ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชเว กยู-ฮา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pilarbini (คุย | ส่วนร่วม)
ชเว
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 56: บรรทัด 56:


{{ประธานาธิบดีเกาหลีใต้}}
{{ประธานาธิบดีเกาหลีใต้}}
{{นายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้}}


{{เกิดปี|2462}}{{ตายปี|2549}}
{{เกิดปี|2462}}{{ตายปี|2549}}
บรรทัด 61: บรรทัด 62:
[[หมวดหมู่:นักการเมืองเกาหลีใต้]]
[[หมวดหมู่:นักการเมืองเกาหลีใต้]]
[[หมวดหมู่:ประธานาธิบดีเกาหลีใต้]]
[[หมวดหมู่:ประธานาธิบดีเกาหลีใต้]]
[[หมวดหมู่:นายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดคังว็อน (ประเทศเกาหลีใต้)]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดคังว็อน (ประเทศเกาหลีใต้)]]
[[หมวดหมู่:ผู้นำที่พ้นตำแหน่งจากรัฐประหาร]]
[[หมวดหมู่:ผู้นำที่พ้นตำแหน่งจากรัฐประหาร]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:35, 8 สิงหาคม 2561

ชเว กยู-ฮา
최규하
崔圭夏
ประธานาธิบดีเกาหลีใต้
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2522 – พ.ศ. 2523
ก่อนหน้าพัก จองฮี
ถัดไปชอน ดูฮวาน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 กรกฎาคม พ.ศ. 2462
ว็อนจู, จังหวัดคังวอน, เกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น
เสียชีวิต22 ตุลาคม พ.ศ. 2549 (87 ปี)
โซล,  เกาหลีใต้
ศาสนาลัทธิขงจื่อใหม่
พรรคการเมืองเสรีนิยม
คู่สมรสฮง กี
ชื่อเกาหลี
ฮันกึล
ฮันจา
อาร์อาร์Choe Gyu-ha
เอ็มอาร์Ch'oe Kyuha
นามปากกา
ฮันกึล
현석
ฮันจา
อาร์อาร์Hyeonseok
เอ็มอาร์Hyŏnsŏk

ชเว กยู-ฮา (อักษรโรมัน: Choi Kyu-hah; 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2462 — 22 ตุลาคม พ.ศ. 2549) เป็นประธานาธิบดีของสาธารณรัฐเกาหลีระหว่างปี พ.ศ. 2522 - พ.ศ. 2523 ชเวเกิดที่ ว็อนจู จังหวัดคังวอน เขาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศระหว่างปี พ.ศ. 2510 ถึง พ.ศ. 2514 และเป็นนายกรัฐมนตรีระหว่างปี พ.ศ. 2518 ถึง พ.ศ. 2522

ภายหลังจากการสังหารประธานาธิบดีพัก จองฮี ในปี พ.ศ. 2522 ชเวได้เข้ามามีอำนาจ เพราะว่าสถานการณ์ความไม่สงบที่เป็นผลมาตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีพักครองอำนาจ โดยชเวสัญญาว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งตามวิถีทางประชาธิปไตย (การเลือกตั้งภายใต้ระบบพักเป็นที่รู้กันอย่างกว้างขวางว่าไม่มีความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง) เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เข้ามาแทนที่รัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการอย่างรัฐธรรมนูญยูซิน ชเวชนะการเลือกตั้งในเดือธันวาคมในปีเดียวกันนั้นและขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนที่สี่ของสาธารณรัฐเกาหลี

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2522 พลเอกชอน ดูฮวาน และพันธมิตรผู้ใกล้ชิดพร้อมด้วยกำลังทหารเข้าทำการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลของชเว พวกเขารีบเข้าถอดถอนผู้บัญชาการทหารบกและเข้าควบคุมรัฐบาลอย่างแท้จริงในต้นปี 2523

ในเดือนเมษายน 2523 ด้วยความกดดันที่เพิ่มขึ้นจากทั้งชอนและนักการเมืองคนอื่น ๆ ชเวได้แต่งตั้งชอนเป็นผู้บัญชาการหน่วยข่าวกรองกลาง ในเดือนพฤษภาคมชอนได้ประกาศกฎอัยการศึกและทำการล้มเลิกสิ่งที่เป็นของรัฐบาลพลเรือนทั้งหมด กลายเป็นผู้มีอำนาจโดยพฤตินัยของประเทศ ต่อมามีนักศึกษาได้ทำการประท้วงทั่วทั้งโซลและกวางจู การประท้วงที่กวางจูยังคงดำเนินต่อไปเป็นผลให้เกิดการฆาตกรรมหมู่ที่กวางจู ซึ่งประชาชนประมาณ 937 คนเสียชีวิตภายในห้าวันหลังจากการใช้กำลังทหารของชอนเข้าปราบปราม[1]

ชเวลาออกจากตำแหน่งหลังจากนั้นไม่นาน ชอนขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2523 ชเวใช้ชีวิตเงียบ ๆไม่ให้เป็นที่สนใจของประชาชน และชเวได้ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ร่างของเขาได้ถูกฝังไว้ที่สุสานแห่งชาติแทจ็อน เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2549[2]

อ้างอิง

  1. Flashback: The Kwangju massacre. BBC News. May 17, 2000.
  2. "Daejeon National Cemetery Timeline". Daejeon National Cemetery. สืบค้นเมื่อ 28 September 2014.

ข้อมูลเพิ่มเติม