ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กบิลพัสดุ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BeckNoDa (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Ta160927 (คุย | ส่วนร่วม)
สังเวชนียสถานที่แท้จริงอาจอยู่ที่ อัฟกานิสถาน
บรรทัด 31: บรรทัด 31:
ไม่มีหลักฐานทางโบราณคดีที่หนักแน่นว่าสถานที่ปัจจุบันที่ใช้เป็นสังเวชนียสถานเพื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและแสวงบุญของชาวพุทธนั้น
ไม่มีหลักฐานทางโบราณคดีที่หนักแน่นว่าสถานที่ปัจจุบันที่ใช้เป็นสังเวชนียสถานเพื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและแสวงบุญของชาวพุทธนั้น
เป็นเมืองกบิลพัสดุ์จริงตามพระไตรปิฏก
เป็นเมืองกบิลพัสดุ์จริงตามพระไตรปิฏก

เนื่องจากการค้นหาสังเวชนียสถานนั้นเริ่มต้นขึ้นในสมัยที่อินเดียถูกปกครองโดยอังกฤษ มีข้อสันนิษฐานที่น่าสนใจว่า กรุงคาบูล ประเทศอัฟกานิสถาน ใช้การเขียนชื่อเมืองตามภาษาท้องถิ่นว่า Kabil จึงมีความเป็นไปได้ว่า กรุงคาบูลนั้น คือเมืองกบิลพัสดุ์ ในสมัยพุทธกาล ประเทศอัฟกานิสถานอาจเป็นจุดกำเนิดพระพุทธศาสนาที่แท้จริง เนื่องจากค้นพบซากโบราณวัตถุที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาจำนวนมาก


== เมืองกบิลพัสดุ์ในปัจจุบัน ==
== เมืองกบิลพัสดุ์ในปัจจุบัน ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:13, 7 กันยายน 2561

กบิลพัสดุ์

Kapiliput
เมืองหลวงเก่า เมืองโบราณ
ไฟล์:เมืองสำคัญในพระพุทธศาสนา
กบิลพัสดุ์ตั้งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ
กบิลพัสดุ์
กบิลพัสดุ์
กบิลพัสดุ์ตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
กบิลพัสดุ์
กบิลพัสดุ์
พิกัด: 27°34′35″N 83°03′18″E / 27.576455°N 83.054978°E / 27.576455; 83.054978
ประเทศเนปาล ประเทศเนปาล
ภาษา
 • ราชการฮินดี
ซากกรุงกบิลพัสด์ประเทศเนปาล

กบิลพัสดุ์ (บาลี: Kapilavatthu กปิลวัตถุ; สันสกฤต: Kapilavastu กปิลวัสตุ; อังกฤษ: Kapilavastu) เป็นชื่อเมืองหลวงของแคว้นสักกะ เป็นเมืองของพระเจ้าสุทโธทนะผู้เป็นพระราชบิดาของเจ้าชายสิทธัตถะซึ่งต่อมาได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าทรงเจริญเติบโตและประทับอยู่จนกระทั่งพระชนมายุ 29 ปี ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศเนปาล ติดชายแดนตอนเหนือประเทศอินเดีย ยังเหลือซากเมืองอยู่เป็นหลักฐาน และไม่ห่างจากเมืองนี้มีสังเวชนียสถานที่สำคัญคือสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าซึ่งเรียกว่าลุมพินีวันปรากฏอยู่ บริเวณลุมพินีมีวัดพุทธของประเทศไทยและของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาอีกหลายวัด เป็นดินแดนที่พุทธศาสนิกชนทั่วโลกนิยมไปแสวงบุญกัน

กบิลพัสดุ์ แปลตามศัพท์ว่า "ที่อยู่ของกบิลดาบส"เพราะบริเวณที่ตั้งเมืองนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของดาบสชื่อ กบิล พวกเจ้าศากยะได้มาจับจองตั้งเป็นเมืองขึ้นและตั้งชื่อเมืองใหม่นี้ว่ากบิลพัสดุ์ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่กบิลดาบส

ความสำคัญ

ไม่มีหลักฐานทางโบราณคดีที่หนักแน่นว่าสถานที่ปัจจุบันที่ใช้เป็นสังเวชนียสถานเพื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและแสวงบุญของชาวพุทธนั้น เป็นเมืองกบิลพัสดุ์จริงตามพระไตรปิฏก

เนื่องจากการค้นหาสังเวชนียสถานนั้นเริ่มต้นขึ้นในสมัยที่อินเดียถูกปกครองโดยอังกฤษ มีข้อสันนิษฐานที่น่าสนใจว่า กรุงคาบูล ประเทศอัฟกานิสถาน ใช้การเขียนชื่อเมืองตามภาษาท้องถิ่นว่า Kabil จึงมีความเป็นไปได้ว่า กรุงคาบูลนั้น คือเมืองกบิลพัสดุ์ ในสมัยพุทธกาล ประเทศอัฟกานิสถานอาจเป็นจุดกำเนิดพระพุทธศาสนาที่แท้จริง เนื่องจากค้นพบซากโบราณวัตถุที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาจำนวนมาก

เมืองกบิลพัสดุ์ในปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2442 นักโบราณคดีได้แกะรอยแนวที่ตั้งของเสาพระเจ้าอโศก และตำนานการสร้างเมืองมาจนพบกับเมืองโบราณร้างชื่อ "ติเลาราโกต" อยู่ในตำแหน่งที่ตรงกับกรุงกบิลพัสดุ์ตามที่ระบุในเอกสารหลายฉบับ "อยู่ทางใต้ของเชิงเขาหิมาลัย 16 กิโลเมตร สวนลุมพินีวันห่างออกไป 35 กิโลเมตร ทางตะวันออก ทางตะวันตกมีลำน้ำสาขาของแม่น้ำคงคาไหลผ่าน"

หลักฐานจากการขุดค้นทางโบราณคดียืนยันว่ามีความเป็นเมืองโบราณตั้งแต่ก่อนพุทธกาลประมาณ 100 ปี และได้ความเจริญต่อเนื่องมาจนถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 7 ก่อนที่จะถูกทิ้งร้างไป

ปัจจุบันเมืองโบราณติเลาราโกตแห่งนี้รวมทั้งลุมพินีวันได้รับการประกาศจากยูเนสโกให้นับเป็นมรดกโลกที่อยู่ในประเทศเนปาล

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:Coor box