ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าแก้วมงคล ณ เชียงใหม่"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
พงษ์ศักดิิ์ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ พงษ์ศักดิิ์ (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Pongsak ksm
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
บรรทัด 29: บรรทัด 29:


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
เจ้าแก้วมงคล ณ เชียงใหม่ เป็นโอรสในเจ้าราชวงศ์น้อยเลาแก้ว กับเจ้าจันทร์จร ณ เชียงใหม่ ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2446 เข้ารับการศึกษาที่[[โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า|โรงเรียนนายร้อย]] จากนั้นได้เข้ารับราชการเป็น[[กองทัพอากาศไทย|ทหารอากาศ]] ต่อมาถูกจับและคุมขังในข้อหากบฏ พร้อมกับคณะ[[กบฏบวรเดช]]<ref>[http://www.thainews70.com/news/news-culture-arnu/view.php?topic=209 เชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๑๒]</ref> หลังจากพ้นโทษจึงกลับมาใช้ชีวิตที่[[อำเภอแม่ริม]] กับเจ้าแสงดาว มีธิดา 1 คน คือ [[เจ้าประกายแก้ว ณ เชียงใหม่]]
เจ้าแก้วมงคล ณ เชียงใหม่ เป็นโอรสในเจ้าราชวงศ์น้อยเลาแก้ว กับเจ้าจันทร์จร ณ เชียงใหม่ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2446 เข้ารับการศึกษาที่[[โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า|โรงเรียนนายร้อย]] จากนั้นได้เข้ารับราชการเป็น[[กองทัพอากาศไทย|ทหารอากาศ]] ต่อมาถูกจับและคุมขังในข้อหากบฏ พร้อมกับคณะ[[กบฏบวรเดช]]<ref>[http://www.thainews70.com/news/news-culture-arnu/view.php?topic=209 เชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๑๒]</ref> หลังจากพ้นโทษจึงกลับมาใช้ชีวิตที่[[อำเภอแม่ริม]] กับเจ้าแสงดาว มีธิดา 1 คน คือ [[เจ้าประกายแก้ว ณ เชียงใหม่]]


ภายหลังเจ้าแก้วมงคล ณ เชียงใหม่ ได้ย้ายไปอยู่ที่ตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน พร้อมทั้งแต่งงานใหม่กับนาง[[ศรีนวล ณ เชียงใหม่]] (? - 2558)
ภายหลังเจ้าแก้วมงคล ณ เชียงใหม่ ได้ย้ายไปอยู่ที่ตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน พร้อมทั้งแต่งงานใหม่กับนาง[[ศรีนวล ณ เชียงใหม่]] (? - 2558)


เจ้าแก้วมงคล ณ เชียงใหม่ พิราลัย ในปี [[พ.ศ. 2528]] รวมอายุ 82 ปี
เจ้าแก้วมงคล ณ เชียงใหม่ ถึงแก่อนิจกรรม ในปี [[พ.ศ. 2528]] รวมอายุ 82 ปี


== การรับมรดกของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ==
== การรับมรดกของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:55, 28 มิถุนายน 2561

เจ้าแก้วมงคล ณ เชียงใหม่
เกิดพ.ศ. 2446
เสียชีวิตพ.ศ. 2528 (82 ปี)
คู่สมรสเจ้าแสงดาว ณ เชียงใหม่
ศรีนวล ณ เชียงใหม่
บุพการีเจ้าราชวงศ์ (เลาแก้ว ณ เชียงใหม่)
เจ้าจันทร์จร ณ เชียงใหม่

เรืออากาศโท เจ้าแก้วมงคล ณ เชียงใหม่ เป็นราชโอรสใน เจ้าราชวงศ์ (เลาแก้ว ณ เชียงใหม่) เจ้าราชวงศ์นครเชียงใหม่ ราชโอรสองค์เดียวในเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 8 ประสูติแต่แม่เจ้าทิพเนตรราชเทวี ทรงสมรสกับเจ้าแสงดาว ณ เชียงใหม่ บุตรบุญธรรมในพระราชชายา เจ้าดารารัศมี[1]

เจ้าแก้วมงคล เป็นเจ้านายฝ่ายเหนือคนหนึ่งที่ถูกมองว่าอาจจะได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 10[2] หากว่าการแต่งตั้งเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่สืบแทนเจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์ ให้สิทธิ์แก่โอรสองค์เดียว คือ เจ้าราชวงศ์ (เลาแก้ว ณ เชียงใหม่) แต่กลับเป็นเจ้าแก้วนวรัฐ อนุชาของเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์

ประวัติ

เจ้าแก้วมงคล ณ เชียงใหม่ เป็นโอรสในเจ้าราชวงศ์น้อยเลาแก้ว กับเจ้าจันทร์จร ณ เชียงใหม่ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2446 เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนนายร้อย จากนั้นได้เข้ารับราชการเป็นทหารอากาศ ต่อมาถูกจับและคุมขังในข้อหากบฏ พร้อมกับคณะกบฏบวรเดช[3] หลังจากพ้นโทษจึงกลับมาใช้ชีวิตที่อำเภอแม่ริม กับเจ้าแสงดาว มีธิดา 1 คน คือ เจ้าประกายแก้ว ณ เชียงใหม่

ภายหลังเจ้าแก้วมงคล ณ เชียงใหม่ ได้ย้ายไปอยู่ที่ตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน พร้อมทั้งแต่งงานใหม่กับนางศรีนวล ณ เชียงใหม่ (? - 2558)

เจ้าแก้วมงคล ณ เชียงใหม่ ถึงแก่อนิจกรรม ในปี พ.ศ. 2528 รวมอายุ 82 ปี

การรับมรดกของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี

ก่อนที่พระราชชายา เจ้าดารารัศมี จะสิ้นพระชนม์ได้ทรงทำพินัยกรรมแบ่งพื้นที่พระตำหนักดาราภิรมย์ และสวนเจ้าสบาย ให้แก่ทายาทออกเป็น 4 ส่วน ซึ่งเจ้าแก้ว มงคล กับเจ้าแสงดาว ณ เชีงใหม่ ได้รับจำนวน 1 ส่วน ต่อมาเจ้าแก้วมงคล ได้ขอซื้อที่ดินทั้ง 76 ไร่ เพื่อให้เป็นผืนเดียวกัน

กระทั่งในปี พ.ศ. 2490 กระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายขยายการศึกษาระดับอุดมศึกษาสู่ภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ขอซื้อที่ดินดังกล่าว แต่ก็มิได้ดำเนินการจัดตั้งสถาบันการศึกษาแต่อย่างใด[4]

การทำงาน

เจ้าแก้วมงคล ณ เชียงใหม่ เคยรับราชการเป็นทหารอากาศ ต่อมาได้รับการทาบทามให้มารับตำแหน่งผู้จัดการบริษัท ขนส่งเรือเมล์ จำกัด (ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นการบินไทย) จนกระทั่งเกษียนอายุในปี พ.ศ. 2504 หลังจากนั้นจึงหันมาทำสวนลำใย ที่บ้านเด่น ตำบลหนองหอย อำเภอเมืองเชียงใหม่ และทำกิจการเหมืองแร่ที่อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงขายกิจการและย้ายไปอาศัยอยู่ที่อำเภอสารภี

พงศาวลี

อ้างอิง

  1. คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ , นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ.
  2. เบญจวรรณ บุญโทแสง. พัฒนาการการปรับตัวทางการเมืองของกลุ่มอำนาจท้องถิ่นภายหลังการผนวกดินแดนของสยาม (พ.ศ. 2442-2547): กรณีศึกษาตระกูล ณ เชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2550
  3. เชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๑๒
  4. อนุ เนินหาด, สังคมเมืองเชียงใหม่ เล่ม 9, นพบุรีการพิมพ์, 2547