ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอกะทู้"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Olarnwilawan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Fame0093 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 15: บรรทัด 15:
| phone = 0 7632 1133
| phone = 0 7632 1133
| fax = 0 7632 1133
| fax = 0 7632 1133
| คำขวัญ = ขุนเขาโอบล้อม เพียบพร้อมวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ ขบวนแห่กินผัก อนุรักษ์ประเพณี
| คำขวัญ =
}}
}}
'''กะทู้''' เป็น[[อำเภอ]]หนึ่งในสามอำเภอของ[[จังหวัดภูเก็ต]]
'''กะทู้''' เป็น[[อำเภอ]]หนึ่งในสามอำเภอของ[[จังหวัดภูเก็ต]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:17, 15 กรกฎาคม 2561

อำเภอกะทู้
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Kathu
คำขวัญ: 
ขุนเขาโอบล้อม เพียบพร้อมวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ ขบวนแห่กินผัก อนุรักษ์ประเพณี
แผนที่จังหวัดภูเก็ต เน้นอำเภอกะทู้
แผนที่จังหวัดภูเก็ต เน้นอำเภอกะทู้
พิกัด: 7°54′32″N 98°19′59″E / 7.90889°N 98.33306°E / 7.90889; 98.33306
ประเทศ ไทย
จังหวัดภูเก็ต
พื้นที่
 • ทั้งหมด67.09 ตร.กม. (25.90 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)
 • ทั้งหมด57,250 คน
 • ความหนาแน่น853.33 คน/ตร.กม. (2,210.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 83120, 83150 (เฉพาะตำบลป่าตองและตำบลกมลา)
รหัสภูมิศาสตร์8302
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอกะทู้ เลขที่ 51/16 ถนนวิชิตสงคราม ตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต 83120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

กะทู้ เป็นอำเภอหนึ่งในสามอำเภอของจังหวัดภูเก็ต

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอกะทู้มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

ที่มาของชื่อ

หาดป่าตอง

อำเภอกะทู้สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากคำว่า "กราบาตู" แปลว่า อ่าวหิน แล้วหดลงเป็น "กราตู" แล้วเป็น "กราทู" "กระทู" และ"กะทู" ตามลำดับ ในใบบอกเรื่องการปราบอั้งยี่ของหมื่นเสมอใจราช (พระยามนตรีสุริยวงศ์ ชื่น บุนนาค) พ.ศ. 2419 ก็เขียนว่า "กะทู" แต่ต่อมาเปลี่ยนเป็น กะทู้ เพื่อให้มีความหมายในภาษาไทย และคำนี้ก็อาจจะมาจากคำว่า "กราซาตู" แปลว่า อ่าวที่หนึ่ง ก็ได้

บ้างก็ว่าชื่อดังกล่าวมาจากภาษาจีนคำว่า ล่ายทู, ไล่ทู หรือไนทู[1]

ประวัติ

เมื่อศัตรูเข้าโจมตีเมืองถลางแตกในปี พ.ศ. ๒๓๕๒ พญาถลางเจ๊ะมะเจิมได้ย้ายเมืองถลางจากบ้านเคียน (ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง) มาตั้งที่ทำการอยู่ที่บ้านท่าเรือ(ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง)แล้ว บุตรชายคือพญาวิชิตสงคราม(แก้ว)ไปเป็นเจ้าเมืองภูเก็ตอยู่ที่บ้านเก็ตโฮ่ (ตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้) พระยาวิชิตสงคราม (ทัด) ย้ายเมืองภูเก็ตไปตั้งอยู่ที่บ้านทุ่งคาปากคลองบางใหญ่ เพื่อเป็นคลังแร่ดีบุกที่ขนย้ายมาจากเมืองภูเก็จที่เก็ตโฮ่และส่งไปต่างประเทศจากท่าเรือที่สะพานหิน เมืองภูเก็จที่เก็ตโฮ่เป็นลานแร่ดีบุกที่ต้องใช้กุลีจำนวนมากเพราะเหมืองแร่พัฒนาจากเหมืองบ่อไปเป็นเหมืองหาบ กุลีชาวจีนฮกเกี้ยนจึงเข้ามามากในสมัยรัชกาลที่ ๔ - ๕ เมื่อรัชกาลที่ ๕ ทรงปรับปรุงระบบราชการ ได้แบ่งเมืองภูเก็จไปเป็นอำเภอทุ่งคาและเมืองภูเก็จบ้านเก็ตโฮ่เป็นอำเภอกะทู้

ประชากร

ประชากรในอำเภอกะทู้ มีหลายชาติพันธุ์ มีชาวจีนกลุ่มต่าง ๆ อาศัยอยู่จำนวนมาก ชาวจีนกวางตุ้ง ไหหลำ ฮกเกี้ยน เปอรานากัน(Peranakan) โดยส่วนมากเป็นชาวจีนฮกเกี้ยน และเปอรานากัน ที่มาปักหลักฐานอยู่เมื่อสมัยเหมืองแร่ดีบุก และยังมีชาวมอญ ที่อาศัยอยู่บริเวณป่าตองแต่มีจำนวนน้อยกว่าชาวจีน

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอกะทู้แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 ตำบล 14 หมู่บ้าน ได้แก่

1. กะทู้ (Kathu) 8 หมู่บ้าน
2. ป่าตอง (Pa Tong) -
3. กมลา (Kamala) 6 หมู่บ้าน
แผนที่ตำบล

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอกะทู้ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 แห่ง ได้แก่

ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว

  • ศาลเจ้ากะทู้ (ไลทูเต๊าบูเก๊ง) มีเลาเอี๋ยเป็นเทพประธานประจำศาลเจ้า เป็นศาลเจ้าแรกที่ประกอบพิธีการกินผัก (เจี๊ยะฉ่าย) มาก่อน 180 ปี
  • น้ำตกกะทู้ ไหลจากเขาหว้าซึ่งเป็นควนเขาสูงอันดับที่ 2 ของจังหวัดภูเก็ต
  • พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ เปิดในวันทำการราชการ แสดงนิทรรศการการทำเหมืองแร่เหมืองรู เหมืองปล่อง เหมืองแล่น เหมืองหาบ เหมืองสูบ-ฉีด เหมืองเรือขุด มีแร่ดีบุก โลหะดีบุก แทนทาลัม และวิถีชีวิตของชาวกะทู้

อ้างอิง

  1. เทศบาลเมืองกะทู้ จังหวัดภูเก็ต. ข้อมูลทั่วไป. เรียกดูเมื่อ 8 เมษายน 2556