้ายที่ได้รับพระราชทานราชทินนามโบราณสำหรับพระสังฆราชาเมืองฝาง ที่ปรากฎมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เพราะหลังจากนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตการปกครองคณะสงฆ์ในเมืองฝางใหม่ โดยแยกตั้งเจ้าคณะเมืองอุตรดิฐขึ้นเป็นครั้งแรก โดยเจ้าอธิการแสง [[วัดธรรมาธิปไตย|วัดท่าทราย]] ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูอุทิศติยวงษ์คีรีเขตร (แสง) ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะเมืองอุตรดิฐ เมือง[[ทุ่งยั้ง]] เมืองลำพูน (ตำบลแม่พูล อ.ลับแล ในปัจจบุัน) เมือง[[ลับแล]] ในปี พ.ศ. 2532<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2432/013/107_1.PDF ตั้งตำแหน่งพระสงฆ์], เล่ม ๖ ตอน ๑๓, ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๒, หน้า ๑๐๙</ref> ซึ่งเขตปกครองของเจ้าคณะเมืองอุตรดิตถ์ฯ ใหม่ อยู่ในฝั่งขวาแม่น้ำน่านทั้งหมด


เมื่อพระครูสวางคมุนี (จัน) วัดคุ้งตะเภา มรณภาพลง และมีการตราพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 ในปี พ.ศ. 2445 ก็ไม่ปรากฎการพระราชทานสมณศักดิ์ตั้งพระสงฆ์รูปใดให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่เมืองฝางอีก พระครูสวางคมุนี (จัน) วัดคุ้งตะเภา จึงเป็นพระเถระผู้ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่เมืองฝาง ซึ่งเคยเป็นนามตำแหน่งสังฆราชาเจ้าคณะเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นรูปสุดท้าย<ref>พระมหาเทวประภาส วชิรญาณเมธี. (2560). '''สารพันบันทึกเล่า พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา : ประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ และภูมิปัญญาท้องถิ่น'''. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.</ref> ปัจจุบันยังหลงเหลือฐานเจดีย์บรรจุอัฐิของท่านใน[[วัดคุ้งตะเภา]]
เมื่อพระครูสวางคมุนี (จัน) วัดคุ้งตะเภา มรณภาพลง และมีการตราพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 ในปี พ.ศ. 2445 รวมถึงเหตุการณ์ยกฐานะเมืองบางโพเป็นเมืองอุตรดิตถ์ ในต้นรัชกาลที่ 6 ทำให้พื้นที่ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของเขตเมืองฝางได้ถูกรวมเข้ากับเมืองอุตรดิตถ์โดยสมบูรณ์ เพราะไม่ปรากฎการใช้ชื่อเมืองฝางในการตั้งหรือเรียกชื่อเมือง รวมถึงไม่ปรากฎการพระราชทานสมณศักดิ์ตั้งพระสงฆ์รูปใดให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่เมืองฝางอีก พระครูสวางคมุนี (จัน) วัดคุ้งตะเภา จึงเป็นพระเถระผู้ได้เคยดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่เมืองฝาง ซึ่งเคยเป็นนามตำแหน่งสังฆราชาเจ้าคณะเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นรูปสุดท้าย<ref>พระมหาเทวประภาส วชิรญาณเมธี. (2560). '''สารพันบันทึกเล่า พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา : ประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ และภูมิปัญญาท้องถิ่น'''. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.</ref> ปัจจุบันยังหลงเหลือฐานเจดีย์บรรจุอัฐิของท่านใน[[วัดคุ้งตะเภา]]


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:23, 23 ตุลาคม 2561

พระครูสวางคมุนี

(จัน )
เจดีย์บรรจุอัฐิอดีตเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา
ชื่ออื่นหลวงพ่อจัน, หลวงพ่อใหญ่เมืองฝาง
ส่วนบุคคล
มรณภาพก่อน พ.ศ. 2442
นิกายมหานิกาย
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดคุ้งตะเภา อุตรดิตถ์
ตำแหน่งอดีตเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา, อดีตเจ้าคณะใหญ่เมืองฝาง

พระครูสวางคมุนี (จัน) (นามเดิม: จัน) อดีตเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ (ก่อน พ.ศ. 2431 - ก่อน พ.ศ. 2442) เป็นพระมหาเถระรูปสำคัญของเมืองฝาง ในช่วงรอยต่อการปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาคในสมัยรัชกาลที่ 5 ก่อนที่เมืองบางโพและเขตเมืองฝางจะได้รับการยกฐานะเป็นเมืองอุตรดิตถ์ ในต้นรัชกาลที่ 6 ท่านได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่เมืองฝาง ซึ่งเคยเป็นตำแหน่งสังฆราชาเจ้าคณะเมืองเก่าแก่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นรูปสุดท้าย

ประวัติ

พระครูสวางคมุนี (จัน) เป็นพระเถระที่ได้รับความเคารพนับถือในเขตเมืองสวางคบุรี หรือเมืองฝาง ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา และดำรงตำแหน่งเจ้าอธิการ (เทียบได้กับเจ้าคณะแขวงในปัจจุบัน) ก่อนได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์เป็นเจ้าคณะใหญ่เมืองฝางในปี พ.ศ. 2431 หลังพระอาจารย์วอน วัดต้นมะขาม ซึ่งพระอาจารย์วอนได้ดำรงตำแหน่งพระครูสวางคมุนีและย้ายไปจำพรรษาวัดวังตะม่อ ในปี พ.ศ. 2427[1] ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่เมืองฝางในปี พ.ศ. 2529[2] สันนิษฐานว่าพระอาจารย์วอนได้มรณภาพไปก่อนที่เจ้าอธิการจัน วัดคุ้งตะเภา จะได้รับพระราชทานตั้งให้เป็นเจ้าคณะใหญ่เมืองฝางแทนตำแหน่งที่ว่างลง พร้อมกับได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ให้เป็นที่พระครูสวางคมุนี ในปี พ.ศ. 2431

โดยเจ้าอธิการจัน ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากรัชกาลที่ 5 ที่ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เข้ารับสถาปนาตั้งตำแหน่งพระสงฆ์เจ้าคณะเมือง พร้อมกับเจ้าคณะเมืองต่าง ๆ รวม 31 รูป ในวันจันทรคติตรงกับ แรม 15 ค่ำ เดือนแปด (บุรพาสาธ) ปีชวดสัมฤทธิศก จุลศักราช 1250 สุริยคติตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2431 โดยรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จออกพร้อมกับ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เพื่อทรงประกอบพระราชกรณียกิจสำคัญในการทรงสถาปนาตั้งตำแหน่งพระสงฆ์สำคัญเพื่อปกครองสังฆมณฑล โดยได้พระราชทานผ้าไตรและสัญญาบัตร ให้เจ้าอธิการจัน วัดคุ้งตะเภา เป็นพระครูสวางคมุนี เจ้าคณะใหญ่เมืองฝาง พร้อมทั้งพระราชทานตาลปัตรพุดตาลทองแผ่ลวด พัดรองโหมด ย่ามสักลาด บาตรถุงสักลาด กาน้ำถ้วยกระโถนถ้วยร่มรองเท้า สำหรับเป็นเครื่องประกอบสมณศักดิ์อีกด้วย[3]

พระครูสวางคมุนี (จัน) เจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภานั้น นับเป็นพระเถระรูปสุดท้ายที่ได้รับพระราชทานราชทินนามโบราณสำหรับพระสังฆราชาเมืองฝาง ที่ปรากฎมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เพราะหลังจากนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตการปกครองคณะสงฆ์ในเมืองฝางใหม่ โดยแยกตั้งเจ้าคณะเมืองอุตรดิฐขึ้นเป็นครั้งแรก โดยเจ้าอธิการแสง วัดท่าทราย ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูอุทิศติยวงษ์คีรีเขตร (แสง) ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะเมืองอุตรดิฐ เมืองทุ่งยั้ง เมืองลำพูน (ตำบลแม่พูล อ.ลับแล ในปัจจบุัน) เมืองลับแล ในปี พ.ศ. 2532[4] ซึ่งเขตปกครองของเจ้าคณะเมืองอุตรดิตถ์ฯ ใหม่ อยู่ในฝั่งขวาแม่น้ำน่านทั้งหมด

เมื่อพระครูสวางคมุนี (จัน) วัดคุ้งตะเภา มรณภาพลง และมีการตราพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 ในปี พ.ศ. 2445 รวมถึงเหตุการณ์ยกฐานะเมืองบางโพเป็นเมืองอุตรดิตถ์ ในต้นรัชกาลที่ 6 ทำให้พื้นที่ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของเขตเมืองฝางได้ถูกรวมเข้ากับเมืองอุตรดิตถ์โดยสมบูรณ์ เพราะไม่ปรากฎการใช้ชื่อเมืองฝางในการตั้งหรือเรียกชื่อเมือง รวมถึงไม่ปรากฎการพระราชทานสมณศักดิ์ตั้งพระสงฆ์รูปใดให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่เมืองฝางอีก พระครูสวางคมุนี (จัน) วัดคุ้งตะเภา จึงเป็นพระเถระผู้ได้เคยดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่เมืองฝาง ซึ่งเคยเป็นนามตำแหน่งสังฆราชาเจ้าคณะเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นรูปสุดท้าย[5] ปัจจุบันยังหลงเหลือฐานเจดีย์บรรจุอัฐิของท่านในวัดคุ้งตะเภา

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ตั้งตำแหน่งพระสงฆ์, เล่ม ๑ ตอน ๔๑, ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๒๗, หน้า ๓๖๓
  2. ราชกิจจานุเบกษา, สำเนาสัญญาบัตรพระสงฆ์, เล่ม ๓ ตอน ๔๓, ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๒๙, หน้า ๓๖๑
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ตั้งตำแหน่งพระสงฆ์, เล่ม ๕ ตอน ๑๗, ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๑, หน้า ๑๓๘
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ตั้งตำแหน่งพระสงฆ์, เล่ม ๖ ตอน ๑๓, ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๒, หน้า ๑๐๙
  5. พระมหาเทวประภาส วชิรญาณเมธี. (2560). สารพันบันทึกเล่า พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา : ประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ และภูมิปัญญาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

ดูเพิ่ม

ก่อนหน้า พระครูสวางคมุนี (จัน) ถัดไป
พระครูสวางคมุนี (วอน) วัดวังตะม่อ เจ้าคณะใหญ่เมืองฝาง
(พระสังฆราชาเมืองฝาง)

(พ.ศ. 2431 - พ.ศ. 2442)
ยกเลิกตำแหน่ง
ก่อนหน้า พระครูสวางคมุนี (จัน) ถัดไป
พระพิมลธรรม (วัดคุ้งตะเภา) เจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา
(พ.ศ. 2431 - พ.ศ. 2442)
พระอธิการรอด (วัดคุ้งตะเภา)