ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาพิชัยดาบหัก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 26: บรรทัด 26:
| wiki_links = [[:หมวดหมู่:ขุนนางในสมัยกรุงธนบุรี]] }}
| wiki_links = [[:หมวดหมู่:ขุนนางในสมัยกรุงธนบุรี]] }}


'''พระยาพิชัยดาบหัก''' เป็นขุนนางในสมัย[[อาณาจักรอยุธยา|อยุธยาตอนปลาย]]และ[[อาณาจักรธนบุรี|ธนบุรี]] ปรากฎชื่อใน[[พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา|พระราชพงศาวดาร]]เนื่องจากท่านเป็นทหารเอกคู่พระทัยของ[[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี]]มีส่วนกอบกู้เอกราชของชาติไทยหลัง[[การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง]] มีชื่อเสียงอย่างยิ่งจากความกตัญญูกตเวทีและความกล้าหาญ<ref>สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2512). '''ที่ระลึกพิธีเปิดอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ณ หน้าศาลากลาง จังหวัดอุตรดิตถ์ 20 กุมภาพันธ์ 2512'''. พระนคร : โรงพิมพ์มงคลการพิมพ์. หน้า 3</ref>
'''พระยาพิชัยดาบหัก''' เป็นขุนนางในสมัย[[อาณาจักรอยุธยา|อยุธยาตอนปลาย]]และ[[อาณาจักรธนบุรี|ธนบุรี]] ปรากฎชื่อใน[[พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา|พระราชพงศาวดาร]]เนื่องจากเป็นทหารเอกคู่พระทัยของ[[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี]] และเป็นผู้มีส่วนกอบกู้เอกราชของชาติไทยหลัง[[การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง]] มีชื่อเสียงอย่างยิ่งจากความกตัญญูกตเวทีและความกล้าหาญ<ref>สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2512). '''ที่ระลึกพิธีเปิดอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ณ หน้าศาลากลาง จังหวัดอุตรดิตถ์ 20 กุมภาพันธ์ 2512'''. พระนคร : โรงพิมพ์มงคลการพิมพ์. หน้า 3</ref>


เดิมท่านชื่อ จ้อย เกิดที่บ้านห้วยคา [[อำเภอพิชัย]] [[จังหวัดอุตรดิตถ์]] ในสมัยปลาย[[กรุงศรีอยุธยา]] ศึกษาอยู่กับท่านพระครูวัดมหาธาตุหรือวัดใหญ่ เมืองพิชัย ภายหลัง จ้อยได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นทองดี หรือ ทองดีฟันขาว มีความสามารถและชื่อเสียงอย่างยิ่งทั้งทางเชิงมวยและเชิงดาบ จนได้เข้ารับราชการกับ[[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี]] ตั้งแต่ครั้งดำรงตำแหน่งเป็นพระยาตาก ต่อมานายทองดีได้รับแต่งตั้งเป็นองครักษ์มีบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงพิชัยอาสา" เมื่อรับราชการมีความดีความชอบจึงได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าหมื่นไวยวรนาถ พระยาสีหราชเดโช และพระยาพิชัย ผู้สำเร็จราชการครอง[[เมืองพิชัย]] ซึ่งรับพระราชทานเครื่องยศเสมอเจ้าพระยาสุรสีห์ ตามลำดับ
เดิมท่านชื่อ จ้อย เกิดที่บ้านห้วยคา [[อำเภอพิชัย]] [[จังหวัดอุตรดิตถ์]] ในสมัยปลาย[[กรุงศรีอยุธยา]] ศึกษาอยู่กับท่านพระครูวัดมหาธาตุหรือวัดใหญ่ เมืองพิชัย ภายหลัง จ้อยได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นทองดี หรือ ทองดีฟันขาว มีความสามารถและชื่อเสียงอย่างยิ่งทั้งทางเชิงมวยและเชิงดาบ จนได้เข้ารับราชการกับ[[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี]] ตั้งแต่ครั้งดำรงตำแหน่งเป็นพระยาตาก ต่อมานายทองดีได้รับแต่งตั้งเป็นองครักษ์มีบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงพิชัยอาสา" เมื่อรับราชการมีความดีความชอบจึงได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าหมื่นไวยวรนาถ พระยาสีหราชเดโช และพระยาพิชัย ผู้สำเร็จราชการครอง[[เมืองพิชัย]] ซึ่งรับพระราชทานเครื่องยศเสมอเจ้าพระยาสุรสีห์ ตามลำดับ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:43, 22 ตุลาคม 2561

ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร

คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำรงตำแหน่งคณบดีวาระที่ 2

“วิสัยทัศน์ที่ดีนั้นต้องมีความก้าวล้ำ ไม่ใช่แค่ก้าวทัน และต้องไม่ใช่สิ่งที่เราทำได้ดีอยู่แล้ว แต่ต้องเป็นจุดหมายที่เรายังไม่เคยไปมาก่อนเพื่อท้าทายเราฝันให้ใหญ่ และไปให้ถึงความเป็นเลิศ” จาก..ความเชี่ยวชาญด้านการบริหารธุรกิจและองค์กรจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ


ประวัติการศึกษา

● ปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต(เกียรตินิยม) (สาขาการเงินและการธนาคาร), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

● ปริญญาโท Master of Public and Private Management, Yale University, USA

● ปริญญาโท Master of Business Administration, Yale University, USA

● Certificate in Human Resource Management, Harvard University, USA

● DPhil (Management Studies), University of Oxford, UK


สู่…ความเชี่ยวขาญ ด้านการบริหารธุรกิจและองค์กรจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ

–––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––

ประวัติการทำงาน

● ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ สาขาบริหารธุรกิจ สังกัดคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ พ.ศ.2564

● คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วาระที่ 1 ตั้งแต่ พ.ศ.2562 ถึง เมษายน 2566

● คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วาระที่ 2 ตั้งแต่ พ.ศ.2566 ถึงปัจจุบัน

● อดีตหัวหน้าภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี 2 วาระ ปี พ.ศ.2557-2562

● อดีตประธานคณะกรรมการดำเนินงานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

● อดีตรองประธานคณะกรรมการดำเนินงานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

● อดีตรองประธานกรรมการดำเนินงานหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

● อดีตหัวหน้าหน่วยงานสื่อสารองค์กร คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

● อดีตกรรมการดำเนินงานหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

● กรรมการสภามหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2565 ถึงปัจจุบัน

● คณะกรรมการนโยบายการเงิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

● คณะกรรมการพิจารณากำหนดตำแหน่งเชี่ยวชาญระดับต้น เชี่ยวชาญระดับกลาง และเชี่ยวชาญระดับสูง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

● คณะกรรมการประกันคุณภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

● คณะกรรมการอำนวยการวิเคราะห์กรอบอัตรากำลังของมหาวิทยาลัย

● อดีตผู้อำนวยการหลักสูตรสหสาขาวิชาธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ระดับนานาชาติ

● กรรมการประเมินผลงานคุณภาพระดับโลก AACSB (Association to Advance Collegiate Schools of Business)

● สถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาด้านบริหารธุรกิจ จากสหรัฐอเมริกา

● กรรมการประเมินผลงานคุณภาพระดับโลก EQUIS (EFMD Quality Improvement System)

● สถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาด้านบริหารธุรกิจ จากสหภาพยุโรป

● กรรมการประเมินผลงานคุณภาพระดับโลก AMBA (Association of MBAs)

● สถาบันรับรองมาตรฐานหลักสูตรบริหารธุรกิจระดับบัณฑิตศึกษา จากสหราชอาณาจักร

● ประธานกรรมการวิจัยร่วมกับ The World Economic Forum : WEF ในส่วนของการทำวิจัยในประเทศไทย

● กรรมการตัดสินในงานระดับโลก Youth4South Entrepreneurship Competition at United Nations

พระยาพิชัยดาบหัก เป็นขุนนางในสมัยอยุธยาตอนปลายและธนบุรี ปรากฎชื่อในพระราชพงศาวดารเนื่องจากเป็นทหารเอกคู่พระทัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และเป็นผู้มีส่วนกอบกู้เอกราชของชาติไทยหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง มีชื่อเสียงอย่างยิ่งจากความกตัญญูกตเวทีและความกล้าหาญ[1]

เดิมท่านชื่อ จ้อย เกิดที่บ้านห้วยคา อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา ศึกษาอยู่กับท่านพระครูวัดมหาธาตุหรือวัดใหญ่ เมืองพิชัย ภายหลัง จ้อยได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นทองดี หรือ ทองดีฟันขาว มีความสามารถและชื่อเสียงอย่างยิ่งทั้งทางเชิงมวยและเชิงดาบ จนได้เข้ารับราชการกับสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ตั้งแต่ครั้งดำรงตำแหน่งเป็นพระยาตาก ต่อมานายทองดีได้รับแต่งตั้งเป็นองครักษ์มีบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงพิชัยอาสา" เมื่อรับราชการมีความดีความชอบจึงได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าหมื่นไวยวรนาถ พระยาสีหราชเดโช และพระยาพิชัย ผู้สำเร็จราชการครองเมืองพิชัย ซึ่งรับพระราชทานเครื่องยศเสมอเจ้าพระยาสุรสีห์ ตามลำดับ

ภายหลังข้าศึกยกทัพมาตีเมืองพิชัย 2 ครั้ง ในการรบครั้งที่ 2 พระยาพิชัยถือดาบสองมือออกต่อสู้จนดาบหักไปข้างหนึ่ง และรักษาเมืองไว้ได้ ดังนั้นจึงไดัรับสมญานามว่า "พระยาพิชัยดาบหัก"

ประวัติ

วัยเยาว์

พระยาพิชัยดาบหัก เดิมชื่อ จ้อย เกิดในปี พ.ศ. 2284 ที่บ้านห้วยคา เมืองพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ มีพี่น้อง 4 คน แต่เสียชีวิตไป 3 คน เด็กชายจ้อยมีนิสัยชอบชกมวยมาตั้งแต่เยาว์วัย บิดาได้พร่ำสอนเสมอ ถ้าจะชกมวยให้เก่งต้องขยันเรียนหนังสือด้วย เมื่ออายุได้ 14 ปี บิดานำไปฝากกับท่านพระครูวัดมหาธาตุ เมืองพิชัย จ้อยสามารถอ่านออกเขียนได้จนแตกฉานและซ้อมมวยไปด้วย

ต่อมาเจ้าเมืองพิชัยได้นำบุตร (ชื่อเฉิด) มาฝากที่วัดเพื่อร่ำเรียนวิชา เฉิดกับพวกมักหาทางทะเลาะวิวาทกับจ้อยเสมอ เขาจึงตัดสินใจหนีออกจากวัดขึ้นไปทางเหนือโดยมิได้บอกพ่อแม่และอาจารย์ เดินตามลำน้ำน่านไปเรื่อยๆ เมื่อเหนื่อยก็หยุดพักตามวัด ที่วัดบ้านแก่ง จ้อย ได้พบกับครูฝึกมวยคนหนึ่งชื่อ เที่ยง จึงฝากตัวเป็นศิษย์แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นทองดี ครูเที่ยงรักนายทองดีมากและมักเรียกนายทองดีว่านายทองดี ฟันขาว (เนื่องจากท่านไม่เคี้ยวหมากพลูดังคนสมัยนั้น) ด้วยความสุภาพเรียบร้อย และขยันขันแข็งเอาใจใส่การฝึกมวยช่วยการงานบ้านครูเที่ยงด้วยดีเสมอมา ทำให้ลูกหลานครูเที่ยงอิจฉานายทองดีมาก จนหาทางกลั่นแกล้งต่างๆ นานา นายทองดี ฟันขาว เห็นว่าอยู่บ้านแก่งต่อไปคงลำบาก ประกอบครูเที่ยงก็ถ่ายทอดวิชามวยให้จบหมดสิ้นแล้วจึงกราบลาครูขึ้นเหนือต่อไป[ต้องการอ้างอิง]

ชื่อเสียง

เมื่อเดินถึงบางโพได้เข้าพักที่วัดวังเตาหม้อ (ปัจจุบันคือวัดท่าถนน) พอดีกับมีการแสดงงิ้ว จึงอยู่ดูอยู่เจ็ดวันเจ็ดคืน นายทองดี ฟันขาว สนใจงิ้วแสดง ท่าทางหกคะเมน จึงจดจำไปฝึกหัดจนจดจำท่างิ้วได้ทั้งหมดสามารถกระโดดข้ามศีรษะคนยืนได้อย่างสบาย จากนั้นก็ลาพระสงฆ์วัดวังเตาหม้อขึ้นไปท่าเสา ขอสมัครเป็นลูกศิษย์ครูเมฆซึ่งมีชื่อเสียงในการสอนมวย ครูเมฆรักนิสัยใจคอจึงถ่ายทอดวิชาการชกมวยให้จนหมดสิ้น[2] ขณะนั้นนายทองดี ฟันขาว อายุได้ 18 ปี ต่อมาได้มีโอกาสชกมวยในงานไหว้พระแท่นศิลาอาสน์ กับนายถึก ศิษย์เอกของครูนิล นายถึกไม่สามารถป้องกันได้ ถูกเตะสลบไปนานประมาณ 10 นาที ครูนิลอับอายมากจึงท้าครูเมฆชกกัน นายทองดี ฟันขาว ได้กราบอ้อนวอนขอร้อง ขอชกแทนครูเมฆและได้ตลุยเตะต่อยจนครูนิลฟันหลุดถึง 4 ซี่ เลือดเต็มปากสลบอยู่เป็นเวลานาน ชื่อเสียงนายทองดี ฟันขาว กระฉ่อนไปทั่วเมืองทุ่งยั้ง ลับแล พิชัย และเมืองฝาง นายทองดีอยู่กับครูเมฆประมาณ 2 ปี ก็ขอลาไปศึกษาการฟันดาบที่เมืองสวรรคโลก ด้วยความฉลาดมีไหวพริบ เขาใช้เวลาเพียง 3 เดือน ก็เรียนฟันดาบสำเร็จเป็นที่พิศวงต่อครูผู้สอนยิ่งนัก หลังจากนั้นก็ไปเที่ยวเมืองสุโขทัยและเมืองตากระหว่างทางได้รับศิษย์ไว้ 1 คน ชื่อบุญเกิด (หมื่นหาญณรงค์)[3][4] โดยเมื่อครั้งที่บุญเกิดถูกเสือคาบไปนั้น ทองดีได้ช่วยบุญเกิดไว้โดยการแทงมีดที่ปากเสือ จนเป็นที่ร่ำลือไปทั่ว[ต้องการอ้างอิง]

รับราชการ

ไฟล์:พระยาพิชัย.jpg
ภาพเขียนพระยาพิชัยต่อสู้กับพม่าเมื่อครั้งศึกโปสุพลายกทัพมาตีเมืองพิชัยจนดาบหัก

เมื่อท่านเดินทางถึงเมืองตาก ขณะนั้นได้มีพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาที่วัดใหญ่เจ้าเมืองตาก สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจัดให้มีมวยฉลองด้วย นายทองดี ฟันขาว ดีใจมากเข้าไปเปรียบมวยกับครูห้าวซึ่งเป็นครูมวยมือดีของเจ้าเมืองตากและมีอิทธิพลมาก นายทองดี ฟันขาว ใช้ความว่องไวใช้หมัดศอกและเตะขากรรไกรจนครูห้าวสลบไป เจ้าเมืองตากจึงถามว่าสามารถชกนักมวยอื่นอีกได้หรือไม่ นายทองดี ฟันขาว บอกว่าสามารถชกได้อีก เจ้าเมืองตากจึงให้ชกกับครูหมึกครูมวยร่างสูงใหญ่ ผิวดำ นายทองดี เตะซ้ายเตะขวา บริเวณขากรรไกร จนครูหมึกล้มลงสลบไป[ต้องการอ้างอิง]

เจ้าเมืองตากพอใจมากให้เงิน 3 ตำลึง และชักชวนให้อยู่ด้วย นายทองดี ฟันขาว จึงได้ถวายตัวเป็นทหารของเจ้าเมืองตาก (สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี) ตั้งแต่บัดนั้น เป็นที่โปรดปรานมากและได้รับยศเป็น "หลวงพิชัยอาสา" เมื่อเจ้าเมืองตากได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาวชิรปราการ ครองเมืองกำแพงเพชร หลวงพิชัยอาสาได้ติดตามไปรับใช้อย่างใกล้ชิดและเป็นเวลาเดียวที่พม่ายกทัพล้อม กรุงศรีอยุธยา[ต้องการอ้างอิง]

พระยาวชิรปราการพร้อมด้วยหลวงพิชัยอาสา และทหารเข้าสู้รบกับทัพพม่าหลายคราวจนได้รับชัยชนะ ได้ช้างม้าอาหารพอสมควร สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้รับการต้อนรับจากประชาชนและยกย่องขึ้นเป็นผู้นำ เมื่อกอบกู้เอกราชได้แล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองกรุงธนบุรีและได้โปรดเกล้าฯ ให้หลวงพิชัยอาสา เป็นเจ้าหมื่นไวยวรนาถ เป็นทหารเอกราชองครักษ์ในพระองค์[ต้องการอ้างอิง]

ในปี พ.ศ. 2311 พม่าได้ยกทัพมาอีก 1 หมื่นคน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีพร้อมด้วยหมื่นไวยวรนาถได้เข้าโจมตีจนแตกพ่าย และได้มีการสู้รบปราบก๊กต่าง ๆ อีกหลายคราว เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จกลับกรุงธนบุรี โปรดตั้งเจ้าหมื่นไวยวรนาถเป็น "พระยาสีหราชเดโช" มีตำแหน่งเป็นนายทหารเอกราชองครักษ์ตามเดิม สุดท้ายเมื่อปราบชุมนุมเจ้าพระฝางได้แล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงปูนบำเหน็จความชอบให้ทหารของพระองค์โดยทั่วหน้า ส่วนพระยาสีหราชเดโช (จ้อย หรือ ทองดี ฟันขาว) นั้น ได้โปรดเกล้าฯ บำเหน็จความชอบให้เป็นพระยาพิชัยปกครองเมืองพิชัยอันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนแต่เยาว์วัย[ต้องการอ้างอิง]

ในปี พ.ศ. 2313 - 2316 ได้เกิดการสู้รบกับกองทัพพม่าอีกหลายคราว พอสิ้นฤดูฝนปีมะเส็ง พ.ศ. 2316 โปสุพลายกกองทัพมาตีเมืองพิชัย "ศึกครั้งนี้พระยาพิชัยจับดาบสองมือคาดด้าย ออกไล่ฟันแทงพม่าอย่างชุลมุน ณ สมรภูมิบริเวณ วัดเอกา จนเมื่อพระยาพิชัยเสียการทรงตัว ก็ได้ใช้ดาบข้างขวาพยุงตัวไว้ จนดาบข้างขวาหักเป็นสองท่อน" กองทัพโปสุพลาก็แตกพ่ายกลับไป เมื่อวันอังคาร เดือนยี่ แรม 7 ค่ำ ปีมะเส็ง พ.ศ. 2316 (ตรงกับวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2316)[ต้องการอ้างอิง]

ถวายชีวิตเป็นราชพลี

พระปรางค์วัดราชคฤห์วรวิหาร สถานที่บรรจุอัฐิของพระยาพิชัยดาบหัก

เมื่อปี พ.ศ. 2325 หลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชถูกสำเร็จโทษ[5] สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเล็งเห็นว่าพระยาพิชัยเป็นขุนนางคู่พระทัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีที่มีฝีมือและซื่อสัตย์ จึงชวนพระยาพิชัยเข้ารับราชการในแผ่นดินใหม่ แต่พระยาพิชัยไม่ขอรับตำแหน่งด้วยท่านเป็นคนจงรักภักดีและซื่อสัตย์ต่อองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และถือคติที่ว่า "ข้าสองเจ้าบ่าวสองนายมิดี" จึงขอให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกสำเร็จโทษตนเป็นการถวายชีวิตตายตามสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช[ต้องการอ้างอิง]

หลังจากท่านได้ถูกสำเร็จโทษ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีเฉลิมพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์จึงได้มีรับสั่งให้สร้างพระปรางค์นำอัฐิของท่านไปบรรจุไว้ ณ วัดราชคฤห์วรวิหาร ซึ่งพระปรางค์นี้ก็ยังปรากฏสืบมาจนปัจจุบัน[ต้องการอ้างอิง]

พระยาพิชัยดาบหักได้สร้างมรดกอันควรแก่การยกย่องสรรเสริญให้สืบทอดมาถึงปัจจุบันได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต ความกตัญญูกตเวที ความเด็ดเดี่ยวเฉียบขาดกล้าหาญ รวมถึงความรักชาติ ต้องการให้ชาติเจริญรุ่งเรืองมั่นคงต่อไป[ต้องการอ้างอิง]

อนุสรณ์

พระยาพิชัยดาบหัก นับเป็นวีรชนของชาติ ผู้ร่วมกู้เอกราชของชาติไทยในสมัยเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองและเป็นชาวอุตรดิตถ์ ดังนั้นจึงได้มีการสร้างอนุสรณ์สถาน รวมถึงการนำนามของท่านไปใช้ตั้งชื่อสถานที่ราชการสำคัญเพื่อรำลึกถึงวีรกรรมของท่านขึ้น ตัวอย่างของอนุสรณ์สถานและสถานที่เหล่านี้ เช่น

อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ณ ศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์
พิธีสมโภชอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก‬ ใน พ.ศ. 2513

เพื่อระลึกถึงเกียรติในเรื่องความองอาจ กล้าหาญ รักชาติ และเสียสละของท่าน ชาวจังหวัดอุตรดิตถ์จึงได้พร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหักแห่งแรก เพื่อประดิษฐานหน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2513 ซึ่งต่อมาอนุสาวรีย์ดังกล่าวได้เป็นภาพจำตัวแทนบุคคลของพระยาพิชัยในวัฒนธรรมร่วมสมัย

ภาพพิธีอัญเชิญดวงวิญญาณพระยาพิชัยดาบหัก ในพิธีปลุกเศกเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก‬ ณ ปรำพิธีหน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. 2513

โดยอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ เกิดขึ้นจากความต้องการของประชาชนชาวจังหวัดอุตรดิตถ์มาช้านาน ต่อมาในสมัยนายเวทย์ นิจถาวร เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด มีพ่อค้า ประชาชน ร่วมกันบริจาคทรัพย์เป็นทุนก่อสร้าง โดยไม่มีงบประมาณแผ่นดินของทางหน่วยงานราชการมาเกี่ยวข้อง ทุนทรัพย์ทั้งหมดเกิดจากกำลังศรัทธาของชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีพิธีอัญเชิญโกศดวงวิญญาณพระยาพิชัยดาบหัก (แทนอัฐิ) ตามโบราณประเพณี เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2510 มีพิธีวางแผ่นศิลาฤกษ์แท่นฐานอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2511 โดยมี นายถวิล สุนทรศารทูล ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานพิธี

สำหรับองค์พระยาพิชัยดาบหักนั้น ปั้นโดยกรมศิลปากร โดยมีอาจารย์สนั่น ศิลากร เป็นประติมากร และเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จได้มีพิธีเปิดอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 ณ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีนายพ่วง สุวรรณรัฐ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธี[6]

นายพ่วง สุวรรณรัฐ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีอัญเชิญดวงวิญญาณพระยาพิชัยดาบหัก ณ ปรำพิธีหน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. 2513

ในระหว่างวันที่ 7 - 13 มกราคม ของทุกปี จังหวัดอุตรดิตถ์ได้กำหนดให้มีการจัดงานเพื่อระลึกถึงวีรกรรมของท่าน ถือเป็นงานประจำปีของจังหวัดอุตรดิตถ์ เรียกชื่องานว่า "งานพระยาพิชัยดาบหักและงานกาชาด" โดยจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ถือเอาวันที่ 7 มกราคม ของทุกปี เป็นวันเปิดงานพระยาพิชัยดาบหักฯ โดยอ้างอิงตามพระราชพงศาวดาร ที่ระบุวันซึ่งพระยาพิชัยออกสู้รบกับกองทัพโปสุพลาจนดาบหักสองท่อนตามปฏิทินสุริยคติ

อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ณ พิพิธภัณฑ์บ้านเกิดพระยาพิชัยดาบหัก อ.พิชัย

ในปี พ.ศ. 2545 ประชาชนได้ร่วมใจกันจัดสร้างอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ปางนั่งครองเมือง ประดิษฐานด้านหน้าสถูปทรงปรางค์ ณ พิพิธภัณฑ์บ้านเกิดพระยาพิชัยดาบหัก แห่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของอำเภอพิชัย ในหมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 6 บ้านห้วยคา ตำบลในเมือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อรำลึกถึงเมื่อครั้งที่ท่านได้เป็นผู้สำเร็จราชการครองเมืองพิชัยในสมัยธนบุรี นอกจากนี้ในวันที่ 7 เมษายน หน่วยงานราชการพร้อมทั้งประชาชนชาวพิชัยจะมีการจัดพิธีสักการะบวงสรวงดวงวิญญาณพระยาพิชัยดาบหัก เป็นประจำทุก ๆ ปี เพื่อรำลึกถึงวันที่พระยาพิชัยดาบหักถูกประหารชีวิตเมื่อครั้งสิ้นแผ่นดินพระเจ้าตากสินมหาราชอีกด้วย[7]

อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ณ หัวทุ่งสมรภูมิสวางคบุรี อ.เมืองอุตรดิตถ์
อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ณ หัวทุ่งสมรภูมิสวางคบุรี

เพื่อระลึกถึงวีรกรรมและความกล้าหาญของท่าน ที่ได้เคยร่วมรบเคียงคู่พระวรกายสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ได้พร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหักแกะสลักจากไม้ตะเคียนโบราณองค์แรก ประดิษฐานบริเวณหน้าวัดคุ้งตะเภาหันหน้าสู่ทุ่งสมรภูมิสวางคบุรี เพื่อรำลึกถึงอดีตเมืองสวางคบุรีในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายซึ่งเคยเป็นพื้นที่ ๆ ท่านได้มาฝึกมวยกับครูเมฆแห่งบ้านท่าเสา-คุ้งตะเภา ในวัยเด็ก และเป็นพื้นที่เกิดวีรกรรมการปรามชุมนุมเจ้าพระฝางแห่งเมืองสวางคบุรี เป็นชุมนุมสุดท้ายในสมัยธนบุรี รวมถึงยังเป็นสถานที่ท่านได้รับเลื่อนยศเป็นพระยาพิชัยผู้สำเร็จราชการครองเมืองพิชัย รับพระราชทานเครื่องยศเสมอเจ้าพระยาสุรสีห์ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในพระราชพงศาวดาร[8]

ฯพณฯ ศาสตราจารย์ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นประธานในพิธีบวงสรวงวางศิลาฤกษ์อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ณ หัวทุ่งสมรภูมิสวางคบุรี

โดยอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ณ หัวทุ่งสมรภูมิสวางคบุรี เกิดขึ้นจากความต้องการของประชาชนและผู้เคารพศรัทธาในความกล้าหาญของท่านมาช้านาน ต่อมาในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ประชาชนชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ได้พร้อมใจกันจัดพิธีเชิญดวงวิญญาณพระยาพิชัยดาบหัก (แทนอัฐิ) ตามโบราณประเพณี และมีพิธีวางศิลาฤกษ์อนุสาวรีย์ฯ โดยมี ฯพณฯ ศาสตราจารย์ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ ต่อมาประชาชนได้นำไม้โบราณมาแกะสลักเป็นอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหักจากไม้ตะเคียนองค์แรกขนาดเท่าครึ่งเพื่อประดิษฐานในบริเวณดังกล่าวให้ประชาชนผู้เคารพศรัทธาได้ระลึกถึงวีรกรรมความกล้าหาญเสียสละของท่าน ในปี พ.ศ. 2561[9]

ศาลพระยาพิชัยดาบหัก ณ เมืองพิชัย

ในอำเภอพิชัยซึ่งเป็นบ้านเกิดของพระยาพิชัยดาบหักในสมัยอยุธยาตอนปลาย และเป็นเมืองที่ท่านเคยผู้สำเร็จราชการครองเมืองพิชัยในสมัยธนบุรี ประชาชนชาวอำเภอพิชัยต่างยังคงมีความเคารพศรัทธาในวีรกรรมและความกล้าหาญของท่านเป็นอย่างยิ่ง จึงได้มีการสร้างศาลเพื่อระลึกถึงพ่อพระยาพิชัยดาบหักในสถานที่ต่าง ๆ

อย่างไรก็ดีศาลที่มีความเก่าแก่และสำคัญกับชาวพิชัยมายาวนานมี 2 แห่ง คือ ศาลท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหัก ณ วงเวียนหลังสถานีรถไฟพิชัย อำเภอพิชัย สร้างเป็นมณฑปจตุรมุขเปิดโล่งทั้งสี่ด้าน และศาลท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหัก ณ หน้าวัดมหาธาตุ ตำบลในเมือง อำเภอพิชัย ทั้งสองแห่งมีความเก่าแก่และเป็นที่เคารพนับถือของชาวพิชัยมาช้านาน สันนิษฐานว่าสร้างมาก่อนปี พ.ศ. 2513

พิพิธภัณฑ์

พิพิธภัณฑ์พระยาพิชัย ศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์
พิพิธภัณฑ์อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์

ในบริเวณด้านข้างอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ณ ศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ มีการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์พระยาพิชัย โดยงบประมาณภาครัฐบางส่วน และบางส่วนจากจิตศรัทธาของประชาชนจังหวัดอุตรดิตถ์ ในปี พ.ศ. 2539 ด้านซ้ายของอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก สร้างอาคาร "พิพิธภัณฑ์ดาบเหล็กน้ำพี้ใหญ่ที่สุดในโลก" โดยจัดสร้างและแสดงดาบเหล็กน้ำพี้ขนาดใหญ่ ที่มีน้ำหนัก 557.8 กิโลกรัม ฝักดาบทำด้วยไม้ประดู่ ฝังลวดลายมุกหุ้มปลอกเงินสลักลาย และด้านขวาของอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก สร้างอาคาร "พิพิธภัณฑ์พระยาพิชัย" ภายในเก็บรวบรวมประวัติของพระยาพิชัยดาบหัก รวมทั้งแบบจำลองสนามรบ และวิถีชีวิตผู้คนเมืองอุตรดิตถ์ในสมัยอยุธยาตอนปลาย รวมทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ในสมัยโบราณ โดยสถาปัตยกรรมภายนอกนั้นเป็นแบบทรงไทยประยุกต์ โดยมีจุดเด่นที่กรอบซุ้มประตูทางเข้านำมารูปแบบมาจากวิหารวัดดอนสัก อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งเป็นวิหารเก่าแก่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

พิพิธภัณฑ์บ้านเกิดพระยาพิชัยดาบหัก อ.พิชัย

แม้ในตำนานประวัติของพระยาพิชัยดาบหัก จะระบุบ้านเกิดของท่านว่าอยู่ที่บ้านห้วยคา เมืองพิชัย แต่ก็ไม่เหลือร่องรอยตำแหน่งบ้านเกิดของท่านแล้วในปัจจุบัน ทำให้ต่อมาเมื่อ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 หน่วยงานภาครัฐและประชาชนที่เคารพศรัทธาในวีรกรรมของท่าน จึงได้พร้อมใจกันสร้างพิพิธภัณฑ์บ้านเกิดพระยาพิชัยดาบหัก ในเนื้อที่สาธารณประโยชน์ ประมาณ 326 ไร่ บนพื้นที่ หมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 6 บ้านห้วยคา ตำบลในเมือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ภายในพื้นที่จัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์เป็นเรือนทรงไทย มีการจัดแสดงชีวประวัติพระยาพิชัยดาบหักและมรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น และมีการจัดสร้างสถูปทรงปรางค์ที่จำลองจากพระปรางค์ซึ่งเป็นสถานที่ประดิษฐานอัฐิของท่านในวัดราชคฤห์ กรุงเทพมหานคร[10]

นามสถานที่

  • โรงพยาบาลค่ายพิชัยดาบหัก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
  • ม.พัน.7 ค่ายพิชัยดาบหัก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย

อ้างอิง

  1. สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2512). ที่ระลึกพิธีเปิดอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ณ หน้าศาลากลาง จังหวัดอุตรดิตถ์ 20 กุมภาพันธ์ 2512. พระนคร : โรงพิมพ์มงคลการพิมพ์. หน้า 3
  2. ทรงพล นาคเอี่ยม. (2550). การเปลี่ยนแปลงของความหลากหลายในเชิงศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวไทย : กรณีศึกษามวยไทยสายพระยาพิชัยดาบหัก. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (พลศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  3. รับตำแหน่งหลวงพิชัยอาสา - Watrajkrueh::วัดราชคฤห์
  4. หมื่นหาญณรงค์ นักรบคู่ใจ - Watrajkrueh::วัดราชคฤห์
  5. พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2548, หน้า 230
  6. กระทรวงมหาดไทย. (2513). หนังสือที่ระลึกพิธีปลุกเศกเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก‬ ณ ปรำพิธีหน้าศาลากลาง จังหวัดอุตรดิตถ์ 31 มกราคม 2513. กรุงเทพฯ : (ม.ป.ท.)
  7. คมชัดลึก. (2561). ลูกหลานชาวพิชัยสำนึกรักษ์ ถิ่นกำเนิด'พระยาพิชัยดาบหัก'. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.komchadluek.net/news/regional/320159
  8. ธีระวัฒน์ แสนคำ. (2558). สวางคบุรีศรีคุ้งตะเภา : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับสมรภูมิสวางคบุรี-คุ้งตะเภา อนุสรณ์ ๒๔๕ ปี แห่งการสถาปนาวัดคุ้งตะเภา. อุตรดิตถ์ : สำนักงานสภาวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ กระทรวงวัฒนธรรม. ISBN 978-616-543-334-1
  9. สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3. (2561). อุตรดิตถ์-นำต้นตะเคียนแกะสลักเป็นรูปพระยาพิชัยยืนถือดาบคู่ใจ. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : http://news.ch3thailand.com/local/63924
  10. คมชัดลึก. (2561). ลูกหลานชาวพิชัยสำนึกรักษ์ ถิ่นกำเนิด'พระยาพิชัยดาบหัก'. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.komchadluek.net/news/regional/320159
  11. ชมลีลาแอกชันสุดซี้ด! ของ "บัวขาว" จากหนัง "นายทองดีฟันขาว"

ดูเพิ่ม

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

  • พระยาศรีสัชนาลัยบดี. (2511). ประวัติพระยาพิชัยดาบหัก เรียบเรียงโดย พระยาศรีสัชนาลัยบดี อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระณรงค์ฤทธี (ชาย ดิฐานนท์). พระนคร : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น
  • ธีระวัฒน์ แสนคำ. (2558). สวางคบุรีศรีคุ้งตะเภา : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับสมรภูมิสวางคบุรี-คุ้งตะเภา อนุสรณ์ ๒๔๕ ปี แห่งการสถาปนาวัดคุ้งตะเภา. อุตรดิตถ์ : สำนักงานสภาวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ กระทรวงวัฒนธรรม. ISBN 978-616-543-334-1
  • ศิริวรรณ คุ้มโห้. "พระยาพิชัยดาบหัก." บุคคลสำคัญของชาติ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : เดอะบุ๊คส์, [ม.ป.ป.]. หน้า 43-46. ISBN 978-974-394-229-7

แหล่งข้อมูลอื่น

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พระยาพิชัยดาบหัก
  • ขำฉา, วิลาวัลย์ (2550). "รายการฐานข้อมูลท้องถิ่น เรื่อง พระยาพิชัยดาบหัก. อุตรดิตถ์:รายงานวิชาเอก บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ ปี 4" (PDF). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.