ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 81: บรรทัด 81:
[[หมวดหมู่:หม่อมเจ้า]]
[[หมวดหมู่:หม่อมเจ้า]]
[[หมวดหมู่:ราชสกุลเสนีวงศ์]]
[[หมวดหมู่:ราชสกุลเสนีวงศ์]]
[[หมวดหมู่:ภิกษุที่เป็นพระราชวงศ์]]
[[หมวดหมู่:เจ้านายในพระราชวงศ์จักรีที่ทรงออกผนวช]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากกรุงเทพมหานคร]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากกรุงเทพมหานคร]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:15, 16 กันยายน 2561

หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด)

ทัด เสนีวงศ์
ประสูติ9 ตุลาคม พ.ศ. 2365
สิ้นชีพิตักษัย10 มิถุนายน พ.ศ. 2443 (78 ปี)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแตง กรมหลวงเสนีบริรักษ์
พระมารดาหม่อมบุญมา

หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ พระนามเดิม หม่อมเจ้าทัด (9 ตุลาคม พ.ศ. 2365 - 10 มิถุนายน พ.ศ. 2443) อดีตเจ้าคณะอรัญวาสี เจ้าคณะใหญ่คณะกลาง และเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

ประวัติ

หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ มีพระนามเดิมว่าหม่อมเจ้าทัด ประสูติเมื่อวันพุธ แรม 9 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเมีย[1] ตรงกับวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2365 เป็นพระโอรสในพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแตง กรมหลวงเสนีบริรักษ์ กับหม่อมบุญมา

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หม่อมเจ้าทัดได้ผนวชเป็นสามเณรที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วไปเล่าเรียนกับพระมหาโต ที่วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร จนอายุครบอุปสมบทในปี พ.ศ. 2385 จึงผนวชเป็นภิกษุที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาโตเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ผนวชแล้วไปประทับที่วัดระฆังโฆสิตารามตามเดิม

พ.ศ. 2392 ได้สอบพระปริยัติธรรมซึ่งจัดที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ได้เป็นเปรียญธรรม 3 ประโยค ถึงปี พ.ศ. 2404 ได้สอบอีกที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้เพิ่มอีก 4 ประโยค รวมเป็นเปรียญธรรม 7 ประโยค

พ.ศ. 2407 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่ หม่อมเจ้าพุทธุปบาทปิลันทน์

ต่อมาในปี พ.ศ. 2415 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 จึงได้เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ แทนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ที่มรณภาพ[2]

พ.ศ. 2430 เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ หม่อมเจ้าพระพุทธุปบาทปิลันธน์พระธรรมเจดีย์ กระวีวงษนายก ตรีปิฎกบัณฑิตย มหาคณฤศร บวรสังฆาราม คามวาสี[3]

พ.ศ. 2435 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองฝ่ายเหนือที่ หม่อมเจ้าพระพิมลธรรม์ มหันตคุณ วิบุลปรีชาญาณนายก ตรีปิฎกคุณาลังการภูษิต อุตรทิศคณฤศร บวรสังฆาราม คามวาสี[4] ย้ายไปครองวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

พ.ศ. 2437 ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะอรัญวาสีและเจ้าคณะใหญ่คณะกลางที่ หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ อเนกสถานปรีชา สัปตวิสุทธิจริยาสมบัติ นิพัทธธุตคุณ สิริสุนทรพรตจาริก อรัญญิกมหาปรินายก ตรีปิฎกโกศล วิมลมัชฌิมคณฤศร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญญวาสี[5]

หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์สิ้นชีพิตักษัยด้วยพระโรคชรา เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 7 ปีชวด ตรงกับวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2443 เวลาบ่าย 2 โมงเศษ สิริชันษา 77 ปี 244 วัน ได้รับโกศไม้สิบสองประกอบศพ[6] ได้รับพระราชทานเพลิงศพพร้อมกับสมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน) เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2444[7]

อ้างอิง

  1. สมมอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 428 หน้า. หน้า 137-40. ISBN 974-417-530-3
  2. สมประสงค์ ทรัพย์พาลี. ๑๐๑ จุลจักรี ๑๐๑ ปี จุลจอมเกล้า. กรุงเทพ : [ม.ป.พ.], พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2555. 154 หน้า. ISBN 9786169092605
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ตั้งตำแหน่งพระสงฆ, เล่ม 4, หน้า 325
  4. ราชกิจจานุเบกษา, คำประกาศตั้งตำแหน่งพระสงฆ์, เล่ม 9, หน้า 461-2
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งตำแหน่งพระสงฆ์, เล่ม 11, หน้า 309
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นชีพตักไษย หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจาริย์, เล่ม 17, ตอน 12, 19 มิถุนายน 2443, หน้า 118
  7. ราชกิจจานุเบกษา, การศพหม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์แลสมเด็จพระวันรัต, เล่ม 17, ตอน 48, 19 กุมภาพันธ์ 2443, หน้า 687