ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาผู้ไท"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Gorguy (คุย | ส่วนร่วม)
Gorguy (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 206: บรรทัด 206:
*เลือก = เล๊อะ
*เลือก = เล๊อะ
*น้ำเมือก = น้ำเม๊อะ
*น้ำเมือก = น้ำเม๊อะ
*น้ำมูก = ขี้มุ
*น้ำมูก = ขี้มุ๊
*ผูก = พุ๊
*ผูก = พุ๊
*หยอก = เย๊าะ
*หยอก = เย๊าะ
บรรทัด 212: บรรทัด 212:
*ดอกไม้ = เด๊าะไม้
*ดอกไม้ = เด๊าะไม้
*ศอก = เซ๊าะ
*ศอก = เซ๊าะ
*หนวก = โน๊ะ
* หยวก = โย๊ะ
*ถูก(ถืก ในภาษาลาว) = ทึ๊


5. ภาษาผู้ไทใช้คำที่แสดงถึงการปฏิเสธว่า มี,หมี่ หรือเมื่อพูดเร็วก็จะออกเสียงเป็น มิ เช่นเดียวกับภาษาไทยโบราณ ภาษาจ้วง (bou,mi) และภาษาลื้อบางแห่ง เช่น
5. ภาษาผู้ไทใช้คำที่แสดงถึงการปฏิเสธว่า มี,หมี่ หรือเมื่อพูดเร็วก็จะออกเสียงเป็น มิ เช่นเดียวกับภาษาไทยโบราณ ภาษาจ้วง (bou,mi) และภาษาลื้อบางแห่ง เช่น
บรรทัด 233: บรรทัด 236:
2) ด เป็น ล เช่น ใด = เลอ, สะดุ้ง (เครื่องมือหาปลาชนิดหนึ่ง) = จะลุ่ง
2) ด เป็น ล เช่น ใด = เลอ, สะดุ้ง (เครื่องมือหาปลาชนิดหนึ่ง) = จะลุ่ง
3) อะ เป็น เอะ เช่น มัน (หัวมัน) = เม็น, มันแกว = เม็นเพา-โหเอ็น, มันเทศ = เม็นแกว
3) อะ เป็น เอะ เช่น มัน (หัวมัน) = เม็น, มันแกว = เม็นเพา-โหเอ็น, มันเทศ = เม็นแกว
4) เอะ เป็น อิ เช่น เล่น=ดิ้น, เด็กน้อย=ดิกน้อย
4) เอะ เป็น อิ เช่น เล่น=ดิ้น, เด็กน้อย=ดิ๊กน้อย, เหล็กไล (ตะปู)=ลิ๊กไล
5) เอีย เป็น แอ เช่น เหี่ยว = แฮว, เขี้ยว = แห้ว, เหยี่ยว = แหลว, เตี้ย = แต๊, เขียว = แหว
5) เอีย เป็น แอ เช่น เหี่ยว = แฮว, เขี้ยว = แห้ว, เหยี่ยว = แหลว, เตี้ย = แต๊, เขียว = แหว
6) สระเสียงสั้นในภาษาไทยบางคำกลายเป็นสระเสียงยาวในภาษาผู้ไท เช่น ลิง = ลีง, ก้อนหิน = มะขี้หีน, ผิงไฟ = ฝีงไฟ
6) สระเสียงสั้นในภาษาไทยบางคำกลายเป็นสระเสียงยาวในภาษาผู้ไท เช่น ลิง = ลีง, ก้อนหิน = มะขี้หีน, ผิงไฟ = ฝีงไฟ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:05, 23 มิถุนายน 2561

ผู้ไท
ผู้ไท
ประเทศที่มีการพูดประเทศไทย, ประเทศลาว และ ประเทศเวียดนาม
จำนวนผู้พูด866,000 คน  (2545–2549)[1]
ตระกูลภาษา
รหัสภาษา
ISO 639-3pht

ภาษาผู้ไท (เขียน ผู้ไท หรือ ภูไท ก็มี) เป็นภาษาในตระกูลภาษาไท-กะได มีผู้พูดจำนวนไม่น้อย กระจัดกระจายในภูมิภาคต่าง ๆ ของไทยและลาว เข้าใจว่า ผู้พูดภาษาผู้ไทมีถิ่นที่อยู่ดั้งเดิมอยู่ในเมือง นาน้อยอ้อยหนู ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่า เมืองนาน้อยอ้อยหนู อันเป็นถิ่นฐานดั้งเดิมของผู้ไทอยู่ทีไหน เพราะปัจจุบันมีเมืองนาน้อยอ้อยหนูอยู่ถึงสามแห่ง ตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองแถงหรือปัจจุบันคือจังหวัดเดียนเบียนฟู แห่งที่สองอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองแถง และแห่งที่สามอยู่ห่างจากเมืองลอของเวียดนามประมาณ 10 กิโลเมตร

ชาวไทดำกับผู้ไทเป็นคนละชาติพันธุ์กัน นักภาษาศาสตร์สันนิษฐานว่า อพยพแยกจากกันนานกว่า 1,500 ปีมาแล้ว ในปัจจุบัน มีการจัดให้ภาษาผู้ไทเป็นกลุ่มย่อยของภาษาไทดำซึ่งไม่ถูกต้อง ผู้ไทอพยพจากนาน้อยอ้อยหนูไปอยู่ที่เมืองวังอ่างคำ ซึ่งคือเมืองวีระบุรี ในแขวงสุวรรณเขต ประเทศลาว ก่อนถูกกวาดต้อนมาอยู่ในดินแดนประเทศไทยเมื่อไม่ถึง 200 ปีมานี้ ผู้ไทที่ถูกกวาดต้อนมาอยู่ฝั่งขวาแม่น้ำโขงมีจำนวนไม่น้อย แต่ผู้ไทซึ่งอยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแถบแขวงสุวรรณเขตและแขวงคำม่วนในลาว ก็ยังมีประปราย มักจะเรียกผู้ไททั้งสองกลุ่มนี้รวม ๆ กันว่า "ผู้ไทสองฝั่งโขง"

ความเป็นมาของคน ภูไท หรือ ผู้ไท ในประเทศสยาม

เมื่อ พ.ศ. 2369 (ก่อนสงครามเจ้าอนุวงศ์) ตรงกับในสมัยรัชกาลที่ 3 ที่เมืองวังมีความวุ่นวาย เกิดขัดแย้งภายในของกลุ่มผู้ไท ที่มีเมืองวังเป็นเมืองหลัก ได้มีไทครัวผู้ไทกลุ่มหนึ่งอพยพมาตั้งบ้านเรือนในฝั่งขวาแม่น้ำโขง มีนายไพร่ รวม 2,648 คน ต่อมาได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านบุ่งหวาย ในปี พ.ศ. 2373  พระสุนทรราชวงษา เจ้าเมืองยโสธร ว่าราชการอยู่เมืองนครพนมได้มีใบบอกขอตั้งบ้านดงหวายเป็นเมือง "เรณูนคร" ต่อมา ร.3 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกบ้านบุ่งหวาย ขึ้นเป็นเมืองเรณูนคร  และตั้งให้ ท้าวสาย หัวหน้าไทครัวผู้ไทเป็น "พระแก้วโกมล" เจ้าเมืองเรณูนคร คนแรก ขึ้นเมืองนครพนม(ในปี พ.ศ. 2387) ซึ่งคือท้องที่ อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนมในปัจจุบันนั่นเอง (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ) ชาวผู้ไทเรณูนคร จึงเป็นชาวผู้ไทกลุ่มแรกที่อพยพมาอยู่ในเขตฝั่งขวาแม่น้ำโขง(หมายถึงผู้ไทที่เป็นบรรพบุรุษของคนผู้ไทในอิสานปัจจุบัน)

หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2387 ผู้ไทจากเมืองวังอ่างคำและเมืองใกล้เคียง ก็อพยพตามมา เป็นกลุ่มที่ 2 แล้วไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ เมืองพรรณานิคม  (จ.สกลนคร) เมืองคำชะอี หนองสูง (จ.มุกดาหาร) เมืองกุดสิมนารายณ์ (อ.เขาวงและ อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธฺ์)ตามลำดับ โดยผู้ไทกลุ่มจากเมืองกะป๋องได้อพยพมาตั้งที่เมืองวาริชภูมิเป็นกลุ่มผู้ไทที่ข้ามมาฝั่งขวาแม่น้ำโขงกลุ่มล่าสุด (ในปี พ.ศ. 2420 ในสมัย รัชกาลที่ 5)

ผู้พูดภาษาผู้ไท

ผู้พูดภาษาผู้ไทในประเทศไทยส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณจังหวัดภาคอีสานตอนบน ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์, นครพนม, มุกดาหาร, ร้อยเอ็ด และ สกลนคร นอกจากนี้ยังมีอีกเล็กน้อยในจังหวัดอุบลราชธานี,อุดรธานีและ จังหวัดบึงกาฬ โดยในแต่ละท้องถิ่นจะมีสำเนียงและคำศัพท์ที่แตกต่างกันไป

เป็นที่น่าสังเกตว่า ภาษาผู้ไทแม้จะกระจายอยู่ในแถบอีสาน แต่สำเนียงและคำศัพท์นั้นแตกต่างกับภาษาไทยถิ่นอีสานโดยทั่วไป อย่างไรก็ตามยังมีคำยืมจากภาษาถิ่นอีสานอยู่ในภาษาผู้ไทบ้างเป็นธรรมดา แต่ก็ไม่นับว่ามาก ด้วยเหตุนี้ ชาวไทยที่พูดภาษาอีสานจึงไม่สามารถพูดหรือฟังภาษาผู้ไทอย่างเข้าใจโดยตลอด แต่ชาวผู้ไทส่วนใหญ่มักจะพูดภาษาอีสานได้

ลักษณะของภาษา

ด้วยภาษาผู้ไทเป็นภาษาในตระกูลไท จึงมีลักษณะเด่นร่วมกับภาษาไทยด้วย นั่นคือ

  • เป็นภาษาคำโดด มักเป็นคำพยางค์เดียว
  • เป็นภาษามีวรรณยุกต์
  • โครงสร้างประโยคแบบเดียวกัน คือ "ประธาน กริยา กรรม" (SVO) ไม่ผันรูปตามโครงสร้างประโยค

หน่วยเสียงในภาษาผู้ไท

หน่วยเสียงพยัญชนะ

ฐานกรณ์ของเสียง ริมฝีปากล่าง-ฟัน ริมฝีปาก โคนฟัน เพดานส่วนแข็ง เพดานส่วนอ่อน ช่วงคอ
เสียงหยุด (ไม่ก้อง) - /ป/ /ต/ /จ/ /ก/ /อ/
เสียงหยุด (ไม่ก้อง) - /พ/ /ท/ - /ค/ -
เสียงหยุด (ก้อง) - /บ/ /ด/ - - -
เสียงขึ้นจมูก - /ม/ /น/ /ญ/ /ง/ -
เสียงเสียดแทรก /ฟ/ /ซ/ - - - /ฮ/
กึ่งสระ /ว/ - - /ย/ - -
ลอดข้างลิ้น - /ล/ - - - -

ในที่นี้ขออธิบายเฉพาะเสียงที่แตกต่างจากภาษาไทยมาตรฐาน ดังนี้

  • /ญ/ เป็นหน่วยเสียงพิเศษ ที่ไม่พบในภาษาไทยภาคกลาง และถิ่นใต้ แต่พบได้ในภาษาไทยถิ่นอีสาน และเหนือ ในภาษาผู้ไท บางถิ่นผู้พูดใช้เสียง /ญ/ โดยตลอด บางถิ่นใช้ทั้งเสียง /ญ/ และ /ย/ โดยไม่แยกแยะคำศัพท์

หน่วยเสียงสระ

ภาษาผู้ไทมีสระเดี่ยว 9 ตัว หรือ 18 ตัวหากนับสระเสียงยาวด้วย โดยทั่วไปมีลักษณะของเสียงคล้ายกับสระในภาษาไทยถิ่นอื่น (เพื่อความสะดวก ในที่นี้ใช้อักษร อ ประกอบสระ เพื่อให้เขียนง่าย)

สระสูง อิ, อี อึ, อือ อุ, อู
สระกลาง เอะ, เอ เออะ, เออ โอะ, โอ
สระต่ำ แอะ,แอ อะ,อา เอาะ, ออ

อนึ่ง ในภาษาผู้ไทมักไม่ใช้สระประสม นิยมใช้แต่สระเดี่ยวข้างบนนี้ ตัวอย่างคำที่ภาษาไทยกลางเป็นสระประสม แต่ภาษาผู้ไทใช้สระเดี่ยว

ภาษาไทยกลาง ภาษาผู้ไท
/หัว/ /โห/
/สวน/ /โสน/
/เสีย/ /เส/
/เขียน/ /เขน/
/เสือ/ /เสอ/
/มะเขือ/ /มะเขอ/

หน่วยเสียงวรรณยุกต์

หน่วยเสียงวรรณยุกต์ในภาษาผู้ไท มีด้วยกัน 5 หน่วย

พยางค์

พยางค์ในภาษาผู้ไทมักจะเป็นพยางค์อย่างง่าย ดังนี้

  • เมื่อประสมด้วยสระเสียงยาว พยางค์อาจประกอบด้วยพยัญชนะต้น สระ และวรรณยุกต์ โดยจะมีพยัญชนะตัวสะกดหรือไม่ก็ได้
  • เมื่อมีสระเสียงสั้น พยางค์ประกอบด้วยพยัญชนะต้น สระ, วรรณยุกต์ และพยัญชนะตัวสะกด

ลักษณะเด่นของภาษาผู้ไท

ภาษาผู้ไทมีลักษณะเด่นอยู่ 6 ประการดังนี้ 1. พยัญชนะ "ข,ฆ" ในภาษาไทยและลาว-อีสานบางคำ ออกเสียงเป็น /h/ เช่น

 *แขน = แหน
 *ขน = หน
 *ขา = หา
 *ฆ่า = ฮ่า
 *เข็ม = เห็ม
 *เข้า = เห้า
 *ข้าว = เห้า
 *ขาด = ฮาด
 *ขัน = หัน (ขันน็อต,ไก่ขัน)
 *ขอด (มัด) = ฮอด
 *เขี้ยว (ฟัน) = แห้ว
 *ขัดข้อง (ยุ่งเหยิง) = ห้อง
 *ของ = หอง
 *ขึ้น = หึ้น
 *เขียง = เหง
 *ข้อมือ,ข้อเท้า = ห้อมือ, ห้อตีน
 *ขาย = หาย
 *ขอน = หอน
 *เขา (เขาสัตว์) = เหา

2. เสียงสระ "ใ" ออกเสียงเป็น "เออ" และสระ "ไ" บางคำก็ออกเสียงเป็น "เออ" เช่น

ภาษาไทย ภาษาภูไท ภาษาไทย ภาษาภูไท ภาษาไทย ภาษาภูไท ภาษาไทย ภาษาภูไท ภาษาไทย ภาษาภูไท
ใกล้ เค่อ ไหน (ไส "ลาว") เซอ, ซิเลอ, เนอเฮอ ใต้ เต้อ ใช้ เซ้อ ใน เนอ, เด้อ
ใจ เจ๋อ ใหม่อ เมอ ไต เต๋อ ใส่ เซอ ให้ เห้อ
ใคร (ไผ "ลาว") เพอ ใหญ่ เญอ บวม (ไค่ "ลาว") เค้อ ใบ เบ๋อ

3. ภาษาผู้ไทใช้แต่เพียงสระเดี่ยว ไม่มีสระผสม เช่นเดียวกับภาษาลื้อ ไตขืน ไทใหญ่ เช่น

 *ผัว = โผ
 *ห้วย = โห้ย
 *ตัว = โต,กะโต,ตนโต,คีง
 *ชั่ว = โซ้
 *เมีย = เม
 *เมี่ยง = เม่ง
 *เขี่ย = เคว่
 *เขียด = เควด
 *เขียน = เขน
 *เกวียน = เก๋น
 *เรียน = เฮน
 *เลี้ยว = เล้ว
 *มะเขือ = มะเขอ
 *เรือ = เฮอ
 *เหงื่อ = เฮอ
 *ชวน = โซน, โซ

4. คำที่ใช้สระเสียงยาวแล้วสะกดด้วย "ก" จะเปลี่ยนเป็นสระเสียงสั้น ไม่ออกเสียง "ก" เช่นเดียวกับภาษาไทถิ่นใต้ฝั่งตะวันตก และภาษาไทดำ ไทขาว พวน เช่น

 *ลูก = ลุ๊
 *บอก = เบ๊าะ
 *แตก = แต๊ะ
 *ตอก = เต๊าะ
 *ลอก = เล๊าะ, ลู่น
 *หนอก = เน๊าะ
 *ยาก = ญ๊ะ
 *ฟาก,ฝั่ง = ฟ๊ะ 
 *หลีก = ลิ๊
 *ปีก = ปิ๊
 *ราก =ฮะ
 *กาก=ก๊ะ
 *อยาก = เย๊อะ
 *เลือก = เล๊อะ
 *น้ำเมือก = น้ำเม๊อะ
 *น้ำมูก = ขี้มุ๊
 *ผูก = พุ๊
 *หยอก = เย๊าะ
 *หมอก = เม๊าะ
 *ดอกไม้ = เด๊าะไม้
 *ศอก = เซ๊าะ
 *หนวก = โน๊ะ
 * หยวก = โย๊ะ
 *ถูก(ถืก ในภาษาลาว) = ทึ๊

5. ภาษาผู้ไทใช้คำที่แสดงถึงการปฏิเสธว่า มี,หมี่ หรือเมื่อพูดเร็วก็จะออกเสียงเป็น มิ เช่นเดียวกับภาษาไทยโบราณ ภาษาจ้วง (bou,mi) และภาษาลื้อบางแห่ง เช่น

 *ไม่ได้ = มีได้
 *ไม่บอก = มีเบ๊าะ
 *ไม่รู้ = มีฮู้, มีฮู้จัก,มีจัก,จัก
 *ไม่เห็น = มีเห็น
 *ไม่พูดไม่จา = มีเว้ามีจา

6. คำที่วางท้ายประโยคคำถาม คือคำว่าอะไร,ทำไม,ไหน,ใคร,ใด-ไร,จะใช้แตกต่างจากภาษาไทยดังนี้

 *อะไร = ผะเหลอ,ผิเหลอ,อันเลอ
 *ทำไม = เอ็ดเผอ
 *ไหน = ซิเลอ,สะเลอ,เนอเหอ
 *ใคร = เพอ-ผู้เลอ
 *ใด-ไร = เลอ 
 *ไย, ทำไม = คือ, เลอ (ภาษาลาวว่า "สัง") 

___(ข้อ 7 เป็นต้นไปเป็นเพียงปลีกย่อย)___

7. บางคำมีการออกเสียงต่างจากภาษาไทย ดังนี้

   1) ค เป็น ซ เช่น คง = ซง, ครก = ซก
   2) ด เป็น ล เช่น ใด = เลอ, สะดุ้ง (เครื่องมือหาปลาชนิดหนึ่ง) = จะลุ่ง
   3) อะ เป็น เอะ เช่น มัน (หัวมัน) = เม็น, มันแกว = เม็นเพา-โหเอ็น, มันเทศ = เม็นแกว
   4) เอะ เป็น อิ เช่น เล่น=ดิ้น, เด็กน้อย=ดิ๊กน้อย, เหล็กไล (ตะปู)=ลิ๊กไล
   5) เอีย เป็น แอ เช่น เหี่ยว = แฮว, เขี้ยว = แห้ว, เหยี่ยว = แหลว, เตี้ย = แต๊, เขียว = แหว
   6) สระเสียงสั้นในภาษาไทยบางคำกลายเป็นสระเสียงยาวในภาษาผู้ไท เช่น ลิง = ลีง, ก้อนหิน = มะขี้หีน, ผิงไฟ = ฝีงไฟ 
   7) อิ เป็น อึ เช่น กลิ่น = กึ้น คิด = คึด/ฮึด

8. คำเฉพาะถิ่น เป็นคำที่มีใช้เฉพาะในภาษาผู้ไท และอาจมีใช้ร่วมกับภาษาอื่นที่เคยมีวัฒนธรรมร่วมกัน เช่น

 *ดวงตะวัน = ตะเง็น, โก๊
 *ดวงเดือน = โต๊ต่าน, เดิ๋น, ต๊อ
 *ประตูหน้าต่าง = ปะตูบ่อง, ป่องเย่ม
 *ขี้โม้ = ขี้จะหาว
 *ขึ้นรา = ตึกเหนา
 *น้ำหม่าข้าว,น้ำส่งกลิ่นเหม็นเน่า = น้ำโม๊ะ
 *สวย = ซับ
 *ตระหนี่,ขี้เหนียว = อีด, คี่อีด, คี่ที
 *ประหยัด = ติ้กไต้
 *หัวเข่า = โหโค้ย
 *ลูกอัณฑะ = มะขะหลำ
 *หัวใจ = มะหูเจอ,หูเจอ
 *ตาตุ่ม = ปอเผอะ,ปอมเผอะ
 *ท้ายทอย = ง้อนด้น
 *เอว = โซ่ง,กะโท้ย,แอว
 *ถ่านก่อไฟ = ก้อมี่
 *พูดคุย,สนทนา = แอ่น
 *เกลี้ยกล่อม = โญะ, เญ๊า
 *หัน = ปิ่น, อวาย, ว้าย (ภาษาลาวว่า งวก, อ่วย)
 *ขอร้อง,วิงวอน = แอ่ว
 *กันนักกันหนา = กะดักกะด้อ
 *มาก,ยิ่ง = แฮง,กะดักกะด้อ-กะด้อ,หลาย
 *ไม่ใช่ = แต่
 *จริง = เพิ้ง,แท้
 *นึกว่า = ตื่อหวะ, กะเด๋วหวะ, เด๋วหวะ
 *พะวงใจ = ง้อ,คึดง้อ
 *อุทานไม่พอใจ = เยอ! เยอะ!
 *ไปโดยไม่หันกลับมา = ไปกิ่นๆ, ไปกี่ดี่ๆ
 * สั้น = สั้น, กิด, ขิ้น
 *ยาว = ญาว, สาง
 * ปิด = ปิด, อัด, ฮี, กึด, งับ
 *เปิด = เปิด, ไข, อ้า

อ้างอิง

  1. ผู้ไท ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)