ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความสัมพันธ์ไทย–เยอรมนี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 18: บรรทัด 18:
{{Commonscat|Relations of Germany and Thailand|ความสัมพันธ์เยอรมนี-ไทย}}
{{Commonscat|Relations of Germany and Thailand|ความสัมพันธ์เยอรมนี-ไทย}}
*[https://tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/17170/15474 คัททิยากร ศศิธรามาศ. “บทบาทของ ดร.รูดอล์ฟ อาสมีส ทูตเยอรมันประจำกรุงเทพมหานครกับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสยามและเยอรมนี พ.ศ. 2468-2475.” ''วารสารศิลปศาสตร์'' (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) 13, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2556), น. 50-61.]
*[https://tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/17170/15474 คัททิยากร ศศิธรามาศ. “บทบาทของ ดร.รูดอล์ฟ อาสมีส ทูตเยอรมันประจำกรุงเทพมหานครกับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสยามและเยอรมนี พ.ศ. 2468-2475.” ''วารสารศิลปศาสตร์'' (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) 13, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2556), น. 50-61.]
*ตุลย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา. “ปริทรรศน์เอกสารเกี่ยวกับสยามจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติเยอรมนี: ข้อค้นพบและการตีความเอกสารแนวใหม่.” ใน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (บก.), '''70 ปีแห่งการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2: ไทยจากเอกสารจดหมายเหตุต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย เยอรมนี ญี่ปุ่น ตุรกี และจีน'''. ม.ป.ท., 2558.
*[http://www.auswaertiges-amt.de/diplo/en/Laenderinformationen/01-Laender/Thailand.html Auswärtiges Amt – Thailand] Daten zu den deutsch-thailändischen Beziehungen (engl.)
*[http://www.auswaertiges-amt.de/diplo/en/Laenderinformationen/01-Laender/Thailand.html Auswärtiges Amt – Thailand] Daten zu den deutsch-thailändischen Beziehungen (engl.)
* Andreas Stoffers: ''Im Lande des weißen Elefanten: die Beziehungen zwischen Deutschland und Thailand von den Anfängen bis 1962''. Deutsch-Thailändische Gesellschaft, Bonn 1995, ISBN 3923387210.
* Andreas Stoffers: ''Im Lande des weißen Elefanten: die Beziehungen zwischen Deutschland und Thailand von den Anfängen bis 1962''. Deutsch-Thailändische Gesellschaft, Bonn 1995, ISBN 3923387210.

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:05, 14 กันยายน 2561

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์และประธานาธิบดี ไฮน์ริช ลุบเก ระหว่างการเสด็จเยือนประเทศเยอรมนี พ.ศ. 2503

ความสัมพันธ์เยอรมนี-ไทย เป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเยอรมนี และประเทศไทย ที่เริ่มต้นอย่างเป็นทางการตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[1] ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเยือนยุโรปใน พ.ศ. 2440 และ พ.ศ. 2450 รวมทั้งโอรสหลายพระองค์ต่างทรงรับการศึกษาที่ประเทศเยอรมนี ดังเช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ผู้สำเร็จราชการในสมัยนั้น ที่ทรงอภิเษกสมรสกับสตรีชาวเยอรมัน[2]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้เอง ที่มีชาวต่างชาติรวมถึงชาวเยอรมันที่เดินทางมายังประเทศสยามเพื่อนำความรู้มาพัฒนาประเทศให้ทันสมัย ทั้งทางรถไฟ การไปรษณีย์โทรเลขต่างได้รับการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญชาวเยอรมัน รวมถึง พระเจนดุริยางค์ หรือชื่อเดิม ปีเตอร์ ไฟท์ เป็นบุตรของชาวเยอรมันที่อพยพมาอาศัยอยู่ในประเทศไทย เป็นผู้ประพันธ์ทำนองเพลงชาติไทย[2]

ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศนี้ยังคงมีมาโดยตลอด โครงการที่รัฐบาลเยอรมันให้ความสำคัญ คือการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ดังเช่น การวิจัยการสืบพันธุ์ของช้างเอเชีย โดยมีการขอยืมช้างไทยไปวิจัยศึกษาที่สวนสัตว์ในโคโลญ อันเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการและวิทยาศาสตร์ ของระหว่างสองประเทศ[3]

ความสัมพันธ์ทางการทูต

ในสมัยที่เยอรมนียังคงแยกเป็นรัฐเสรีหลายรัฐ ได้มีรัฐสำคัญอย่างปรัสเซียที่จัดตั้งจัดตั้งคณะทูตสันถวไมตรีแห่งปรัสเซียมายังสยาม โดยมีหัวหน้าคณะทูตคือ เคานท์ ซู ออยเลนบวร์ก พร้อมคณะ ซึ่งประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์กับชาวเยอรมันผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ โดยเดินทางมาถึงสยาม ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2405 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

การเจรจาการค้าพระราชไมตรี ด้านการค้าและการเดินเรือระหว่างสองประเทศเริ่มขึ้นในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2406 โดยมีเจ้าฟ้ากรมหลวงวงศาธิราชสนิท เป็นหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทย ซึ่งทางปรัสเซียไม่มีนโยบายล่าอาณานิคมในแถบเอเชียอาคเนย์ การเจรจาเสร็จสิ้นและลงนามสัญญา ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2406 โดยสัญญาระบุถึงการปฏิบัติไมตรีต่อกัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2422 ได้มีการตั้งสถานทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลิน และ พ.ศ. 2431 ได้มีการเลื่อนระดับสถานกงสุลเยอรมันขึ้นเป็นสถานอัครราชทูตเยอรมัน ณ กรุงเทพฯ[1]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น