ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อุทยานแห่งชาติ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มการแบ่งเขตอุทยานแห่งชาติตามภาคต่างๆของประเทศไทยพร้อมอ้างอิง
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ประวัติศาสตร์อุทยานแห่งชาติ: เพิ่มปัจจุบันประเทศไทยมีอุทยานแห่งชาติจำนวน 131 แห่ง ด้วยพื้นที่ทั้งหมด 40,000,739.00 ไร่ หรือประมาณ 64,001.18 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 12.47 % ของเนื้อที่ของประเทศ จากพื้นที่ประเทศไทยทั้งหมด 320,696,887.50 ไร่ หรือประมาณ 513,115.02 ตารางกิโลเมตร พร้อมอ้างอิง
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 10: บรรทัด 10:
==ประวัติศาสตร์อุทยานแห่งชาติ==
==ประวัติศาสตร์อุทยานแห่งชาติ==
'''แนวความคิดเรื่อง[[อุทยานแห่งชาติ]]''' เริ่มต้น 100 กว่าปีแล้วในประเทศสหรัฐอเมริกา การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรทำให้มีพื้นที่เพื่อที่อยู่อาศัยและพื้นที่เพาะปลูกมีผลผลิตน้อยลง การสำรวจและบุกเบิกดังกล่าวส่งผลให้มีการค้นพบภูมิประเทศที่งดงามหลายแห่ง การตั้งถิ่นฐานและการเพาะปลูกในพื้นที่ป่าเพิ่มมากขึ้น ทำให้พื้นที่ป่าลดลงมาก จนปี พ.ศ. 2407 แนวความคิดทางนิเวศวิทยาของ George Perkins Marsh ในหนังสือ Man and Nature ที่ว่า '''"มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกับธรรมชาติ การทำลายธรรมชาติก็เท่ากับว่าเป็นการทำลายตัวมนุษย์เอง"''' ได้จุดประกายให้มีการริเริ่มการสงวนแหล่งธรรมชาติขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2415 อุทยานแห่งชาติแห่งแรกของโลกจึงได้ถูกจัดตั้งขึ้นที่ [[Yellowstone]] โดย Abraham Lincoln
'''แนวความคิดเรื่อง[[อุทยานแห่งชาติ]]''' เริ่มต้น 100 กว่าปีแล้วในประเทศสหรัฐอเมริกา การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรทำให้มีพื้นที่เพื่อที่อยู่อาศัยและพื้นที่เพาะปลูกมีผลผลิตน้อยลง การสำรวจและบุกเบิกดังกล่าวส่งผลให้มีการค้นพบภูมิประเทศที่งดงามหลายแห่ง การตั้งถิ่นฐานและการเพาะปลูกในพื้นที่ป่าเพิ่มมากขึ้น ทำให้พื้นที่ป่าลดลงมาก จนปี พ.ศ. 2407 แนวความคิดทางนิเวศวิทยาของ George Perkins Marsh ในหนังสือ Man and Nature ที่ว่า '''"มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกับธรรมชาติ การทำลายธรรมชาติก็เท่ากับว่าเป็นการทำลายตัวมนุษย์เอง"''' ได้จุดประกายให้มีการริเริ่มการสงวนแหล่งธรรมชาติขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2415 อุทยานแห่งชาติแห่งแรกของโลกจึงได้ถูกจัดตั้งขึ้นที่ [[Yellowstone]] โดย Abraham Lincoln
'''ใน[[ประเทศไทย]]แนวความคิดในการจัดตั้ง[[อุทยานแห่งชาติ]]'''ได้ริเริ่มขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องมาจากอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ความต้องการพื้นที่เพื่อการเพาะปลูกเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ผลที่ตามมาคือการหักล้างถางพงเปลี่ยนสภาพป่าเป็นไร่นา ประกอบกับความเจริญทางด้านวัตถุและเทคโนโลยี มีการใช้อาวุธที่ทันสมัยล่าสัตว์อย่างล้างผลาญ ทำให้สัตว์ป่าลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว สัตว์ป่าบางชนิดสูญพันธุ์ไป จนในที่สุดรัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองรักษาทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะด้านป่าไม้และสัตว์ป่า จึงดำริให้มีการจัดตั้ง[[สวนรุกขชาติ]] [[วนอุทยา]]น และ[[อุทยานแห่งชาติ]] โดยกำหนดให้ป่าภูกระดึง [[จังหวัดเลย]] เป็นวนอุทยานแห่งแรก ในปี พ.ศ. 2486 แต่ด้วยเป็นช่วงสงครามโลก การดำเนินงานเพื่อประกาศจัดตั้ง[[อุทยานแห่งชาติ]]จึงมีอุปสรรคและต้องระงับไปจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2502 ฯลฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็น[[นายกรัฐมนตรี]] ได้สั่งการให้[[กระทรวงเกษตร]]และ[[กระทรวงมหาดไทย]]ร่วมกันพิจารณากำหนดพื้นที่ป่าเพื่อจัดตั้ง'''[[อุทยานแห่งชาติ]]'''ขึ้น<ref>http://portal.dnp.go.th/Content/nationalpark?contentId=1169</ref>
'''ใน[[ประเทศไทย]]แนวความคิดในการจัดตั้ง[[อุทยานแห่งชาติ]]'''ได้ริเริ่มขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องมาจากอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ความต้องการพื้นที่เพื่อการเพาะปลูกเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ผลที่ตามมาคือการหักล้างถางพงเปลี่ยนสภาพป่าเป็นไร่นา ประกอบกับความเจริญทางด้านวัตถุและเทคโนโลยี มีการใช้อาวุธที่ทันสมัยล่าสัตว์อย่างล้างผลาญ ทำให้สัตว์ป่าลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว สัตว์ป่าบางชนิดสูญพันธุ์ไป จนในที่สุดรัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองรักษาทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะด้านป่าไม้และสัตว์ป่า จึงดำริให้มีการจัดตั้ง[[สวนรุกขชาติ]] [[วนอุทยา]]น และ[[อุทยานแห่งชาติ]] โดยกำหนดให้ป่าภูกระดึง [[จังหวัดเลย]] เป็นวนอุทยานแห่งแรก ในปี พ.ศ. 2486 แต่ด้วยเป็นช่วงสงครามโลก การดำเนินงานเพื่อประกาศจัดตั้ง[[อุทยานแห่งชาติ]]จึงมีอุปสรรคและต้องระงับไปจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2502 ฯลฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็น[[นายกรัฐมนตรี]] ได้สั่งการให้[[กระทรวงเกษตร]]และ[[กระทรวงมหาดไทย]]ร่วมกันพิจารณากำหนดพื้นที่ป่าเพื่อจัดตั้ง'''[[อุทยานแห่งชาติ]]'''ขึ้น<ref>http://portal.dnp.go.th/Content/nationalpark?contentId=1169</ref> ปัจจุบันประเทศไทยมีอุทยานแห่งชาติจำนวน 131 แห่ง<ref>http://portal.dnp.go.th/DNP/FileSystem/download?uuid=6c63799b-f8c5-4dc9-a153-5443f8b4debd.pdf</ref> ด้วยพื้นที่ทั้งหมด 40,000,739.00 ไร่ หรือประมาณ 64,001.18 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 12.47 % ของเนื้อที่ของประเทศ จากพื้นที่ประเทศไทยทั้งหมด 320,696,887.50 ไร่ หรือประมาณ 513,115.02 ตารางกิโลเมตร<ref>http://portal.dnp.go.th/DNP/FileSystem/download?uuid=6c63799b-f8c5-4dc9-a153-5443f8b4debd.pdf</ref>


===อุทยานแห่งชาติแห่งแรกคือ===
===อุทยานแห่งชาติแห่งแรกคือ===
บรรทัด 16: บรรทัด 16:


===อุทยานแห่งชาติล่าสุดคือ===
===อุทยานแห่งชาติล่าสุดคือ===
พื้นที่ได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติล่าสุดคือ [[อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้]] เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2560 อยู่ที่ [[จังหวัดเชียงใหม่]] ใช้เวลายาวนานถึง 26 ปี ที่กรมป่าไม้ได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เมื่อปี 2534 เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ จนมีประกาศในราขกิจจานุเบกษาให้เป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2560 เป็น[[อุทยานแห่งชาติลำดับที่ 131 ]]ของประเทศไทย<ref>ไฟล์:///C:/Users/User/Downloads/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9.pdf</ref> และนับเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งที่สามในรัชกาลปัจจุบัน (ที่แรกคือ[[อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย]] ที่สอง [[อุทยานแห่งชาติขุนสถาน]])
พื้นที่ได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติล่าสุดคือ [[อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้]] เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2560 อยู่ที่ [[จังหวัดเชียงใหม่]] ใช้เวลายาวนานถึง 26 ปี ที่กรมป่าไม้ได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เมื่อปี 2534 เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ จนมีประกาศในราขกิจจานุเบกษาให้เป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2560 เป็น[[อุทยานแห่งชาติลำดับที่ 131 ]]ของประเทศไทย<ref>http://portal.dnp.go.th/Content/nationalpark?contentId=3855</ref> และนับเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งที่สามในรัชกาลปัจจุบัน (ที่แรกคือ[[อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย]] ที่สอง [[อุทยานแห่งชาติขุนสถาน]])
[[อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้]] มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่[[อำเภอสันกำแพง]][[อำเภอดอยสะเก็ด]] [[อำเภอแม่ออน]][[จังหวัดเชียงใหม่]] และท้องที่[[อำเภอบ้านธิ]] [[อำเภอเมือง]] [[จังหวัดลำพูน]] ภูมิประเทศเป็น[[เทือกเขา]]สูงสลับซับซ้อน เป็นพื้นที่ต้นน้ำของลุ่มน้ำปิง มี[[พันธุ์ไม้]]มีค่าและ[[สัตว์ป่า]]ที่สำคัญหลายชนิดและประกอบ ด้วยจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่งเช่น [[น้ำตก]] [[อ่างเก็บน้ำ]] [[เขื่อน]] [[หน้าผา]] และ[[ยอดเขา]]ที่สูงเด่น เป็นต้น มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 320,750 ไร่ หรือ 513.20 ตารางกิโลเมตร
[[อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้]] มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่[[อำเภอสันกำแพง]][[อำเภอดอยสะเก็ด]] [[อำเภอแม่ออน]][[จังหวัดเชียงใหม่]] และท้องที่[[อำเภอบ้านธิ]] [[อำเภอเมือง]] [[จังหวัดลำพูน]] ภูมิประเทศเป็น[[เทือกเขา]]สูงสลับซับซ้อน เป็นพื้นที่ต้นน้ำของลุ่มน้ำปิง มี[[พันธุ์ไม้]]มีค่าและ[[สัตว์ป่า]]ที่สำคัญหลายชนิดและประกอบ ด้วยจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่งเช่น [[น้ำตก]] [[อ่างเก็บน้ำ]] [[เขื่อน]] [[หน้าผา]] และ[[ยอดเขา]]ที่สูงเด่น เป็นต้น มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 320,750 ไร่ หรือ 513.20 ตารางกิโลเมตร

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:51, 23 กรกฎาคม 2561

ความหลากหลายทางชีวภาพในอุทยานแห่งชาติ ประเทศไทย
ความหลากหลายทางชีวภาพในอุทยานแห่งชาติ ประเทศไทย
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้าในอุทยานแห่งชาติ ประเทศไทย
กล้วยไม้ในอุทยานแห่งชาติ ประเทศไทย

นิยาม อุทยานแห่งชาติ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้นิยามไว้ดังนี้ คำว่าอุทยานแห่งชาติ คือกฎหมายที่ประกาศ โดยมีพระราชกฤษฎีกาประกาศกำหนดให้พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งในราชอาณาจักรไทยที่เป็นของราชการมิใช่พื้นที่ครอบครองของผุ้หนึ่งผู้ใดมาก่อนให้สงวนรักษาไว้ให้คงสภาพเดิมเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและความรื่นรมย์ของประชาชน โดยมีพระราชกฤษฎีกาประกาศกำหนดให้เป็น อุทยานแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ [1] อุทยานแห่งชาติ ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า "National Park" ซึ่งหมายถึง เขตบริเวณพื้นที่ซึ่งสงวน ไว้เพื่อที่จะรักษา และทำการคุ้มครองทรัยากรทางธรรมชาติ นั้นๆ ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมมิให้ถูกทำลาย หรือเปลี่ยนแปลงไป ตามหลักสากลแล้ว อุทยานแห่งชาตินั้นจะต้องมีพื้นที่ ทั่วทั้งบริเวณไม่น้อยกว่า 6,250 ไร่ หรือประมาณ 10 ตารางกิโลเมตร ที่สำคัญในพื้นที่ ของอุทยานแห่งชาตินั้นจะต้องมี ธรรมชาติของ วิวทิวทัศน์ที่สวยงาม

ประวัติศาสตร์อุทยานแห่งชาติ

แนวความคิดเรื่องอุทยานแห่งชาติ เริ่มต้น 100 กว่าปีแล้วในประเทศสหรัฐอเมริกา การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรทำให้มีพื้นที่เพื่อที่อยู่อาศัยและพื้นที่เพาะปลูกมีผลผลิตน้อยลง การสำรวจและบุกเบิกดังกล่าวส่งผลให้มีการค้นพบภูมิประเทศที่งดงามหลายแห่ง การตั้งถิ่นฐานและการเพาะปลูกในพื้นที่ป่าเพิ่มมากขึ้น ทำให้พื้นที่ป่าลดลงมาก จนปี พ.ศ. 2407 แนวความคิดทางนิเวศวิทยาของ George Perkins Marsh ในหนังสือ Man and Nature ที่ว่า "มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกับธรรมชาติ การทำลายธรรมชาติก็เท่ากับว่าเป็นการทำลายตัวมนุษย์เอง" ได้จุดประกายให้มีการริเริ่มการสงวนแหล่งธรรมชาติขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2415 อุทยานแห่งชาติแห่งแรกของโลกจึงได้ถูกจัดตั้งขึ้นที่ Yellowstone โดย Abraham Lincoln ในประเทศไทยแนวความคิดในการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติได้ริเริ่มขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องมาจากอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ความต้องการพื้นที่เพื่อการเพาะปลูกเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ผลที่ตามมาคือการหักล้างถางพงเปลี่ยนสภาพป่าเป็นไร่นา ประกอบกับความเจริญทางด้านวัตถุและเทคโนโลยี มีการใช้อาวุธที่ทันสมัยล่าสัตว์อย่างล้างผลาญ ทำให้สัตว์ป่าลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว สัตว์ป่าบางชนิดสูญพันธุ์ไป จนในที่สุดรัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองรักษาทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะด้านป่าไม้และสัตว์ป่า จึงดำริให้มีการจัดตั้งสวนรุกขชาติ วนอุทยาน และอุทยานแห่งชาติ โดยกำหนดให้ป่าภูกระดึง จังหวัดเลย เป็นวนอุทยานแห่งแรก ในปี พ.ศ. 2486 แต่ด้วยเป็นช่วงสงครามโลก การดำเนินงานเพื่อประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติจึงมีอุปสรรคและต้องระงับไปจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2502 ฯลฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้กระทรวงเกษตรและกระทรวงมหาดไทยร่วมกันพิจารณากำหนดพื้นที่ป่าเพื่อจัดตั้งอุทยานแห่งชาติขึ้น[2] ปัจจุบันประเทศไทยมีอุทยานแห่งชาติจำนวน 131 แห่ง[3] ด้วยพื้นที่ทั้งหมด 40,000,739.00 ไร่ หรือประมาณ 64,001.18 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 12.47 % ของเนื้อที่ของประเทศ จากพื้นที่ประเทศไทยทั้งหมด 320,696,887.50 ไร่ หรือประมาณ 513,115.02 ตารางกิโลเมตร[4]

อุทยานแห่งชาติแห่งแรกคือ

ในปี 2505 พื้นที่ที่เขาใหญ่มีพื้นที่ติดต่อกับที่ตั้งโดยรอบถึง 11 อำเภอ ใน 4 จังหวัด อันได้แก่ อำเภอปากช่อง อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา; อำเภอนาดี อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอประจันตคาม อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี; อำเภอปากพลี อำเภอบ้านนา อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก; และอำเภอแก่งคอย อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี โดยประกาศให้เขาใหญ่เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของไทย โดยได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2505 โดยใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า "อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่" และได้รับสมญานามว่าเป็น "อุทยานมรดกของกลุ่มประเทศอาเซียน"

อุทยานแห่งชาติล่าสุดคือ

พื้นที่ได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติล่าสุดคือ อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2560 อยู่ที่ จังหวัดเชียงใหม่ ใช้เวลายาวนานถึง 26 ปี ที่กรมป่าไม้ได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เมื่อปี 2534 เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ จนมีประกาศในราขกิจจานุเบกษาให้เป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2560 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 131 ของประเทศไทย[5] และนับเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งที่สามในรัชกาลปัจจุบัน (ที่แรกคืออุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย ที่สอง อุทยานแห่งชาติขุนสถาน)

อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอสันกำแพงอำเภอดอยสะเก็ด อำเภอแม่ออนจังหวัดเชียงใหม่ และท้องที่อำเภอบ้านธิ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน เป็นพื้นที่ต้นน้ำของลุ่มน้ำปิง มีพันธุ์ไม้มีค่าและสัตว์ป่าที่สำคัญหลายชนิดและประกอบ ด้วยจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่งเช่น น้ำตก อ่างเก็บน้ำ เขื่อน หน้าผา และยอดเขาที่สูงเด่น เป็นต้น มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 320,750 ไร่ หรือ 513.20 ตารางกิโลเมตร

อุทยานแห่งชาติที่มีพื้นที่มากที่สุด

ด้วยพื้นที่ประมาณ 2,915 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,821,875 ไร่ หรือประมาณ 1.8 ล้านไร่ ทำให้อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานเป็นอุทยานแห่งชาติที่ใหญ่ที่สุดโดยได้รับการประกาศให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2524 โดยกำหนดพื้นที่บริเวณอ่างเก็บน้ำและป่าเหนือเขื่อนแก่งกระจานเป็นเขตอุทยานฯ เป็นต้นน้ำลำธารของแม่น้ำหลายสาย พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานฯ เป็นภูเขาสลับซับซ้อนอยู่ในเทือกเขาตะนาวศรี สภาพภูมิประเทศเป็นป่าดิบชื้น ยอดเขาที่สูงที่สุดในอุทยานฯ คือยอดเขางะงันนิกยวงตอง อยู่ในเขตรอยต่อประเทศพม่าและไทย มีความสูง 1,513 เมตร รองลงมาคือยอดเขาพะเนินทุ่ง ซึ่งมีความสูง 1,207 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง จากสันเขื่อนแก่งกระจาน มีถนนเลียบออกมาทางซ้ายมือเป็นระยะทาง 3 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานได้รับการจัดให้เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวมหัศจรรย์เมืองไทย ประจำเดือนเมษายน โดยมีจุดเด่น คือ "ตระการตาลานผีเสื้อในป่าแก่งกระจาน"[6]

วัตถุประสงค์การจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ

การจัดตั้ง อุทยานแห่งชาติ ในประเทศไทยมีวัตถุประสงค์ด้วยกัน 3 ประการใหญ่ ๆ คือ เพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ และเพื่อการศึกษาค้นคว้าวิจัย อธิบายได้ดังนี้ [7]

  • 1.เพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติ โดยแบ่งออกเป็นการอนุรักษ์จากสองส่วนคือ หน่วยงานภาครัฐและประชาชนชาวไทยในฐานะเจ้าของประเทศและจากการร่วมมือในการอนุรักษ์จากนานาชาติ
     *ในระดับทั้งในองค์กรภาครัฐภายในประเทศ
            *จากการอนุรักษ์โดยจากองค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้องกำกับดูแลอุทยานแห่งชาติเองและลงไปจนถึงองค์กรที่เกี่ยวข้องระดับชุมชน โดยเริ่มตั้งแต่ กระทรวง ทบวง กรม ไล่ลงไปจนถึงองค์กรระดับท้องถิ่น หรือหากโดย    
             ละเอียดคืออุทยานแห่งชาติอยู่ในสถานะของกรมโดยชื่อขององค์กรอย่างเป็นทางการคือ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นองค์กรภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีรัฐมนตรีกำกับ
             ดูแล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของอธิบดีกรมกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และนอกจากนี้ยังมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกจำนวนมาก
            *จากการอนุรักษ์โดยจากองค์กรมหาชน เช่น สถาบันการเงิน, บริษัทโทรคมนาคม, ฯลฯ
            *จากการอนุรักษ์โดยจากองค์กรเอกชน เช่น บริษัท, ห้าง, ร้าน,ห้างหุ้นส่วนจำกัด, คณะบุคคล ต่างๆ ฯลฯ
            *จากการอนุรักษ์โดยมูลนิธิต่างๆ เช่น มูลนิธิชัยพัฒนา, มูลนิธิสืบนาคะสเถียร, สมาคมอนุรักษ์ป่ามรดกโลกดงพญาเย็น เขาใหญ่, ฯลฯ
            *และจากภาคประชาชนทั้งประเทศ โดยประชากรชาวไทยทุกคนผู้เป็นส่วนหนึ่งในการเป็นเจ้าของร่วมกันของแผ่นดินเกิด
     *ในระดับนานาชาติ ตัวอย่างเช่นกรณีที่เกิดขึ้นที่วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอนจากการยื่นมือความช่วยเหลือจากนานาประเทศที่เป็นพันธมิตรกับราชอาณาจักรไทย และหน่วยงานหรือองค์กรที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางต่างหลั่งไหลมาเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากการเยี่ยมชมภายในพื้นที่วนอุทยาน อันแสดงให้ถึงการมีความเชื่อมโยงถึงกันและช่วยเหลือกันและกันในยามยากลำบากหรืออาจเกิดขึ้นจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งหากเกิดขึ้นเช่นเดียวกันกับต่างประเทศ หากราชอาณาจักรสามารถมีส่วนใดส่วนหนึ่งที่จะมีส่วนช่วยเหลือให้เกิดความสงบเรียบร้อยขึ้นและอยู่อย่างสันติสุขของประชากรโลก ไทยก็ยินดีเช่นกันที่จะไม่รีรอที่จะเข้ามีส่วนร่วมให้พ้นจากวิกฤตนั้น
  • 2.เพื่อการท่องเที่ยวและการพักผ่อนหย่อนใจของผู้คนบริเวณโดยรอบทิศทางของอุทยานแห่งชาติหรือกล่าวคือผู้คนทุกพื้นที่ที่ติดกับอุทยานแห่งชาติสามารถพักผ่อนหย่อนใจหรือมีส่วนร่วมอนุรักษ์มรดกอันล้ำค่าของชาติไว้เพื่อให้ลูกหลานได้สืบสานไปเป็นมรดกตราบนานเท่านานและเป็นความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตน
  • 3.เพื่อศึกษาค้นคว้าวิจัย พื้นที่อุทยานแห่งชาติสามารถจัดเป็นห้องทดลองทางธรรมชาติกลางแจ้ง ที่สามารถค้นคว้าวิจัยไม่มีที่สิ้นสุด เหมาะเป็นที่ศึกษาของนักศึกษา นักวิทยาศาสตร์ และประชาชนทั่วไป เพราะภายในอุทยานแห่งชาติมีสิ่งมีชีวิตสำหรับนักศึกษา นับตั้งแต่การเจริญเติบโต การพัฒนาทางชีววิทยา วิวัฒนาการ และจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป[8] พื้นที่อุทยานแห่งชาติสามารถจัดเป็นห้องทดลองทางธรรมชาติกลางแจ้ง ที่สามารถค้นคว้าวิจัยไม่มีที่สิ้นสุด เหมาะเป็นที่ศึกษาของนักศึกษา นักวิทยาศาสตร์ และประชาชนทั่วไป เพราะภายในอุทยานแห่งชาติมีสิ่งมีชีวิตสำหรับนักศึกษา นับตั้งแต่การเจริญเติบโต การพัฒนาทางชีววิทยา วิวัฒนาการ และจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป โดยในปี ค.ศ. 1961 ณ สหรัฐอเมริกาที่ประชุม Pan Pacific Science Congress โดยนักจิตวิทยาด้านการวิจัยได้ออกแบบแนวคิดอธิบายคำว่า “ Research” โดยแยกเป็นอักษรอธิบายความหมายไว้ดังนี้

R = Recruitment & Relationship หมายถึง การฝึกตนให้มีความรู้ รวมทั้งรวบรวมผู้ที่มีความรู้เพื่อปฏิบัติงานรวมกันติดต่อสัมพันธ์และประสานงานกัน

E = Education & Efficency หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องมีการศึกษามีความรู้(Education)และสมรรถภาพสูงในการวิจัย(Efficency)

S = Science & Stimulation หมายถึง เป็นศาสตร์ที่ต้องมีการพิสูจน์ค้นคว้า เพื่อหาความจริงและผู้วิจัยต้องมีความคิดริเริ่มกระตือรือร้นที่จะทำวิจัย

E = Evaluation & Equipment หมายถึงรู้จักประเมินผลว่ามีประโยชน์สมควรจะทำต่อไปหรือไม่และต้องรู้จักใช้เครื่องมือต่างๆในการวิจัย

A = Aim & Attitude หมายถึง มีจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายที่แน่นอนและมีทัศนคติที่ดีต่อการติดตามผลการวิจัย

R = Result หมายถึง การวิจัยได้มาผลเป็นอย่างไรก็ตามจะต้องยอมรับผลทางวิจัยนั้นอย่างดุษฎี และเป็นผลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบ

C = Curiosity หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องมีความอยากรู้อยากเห็นมีความสนใจและขวนขวายในการวิจัยอยู่ตลอดเวลา

H = Horizon หมายถึง เมื่อผลการวิจัยปรากฏออกมาแล้วย่อมทำให้ทราบและเข้าใจในปัญหาเหล่านั้นได้ เหมือนกับการเกิดแสงสว่างขึ้น แต่ถ้ายังไม่เกิดแสงสว่างผู้วิจัยต้องดำเนินการต่อไปจนกว่าจะพบแสงสว่าง ในทางสังคมแสงสว่าง หมายถึงผลการวิจัยก่อให้เกิดสุขแก่สังคม (อารมณ์ สนานภู่ : 2545)

        โดยเมื่อสรุปเมื่อเรานำเอาอักษร ที่ได้กล่าวถึงความหมายต่างๆข้างต้นมาวิเคราะห์ เราก็จะเห็นได้ถึงความสัมพันธ์ของ คำว่า วิจัย (Research)  กับ อริยสัจ ๔ (Noble Truth) โดย พื้นฐานก่อนที่จะมาเป็นการวิจัย (Research) นั้น เริ่มจากการที่มีความสงสัยว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นอย่างไร เปรียบได้ดังทุกข์ เป็นสิ่งที่ทนได้ยาก เนื่องเกิดจากความสงสัย เมื่อเกิดความสงสัยขึ้นมา ก็อยากรู้อยากเห็น (C=Curiosity) ซึ่งเป็นตัณหา ความทะยานอยาก เรียกว่า สมุทัย เพราะเหตุให้เกิดทุกข์ จากนั้นก็หาวิธีการต่างๆ ในการวิจัย ไม่ว่าจะเป็น (R=Recruitment, Relationship), (E=Education, Efficiency), (S=Science, Stimulation), (E=Evaluation, Equipment), (A=Aim, Attitude) และ (R=Result)ซึ่งเป็นวิธีการที่มีแบบแผนเป็นระเบียบ ซึ่งดับตัณหาได้สิ้นเชิง ทุกข์ดับไปหมด ได้ชื่อว่านิโรธ เพราะเป็นความดับทุกข์ เพราะได้ทราบถึงผลของความอยากรู้ สิ่งสุดท้ายคือ (H=Horizon) เกิดแสงสว่าง โดยผลการวิจัย ทำให้เข้าใจในปัญหาต่างๆ ทำให้เกิดความรู้ที่เรียกว่าปัญญา คือ  ปัญญาอันเห็นชอบว่าสิ่งนี้คือทุกข์ สิ่งนี้เหตุให้ทุกข์เกิด สิ่งนี้ความดับทุกข์ สิ่งนี้ทางให้ถึงความดับทุกข์ มีชื่อว่ามรรค เพราะเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงดับทุกข์ ดังที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ทำให้เห็นภาพของความสัมพันธ์ของคำว่า วิจัย (Research)  กับ อริยสัจ ๔ (Noble Truth) และสามารถที่จะเชื่อมโยงถึงกระบวนการต่าง ๆ ได้อย่างมีเหตุและผล ตามหลักของ การวิจัย และ อริยสัจ ๔

ประเภทของอุทยานแห่งชาติ

อุทยานแห่งชาติ แบ่งออกเป็น อุทยานแห่งชาติทางทะเล และ อุทยานแห่งชาติทางบก ซึ่งอุทยานแห่งชาติทางบกนั้นจะประกอบไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีความสำคัญทางระบบนิเวศวิทยา จุดประสงค์ของการมีอุทยานแห่งชาติก็เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรนั้น ๆ

=อุทยานแห่งชาติแบ่งตามภาคของประเทศไทย

กรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้แบ่งอุทยานแห่งชาติตามภาคต่างๆ ของประเทศไทยไว้ 6 ภาคดังนี้[10]

  • 1. ภาคเหนือ
  • 2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • 3. ภาคตะวันตก
  • 4. ภาคตะวันออก
  • 5. ภาคกลาง
  • 6. ภาคใต้

พรรณไม้และสัตว์ป่าที่สามารถพบเฉพาะถิ่นในอุทยานแห่งชาติแต่ละแห่ง

อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานมีความโดดเด่น เป็นศูนย์รวมสภาพผืนป่าหลายแบบในบริเวณเดียวกัน คือ ผืนป่าภาคเหนือ ผืนป่าภาคตะวันออก และผืนป่า ภาคใต้ พันธุ์ไม้หายาก เช่น จำปีเพชร Magnolia mediocris (Dandy) Figlar โมลีสยาม Reevesia pubescens Mast. var. siamensis (Craib) Anthony แตงพะเนินทุ่ง และพบ กล้วยไม้รองเท้านารีสายพันธุ์ต่างๆ จำนวนมาก รวมทั้งการค้นพบพืชพันธุ์ใหม่ๆ ที่พบครั้งแรกในโลกอยู่บ่อยครั้ง นอกเหนือไปจากนี้ยังได้มีการสำรวจพบจระเข้น้ำจืด Crocodylus Siamensis ที่ยังมีชีวิตและมีการขยายพันธุ์เพิ่มประชากร อยู่ในธรรมชาติ ซึ่งค้นพบและบันทึกภาพได้โดย แอล. บรู๊ซ แคคูลี นักถ่ายภาพชาวอเมริกัน หลังจากนั้นทางอุทยานจึงได้ปิดการล่องแพบริเวณต้นน้ำดังกล่าว เนื่องจากเกรงว่าจะไปรบกวนการขยายพันธุ์ของจระเข้ [11] แมวดาว Prionailurus bengalensis หนึ่งในแมวป่าและเสืออย่างน้อย ๖ ชนิดที่มีรายงานการพบในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน กระโถนพระราม (Sapria ram Banziger & B. Hansen) สามร้อยต่อใหญ่ Vanilla pilifera Holtum สมเสร็จ Tapirus indicus สัตว์ป่าหายาก มีเอกลักษณ์ตรงลำตัวสีขาวสลับดำ ปลายหูสีขาว จมูกยาวที่เคลื่อนไหวได้ ยังคงพบกระจายอยู่ในหลายบริเวณของป่าแก่งกระจาน[12] พบมากบนสันเขาในที่สูง นกเค้าหน้าผากขาว Otus sagittatus

พรรณไม้ที่สามารถพบในอุทยานแห่งชาติ

พรรณไม้ในที่นี้หมายถึงป่า โดยในประเทศไทยแบ่งออกเป็น ป่าไม้ในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ป่าดงดิบหรือป่าไม้ผลัดใบ (Evergeen forest) และ ป่าผลัดใบ (Deciduous Forest)[13]

ระบบนิเวศน์ของป่าไม้ชนิดที่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ชนิดไม่ผลัดใบคือมีใบเขียวตลอดเวลา หรือป่าดงดิบ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ 1. ป่าดิบเมืองร้อน (Tropical evergreen forest) 2. ป่าสน (Coniferous forest) 3. ป่าพรุหรือป่าบึง (Swamp forest) 4. ป่าชายหาด (Beach forest)

ส่วนระบบนิเวศน์ป่าชนิดที่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ชนิดผลัดใบหรือทิ้งใบเก่าในฤดูแล้ง เพื่อจะแตกใบใหม่เมื่อเข้าฤดูฝน ยกเว้นพืชชั้นล่างจะไม่ผลัดใบ จะพบป่าชนิดนี้ตั้งแต่ระดับความสูง 50-800 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. ป่าเบญจพรรณ 2. ป่าแดง ป่าแพะ หรือป่าเต็งรัง 3. ป่าหญ้า

ในที่นี้ขอแบ่งออกเป็น ไม้บก และไม้น้ำ เพื่อความเข้าใจต่อการศึกษา

  • ไม้น้ำ มีตั้งแต่ คล้าน้ำช่อตั้ง, คล้าน้ำช่อห้อย ฯลฯ


  • กล้วยไม้ มีตั้งแต่ กล้วยไม้ป่า, รองเท้านารี, เอื้อง ฯลฯ ตัวอย่างเช่น อุทยานแห่งชาติภูแลนคา พบกล้วยไม้หลากหลายชนิด อาทิ พบกล้วยไม้ทั้งหมด 2 วงศ์ย่อย 20 สกุล 34 ชนิด โดยเป็นกล้วยไม้ท่ไม่ทราบ สกุล 2 ชนิด วงศ์ย่อยที่มีจานวนสกุล และชนิดมากที่สุด คือ วงศ์ย่อย Epidendroideae พบ จานวน 17 สกุล 29 ชนิด สกุลที่มีจานวนชนิดมากที่สุดคือ Dendrobium (สกุลหวาย) และBulbophyllum (สกุลสิงโต) พบสกุลละ 5 ชนิด[14] อุทยานแห่งชาติภูกระดึง พบกล้วยไม้ทั้งหมด 2 วงศ์ย่อย 36 สกุล 76 ชนิดได้แก่ Epidendroideae พบ 29 สกุล 63 ชนิด และ Orchidoideae พบ 7 สกุล 13 ชนิดแบ่งเป็น กลว้ยไม้อิงอาศัย 33 ชนิด[15] อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว พบกล้วยไม้จำนวน 56 สกุล 129 ชนิด สกุลที่พบมากที่สุด คือสกุลหวาย (Dendrobium Sw.) มี 30 ชนิด และพบกล้วยไม้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการสูญพันธ์ 8 ชนิด ได้แก่ ผาเวียง (Dendrobium albosanguineum Lindl. ex Paxton) 􏰀กล้วยส้มสยาม (Didymoplexiella siamensis(Rolfe) Seidenf.) เอื้องคีรีวงศ์ (Didymoplexiopsis khiriwongensis Seidenf.) รองเท้านารีเหลืองปราจีน (Paphiopedilum concolor (Lindl. ex Bateman) Pfitzer) นางอั้ว (Pacteilis susanae (L.) Raf.) ช้างกระ (Rhynchostylis gigantea (Lindl.) Ridl.) สามปอยแพะ (Vanda bensonii Bateman) และเอื้องปากเป็ด (V. pumila Hook.f.)[16]

สัตว์ป่าที่สามารถพบได้ในอุทยานแห่งชาติ

สัตว์ป่าในอุทยานแห่งชาติ ในที่นี้หมายถึง สัตว์ทุกชนิดไม่ว่า สัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ปีก แมลง หรือแมง ซึ่งโดยภาพธรรมชาติย่อมเกิดและดำรงชีวิตอยู่ในป่าหรือในน้ำและให้หมายความรวมถึงไข่ของสัตว์ป่าเหล่านั้นทุกชนิดด้วย[17]



  • ผีเสื้อในอุทยานแห่งชาติ เช่น อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีผีเสื้ออยู่กว่า 189 ชนิด


  • แมงมุมในอุทยานแห่งชาติ พบความหลากหลายกว่า 500 ชนิด จาก 40,300 ชนิดทั่วโลก[25] เช่น แมงมุมฝาปิดที่อุทยานแห่งชาติแม่วงศ์[26] , แมงมุมแม่หม่ายสีน้ำตาลที่อุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่[27]

ความสวยงามของพระอาทิตย์ตกจากอุทยานแห่งชาติต่างๆ

อุทยานแห่งชาติที่สำคัญของโลก

อุทยานแห่งชาติที่มีนักท่องเที่ยวไปเยือนปีละจำนวนมาก สิบอันดับที่ถูกจัดให้เป็นอุทยานแห่งชาติยอดนิยม[28] คือ

ความหมายของอุทยานแห่งชาติ

อุทยานแห่งชาติ ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า "national park" ซึ่งหมายถึง เขตบริเวณพื้นที่ซึ่งสงวน ไว้เพื่อที่จะรักษา และทำการคุ้มครอง ทรัยากรทางธรรมชาติ นั้นๆ ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมมิให้ถูกทำลาย หรือเปลี่ยนแปลงไป ตามหลักสากลแล้ว อุทยานแห่งชาตินั้นจะต้องมีพื้นที่ ทั่วทั้งบริเวณไม่น้อยกว่า 6,250 ไร่ หรือประมาณ 10 ตารางกิโลเมตร ที่สำคัญในพื้นที่ ของอุทยานแห่งชาตินั้นจะต้องมี ธรรมชาติของ วิวทิวทัศน์ ที่สวยงาม


ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. http://www.royin.go.th/dictionary/
  2. http://portal.dnp.go.th/Content/nationalpark?contentId=1169
  3. http://portal.dnp.go.th/DNP/FileSystem/download?uuid=6c63799b-f8c5-4dc9-a153-5443f8b4debd.pdf
  4. http://portal.dnp.go.th/DNP/FileSystem/download?uuid=6c63799b-f8c5-4dc9-a153-5443f8b4debd.pdf
  5. http://portal.dnp.go.th/Content/nationalpark?contentId=3855
  6. https://th.wikipedia.org/wiki/อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
  7. http://portal.dnp.go.th/Content/nationalpark?contentId=1173
  8. http://portal.dnp.go.th/Content/nationalpark?contentId=1173
  9. https://en.wikipedia.org/wiki/Category:National_parks_of_Thailand
  10. http://portal.dnp.go.th/Content/nationalpark?contentId=5520
  11. ดันป่า ‘แก่งกระจาน’ มรดกโลก http://www.raorakpar.org/raorakparboard/index.php?topic=40.0
  12. กลุ่มป่าแก่งกระจาน กับการผลักดันสู่การเป็นมรดกโลก http://samarn.multiply.com/journal/item/73
  13. https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi2/subtiger/subt.htm
  14. http://www.edu.nrru.ac.th/edkorat/wp-content/uploads/2016/08/การศึกษาชนิดของกล้วยไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติภูแลนคา-จังหวัดชัยภูมิ.pdf
  15. http://www.chulapedia.chula.ac.th/images/7/73/Kora_1.pdf
  16. http://www.qsbg.or.th/bot/pdf/article/article-Y2552-V38-N38-23-12-2010-9-48-412.pdf
  17. https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi2/subtiger/subt.htm
  18. http://www.dnp.go.th/wildlifednp/index.php?option=com_content&view=article&id=13&Itemid=3
  19. https://mgronline.com/onlinesection/detail/9610000072414
  20. https://workpointnews.com/2018/03/05/พบสัตว์ป่าหายาก-อาทิ-เสื/
  21. https://news.thaipbs.or.th/content/272209
  22. https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_572912
  23. http://frc.forest.ku.ac.th/frcdatabase/bulletin/fforjournal/20180320_103753.pdf
  24. http://dspace.spu.ac.th/bitstream/123456789/1128/1/ธีรพล%20ทองเพชร.pdf
  25. https://www.thairath.co.th/content/337832
  26. https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_670462
  27. http://www.tnews.co.th/contents/454135
  28. https://discovercorps.com/blog/top-10-national-parks-in-the-world/