ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ 27.55.9.245 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Pongsak ksm
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
บรรทัด 22: บรรทัด 22:


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน ประสูติวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2454 เป็นโอรสองค์เดียวใน[[เจ้าจักรคำขจรศักดิ์]] [[เจ้าผู้ครองนครลำพูน]]องค์สุดท้าย ที่ประสูตแต่[[แม่เจ้าแขกแก้วจักรคำขจรศักดิ์]]<ref>http://www.chiangmai-thailand.net/lanna_city/lumpoon/ratchawong.html</ref> และมีพี่น้องต่างมารดา ได้แก่
เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน สูติวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2454 เป็นโอรสองค์เดียวใน[[เจ้าจักรคำขจรศักดิ์]] [[เจ้าผู้ครองนครลำพูน]]องค์สุดท้าย ที่ประสูตแต่[[แม่เจ้าแขกแก้วจักรคำขจรศักดิ์]]<ref>http://www.chiangmai-thailand.net/lanna_city/lumpoon/ratchawong.html</ref> และมีพี่น้องต่างมารดา ได้แก่
* เจ้าลำเจียก ณ ลำพูน
* เจ้าลำเจียก ณ ลำพูน
* เจ้าวรรณรา ณ ลำพูน
* เจ้าวรรณรา ณ ลำพูน

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:40, 9 สิงหาคม 2561

เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน
รัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
19 กันยายน พ.ศ. 2488 – 31 มกราคม พ.ศ. 2489
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 มิถุนายน พ.ศ. 2454
จังหวัดลำพูน
เสียชีวิต19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508 (53 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์
คู่สมรสนางเทวี ณ ลำพูน
เจ้านายฝ่ายเหนือ

เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน (12 มิถุนายน พ.ศ. 2454 - 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508) อดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน[1] 2 สมัย ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2481

ประวัติ

เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน สูติวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2454 เป็นโอรสองค์เดียวในเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์สุดท้าย ที่ประสูตแต่แม่เจ้าแขกแก้วจักรคำขจรศักดิ์[2] และมีพี่น้องต่างมารดา ได้แก่

  • เจ้าลำเจียก ณ ลำพูน
  • เจ้าวรรณรา ณ ลำพูน
  • เจ้าพงศ์ธาดา ณ ลำพูน
  • เจ้ารัทธาธร ณ ลำพูน
  • เจ้าประกายคำ ณ ลำพูน
  • เจ้าสุริยา ณ ลำพูน
  • เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน
  • เจ้าพัฒนา ณ ลำพูน

ด้านชีวิตครอบครัว สมรสกับนางเทวี ณ ลำพูน (สกุลเดิม วัฒนะทัสสี) มีบุตร 2 คน คือ เจ้าหญิงวรเทวี (ณ ลำพูน) ชลวณิช และเจ้าวีรทัศน์ ณ ลำพูน

เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508

การศึกษา

เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน และไปศึกษาต่อที่โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อแผนกธรรมศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[3]

บทบาททางการเมือง

เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2481 และได้รับเลือกอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

เจ้าวรทัศน์ เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ในรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2488[4] - 31 มกราคม พ.ศ. 2489[5] ในยุคหลังเลิกสงครามมหาเอเชียบูรพา[3]

ราชตระกูล

อ้างอิง