ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จ้าว ปิ่ง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
Miwako Sato ย้ายหน้า จักรพรรดิซ่งตี้ปิง ไปยัง จ้าว ปิ่ง
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 28: บรรทัด 28:
จ้าว ปิ่ง เป็นโอรสองค์ที่ 17 ของ[[จ้าว ฉี]] (趙禥) ซึ่งเสวยราชย์เป็น[[จักรพรรดิซ่งตู้จง]] (宋度宗) กับนางอฺวี๋ (俞氏) สนมคนหนึ่งของจ้าว ฉี ซึ่งมีฐานันดรศักดิ์ "[[ระบบวังหลังจีน|ซิงหรง]]" (修容) จ้าว ปิ่ง ยังเป็นลูกพี่ลูกน้องกับจักรพรรดิองค์ก่อนหน้า คือ [[จ้าว เสี่ยน]] (趙㬎) ซึ่งเสวยราชย์เป็น[[จักรพรรดิซ่งกง]] (宋恭帝) และ[[จ้าว ชื่อ]] (趙昰) ซึ่งเสวยราชย์เป็น[[จักรพรรดิตฺวันจง]] (宋端宗) จ้าว ปิ่ง ได้รับฐานันดรศักดิ์ "ซิ่นหวัง" (信王) ใน ค.ศ. 1274 ภายหลังได้เลื่อนเป็น "กวั่งหวัง" (廣王)
จ้าว ปิ่ง เป็นโอรสองค์ที่ 17 ของ[[จ้าว ฉี]] (趙禥) ซึ่งเสวยราชย์เป็น[[จักรพรรดิซ่งตู้จง]] (宋度宗) กับนางอฺวี๋ (俞氏) สนมคนหนึ่งของจ้าว ฉี ซึ่งมีฐานันดรศักดิ์ "[[ระบบวังหลังจีน|ซิงหรง]]" (修容) จ้าว ปิ่ง ยังเป็นลูกพี่ลูกน้องกับจักรพรรดิองค์ก่อนหน้า คือ [[จ้าว เสี่ยน]] (趙㬎) ซึ่งเสวยราชย์เป็น[[จักรพรรดิซ่งกง]] (宋恭帝) และ[[จ้าว ชื่อ]] (趙昰) ซึ่งเสวยราชย์เป็น[[จักรพรรดิตฺวันจง]] (宋端宗) จ้าว ปิ่ง ได้รับฐานันดรศักดิ์ "ซิ่นหวัง" (信王) ใน ค.ศ. 1274 ภายหลังได้เลื่อนเป็น "กวั่งหวัง" (廣王)


วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1276 ทัพ[[มองโกล]]ของ[[ราชวงศ์ยฺเหวียน]] (元朝) ภายใต้การนำของขุนพล[[ปั๋วหยาน]] (伯顔) ตี[[หลินอัน]] (臨安) เมืองหลวงของราชวงศ์ซ่ง แตก และจับจ้าว เสี่ยน (จักรพรรดิซ่งกง) ไป แต่จ้าว ชื่อ กับจ้าว ปิ่ง หนีรอดไปด้วยความช่วยเหลือของขุนนาง[[จาง ชื่อเจี๋ย]] (張世傑), [[เฉิน อี๋จง]] (陳宜中), [[ลู่ ซิ่วฟู]] (陸秀夫), [[หยาง เลี่ยงเจี๋ย]] (楊亮節), [[เหวิน เทียนเสียง]] (文天祥), และคนอื่น ๆ พวกเขาลี้ภัยมาถึง[[จินหฺวา]] (金華) แล้วยกจ้าว ชื่อ ขึ้นเป็น "เทียนเซี่ยปิงหม่าโตว-ยฺเหวียน-ชฺว่าย" (天下兵馬都元帥; "หัวหน้าใหญ่ของไพร่พลทั่วหล้า") และยกจ้าว ปิ่ง ขึ้นเป็น "ฟู่-ยฺเหวียน-ชฺว่าย" (副元帥; "หัวหน้ารอง") ทั้งถวายฐานันดรศักดิ์ "เว่ย์หวัง" (衛王) ต่อจ้าว ปิ่ง ครั้นวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1276 ก็ยกจ้าว ชื่อ วัยเจ็ดชันษา ขึ้นสืบราชสมบัติต่อจากจ้าว เสี่ยน ที่ถูกจับตัวไป ตั้งพิธีสถาปนาใน[[ฝูโจว]] (福州)
วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1276 ทัพ[[มองโกล]]ของ[[ราชวงศ์ยฺเหวียน]] (元朝) ภายใต้การนำของขุนพล[[ปั๋วหยาน]] (伯顔) ตี[[หลินอัน]] (臨安) เมืองหลวงของราชวงศ์ซ่ง แตก และจับจ้าว เสี่ยน (จักรพรรดิซ่งกง) ไป แต่จ้าว ชื่อ กับจ้าว ปิ่ง หนีรอดไปด้วยความช่วยเหลือของขุนนาง[[จาง ชื่อเจี๋ย]] (張世傑), [[เฉิน อี๋จง]] (陳宜中), [[ลู่ ซิ่วฝู]] (陸秀夫), [[หยาง เลี่ยงเจี๋ย]] (楊亮節), [[เหวิน เทียนเสียง]] (文天祥), และคนอื่น ๆ พวกเขาลี้ภัยมาถึง[[จินหฺวา]] (金華) แล้วยกจ้าว ชื่อ ขึ้นเป็น "เทียนเซี่ยปิงหม่าโตว-ยฺเหวียน-ชฺว่าย" (天下兵馬都元帥; "หัวหน้าใหญ่ของไพร่พลทั่วหล้า") และยกจ้าว ปิ่ง ขึ้นเป็น "ฟู่-ยฺเหวียน-ชฺว่าย" (副元帥; "หัวหน้ารอง") ทั้งถวายฐานันดรศักดิ์ "เว่ย์หวัง" (衛王) ต่อจ้าว ปิ่ง ครั้นวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1276 ก็ยกจ้าว ชื่อ วัยเจ็ดชันษา ขึ้นสืบราชสมบัติต่อจากจ้าว เสี่ยน ที่ถูกจับตัวไป ตั้งพิธีสถาปนาใน[[ฝูโจว]] (福州)


ขุนพลปั๋วหยานต้องการปราบปรามราชวงศ์ซ่งให้สิ้นซาก จึงนำทัพมารุกราน ขณะนั้น จ้าว ชื่อ ประชวรสิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 1278 กองทัพราชวงศ์ซ่งเสียขวัญกำลังใจ ทหารพากันหลบลี้ไปจากศึก ขุนนางลู่ ซิ่วฟู พาจ้าว ปิ่ง หนีไปถึงเหมย์เว่ย์ (梅蔚) ซึ่งปัจจุบันอยู่ใน[[ฮ่องกง]] ณ ที่นั้น จ้าว ปิ่ง ได้รับการยกขึ้นเป็นจักรพรรดิสืบต่อจากจ้าว ชื่อ ใช้ชื่อรัชกาลว่า "เสียงซิ่ง" (祥興) แล้วไปตั้งกองทัพที่[[หยาเหมิน]] (崖門) ซึ่งปัจจุบันอยู่ใน[[เจียงเหมิน|นครเจียงเหมิน]] (江门市), [[เขตซินฮุ่ย]] (新会区), [[มณฑลกวั่งตง]] (广东省) เพื่อตีโต้มองโกล
ขุนพลปั๋วหยานต้องการปราบปรามราชวงศ์ซ่งให้สิ้นซาก จึงนำทัพมารุกราน ขณะนั้น จ้าว ชื่อ ประชวรสิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 1278 กองทัพราชวงศ์ซ่งเสียขวัญกำลังใจ ทหารพากันหลบลี้ไปจากศึก ขุนนางลู่ ซิ่วฝู พาจ้าว ปิ่ง หนีไปถึงเหมย์เว่ย์ (梅蔚) ซึ่งปัจจุบันอยู่ใน[[ฮ่องกง]] ณ ที่นั้น จ้าว ปิ่ง ได้รับการยกขึ้นเป็นจักรพรรดิสืบต่อจากจ้าว ชื่อ ใช้ชื่อรัชกาลว่า "เสียงซิ่ง" (祥興) แล้วไปตั้งกองทัพที่[[หยาเหมิน]] (崖門) ซึ่งปัจจุบันอยู่ใน[[เจียงเหมิน|นครเจียงเหมิน]] (江门市), [[เขตซินฮุ่ย]] (新会区), [[มณฑลกวั่งตง]] (广东省) เพื่อตีโต้มองโกล


มองโกลส่งขุนพล[[จาง หงฟ่าน]] (張弘範) นำทัพมาปราบปราม ส่วนทัพซ่งมีจาง ชื่อเจี๋ย เป็นผู้นำ สองฝ่ายรบกันใน[[ยุทธการหยาเหมิน]] (厓門戰役) ราชวงศ์ซ่งแพ้ ครั้นวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 1279 เมื่อทราบว่า รบแพ้ ขุนนางลู่ ซิ่วฟู่ จึงอุ้มจ้าว ปิ่ง วัยเจ็ดชันษา ไปกระโจนลงน้ำถึงแก่ความตายด้วยกัน นับเป็นจุดสิ้นสุดของราชวงศ์ซ่ง<ref name="militaryhist">{{cite book|author1=David C. Wright|editor=David Andrew Graff|editor2=Robin D. S. Higham|title=A Military History of China|year=2012|publisher=University Press of Kentucky|isbn=978-0-8131-3584-7|page=73}}</ref>
มองโกลส่งขุนพล[[จาง หงฟ่าน]] (張弘範) นำทัพมาปราบปราม ส่วนทัพซ่งมีจาง ชื่อเจี๋ย เป็นผู้นำ สองฝ่ายรบกันใน[[ยุทธการหยาเหมิน]] (厓門戰役) ราชวงศ์ซ่งแพ้ ครั้นวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 1279 เมื่อทราบว่า รบแพ้ ขุนนางลู่ ซิ่วฝู จึงอุ้มจ้าว ปิ่ง วัยเจ็ดชันษา ไปกระโจนลงน้ำถึงแก่ความตายด้วยกัน นับเป็นจุดสิ้นสุดของราชวงศ์ซ่ง<ref name="militaryhist">{{cite book|author1=David C. Wright|editor=David Andrew Graff|editor2=Robin D. S. Higham|title=A Military History of China|year=2012|publisher=University Press of Kentucky|isbn=978-0-8131-3584-7|page=73}}</ref>


มีการสร้างสุสานถวายจ้าว ปิ่ง ในท้องที่[[ชื่อวาน]] (赤湾), [[เขตหนานชาน (เชินเจิ้น)|เขตหนานชาน]] (南山区), [[เชินเจิ้น|นครเชินเจิ้น]] (深圳市)
มีการสร้างสุสานถวายจ้าว ปิ่ง ในท้องที่[[ชื่อวาน]] (赤湾), [[เขตหนานชาน (เชินเจิ้น)|เขตหนานชาน]] (南山区), [[เชินเจิ้น|นครเชินเจิ้น]] (深圳市)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:02, 7 ตุลาคม 2561

จ้าว ปิ่ง
จักรพรรดิแห่งราชวงศ์ซ่ง
ครองราชย์10 พฤษภาคม ค.ศ. 1278 – 19 มีนาคม ค.ศ. 1279
ราชาภิเษก10 พฤษภาคม ค.ศ. 1278
ก่อนหน้าจักรพรรดิตฺวันจง (宋端宗)
ประสูติ12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1272(1272-02-12)
หลินอัน (臨安), จักรวรรดิซ่ง; ปัจจุบัน คือ หางโจว (杭州) ในเจ้อเจียง (浙江)
จ้าว ปิ่ง
สวรรคต19 มีนาคม ค.ศ. 1279(1279-03-19) (7 ปี)
หยาเหมิน (厓門), มณฑลบูรพากว่างหนาน (廣南東路), จักรวรรดิซ่ง; ปัจจุบัน คือ ซินฮุ่ย (新会) ในกวั่งตง (广东)
ฝังพระศพเฉอโข่ว (蛇口) ในเชินเจิ้น (深圳)
รัชศก
เสียงซิ่ง (祥興; ค.ศ. 1278–1279)
ราชวงศ์สกุลจ้าว
พระราชบิดาจักรพรรดิตฺวันจง (宋端宗)
พระราชมารดานางอฺวี๋ (俞氏)

จ้าว ปิ่ง (จีนตัวย่อ: 赵昺; จีนตัวเต็ม: 趙昺; พินอิน: Zhào Bǐng; 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1272 – 19 มีนาคม ค.ศ. 1279) บางทีเรียก ซ่งตี้ปิ่ง (宋帝昺; "ปิ่งจักรพรรดิซ่ง") เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 18 และองค์สุดท้ายของราชวงศ์ซ่ง (宋朝) แห่งจักรวรรดิจีน และเมื่อแบ่งราชวงศ์ซ่งออกเป็นสมัยเหนือกับสมัยใต้ นับเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 9 และองค์สุดท้ายของราชวงศ์ซ่งใต้ (南宋朝) เสวยราชย์ราว 313 วันตั้งแต่ ค.ศ. 1278 จนสิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 1279

ประวัติ

จ้าว ปิ่ง เป็นโอรสองค์ที่ 17 ของจ้าว ฉี (趙禥) ซึ่งเสวยราชย์เป็นจักรพรรดิซ่งตู้จง (宋度宗) กับนางอฺวี๋ (俞氏) สนมคนหนึ่งของจ้าว ฉี ซึ่งมีฐานันดรศักดิ์ "ซิงหรง" (修容) จ้าว ปิ่ง ยังเป็นลูกพี่ลูกน้องกับจักรพรรดิองค์ก่อนหน้า คือ จ้าว เสี่ยน (趙㬎) ซึ่งเสวยราชย์เป็นจักรพรรดิซ่งกง (宋恭帝) และจ้าว ชื่อ (趙昰) ซึ่งเสวยราชย์เป็นจักรพรรดิตฺวันจง (宋端宗) จ้าว ปิ่ง ได้รับฐานันดรศักดิ์ "ซิ่นหวัง" (信王) ใน ค.ศ. 1274 ภายหลังได้เลื่อนเป็น "กวั่งหวัง" (廣王)

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1276 ทัพมองโกลของราชวงศ์ยฺเหวียน (元朝) ภายใต้การนำของขุนพลปั๋วหยาน (伯顔) ตีหลินอัน (臨安) เมืองหลวงของราชวงศ์ซ่ง แตก และจับจ้าว เสี่ยน (จักรพรรดิซ่งกง) ไป แต่จ้าว ชื่อ กับจ้าว ปิ่ง หนีรอดไปด้วยความช่วยเหลือของขุนนางจาง ชื่อเจี๋ย (張世傑), เฉิน อี๋จง (陳宜中), ลู่ ซิ่วฝู (陸秀夫), หยาง เลี่ยงเจี๋ย (楊亮節), เหวิน เทียนเสียง (文天祥), และคนอื่น ๆ พวกเขาลี้ภัยมาถึงจินหฺวา (金華) แล้วยกจ้าว ชื่อ ขึ้นเป็น "เทียนเซี่ยปิงหม่าโตว-ยฺเหวียน-ชฺว่าย" (天下兵馬都元帥; "หัวหน้าใหญ่ของไพร่พลทั่วหล้า") และยกจ้าว ปิ่ง ขึ้นเป็น "ฟู่-ยฺเหวียน-ชฺว่าย" (副元帥; "หัวหน้ารอง") ทั้งถวายฐานันดรศักดิ์ "เว่ย์หวัง" (衛王) ต่อจ้าว ปิ่ง ครั้นวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1276 ก็ยกจ้าว ชื่อ วัยเจ็ดชันษา ขึ้นสืบราชสมบัติต่อจากจ้าว เสี่ยน ที่ถูกจับตัวไป ตั้งพิธีสถาปนาในฝูโจว (福州)

ขุนพลปั๋วหยานต้องการปราบปรามราชวงศ์ซ่งให้สิ้นซาก จึงนำทัพมารุกราน ขณะนั้น จ้าว ชื่อ ประชวรสิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 1278 กองทัพราชวงศ์ซ่งเสียขวัญกำลังใจ ทหารพากันหลบลี้ไปจากศึก ขุนนางลู่ ซิ่วฝู พาจ้าว ปิ่ง หนีไปถึงเหมย์เว่ย์ (梅蔚) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในฮ่องกง ณ ที่นั้น จ้าว ปิ่ง ได้รับการยกขึ้นเป็นจักรพรรดิสืบต่อจากจ้าว ชื่อ ใช้ชื่อรัชกาลว่า "เสียงซิ่ง" (祥興) แล้วไปตั้งกองทัพที่หยาเหมิน (崖門) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในนครเจียงเหมิน (江门市), เขตซินฮุ่ย (新会区), มณฑลกวั่งตง (广东省) เพื่อตีโต้มองโกล

มองโกลส่งขุนพลจาง หงฟ่าน (張弘範) นำทัพมาปราบปราม ส่วนทัพซ่งมีจาง ชื่อเจี๋ย เป็นผู้นำ สองฝ่ายรบกันในยุทธการหยาเหมิน (厓門戰役) ราชวงศ์ซ่งแพ้ ครั้นวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 1279 เมื่อทราบว่า รบแพ้ ขุนนางลู่ ซิ่วฝู จึงอุ้มจ้าว ปิ่ง วัยเจ็ดชันษา ไปกระโจนลงน้ำถึงแก่ความตายด้วยกัน นับเป็นจุดสิ้นสุดของราชวงศ์ซ่ง[1]

มีการสร้างสุสานถวายจ้าว ปิ่ง ในท้องที่ชื่อวาน (赤湾), เขตหนานชาน (南山区), นครเชินเจิ้น (深圳市)

แกงรักชาติ

เชื่อกันว่า ก่อนทัพซ่งจะพ่ายแพ้ในยุทธการหยาเหมิน จ้าว ปิ่ง และคณะ หนีไปซ่อนในวัดที่เฉาโจว (潮州) ภิกษุรูปหนึ่งเอาแกงทำจากผักใบเขียว, เห็ดกินได้, และน้ำต้มกระดูก มาถวาย จ้าว ปิ่ง เสวยแล้วพอพระทัยมาก จึงประทานนามให้ว่า "แกงรักชาติ" (護國菜) เมื่อจ้าว ปิ่ง สิ้นพระชนม์แล้ว มีการปรุงอาหารดังกล่าวเพื่อถวายอาลัยแก่จ้าว ปิ่ง ในฐานะจักรพรรดิซ่งองค์สุดท้าย[2]

ครอบครัว

อ้างอิง

  1. David C. Wright (2012). David Andrew Graff; Robin D. S. Higham (บ.ก.). A Military History of China. University Press of Kentucky. p. 73. ISBN 978-0-8131-3584-7.
  2. "Nanyuan Restaurant - Authentic GD Cuisine". Nanyuan Restaurant - Authentic GD Cuisine_Others_www.newsgd.com. สืบค้นเมื่อ 1 January 2018.