ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สหพันธรัฐ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 195: บรรทัด 195:
|รวมกันเป็นประเทศ ก่อนที่จะแยกออกจากกันในปี2005
|รวมกันเป็นประเทศ ก่อนที่จะแยกออกจากกันในปี2005
|-
|-
|[[ยูโกสลาเวีย]]
|[[สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย]]
|1945-1992
|1945-1992
|6 ประเทศ
|6 ประเทศ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:38, 5 ตุลาคม 2561

แผนที่ประเทศสหพันธรัฐอย่างเป็นทางการ
  รัฐสหพันธ์

สหพันธรัฐ (อังกฤษ: federation) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า รัฐสหพันธ์ เป็นรัฐอธิปไตยประเภทหนึ่งซึ่งมีลักษณะของสหภาพรัฐหรือภูมิภาคที่ปกครองตนเองบางส่วน ที่รวมเข้าด้วยกันโดยรัฐบาลกลาง หรือรัฐบาลสหพันธ์ ในสหพันธรัฐ สถานะการปกครองตนเองของรัฐองค์ประกอบนั้นตามแบบได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญและไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้โดยการตัดสินใจฝ่ายเดียวของรัฐบาลกลาง

ระบอบการปกครองหรือโครงสร้างตามรัฐธรรมนูญที่พบในสหพันธรัฐนั้นทราบกันในชื่อ ระบอบสหพันธรัฐ เป็นระบอบการปกครองที่ตรงข้ามกับรูปแบบรัฐอีกประเภทหนึ่ง คือ รัฐเดี่ยว ตัวอย่างสหพันธรัฐ เช่น ประเทศเยอรมนี ซึ่งประกอบด้วยสิบหกรัฐ (Länder) ที่รวมเข้ากันเป็นสหพันธ์

สหพันธรัฐนั้นอาจประกอบไปด้วยประชาชนที่หลากหลายทางเชื้อชาติ และมีพื้นที่กว้างใหญ่ (ดังเช่น ความหลากหลายอย่างที่สุดในอินเดีย) แม้สหพันธรัฐจะไม่จำเป็นต้องประกอบด้วยทั้งสองประการที่กล่าวมาก็ตาม สหพันธรัฐนั้นส่วนมากก่อตั้งขึ้นจากความตกลงแต่เดิมระหว่างรัฐอธิปไตยจำนวนหนึ่งโดยตั้งอยู่บนความกังวลหรือผลประโยชน์ร่วมกัน ความตกลงแรกเริ่มได้สร้างเสถียรภาพซึ่งเกื้อหนุนผลประโยชน์ร่วมกันข้ออื่น นำดินแดนที่แตกต่างกันสิ้นเชิงมาใกล้ชิดกัน และให้ดินแดนทั้งหมดมีหลักความเห็น (common ground) กว่าแต่ก่อน ในขณะเดียวกัน ความตกลงนี้ได้รับการรับรองและมีการจัดขบวนการเพื่อผสานรวมกันให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น แต่ก็มีบางช่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปัจจัยวัฒนธรรมร่วมเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น เชื้อชาติหรือภาษา บางขั้นตอนในแบบนี้ถูกเร่งให้เร็วขึ้นหรือบีบอัด

องค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศสหพันธรัฐ คือ องค์ประชุมกลุ่มประเทศสหพันธรัฐ (Forum of Federations) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงออตตาวา รัฐออนตาริโอ ประเทศแคนาดา ซึ่งมีจุดประสงค์ในการแบ่งปันแนวคิดและแนวปฏิบัติในการจัดการระบบการปกครองแบบสหพันธ์ ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 9 ประเทศ

รูปแบบสหพันธรัฐ

ในระบอบสหพันธรัฐ รัฐบาลท้องถิ่น (หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "รัฐบาลองค์ประกอบ") นั้นถือว่ามีอำนาจอธิปไตยในบางส่วน ทั้งยังมีอำนาจเฉพาะที่รัฐบาลกลางไม่สามารถใช้ได้ ส่วนรัฐบาลกลางจะมีอำนาจในการบริหารจัดการระบบราชการส่วนรวม และมีอำนาจในการกำหนดนโยบายทางการทูต ซึ่งรวมไปถึงการค้า การสื่อสาร และการทหาร ซึ่งเป็นอำนาจที่รัฐบาลท้องถิ่นไม่มีในครอบครอง อีกทั้งยังไม่มีสถานะเป็นรัฐอธิปไตยในกฎหมายสากล ซึ่งจะถือว่ารัฐบาลกลางเป็นตัวแทนของรัฐบาลท้องถิ่นทั้งประเทศ

ส่วนใหญ่แล้ว ทั่วทั้งของสหพันธรัฐจะใช้ระบบรัฐบาลกลาง-ท้องถิ่นในการบริหารราชการ แต่ในบางกรณี สหพันธรัฐอาจมีดินแดนที่รัฐบาลกลางเป็นผู้ควบคุมโดยตรง อย่างเช่นประเทศแคนาดาและออสเตรเลียที่รัฐบาลกลางมีอำนาจในการเปลี่ยนหรือยกเลิกขอบเขตอำนาจบริหารของรัฐบาลท้องถิ่นได้ โดยไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมก่อน ทำให้ปัจจุบันแต่ละรัฐของสองประเทศนี้มีอำนาจในการปกครองตนเองที่ไม่เท่าเทียมกัน หรือประเทศอินเดีย ที่นอกจากรัฐบาลองค์ประกอบแล้ว ยังมีดินแดนที่อยู่ใต้อาณัติของสหภาพอีกหลายแห่งด้วยกัน และสหรัฐอเมริกาที่มีเขตปกครองพิเศษของรัฐบาลกลาง คือกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. (DC = District of Columbia; เขตปกครองพิเศษโคลัมเบีย) ซึ่งเป็นเขตปกครองพิเศษที่ติดต่อกับรัฐเวอร์จิเนียและรัฐแมริแลนด์ โดยวอชิงตัน ดี.ซี. อยู่ในเขตฝั่งซ้ายของแม่น้ำพอตอแมก (Potomac River) ในกรณีข้างต้น รัฐบาลกลางจะแยกเขตปกครองออกจากการปกครองของรัฐบาลท้องถิ่นดั้งเดิม และใช้พื้นที่ของเขตเป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการต่างๆ ตามที่รัฐบาลกลางกำหนด ส่วนใหญ่แล้วเขตการปกครองพิเศษที่รัฐบาลกลางเป็นผู้ควบคุมโดยตรงจะอยู่ใน บริเวณที่มีประชากรเบาบางเกินกว่าที่จะตั้งเป็นรัฐ หรือไม่ค่อยมีคุณค่าทางเศรษฐกิจมากเท่าใดนัก หรือไม่ก็เป็นบริเวณที่เคยมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เช่นเมืองหลวงของประเทศ

ต้นกำเนิดของสหพันธรัฐ ส่วนใหญ่มีจุดเริ่มต้นมาจากข้อตกลงร่วมกันระหว่างรัฐอธิปไตย ซึ่งอาจเป็นข้อตกลงเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการค้าหรือการทหาร (ในกรณีของสหรัฐอเมริกา) หรือข้อตกลงระหว่างรัฐเพื่อสถาปนารัฐชนชาติเดียว ที่รวบรวมเขตแดนจากรัฐต่างๆ ที่มีเชื้อชาติเดียวกันเข้ามารวมกันเป็นประเทศเดียว (ในกรณีของเยอรมนี) อย่างไรก็ดี ต้นกำเนิดและความเป็นมาของแต่ละชาติย่อมแตกต่างกัน อย่างในออสเตรเลีย ที่สถาปนาสหพันธรัฐจากการอนุมัติของประชาชนผ่านการลงคะแนนเสียงในประชามติ รัฐธรรมนูญออสเตรเลีย ในขณะที่ประเทศบราซิลเคยใช้ทั้งระบอบสหพันธรัฐและการปกครองแบบรัฐเดียว บราซิลในปัจจุบันประกอบไปด้วยรัฐที่มีอาณาเขตเหมือนในยุคเริ่มแรกที่เพิ่งมี การตั้งอาณานิคมในบราซิลโดยชาวโปรตุเกส ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงมีความสำคัญในหลายๆ ด้านต่อประเทศ และรัฐใหม่ที่ถูกตั้งขึ้นมาโดยรัฐบาลกลาง โดยรัฐล่าสุดถูกตั้งขึ้นมาผ่านรัฐธรรมนูญในปี พ.ศ. 2531 โดยมีจุดประสงค์หลักคือเป็นที่ตั้งให้กับหน่วยงานบริหารราชการ

รายชื่อประเทศที่ใช้ระบบสหพันธรัฐ

ปัจจุบัน

ลำดับ ประเทศ รัฐร่วม พื้นที่ของรัฐบาลกลาง รัฐธรรมนูญ (ปี ค.ศ.)
1 คอโมโรส 3 รัฐ 2001
2 แคนาดา 10 รัฐ 3 ดินแดน 1867/1982
3 เนปาล 14 เขต 2008
4 ไนจีเรีย 36 รัฐ 1 เขตปกครองพิเศษ 1979
5 บราซิล 26 รัฐ 1 เฟเดอรัลดิสตริกต์ 1988
6 บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา 10 รัฐ 1955
7 เบลเยียม 3 ภูมิภาค 3 ชุมชน 1994
8 ปากีสถาน 4 จังหวัด 4 เขตปกครองพิเศษ 1973
9 มาเลเซีย 13 รัฐ 3 เขตปกครองพิเศษ 1957
10 เม็กซิโก 31 รัฐ 1 เขตของรัฐบาลกลาง 1917
11 ไมโครนีเซีย 4 รัฐ 1979
12 เยอรมนี 16 รัฐ กฎหมายพื้นฐานของสหพันธรัฐ 1949(1990)
13 สวิสเซอร์แลนด์ 26 รัฐ 1848 (แก้ไขรวม 1874 และ 1999)
14 ซูดาน 17 รัฐ
15 ซูดานใต้ 10 เขต
16 เวเนซุเอลา 23 รัฐ 1999
17 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 7 รัฐ 1971
18 สหรัฐอเมริกา 50 รัฐ 1787
19 ออสเตรเลีย 6 รัฐ 2 ดินแดน 1901
20 ออสเตรีย 9 รัฐ 1920 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมในปี 1929
21 อาร์เจนตินา 23 รัฐ 1 เขตปกครองตนเอง 1994
22 อินเดีย 29 รัฐ 7 ดินแดน 1950
23 อิรัก 19 จังหวัด 2005
24 เอธิโอเปีย 9 เขตบริหาร 2 เขตบริหาร  1995

อดีต

ประเทศ ตั้งแต่ - จนถึง

(ค.ศ.)

รัฐร่วม หมายเหตุ
จักรวรรดิเยอรมัน 1871 - 1918 25 รัฐ (สมาชิกของรัฐบาลกลาง)
เซอร์เบียและมอนเตเนโกร 1992 - 2003 2 ประเทศ รวมกันเป็นประเทศ ก่อนที่จะแยกออกจากกันในปี2005
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย 1945-1992 6 ประเทศ
เยอรมนีตะวันออก 1949 - 1952 5 รัฐและเบอร์ลินตะวันออก
สหพันธรัฐโรดีเชียและไนแอซาแลนด์ 1952 - 1963 3 เขต
สหภาพโซเวียต 1922 - 1991 15 ประเทศ รวมกันเป็นสหภาพ
สมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ 1867 - 1871 22 รัฐ
สมาพันธรัฐอเมริกา 1861 - 1865 13 รัฐ และ 1 ดินแดนพิเศษ
สหรัฐอินโดนิเซีย 1949 - 1950 16 เขต
สหรัฐโคลอมเบีย 1863 - 1866 9 รัฐ
สเปน 1873 - 1874 15 รัฐ
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก 1964 - 1967 26 จังหวัด
สาธารณรัฐไวมาร์ 1919 - 1933 18 รัฐ 17 รัฐในปี 1929
สาธารณรัฐสังคมนิยมเชโกสโลวัก 1948-1989 2 ประเทศ
ออสเตรีย 1934 - 1938 8 เขต

ดูเพิ่ม