ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชะนีมือขาว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kongkham6211 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
KongkhamWichit (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 30: บรรทัด 30:
| range_map_caption = [[แผนที่]]การกระจายพันธุ์
| range_map_caption = [[แผนที่]]การกระจายพันธุ์
}}
}}
[[ไฟล์:ัsub -adult white handed-gibbon at Korat zoo.jpg|thumb]]
'''ชะนีมือขาว''' หรือ '''ชะนีธรรมดา''' ({{lang-en|Common gibbon, White-handed gibbon}}; {{ชื่อวิทยาศาสตร์|Hylobates lar}}) เป็น[[สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม]][[อันดับลิง|อันดับวานร]] (Primates) [[species|ชนิด]]หนึ่ง จัดเป็น[[ลิงไม่มีหาง]]ชนิดหนึ่ง จำพวก[[ชะนี]] (Hylobatidae)
'''ชะนีมือขาว''' หรือ '''ชะนีธรรมดา''' ({{lang-en|Common gibbon, White-handed gibbon}}; {{ชื่อวิทยาศาสตร์|Hylobates lar}}) เป็น[[สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม]][[อันดับลิง|อันดับวานร]] (Primates) [[species|ชนิด]]หนึ่ง จัดเป็น[[ลิงไม่มีหาง]]ชนิดหนึ่ง จำพวก[[ชะนี]] (Hylobatidae)



รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:57, 1 สิงหาคม 2561

ชะนีมือขาว
เสียงร้อง
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Primates
วงศ์: Hylobatidae
สกุล: Hylobates
สปีชีส์: H.  lar
ชื่อทวินาม
Hylobates lar
(Linnaeus, 1771)
ชนิดย่อย
  • H. l. lar
  • H. l. carpenteri
  • H. l. entelloides
  • H. l. vestitus
  • H. l. yunnanensis
แผนที่การกระจายพันธุ์

ชะนีมือขาว หรือ ชะนีธรรมดา (อังกฤษ: Common gibbon, White-handed gibbon; ชื่อวิทยาศาสตร์: Hylobates lar) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอันดับวานร (Primates) ชนิดหนึ่ง จัดเป็นลิงไม่มีหางชนิดหนึ่ง จำพวกชะนี (Hylobatidae)

ลักษณะ

มีแขนยาว ขาหลังสั้น นิ้วหัวแม่มือแยกออกจากนิ้วชี้เป็นล่ามลึกลงในฝ่ามือ ทำให้มือมีรูปร่างยาวและแคบใช้ในการกำหรือจับต้นไม้ได้แน่นเหมือนตะขอ ฝ่ามือ ใบหน้าและใบหูมีสีดำ มีขน 2 สี คือ สีน้ำตาลอ่อน และสีดำ โดยสีของขนไม่เกี่ยวกับอายุหรือเพศ ขนบริเวณหลังมือ เท้าและรอบใบหน้ามีสีขาวอันเป็นที่มาของชื่อ

มีความยาวลำตัวและหัว 45-60 เซนติเมตร น้ำหนัก 3.9-7 กิโลกรัม

ถิ่นที่อยู่

มีการกระจายพันธุ์อยู่ทางภาคใต้ของจีน, พม่า, ภาคตะวันตกของไทย, ภาคเหนือของลาว, มาเลเซียและเกาะสุมาตรา

ชะนีมือขาวสามารถอาศัยได้ในป่าหลายประเภท เช่น ป่าเบญจพรรณ, ป่าดิบทั้งชื้นและแล้ง มักเลือกอาศัยบนต้นไม้ที่มีใบรกชัฏ ออกหากินในเวลาเช้าถึงเย็น อาศัยหลับนอนบนต้นไม้ โดยจะใช้ต้นไม้ที่เป็นรังนอนหลายตัวภายในอาณาเขตครอบครองของแต่ละครอบครัว ต้นไม้ที่ใช้หลับนอนมักอยู่ใกล้แหล่งอาหาร อาหารหลักได้แก่ ยอดไม้อ่อน, ใบไม้, ผลไม้ รวมทั้งแมลงบางชนิด แต่จะกินผลไม้มากกว่าอาหรชนิดอื่น ๆ ดื่มน้ำด้วยการเลียตามใบไม้หรือล้วงเข้าไปวักในโพรงไม้ ครอบครัวของชะนีมือขาวครอบครัวหนึ่งจะประกอบไปด้วย พ่อ แม่ และลูก ปกติออกลูกครั้งละ 1 ตัว มีเวลาตั้งท้องนาน 210 วัน และให้ลูกกินนมเป็นเวลา 18 เดือน ลูกชะนีจะเกาะอยู่ที่หน้าอกแม่นานถึง 2 ปี เมื่ออายุได้ 8-9 ปี ก็จะแยกออกไปตั้งครอบครัวใหม่[2]

ชะนีมือขาวในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีการผสมข้ามพันธุ์กับชะนีมงกุฎ (H. pileatus) จนเกิดเป็นชะนีลูกผสมซึ่งมีลักษณะรูปร่างที่แตกต่างออกไป รวมถึงเสียงร้องด้วย อันเนื่องจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่นับเป็นสถานที่แห่งเดียวในโลก ที่มีชะนีทั้ง 2 ชนิดนี้อาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกัน[3] [4]

อ้างอิง

  1. Eudey et al (2000). Hylobates lar. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 11 May 2006.
  2. ชะนี
  3. ชุ่มฉ่ำกับชีวิต เสือ....ชะนี.... พิศวง เขาใหญ่
  4. วิถีวานร, "พินัยกรรมธรรมชาติ". สารคดีทางทีวีไทย: ศุกร์ที่ 18 มกราคม 2556

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Hylobates lar ที่วิกิสปีชีส์