ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชลัญจกรประจำรัชกาล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xiengyod (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 33: บรรทัด 33:
ภาพ:Logo07.gif|พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 7
ภาพ:Logo07.gif|พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 7
ภาพ:Logo08.gif|พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 8
ภาพ:Logo08.gif|พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 8
ภาพ:Rama9-emblem-longest-riegn.png|พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 9 (เป็นภาพประธานในตรา[[พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑|พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก]])
ภาพ:ตรา มรภ.สุราษฎร์ธานี.jpg|พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 9 (ภาพนี้เป็นตราประจำ[[มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี]])
</gallery>
</gallery>
* '''พระราชลัญจกรประจำ[[รัชกาลที่ 7]]''' เรียกว่า พระราชลัญจกรพระแสงศร ลักษณะเป็นรูปพระแสงศร 3 องค์ คือ พระแสงศรพรหมาสตร์ พระแสงศรประลัยวาต พระแสงศรอัคนีวาต อันเป็นเทพอาวุธของ[[พระพรหม]] [[พระอิศวร]] และ[[พระนารายณ์]]ตามลำดับ เหนือราวพาดพระแสงเป็นดวงตรา[[ราชวงศ์จักรี|มหาจักรีบรมราชวงศ์]]ภายใต้[[พระมหาพิชัยมงกุฎ]] เบื้องซ้ายและเบื้องขวาของราวพาดพระแสงตั้ง[[บังแทรก]] สอดแทรกด้วยลายกนกอยู่บนพื้นตอนบนของดวงตรา พระแสงศร 3 องค์นี้ เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธยว่า "ประชาธิปกศักดิเดชน์" ซึ่งมาจากความหมายของศัพท์คำสุดท้ายของวรรคที่ว่า "เดชน์" แปลว่า ลูกศร องค์พระราชลัญจกรนี้เป็นตรางากลมรีรูปไข่แนวนอน กว้าง 5.4 เซนติเมตร ยาว 6.7 เซนติเมตร
* '''พระราชลัญจกรประจำ[[รัชกาลที่ 7]]''' เรียกว่า พระราชลัญจกรพระแสงศร ลักษณะเป็นรูปพระแสงศร 3 องค์ คือ พระแสงศรพรหมาสตร์ พระแสงศรประลัยวาต พระแสงศรอัคนีวาต อันเป็นเทพอาวุธของ[[พระพรหม]] [[พระอิศวร]] และ[[พระนารายณ์]]ตามลำดับ เหนือราวพาดพระแสงเป็นดวงตรา[[ราชวงศ์จักรี|มหาจักรีบรมราชวงศ์]]ภายใต้[[พระมหาพิชัยมงกุฎ]] เบื้องซ้ายและเบื้องขวาของราวพาดพระแสงตั้ง[[บังแทรก]] สอดแทรกด้วยลายกนกอยู่บนพื้นตอนบนของดวงตรา พระแสงศร 3 องค์นี้ เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธยว่า "ประชาธิปกศักดิเดชน์" ซึ่งมาจากความหมายของศัพท์คำสุดท้ายของวรรคที่ว่า "เดชน์" แปลว่า ลูกศร องค์พระราชลัญจกรนี้เป็นตรางากลมรีรูปไข่แนวนอน กว้าง 5.4 เซนติเมตร ยาว 6.7 เซนติเมตร
* '''พระราชลัญจกรประจำ[[รัชกาลที่ 8]]''' ลักษณะเป็นรูป[[พระโพธิสัตว์]]ประทับบนบัลลังก์[[ดอกบัว]] ห้อยพระบาทขวาเหนือบัวบาน(ซึ่งดัดแปลงจากพระราชลัญจกรโพธิสัตว์สวนดุสิตในรัชกาลที่ 5) หมายถึงแผ่นดิน พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัวตูม และมีเรือนแก้วด้านหลังแทนรัศมี มีแท่นรองรับตั้งฉัตรบริวารทั้งสองข้าง เป็นพระราชสัญลักษณ์ของบรมนามาภิไธยว่า "อานันทมหิดล" ซึ่งแปลความว่า เป็นที่ยินดีของแผ่นดิน เพราะพระองค์ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ใน[[ระบอบประชาธิปไตย]] ด้วยความยินดีของอเนกนิกรชาวไทย ประหนึ่งพระโพธิสัตว์เสด็จมาประทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ทวยราษฎร์ทั้งมวล องค์พระราชลัญจกรนี้เป็นตรากลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 7 เซนติเมตร
* '''พระราชลัญจกรประจำ[[รัชกาลที่ 8]]''' ลักษณะเป็นรูป[[พระโพธิสัตว์]]ประทับบนบัลลังก์[[ดอกบัว]] ห้อยพระบาทขวาเหนือบัวบาน(ซึ่งดัดแปลงจากพระราชลัญจกรโพธิสัตว์สวนดุสิตในรัชกาลที่ 5) หมายถึงแผ่นดิน พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัวตูม และมีเรือนแก้วด้านหลังแทนรัศมี มีแท่นรองรับตั้งฉัตรบริวารทั้งสองข้าง เป็นพระราชสัญลักษณ์ของบรมนามาภิไธยว่า "อานันทมหิดล" ซึ่งแปลความว่า เป็นที่ยินดีของแผ่นดิน เพราะพระองค์ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ใน[[ระบอบประชาธิปไตย]] ด้วยความยินดีของอเนกนิกรชาวไทย ประหนึ่งพระโพธิสัตว์เสด็จมาประทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ทวยราษฎร์ทั้งมวล องค์พระราชลัญจกรนี้เป็นตรากลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 7 เซนติเมตร
* '''พระราชลัญจกรประจำ[[รัชกาลที่ 9]]''' เป็นรูป[[พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์]] ประกอบด้วยวง[[จักร]] กลางวงจักรมีอักขระเป็น "อุ" หรือ "เลข ๙" รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ เหนือจักรเป็นรูปเศวตฉัตร 7 ชั้น ฉัตรตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ แปลความหมายว่า ทรงมีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดิน โดยที่วันบรมราชาภิเษก ตามโบราณราชประเพณี ได้เสด็จประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศ [[สมาชิกรัฐสภา]]ถวายน้ำอภิเษกจากทิศทั้ง 8 นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย ทรงรับน้ำอภิเษกจากสมาชิกรัฐสภา แทนที่จะรับจาก[[ราชบัณฑิต]]ดั่งในรัชกาลก่อน องค์พระราชลัญจกรนี้เป็นตรากลมรีรูปไข่แนวตั้ง กว้าง 5 เซนติเมตร สูง 6.7 เซนติเมตร
* '''พระราชลัญจกรประจำ[[รัชกาลที่ 9]]''' เป็นรูป[[พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์]] ประกอบด้วยวง[[จักร]] กลางวงจักรมีอักขระเป็น "อุ" หรือ "เลข ๙" รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ เหนือจักรเป็นรูปเศวตฉัตร 7 ชั้น ฉัตรตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ แปลความหมายว่า ทรงมีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดิน โดยที่วันบรมราชาภิเษก ตามโบราณราชประเพณี ได้เสด็จประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศ [[สมาชิกรัฐสภา]]ถวายน้ำอภิเษกจากทิศทั้ง 8 นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย ทรงรับน้ำอภิเษกจากสมาชิกรัฐสภา แทนที่จะรับจาก[[ราชบัณฑิต]]ดั่งในรัชกาลก่อน องค์พระราชลัญจกรนี้เป็นตรากลมรีรูปไข่แนวตั้ง กว้าง 5 เซนติเมตร สูง 6.7 เซนติเมตร <br/>พระราชลัญจกรองค์นี้นอกจากจะใช้ประทับในเอกสารสำคัญส่วนพระองค์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับราชการแผ่นดินแล้ว ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานตรานี้แก่[[สถาบันอุดมศึกษา]]กลุ่ม[[มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล]]และ[[มหาวิทยาลัยราชภัฏ]] ใช้เป็นตราประจำมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งในเครือของตน และยังได้มีพระบรมราชานุญาตให้ใช้เป็นภาพประธานในตราสัญลักษณ์งานพระราชพิธีสำคัญต่างๆ ในรัขกาลของพระองค์ ได้แก่ [[ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก|พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก]] [[ตราสัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี|งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี]] และ[[ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐|งานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา]]อีกด้วย


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:50, 15 ตุลาคม 2550

พระราชลัญจกรประจำรัชกาล เป็นตราประจำพระองค์ของพระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาล ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อเริ่มต้นรัชกาล เพื่อประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในเอกสารสำคัญต่างๆ ของชาติ ที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา และเอกสารสำคัญส่วนพระองค์ ที่ไม่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน พระราชลัญจกรนับเป็นเครื่องมงคลที่แสดงถึงอิสริยยศและพระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์

ประวัติ

ปรากฏหลักฐานว่าพระราชลัญจกรประจำรัชกาลมีใช้มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้วในเอกสารต่างประเทศ โดยมีการพิมพ์ภาพจำลองพระราชลัญจกรรูปเทวดา 4 กร ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นพระราชลัญจกรพระนารายณ์ทรงครุฑ ประจำพระองค์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตีพิมพ์อยู่ในหนังสือ จดหมายเหตุลาลูแบร์ ซึ่งเขียนโดย ซิมง เดอ ลา ลูแบร์ แต่เนื่องจากเอกสารสมัยกรุงศรีอยุธยาส่วนใหญ่สูญหายไปกับการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ทำให้ไม่อาจสืบทราบได้ชัดเจนว่า พระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาลใช้ตราอะไรเป็นพระราชลัญจกรประจำรัชกาล

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นั้น ก่อนสมัยรัชกาลที่ 4 ปรากฏหลักฐานรอยประทับพระราชลัญจกรประจำรัชกาลเพียงพระราชลัญจกรที่เชื่อว่าเป็นพระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 2 เท่านั้น คือ พระราชลัญจกรไตรสารเศวต อย่างไรก็ตาม ก็มีการใช้สัญลักษณ์ประจำรัชกาลต่างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 โดยปรากฏหลักฐานอยู่ในเงินพดด้วงสมัยดังกล่าวอยู่แล้ว

ธรรมเนียมการใช้พระราชลัญจกรประจำรัชกาลปรากฏหลักฐานชัดเจนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งมีการประทับพระราชลัญจกรพระมหามงกุฎและพระราชลัญจกรพระจุฑามณี ในเอกสารส่วนพระองค์ เช่น พระราชหัตถเลขา ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวตามลำดับ

เมื่อมีงานรัตนโกสินทรสมโภชครบ 100 ปี ใน พ.ศ. 2425 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างพระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 1 - รัชกาลที่ 3 เพื่ออุทิศถวายพระมหากษัตริย์ทั้งสามรัชกาลข้างต้น หลังจากนั้น พระมหากษัตริย์ในรัชกาลต่อๆ มาก็ทรงสร้างพระราชลัญจกรประจำรัชกาลของพระองค์ใช้มาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลของพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี

  • พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 1 เป็นรูปปทุมอุณาโลม มีอักขระ "อุ" แบบอักษรขอมอยู่กลาง ล้อมรอบด้วยกลีบบัวอันเป็น พฤกษชาติที่เป็นสิริมงคลในพุทธศาสนา ตราอุณาโลมมีรูปร่างคล้ายสังข์ทักษิณาวรรต (สังข์เวียนขวา) อยู่ในกรอบลายกนก เริ่มใช้คราวพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อ พ.ศ. 2328
  • พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 2 เป็นรูปครุฑยุดนาค เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธยว่า "ฉิม" ตามความหมายของวรรณคดีไทย คือ พญาครุฑซึ่งในเทพนิยายเทวกำเนิด เป็นเทพองค์หนึ่งที่ทรงมหิทธานุภาพยิ่ง แต่ยอมเป็นเทพพาหนะสำหรับพระนารายณ์ ปกติอยู่ที่วิมานฉิมพลี ดังนั้นทรงพระกรุณาให้ใช้รูปครุฑยุดนาค เป็นพระราชสัญลักษณ์ประจำพระองค์ แทนพระบรมนามาภิไธย
  • พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 3 เป็นรูปปราสาท เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธยว่า "ทับ" หมายความว่า ที่อยู่ หรือเรือน ดังนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดกล้าฯ ให้สร้างรูปปราสาท เป็นพระราชสัญลักษณ์ประจำพระองค์ แทนพระบรมนามาภิไธย

พระราชลัญจกรทั้ง 3 องค์นี้เดิมเป็นเพียงพระราชสัญลักษณ์ที่ปรากฏในที่ต่างๆ เช่น เงินพดด้วง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระราชลัญจกรเหล่านี้ขึ้นเพื่ออุทิศถวายพระมหากษัตริย์ทั้งสามพระองค์เมื่อ พ.ศ. 2425 ตราทั้งหมดเป็นตรากลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 7 เซนติเมตร

  • พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 4 เรียกว่า พระราชลัญจกรพระมหามงกุฎ ลักษณะเป็นรูปกลมรี ลายกลางเป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎ อันเป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธยว่า "มงกุฎ" ซึ่งเป็นศิราภรณ์สำคัญของพระมหากษัตริย์ อยู่ในเครื่องเบญจราชกุธภัณฑ์ มีฉัตรบริวารตั้งขนาบข้างที่ริมขอบทั้งสองข้าง มีพานทองสองชั้นวางพระแว่นสุริยกานต์หรือเพชรข้างหนึ่ง สมุดตำราข้างหนึ่ง รูปพระแว่นสุริยกานต์หรือเพชรนี้มาจากฉายาเมื่อทรงผนวชว่า "วชิรญาณ" ส่วนสมุดตำรามาจากเหตุที่ได้ทรงศึกษาเชี่ยวชาญในทางอักษรศาสตร์และดาราศาสตร์ องค์พระราชลัญจกรนี้เป็นตรากลมรีรูปไข่แนวนอน กว้าง 5.5 เซนติเมตร ยาว 6.8 เซนติเมตร
  • พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 5 เรียกว่า พระราชลัญจกรพระเกี้ยวยอด ลักษณะเป็นรูปพระจุลมงกุฎ (หรือพระเกี้ยว) เปล่งรัศมีประดิษฐ์บนพานแว่นฟ้า เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธยว่า "จุฬาลงกรณ์" ซึ่งแปลความหมายว่าเป็นศิราภรณ์ชนิดหนึ่งอย่างมงกุฎ มีฉัตรบริวารตั้งขนาบข้าง ที่ริมขอบทั้งสองข้างมีพานแว่นฟ้าและพระแว่นสุริยกานต์หรือเพชรข้างหนึ่ง วางสมุดตำราข้างหนึ่ง พระแว่นสุริยกานต์หรือเพชรและสมุดตำรานั้น เป็นการเจริญรอยจำลองพระราชลัญจกรประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นสมเด็จพระบรมชนกนาถ องค์พระราชลัญจกรนี้เป็นตรากลมรีรูปไข่แนวนอน กว้าง 5.5 เซนติเมตร ยาว 6.8 เซนติเมตร
  • พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 6 เรียกว่า พระราชลัญจกรพระวชิระ เป็นรูปวชิราวุธ เปล่งรัศมีเป็นสายฟ้า ประดิษฐ์บนพานแว่นฟ้าตั้งอยู่เหนือตั่ง มีฉัตรกลีบบัวตั้งอยู่สองข้าง เป็นสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธย "วชิราวุธ" ซึ่งหมายถึง สายฟ้าอันเป็นเทพศาสตราของพระอินทร์ องค์พระราชลัญจกรนี้เป็นตรากลมรีรูปไข่แนวนอน กว้าง 5.5 เซนติเมตร ยาว 6.8 เซนติเมตร
  • พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 7 เรียกว่า พระราชลัญจกรพระแสงศร ลักษณะเป็นรูปพระแสงศร 3 องค์ คือ พระแสงศรพรหมาสตร์ พระแสงศรประลัยวาต พระแสงศรอัคนีวาต อันเป็นเทพอาวุธของพระพรหม พระอิศวร และพระนารายณ์ตามลำดับ เหนือราวพาดพระแสงเป็นดวงตรามหาจักรีบรมราชวงศ์ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ เบื้องซ้ายและเบื้องขวาของราวพาดพระแสงตั้งบังแทรก สอดแทรกด้วยลายกนกอยู่บนพื้นตอนบนของดวงตรา พระแสงศร 3 องค์นี้ เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธยว่า "ประชาธิปกศักดิเดชน์" ซึ่งมาจากความหมายของศัพท์คำสุดท้ายของวรรคที่ว่า "เดชน์" แปลว่า ลูกศร องค์พระราชลัญจกรนี้เป็นตรางากลมรีรูปไข่แนวนอน กว้าง 5.4 เซนติเมตร ยาว 6.7 เซนติเมตร
  • พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 8 ลักษณะเป็นรูปพระโพธิสัตว์ประทับบนบัลลังก์ดอกบัว ห้อยพระบาทขวาเหนือบัวบาน(ซึ่งดัดแปลงจากพระราชลัญจกรโพธิสัตว์สวนดุสิตในรัชกาลที่ 5) หมายถึงแผ่นดิน พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัวตูม และมีเรือนแก้วด้านหลังแทนรัศมี มีแท่นรองรับตั้งฉัตรบริวารทั้งสองข้าง เป็นพระราชสัญลักษณ์ของบรมนามาภิไธยว่า "อานันทมหิดล" ซึ่งแปลความว่า เป็นที่ยินดีของแผ่นดิน เพราะพระองค์ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย ด้วยความยินดีของอเนกนิกรชาวไทย ประหนึ่งพระโพธิสัตว์เสด็จมาประทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ทวยราษฎร์ทั้งมวล องค์พระราชลัญจกรนี้เป็นตรากลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 7 เซนติเมตร
  • พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 9 เป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ประกอบด้วยวงจักร กลางวงจักรมีอักขระเป็น "อุ" หรือ "เลข ๙" รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ เหนือจักรเป็นรูปเศวตฉัตร 7 ชั้น ฉัตรตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ แปลความหมายว่า ทรงมีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดิน โดยที่วันบรมราชาภิเษก ตามโบราณราชประเพณี ได้เสด็จประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศ สมาชิกรัฐสภาถวายน้ำอภิเษกจากทิศทั้ง 8 นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย ทรงรับน้ำอภิเษกจากสมาชิกรัฐสภา แทนที่จะรับจากราชบัณฑิตดั่งในรัชกาลก่อน องค์พระราชลัญจกรนี้เป็นตรากลมรีรูปไข่แนวตั้ง กว้าง 5 เซนติเมตร สูง 6.7 เซนติเมตร
    พระราชลัญจกรองค์นี้นอกจากจะใช้ประทับในเอกสารสำคัญส่วนพระองค์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับราชการแผ่นดินแล้ว ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานตรานี้แก่สถาบันอุดมศึกษากลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลและมหาวิทยาลัยราชภัฏ ใช้เป็นตราประจำมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งในเครือของตน และยังได้มีพระบรมราชานุญาตให้ใช้เป็นภาพประธานในตราสัญลักษณ์งานพระราชพิธีสำคัญต่างๆ ในรัขกาลของพระองค์ ได้แก่ พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี และงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษาอีกด้วย

อ้างอิง

ดูเพิ่ม