ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดพระศรีรัตนศาสดาราม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ส่ส
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ะยย
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 6: บรรทัด 6:
| type_of_place = พระอารามหลวงชั้นพิเศษ
| type_of_place = พระอารามหลวงชั้นพิเศษ
| bhikkhu = ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา
| bhikkhu = ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา
| special_things = พระอารามประจ[[พระบรมมหาราชวัง]]
| special_things = พระอารามประจำ[[พระบรมมหาราชวัง]]
| principal_buddha = [[พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร]] (พระแก้วมรกต)
| principal_buddha = [[พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร]] (พระแก้วมรกต)
| important_buddha = [[พระพุทธรูป พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก|พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] [[พระพุทธรูป พระพุทธเลิศหล้านภาลัย|พระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] [[พระสัมพุทธพรรณี]] [[พระชัยหลังช้าง]] [[พระคันธารราษฎร์]] [[พระนาก]]
| important_buddha = [[พระพุทธรูป พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก|พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] [[พระพุทธรูป พระพุทธเลิศหล้านภาลัย|พระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] [[พระสัมพุทธพรรณี]] [[พระชัยหลังช้าง]] [[พระคันธารราษฎร์]] [[พระนาก]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:10, 22 สิงหาคม 2561

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
กลุ่มพระอุโบสถ เมื่อมองจากบริเวณทางเข้า
แผนที่
ชื่อสามัญวัดพระแก้ว
ที่ตั้งถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร 10200
ไฟล์:Seal Bangkok green trans.png กรุงเทพมหานคร
ไทย ประเทศไทย
ประเภทพระอารามหลวงชั้นพิเศษ
พระประธานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต)
พระพุทธรูปสำคัญพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระสัมพุทธพรรณี พระชัยหลังช้าง พระคันธารราษฎร์ พระนาก
พระจำพรรษาไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา
ความพิเศษพระอารามประจำพระบรมมหาราชวัง
จุดสนใจสักการะพระแก้วมรกต ชมจิตรกรรมฝาผนัง ที่พระระเบียง
กิจกรรมเทศนาธรรม วันอาทิตย์และวันพระ
การถ่ายภาพไม่ควรใช้แฟลช ในถ่ายภาพจิตรกรรมฝาผนัง และไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพภายในพระอุโบสถเด็ดขาด ฝ่าฝืนมีโทษปรับและยึดฟิล์ม/สื่อบันทึก
หมายเหตุเข้าชมเป็นหมู่คณะตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ต้องทำหนังสือขออนุญาต ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารเงินตรา ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 สัปดาห์
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วัดพระแก้ว เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นในพ.ศ. 2325 เป็นวัดในพระบรมมหาราชวังเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงในสมัยอยุธยา และมีพระราชประสงค์ให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต พระคู่บ้านคู่เมืองของแผ่นดินสยามที่พบ ณ วัดป่าเยี้ยะ(ป่าไผ่) จังหวัดเชียงราย และเป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เพราะมีแต่ส่วนพุทธาวาสไม่มีส่วนสังฆาวาส

อาคารต่าง ๆ

ไฟล์:Emeraldbuddha inner ordinationhall.jpg
ภาพภายในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

เนื่องจากภายในวัดพระศรีรัตนศาสดารามมีอาคารสำคัญและอาคารประกอบเป็นจำนวนมาก จึงแบ่งกลุ่มอาคารออกเป็น 3 กลุ่ม ตามตำแหน่งและความสำคัญ ดังนี้

กลุ่มพระอุโบสถ

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภาพมุมสูงจากทางทิศตะวันออก
กลุ่มพระอุโบสถ
วัดพระแก้ว

กลุ่มพระอุโบสถ เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญสูงสุด มีพระอุโบสถเป็นอาคารประธานซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ล้อมรอบด้วยศาลาราย พระโพธิ์ธาตุพิมาน หอราชพงศานุสรณ์ หอราชกรมานุสรณ์ หอระฆัง และ หอพระคันธารราษฎร์

พระอุโบสถ

พระอุโบสถ ตั้งอยู่ส่วนกลางของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีกำแพงแก้วล้อมรอบ มีซุ้มประดิษฐานเสมารวม 8 ซุ้ม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2326 เพื่อประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (แก้วมรกต) ที่พระองค์ทรงอัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2322 (พบพระแก้วมรกต ครั้งแรกที่เจดีย์ ณ วัดพระแก้ว อ.เมือง จังหวัดเชียงราย)

ในการสร้างพระอุโบสถหลังนี้ใช้เวลา 3 ปี สำเร็จเรียบร้อยลงใน พ.ศ. 2328 ต่อมา เมื่อประมาณได้เกิดเพลิงไหม้บุษบกทรงพระแก้วมรกตซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมขึ้นใหม่ให้ทันฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดารามในปลายรัชกาล

หลักฐานการก่อสร้างและรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมของพระอุโบสถในรัชสมัยนี้ไม่ชัดเจนนัก นอกจากบ่งไว้ว่า ฝาผนังรอบนอกเป็นลายรดน้ำปิดทองรูปกระหนกเครือแย่งทรงข้าวบิณฑ์ดอกในบนพื้นสีชาด ฝาผนังด้านในเหนือประตูด้านสกัดเป็นภาพเรื่องมารวิชัยและเรื่องไตรภูมิ

ส่วนฝาผนังด้านยาวเขียนภาพเทพชุมนุมตามแบบที่สืบเนื่องมาจากสมัยอยุธยา ฝาผนังระหว่างหน้าต่างเขียนภาพเรื่องปฐมสมโพธิ หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบซึ่งปรากฏว่ามีการแก้ไขในรัชกาลที่ 3 และ 4 ในภายหลังดังที่เห็นได้ในปัจจุบัน

พระทวารกลาง เป็นพระทวารใหญ่สูง 8 ศอกคืบ กว้าง 4 ศอกคืบ ตัวบานเป็นบานประดับมุกลายช่องกลม ส่วนพระทวารข้างเป็นทวารรองสูง 7 ศอก กว้าง 3 ศอก 1 คืบ 10 นิ้ว ตัวบานเป็นบานประดับมุกกลายเต็ม ซึ่งบานพระทวารทั้ง 2 แห่งนี้ สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ประทานความเห็นว่า "เป็นฝีมือที่น่าชมยิ่ง ตั้งใจทำแข่งกับบานที่ทำครั้งแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ ซึ่งอยู่ที่วิหารยอด"

ภายในพระอุโบสถได้รับการตกแต่งอย่างวิจิตรงดงามตั้งแต่เพดานถึงพื้น กลางห้องประดิษฐานพระแก้วมรกตในบุษบกทองคำพร้อมด้วยพระพุทธรูปสำคัญมากมาย

หอราชกรมานุสรณ์และหอพงศานุสรณ์

หอราชกรมานุสรณ์และหอพงศานุสรณ์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ ตั้งอยู่บนกำแพงแก้ว ด้านหลังพระอุโบสถทางทิศเหนือ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประจำรัชกาลต่างๆในสมัยอยุธยาหอหนึ่ง และในสมัยรัตนโกสินทร์อีกหอหนึ่ง ภายในเขียนภาพพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นฝีมือของขรัวอินโข่ง จิตรกรไทยที่มีฝีมือดีที่สุดในสมัยนั้น

พระโพธิธาตุพิมาน

พระโพธิธาตุพิมานเป็นที่ประดิษฐานพระปรางค์ของโบราณ ซึ่งทรงอัญเชิญมาจากเมืองเหนือขณะผนวช ภายในพระปรางค์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและบรรจุพระศรีมหาโพธิ์จากพุทธคยา

กลุ่มฐานไพที

กลุ่มอาคารบริเวณฐานไพที มีอาคารหลักสามหลัง คือ ปราสาทพระเทพบิดร พระมณฑป พระศรีรัตนเจดีย์ และวัตถุประดับตกแต่งอื่นๆเช่น รูปปั้นสัตว์หิมพานต์ บุษบกพระราชลัญจกร นครวัดจำลอง พระสุวรรณเจดีย์ และ พนมหมาก

กลุ่มอาคารประกอบ

แผนผังอย่างคร่าวๆของวัดพระแก้ว

เป็นกลุ่มอาคารและสิ่งประดับอื่นๆ ที่นอกเหนือจากกลุ่มอาคารทั้งสองกลุ่ม ประกอบด้วย หอพระนาก พระเศวตกุฏาคารวิหารยอด หอมณเฑียรธรรม พระอัษฎามหาเจดีย์ ยักษ์ทวารบาล และจิตรกรรมฝาผนังที่ พระระเบียง ซึ่งมีภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังจำนวน 178 ห้อง เรียงต่อกันยาวตลอดฝาผนังทั้ง 4 ทิศ มีเนื้อหาจากวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์

พระอัษฎามหาเจดีย์

พระอัษฎามหาเจดีย์ หรือ พระปรางค์ 8 องค์ ตั้งเรียงกันอยู่หน้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภายนอกพระระเบียง พระมหาเจดีย์ทั้ง 8 องค์นี้ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่นอน ภายนอกพระระเบียง 6 องค์ ภายในพระระเบียง 2 องค์ พระอัษฎามหาเจดีย์เป็นชื่อที่คณะกรรมการอำนวยการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตน ศาสดาราม เมื่อฉลองพระนครครบ 200 ปี มีมติให้เรียกชื่อรวมเป็นทางการตามชื่อที่ปรากฏในการบูรณปฏิสังขรณ์สมัย รัชกาลที่ 3 ของพระศรีภูริปรีชาวัตถุประสงค์ในการสร้างพระมหาเจดีย์เหล่านี้ก็เพื่ออุทิศ เป็นพระพุทธเจดีย์องค์หนึ่ง พระธรรมเจดีย์องค์หนึ่ง พระปัจเจกเจดีย์องค์หนึ่ง พระสาวกเจดีย์องค์หนึ่ง พระภิกขุนีสาวกเจดีย์องค์หนึ่ง พระชาฎกโพธิสัตว์องค์หนึ่ง พระสงฆเจดีย์องค์หนึ่ง และพระยาจักรเจดีย์องค์หนึ่ง

ต่อมาในรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ประดับกระเบื้องเคลือบสีที่พระมหาเจดีย์ทั้ง 8 องค์ส่วนในสมัยรัชกาลที่ 7 และรัชกาลที่ 9 เป็นการซ่อมส่วนที่ชำรุดเสียหายแต่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงรูป ร่างแต่ประการ

พระพุทธรูปสำคัญภายในพระอุโบสถ

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนตอนต้น ทำจากหินหยกสีเขียวเข้มทึบแสง ปางสมาธิ ขนาดหน้าตัก 43 ซม. สูง 55 ซม.

ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 4(ช่วงเดือนมีนาคม) เดือน 8(วันเข้าพรรษา) และเดือน 12 (หลังวันลอยกระทง 1 วัน) จะมีการเปลี่ยนเครื่องทรงขององค์พระแก้วมรกตอยู่เสมอ โดยมี 3 เครื่องทรง คือ เครื่องทรงฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว

พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระพุทธรูปที่รัชกาลที่ 3 ทรงสร้างอุทิศให้กับรัชกาลที่ 1 และ 2 ศิลปะรัตนโกสินทร์ ปางห้ามสมุทร สูง 3 เมตร ทรงเครื่องต้นพระจักรพรรดิราช เป็นพระพุทธรูปสำริดหุ้มทองคำลงยาราชาวดี เครื่องต้นประดับเนาวรัตน์ ใช้ทองคำเท่ากับทองที่หุ้มพระศรีสรรเพชญ ในสมัยอยุธยา

พระสัมพุทธพรรณี รัชกาลที่ 4 ทรงสร้างใน พ.ศ. 2373 ตามอย่างพุทธลักษณะที่พระองค์ทรงสอบสวนได้ สร้างจากกะไหล่ทองคำ ปางสมาธิหน้าตักกว้าง 49 ซม. สูงถึงพระรัศมี 67.5 ซม. มีการเปลี่ยนพระรัศมีเป็นสีต่าง ๆ ตามฤดูกาล พร้อมกับการเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต

พิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

พิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

พิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามในเขตพระราชฐานชั้นนอกของพระบรมมหาราชวัง เดิมเป็นโรงกษาปณ์ ใช้ผลิตเงินตราเพื่อใช้ในประเทศ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอาคารรูปแบบตะวันตก ในปี พ.ศ. 2525 ในวาระการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นแม่กองบูรณะจึงขอพระราชทานอาคารโรงกษาปณ์มาเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีสิ่งน่าสนใจหลายอย่างเช่นปืนใหญ่ที่ตั้งแสดงไว้ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ตุ๊กตาจีนที่ตั้งไว้หน้าอาคารพิพิธภัณฑ์

สมุดภาพ

แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดแผนที่

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′05″N 100°29′33″E / 13.751391°N 100.492519°E / 13.751391; 100.492519