ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฮารูกิ มูรากามิ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Wakorinda (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Wakorinda (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 20: บรรทัด 20:
}}
}}
{{Commonscat|Murakami_Haruki|ฮารูกิ มูรากามิ}}
{{Commonscat|Murakami_Haruki|ฮารูกิ มูรากามิ}}
{{Portal|โลกวรรณศิลป์}}
'''ฮารูกิ มูรากามิ''' ({{ญี่ปุ่น|村上春樹|Murakami Haruki}}) เป็น[[นักเขียน]]และ[[นักแปล]]ร่วมสมัยชาว[[ญี่ปุ่น]] ที่มีชื่อเสียงในระดับโลก ผลงานของเขาถูกนำไปแปลแล้วกว่า 30 ภาษา
'''ฮารูกิ มูรากามิ''' ({{ญี่ปุ่น|村上春樹|Murakami Haruki}}) เป็น[[นักเขียน]]และ[[นักแปล]]ร่วมสมัยชาว[[ญี่ปุ่น]] ที่มีชื่อเสียงในระดับโลก ผลงานของเขาถูกนำไปแปลแล้วกว่า 30 ภาษา



รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:31, 22 กันยายน 2561

ฮารูกิ มุระกะมิ
มุระกะมิขณะบรรยายที่ เอ็มไอที ในปี พ.ศ. 2548
มุระกะมิขณะบรรยายที่ เอ็มไอที ในปี พ.ศ. 2548
เกิด12 มกราคม ค.ศ. 1949(1949-01-12)
อาชีพนักเขียน, นักแปล
สัญชาติญี่ปุ่น
แนวนิยาย, เรื่องเหนือจริง, โพสต์โมเดิร์น, สัจนิยมมหัศจรรย์

ลายมือชื่อ
เว็บไซต์
http://www.harukimurakami.com/

ฮารูกิ มูรากามิ (ญี่ปุ่น: 村上春樹โรมาจิMurakami Haruki) เป็นนักเขียนและนักแปลร่วมสมัยชาวญี่ปุ่น ที่มีชื่อเสียงในระดับโลก ผลงานของเขาถูกนำไปแปลแล้วกว่า 30 ภาษา

ประวัติ

ฮารูกิ มูรากามิ เกิดที่จังหวัดเคียวโตะ ประเทศญี่ปุ่นในปี 1949 แต่ไปโตที่เมืองโคเบะ พ่อและแม่ของมุระกะมิมีอาชีพเป็นครูสอนวิชาวรรณกรรมญี่ปุ่น

ชีวิตในวัยเด็กของมูรากามิ ได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากวัฒนธรรมตะวันตก โดยเฉพาะด้านดนตรีและวรรณกรรม เขาเติบโตขึ้นมาด้วยการอ่านวรรณกรรมทุกประเภทของนักเขียนตะวันตก ส่งผลให้ลักษณะงานเขียนของเขามีความแตกต่างจากนักเขียนญี่ปุ่นคนอื่นๆ อย่างชัดเจน โดยงานเขียนญี่ปุ่นส่วนใหญ่นั้นจะให้ความสำคัญอย่างมากกับความงามของภาษา ทำให้เกิดรูปแบบการเขียนที่เข้มงวดและเย็นชาในบางครั้ง แต่งานเขียนของมูรากามินั้นกลับมีรูปแบบที่เป็นอิสระและมีความลื่นไหลของภาษา

มุระกะมิสำเร็จการศึกษาวิชาการละคร ภาควิชาวรรณคดี จากมหาวิทยาลัยวาเซดะในมหานครโตเกียวซึ่งเป็นที่ที่เขาได้พบกับโยโกะ ภรรยาของเขา หลังจากสำเร็จการศึกษา มูรากามิได้เปิดบาร์เล็ก ๆ ที่โตเกียว มีชื่อว่า ปีเตอร์ แคท (Peter Cat) โดยเล่นดนตรีแนวแจ๊ส (Jazz) อยู่เป็นเวลา 7 ปี ยังผลในดนตรีเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในงานเขียนของมูรากามิอยู่เสมอ

ไตรภาคมุสิก

มูรากามิเริ่มเขียนนิยายเรื่องแรก สดับลมขับขาน ในปี 1979 เมื่อเขามีอายุได้ 29 ปี โดยได้รับแรงบันดาลใจอย่างฉับพลันและไม่คาดฝันมาจากการบรรยากาศในการนั่งชมการแข่งขันเบสบอลรายการหนึ่ง เขาใช้เวลาเขียนนวนิยายเรื่องนี้อยู่สองสามเดือน โดยใช้เวลาว่างหลังจากปิดร้านในการเขียน หลังจากเขียนเสร็จ เขาได้ส่งผลงานเรื่องนี้เข้าประกวดและได้รับรางวัลที่หนึ่ง ความสำเร็จตั้งแต่เรื่องแรกนี่เอง ที่เป็นแรงผลักดันให้เขาเขียนหนังสือเรื่อยมา โดยในปีถัดมา เขาได้ตีพิมพ์นิยายชื่อ พินบอล, 1973 และตีพิมพ์ แกะรอยแกะดาว ในปี 1982 ซึ่งทั้งหมดก็ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม นอกจากนี้ หนังสือทั้งสามเรื่องยังได้รวมตัวกันขึ้นเป็นไตรภาคที่มีชื่อว่า "ไตรภาคแห่งมุสิก" (鼠三部作) โดยมีตัวละครเชื่อมโยงทั้งสามเรื่องเข้าด้วยกัน อย่างไรก็ตาม ต้นฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษของนิยายสองเรื่องแรกของมูรากามินั้นได้ขาดตลาดไปนานแล้ว เนื่องจากเขาเห็นว่ามันไม่ดีพอที่จะได้รับการพิมพ์เพิ่มนั่นเอง

การเดินทางไปสู่การเป็นนักเขียนผู้โด่งดัง

ในปี 1985 มูรากามิตีพิมพ์ผลงานชื่อ แดนฝันปลายขอบฟ้า ซึ่งเริ่มแสดงออกถึงองค์ประกอบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวซึ่งปรากฏแต่ในงานเขียนของเขา อันได้แก่เรื่องราวสุดโต่งเหนือจินตนาการนั่นเอง

มูรากามิเริ่มมาโด่งดังในระดับชาติในปี 1987 เมื่อเขาตีพิมพ์กับหนังสือเรื่องใหม่ที่ชื่อ ด้วยรัก ความตาย และหัวใจสลาย ซึ่งมียอดจำหน่ายกว่าล้านเล่มในญี่ปุ่น ทำให้มูรากามิกลายเป็นหนึ่งในนักเขียนที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งในประเทศ แต่นั่นกลับเป็นเหตุผลให้เขาเดินทางออกนอกประเทศ

ในปี 1986 มูรากามิตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวไปทั่วยุโรป ก่อนที่จะไปใช้ชีวิตอยู่ที่ สหรัฐอเมริกา ระหว่างที่มูรากามิใช้ชีวิตเป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยในอเมริกานั้น เขาก็มีผลงานออกมาอีกสองเรื่อง คือ เริงระบำแดนสนธยา (ダンス・ダンス・ダンス) และ การปรากฏตัวของหญิงสาวในคืนฝนตก (国境の南、太陽の西)

ในปี 1994 มูรากามิได้ส่งผลงานชื่อ บันทึกนกไขลาน (ねじまき鳥クロニクル) ออกสู่สายตานักอ่าน และนวนิยายเรื่องนี้ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นนวนิยายเรื่องที่ดีที่สุดของเขาอีกด้วย ระหว่างนี้เองที่ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับโศกนาฏกรรมแผ่นดินไหวที่โกเบ และเหตุการณ์ก่อการร้ายโดยใช้แก๊สโจมตีรถไฟใต้ดินของสาวกนิกายโอม ชินริเคียว ซึ่งหลังจากที่เขากลับมาที่ญี่ปุ่น เขาก็ได้เขียนสารคดีเกี่ยวกับสองเหตุการณ์ดังกล่าว ภายใต้ชื่อ อันเดอร์กราวด์ (アンダーグラウンド) และ อาฟเตอร์เดอะเควก

นอกจากนี้เรื่องสั้นที่เขาเขียนระหว่างปี 1983 ถึง 1990 นั้นได้รับการรวมเล่มเป็นหนังสือชื่อ The Elephant Vanishes (象の消滅) และมูรากามิยังได้แปลผลงานของนักเขียนที่เขาชื่นชอบมากมายเป็นภาษาญี่ปุ่นอีกด้วย

ผลงานล่าสุด

ผลงานนวนิยายขนาดสั้นชื่อ รักเร้นในโลกคู่ขนาน (スプートニクの恋人) ได้ถูกตีพิมพ์ในปี 1999 และผลงาน คาฟกา วิฬาร์ นาคาตะ (海辺のカフカ) ถูกตีพิมพ์ในปี 2002 และถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษในปี 2005 โดยผลงานแปลเป็นภาษาอังกฤษจากผลงานเรื่องล่าสุดของเขาที่ชื่อ ราตรีมหัศจรรย์ ก็ออกวางจำหน่ายในปี 2007 นอกจากนี้เขายังมีผลงานรวมเรื่องสั้นที่ผสมผสานระหว่างผลงานเรื่องสั้นที่เขาเขียนในช่วงปี 80 กับผลงานเรื่องสั้นล่าสุดตีพิมพ์ภายใต้ชื่อ Blind, Willow, Sleeping Woman (めくらやなぎと眠る女) ก็ได้ออกวางจำหน่ายในเดือนสิงหาคม 2006 มูราคามิได้ตีพิมพ์ เกร็ดความคิดบนก้าววิ่ง (走ることについて語るときに僕の語ること) ซึ่งเป็นความเรียงกึ่งบันทึก เมือปี 2007 โดยได้แปลเป็นภาษาอังกฤษในปี 2008 และเป็นภาษาไทยในปี 2009

นวนิยายเรื่องใหม่จาก มูราคามิ: 1Q84

ฮารูกิ มูราคามิ ได้ออกผลงานนวนิยายเรื่องยาวอีกครั้งในปี 2009 ชื่อ 1Q84 โดยมีแผนที่จะออกทั้งหมด 3 เล่ม เล่ม 1 และเล่ม 2 ออกวางจำหน่ายฉบับภาษาญี่ปุ่นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2009 ส่วนเล่มที่ 3 ออกจำหน่ายในเดือนเมษายน 2010 ส่วนฉบับแปลภาษาอังกฤษของ 1Q84 เล่ม 1-2 นั้นมีกำหนดการวางจำหน่ายในเดือนกันยายน 2011 โดยสำนักพิมพ์แรนดอมเฮาส์ ได้กำหนดผู้แปลไว้เรียบร้อยแล้ว โดย Jay Rubin จะแปลเล่ม 1 และ 2 ส่วนเล่ม 3 นั้นจะเป็นหน้าที่ของ Philip Gabriel สำหรับฉบับแปลภาษาไทย สำนักพิมพ์กำมะหยี่ได้ลิขสิทธิ์การแปลเล่ม 1-2 และ 3 เรียบร้อยแล้ว โดยจะเป็นการแปลจากต้นฉบับภาษาญี่ปุ่น

ข้อวิพากษ์วิจารณ์

ผลงานของมูรากามิมักถูกวิจารณ์ว่าเป็น วรรณกรรมป๊อปที่มีอารมณ์ขันและเรื่องราวเหนือธรรมชาติ ในขณะเดียวกันก็สะท้อนความรู้สึกแปลกแยก โดดเดี่ยว และการโหยหาความรักในทางที่สามารถเข้าถึงผู้อ่านในอเมริกา ยุโรป และเอเชียตะวันออกได้ งานของมูรากามิมักกล่าวถึงการที่ญี่ปุ่นหมกมุ่นในลัทธิทุนนิยม ความว่างเปล่าทางจิตใจของผู้คนรุ่นเดียวกับเขา และผลกระทบด้านลบทางจิตใจของญี่ปุ่นที่ทุ่มเทให้กับงาน งานของเขาวิพากษ์วิจารณ์ความตกต่ำของคุณค่าความเป็นมนุษย์ และการขาดการติดต่อระหว่างผู้คนในสังคมทุนนิยมของญี่ปุ่น[ใคร?]

ผลงาน

นวนิยาย

ปี ชื่อญี่ปุ่น ชื่ออังกฤษ ชื่อไทย
1979 風の歌を聴け
Kaze no uta o kike
Hear the Wind Sing สดับลมขับขาน
1980 1973年のピンボール
1973-nen no pinbōru
Pinball, 1973 พินบอล, 1973
1982 羊をめぐる冒険
Hitsuji o meguru bōken
A Wild Sheep Chase แกะรอยแกะดาว
1985 世界の終りとハードボイルド・ワンダーランド
Sekai no owari to hādoboirudo wandārando
Hard-Boiled Wonderland and the End of the World แดนฝันปลายขอบฟ้า
1987 ノルウェイの森
Noruwei no mori
Norwegian Wood ด้วยรัก ความตาย และหัวใจสลาย
1988 ダンス・ダンス・ダンス
Dansu dansu dansu
Dance Dance Dance เริงระบำแดนสนธยา
1992 国境の南、太陽の西
Kokkyō no minami, taiyō no nishi
South of the Border, West of the Sun การปรากฏตัวของหญิงสาวในคืนฝนตก
1992-1995 ねじまき鳥クロニクル
Nejimaki-dori kuronikuru
The Wind-Up Bird Chronicle บันทึกนกไขลาน
1999 スプートニクの恋人
Supūtoniku no koibito
Sputnik Sweetheart รักเร้นในโลกคู่ขนาน
2002 海辺のカフカ
Umibe no Kafuka
Kafka on the Shore คาฟกา วิฬาร์ นาคาตะ
2004 アフターダーク
Afutā Dāku
After Dark ราตรีมหัศจรรย์
2009-2010 1Q84
Ichi-kyū-hachi-yon
1Q84 หนึ่งคิวแปดสี่
2013 色彩を持たない多崎つくると、彼の巡礼の年
Shikisai o motanai Tazaki Tsukuru to, kare no junrei no toshi
Colorless Tsukuru Tazaki and His Years of Pilgrimage ชายไร้สีกับปีแสวงบุญ

สารคดี

ปี ชื่อญี่ปุ่น ชื่ออังกฤษ ชื่อไทย
1997 アンダーグラウンド
Andāguraundo
Underground (1) อันเดอร์กราวด์
1998 約束された場所で
Yakusoku sareta basho de
Underground (2) สถานที่ในคำสัญญา - อันเดอร์กราวด์ 2
2007 走ることについて語るときに僕の語ること
Hashiru koto ni tsuite kataru toki ni boku no kataru koto
What I talk about When I talk about Running เกร็ดความคิดบนก้าววิ่ง

รวมเรื่องสั้น

ปี ชื่อญี่ปุ่น ชื่ออังกฤษ ชื่อไทย
1983 中国行きのスロウ・ボート
Chugoku yuki no Suroh Bohto
A Slow Boat To China เรือเชื่องช้าสู่เมืองจีน
1984 螢・納屋を焼く・その他の短編
Hotaru, Naya wo yaku, sonota no Tampen
Firefly, Barn Burning and Other Stories เส้นแสงที่สูญหาย เราร้องไห้เงียบงัน
1986 パン屋再襲撃
Pan-ya Saishuhgeki
The Second Bakery Attack คำสาปร้านเบเกอรี่
1996 レキシントンの幽霊
Rekishinton no Yuhrei
Lexington Ghosts ปีศาจแห่งเล็กซิงตัน
2000 神の子どもたちはみな踊る
Kami no kodomo-tachi wa mina odoru
After the Quake อาฟเตอร์เดอะเควก

หมายเหตุ: หนังสือรวมเรื่องสั้นเหล่านี้เป็นรายการเฉพาะเล่มที่ได้รับการแปลภาษาไทยแล้วเท่านั้น งานเรื่องสั้นของมูรากามิยังมีอีกมากมายที่ยังไม่ได้แปลเป็นภาษาไทย

แหล่งข้อมูลอื่น

บทสัมภาษณ์