ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรมการค้าภายใน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 45: บรรทัด 45:
| รัฐมนตรี11_ชื่อ =
| รัฐมนตรี11_ชื่อ =
| รัฐมนตรี11_ตำแหน่ง =
| รัฐมนตรี11_ตำแหน่ง =
| หัวหน้า1_ชื่อ = [[บุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร]]
| หัวหน้า1_ชื่อ = [[วิชัย โภชนกิจ]]
| หัวหน้า1_ตำแหน่ง = อธิบดี
| หัวหน้า1_ตำแหน่ง = อธิบดี
| หัวหน้า2_ชื่อ = สุทัศนีย์ ราชเรืองระบิน
| หัวหน้า2_ชื่อ = สุทัศนีย์ ราชเรืองระบิน

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:49, 7 ตุลาคม 2561

กรมการค้าภายใน
Department of Internal Trade of Thailand
ตรากรมการค้าภายใน
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง5 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 (81 ปี)
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่44/100 ถนนสนามบินน้ำ ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000
งบประมาณประจำปี1,262.6229 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • วิชัย โภชนกิจ, อธิบดี
  • สุทัศนีย์ ราชเรืองระบิน, รองอธิบดี
  • สมศักดิ์ เกียรติชัยลักษณ์, รองอธิบดี
  • รองอธิบดี
ต้นสังกัดกระทรวงพาณิชย์
หน่วยงานลูกสังกัด
เว็บไซต์http://www.dit.go.th

กรมการค้าภายใน (อังกฤษ: Department of Internal Trade of Thailand) ก่อตั้งวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 [2] ซึ่งในขณะนั้นประเทศอยู่ระหว่างสงครามประเทศไทยไม่อาจหลีกเลี่ยงผลภัยจากสงครามได้ จึงมีความจำเป็นต้องพร้อมเตรียมรับปัญหาทุกด้าน และงานเศรษฐกิจสำคัญ เช่น การพาณิชย์ อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ ยังรวมอยู่ในการดูแลของกระทรวงเดียว จึงได้ยกฐานะกรมพาณิชย์ขึ้นเป็นกระทรวงพาณิชย์ และตั้งกรมการค้าภายในขึ้นในสังกัด ทำหน้าที่ดูแลงานการค้าภายในประเทศ

ประวัติ

กรมการค้าภายในสมัยแรกเริ่มนั้น มีภารกิจหลักคือมุ่งเน้นส่งเสริมการค้าภายในประเทศเป็นสำคัญ ทำหน้าที่ส่งเสริมการค้าของคนไทย และการค้าโดยทั่วไป สืบราคาและรายงานความเคลื่อนไหวของสินค้า อุปโภคบริโภคที่จำเป็นในการครองชีพ และแหล่งผลิตของสินค้านั้นๆ เพื่อใช้ประกอบการส่งเสริมและช่วยเหลือผู้ผลิตให้ขายได้ราคา รวมทั้งแก้ไขปัญหาการค้าอันกระทบกระเทือนถึงการครองชีพของประชาชน เนื่องจากระหว่างนั้นอยู่ในสมัยของสงคราม เศรษฐกิจในประเทศไม่เป็นปกติ การดูแลแก้ปัญหา สินค้าขาดแคลนและขึ้นราคาเป็นภาระหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งทุกหน่วยงานรวมทั้งกรมการค้าภายในต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาโดยใกล้ชิด และเมื่อหลังสิ้นสุดสงครามแล้วราคาสินค้าต่าง ๆ ได้พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งเป็นภาระของกรมการค้าภายในต้องจัดหาสินค้ามาป้อนร้านค้าให้เพียงพอ เพื่อตรึงราคามิให้สูงเกินสมควร

ในปี พ.ศ. 2487พ.ศ. 2495 กระทรวงพาณิชย์ [3]ได้ปรับปรุงจัดระเบียบการบริหารงานของหน่วยงานในสังกัด และโอนงานหลายอย่างมาให้กรมการค้าภายในดูแลรับผิดชอบ โอนงานของกรมควบคุมการค้าที่ถูกยุบเลิก มาจัดตั้งเป็นกองควบคุมการค้า และกองควบคุมข้าว[4] อันทำให้ภารกิจของกรมการค้าภายในแต่เดิมเป็นงานส่งเสริม เพิ่มมาทำหน้าที่ควบคุมด้วยหลังจากนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ เพื่อให้เหมาะสมกับภารกิจและสถานการณ์ในปี พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2535 และ พ.ศ. 2542

บทบาทหน้าที่

  1. กำกับดูแลให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรม ในการอุปโภคบริโภคสินค้าและบริการ รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้บริโภคมีบทบาทในการพิทักษ์ประโยชน์ของตนเอง[5]
  2. พัฒนาระบบตลาด รวมทั้งส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการตลาดและตลาดในประเทศ เพื่อสร้างโอกาสการและความเป็นธรรมแก่เกษตรกร ผู้ผลิตที่เกี่ยวข้อง
  3. กำกับดูแลและส่งเสริมพัฒนาการประกอบธุรกิจการค้าในประเทศให้มีการแข่งขัน และมีการค้าที่เป็นธรรม
  4. ส่งเสริมและพัฒนาการชั่ง ตวง วัด ในทางการค้าให้เป็นมาตรฐานสากล กำกับดูแลและสอดส่องพฤติกรรมการใช้เครื่องชั่ง ตวง วัด ในการซื้อหรือขายสินค้าเกษตร และสินค้าอุปโภคให้เกิดความเป็นธรรม

หน่วยงานในสังกัด

  • สำนักงานเลขานุการกรม
  • สำนักกฎหมาย
  • สำนักส่งเสริมและพัฒนาระบบตลาด
  • สำนักจัดระบบราคาและปริมาณสินค้า
  • สำนักชั่ง ตวง วัด
  • สำนักตรวจสอบและปฏิบัติการ
  • สำนักสารสนเทศการค้าในประเทศ
  • สำนักส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า
  • สำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร
  • กลุ่มตรวจสอบภายใน
  • กลุ่มงานพัฒนาระบบบริหาร
  • กองกิจการงานภูมิภาค
  • กองพัฒนาระบบการค้า

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น