ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Phattaradech (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 237: บรรทัด 237:
|-
|-
| valign = "top" |
| valign = "top" |
* '''โครงการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ'''
* '''หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต'''
| valign = "top" |
| valign = "top" |
'''หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต'''
'''หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต'''

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:45, 3 กันยายน 2561

มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วิทยาเขตหนองคาย
Khon Kaen University
Nongkhai Campus
ไฟล์:KKU Emblem.png
วารสารวารสารวิทยาเขตหนองคาย (Journal Of Nongkhai Campus)
เพลงมาร์ชมหาวิทยาลัยขอนแก่น, มาร์ชกาลพฤกษ์
สีเปลือกไม้
สถานปฏิบัติวิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เว็บไซต์www.nkc.kku.ac.th
ไฟล์:Nkc logo.png

วิทยาเขตหนองคาย[1] เป็นวิทยาเขตหนึ่งของมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยตั้งอยู่ที่จังหวัดหนองคาย ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2538 เปิดรับนักศึกษาครั้งแรก พ.ศ. 2541 ปัจจุบันมีนักศึกษา 21 รุ่น (พ.ศ. 2559) และมีการเรียนการสอน 5 คณะวิชา 16 หลักสูตร นับได้ว่าเป็นศูนย์กลางการศึกษาของรัฐในภูมิภาคอีสานตอนบน มีสีประจำคือสีเปลือกไม้ ต้นไม้ประจำวิทยาเขตหนองคายคือต้นชิงชัน ปัจจุบันมีบัณฑิตจบการศึกษาระดับปริญญาตรี มากกว่า 1,500 คน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

ประวัติ

วิทยาเขตหนองคาย จัดตั้งขึ้นตามนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคของรัฐบาล และเป็นโครงการที่ได้รับการบรรจุไว้ในแผนพัฒนามหาวิทยาลัยขอนแก่นระยะที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ในปี พ.ศ. 2539 มีการเริ่มดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียน เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อผลิตบัณฑิตที่กอปรด้วยความรู้ความสามารถมีประสบการณ์ทางด้านวิชาการ และวิชาชีพชั้นสูงเทียบเท่ามาตรฐานระดับสากล มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ เป็นบัณฑิตที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ทฤษฎีวิชาการไปใช้ในชีวิตประจำวัน และเป็นบุคคลผู้ใฝ่เรียนรู้ตลอดชีพ มุ่งพัฒนาคุณภาพบัณฑิต ผลิตงานวิจัยสามารถให้บริการวิชาการแก่ชุมชนได้ พร้อมเป็นขุมปัญญาใหม่ของภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และเป็นประตู แห่งการขยาย สหวิทยาการไปสู่อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และมีการจัดการศึกษาวิชาชีพชั้นสูง ศึกษาค้นคว้าวิจัย ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การประสานศาสตร์หลากหลายวิชาทั้งวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีลักษณะที่พึงประสงค์ตามปณิธานของการก่อตั้งวิทยาเขตหนองคาย พร้อมมุ่งเน้นการวิจัยเพื่อนำไปสู่การพัฒนาศาสตร์ สาขาวิชาแขนงต่างๆ ประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย นำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และขยายบทบาทของวิทยาเขตไปสู่สถาบันของอุดมศึกษา นำความเป็นเลิศทางวิชาการ ขยายไปยังกลุ่ม ประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

ผลงานหรือรางวัลแห่งความภาคภูมิใจของ วิทยาเขตหนองคาย จัดตั้งขึ้นตามนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคของรัฐบาล มุ่งพัฒนาคุณภาพบัณฑิต ผลิตงานวิจัยให้บริการวิชาการแก่ชุมชน เป็นขุมปัญญาใหม่ของภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และเป็นประตูแห่งการขยาย สหวิทยาการไปสู่อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มีการศึกษาค้นคว้าวิจัย ให้บริการวิชาการแก่สังคม และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การประสาน ศาสตร์หลากหลายวิชาทั้งวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มุ่งเน้นการวิจัยเพื่อนำไปสู่การพัฒนาศาสตร์ สาขาวิชาแขนงต่างๆ ประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย นำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

โดยเฉพาะเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และขยายบทบาทของวิทยาเขตไปสู่สถาบันของอุดมศึกษา นำความเป็นเลิศทางวิชาการ ขยายไปยังกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และในปัจจุบัน วิทยาเขตหนองคาย มีพิพิธภัณฑ์สิรินธร ซึ่งนอกจากมีวัตถุประสงค์ในการก่อสร้างเพื่อพัฒนาส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดหนองคายแล้ว ยังถือเป็นแหล่งรวบรวมพันธ์ปลาในลุ่มน้ำโขงที่มากที่สุด และยังถูกใช้เป็นห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เปิดโอกาสให้ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและกลุ่มอนุภาคลุ่มน้ำโขง ใช้เป็นแหล่งศึกษาวงจรชีวิตสัตว์น้ำจืดและน้ำเค็มโดยตรง

เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยขอนแก่น [2] ส่งผลทำให้มหาวิทยาลัยได้เปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ไฟล์:10ปี วนค..png
ตราครบรอบ10ปี วิทยาเขตหนองคาย พ.ศ. 2551
ไฟล์:16ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย.jpg
ตราครบรอบ16ปี วิทยาเขตหนองคาย พ.ศ. 2557
ไฟล์:ตราครบรอบ20ปี วิทยาเขตหนองคาย พ.ศ. 2561.png
ตราครบรอบ20ปี วิทยาเขตหนองคาย พ.ศ. 2561
ไฟล์:Nkc 86011713544421.jpg
ป้ายมหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย
ประเพณีเชียร์กลาง วิทยาเขตหนองคาย
มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย อนุรักษ์วัฒนธรรมไทย สืบสานประเพณีสงกรานต์

คณะ/หน่วยงาน/หน่วยงานในกำกับ

คณะวิชา

โรงเรียน

หน่วยงาน

หน่วยงานในกำกับ

ศูนย์

การรับเข้าศึกษาต่อ

ระดับปริญญาตรี

  • สอบคัดเลือกจากระบบกลาง (Admissions) โดยใช้ ผลสอบ O-NET และ GAT - PAT โดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
  • สอบคัดเลือกจากวิธีรับตรง รับจากผู้ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด
  • โครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่นกับสำนักคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตรวจสอบข้อมูลได้ที่ วิทยาลัยอาชีวศึกษาประจำจังหวัด
  • การคัดเลือกโดยวิธีพิเศษ ตามโครงการขยายโอกาสต่างๆ ของวิทยาเขต โดยรับจากผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และผู้สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า โดยใช้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ดังโครงการต่อไปนี้
    • โครงการขยายโอกาสทางการศึกษาแก่นักเรียนเขตจังหวัดใกล้เคียง 8 จังหวัด (หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู นครพนม สกลนคร มุกดาหาร เลย บึงกาฬ) รับสมัครในเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม ของทุกปี
    • โครงการนักเรียนที่เป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม และบริการสังคม โดยเปิดรับนักเรียนจากทั่วประเทศ รายละเอียดจะแจ้งให้ทราบเป็นประกาศจากเว็บไซต์ http://www.kku.ac.th แต่ละปีการศึกษาที่มีการเปิดรับสมัคร[3]

ระดับปริญญาโท

มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้กำหนดวิธีการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาโท

  • การสอบคัดเลือก เป็นการสอบคัดเลือกผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทในสาขาวิชาต่างๆ ทั้งภาคปกติ และภาคพิเศษ โดยทางมหาวิทยาลัยจะดำเนินการจัดสอบเอง
  • การคัดเลือก เป็นกรคัดเลือกครูประจำการที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทสาขาวิชาต่างๆ โดยมหาวิทยาลัยจะดำเนินการจัดการเรียนการสอนในภาคฤดูร้อน

ระดับปริญญาเอก

มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้กำหนดวิธีการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาเอก โดยคัดเลือกผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกสาขาวิชาต่างๆ โดยการพิจารณาของมหาวิทยาลัย หรือสามารถสมัครสอบผ่านทางเว็บไซต์ได้

กิจกรรมภายในมหาวิทยาลัย

กิจกรรมร้องเพลงร่วมสถาบัน หรือ ประเพณีเชียร์กลาง

มหาวิทยาลัยขอนแก่นคือมหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียวที่คงประเพณีการเชียร์ร่วมของนักศึกษาใหม่รวมทุกคณะไว้ด้วยกัน การที่คนนับพันร่วมหมื่นคนและมาจากหลากหลายคณะสามารถมารวมตัวกัน ร้องเพลงเดียวกันด้วยใจที่รักในสิ่งเดียวกันได้ถือว่าเป็นที่สุด เชียร์กลางเป็นกิจกรรมที่เริ่มต้นและดำเนินมาจนเป็นประเพณีที่สืบเนื่องต่อกันมาจากพี่ๆจนถึงปัจจุบัน และถูกถ่ายทอดสู้วิทยาเขตหนองคาย ซึ่งคือเสมือนเชียร์กลาง มหาวิทยาลัยขอนแก่น เช่นเดียวกัน นักศึกษาปัจจุบันและพี่ๆทุกคนในมหาวิทยาลัยขอนแก่นต่างตั้งตารอ กิจกรรมเชียร์กลางนี้จัดขึ้นหลังจากน้องใหม่เข้าหอพัก รวมน้องและมีกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ให้น้องใหม่ได้รู้จักเพื่อนใหม่ รู้จักพี่ๆในชื่อ พี่เลี้ยงน้องใหม่ มีกิจกรรมสันทนาการ เรียนรู้เพื่อนใหม่ เรียนรู้วัฒนธรรมสังคมของมหาวิทยาลัยขอนแก่น และรู้จักมหาวิทยาลัยขอนแก่นผ่านบทเพลงแห่งมหาวิทยาลัย และจะจัดขึ้น ณ สนามกีฬากลาง บนสแตนด์เชียร์ จำนวน 2 วัน กลางที่โล่ง

กิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยลงแขกดำนา นานาชาติ

กิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยลงแขกดำนา นานาชาติ เป็นการช่วยเหลือหมู่บ้านในเขตตำบลหนองกอมเกาะ ที่มีพื้นที่อยู่ห่างจาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย เพียง 3 กิโลเมตร ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ดังนั้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและเป็นการสร้างความสามัคคี เผื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือกันในสังคม มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย จึงจัดทำโครงการ อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยลงแขกดำนา นานาชาติ ขึ้น เพื่อสอดรับกับภารกิจหลักคือการผลิตบัณฑิตที่พึงประสงค์ ให้บัณฑิตได้ฝึกความอดทน มีความเสียสละ เอื้ออาทรต่อผู้อื่น เรียนรู้และศึกษาลักษณะของเศรษฐกิจชุมชน ตลอดจนช่วยกันอนุรักษ์ พัฒนา ถ่ายทอด และฟื้นฟูขนบธรรมเนียบประเพณี และวัฒนธรรมไทยที่ดีงามให้คงอยู่ นอกจากการลงแขกดำนาแล้ว ได้มีการทำพิธีเลี้ยงผีตาแฮก บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือบรรบุรุษให้คุ้มครองป้องกันภยันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์ ก่อนการดำนาและจัดกิจกรรมแข่งขันวิ่งปรองดองสมานฉันท์ 11 ขาสามัคคีและดำนาสามขาสามัคคี ระหว่างทีมนักศึกษาชาย นักศึกษาหญิงและทีมทหาร ทั้งนี้การจัดกิจกรรมลงแขกดำนา ได้จัดต่อเนื่องมาทุกๆปีในช่วงฤดูทำนา เพื่อสืบสานประเพณี อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยการลงแขกดำนา ให้นักศึกษา บุคลากร และชุมชนได้ปฏิบัติสืบต่อกัน เป็นการเผยแพร่ประเพณีวัฒนธรรมการลงแขกดำนาแก่ชาวต่างชาติ อีกทั้งช่วยลดต้นทุนในการผลิตข้าวของชาวนาและลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือนในการจ้างแรงงาน ทำให้เกิดความสามัคคีปรองดองในองค์กรและสังคม มีความสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย กับชุมชน

การเดินทาง

  • รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถโดยสารธรรมดาและรถปรับอากาศไปหนองคาย ทุกวัน นอกจากนี้ ยังมีบริษัทเอกชนหลายแห่งที่บริการเดินรถไปจังหวัดหนองคาย
  • เครื่องบิน สามารถไปได้โดยลงที่สนามบินจังหวัดอุดรธานี จากนั้นต่อรถเข้าจังหวัดหนองคายอีก 51 กิโลเมตร

ครุยวิทยฐานะ

ครุยวิทยฐานะ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นชุดพิธีการซึ่ง ปัจจุบัน ใช้ในพิธีมอบปริญญาบัตรเพื่อแสดงถึงปริญญา วิทยฐานะที่ได้จากการสำเร็จการศึกษา ครุยวิทยฐานะสำหรับมหาวิทยาลัยขอนแก่น จะกำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา ซึ่งการใช้ครุยวิทยฐานะสำหรับมหาวิทยาลัยรัฐโดยไม่ชอบนั้นมีโทษ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ใช้ครุยแบบโบราณพระราชพิธีไทย ลักษณะแบบครุยจะเป็นชุดครุยคล้าย ๆ ชุดครุยพระยาแรกนา หรือขุนนางสมัยโบราณหรือที่เรียกว่าครุยเทวดา

ไฟล์:ครุยวิทยฐานะหญิง มหาวิทยาลัยขอนแก่นe.jpg
ครุยบัณฑิตหญิง มหาวิทยาลัยขอนแก่น (แบบเดิม)

ลักษณะครุยวิทยะฐานะ

  • ครุยดุษฎีบัณฑิต

ทำด้วยผ้าโปร่งสีขาว มีสำรดรอบขอบและที่ปลายแขน พื้นสำรดทำด้วยสักหลาดสีขาว มีแถบทองขนาด 1 เซนติเมตร ทับบนริมทั้งสองข้าง เว้นระยะ 0.5 เซนติเมตร มีแถบสักหลาดสี ตามสีประจำมหาวิทยาลัย ขนาด 0.5 เซนติเมตร ทั้งสองข้าง เว้นระยะอีก 0.5 เซนติเมตร มีแถบทอง ขนาด 1 เซนติเมตร ทั้งสองข้าง ตอนกลางมีพื้นสักหลาดสีดำขนาด 2 เซนติเมตร ตรงกึ่งกลางติดทับด้วยสักหลาดสีตามสีประจำมหาวิทยาลัย ขนาด 1 เซนติเมตร และมีตรามหาวิทยาลัยทำด้วยโลหะสีเงิน ขนาดสูง 4 เซนติเมตร ติดตามทางดิ่งกลางสำรดบนสักหลาด ตอนหน้าอกทั้งสองข้าง สำรดที่ต้นแขน เช่นเดียวกับสำรดรอบขอบ แต่ตอนกลางมีพื้นสักหลาดสีดำ ตรงกึ่งกลาง ห่างจากขอบ 0.5 เซนติเมตร ติดทับด้วยสักหลาดสีตามสีประจำมหาวิทยาลัย จำนวน 3 เส้น แต่ละเส้นคั่นด้วยแถบทองขนาด 1 เซนติเมตร โดยเว้นระยะระหว่างแถบ 0.5 เซนตเมตร

  • ครุยมหาบัณฑิต

เช่นเดียวกับครุยดุษฎีบัณฑิต แต่ตอนกลางของสำรดที่ต้นแขนมีแถบ สักหลาดสีตามสีประจำมหาวิทยาลัย จำนวน 2 เส้น คั่นด้วยแถบทองขนาด 1 เซนติเมตร โดยเว้นระยะระหว่างแถบ 0.5 เซนติเมตร

  • ครุยบัณฑิต

เช่นเดียวกับครุยดุษฎีบัณฑิต แต่ตอนกลางของสำรดที่ต้นแขนมีแถบสักหลาดสีตามสีประจำมหาวิทยาลัย จำนวน 1 เส้น

  • ครุยประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง

เช่นเดียวกับครุยมหาบัณฑิต แต่ตรามหาวิทยาลัยทำด้วยโลหะสีทอง

  • ครุยประกาศนียบัตรบัณฑิต

เช่นเดียวกับครุยบัณฑิต แต่ตรามหาวิทยาลัยทำด้วยโลหะสีทอง

  • ครุยประจำตำแหน่งของนายกสภามหาวิทยาลัยและอุปนายกสภามหาวิทยาลัย

เป็นครุยพื้นผ้าโปร่งสีขาว มีสำรดรอบขอบและที่ต้นแขนกับปลายแขน พื้นสำรดทำด้วยสักหลาดสีขาว มีแถบทองขนาด 1 เซนติเมตร ทับบนริมทั้งสองข้าง เว้นระยะ 0.5 เซนติเมตร มีแถบสักหลาดสีตามสีประจำ มหาวิทยาลัย ขนาด 1 เซนติเมตร ทั้งสองข้าง เว้นระยะอีก 0.5 เซนติเมตร มีแถบทอง ขนาด 1 เซนติเมตร ตอนกลางมีพื้นสักหลาดสีแดงชาด ติดแถบสักหลาดสีตามสีประจำมหาวิทยาลัย ขนาด 3 เซนติเมตร ทั้งสองข้างโดยติดห่างจากขอบสักหลาดสีแดงชาด 0.5 เซนติเมตร และมีตรามหาวิทยาลัยทำด้วยโลหะสีทองขนาดสูง 4 เซนติเมตร ติดตามทางดิ่งกลางสำรดบนสักหลาดตอนหน้าอกทั้งสองข้าง และมีสร้อยทำด้วยโลหะสีทองพร้อมด้วยเครื่องหมายของมหาวิทยาลัยตามแบบที่สภามหาวิทยาลัยกำหนดระหว่างตรามหาวิทยาลัยทั้งสองข้าง ยึดติดกับครุยประมาณร่องหัวไหล

  • ครุยประจำตำแหน่งของกรรมการสภามหาวิทยาลัย ผู้บริหาร และคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย

เช่นเดียวกับครุยประจำตำแหน่งของนายกสภามหาวิทยาลัย แต่ไม่มีสร้อย[4]

ตัวอย่างแถบสำรด

ตราประจำมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ไฟล์:Emblem of KKU.png
ตราประจำมหาวิทยาลัยขอนแก่น

เนื่องจาก วิทยาเขตหนองคาย เป็นหน่วยงานหนึ่งเทียบเท่าคณะของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพราะฉนั้นจึงใช้ ตราประจำมหาวิทยาลัยเดียวกันกับ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คือ ลักษณะตราสัญลักษณ์เป็นตามแนวคิดของพระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) ซึ่งให้นายพินิจ สุวรรณะบุณย์ เป็นผู้ยกร่าง ในชั้นแรกนั้นเป็นรูปพระธาตุพนม ทั้งสองข้างมีลายช่อกนกเปลวลอย ส่วนล่างสุดขององค์พระธาตุเป็นชื่อมหาวิทยาลัยขอนแก่นบนแพรแถบ ต่อมาพระยาอนุมานราชธนได้นำร่างดังกล่าวปรึกษาหาหรือกับผู้ออกแบบและท่านผู้รู้แห่งราชบัณฑิตยสถาน เห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขลายกนกเป็นรูปเทวดาอัญเชิญมิ่งขวัญสิริมงคลพนมประทานสู่สถาบัน และเปลี่ยนแถบแพรป้ายชื่อเป็นมหาวิทยาลัยขอนแก่นอยู่บนขอนไม้ พื้นหลังแบ่งเป็น ๓ ช่อง มีความหมายถึง คุณธรรมของนักศึกษา ๓ ประการ ได้แก่

  • วิทยา คือ ความรู้ดี
  • จริยา คือ ความประพฤติดี
  • ปัญญา คือ ความฉลาด เกิดแต่การเรียนดี และคิดดี

สาเหตุที่กำหนดให้พระธาตุพนมเป็นตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นนั้น เนื่องจากตระหนักว่าพระธาตุพนมเป็นปูชนียสถานสำคัญ เป็นมิ่งขวัญสิริมงคลอันเป็นที่เคารพบูชาของ ชาวไทย-ลาว ทั้งสองฝั่งโขง มหาวิทยาลัยขอนแก่นก็เช่นเดียวกัน ที่จะต้องเป็นศูนย์รวมความคิด สติปัญญาของสังคมและเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ศาสตราจารย์พิมล กลกิจ ได้เดินทางไปนมัสการพระธรรมราชานุวัตร (แก้ว กนฺโตภาโส) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร เพื่อทำพิธีขออนุญาตเชิญรูปพระธาตุพนมมาเป็นตราสถาบันอย่างถูกต้องและเป็นทางการแต่เพียงสถาบันเดียว ในปี ๒๕๐๙ นับตั้งแค่นั้นมา ตราพระธาตุพนมก็กลายเป็นสัญลักษณ์ประจำสถาบันการศึกษาแห่งนี้[5]

หลักสูตรที่เปิดสอน

วิทยาเขตหนองคาย มีคณะวิชาซึ่งรับผิดชอบหลักสูตรที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรี-โท-เอก ดังนี้

  • ระดับปริญญาตรี

หลักสูตรที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรีทั้งสิ้น 4 คณะ จำนวน 19 หลักสูตร

  • ระดับปริญญาโท

หลักสูตรที่เปิดสอนในระดับปริญญาโท ทั้งสิ้น 3 คณะ จำนวน 5 หลักสูตร

  • ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรที่เปิดสอนในระดับปริญญาเอก ทั้งสิ้น 1 คณะ จำนวน 2 หลักสูตร

ค่าใช้จ่ายในการศึกษา ค่าธรรมเนียมการศึกษาแบบเหมาจ่ายครอบคลุม ค่าหน่วยกิตที่ลงทะเบียนเรียน ค่าขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา ค่าบัตรประจำตัวนักศึกษาแรกเข้า นอกจากนี้ยังได้รับบริการต่างๆ ได้แก่ การประกันอุบัติเหตุ บริการสุขภาพ บริการห้องสมุด บริการคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ฯลฯ สำหรับค่าธรรมเนียมการศึกษาภาคฤดูร้อนเท่ากับครึ่งหนึ่งของภาคปกติ จำแนกตามหลักสูตร ดังนี้

  • 1. หลักสูตรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สาขาการประมง วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอุตสาหกรรมเกษตร การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย)เหมาจ่ายภาคการศึกษาละ 10,000 บาท
  • 2. หลักสูตรทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บริหารธุรกิจ (สาขาเศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ การเงิน ธุรกิจระหว่างประเทศ บัญชี การท่องเที่ยว การปกครองท้องถิ่น และรัฐประศาสนศาสตร์) เหมาจ่ายภาคการศึกษาละ 8,000 บาท
หลักสูตรที่เปิดสอนใน วิทยาเขตหนองคาย
หน่วยงาน ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาการประมง
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ
  • สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาอุตสาหกรรมการเกษตร
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทรัพยากรชีวภาพประยุกต์ (หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทรัพยากรชีวภาพประยุกต์ (หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชานิติศาสตร์

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น
  • สาขารัฐประศาสนศาสตร์

หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การจัดการและกลยุทธ์

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต

  • สาขาวิชาการเงิน
  • สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ
  • สาขาวิชาการจัดการการโรงแรมและการท่องเที่ยว

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต

  • สาขาวิชาการบัญชี

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาการท่องเที่ยว

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการและนวัตกรรม

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการจัดการธุรกิจ
  • สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน

หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  • โครงการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ

หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาการพยาบาล (โครงการพิเศษ)

อ้างอิง

  1. วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  2. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. ๒๕๕๘, ราชกิจจานุเบกษา, วันที่สืบค้น 17 กรกฎาคม 2558
  3. การรับเข้าศึกษา
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/134/39.PDF
  5. หนังสือที่ระลึกงานถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น พุทธศักราช 2552 : ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร จังหวัดน่ครพนม 25 ตุลาคม 2552

แหล่งข้อมูลอื่น