ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกรม กรมดิษฐ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 25: บรรทัด 25:


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
วิกรม กรมดิษฐ์ เกิดเมื่อวันอังคารที่ [[17 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2496]] เวลา 24.00 น. ที่[[จังหวัดกาญจนบุรี]]<ref>ประวัติ ปกใน หนังสือผมจะเป็นคนดี, ISBN 978-974-300-844-3</ref> บรรพบุรุษสืบเชื้อสายมาจากชาวจีนแคะ หรือฮากก้า ซึ่งอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในชุมชนท่าเรือเมื่อ 150 กว่าปีมาแล้ว นอกจากนี้เขายังมีเชื้อสายมอญจากยาย<ref>วิกรม กรมดิษฐ์. ''ผมจะเป็นคนดี ภาคไฟฝันวันเยาว์''. กรุงเทพฯ:มูลนิธิอมตะ,2550. หน้า 28</ref> เขาเป็นบุตรชายคนโตของตระกูล มีน้องมารดาเดียวกันและต่างมารดา 23 คน จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน มีความสนใจการค้าตั้งแต่ยังเล็ก โดยรับช่วงต่อกิจการร้านถั่วคั่วจากป้า ขณะเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จนเมื่อเรียนจบปริญญาตรีกลับมาเปิดบริษัท วี แอนด์ เค คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นธุรกิจนำเข้า - ส่งออก เมื่อปี [[พ.ศ. 2518]] ต่อมาหันมาบุกเบิกธุรกิจด้านนิคมอุตสาหกรรม 3 แห่งของประเทศไทยและ 2 แห่งใน[[ประเทศเวียดนาม]] ก่อให้เกิดมูลค่าการลงทุนกว่า 7 แสนล้านบาท การจ้างงานกว่า 200,000 คน มีโรงงานกว่า 850 โรง
วิกรม กรมดิษฐ์ เกิดเมื่อวันอังคารที่ [[17 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2496]] เวลา 24.00 น. ที่ตลาดท่าเรือ[[จังหวัดกาญจนบุรี]]<ref>ประวัติ ปกใน หนังสือผมจะเป็นคนดี, ISBN 978-974-300-844-3</ref> บรรพบุรุษสืบเชื้อสายมาจากชาวจีนแคะ หรือฮากก้า ซึ่งอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในชุมชนท่าเรือเมื่อ 150 กว่าปีมาแล้ว นอกจากนี้เขายังมีเชื้อสายมอญจากยาย<ref>วิกรม กรมดิษฐ์. ''ผมจะเป็นคนดี ภาคไฟฝันวันเยาว์''. กรุงเทพฯ:มูลนิธิอมตะ,2550. หน้า 28</ref> เขาเป็นบุตรชายคนโตของตระกูล มีน้องมารดาเดียวกันและต่างมารดา 23 คน จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน มีความสนใจการค้าตั้งแต่ยังเล็ก โดยรับช่วงต่อกิจการร้านถั่วคั่วจากป้า ขณะเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จนเมื่อเรียนจบปริญญาตรีกลับมาเปิดบริษัท วี แอนด์ เค คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นธุรกิจนำเข้า - ส่งออก เมื่อปี [[พ.ศ. 2518]] ต่อมาหันมาบุกเบิกธุรกิจด้านนิคมอุตสาหกรรม 3 แห่งของประเทศไทยและ 2 แห่งใน[[ประเทศเวียดนาม]] ก่อให้เกิดมูลค่าการลงทุนกว่า 7 แสนล้านบาท การจ้างงานกว่า 200,000 คน มีโรงงานกว่า 850 โรง


ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) และประธานมูลนิธิอมตะ ตลอดจนสนใจการเขียนหนังสือเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ชีวิตให้ประโยชน์แก่อนุชนรุ่นหลัง ในปี 2549 ถึง 2551 ได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารฟอร์บส์ให้ติดอันดับ 40 มหาเศรษฐีในเมืองไทย และในปี 2551 Foreign Direct Investment magazine (fDi) ในเครือของFinancial Times Group จากลอนดอน ได้มอบรางวัล fDi Personality of the Year 2008-Asia แต่ยังคงใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายในต่างจังหวัด
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) และประธานมูลนิธิอมตะ ตลอดจนสนใจการเขียนหนังสือเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ชีวิตให้ประโยชน์แก่อนุชนรุ่นหลัง ในปี 2549 ถึง 2551 ได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารฟอร์บส์ให้ติดอันดับ 40 มหาเศรษฐีในเมืองไทย และในปี 2551 Foreign Direct Investment magazine (fDi) ในเครือของFinancial Times Group จากลอนดอน ได้มอบรางวัล fDi Personality of the Year 2008-Asia แต่ยังคงใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายในต่างจังหวัด

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:29, 28 กันยายน 2561

วิกรม กรมดิษฐ์
เกิดติ้นฟ้ง เซี่ยงคิ้ว (邱頂峰)[1]
17 มีนาคม พ.ศ. 2496 (71 ปี)
จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย
สัญชาติไทย
คู่สมรสนางเคลลี่ เหยา (หย่า)[2]
บุพการีนายถุงฝัด เซี่ยงคิ้ว
นางเจี้ย เซี่ยงจ๊ง
เว็บไซต์http://www.vikrom.net/

วิกรม กรมดิษฐ์ เป็นนักธุรกิจและนักเขียนชาวไทย ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร (CEO) บมจ. อมตะ คอร์ปอเรชัน เจ้าของโครงการนิคมอุตสาหกรรม 3 แห่งในประเทศไทย ปัจจุบันเป็นนักเขียนและใช้ชีวิตอย่างสงบที่ดงกุฎาคาร เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

ประวัติ

วิกรม กรมดิษฐ์ เกิดเมื่อวันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2496 เวลา 24.00 น. ที่ตลาดท่าเรือจังหวัดกาญจนบุรี[3] บรรพบุรุษสืบเชื้อสายมาจากชาวจีนแคะ หรือฮากก้า ซึ่งอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในชุมชนท่าเรือเมื่อ 150 กว่าปีมาแล้ว นอกจากนี้เขายังมีเชื้อสายมอญจากยาย[4] เขาเป็นบุตรชายคนโตของตระกูล มีน้องมารดาเดียวกันและต่างมารดา 23 คน จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน มีความสนใจการค้าตั้งแต่ยังเล็ก โดยรับช่วงต่อกิจการร้านถั่วคั่วจากป้า ขณะเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จนเมื่อเรียนจบปริญญาตรีกลับมาเปิดบริษัท วี แอนด์ เค คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นธุรกิจนำเข้า - ส่งออก เมื่อปี พ.ศ. 2518 ต่อมาหันมาบุกเบิกธุรกิจด้านนิคมอุตสาหกรรม 3 แห่งของประเทศไทยและ 2 แห่งในประเทศเวียดนาม ก่อให้เกิดมูลค่าการลงทุนกว่า 7 แสนล้านบาท การจ้างงานกว่า 200,000 คน มีโรงงานกว่า 850 โรง

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) และประธานมูลนิธิอมตะ ตลอดจนสนใจการเขียนหนังสือเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ชีวิตให้ประโยชน์แก่อนุชนรุ่นหลัง ในปี 2549 ถึง 2551 ได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารฟอร์บส์ให้ติดอันดับ 40 มหาเศรษฐีในเมืองไทย และในปี 2551 Foreign Direct Investment magazine (fDi) ในเครือของFinancial Times Group จากลอนดอน ได้มอบรางวัล fDi Personality of the Year 2008-Asia แต่ยังคงใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายในต่างจังหวัด

การเมือง

วิกรม กรมดิษฐ์ เคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในปี พ.ศ. 2535 ถึงปี พ.ศ. 2536 และที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในปี พ.ศ. 2536 ถึงปี พ.ศ. 2538 ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย

ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 เขาถูกกล่าวถึงในแวดวงการเมืองอีกครั้ง เมื่อมีการทำนายของหมอดูว่าเขาอาจจะได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และในปี พ.ศ. 2557 เขาถูกนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และแกนนำ นปช. กล่าวถึงว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรีคนกลาง แต่เขาปฏิเสธ[5]

ผลงานเขียน

  • ผมจะเป็นคนดี ภาค ไฟฝันวันเยาว์ (2551) โดยมีประภัสสร เสวิกุล เป็นผู้เรียบเรียง ตีพิมพ์มาแล้วกว่า 100,000 เล่ม และเป็นหนังสือที่ขายดีมากที่สุดเล่มหนึ่ง โดยได้เล่าประวัติของตัวเอง
  • ผมจะเป็นคนดี ภาค ก่อร่างสร้างธุรกิจ (2552) โดยมีประภัสสร เสวิกุล เป็นผู้เรียบเรียง และได้ถูกนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ "ไฟอมตะ" ออกอากาศทางช่อง 9 อสมท.
  • ผมจะเป็นคนดี ฉบับย่อจาก "ไฟฝันวันเยาว์ และ ก่อร่างสร้างธุรกิจ" (2551) โดยมีประภัสสร เสวิกุล เป็นผู้เรียบเรียง
  • ละครไฟอมตะ เริ่มออกอากาศในวันที่ 10 เมษายน 2553 นำแสดงโดยนักแสดง เช่น ชาคริต แย้มนาม, นิรุตติ์ ศิริจรรยา และซอนย่า คูลลิ่ง ละครไฟอมตะได้รับรางวัลบทละครโทรทัศน์ดีเด่น ในงานประกาศผลรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 25 จัดขึ้นในวันเสาร์ 19 มีนาคม 2554 ที่หอประชุมใหญ่ กรมประชาสัมพันธ์
  • กิน&อยู่แบบวิกรม (2553) โดยมีประภัสสร เสวิกุล เป็นผู้เรียบเรียง ตีพิมพ์มาแล้วกว่า 100,000 เล่ม
  • บทละครไฟอมตะ (2553) โดยมีศัลยา เป็นผู้เขียนบทละคร ประภัสสร เสวิกุล เป็นผู้เรียบเรียง
  • มองโลกแบบวิกรม (2550) โดยมีวิมล ไทรนิ่มนวล เป็นผู้เรียบเรียง
  • มองซีอีโอโลก (2551) โดยมีวิมล ไทรนิ่มนวล เป็นผู้เรียบเรียง โดยได้เล่าประวัติของซีอีโอชื่อดังของโลก
  • มองซีอีโอโลก ภาค 2 (2551) โดยมีวิมล ไทรนิ่มนวล เป็นผู้เรียบเรียง เปิดตัวหนังสือวันเสาร์ที่ 5 เมษายน 2551 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และจะมีการเสวนาในหัวข้อ เยาวชนไทย ก้าวไกลสู่ซีอีโอโลก
  • มองซีอีโอโลก ภาค 3 (2551)
  • มองซีอีโอโลก ภาค 4 (2552)
  • มองซีอีโอโลก ภาค 5 (2552)
  • มองซีอีโอโลก ภาค 6 (2553)
  • มองซีอีโอโลก ภาค 7 (2553)
  • มองซีอีโอโลก ภาค 8 (2554)

ผลงานโฆษณา

  • อาหารเสริม hearti-benecol (พ.ศ. 2553)
  • เก้าอี้ La-z-boy (พ.ศ. 2555)

รายการโทรทัศน์

  • มองโลกแบบวิกรม ทางช่อง 3 เริ่มวันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - ทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 05:50 - 05:55 น.
  • มองโลกกว้างกับ NBT ทางช่อง NBT เริ่มอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 -ทุกวันเสาร์-อาทิคย์ เวลา 22.00น-22.25น

อ้างอิง

  1. วิกรม กรมดิษฐ์. ผมจะเป็นคนดี ภาคไฟฝันวันเยาว์. กรุงเทพฯ:มูลนิธิอมตะ, 2550. หน้า 73
  2. วิกรม กรมดิษฐ์. ผมจะเป็นคนดี ภาคไฟฝันวันเยาว์. กรุงเทพฯ:มูลนิธิอมตะ,2550. หน้า 438
  3. ประวัติ ปกใน หนังสือผมจะเป็นคนดี, ISBN 978-974-300-844-3
  4. วิกรม กรมดิษฐ์. ผมจะเป็นคนดี ภาคไฟฝันวันเยาว์. กรุงเทพฯ:มูลนิธิอมตะ,2550. หน้า 28
  5. 'วิกรม กรมดิษฐ์'ปัดนั่งนายกฯคนกลาง

แหล่งข้อมูลอื่น