ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สภาแห่งรัฐ (อังกฤษ)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ชาวไทย (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ประวัติ: แก้ไขการสะกดเล็กน้อย
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 15: บรรทัด 15:
ภายหลังมีการตรา[[ฎีกาและคำแนะนำอันนอบน้อม]] (Humble Petition and Advice) ใน ค.ศ. 1657 เพื่อแทนที่ตราสารการปกครอง และนำมาซึ่งระบอบการปกครองเทียมกษัตริย์ ฎีกาดังกล่าวกำหนดให้เจ้าผู้อารักขาเลือกสมาชิกสภาแห่งรัฐ 21 คน และมีอำนาจกำหนดผู้สืบตำแหน่งเจ้าผู้อารักขา โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ กำหนดให้[[ริชาร์ด ครอมเวลล์]] (Richard Cromwell) บุตรชายคนโตของตนที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นผู้สืบทอดตำแหน่ง ดังนั้น เมื่อโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ เสียชีวิตในวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1658 ริชาร์ด ครอมเวลล์ ก็ได้รับการประกาศให้สืบตำแหน่งบิดา และได้รับการรับรองจาก[[รัฐสภาชุดที่สามของรัฐในอารักขา]]เมื่อวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 1659 ให้เข้าสู่ตำแหน่ง
ภายหลังมีการตรา[[ฎีกาและคำแนะนำอันนอบน้อม]] (Humble Petition and Advice) ใน ค.ศ. 1657 เพื่อแทนที่ตราสารการปกครอง และนำมาซึ่งระบอบการปกครองเทียมกษัตริย์ ฎีกาดังกล่าวกำหนดให้เจ้าผู้อารักขาเลือกสมาชิกสภาแห่งรัฐ 21 คน และมีอำนาจกำหนดผู้สืบตำแหน่งเจ้าผู้อารักขา โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ กำหนดให้[[ริชาร์ด ครอมเวลล์]] (Richard Cromwell) บุตรชายคนโตของตนที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นผู้สืบทอดตำแหน่ง ดังนั้น เมื่อโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ เสียชีวิตในวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1658 ริชาร์ด ครอมเวลล์ ก็ได้รับการประกาศให้สืบตำแหน่งบิดา และได้รับการรับรองจาก[[รัฐสภาชุดที่สามของรัฐในอารักขา]]เมื่อวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 1659 ให้เข้าสู่ตำแหน่ง


แต่เมื่อมีการรื้อฟื้นรัฐสภารัมป์ในวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1659 และยุบเลิกตำแหน่งเจ้าผู้อารักขา อำนาจหน้าที่ของสภาแห่งรัฐกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่ตั้งขึ้นใน[[ช่วงว่างระหว่างรัชกาล (อังกฤษ)|ช่วงว่างระหว่างรัชกาล]]ก็ทับซ้อนกัน ทำให้กิจการบ้านเมืองเริ่มยุุ่งเหยิง จนเมื่อ[[พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ|พระเจ้าชาลส์ที่ 2]] ทรงเข้าควบคุมรัฐบาลในลอนดอน ก็ทรงยุบสภาแห่งรัฐเสียในวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1660
แต่เมื่อมีการรื้อฟื้นรัฐสภารัมป์ในวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1659 และยุบเลิกตำแหน่งเจ้าผู้อารักขา อำนาจหน้าที่ของสภาแห่งรัฐกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่ตั้งขึ้นใน[[ช่วงว่างระหว่างรัชกาล (อังกฤษ)|ช่วงว่างระหว่างรัชกาล]]ก็ทับซ้อนกัน ทำให้กิจการบ้านเมืองเริ่มยุ่งเหยิง จนเมื่อ[[พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ|พระเจ้าชาลส์ที่ 2]] ทรงเข้าควบคุมรัฐบาลในลอนดอน ก็ทรงยุบสภาแห่งรัฐเสียในวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1660


==ประธาน==
==ประธาน==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:18, 24 มิถุนายน 2561

สภาแห่งรัฐ (อังกฤษ: Council of State) ภายหลังชื่อ สภาองคมนตรีของผู้อารักขา (อังกฤษ: Protector's Privy Council) เป็นคณะบุคคลที่รัฐสภารัมป์ (Rump Parliament) แห่งประเทศอังกฤษแต่งตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1649 ภายหลังการปลงพระชนม์พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ

การปลงพระชนม์พระเจ้าชาลส์ในวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 นั้นเลื่อนจากกำหนดเดิมออกไปหลายชั่วโมง เพื่อให้สภาสามัญชนมีเวลาออกรัฐกำหนดประกาศให้สภาสามัญชน ในฐานะผู้แทนปวงชน เป็นผู้ใช้อำนาจทั้งปวงโดยชอบธรรม และประกาศให้การแต่งตั้งกษัตริย์องค์ใหม่ถือเป็นความผิด มีผลให้สภาขุนนางและระบอบกษัตริย์สิ้นสุดลง หลังจากนั้น จึงแต่งตั้งสภาแห่งรัฐขึ้นทำหน้าที่ฝ่ายบริหารประเทศแทนองค์กษัตริย์และสภาองคมนตรี

ประวัติ

รัฐสภารัมป์แต่งตั้งสภาแห่งรัฐในวันที่ 14 และ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1649 และภายหลังมีการเลือกตั้งสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็นรายปี หน้าที่ของสภาแห่งรัฐ คือ เป็นฝ่ายบริหารในรัฐบาลของประเทศ แทนที่กษัตริย์และสภาองคมนตีของกษัตริย์ ทั้งยังมีอำนาจจัดการนโยบายเกี่ยวกับกิจการภายในและภายนอกประเทศ ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นด้านความมั่นคงในเครือจักรภพอังกฤษ แต่เนื่องจากความไม่ลงรอยกันระหว่างกองทัพตัวแบบใหม่ (New Model Army) กับรัฐสภาที่อ่อนแอ สมาชิกสภาแห่งรัฐจึงเป็นทหารเสียส่วนใหญ่

สภาแห่งรัฐเปิดประชุมในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1649 โดยมีโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ (Oliver Cromwell) นั่งหัวโต๊ะ การประชุมครั้งแรกมีแต่เรื่องจับฉ่าย มีสมาชิกเข้าร่วมประชุมราว 14 คน จอห์น แบรดชอว์ (John Bradshaw) ซึ่งเป็นประธานของศาลที่พิจารณาคดีพระเจ้าชาลส์ และเป็นบุคคลแรกที่ลงนามในหมายประหารของพระเจ้าชาลส์ ได้รับเลือกเป็นประธานคนแรกของสภาแห่งรัฐ และได้รับแต่งตั้งในวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1649

เมื่อโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ยุบรัฐสภารัมป์เมื่อวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1653 โดยได้รับการสนับสนุนจากสภากองทัพบก (Army Council) สภาแห่งรัฐก็ต้องงดหน้าที่ไป จนได้รับการจัดตั้งขึ้นใหม่ในวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1653 มีสมาชิก 13 คน 7 คนเป็นนายทหารบก[1][2]

เนื่องจากความล้มเหลวของรัฐสภาแบร์โบน (Barebone's Parliament) สภาแห่งรัฐจึงได้รับการปรับโครงสร้างตามตราสารการปกครอง (Instrument of Government) เพื่อให้เป็นองค์กรที่ใกล้เคียงกับสภาองคมนตรีของเดิม จะได้เป็นหน่วยงานที่ปรึกษาสำหรับโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ที่ดำรงตำแหน่งเจ้าผู้อารักขา (Lord Protector) ในฐานะประมุขของประเทศ ตราสารการปกครองกำหนดว่า สมาชิกสภาแห่งรัฐซึ่งจะเป็นที่ปรึกษาของเจ้าผู้อารักขานั้น ราว 13–21 คนต้องมาจากการเลือกตั้งของรัฐสภา แต่ในความเป็นจริงแล้ว โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ เลือกเองหมด

ภายหลังมีการตราฎีกาและคำแนะนำอันนอบน้อม (Humble Petition and Advice) ใน ค.ศ. 1657 เพื่อแทนที่ตราสารการปกครอง และนำมาซึ่งระบอบการปกครองเทียมกษัตริย์ ฎีกาดังกล่าวกำหนดให้เจ้าผู้อารักขาเลือกสมาชิกสภาแห่งรัฐ 21 คน และมีอำนาจกำหนดผู้สืบตำแหน่งเจ้าผู้อารักขา โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ กำหนดให้ริชาร์ด ครอมเวลล์ (Richard Cromwell) บุตรชายคนโตของตนที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นผู้สืบทอดตำแหน่ง ดังนั้น เมื่อโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ เสียชีวิตในวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1658 ริชาร์ด ครอมเวลล์ ก็ได้รับการประกาศให้สืบตำแหน่งบิดา และได้รับการรับรองจากรัฐสภาชุดที่สามของรัฐในอารักขาเมื่อวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 1659 ให้เข้าสู่ตำแหน่ง

แต่เมื่อมีการรื้อฟื้นรัฐสภารัมป์ในวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1659 และยุบเลิกตำแหน่งเจ้าผู้อารักขา อำนาจหน้าที่ของสภาแห่งรัฐกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่ตั้งขึ้นในช่วงว่างระหว่างรัชกาลก็ทับซ้อนกัน ทำให้กิจการบ้านเมืองเริ่มยุ่งเหยิง จนเมื่อพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเข้าควบคุมรัฐบาลในลอนดอน ก็ทรงยุบสภาแห่งรัฐเสียในวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1660

ประธาน

ตำแหน่งประธานสภาแห่งรัฐ มักเรียกขานว่า "ท่านประธานสภาแห่งรัฐ" (Lord President of the Council of State) เดิมตั้งใจจะให้เป็นเพียงประธานที่ประชุมสภาแห่งรัฐ[3]

จอห์น แบรดชอว์ ประธานคนแรก ดำรงตำแหน่งนานกว่าใครเพื่อน คือ 2 ปี 10 เดือน เหตุผลที่คนอื่นอยู่ไม่นานเท่าจอห์น แบรดชอว์ ก็เนื่องเพราะมติที่รัฐสภาออกในวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1651 ระบุว่า ห้ามบุคคลใดในคณะกรรมาธิการของรัฐสภาหรือในสภาแห่งรัฐ ดำรงตำแหน่งประธานของคณะกรรมาธิการหรือของสภาแห่งรัฐนานเกิน 1 เดือนต่อ 1 วาระ[3]

อ้างอิง

บรรณานุกรม

  • Emerich, John; Acton, Lord Edward Dalberg, บ.ก. (1934), The Cambridge modern history, vol. 5, CUP Archive, p. 437
  • Schultz, Oleg, บ.ก. (13 March 2010), Commonwealth of England: Council of State: 1649-1660, Archontology.org, สืบค้นเมื่อ September 2013 {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); แหล่งข้อมูลอื่นใน |publisher= (help)
  • Tanner, Joseph Robson (1928), English Constitutional Conflicts of the Seventeenth Century, 1603-1689 (reprint ed.), CUP Archive, p. 168, ISBN 9780521065986