ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทียนกิ่งขาว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
PEAK99 (คุย | ส่วนร่วม)
→‎หมวดหมู่: เพิ่มหมวดหมู่รายชื่อพรรณไม้ในประเทศไทย
บรรทัด 28: บรรทัด 28:
[[หมวดหมู่:พืชมีพิษ]]
[[หมวดหมู่:พืชมีพิษ]]
[[หมวดหมู่:สมุนไพร]]
[[หมวดหมู่:สมุนไพร]]
[[หมวดหมู่:รายชื่อพรรณไม้ในประเทศไทย]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:28, 12 กันยายน 2561

เทียนกิ่งขาว
Lawsonia inermis
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Myrtales
วงศ์: Lythraceae
สกุล: Lawsonia
สปีชีส์: L.  inermis
ชื่อทวินาม
Lawsonia inermis
L.

ไฟล์:Henna 2014-02-22 04-37.jpg

เทียนกิ่งขาว หรือ เฮนนา (Henna; ชื่อวิทยาศาสตร์: Lawsonia inermis)[1] เป็นพืชในวงศ์ Lythraceae และเป็นพืชมีดอกชนิดเดียวในสกุล Lawsonia คำว่าเฮนนาในภาษาอังกฤษมาจาก ภาษาอาหรับ حِنَّاء (ALA-LC: ḥinnāʾ; ออกเสียง ħɪnˈnæːʔ) หรือ حناหรือ /ħinna/ เป็นไม้พุ่มเปลือกเรียบ สีน้ำตาล ใบเดี่ยว รูปรี ออกตรงข้ามกัน โคนใบรูปลิ่ม ดอกช่อออกตามปลายกิ่ง ดอกขาวเรียกเทียนกิ่งขาว ดอกแดงเรียกเทียนกิ่งแดง ผลกลมสีเขียวแก่แล้วสีน้ำตาล

เปลือกต้น ผลและรากเมื่อรับประทานทำให้อาเจียน ท้องร่วง เป็นอัมพาตและแท้งบุตร[2] กระจายพันธุ์ในแอฟริกาและเอเชียใต้ ใบสดของเทียนกิ่งต้มรวมกับเหง้าขมิ้นชันใช้รักษาเล็บขบ ผงใบแห้งใช้ย้อมผมให้เป็นสีแดงส้ม ใบมีสารลอว์โซน เป็นผลึกสีส้มแดง[3]พืชชนิดนี้ใช้ทำสีย้อมที่เรียกเฮนนาเช่นกัน โดยใช้ทาผิวหนัง เส้นผม เล็บ ผ้าไหม ผ้าฝ้าย [4][5]


อ้างอิง

  1. Bailey, L.H.; Bailey, E.Z. (1976). Hortus Third: A concise dictionary of plants cultivated in the United States and Canada. New York: Macmillan. ISBN 978-0025054707.
  2. เศรษฐมนตร์ กาญจนกุล. ไม้มีพิษ. กทม. เศรษฐศิลป์. 2552
  3. ชยันต์ พิเชียรสุนทร และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 5 คณาเภสัช. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2548.
  4. Cartwright-Jones, Catherine (2004). "Cassia Obovata". Henna for Hair. สืบค้นเมื่อ 5 May 2013.
  5. Dennis, Brady (26 March 2013). "FDA: Beware of "black henna" tattoos". The Style Blog. The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 5 May 2013.