ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
สุทธิศักดิ์15132 (คุย | ส่วนร่วม)
สุทธิศักดิ์15132 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 4: บรรทัด 4:
== เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ ==
== เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ ==
# [[พีระมิดคูฟู|มหาพีระมิดแห่งกีซา]] ของกษัตริย์คูฟู ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไนล์ ใน[[ประเทศอียิปต์]] มีอายุราว 2,690 ปีก่อนคริสตกาล หรือเก่าแก่กว่านั้น เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่เก่าแก่ที่สุด และยังคงปรากฏอยู่จนปัจจุบัน และมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์
# [[พีระมิดคูฟู|มหาพีระมิดแห่งกีซา]] ของกษัตริย์คูฟู ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไนล์ ใน[[ประเทศอียิปต์]] มีอายุราว 2,690 ปีก่อนคริสตกาล หรือเก่าแก่กว่านั้น เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่เก่าแก่ที่สุด และยังคงปรากฏอยู่จนปัจจุบัน และมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์
# [[สวนลอยแห่งบาบิโลน]] สร้างโดย[[พระเจ้าเนบูคาดเนสซาร์ที่ 2]] เมื่อศตวรรษก่อนคริสตกาลที่ 6 ปัจจุบันไม่ปรากฏหลักฐานหรือซาก แต่คาดว่าน่าจะอยู่บริเวณเดียวกับกรุงบาบิโลนใน[[ประเทศอีรัก]]
# [[สวนลอยแห่งบาบิโลน]] สร้างโดย[[พระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2]] เมื่อศตวรรษก่อนคริสตกาลที่ 6 ปัจจุบันไม่ปรากฏหลักฐานหรือซาก แต่คาดว่าน่าจะอยู่บริเวณเดียวกับกรุงบาบิโลนใน[[ประเทศอีรัก]]
# [[เทวรูปซูสที่โอลิมเปีย]] ที่[[เมืองโอลิมเปีย]] [[ประเทศกรีก]] สร้างเมื่อประมาณ 462 ปีก่อนคริสตกาล สร้างและตกแต่งด้วยทองคำ งาช้าง และ[[อัญมณี]]ต่างๆ มีความสูง 12 เมตร ภายหลังถูกไฟไหม้เสียหายจนหมดสิ้น
# [[เทวรูปซูสที่โอลิมเปีย]] ที่[[เมืองโอลิมเปีย]] [[ประเทศกรีก]] สร้างเมื่อประมาณ 462 ปีก่อนคริสตกาล สร้างและตกแต่งด้วยทองคำ งาช้าง และ[[อัญมณี]]ต่างๆ มีความสูง 12 เมตร ภายหลังถูกไฟไหม้เสียหายจนหมดสิ้น
# [[วิหารอาร์ทิมิส]] (หรือ วิหารไดอานา) ที่เอเฟซุสในเอเชียไมเนอร์ ([[ประเทศตุรกี]]) สร้างขึ้นเมื่อศตวรรษก่อนคริสตกาลที่ 4 ภายหลังถูกทำลายโดยพวกโกธส์จาก[[เยอรมัน]]ที่บุกเข้ามาโจมตี เมื่อปี [[พ.ศ. 805]] ปัจจุบันพอเหลือซากอยู่บ้าง
# [[วิหารอาร์ทิมิส]] (หรือ วิหารไดอานา) ที่เอเฟซุสในเอเชียไมเนอร์ ([[ประเทศตุรกี]]) สร้างขึ้นเมื่อศตวรรษก่อนคริสตกาลที่ 4 ภายหลังถูกทำลายโดยพวกโกธส์จาก[[เยอรมัน]]ที่บุกเข้ามาโจมตี เมื่อปี [[พ.ศ. 805]] ปัจจุบันพอเหลือซากอยู่บ้าง

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:43, 23 กรกฎาคม 2561

เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ

เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก (อังกฤษ: Seven Wonders of the World) คือ สิ่งก่อสร้างที่มีความยิ่งใหญ่และโดดเด่น ทั้งหมด 7 แห่งด้วยกัน โดยมีการกล่าวถึงครั้งแรกในงานของเฮโรโดตุส (Herodotos หรือ Herodotus เมื่อราว 5 ศตวรรษก่อนคริสตกาล แต่หลังจากนั้นก็การอ้างถึงจากกวีชาวกรีก เช่น คัลลิมาฆุส แห่งคีเรนี, อันทิพาเตอร์ แห่งซีดอน และฟิโล แห่งไบเซนไทน์ เมื่อราวศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ หรือสิ่งมหัศจรรย์ทั้งเจ็ดของโลก ในบัญชีแรก เรียกกันว่า เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ และหลังจากนั้น ยังมีบัญชีเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลางและยุคปัจจุบัน โดยไม่ปรากฏผู้จัดทำรายการอย่างชัดเจน

เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ

  1. มหาพีระมิดแห่งกีซา ของกษัตริย์คูฟู ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไนล์ ในประเทศอียิปต์ มีอายุราว 2,690 ปีก่อนคริสตกาล หรือเก่าแก่กว่านั้น เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่เก่าแก่ที่สุด และยังคงปรากฏอยู่จนปัจจุบัน และมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์
  2. สวนลอยแห่งบาบิโลน สร้างโดยพระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 เมื่อศตวรรษก่อนคริสตกาลที่ 6 ปัจจุบันไม่ปรากฏหลักฐานหรือซาก แต่คาดว่าน่าจะอยู่บริเวณเดียวกับกรุงบาบิโลนในประเทศอีรัก
  3. เทวรูปซูสที่โอลิมเปีย ที่เมืองโอลิมเปีย ประเทศกรีก สร้างเมื่อประมาณ 462 ปีก่อนคริสตกาล สร้างและตกแต่งด้วยทองคำ งาช้าง และอัญมณีต่างๆ มีความสูง 12 เมตร ภายหลังถูกไฟไหม้เสียหายจนหมดสิ้น
  4. วิหารอาร์ทิมิส (หรือ วิหารไดอานา) ที่เอเฟซุสในเอเชียไมเนอร์ (ประเทศตุรกี) สร้างขึ้นเมื่อศตวรรษก่อนคริสตกาลที่ 4 ภายหลังถูกทำลายโดยพวกโกธส์จากเยอรมันที่บุกเข้ามาโจมตี เมื่อปี พ.ศ. 805 ปัจจุบันพอเหลือซากอยู่บ้าง
  5. สุสานแห่งฮาลิคาร์นัสเซิส ที่ฮาลิคาร์นัสซัสในเอเชียไมเนอร์ (ประเทศตุรกี) สร้างโดยพระราชินีอาร์เทมิเซีย เป็นอนุสรณ์สถานแก่กษัตริย์มอโซลุสแห่งคาเรียที่สวรรคตเมื่อ 353 ปีก่อนคริสตกาล ถูกทำลายโดยแผ่นดินไหวและต่อมานำไปใช้ในการก่อสร้างโดยอัศวินแห่งโรดส์ ปัจจุบันพอเหลือซากอยู่บ้าง
  6. มหารูปแห่งโรดส์ ในทะเลเอเจียน ประเทศกรีก เป็นรูปสำริด(สัมฤทธิ์)ขนาดใหญ่ของสุริยเทพ หรือเฮลิเอิส สูงประมาณ 32 เมตร ถูกทำลายโดยแผ่นดินไหวหลังการสร้างเพียง 60 ปี ปัจจุบันไม่ปรากฏซาก
  7. ประภาคารฟาโรสแห่งอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ สมัยพระเจ้าปโตเลมี ประมาณ 271 ปีก่อนคริสตกาล ถูกทำลายโดยสิ้นเชิงเมื่อแผ่นดินไหวในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ปัจจุบันมีป้อมขนาดเล็กอยู่บนซากที่เหลือ

เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลาง

สิ่งมหัศจรรย์ทั้งเจ็ดจัดเป็นสิ่งก่อสร้างของโลกสมัยกลาง ไม่ทราบแน่ชัดว่าใครได้กำหนดไว้ และรายการในยุคกลางก็ระบุไว้ไม่ตรงกัน แต่โดยมากจะยอมรับกับรายการต่อไปนี้[1][2][3][4]

  1. โคลอสเซียม สนามกีฬาแห่งกรุงโรม ประเทศอิตาลี
  2. สุสานแห่งอเล็กซานเดรีย สุสานใต้ดินเมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์
  3. กำแพงเมืองจีน ประเทศจีน
  4. สโตนเฮนจ์ ในอังกฤษ
  5. เจดีย์กระเบื้องเคลือบ เมืองหนานจิง ประเทศจีน
  6. หอเอนเมืองปิซา ประเทศอิตาลี
  7. ฮายาโซฟีอา แห่งคอนสแตนติโนเปิล (ปัจจุบันคือ กรุงอิสตันบูล) ประเทศตุรกี

เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคปัจจุบัน

มีการจัดทำรายการเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกปัจจุบันไว้หลายรายการ เช่น

กลุ่มวิศวกรโยธาแห่งสหรัฐอเมริกาได้รวบรวมรายชื่อของเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ในโลกยุคปัจจุบันไว้ดังนี้

  1. อุโมงค์รถไฟใต้ทะเล ประเทศอังกฤษ-ฝรั่งเศส
  2. ซีเอ็น ทาวเวอร์ ประเทศแคนาดา
  3. เขื่อนอิไตปู ประเทศบราซิล-ปารากวัย
  4. ตึกเอ็มไพร์สเตต ประเทศสหรัฐอเมริกา
  5. เดลต้า เวิร์ค ประเทศเนเธอร์แลนด์
  6. สะพานโกลเดนเกต ประเทศสหรัฐอเมริกา
  7. คลองปานามา ทวีปอเมริกาใต้

ด้านมูลนิธิ New7Wonders จัดระเบียบการริเริ่มนิว7วันเดอส์ออฟเดอะเวิลด์ ซึ่งได้เปิดเผยรายการเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกที่มาจากการสอบถามความเห็นดังนี้

  1. ชีเชนอิตซา
  2. กริชตูเรเดงโตร์
  3. กำแพงเมืองจีน
  4. มาชูปิกชู
  5. เปตรา
  6. โคลอสเซียม
  7. ทัชมาฮัล

อ้างอิง

  1. I H Evans (reviser), Brewer's Dictionary of Phrase and Fable (Centenary edition Fourth impression (corrected); London: Cassell, 1975), page 1163
  2. Hereward Carrington (1880–1958), "The Seven Wonders of the World: ancient, medieval and modern", reprinted in the Carington Collection (2003) ISBN 0-7661-4378-3, C&pg=PP15&dq=Carrington+Collection+Seven+Wonders+of+the+Middle+Ages&hl=en&sa=X&ei=cgY-T-3JGsqMiAK21_mgAQ&ved=0CDwQ6AEwAA#v=onepage&q&f=false page 14.
  3. Edward Latham. A Dictionary of Names, Nicknames and Surnames, of Persons, Places and Things (1904), dm2PkC&pg=PA280&lpg=PA280&dq=%22seven+wonders+of+the+middle+ages%22 page 280.
  4. Francis Trevelyan Miller, Woodrow Wilson, William Howard Taft, Theodore Roosevelt. America, the Land We Love (1915), page 201.